การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8724
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/02/18
 
รหัสในเว็บไซต์ fa19326 รหัสสำเนา 21988
คำถามอย่างย่อ
เหตุใดในโองการที่สอง ซูเราะฮ์มุฮัมมัด وَ الَّذِینَ ءَامَنُواْ وَ عَمِلُواْ الصَّالِحَاتِ وَ ءَامَنُواْ بِمَا نُزِّلَ عَلىَ‏ محُمَّدٍ وَ...‏ มีการเอ่ยนามของท่านนบี ขณะที่โองการอื่นๆไม่มี?
คำถาม
เหตุใดในโองการที่สอง ซูเราะฮ์มุฮัมมัด وَ الَّذِینَ ءَامَنُواْ وَ عَمِلُواْ الصَّالِحَاتِ وَ ءَامَنُواْ بِمَا نُزِّلَ عَلىَ‏ محُمَّدٍ وَ هُوَ الحْقُّ مِن رَّبهِّمْ کَفَّرَ عَنهمْ سَیِّاتهِمْ وَ أَصْلَحَ بَالهَ‏ ไม่คล้ายคลึงโองการอื่น (بما انزل علی رسوله) เนื่องจากมีการเอ่ยนามของท่านนบี?
คำตอบโดยสังเขป

เหตุผลที่มีการเอ่ยนามอันจำเริญของท่านนบี(..)ไว้ในโองการที่กล่าวมาก็เพื่อแสดงถึงความสำคัญของประโยคนี้ในโองการ ทั้งนี้ อัลลอฮ์ทรงประสงค์จะเทิดเกียรติท่านนบี(..)ด้วยการเอ่ยนามท่าน นักอรรถาธิบายกุรอานบางคนเชื่อว่าอีหม่านในท่อนที่สองเป็นการเจาะจง เพราะท่อนที่สองเน้นย้ำถึงคำสอนของท่านนบี(..) กล่าวคือ ความศรัทธาต่ออัลลอฮ์จะไม่มีวันครบถ้วนสมบูรณ์ได้เว้นแต่จะต้องศรัทธาต่อคำสอนที่วิวรณ์แก่ท่านนบี(..)ด้วย บางคนเชื่อว่าการเอ่ยนามท่านนบี(..)มีจุดประสงค์เพื่อมิให้ชาวคัมภีร์อ้างได้ว่า เราศรัทธาเพียงอัลลอฮ์และบรรดาศาสดา ตลอดจนคัมภีร์ของพวกเราเท่านั้น

คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อจะทราบเหตุผลของการเอ่ยนามท่านนบี(..) เราต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า ท่อนกลางของโองการ آمَنُوا بِما نُزِّلَ عَلى‏ مُحَمَّدٍ ต้องการจะสื่อเนื้อหาใด เพื่อจะเข้าใจสาเหตุที่มีการเอ่ยนามท่าน

อัลลอฮ์ได้แถลงถึงฮุกุ่มบางประการที่ถือเป็นความโปรดปรานอย่างหนึ่งก็ว่าได้ นั่นก็คือการที่พระองค์จะทรงลบเลือนบาปและฟื้นฟูจิตใจของบุคคลบางกลุ่ม[1] แต่กลุ่มใดจะได้รับความโปรดปรานนี้นั้น มีข้อเฉลยอยู่สองประโยคในตอนต้นของโองการ หนึ่ง وَ الَّذِینَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ (ผู้มีศรัทธาและประพฤติดี) สอง آمَنُوا بِما نُزِّلَ عَلى‏ مُحَمَّدٍ (ผู้มีศรัทธาต่อคำสอนของท่านนบี) ส่วนปริศนาที่ว่า สองท่อนนี้มีความเกี่ยวโยงกันอย่างไร และสื่อความหมายใดนั้น ยังมีข้อถกเถียงระหว่างนักอรรถาธิบายกุรอาน

หากมองโดยผิวเผินจะทราบว่าในท่อนแรกมีกรอบความหมายที่ค่อนข้างกว้าง และครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายในท่อนที่สอง ฉะนั้น ท่อนที่สองจึงเป็นการเน้นย้ำผู้ศรัทธาบางกลุ่มเท่านั้น อย่างไรก็ดี การอธิบายเช่นนี้มิได้เป็นทัศนะโดยเอกฉันท์ในหมู่นักอรรถาธิบาย ทว่ายังมีข้อคิดบางประการที่ช่วยให้เข้าใจท่อนที่สองมากยิ่งขึ้น ซึ่งเราจะนำเสนอบางทัศนะต่อไปนี้:

. นักอรรถาธิบายกุรอานบางคนเชื่อว่าอีหม่านในท่อนที่สองมีนัยยะกว้างกว่าท่อนแรก เพราะท่อนที่สองเน้นย้ำถึงคำสอนของท่านนบี(..)เป็นหลัก กล่าวคือ ความศรัทธาต่ออัลลอฮ์จะไม่มีวันครบถ้วนสมบูรณ์ได้เว้นแต่จะต้องศรัทธาต่อคำสอนที่วิวรณ์แก่ท่านนบี(..)ด้วย[2]

. นักอรรถาธิบายอีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าท่อนที่สองมีลักษณะเป็นเงื่อนไขที่จำกัดบุคคลในท่อนแรก ซึ่งต้องการจะสื่อว่าความโปรดปรานในโองการมีให้เฉพาะกลุ่มบุคคลในท่อนที่สองเท่านั้น มิไช่ต้องการจะเน้นย้ำเนื้อหาในท่อนแรก[3]

. บางกลุ่มมีทัศนะตรงกันข้ามกับทัศนะที่สอง โดยเชื่อว่าท่อนที่สองของโองการไม่เพียงแต่จะไม่เจาะจง แต่ยังขยายความให้ท่อนแรกอีกด้วย และยังเชื่อว่าสำนวน الذین آمنوا หมายถึงการศรัทธาต่ออัลลอฮ์ นบี และการฟื้นคืนชีพ ส่วนสำนวน آمنوا بما نزل علی محمد หมายรวมถึงทุกคำสอนที่มีมายังท่านนบี(..) อันถือเป็นการขยายขอบเขตเนื้อหาเพื่อให้สอดรับกับฮุกุ่มที่จะตามมา[4]

. บางคนเชื่อว่าท่อนแรกสื่อถึงการศรัทธาต่ออัลลอฮ์ ซึ่งมีนัยยะเชิงหลักความเชื่อ แต่ท่อนที่สองสื่อถึงการศรัทธาต่อคำสอนของอิสลามและท่านนบี ซึ่งมีนัยยะเชิงปฏิบัติ กล่าวคือ การศรัทธาต่ออัลลอฮ์ถือว่ายังไม่เพียงพอ แต่จะต้องศรัทธาต่อ ما انزل علیه อันหมายถึงศรัทธาต่อกุรอาน ญิฮาด นมาซ การถือศีลอด และคุณค่าทางจริยธรรมที่วิวรณ์แก่ท่านนบีด้วย[5] จึงจะส่งผลให้อัลลอฮ์ทรงอภัยโทษและฟื้นฟูจิตใจของเขา เมื่อเป็นเช่นนี้แสดงว่าสองท่อนในโองการนี้มีเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องกัน จึงไม่ไช่ทั้งจำกัดหรือขยายความของกันและกัน

. บางคนเชื่อว่าการกล่าวซ้ำสองท่อนในโองการนี้เป็นการกล่าวถึงบุคคลสองกลุ่ม ท่อนแรกหมายถึงท่านอบูซัร สัลมาน อัมม้าร และมิกด้าด ส่วนท่อนที่สองหมายถึงท่านอิมามอลี(.) การมีสองสำนวนก็เพื่อสื่อถึงบุคคลสองกลุ่ม[6]

จากคำชี้แจงดังกล่าวทั้งหมดก็พอจะทำให้ทราบถึงความสำคัญของท่อนที่สองของโองการ ฉะนั้น ที่ต้องเอ่ยนามท่านนบี(..)ในท่อนที่สองก็เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญดังกล่าว ทั้งนี้ อัลลอฮ์ทรงเอ่ยนามท่านนบี(..)ก็เพราะทรงประสงค์ที่จะเทิดเกียรติท่าน ดังที่นักอรรถาธิบายบางคนเชื่อว่าสาเหตุที่โองการนี้เอ่ยนามท่านนบี(..)และกล่าวถึงการศรัทธาต่อท่านเป็นการเฉพาะก็เพื่อเป็นการยกย่องท่าน[7] บางคนให้ข้อคิดเห็นถึงสาเหตุของเรื่องนี้อย่างน่าสนใจว่าโองการนี้เอ่ยนามท่านนบี(..)ก็เพื่อมิให้ชาวคัมภีร์อ้างได้ว่า เราศรัทธาเพียงอัลลอฮ์และบรรดาศาสดา ตลอดจนคัมภีร์ของพวกเราเท่านั้น[8]



[1] کَفَّرَ عَنهمْ سَیِّاتهِمْ وَ أَصْلَحَ بَالهمْ

[2] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 21,หน้า 294,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,ปี 1374

[3] เฏาะบาเฏาะบาอี,ซัยยิด มุฮัมมัด ฮุเซน, อัลมีซาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 18,หน้า 223,ญามิอะฮ์ มุดัรริซีน สถาบันศาสนาเมืองกุม,กุม,ฮ.ศ. 1417

[4] ฟัครุดดีน รอซี,อบูอับดิลลาฮ์ มุฮัมมัด บิน อุมัร,มะฟาตีฮุลฆ็อยบ์,เล่ม 28,หน้า 35,ดาร อิห์ยาอิตตุรอษิลอะเราะบี,เบรุต,ฮ.ศ.1420

[5] ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 21,หน้า 394

[6] บะฮ์รอนี,ซัยยิด ฮาชิม, อัลบุรฮาน ฟี ตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 5,หน้า 56, มูลนิธิบิอ์ษัต,เตหราน,ฮ.ศ.1416

[7] เฏาะบัรซี,ฟัฎล์ บิน ฮะซัน,มัจมะอุ้ลบะยาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 9,หน้า 147,สำนักพิมพ์ นาศิร โคสโร,เตหราน,ปี 1372

[8] เพิ่งอ้าง

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เราจะทราบได้อย่างไรว่าอิมามมะฮ์ดีพอใจในตัวพวกเรา
    6104 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/17
    ผู้ศรัทธาและชีอะฮ์ของอิมามมะฮ์ดีทราบดีว่าการกระทำของตนเป็นที่ประจักษ์สำหรับอิมามตลอดเวลาพวกเขาพยายามใกล้ชิดกับอัลลอฮ์และขัดเกลาจิตวิญญาณของตนให้มากขึ้นและจะพยายามระมัดระวังไม่ทำในสิ่งที่อาจจะทำให้ท่านไม่พอใจทั้งนี้ก็เนื่องจากกลัวว่าท่านจะหม่นหมองใจหรือกลัวที่จะถูกละเว้นจากความโปรดปรานของท่านและเพื่อที่จะดึงดูดความสนใจของท่านมายังตนเองอิมามมะฮ์ดี(อ.)เป็นอิมามที่เปี่ยมด้วยเมตตาและมีความเอื้ออาทรมนุษย์ทุกคนและทุกสรรพสิ่งเนื่องจากเป้าหมายและภารกิจของบรรดาอิมามคล้ายคลึงกับเป้าหมายและภารกิจของท่านนบี(
  • เงื่อนไขของอิสลามและอีหม่านคืออะไร?
    15608 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/21
    อิสลามและอีหม่านมีระดับขั้นที่แตกต่างกันระดับแรกซึ่งก็คือการรับอิสลามนั้นหมายถึงการที่บุคคลสามารถเข้ารับอิสลามได้โดยเปล่งปฏิญาณว่า اشهد أن لا اله الا الله" و اشهد أنّ محمداً رسول الله โดยสถานะความเป็นมุสลิมจะบังเกิดแก่เขาทันทีอาทิเช่นร่างกายของเขาและลูกๆจะสิ้นสภาพนะญิสเขาสามารถแต่งงานกับสตรีมุสลิมได้สามารถทำธุรกรรมกับมุสลิมได้ทุกประเภททรัพย์สินและศักดิ์ศรีของเขาจะได้รับการพิทักษ์เป็นพิเศษฯลฯ แต่อย่างไรก็ดีเมื่อปฏิญาณตนเข้ารับอิสลามก็ย่อมมีผลพวงในแง่ความรับผิดชอบทางศาสนาเช่นการนมาซถือศีลอดชำระคุมุสจ่ายซะกาตประกอบพิธีฮัจย์ศรัทธาต่อสิ่งที่เหนือญาณวิสัยยอมรับวันปรโลกสวรรค์และนรกตลอดจนศรัทธาต่อเหล่าศาสนทูตเหล่านี้ถือเป็นระดับชั้นที่สูงและสมบูรณ์ขึ้นของอีหม่านนอกเหนือจากการปฏิบัติศาสนกิจแล้วการหลีกห่างสิ่งต้องห้ามทางศาสนาย่อมจะช่วยยกระดับอีหม่านได้เป็นอย่างดี ยิ่งไปกว่านั้นคำสอนของกุรอานนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมามมะอ์ศูมยังบ่งชี้ว่าอิสลามที่ปราศจากการยอมรับ "วิลายะฮ์"ของอิมามสิบสองท่านย่อมถือว่าไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และไม่เป็นที่ยอมรับณอัลลอฮ์นอกจากนี้จิตใจของมุสลิมผู้ศรัทธาจะต้องปราศจากชิริกและการเสแสร้งเพราะจะทำให้อะมั้ลอิบาดะฮ์ที่กระทำมาสูญเสียคุณค่าไปโดยปริยายและจะทำให้หมดโอกาสที่จะได้รับความผาสุกและต้องถูกเผาไหม้ในเพลิงพิโรธของพระองค์ฉะนั้นประชากรมุสลิมทั้งหมดที่กล่าวกะลิมะฮ์ล้วนเป็นมุสลิมทุกคนแม้ว่าบางคนจะอยู่ในระดับพื้นฐานของอิสลามโดยที่การละเลยศาสนกิจบางประการมิได้ส่งผลให้ต้องพ้นสภาพความเป็นมุสลิมแต่อย่างใด ...
  • อิมามฮุเซน (อ.) เคยเขียนจดหมายถึงฮะบีบบินมะซอฮิรโดยมีความว่า من الغریب الی الحبیب ไช่หรือไม่?
    5958 تاريخ بزرگان 2554/12/10
    เราไม่เจอประโยคที่กล่าวว่าمن الغریب الی الحبیب (จากผู้พลัดถิ่นถึงฮะบีบ)ในหนังสือฮาดีษหรือตำราที่เกี่ยวกับการไว้อาลัยของชีอะฮ์เช่นลุฮูฟของซัยยิดอิบนิฏอวูสแต่อย่างใดจึงไม่สามารถยืนยันได้ว่าอิมามฮุเซน (อ.)กล่าวประโยคดังกล่าวสิ่งที่ยืนยันได้ก็คือฮะบีบบินมะซอฮิรเป็นหนึ่งในสาวกที่มีความซื่อสัตย์ต่ออิมามฮุเซน (อ.) เขาเข้าร่วมในการรบและเป็นชะฮีด[1]
  • ฮะดีษทุกบทที่กล่าวถึงการมุตอะฮ์เชื่อถือได้หรือไม่?
    8297 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/03
    การสมรสชั่วคราวถือเป็นหนึ่งในขนบธรรมเนียมแห่งอิสลามที่กุรอานได้อนุญาตไว้ขนบธรรมเนียมอันดีงามนี้มีการถือปฏิบัติกันในสังคมมุสลิมยุคท่านนบี(ซ.ล.)และเคาะลีฟะฮ์คนแรกตลอดจนระยะแรกของยุคเคาะลีฟะฮ์คนที่สองกระทั่งเขาได้สั่งห้ามในที่สุดแต่บรรดาอิมามมะอ์ศูมีนมักจะรณรงค์ให้มีการสมรสประเภทนี้ต่อไปเนื่องจากขนบธรรมเนียมทางศาสนาดังกล่าวถูกสั่งห้ามอย่างไม่ชอบธรรมอย่างไรก็ดีฮะดีษที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ควรได้รับการกลั่นกรองสายรายงานและเนื้อหาเสมือนฮะดีษอื่นๆทั่วไปซึ่งจะแจกแจงในคำตอบแบบสมบูรณ์ต่อไปนอกจากนี้ยังต้องพิจารณาสภาพสังคมในยุคของอิมามด้วย ...
  • ถ้าหากนะมาซคือเสาหลักของศาสนา แล้วทำไมจึงจัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นหลักการของศาสนา?
    8836 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    อุซูลลุดดีน หรือหลักศรัทธาเป็นภารกิจทางความเชื่อ ซึ่งมนุษย์ได้ยอมรับสิ่งนั้นด้วยสติปัญญาของตน และได้กลายเป็นมุสลิม หลังจากยอมรับการศรัทธาแล้ว อิสลามได้กำหนดหน้าที่อันเป็นวาญิบแก่เขา ทั้งที่เป็นหน้าที่ส่วนรวมและปัจเจกบุคคล ซึ่งหนึ่งในหน้าที่สำคัญที่สุดของมุสลิมคือ นะมาซ ด้วยเหตุที่ว่า นะมาซ นั้นมีความกว้างและเป็นบทบัญญัติที่สำคัญอย่างยิ่ง จึงได้เรียกนะมาซว่าเป็น เสาหลักของศาสนา แต่ไม่นับว่าเป็นว่ารากฐานทางความเชื่อ ซึ่งไม่สามารถนับว่าเป็นหลักศรัทธาหรืออุซูลลุดดีนได้ ...
  • กรุณาแจกแจงความสำคัญของฮะดีษกิซาอ์
    8813 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    ฮะดีษกิซาอ์ที่ปรากฏในตำราฮะดีษและหนังสือมะฟาตีฮุลญินานของเชคอับบาสกุมีมีความสำคัญเป็นพิเศษในแง่อิมามัตและอิศมัต(ภาวะไร้บาป)ตำแหน่งอิมามและวิลายะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์ได้รับการพิสูจน์จากเบาะแสในฮะดีษบทนี้เนื่องจากกริยาและวาจาของท่านนบี(ซ.
  • มัซฮับมาลิกีหรือฮะนะฟีไม่ถูกต้องกระนั้นหรือ?
    8745 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/03
    คุณควรหาคำตอบให้ได้ว่าความชอบดังกล่าวเกิดจากความนิยมชมชอบทั่วไปหรือตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล  หากตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผลนั่นหมายความว่ามัซฮับอื่นๆยังมีข้อบกพร่องอยู่แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ ถือเป็นข้อได้เปรียบที่ชัดเจนที่แนวทางชีอะฮ์มีเหนือมัซฮับอื่นๆในอิสลามกล่าวคือชีอะฮ์ถือว่าอิมามมีภารกิจเสมือนนบีทุกประการ
  • มีเศาะฮาบะฮ์นบีกี่ท่านที่เป็นชะฮีดในกัรบะลา?
    12825 ชีวประวัตินักปราชญ์ 2555/02/06
    ข้อสรุปที่นักวิจัยอาชูรอรุ่นหลังได้รับจากการค้นคว้าก็คือมีเศาะฮาบะฮ์นบี 5 ท่านอยู่ในกลุ่มสหายของอิมามฮุเซน(อ.) ในเหตุการณ์อาชูรอโดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้อนัสบิรฮัรซ์, ฮานีบินอุรวะฮ์, มุสลิมบินเอาสะญะฮ์, ฮะบีบบินมะซอฮิร, อับดุลลอฮ์บินยักฏิร ...
  • มะลาอิกะฮ์และญินรุดมาช่วยอิมามฮุเซน(อ.)จริงหรือไม่ และเหตุใดท่านจึงปฏิเสธ?
    8314 تاريخ بزرگان 2554/12/03
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • สามารถครอบครองที่ดินบริจาคได้หรือไม่? สามารถขายที่ดินบริจาคได้หรือไม่?
    5848 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    โปรดพิจารณาคำวินิจฉัยของมัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวท่านอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงปกป้องท่าน

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60162 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57624 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42244 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39441 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38972 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34030 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28040 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28023 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27858 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25843 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...