Please Wait
7664
อีกนัยหนึ่ง, ทุกถ้อยคำที่ออกมาจากปากของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ผู้จำเริญยิ่ง และสิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นคือ ทุกการกระทำที่ได้กระทำโดยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ), ทั้งหมดเป็นการอบรมสั่งสอนของพระเจ้า โดยเผยแผ่ผ่านขบวนการของวะฮฺยูแก่ท่าน, หรือว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้พูดเองซึ่งถ้อยคำเหล่านั้นนอกเหนือไปจากวะฮฺยูของพระเจ้า หรือว่าต้องแยกแยะและให้ความแตกต่าง ระหว่างถ้อยคำที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและบทบัญญัติ กับถ้อยคำพูดประจำวันของท่านศาสดาอันเป็นคำพูดสามัญทั่วไป ?
มุมมองของผู้เชี่ยวชาญ,ในประเด็นที่กำลังกล่าวถึงแตกต่างกัน
บางคนได้พิจารณาการตีความของโองการที่ 3,4 ของอัลกุรอาน บทนัจมฺ[i] ซึ่งเชื่อว่าคำพูดทั้งหมดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ตลอดจนการกระทำต่างๆ ของท่านมาจากวะฮฺยูทั้งสิ้น
บางคนเชื่อว่า โองการที่ 4 ของบทอันนัจมฺนั้นกล่าวถึง อัลกุรอานกะรีมและบรรดาโองการต่างๆ ที่ประทานให้แก่ท่านศาสดา,แม้ว่าซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จะเป็นข้อพิสูจน์และเป็นเหตุผลก็ตาม ซึ่งคำพูด การกระทำ และการนิ่งเฉยของท่านมิได้เกิดจากอารมณ์อย่างแน่นอน
สิ่งที่เข้าใจได้จากสิ่งที่กล่าวถึงในตรงนี้คือ สามารถกล่าวได้อย่างมั่นใจว่า ทั้งความประพฤติและแบบอย่างของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มิได้กระทำลงไปโดยปราศจากวะฮียฺอย่างแน่นอน ดังเช่นคำพูดของท่านก็เป็นเช่นนี้ด้วย แม้ว่าจะเป็นคำพูดประจำวัน คำพูดสามัญทั่วไปตลอดการดำรงชีวิตของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม สิ่งนั้นก็จะไม่เกิดจากอารมณ์อย่างเด็ดขาด ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้แน่นอนว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จะล่วงละเมิดกระทำความผิด
[i] อัลกุรอาน บทน้จมฺ โองการ 3-4 กล่าวว่า : "و ما ینطق عن الهوی ان هو الا وحی یوحی".
“และเขาไม่ได้พูดตามอารมณ์ สิ่งที่เขาพูดไม่ใช่อื่นใดนอกจากเป็นวะฮีย์ที่ถูกประทานลงมา”
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าบรรดาศาสดา แห่งพระเจ้านั้นมีการติดต่ออันเฉพาะเจาะจงพิเศษกับอัลลอฮฺ (ซบ.) และจากการติดต่อนั้นเองท่านศาสดาจึงได้รับ,บทบัญญัติ, กฎเกณฑ์ต่างๆ และคำสอนของพระเจ้า เพื่อนำไปประกาศสอนแก่ประชาชน
แก่นแท้ความจริงของการติดต่อสัมพันธ์กันนี้เอง, เป็นสิ่งที่สลับซับซ้อนและเกินกำลังสามารถที่จะเข้าใจได้, แน่นอน สิ่งนี้มิได้หมายถึงความไม่รู้หรือความโง่เขลาของมนุษย์ที่มีต่อประเด็นดังกล่าว, อีกนัยหนึ่งปัญหาเรื่อง “วะฮฺยู” มิใช่ประเด็นที่ว่ามนุษย์ไร้ความสามารถในการรู้จักรากที่มาหรือแก่นแท้ของวะฮฺยู, ดังนั้นต้องปล่อยสิ่งเหล่านี้ไปเสีย, ทว่าสามารถกล่าวได้ว่าด้วยอำนาจของสติปัญญาที่เปี่ยมด้วยศักยภาพนี้เอง, ทำให้มนุษย์มีความกระตือรือร้นที่ยากจะรับรู้ และเข้าใจถึงแก่นแท้ของวะฮฺยูหรือพระดำรัสของพระเจ้า
วะฮฺยู ความหมายในสารานุกรมหมายถึง : วิวรณ์อันเป็นแก่นและกฎเกณฑ์อันเป็นสื่อนำ “ความรู้” และนอกเหนือจากนั้น, คุณลักษณะพิเศษของวะฮฺยูคือ : การบ่งชี้ให้บันทึกโดยด่วนและเผยแผ่ บางครั้งก็ประกาศเป็นรหัสและความเร้นลับ, บางครั้งประกาศในฐานะเป็นเหตุผลประกอบที่ผสมผสาน, บางครั้งบ่งชี้ให้เห็นถึงองค์ประกอบและกาลเวลาของการดลใจและคำพูดที่ซ่อนเร้นปิดบัง. ด้วยเหตุนี้ ,การซ่อนเร้น, การรีบเร่งและเป็นรหัสยะถือเป็นองค์ประกอบหลักของวะฮฺยู[1]
สารัตถะของวะฮฺยู : โดยปกติวะฮฺยูมาจากความรู้และการรับรู้, มิได้มาจากสนับสนุนและการกระทำ, แม้ว่ามนุษย์ขณะกระทำการใดจะได้รับความช่วยเหลือจากความคิดและสติปัญญาก็ตาม,ซึ่งความรู้และสติปัญญามีลักษณะอันเฉพาะที่ปราศจากองค์รูป
อีกนัยหนึ่ง, คำว่าวะฮฺยูเป็นความเข้าใจหนึ่งที่ได้รับมาจาก “การมีอยู่” ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่มีองค์รูป จึงไม่สามารถตีความวะฮฺยูว่าเป็น ประเภท ชนิด มีรูปลักษณ์และอื่นๆ ได้ ดังนั้น วะฮฺยูบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด และอยู่ภายใต้ความเข้าใจของนามธรรม ความเข้าใจเกี่ยวกับ วะฮฺยู เหมือนกับความหมายของ พระเจ้า ซึ่งเป็นนามธรรม และนามธรรมนั้นมีระดับชั้นต่างๆ ทีแตกต่างกันออกไป[2]
ด้วยเหตุนี้ คำจำกัดความที่ได้กล่าวถึงวะฮฺยู, เป็นคำจำกัดความที่อธิบายนาม มิใช่สารัตถะของวะฮฺยู. นอกจากนั้นแล้ววะฮฺยู ยังมิใช่ความสัมพันธ์ติดต่อกันแบบธรรมดา, เพื่อว่าความเข้าใจจะมีความเป็นไปได้สำหรับทุกคน
คำจำกัดความวะฮฺยู
ท่านอัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี กล่าวถึงวะฮฺยูว่า : วะฮฺยูคือความรู้สึกและความเข้าใจพิเศษจากด้านในของท่านบรรดาศาสดา (อ.) แน่นอนว่าความเข้าใจและการรับรู้ถึงสิ่งนั้น นอกจากบุคคลที่ได้รับความการุณย์พิเศษจากพระเจ้าแล้ว ไม่มีใครสามารถรับรู้ได้[3]
ในอีกที่หนึ่งท่านอัลลามะฮฺกล่าวว่า : วะฮียฺ หมายถึงพระบัญชาที่พ้นญาณวิสัยของมนุษย์ เป็นการรับรู้ด้วยญาณด้านใน, เป็นความรู้สึกและความเข้าใจอันเป็นรหัสยซึ่งถูกปกปิดจากภายนอก[4]
คำตอบสำหรับคำถามที่กล่าวอธิบายข้างต้น :
นักวิชาการอิสลามอาศัยรายงานและโองการต่างๆ ได้นำเสนอทัศนะที่แตกต่างกันดังนี้ :
อับดุร เราะซาก ลอฮิญียฺ กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : ถ้าหากบุคคลหนึ่งคิดว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ปฏิบัติภารกิจหนึ่ง, ด้วยอารมณ์ตนเองโดยไม่ได้รอวะฮียฺจากพระเจ้า, ทุกนิกายถ้าบั้นปลายสุดท้ายไม่อาจเข้าถึงสภาวะการเป็นนบี และยังโง่เขลากับแก่นแท้ของการเป็นนบีอยู่ ดังนั้น บุคคลเช่นนี้ในแง่ของสติปัญญาถือว่าสิ้นสุดลงแล้ว ไม่ปกป้องรักษาศาสนาต่อไปได้ รูปลักษณ์นี้ขัดแย้งกับอัลกุรอาน (“และเขาไม่ได้พูดตามอารมณ์[5] สิ่งที่เขาพูดไม่ใช่อื่นใดนอกจากเป็นวะฮีย์ที่ถูกประทานลงมา”[6]) โดยสิ้นเชิง แน่นอน การจะละเว้นบางสิ่งด้วยภารกิจบางอย่าง ที่สุดแล้วก็จะสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้น, ภารกิจทั้งหลายเกี่ยวข้องกับศาสนา ทุกความต้องการได้วอนขออนุญาตจากอัลลอฮฺและรอวะฮียฺของพระองค์, ในทางกลับกันถ้าหากท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) มิทำสิ่งใดตามอารมณ์ของตน แล้วคนอื่นจะกล้าแปลกแยกไปได้อย่างไร”[7]
กระจกสิ้นสุดของคำทำนายและผู้เผยพระวจนะและคนที่จะไม่รู้ในภูมิปัญญาของการรักษาศาสนาออกคำสั่งของมัน Aqrb
ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ กล่าวไว้เช่นนี้ว่า : คำกล่าวของอัลกุรอานที่ว่า "ان هو الا وحی یوحی" “สิ่งที่เขาพูดไม่ใช่อื่นใดนอกจากเป็นวะฮีย์ที่ถูกประทานลงมา”มิใช่เฉพาะเรื่องอัลกุรอานเพียงอย่างเดียว, ทว่ามีสมมาตรจากโองการที่แล้วครอบคลุมแบบฉบับของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ด้วย ซึ่งมิใช่เพียงคำพูดของท่านศาสดาเท่านั้น ทว่าได้ครอบคลุมการกระทำและความประพฤติของท่านศาสดาด้วยว่า สิ่งเหล่านั้นดำเนินไปตามวะฮียฺของพระเจ้า, เนื่องจากโองการที่ 3 และ 4 บทอันนัจมุ, ได้กล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า, ท่านศาสดาจะไม่พูดสิ่งใดด้วยอารมณ์, ทุกสิ่งที่ท่านพูดคือวะฮฺยู[8]
อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺ อธิบายโองการ “และเขาไม่ได้พูดตามอารมณ์”[9] ว่า : คำว่า “ยันติกุ” นั้นสมบูรณ์ซึ่งความสมบูรณ์นี้เองเป็นตัวกำหนดว่า อารมณ์ ได้ถูกปฏิเสธไปจากคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) โดยสิ้นเชิง, แต่เนื่องจากโองการได้กล่าวว่า “ซอฮิบิกุม”[10] ซึ่งได้กล่าวแก่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา[11] และเนื่องจากสมมาตรในตำแหน่งจึงต้องกล่าวว่า วัถตุประสงค์ของการที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้เชิญชวนบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาไปสู่ และสิ่งที่ท่านได้อ่านจากอัลกุรอานนั้น ถ้อยคำของท่านไม่มาจากอารมณ์ ทว่าทุกสิ่งที่ท่านศาสดาได้กล่าวในเรื่องนั้นล้วนเป็น วะฮียฺของพระเจ้าทั้งสิ้น ซึ่งพระองค์ทรงประทานแก่ท่าน[12]
หมายถึงว่า โองการข้างต้นได้พิสูจน์ให้เห็นว่า การเป็นวะฮียฺทุกถ้อยคำศาสนา[13] ของท่านเราะซูลในประเด็นชี้นำทาง โลกทัศน์ของพระเจ้า และการให้คำแนะนำสั่งสอน, มิได้เป็นการพิสูจน์ทุกถ้อยคำที่เป็นรายละเอียดของชีวิตประจำบนโลกนี้[14]
แน่นอน ความเป็นไปได้อย่างเช่นที่ว่า ถ้อยคำสามัญทั่วไปทั้งคำสั่งห้าม และคำสั่งใช้ของท่านศาสดาเกี่ยวกับปัญหาส่วนตัว และครอบครัว, เช่น ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวบางสิ่งแก่ภรรยาของท่าน, ว่าเธอจงไปน้ำมาให้ฉัน 1 แก้ว และ ...อาจเป็นการสั่งด้วยอารมณ์[15] แม้จะเป็นคำพูดลักษณะนี้กระนั้นท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ยังไม่มีความผิดพลาดในคำพูดของท่าน เนื่องจากท่านเป็นผู้นำผู้บริสุทธิ์ปราศจากความผิดพลาดทั้งปวง[16]ด้วยเหตุนี้ จากคำพูดและการกระทำ[17] ของท่านศาสดาในประเรื่องต่างๆ เหล่านี้, เข้าใจได้ว่าต้องได้รับอนุญาตและไม่ขัดแย้งกับความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺ, เนื่องจากถ้าการกระทำเหล่านั้นมีปัญหาแม้เพียงเล็กน้อย ท่านศาสดาจะไม่กระทำมันอย่างแน่นอน
คำแนะนำเพื่อศึกษาเพิ่มเติม : ศึกษาได้จากหนังสือ การใคร่ครวญในวิชาอุซูลลุลฟิกฮฺ, เล่มแรก,หมวดที่หนึ่ง, มะบาดี ซุดูรซุนนะฮฺ, เกี่ยวข้องกับการเป็นมะอฺซูม, หน้า 34-67, ศาสดาจารย์มะฮฺดี ฮาดะวี เตหะรานี
[1] รอฆิบ เอซฟาฮานี, มุฟรอดาตอัลฟาซกุรอาน, หมวดคำว่า วะฮฺยู
[2] สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมศึกษาได้จาก, หนังสือต่างๆ วะฮฺยูและนะบูวัตในอัลกุรอาน, ญะวาดี ออมูลี, มะบอนียฺ กะลามี อิจติฮาด ดัร บัรดอช อัซ กุรอานกะรีม, ฮาดะวี เตหะรานี, หน้า 77-78
[3] เฎาะบาเฏาะบาอี, มุฮัมมัดฮุซัยนฺ, อัลมีซาน (ฉบับแปลฟาร์ซี), เล่ม 2, หน้า 159.
[4] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 160,เช่นเดียวกันเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ศึกษาได้จารย์ศาสดาจารย์ ฮาดะวียฺ เตหะรานี มะบอนียฺ กะลามี อิจติฮาด, หน้า 76-78, โคสโรพะนอ, อับดุลฮุเซน, กะลัมโรดีน, หน้า 117-130, และหัวข้อ, วะฮียฺและกัยฟียัตออน, คำถามที่ 88
[5] อัลกุรอาน บทอันนุจมุ โองการ 3
[6] อัลกุรอาน บทอันนุจมุ โองการ 4
[7] ฟัยยอซ ลาฮีญียฺ,อับดุรเราะซาก, กูฮัร มะรอด, หน้า 416
[8] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 22, หน้า 481.
[9] อัลกุรอาน บทอันนุจมุ โองการ 3-4
[10] อัลกุรอาน บทอันนุจมุ โองการ 2
[11]บรรดาผู้ตั้งภาคีต่างคิดว่าการเชิญชวนของท่านศาสดาและอัลกุรอานที่มีมายังพวกเขาเป็นเพียงการมุสาเท่านั้น
[12] เฎาะบาเฏาะบาอี, มุฮัมมัดฮุเซน, ตัฟซีรอัลมีซาน (ฉบับแปลฟาร์ซีย์), เล่ม 19,หน้า 42, ฮุซัยนี เตหะรานี, ซัยยิดมุฮัมมัดฮุเซน, เมฮฺร์ตอบอน, หน้า 212-213
[13] หนึ่งในองค์ประกอบของศาสนา,หมายถึงองค์ประกอบซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อความผาสุกแท้จริงของมนุษย์
[14] ญะวาดี ออมูลี อับดุลลอฮฺ, ตัฟซีรเมาฎูอาตกุรอาน, ซีเราะฮฺเราะซูล (ซ็อล ฯ) ในอัลกุรอาน,เล่ม 8, หน้า 32
[15] ต้องเข้าใจว่าสิ่งที่เรากำลังพูดกันอยู่นี้ สูงส่งกว่าคำพูดสามัญทั่วไป ซึ่งบางคนกล่าวว่าไม่ต้องสงสัยเลยว่า,การมีอยู่ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) นอกเหนือไปจากความพิเศษด้านริซาละฮฺ และการประทานอัลกุรอานแก่ท่านแล้ว ตัวท่านยังเป็นอริยบุคคล เป็นบุคคลที่มีความประเสริฐและวิเศษในยุคสมัยของท่าน, ด้วยเหตุนี้ สามารถกล่าวได้ว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มีคำพูดอยู่ 2 ลักษณะ กล่าวคือ :
ก) ถ้อยคำที่เป็นวะฮียฺของพระเจ้า เช่น โองการอัลกุรอาน และฮะดีซกุดซียฺเป็นต้น
ข) ถ้อยคำที่เปี่ยมไปด้วยวิทยปัญญา ซึ่งถูกถ่อยทอดออกมาจากท่านศาสดาผู้เปี่ยมด้วยวิทยปัญญา และภูมิปัญญาอันดีเลิศ
[16] แม้ว่าจะไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสิ่งนั้นเป็นคำสอนศาสนา แต่ทั้งสองคำพูดมีความสัมพันธ์ และเป็นความจำเป็นของกันและกัน, หมายถึงกล่าวได้ว่าความเป็นมะอฺซูม (ผู้บริสุทธิ์) ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม จะไม่มีวันเลอะเลือน, หรือผิดพลาด, หรือหลงลืม, และพลั้งเผลอเด็ดขาด, ไม่ว่าถ้อยคำหรือความประพฤติดังกล่าว จะเกี่ยวข้องกับหลักการศาสนา หรือสิ่งที่พูดหรือกระทำจะไม่เกี่ยวข้องกับหลักการศาสนาก็ตาม. ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากมะอฺซูมได้อธิบายถึงสิ่งหนึ่ง แต่ไม่มีองค์เกี่ยวข้องกับศาสนาเลย เช่น ท่านได้กล่าวในแง่วิชาการหนึ่ง แน่นอนคำพูดของท่านนั้นถูกต้องและตรงตามความจริง ดังเช่น ท่านได้อธิบายปัญหาศาสนาจะไม่มีความผิดพลาดใดๆ ทั้งสิ้น. การใคร่ครวญในวิชาอุซูลลุลฟิกฮฺ, เล่มแรก,หมวดที่หนึ่ง, มะบาดี ซุดูรซุนนะฮฺ, เกี่ยวข้องกับการเป็นมะอฺซูม, หน้า 35
[17] จากโองการที่กล่าวว่ “เขาไม่พูดสิ่งใดด้วยอารมณ์” เข้าใจได้ว่าถ้อยคำ การกระทำ และอัตชีวของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งนอกเหนือจากคำพูดแล้ว ท่านศาสดาจะไม่กระทำสิ่งใดโดยปราศจากการอนุญาตของวะฮฺยู แต่ถ้าสมมุติว่าเราไม่สามารถถอดความจากอัลกุรอานโองการนี้ได้ ก็ยังมีโองการอื่นอีก เช่น โองการที่ 50 บทอัลอันอาม และโองการบทอื่นๆ ก็ได้ยืนยันถึงประเด็นดังกล่าวเอาไว้, อายะตุลลอฮฺ ญะวาดี ออมูลี อับดุลลอฮฺ, ตัฟซีรเมาฎูอี กุรอาน, ซีเราะฮฺเราะซูลในอัลกุรอาน,เล่ม 8, หน้า 33