Please Wait
6385
เหมือนกับว่าการแปลฮะดีซบทนี้ มีนักแปลบางคนได้แปลไว้แล้ว ซึ่งท่านได้อ้างถึง, ความอะลุ่มอล่วยนั้นเป็นที่ยอมรับ, เนื่องจากเมื่อพิจารณาใจความภาษาอรับของฮะดีซที่ว่า "صَلَاحُ ذَاتِ الْبَيْنِ أَفْضَلُ مِنْ عَامَّةِ الصَّلَاةِ وَ الصِّيَام" เป็นที่ชัดเจนว่า เจตนาคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการกล่าวว่า การสร้างความสันติระหว่างคนสองคน, ดีกว่าการนมาซและการถือศีลอดจำนวนมากมาย[1] แต่วัตถุประสงค์มิได้หมายถึง นมาซหรือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี หรือนมาซและศีลอดทั้งหมด เนื่องจากคำว่า “อามะตุน” ในหลายที่ได้ถูกใช้ในความหมายว่า จำนวนมาก เช่น ประโยคที่กล่าวว่า :
"عَامَّةُ رِدَائِهِ مَطْرُوحٌ بِالْأَرْض" หมายถึงเสื้อผ้าส่วนใหญ่ของเขาลากพื้น[2] หรือประโยคที่กล่าวว่า "وَ قَدْ ذَهَبَ عَامَّةُ النَّهَار" วันเวลาได้ผ่านพ้นไปอย่างยาวนาน[3]
ด้วยเหตุนี้, วัตถุประสงค์วจนะของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) : ต้องการบอกว่า การสร้างความสันติระหว่างพี่น้องมุสลิม โดยให้พวกเขาสลัดความกริ้วโกรธทิ้งไป รางวัลของมันยิ่งใหญ่กว่านมาซ และการถือศีลอดมุสตะฮับทั้งหลาย มากนัก ดังที่นักอรรถาธิบายบางท่านกล่าวว่า การสร้างความสมานคืนดีกันระหว่างมุสลิม เป็นการกระทำที่ดี เนื่องจากบุคคลอื่นก็จะได้รับอนิสงจากสิ่งเหล่านั้นด้วย, แต่นมาซและศีลอด (มุสตะฮับ) เป็นภารกิจส่วนตัว ซึ่งมรรคผลจะไม่ครอบคลุมไปถึงคนอื่น,ด้วยเหตุนี้ เมื่อนำเอาสันติมาเปรียบเทียบกับนมาซและศีลอดมุสตะฮับ, ผลรางวัลของการสร้างความสงบจึงมีมากกว่านมาซและศีลอด[4]
มีคำกล่าวว่า ประเด็นดังกล่าวนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของความแตกแยก บุคคลต่างๆ และวิธีนมาซ, ตัวอย่าง บางครั้งคนเรามีความขัดแย้งกันเล็กๆ น้อย และเราก็ทราบดีว่าปล่อยให้เวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งเขาจะคืนดีกันเอง, แต่บางครั้งความขัดแย้งบางอย่างนำไปสู่การฆ่าฟัน หรือหลั่งเลือดกัน หรือทำให้คนสองคนต้องแยกทางกันไปตลอดชีวิต และ ..บางทีอาจเป็นไปได้ว่ารายงานกำลังกล่าวถึงการปรับปรุงลักษณะนี้ก็ได้ ซึ่งไม่ได้ครอบคลุมการปรับปรุงที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อย เล็กๆ น้อยๆ
ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก หัวข้ออิสลามกับ แก่นแห่งการปรับปรุง, คำถามที่ 772, (ไซต์ : 1017)
คำถามนี้ ไม่มีคำตอบที่เป็นรายละเอียด
[1] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, หน้า 412, สำนักพิมพ์ ดารุลฮิจญฺเราะฮฺ, บีทอ, กุม
[2] กุลัยนี, มุฮัมมัด บิน ยะอฺกูบ, กาฟียฺ, เล่ม 1, หน้า 361, ดารุลกุตุบ อิสลามียะฮฺ, เตะหราน ปี 18212, (ค.ศ.th17866)
[3] เชคโฮร อามิลียฺ, วะซาอิลชีอะฮฺ, เล่ม 10, หน้า 11, มุอัซเซะเซะฮฺ อาลัลบัยตฺ, กุม ปี ฮ.ศ. 1409.
[4] บัยฮะกียฺ, กุฏบุดดีน มุฮัมมัด บิน ฮุเซน, ฮะดาอิกุลฮะดาอิก, เล่ม 2, หน้า 507, บุนยอด นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ อินเตชารอต อะฏอรัด กุม ปี 18490 (ค.ศ.th18154)