การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7578
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/03/08
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2230 รหัสสำเนา 12551
หมวดหมู่ เทววิทยาใหม่
คำถามอย่างย่อ
คำจำกัดความของท่านเกี่ยวกับวิทยาการ สติปัญญา และศาสนาเป็นอย่างไร ระหว่างทั้งสามมีความแตกต่างกันอย่างไร และประเด็นนี้มีความถูกต้องและเป็นไปได้อย่างไร ถูกต้องหรือไม่ที่ว่าแหล่งที่มาของความรู้ทั้งอยู่ในอัลกุรอาน ประเด็นนี้มีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด
คำถาม
คำจำกัดความของท่านเกี่ยวกับวิทยาการ สติปัญญา และศาสนาเป็นอย่างไร ระหว่างทั้งสามมีความแตกต่างกันอย่างไร และประเด็นนี้มีความถูกต้องและเป็นไปได้อย่างไร ถูกต้องหรือไม่ที่ว่าแหล่งที่มาของความรู้ทั้งอยู่ในอัลกุรอาน ประเด็นนี้มีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด
คำตอบโดยสังเขป

คำว่าความรู้นั้นมี 3 ความหมายกับ 2 นิยามกล่าวคือ :

บางครั้งคำว่า อิลม์ หมายถึงความรู้ บางครั้งหมายถึงวิทยาการ และบางครั้งก็หมายถึงสิ่งที่ได้ถูกรู้แล้ว ซึ่งทั้งสามความหมายนั้นความหมายแรกเป็นความหมายตามรากของคำ ความหมายที่สองเป็นอาการนาม ส่วนความหมายที่สามหมายถึงการอธิบายถึงวัตถุ

คำว่าความรู้ (Knowledge) นั้นมี 2 นิยามด้วยกัน กล่าวคือ บางครั้งหมายถึง ความรู้และความเข้าใจอันสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะตรงตามความเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม และบางครั้งจุดประสงค์หมายถึง ความเข้าใจที่ตรงกับความเป็นจริง

ในบทวิพากษ์เกี่ยวกับ ตะอารุฎ (ความขัดแย้ง) จุดประสงค์ของความรู้คือ การได้รับวิทยาการตามธรรมชาติ ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ในการวิเคราะห์เหตุการณ์และวัตถุทางกายภาพ (Science)

ด้วยเหตุนี้ ตามความหมายล่าสุดนี้จะเห็นว่าในมุมมองของ คริสต์ ระหว่างคำสอนของพระคัมภีร์ของศาสนาคริสต์ กับการได้รับความรู้ตามธรรมชาตินั้น มีความขัดแย้งกันอันสืบเนื่องมาจาก การสังคายนาและการบิดเบือนพระคัมภีร์นั่นเอง แต่ในมุมมองของมุสลิมนั้น จะพบว่าการค้นหาความรู้สมัยใหม่ไม่ขัดแย้งกับอัลกุรอานเลยแม้แต่นิดเดียว ทว่าอัลกุรอานได้แจ้งข่าวถึงประเด็นใหม่ๆ เอาไว้ว่า ความรู้สมัยใหม่นั้นสามารถพิสูจน์ได้โดยประสบการณ์ ซึ่งประเด็นใหม่ๆ เหล่านั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของความมหัศจรรย์เชิงความรู้ของอัลกุรอาน แต่น่าเสียดายว่าปัญหานี้เองกลายเป็นสาเหตุทำให้นักอรรถาธิบายอัลกุรอานบางกลุ่ม ไม่ใส่ใจต่อกฎเกณฑ์การตีความอัลกุรอาน (ตัฟซีร) และขาดการแยกเด็ดขาดระหว่างทฤษฎีทางความรู้แน่นอน กับและสมมติฐานทางความรู้ พวกเขาพยายามประยุกต์เอาโองการอัลกุราอนให้เข้ากับสมมติฐานทางความรู้ ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นข้อผิดพลาดอันใหญ่หลวง ตามความเป็นจริงพวกเราต่างเชื่อว่า อัลกุรอาน คือคัมภีร์แห่งการชี้นำ และอธิบายทุกสิ่งที่เป็นความการของมนุษย์ ถ้าบางครั้งอัลกุรอานกล่าวถึงปัญหาเชิงวิชาการ ก็เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ลุ่มชน และเป็นส่วนหนึ่งในความมหัศจรรย์ของอัลกุรอาน

แต่ก็ไม่มีความจำเป็นอันใดที่เราจะต้องมาพิสูจน์ หรือกล่าวอ้างความเหนือกว่าและความเป็นสัจพจน์ของอัลกุรอาน ว่าวิทยาการทั้งหมดนั้นปรากฏอยู่ในอัลกุรอาน ถึงแม้ว่าอัลกุรอานจะโอบอุ้มเอาความรู้ที่ยังไม่ถูกรู้จักอีกจำนวนมากมายเอาไว้ก็ตาม ซึ่งในยุคสมัยนี้ได้ถูกพิสูจน์แล้วสำหรับปวงปราชญ์ที่ถวิลหาความจริงก็ตาม

ส่วนสติปัญญานั้นมีการนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะที่แตกต่างกัน และจุดประสงค์ของสติปัญญาในความหมายของเรา หมายถึงพลังหรือศักยภาพที่สามารถเข้าใจแนวคิดและรับรู้สิ่งเหล่านั้นได้ ด้วยเหตุนี้ นับตั้งแต่เริ่มต้นในมุมมองของศาสนาคริสต์: มีกลุ่มชนบางกลุ่มที่เชื่อว่า การสอนสั่งของศาสนาคริสต์นั้นไม่เข้ากันกับสติปัญญา และไม่สามารถอธิบายด้วยเหตุผลแห่งปัญญาได้ ดังนั้น พวกเขาจึงได้แยกและประเมินความเชื่อและเหตุผลทางสติปัญญาไว้ต่างกัน ในสองลักษณะ

แต่ในมุมมองของอิสลาม, สติปัญญานั้นได้รับการยกไว้ในตำแหน่งที่มีความพิเศษ หลายต่อหลายครั้ง และอัลกุรอานหลายโองการได้กล่าวเชิญชวนและสนับสนุนประชาชนให้ใช้สติปัญญา และการใคร่ครวญ ส่วนในประเด็นเกี่ยวกับความเชื่อศรัทธา ถ้าไม่วางอยู่บนพื้นฐานของสติปัญญาไม่สามารถยอมรับได้ ส่วนในแง่ของบทบัญญัติและรายละเอียดปลีกย่อยของศาสนา ถือว่าสติปัญญาคือแหล่งอ้างอิงสำคัญในการพิสูจน์บทบัญญัติ ซึ่งบางครั้งได้มีคำกล่าวว่า ในบางกรณีถ้าสติปัญญาคือพื้นฐานสำคัญในกาพิสูจน์ความจริงแน่นอน แต่เผอิญว่าขัดแย้งกับภายนอกของรายงาน อนุญาตให้ตีความรายงานเข้าข้างสติปัญญา ซึ่งจุดประสงค์ก็คือ ให้ตีความรายงานนั้นโดยใช้เหตุผลของสติปัญญานั่นเอง

ดีนหรือศาสนา หมายถึง : ประมวลความเชื่อ จริยธรรม และบทบัญญัติ ซึ่งได้ถูกวางไว้เพื่ออบรมและพัฒนามนุษย์ และเป็นกฎที่ใช้ควบคุมภารกิจทางสังคม ซึ่งมีการกำหนดไว้ในระดับที่แตกต่างกัน

ศาสนา ในฐานะที่เป็นประมวลความรู้และเป็นบทบัญญัติ ซึ่งถูกบันทึกไว้ในความรู้แห่งพระเจ้าและแผ่นบันทึก หรือที่เรียกว่าเลาฮุลมะฮฺฟูซ และสิ่งที่ปรากฏอยู่ในคลังแห่งความรู้ของพระเจ้านั้น พระองค์ได้ประทานลงมาบางส่วนแก่บรรดาศาสดาของพระองค์ เพื่อสอนสั่งและชี้นำมวลมนุษย์ชาติไปตามความเหมาะสมตามเวลา สถานที่ และกาลเทศะ และเมื่อมนุษย์ได้ย้อนกลับไปยังสติปัญญาและเหตุผลอ้างอิงแล้ว ทุกอย่างก็จะชัดเจนขึ้นมา ซึ่งในที่สุดแล้วบางส่วนจากสิ่งเหล่านั้นก็จะกลายเป็นหลักการประมวลกฎหมาย สำหรับบุคคลทั่วไปและเป็นเป็นบัญญัติทางศาสนาสำหรับประชาชน

ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่า ดีน หรือศาสนานั้นแบ่งออกเป็นขั้นตอนได้ดังต่อไปนี้ :

1 ดีนหรือศาสนาคือ ตัวตนของพระบัญญัติ

2 ดีนหรือศาสนาคือ ศาสดาผู้ถูกประทาน

3 ดีนหรือศาสนาคือ สิ่งที่ถูกเปิดเผย

4 ดีนหรือศาสนาคือ องค์กรหรือสถาบัน

คำตอบเชิงรายละเอียด

สำหรับคำว่า ความรู้ นั้นถูกกล่าวไว้ใน 3 ความหมาย : กล่าวคือบางครั้งคำว่า อิลม์ ให้ความหมายเป็น มัซดัรรีย์ (รากของคำ) หมายถึงการรู้ หรือการรู้จัก และบางครั้งก็ให้ความหมายเป็น อิสม์มัซดาร (อาการนาม) หมายถึง หมายถึง ความรู้ บางครั้งหมายให้ความหมาย เป็นกรรมกิริยา หรือคำคุณศัพท์ที่อธิบายกรรมกริยาอีกที่หนึ่ง หมายถึง การรู้ในสิ่งทีเป็นความประสงค์ หรือเรื่องทีต้องการอยากรู้ ซึ่งเรื่องนั้นเกิดในความเข้าใจของเราพอดี

แต่บางครั้งก็ถูกนำไปใช้ในความหมายผิดๆ เช่น   อิลม์ นั้นหมายถึงความรู้เพียงอย่างเดียวเป็นต้น การตีความเช่นนี้บางครั้งก่อให้เกิดความสับสนและทำให้เข้าใจผิด เช่น ความรู้สมบูรณ์ ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วเป็นความสมบูรณ์ในตัวตนของมนุษย์ เกี่ยวกับการรู้จัก แต่ได้เข้าใจผิดไปว่าเป็นเป็นการพัฒนาด้านจิตภาพ หรือเป็นการเติบโตด้านความรู้และการรู้จัก ทั้งที่สิ่งนี้เป็นการผสมกันระหว่างความรู้กับสิ่งที่รู้ แน่นอน สิ่งที่มีความสมบูรณ์คือความรู้ของมนุษย์ มิใช่สิ่งที่ถูกรู้จักหรือความรู้อย่างอื่น

คำว่าความรู้ (Knowledge) นั้นมี 2 นิยามด้วยกัน

. ความรู้และความเข้าใจอันสมบูรณ์แบบในสิ่งที่เป็นจริงตามกล่าวคือไม่ว่าจะตรงกับความเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม หมายถึงทุกสิ่งในนามของรูปที่ปรากฏในความคิดในแง่ของการรู้จักบุคคล (Popper โลกที่สอง) หรือเป็นข้อเสนอเนื้อหาและความรู้ที่นำเสนอในโลกของความรู้ (Popper Third World)

. การทำความเข้าใจเกี่ยวกับความจริงก็คือว่า ในการอภิปรายความขัดแย้งทางศาสนากับความรู้ วัตถุประสงค์ความรู้คือศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Sciences) ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานประสบการณ์และการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ของเหตุการณ์อุปนัยและข้อเสนอวัตถุทางกายภาพ ดังนั้น สองนิยามนี้นอกเหนือไปจากสองนิยามที่ได้กล่าวถึงความรู้ (Knowledge)

คำว่า อักล์ (ภูมิปัญญา) ถูกนำใช้งานในรูปแบบต่างๆ ซึ่งวัตถุประสงค์ของเราเกี่ยวกับอักล์หมายถึง, พลังที่มีความสามารถรับรู้และเข้าใจโดยทั่วไปได้[1] และถ้าการรับรู้นี้ในบทนำของมันได้ใช้รูปแบบที่ถูกต้องในการพิสูจน์แล้วละก็ ข้อสรุปที่ได้รับก็จะถูกต้องไปด้วย.

แต่ต้องสังเกตด้วยว่าขอบข่ายของความความเข้าใจของสติปัญญานั้นจำกัดอยู่ในความรู้ทั่วไป ถ้านอกเหนือไปจากนี้ต้องอาศัยเครื่องมือเพิ่มเติมเป็นตัวช่วยเหลือ เช่น ความรู้สึกที่จะได้รับประโยชน์ อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและข้อสรุปของของพวกเขา เป็นหน้าที่ของสติปัญญา ด้วยเหตุนี้ บางครั้งเป็นข้อผิดพลาดของประสาทสัมผัส การอนุมานของสติปัญญาก็ผิดพลาดตามไปด้วย[2]

แต่คำดีน (ศาสนา) : ศาสนาหมายถึงการเชื่อฟัง, ความอ่อนน้อมถ่อมตน, การปฏิบัติตาม, การภักดี, การสวามิภักดิ์, และการจำนนต่อการตัดสิน บางครั้งในอัลกุรอานวางอยู่บนกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการตัดสินใจของมนุษย์[3] และบางครั้งถูกใช้กับศาสนาผิดๆ เช่น ระเบียบเกี่ยวกับการรวบรวมของอำนาจอธิปไตยของ Coptic ที่มีเหนือวงศ์วานของอิสราเอล[4] หรือบางครั้งศาสนาถูกใช้กับการปล้นสะดมศาสนาและพวกเคารพรูปปั้นบูชาแห่งฮิญาซ[5]

ดังนั้น ในทัศนะของอัลกุรอาน ศาสนา จึงหมายถึง : ประมวลความเชื่อ จริยธรรม และกฎหมายที่อุปถัมภ์กิจการของมนุษย์และควบคุมชุมชนและสังคม ในความเป็นจริงศาสนาคือการสร้างซึ่งบ่งบอกว่าพื้นฐานของมันครอบคลุมความรู้เกี่ยวกับมนุษย์ และจักรวาล และรอบรู้ถึงวิธีการดำเนินการขัดเกลาความเป็นมนุษย์ และแนวทางที่จะนำมนุษย์ไปสู่ความสุขนิรันดร ขณะที่ศาสนานั้นจะถูกต้องเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อได้รับการประทานและจัดระบบโดยพระเจ้าเท่านั้น[6] เพราะเพียงพระองค์เท่านั้นที่รู้จักโลกและมนุษย์อย่างเพียงพอ พระองค์จึงวางกฎเกณฑ์ของพระองค์บนพื้นฐานของความเข้าใจและการรู้จักที่ถูกต้องตามความสามารถ และศักยภาพที่ยอมรับได้ของมนุษย์[7]

จากนั้นวัตถุประสงค์ของเราจากความหมายของศาสนาคือ ศาสนาแห่งพระเจ้าเท่านั้น ซึ่งสามารถพิจารณาในระดับและขั้นตอนที่แตกต่างกัน

1 ศาสนานัฟซุลอัมรี หมายถึง; สิ่งที่อยู่ในความรอบรู้ของพระเจ้า และความประสงค์ของพระผู้อภิบาลเพื่อการชี้นำมนุษย์ไปสู่ความถูกต้องและการมีอยู่ และเนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์เป็นหนึ่งเดียวกัน ดังนั้น ศาสนาก็ต้องเป็นหน่วยเดียวกัน ซึ่งผลก็คือ โลกมีความครอบคลุมเป็นสากล จึงไม่ขึ้นอยู่กับเวลา ตำแหน่ง และสถานที่

2 ศาสนาเป็นมุรซัล กล่าวคือสิ่งที่มาจากพระเจ้าเพื่อเป็นทางนำแก่มนุษย์ชาติ พระองค์ได้ประทานให้กับบรรดาเราะซูลหมดแล้ว ซึ่งแหล่งที่มาของมันมาจาก ศาสนานัฟซุลอัมรี ด้วยเหตุนี้เองศาสนาจึงต้องมีองค์ประกอบสากล และอีกด้านหนึ่งศาสนาต้องมีความเหมาะสมกับอนุชนรุ่นต่างๆ ที่ศาสนาได้ถูกส่งมาเพื่อพวกเขาด้วย และเนื่องจากสถานภาพ เวลา และสถานที่ของมวลมนุษย์ ศาสนาจึงต้องครอบคลุมทั้งองค์ประกอบสถานภาพ

3 ดีนมักชูฟ หมายถึงศาสนาที่เป็นนัฟซุลอัมร์ และดีนมุรซัล เมื่อย้อนกลับไปสู่สติปัญญาหรือเหตุผลทางการรายงานแล้ว เป็นที่ชัดเจนสำหรับบุคคลทั่วไป

4 ดีนเนะฮอดีย์ (สถาบันศาสนา) นั่นคือส่วนหนึ่งของศาสนาอันชัดแจ้งสำหรับประชาชนทั่วไป ที่ได้ตั้งเป็นสถาบันศาสนา ในรูปของระเบียบเพื่อกลุ่มชนในสังคม

เมื่ออัลกุรอานกล่าวว่าศาสนา  อัลลอฮฺคืออัลอิสลาม"[8] ได้พิจารณาที่ ดีนนัฟซุลอัมร์ และเมื่อกล่าวว่า ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาสุดท้าย และ ... ฯลฯ วัตถุประสงค์หมายถึง ศาสนามุรซัลนั่นเอง และเมื่อกล่าวว่าศาสนาเป็นเรื่องเกี่ยวกับคน วัตถุประสงค์คือ ศาสนาอันชัดแจ้ง (มักชูฟ)[9]

บางคนกล่าวว่า ศาสนาหมายถึงคัมภีร์และแบบฉบับ (ซุนนะฮฺ) ซึ่งเป็นที่แน่ชัดว่า ความเข้าใจทางศาสนาเป็นความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับคัมภีร์และแบบฉบับ โดยเน้นย้ำว่าสิ่งนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสติปัญญาของบุคคล เป็นสิ่งที่พบบ่อยและเป็นสากล ( Popper โลกที่สาม) ดังนั้น จึงเป็นที่เชื่อถือ[10]

แต่ควรจะสังเกตว่าการใช้ประโยชน์เช่นนี้ ประกอบกับเนื้อหาที่ได้กล่าวไปข้างต้นนั้น เท่ากับเป็นจำกัดความของคำว่า ศาสนา ไว้ในพื้นที่ส่วนหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้ถ้าหากศาสนาเป็นเพียงคัมภีร์หรือแบบฉบับ (ซุนนะฮฺ) เท่านั้น และไม่เป็นจริงตามที่ปรากฏในวัตถุประสงค์แห่งความรู้ของพระเจ้า หรือในเลาฮุลมะฮฺฟูซ (แผ่นบันทึก  ฟากฟ้า) จำเป็นต้องกล่าวว่า : การตีความดังกล่าวมีความคลุมเครือสำหรับศาสนา ซึ่งเราจะต้องไม่ปล่อยให้บ่วงของเขาได้ดำเนินต่อไปอีก เนื่องจากคัมภีร์และซุนนะฮฺ ได้กล่าวถึงศาสนาที่เป็น นัฟซูลอัมร์ ซึ่งศาสนาดังกล่าวได้ถูกแนะนำด้วยคัมภีร์และซุนนะฮฺ และได้ถูกแนะนำด้วยสิ่งอื่นเช่นกัน ด้วยมุมมองที่แตกต่างกันตามหลักการของวิชา เทววิทยา อุซูล ริญาล และปรัชญาของศาสนา, สึงได้ตีความว่าศาสนา คือคัมภีร์และซุนนะฮฺ; ตัวอย่างเช่น ถ้าหากในหลักวิชาอุซูลถือว่า คำพูดที่เป็น ซิกเกาะฮฺ เชื่อถือได้และเป็นเหตุผล ขอบข่ายสำหรับความหมายของศาสนาตามที่กล่าวมา จะเกิดการการเปลี่ยนแปลงทันที[11]

ศาสนาในทัศนะของชาวตะวันตก :

ความหมายของศาสนาในทัศนะของตะวันตก, ประเทศหนึ่งของมุมมองอันเฉพาะ เช่น : จากจุดของมุมมองนักจิตวิทยากล่าวว่า ศาสนาคือความรู้สึก การปฏิบัติหน้าที่และเป็นประสบการณ์ของบุคคลเมื่อเขาต้องอยู่ตามลำพัง แล้วนำตัวเองไปเผชิญกับสิ่งที่ได้เรียกด้วยนามของพระเจ้า (William James)

จากมุมมองของสังคมวิทยา พวกเขาได้ตีความศาสนาว่า : เป็นความเชื่อหนึ่ง เป็นการปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งมนุษย์ได้เป็นผู้ก่อตั้งขึ้นมา (Talkvt Parsvn)

จามมุมมองของธรรมชาตินิยมศาสนาคือ คำสั่งใช้และคำสั่งปฏิเสธ ซึ่งเป็นอุปสรรคสำหรับการกระทำที่อิสระและศักยภาพตลอดจนความสามารถของมนุษย์ (Ray nakh)

จากมุมมองของศาสนานิยม ศาสนาคือคำสารภาพต่อความจริงของสรรพสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่ประจักษ์ ซึ่งอยู่เหนือความรู้และภูมิปัญญาของเรา (Herbert Spencer)[12]

ดูเหมือนว่าคำนิยามที่ครอบคลุมมากที่สุดของการตีความนี้คือ ศาสนาประกอบด้วยองค์ความเชื่อ ความรู้สึก และการกระทำ (ทั้งบุคคลและส่วนรวม)

ความเชื่อได้แสดงให้เห็นว่าได้ทำลายความจริงและเท็จให้หมดไป ความเชื่อของแต่ละศาสนา, จะอธิบายการกระทำเฉพาะที่เห็นว่าศาสนานั้นยอมรับ หรือกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ความรักขึ้นมา[13]

ดังนั้น หนึ่งในนิยามของความรู้คือ ความเข้าใจที่เป็นไปตามความเป็นจริง ถึงแม้ว่าการประยุกต์ใช้ในตะวันตก ซึ่งในขณะที่มีการวิพากษ์ถึงการเชื่อมต่อหรือความขัดแย้งระหว่างความรู้และศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาการธรรมชาติ (วิทยาศาสตร์) ขณะที่สติปัญญา (เหตุผล) คือการรับรู้ทั่วไป ศาสนาในเวลานั้นคือ การชี้นำต่างๆ จากพระเจ้าโดยผ่านบรรดาศาสดาผ่านวะฮฺยู (วิวรณ์) ของพระเจ้าและได้ตกมาถึงมือประชาชนในที่สุด

โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างทั้งหลายระหว่างทั้งสาม ซึ่งการวิพากษ์ของพวกเขาได้วิพากษ์ภายใต้ 2 ประเด็น กล่าวคือ :

1 เหตุผลและศาสนา (เหตุผลและความเชื่อ) :

ในวัฒนธรรมของคริสเตียน เนื่องจากมีการบิดเบือนในศาสนาของพระเยซู () จึงทำให้มีความรู้สึกว่า ระหว่างข้อมูลของสติปัญญากับคำสอนของพระคริสต์เข้ากันไม่ได้และมีความขัดแย้งกัน แล้วสิ่งที่ปรากฏตามมาคือ 2 คำถามอันเป็นพื้นฐานถูกกล่าวขานในหมู่นักวิชาการ กล่าวคือ สติปัญญาในขอบข่ายของศาสนามีที่อยู่หรือไม่? และถ้าเพื่อว่าภายนอกบุคคลหนึ่งโดยหลักการแล้วได้ใช้เหตุผลของสติปัญญาเพื่อทำความข้าใจตรงนี้ความเชื่อจะมีคำพูดใดได้อีก ? แต่คำถามที่เป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดคือ สติปัญญาในขอบข่ายของความศรัทธาอยู่ในตำแหน่งใดหรือ;? กล่าวคือว่าบุคคลหนึ่งจำเป็นต้องมีเหตุผลแน่นอนที่น่าเชื่อถือสำหรับยืนยันถึงความเชื่อที่เป็นจริงหรือไม่ ?

สำหรับการแสวงหาตอบเพื่อคำถามนี้ เรามาทำการรู้จัก 3 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกตะวันตก :

1) เหตุผลนิยมส่วนใหญ่ กล่าวคือทุกความเชื่อที่มีหลักฐานไม่เพียงพอต่อการยอมรับ จะได้รับคำสบประมาทและการวิจารณ์ ขณะที่ระบบของความเชื่อทางศาสนาจะสามารถยอมรับได้ ก็ต่อเมื่อได้มีการพิสูจน์แล้วว่าเป็นจริงอันเป็นที่น่าเชื่อถือในหมู่นักวิชาการ

Clifford, นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ และจอห์นล็อคมีความเชื่อเช่นนั้น ขณะที่ Aquinas ก็ได้กล่าวว่า ความจริงของคริสเตียน สามารถวิจัยในลักษณะที่ถูกต้องน่าเชื่อโดยสติปัญญาและด้วยเหตุผลที่ละเอียดอ่าน ในลักษณะที่น่าเชื่อถือในเชิงของเหตุผล ทว่าแนวทางของเหตุผลและและความเชื่อนั้นแยกจากกัน ซึ่งเราต้องตามความเชื่อไม่ใช่เหตุผล สถานะภาพของ Sweeney เบิร์น ยังอยู่ใกล้กับหลักการใช้เหตุผลมากที่สุด

2) ความเชื่อนิยม : มุมมองของกลุ่มนี้ถือว่าระบบต่างๆ ของความเชื่อในศาสนา ไม่สามารถประเมินผลได้ด้วยระบบเหตุผลหรือสติปัญญา พวกเขากล่าวอ้างว่า ระบบความเชื่อทางศาสนามีรากที่มาอันเป็นพื้นฐานมั่นคง ซึ่งไม่มีสิ่งใดเป็นพื้นฐานที่มั่นคงไปกว่านี้ได้อีก เพื่อจะได้สามารถพิสูจน์ความจริงนี้ได้ "Kyrk Guard (Kierkegaard) "เขามีความเชื่อเช่นนี้ และยังเชื่ออีกว่าทฤษฎีของปัญญาเป็นความเชื่อขัดแย้ง

แต่มุมมองนี้ ลืมไปว่าความเชื่อของผู้ศรัทธาที่บริสุทธิ์ใจคนหนึ่ง วางอยู่บนพื้นฐานที่ว่ามีผู้ชี้นำโดยหลักการ มีความครอบคลุมครบวงจรสำหรับวิธีการดำเนินชีวิตของตน อีกทั้งต้องนำเอาเป้าหมายและเหตุผลออกมาเพื่อเขาด้วย แต่หลักการนี้ไม่สามารถสรุปไดว่า ความเชื่อเหล่านี้เป็นพื้นฐานหมายถึง ความรู้อื่นและความเชื่อของบุคคลมีความรู้มากกว่าและชัดเจนมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด 

3) หลักการของเหตุผลนิยม : ทัศนะได้อธิบายให้เห็นถึงระบบของความเชื่อทางศาสนา มีความเป็นไปได้ที่จะให้มีการตรวจสอบและประเมินผลโดยสติปัญญา แม้ว่าหลักฐานดังกล่าวจะไม่สามารถพิสูจน์ความน่าเชื่อถือของระบบดังกล่าวได้ก็ตาม

วิธีการนี้เป็นประการแรก : แทนการพิสูจน์ให้ทุกคนได้รับรู้ ได้พิสูจน์เพื่อบุคคลถือว่าเพียงพอแล้ว (George Mavrvds กล่าวว่า ความเข้าใจในการพิสูจน์เราถือว่าจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับบุคคล)

ประการที่สอง : ไม่อาจตัดสินได้อย่างจริงจังได้ว่า การวิพากษ์เกี่ยวกับความจริงและความถูกต้องของความเชื่อทางศาสนา ได้ถึงผลสรุปสุดท้ายแล้ว แน่นอน นิยามดังกล่าวยังมีระยะห่างอีกมากตามความหมายอันเป็นวัตถุประสงค์ของ Popper ที่จะนำมาประยุกต์เข้าด้วยกัน[14]

แต่ตามคำสอนของอิสลาม,

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทำไม อิบลิส (ซาตาน) จึงถูกสร้างขึ้นจากไฟ ?
    10683 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ได้สมรสกับหญิงหลายคน และหย่าพวกนางหรือ?
    7455 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    หนึ่งในประเด็น อันเป็นความเสียหายใหญ่หลวง และน่าเสียใจว่าเป็นที่สนใจของแหล่งฮะดีซทั่วไปในอิสลาม, คือการอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซ โดยนำเอาฮะดีซเหล่านั้นมาปะปนรวมกับฮะดีซที่มีสายรายงานถูกต้อง โดยกลุ่มชนที่มีความลำเอียงและรับจ้าง ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) เป็นอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านที่สอง, เป็นหนึ่งในบุคคลที่บรรดานักปลอมแปลงฮะดีซ ได้กุการมุสาพาดพิงไปถึงท่านอย่างหน้าอนาถใจที่สุด ในรูปแบบของรายงานฮะดีซ ซึ่งหนึ่งในการมุสาเหล่านั้นคือ การแต่งงานและการหย่าร้างจำนวนมากหลายครั้ง แต่หน้าเสียใจตรงที่ว่า รายงานเท็จเหล่านี้บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงฮะดีซและหนังสือประวัติศาสตร์ ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ แต่ก็หน้ายินดีว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักความเชื่อที่ถูกต้องมีอยู่อยู่มือจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งทำให้การอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซของพวกเขาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ...
  • ในมุมมองของรายงาน,ควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
    7646 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    อิสลาม เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ ศาสนาแห่งความเมตตา ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของมนุษย์ชาติทั้งหมด อีกด้านหนึ่งการเลือกนับถือศาสนาเป็นความอิสระของมนุษย์ ดังนั้น ในสังคมอิสลามนั้นท่านจะพบว่ามีผู้มิใช่มุสลิมปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย อิสลามมีคำสั่งให้รักษาสิทธิ ประพฤติดี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่นับถือศาสนา ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอิสลาม ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม หรือบุคคลที่อยู่ในสังคมอื่นที่มิใช่อิสลาม, ผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม จำเป็นรักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัยด้วย ถ้าหากไม่รักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัย หรือทรยศหักหลังก็จำเป็นต้องถูกลงโทษตามกฎหมายอิสลาม ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ริวายะฮ์ที่กล่าวว่า “ในสมัยที่อิมามอลี (อ.) ปกครองอยู่ ท่านมักจะถือแซ่เดินไปตามถนนหนทางและท้องตลาดพร้อมจะลงโทษอาชญากรและผู้กระทำผิด” จริงหรือไม่?
    6412 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ริวายะฮ์ข้างต้นกล่าวถึงช่วงรุ่งอรุณขณะที่ท่านสำรวจท้องตลาดในเมืองกูฟะฮ์ และการที่ท่านมักจะพกแซ่ไปด้วยก็เนื่องจากต้องการให้ประชาชนสนใจและให้ความสำคัญกับกฏหมายนั่นเอง สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาศอฟีย์ กุลพัยกานี ริวายะฮ์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง และสิ่งที่อิมามอลี(อ.) ได้กระทำไปคือสิ่งที่จำเป็นต่อสถานการณ์ในยุคนั้น การห้ามปรามความชั่วย่อมมีหลายวิธีที่จะทำให้บังเกิดผล ดังนั้นจะต้องเลือกวิธีที่จะทำให้สังคมคล้อยตามความถูกต้อง คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากผู้ปกครองในอิสลามเห็นสมควรว่าจะต้องลงโทษผู้ต้องหาและผู้ร้ายในสถานที่เกิดเหตุ หลังจากที่พิสูจน์ความผิดด้วยวิธีที่ถูกต้อง และพิพากษาตามหลักศาสนาหรือข้อกำหนดที่ผู้ปกครองอิสลามได้กำหนดไว้ การลงทัณฑ์ในสถานที่เกิดเหตุถือว่าไม่ไช่เรื่องผิด และในการนี้ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงริวายะฮ์ดังกล่าวแต่อย่างใด แต่รายงานที่ถูกต้องที่ปรากฏในตำราฮะดีษอย่าง กุตุบอัรบาอะฮ์[1] ก็คือ ท่านอิมามอลี (อ.) พกแซ่เดินไปตามท้องตลาดและมักจะตักเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่มีตำราเล่มใดบันทึกว่าอิมามอลี (อ.) เคยลงโทษผู้ใดในตลาด
  • ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการีย์ (อ.) »อัลฮัมดุลลิลฮิร็อบบิลอาละมีน« หมายถึงอะไร?
    11262 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) เป็นหนึ่งในตัฟซีรที่กล่าวว่าเป็นของท่านอิมาม ซึ่งมีเหตุผลบางประการพาดพิงว่าตัฟซีรดังกล่าวเป็นของท่านอิมาม แต่เป็นเหตุผลที่เชื่อถือไม่ได้แน่นอน ตัฟซีรชุดนี้ได้มีการตีความอัลกุรอาน บทฟาติฮะฮฺ (ฮัม) และบทบะเกาะเราะฮฺ โองการ 282 โดยรายงานฮะดีซ ซึ่งในวิชาอุลูมกุรอานเรียกว่าตัฟซีร »มะอฺซูเราะฮฺ« อย่างไรก็ตาม, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้อธิบายถึงประโยคที่ว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ไว้ในหลายประเด็น, เนื่องจาการขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานต่างๆ อันไม่อาจคำนวณนับได้, การสนับสนุนสรรพสิ่งถูกสร้าง, ความประเสริฐ และความดีกว่าของชีอะฮฺ เนื่องจากการยอมรับวิลายะฮฺ และอิมามะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) และกล่าวว่า เนื่องจากจำเป็นต้องขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานของพระองค์ จึงได้กล่าวว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7548 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • ได้ยินว่าระหว่างสงครามอิรักกับอิหร่านนั้น ร่างของบางคนที่ได้ชะฮีดแล้ว, แต่ไม่เน่าเปื่อยสลาย, รายงานเหล่านี้เชื่อถือได้หรือยอมรับได้หรือไม่?
    8473 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    โดยปกติโครงสร้างของร่างกายมนุษย์, จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า เมื่อจิตวิญญาณได้ถูกปลิดไปจากร่างกายแล้ว, ร่างกายของมนุษย์จะเผ่าเปื่อยและค่อยๆ สลายไป, ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก ที่ร่างกายของบางคนหลังจากเสียชีวิตไปแล้วนานหลายปี จะไม่เน่าเปื่อยผุสลายและอยู่ในสภาพปกติ. แต่อีกด้านหนึ่ง อัลลอฮฺ ทรงพลานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่างและทุกการงาน[1] ซึ่งอย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งนี้จะไม่มีความเป็นไปได้ หรือห่างไกลจากภูมิปัญญาแต่อย่างใด. เพราะว่านี่คือกฎเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งได้รับการละเว้นไว้ในบางกรณี, เช่น กรณีที่ร่างของผู้ตายอาจจะไม่เน่าเปื่อย โดยอนุญาตของอัลลอฮฺ ดังเช่น มามมีย์ เป็นต้น จะเห็นว่าร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อย ซึ่งเรื่องนี้ได้ผ่านพ้นไปนานหลายพันปีแล้ว และประสบการณ์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความจริงดังกล่าวแล้วด้วย ดังนั้น ถ้าหากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ครอบคลุมเหนือประเด็นดังกล่าวนี้ ก็เป็นไปได้ที่ว่าบางคนอาจเสียชีวิตไปแล้วหลายร้อยปี แต่ร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อยผุสลาย ยังคงสมบูรณ์เหมือนเดิม แล้วพระองค์ทรงเป่าดวงวิญญาณให้เขาอีกครั้ง ซึ่งเขาผู้นั้นได้กลับมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง, อัลกุรอานบางโองการ ก็ได้เน้นย้ำถึงเรื่องราวของศาสดาบางท่านเอาไว้[2] เช่นนี้เองสิ่งที่กล่าวไว้ในรายงานว่า ถ้าหากบุคคลใดที่มีนิสัยชอบทำฆุซลฺ ญุมุอะฮฺ, ร่างกายของเขาในหลุมฝังศพจะไม่เน่นเปื่อย
  • ในทัศนะอิสลาม บาปของฆาตกรที่เข้ารับอิสลามจะได้รับการอภัยหรือไม่?
    8114 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/12
    อิสลามมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามอาทิเช่นหากก่อนรับอิสลามเคยละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์เช่นไม่ทำละหมาดหรือเคยทำบาปเป็นอาจินเขาจะได้รับอภัยโทษภายหลังเข้ารับอิสลามทว่าในส่วนของการล่วงละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์เขาจะไม่ได้รับการอภัยใดๆเว้นแต่คู่กรณีจะยอมประนีประนอมและให้อภัยเท่านั้นฉะนั้นหากผู้ใดเคยล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นเมื่อครั้งที่ยังมิได้รับอิสลามการเข้ารับอิสลามจะส่งผลให้เขาได้รับการอนุโลมโทษทัณฑ์จากอัลลอฮ์ก็จริงแต่ไม่ทำให้พ้นจากกระบวนการพิจารณาโทษในโลกนี้
  • การให้การเพื่อต้อนรับเดือนมุฮัรรอม ตามทัศนะของชีอะฮฺถือว่ามีความหมายหรือไม่?
    7480 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ถือเป็นซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ซึ่งได้รับการสถาปนาและสนับสนุนโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.)

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60132 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57573 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42220 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39370 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34004 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28021 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27966 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27804 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25802 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...