การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
13606
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2394 รหัสสำเนา 17839
คำถามอย่างย่อ
นมาซหมายถึงอะไร? เพราะเหตุใดเยาวชนจึงหลีกเลี่ยงการนมาซ
คำถาม
นมาซหมายถึงอะไร? เพราะเหตุใดเยาวชนจึงหลีกเลี่ยงการนมาซ
คำตอบโดยสังเขป

นมาซ,คือขั้นสุดท้ายของการพัฒนาจิตวิญญาณของผู้ขัดเกลาทั้งหลาย ซึ่งเขาจะได้สัมผัสและสนทนากับพระเจ้าของตนโดยปราศจากสื่อกลางในการพูด

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า : จงนมาซเถิด เพื่อจะได้ฟื้นฟูการรำลึกถึงฉัน และฉันจะรำลึกถึงพวกท่านโดยผ่านนมาซ ถ้าหากการรำลึกถึงอัลลอฮฺจะปรากฏออกมาโดยผ่านนมาซแล้วละก็, จะทำให้หัวใจของมนุษย์มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น, เนื่องจากการรำลึกถึงพระเจ้าจะทำให้จิตใจมีความเชื่อมั่น, ผู้นมาซทุกท่านเท่ากับได้ทำลายสัญชาติญาณแห่งความเป็นเดรัจฉานของตน และฟื้นฟูธรรมชาติแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเองให้มีชีวิตชีวา,คุณลักษณะพิเศษของนมาซ, คือการฟื้นฟูธรรมชาติแห่งตัวตน,ผู้นมาซทุกคนที่ได้รับความมั่นใจ และความสงบอันเกิดจากนมาซ จะไม่แสดงความอ่อนไหวต่อสภาพชีวิตการเป็นอยู่ จะไม่แสดงความอ่อนแอแม้จะอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่และมีความลำบากยิ่ง ถ้าหากมีความดีงามมาถึงยังพวกเขา, พวกเขาจะไม่กีดกันและจะไม่หวงห้ามสำหรับคนอื่น

นมาซคือ เกาซัร (สระน้ำ) ซึ่งจะคอยชำระล้างมนุษย์ให้มีความสะอาดบริสุทธิ์, แน่นอน ถ้าหากผู้นมาซไม่รู้สึกว่าตนได้รับความสะอาด หรือประกายแสงอันเจิดจรัสจากนมาซแล้วละก็ ต้องยอมรับโดยดุษณีว่าตนยังไม่ได้นมาซที่แท้จริง, บางครั้งนมาซอาจถูกปฏิบัติอย่างถูกต้องตามหลักการ,แต่ไม่เป็นที่ยอมรับ ณ เอกองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) เนื่องจากนมาซอันเป็นที่ยอมรับจะทำให้จิตวิญญาณของมนุษย์บังเกิดความสะอาด, ดังนั้น ขณะนมาซถ้าหากมนุษย์สามารถควบคุมจิตใจของตนให้อยู่กับร่องกับรอยได้ นอกเหนือเวลานมาซเขาก็สามารถควบคุมการมอง และการฟังของเขาได้เช่นกัน

นมาซคือ การเข้าพบและเข้าเยี่ยมผู้เป็นที่รักยิ่งของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์พระผู้อภิบาลพระผู้ทรงพลานุภาพยิ่ง. เป็นช่วงเวลาของการกระซิบกระซาบกันระหว่างคนรักกัน เป็นช่วงเวลาแห่งการสารภาพความจริงแด่พระเจ้าผู้ทรงเป็นเอกะ, นมาซได้เริ่มต้นด้วยเสียงตักบีร อัลลอฮุอักบัร และรอยยิ้มแห่งความรักและความปิติยินดี พร้อมกับสิ้นสุดลงด้วยการมีสมาธิและคำกล่าวว่า อัสลามุอะลัยกุม เป็นการยืนยันให้เห็นความจริงว่า ข้าพระองค์จะรอคอยการกลับมาอีกครั้งด้วยความรัก รอยยิ้ม และความปลาบปลื้ม ดังนั้น จงรู้คุณค่าของนมาซเถิด ตราบที่เรายังไม่รู้จักพระองค์ และตราบที่เรายังไม่ได้ให้ความสำคัญแก่คนอื่นจนหลงลืมพระองค์?

คำตอบเชิงรายละเอียด

โอ้ ใบไม้ผลิแห่งชีวิต โอ้ ชีวิตแห่งใบไม้ผลิ

พระองค์คือผู้ประทานมวลเมฆแห่งความโปรดปราน ทำให้เรามีชีวิตใหม่เสมอ

ขอพระองค์ อย่าทรงถอดถอนความสัมฤทธิผลไปจากเรา

ขอพระองค์ อย่าวางมือจากจิตใจของเรา

ขอพระองค์ อย่าทำให้การทดสอบเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้เรา

ขอพระองค์ โปรดนำทุกสิ่งมาให้เราตามพระประสงค์

ณ พระองค์คือทุ่งหญ้าอันเขียวขจีแห่งความการุณย์

ขอพระองค์ อย่าทรงขับเคลื่อนร่มเงาของพระองค์ไปจากเรา[1]

โอ้ อัลลอฮฺ ผู้ใดเล่าได้ดื่มด่ำความรักจากพระหัตถ์ของพระองค์ เขาจะกล้าสวมแหวนแห่งความเป็นบ่าวของคนอื่นได้อย่างไร? มะลิดอกไหนหรือ,เมื่อได้เปล่งบานออกจากแหล่งของพระองค์ แล้วจะไม่ส่งกลิ่นรัญจวนเวียนไปหาพระองค์อีก? โอ้ ที่รักทั้งหลายดอกบัวหลวงที่ได้เชิดชูดอกด้วยความรักในพระองค์ มันจะดึงดูดความเมตตาจากท่านให้เหลียวมอง และหลงใหลในความสวยงาม, คนรัก, มนุษย์คนใดหรือเมื่อได้แนบหน้าผากไว้บนดิน เนื่องด้วยการบริบาลของพระองค์ และได้ชิมรสชาติหวานชื่นของพระองค์ แล้วเขาจะหมายใจไปหาคนอื่นได้อย่างไร[2]

นมาซคือ บุรอกและรัฟรัฟ พาหะนะของนักจาริกจิตและผู้ถวิลการขัดเกลา,บุคคลใดก็ตามที่เป็นนักขัดเกลาจิตวิญญาณไปสู่อัลลอฮฺ นมาซคือหนทางอันเฉพาะสำหรับเขา และเขาจะได้รับการอำนวยจากนมาซ และเมื่ออัลกุรอานกล่าวถึงนมาซ กล่าวว่า “และจงดํารงไว้ซึ่งการนมาซ เพื่อรำลึกถึงฉัน"[3] และข้าจะรำลึกถึงเจ้าด้วยนมาซ ถ้าหารการรำลึกถึงอัลลอฮฺผ่านการนมาซแล้วละก็ เวลานั้นดวงจิตของเขาจะบังเกิดความมั่นใจ.อีกด้านหนึ่งการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ทำให้บังเกิดความั่นใจ[4] ดังนั้น จิตใจของมนุษย์ผู้ดำรงนมาซ จะมีความสงบมั่นใจเสมอ. และจะไม่เกรงกลัวผู้อื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ. จะไม่มีศัตรูคนใดทั้งจากภายในและภายนอกสร้างความเสียหายแก่เขาได้ เนื่องจาก ผู้ดำรงนมาซจะรำลึกถึงอัลลอฮฺเสมอ, และการรำลึกถึงอัลลอฮฺ อยู่เสมอนั้นคือปัจจัยสร้างความมั่นใจและความสงบ. อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้ในบทอัลมะริจญ์ เกี่ยวกับความยิ่งใหญ่ของนมาซได้ว่า : แน่นอน มนุษย์ถูกบังเกิดขึ้นมาให้เป็นคนหวั่นไหวไร้ความอดทน ที่จริงแล้วธรรมชาติของมนุษย์วางอยู่บนเตาฮีดและธรรมชาติ แต่จิตของเขาก็จะนำไปสู่ความต่ำทรามอยู่ร่ำไป แต่ธรรมชาติของมนุษย์บรรดาศาสดาได้มาปลูกให้ตื่น และธรรมชาติมิได้เป็นอะไรมากไปจาก สิ่งสกปรกโสโครก อลกุรอาน กล่าว่าเมื่อความทุกข์มาประสบ เขาจะไม่แสดงความสุขุมคัมภีร์ภาพ แต่เมื่อคุณความดีประสบเขาจะหวงแหน (แสดงความตระหนี่โดยไม่แบ่งปันให้ผู้ใด) ยกเว้นบรรดาผู้ดำรงนมาซ พวกเขาจะดำรงมั่นอยู่ในนมาซของตนสมอ”[5]

บรรดาผู้ดำรงนมาซทั้งหลาย, เขาได้ทำลายธรรมชาติ และฟื้นฟูสัญชาติญาณ. ความพิเศษของนมาซคือ การฟื้นฟูสัญชาติญาณ. ผู้ดำรงนมาซคือบุคคลที่ควบคุมและทำลายธรรมชาติแห่งตัวตน หรือทำให้สงบ.เขาจะไม่ทำให้การมีชีวิตของตนต้องอ่อนแอด้วยทุนแห่งความสงบ ที่เขาได้สรรหามาได้วิถีของนมาซ และจะไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อความยากลำบากที่ถาถมเข้ามาอย่างบ้าคลั่ง. ถ้าหากมีความดีงามหนึ่งมาถึงเขาสิ่งนั้นก็จะไม่กลายอุปสรรคปัญหา และเขาจะไม่หันเหออกจากคนอื่น[6] ท่านอิมามบากิริลอุลูม (อ.) รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า : เมื่อบ่าวผู้ศรัทธาได้ยืนปฏิบัตินมาซ อัลลอฮฺ ผู้ทรงเกรียงไกรมองเขาจนกว่าเขาจะนมาซเสร็จ และเบื้องบนศีรษะจนถึงเส้นขอบฟ้าเขาจะอยู่ภายใต้เส้นแห่งความเมตตาของพระเจ้า บรรดามวลมลาอิกะฮฺจะห้อมล้อมเขาเอาไว้ และอัลลอฮฺจะทรงมอบให้มลาอิกะฮฺรับผิดชอบ กล่าวกับเขาว่า : โอ้ ผู้นมาซเอ๋ย, ถ้าท่านรู้ว่าผู้กำลังมองเจ้าอยู่ และกำลังรอคอยการวิงวอนจากท่าน แน่นอนท่านจะไม่มีวันสนใจคนอื่นใดอีก และจะไม่ถอนตัวออกจากสถานที่นมาซของท่านแน่นอน”[7] แทนที่ด้วยดำรัสแห่งพระเจ้า ใบหน้าอันงดงามของยูซุฟใบจำกัดลิ้นมิให้เอื้อนเอ่ย.แล้วจะเป็นเฉกเช่นไรกับความงามบริสุทธิ์, ซึ่งทุกความงามล้วนอยู่ใต้ความงามของพระองค์ทั้งสิ้น? ดังนั้น ความเฉพาะของผู้จาริกจิตจะอยู่ในสภาพของการจมปรัก เมื่อได้รำลึกและได้อิบาดะฮฺ[8]

โอ้ พระผู้อภิบาล โปรดอย่าได้ปฏิเสธหรือวางความรักไว้ใต้สุญญากาศ

โปรดรินหลั่งการรู้จักแก่ย่างก้าวของเรา

โปรดสำเหนียกเสียงตักบีรที่เรากล่าว

พระองค์ทรงมองเห็นทุกสิ่ง

โปรดเติมเวลาแด่การโค้งคาราวะของเราให้ยาวนานขึ้น

โปรดยกฐานันดรของเราในการกราบกรานให้สูงส่ง

ขณะกุนูตอย่าให้เราได้ปล่อยเวลาอย่างไร้ค่า

ข้อความและความสุขของเราที่ออกจากริมฝีปากของเราคือสาร

โปรดให้เราได้เพลิดเพลินกับช่วงเวลาแห่งการเป็นชะฮีด

โปรดเจียระไนเราเมื่อสิ้นสุดสลามของเรา[9]

ซัยยิดชุฮะดา (อ.) ได้กล่าวกับอบัลฟัฎล์ (อ.) เมื่อตอนบ่ายตาซูอาว่า : จงบอกกับหมู่ชนพวกนี้ว่า, คืนนี้คือค่ำอาชูรอ โปรดให้เวลาแก่ฉัน. เนื่องจากอัลลอฮฺผู้ทรงพิสุทธิ์ยิ่งทรงทราบเป็นอย่างดีว่า นมาซ คือสิ่งที่ฉันรักที่สุด[10]

แน่นอน ระหว่างบุคคลที่กล่าวว่า : ฉันนมาซ กับประโยคที่ท่านอิมามกล่าวว่า: ฉันรักนมาซ และนมาซเป็นที่รักของฉัน มีความแตกต่างกันอย่างมากมาย.บุตรของท่านอิมามซัจญาด และอิมามบากิร และมะอฺซูมท่านอื่น (อ.) ต่างมีสภาพดังกล่าวเหมือนกันทั้งหมด ซึ่งทั้งหมดพยายามจะเล่นเมื่อบิดาของท่านนมาซ เพราะทั้งหมดทราบดีว่าเมื่อบิดาของพวกท่าน เริ่มนมาซจะไม่สนใจพวกเขา พวกเขาจะเริ่มเล่นตามใจต้องการ ไม่ว่าพวกเราจะส่งเสียงดังเพียงใดก็ตาม[11]วันหนึ่งในสถานที่แห่งหนึ่งใกล้กับอิมาม, ขณะนั้นอิมามกำลังนมาซ เผอิญได้เกิดไฟไหม้ประชาชนต่างส่งเสียงดังไปทั่วและช่วยกันดับไฟ หลังจากอิมามนมาซเสร็จแล้ว มีผู้ไปบอกท่านอิมามว่าบริเวณใกล้อิมามไฟไหม้ ผู้คนส่งเสียงดังไปทั่วท่านไม่ได้ยินหรอกหรือ? อิมาม (อ.) กล่าวว่า : ไม่ ฉันไม่ได้ยิน เขาได้ถามว่าเป็นไปได้อย่างไร? ท่านอิมามกล่าวว่า : เพราะฉันกำลังดับไฟอีกอย่างหนึ่ง, ฉันกำลังดับไฟอีกโลกหนึ่ง[12]

ใช่แล้ว วัตถุประสงค์ของนมาซ, คือการที่จิตใจมีสมาธิสมบูรณ์ และได้พลีตัวตนของผู้นมาซ ในการแสดงความเคารพภักดี เพื่อความสำเร็จในการที่จะได้พบกับความจริงขั้นสูงสุด แต่สำหรับผู้เริ่มต้นใหม่เพื่อจะไปถึงยังตำแหน่งดังกล่าว, จำเป็นต้องฝึกฝนและใช้ความอุตสาหะอย่างยิ่งยวด ซึ่งถ้าระยะเวลาหนึ่งตนไม่รู้จักจัดการกับจิตใจตัวเอง,ก็จะไม่มีวันรู้จักรหัสของนมาซอย่างเด็ดขาด แต่โดยทั่วไปแล้ว,ผู้ปราชญ์ผู้อาวุโสได้อธิบายรหัสของนมาซไว้ 6 ระดับด้วยกัน กล่าวคือ :

หนึ่ง.การตั้งจิตใจให้มั่น,กล่าวคือขณะนมาซจะต้องไม่ปล่อยจิตใจให้ฟุ้งซ่านคิดถึงสิ่งอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น

สอง. ต้องทำความเข้าใจความหมายของคำอ่าน สิ่งที่กล่าว และตัสบีฮฺของนมาซ,ในลักษณะที่ว่าเมื่อปากได้กล่าวคำพูด ใจก็เข้าใจในความหมายไปพร้อมกัน

สาม .ยกย่องความยิ่งใหญ่, กล่าวคือขณะนมาซต้องยกย่องผู้ที่เราแสดงความเคารพ และเป้าหมายของผู้สร้างในอยู่ในความทรงจำเสมอ

สี่. แสดงความเกรงกลัว,กล่าวคือจงแสดงความเกรงกลัวในความยิ่งใหญ่ที่สุดของอัลลอฮฺ ซึ่งจะต้องไม่ปล่อยให้การอิบาดะฮฺนั้นมีความบกพร่อง

ห้า.มีความหวัง,ในฐานะอันมีเกียรติยิ่งแห่งการมีอยู่ของพระองค์ เพราะพระองค์คือผู้ทรงมีเกียรติเป็นที่สุด ซึ่งเป็นที่รับรู้เป็นอย่างดีสำหรับพวกเราถึงความเมตตาของพระองค์,แน่นอน พวกเราจะไม่ผิดหวังในความเมตตา และพระองค์จะทรงอภัยในความผิดของเรา

หก.มีความละอาย,กล่าวคือต้องเจียมตัวเองและอิบาดะฮฺของตนและสำนึกเสมอว่า สิ่งที่กำลังทำเล็กเพียงนิดเดียว ณ เบื้องพระพักตร์ของพระองค์ อิบาดะฮฺของตนคือการแสดงความอับอายที่สุด และตนต้องแสดงความเป็นบ่าวที่ต่ำต้อยออกมา[13]

โอ้ ท่านที่รักทั้งหลาย, และนี่คือขั้นสุดท้ายของการจาริกจิต ของผู้แสวงการขัดเกลาทั้งหลาย ซึ่งปราศจากสื่อกลางระหว่างเขากับอัลลอฮฺ ประโยคอันจำเริญหนึ่งกล่าวว่า (เพียงเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เรานมัสการและเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราขอความช่วยเหลือ) ซึ่งเรามักกล่าวประโยคนี้ซ้ำอยู่เสมอ

โอ้ อัลลอฮฺ, แม้คำพรรณนาเสียงสรรเสริญที่กึกก้องเทียมท้องฟ้า ก็มิอาจพรรณนาถึงพระองค์ได้ สติปัญญาแม้จะโบยบินไปสู่ความสง่างามของพระองค์ แต่ก็มิอาจไปถึงได้, โอ้ อัลลอฮฺ ความเข้าใจเพียงน้อยนิดของพวกเรา เมื่อไหร่จะเข้าใจและรับรู้ถึงพระองค์ได้ มันสมองที่ชาญฉลาดของเรา เมื่อไหร่จะสามารถบรรจุความสง่างามของพระองค์เอาไว้ได้? โอ้ อัลลอฮฺ โปรดทำให้เราเป็นเช่นต้นไม้ที่ขึ้นชูช่อและกิ่งก้านอยู่ในสวน รากของมันได้ชยชอนไชเพื่อแสวงหาอาหาร ประกายแห่งความรักของพระองค์ได้จุดสว่างอยู่ในหัวใจของพวกเขา และความสง่างามของพระองค์ได้เติบโตอยู่ในความคิดของพวกเขาเสมอ พวกเขาอยู่ในเรือกสวนที่ใกล้ชิดกับพระองค์ ทุ่งหญ้าอันเขียวขจีได้ขึ้นบานพร้อมสะพรั่ง พวกเขาได้ดื่มด่ำความรักด้วยถ้วยแก้วแห่งพระเมตตาของพระองค์ บรรดาพวกที่ได้เลือกสถานที่พักพิงเป็นเพื่อนบ้านของท่าน เขาต่างได้ดื่มน้ำฝนแห่งเมตตาของพระองค์ และสวมใส่อาภรณ์อันเป็นความการุณย์ของพระองค์[14]

ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) กล่าวว่า : “โอ้ อัลลอฮฺ โปรดให้ข้าพระองค์ได้ลิ้มรสความหวานชื่นในการรำลึกถึงพระองค์”[15]

เนื่องจากพวกเรายังมิเคยได้รับความหวานชื่นอันนั้น.นมาซสำหรับเราจึงเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่สุด. ทั้งที่เรานมาซ แต่เรายังไม่เคยรู้สึกว่าได้รับรัศมีอันเจิดจรัสของนมาซแม้แต่นิดเดียว เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า เรายังไม่เคยนมาซด้วยมารยาท ด้วยการรับรู้ และด้วยความรักที่มีต่อความเร้นลับของนมาซ[16]

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวไว้ในนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ โดยรายงานมาจากท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ว่า ท่านได้กล่าวว่า : ฉันรู้สึกประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง สำหรับบุคคลที่ภายในบ้านของเขามีตาน้ำ และเขาได้ชำระล้างตนในตาน้ำนั้น วันหนึ่ง 5 ครั้ง แต่เขาก็ยังสกปรกเหมือนเดิม. เนื่องจากนมาซนั้นประหนึ่งตาน้ำที่ใสสะอาด ซึ่งมนุษย์จะชำระล้างตนเองในตาน้ำวันหนึ่ง 5 ครั้ง”[17]

นมาซคือ เกาซัร ซึ่งจะทำความสะอาดมนุษย์ให้สะอาดอยู่เสมอ แต่ถ้าเขายังไม่รู้สึกถึงความสะอาดนั้น พึงรู้ไว้เถิดว่า ตนยังมิได้นมาซที่แท้จริง เป็นไปได้ว่านมาซนั้นถูกต้องทุกประการ แต่ไม่เป็นทียอมรับ ณ อัลลอฮฺ, เนื่องจากนมาซที่ถูกยอมรับคือ นมาซที่ทำความสะอาดจิตวิญญาณของมนุษย์ให้สะอาดหมดจด.เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์สามารถควบคุมจิตใจตนขณะนมาซให้มีสมาธิได้ เขาก็จะสามารถควบคุมสายตาและหูนอกเวลานมาซให้มีสมาธิได้เช่นกัน[18]

โอ้ ท่านผู้เป็นที่รักทั้งหลาย, จงมอบเรือนร่างแก่โลก และหัวใจแก่เมาลา,เพื่อเราจะได้รู้จักพระองค์, และสาส์นของพระองค์จะได้ให้ความสงบมั่นแก่จิตใจ. เพื่อหัวใจของผู้มีความรักจะได้เข้ากันได้กับสาส์น และจะได้พบกับความจริง และสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าระว่างจิตใจและเจ้าของจิตใจนั้นไม่มีม่านกีดขวาง จงพยายามขวนขวายเพื่อว่าในทุกภาวะกาลหัวใจของเราจะได้อยู่กับผู้ที่เรารัก มิใช่เร่ร่อนอยู่ตามตรอกซอกซอย หรือตามตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลานมาซ เนื่องจาก “ผู้นมาซทุกคนในเวลานมาซเขาจะวิงวอน สารภาพ และเผยความในใจกับพระผู้อภิบาลของตน”[19]

สรุปสิ่งที่กล่าวมา นมาซ คือ : การพบปะกันระหว่างคนรัก, การปลีกเวลาเพื่ออยู่กับพระองค์, สิ้นสุดของการเดินทาง, ช่วงเวลาแห่งการสร้างความสัมพันธ์, การมีสมาธิ ณ เบื้องพระพักตร์ของจอมราชันย์แห่งโลกและจักรวาล, บางครั้งลิ้นได้สรรเสริญและพรรณนาถึงพระองค์, ช่วงเวลาแห่งการเปิดเผยความไร้สามารถ, การอนุญาตให้เข้าพบเพื่อสารภาพและแจ้งความต้องการ, เพื่อพบความเปล่งบานและความสง่างามของพระองค์, แบกความต้อยต่ำของตนไปยังความสงบมั่น, เป็นช่วงโอกาสทอง, การรำลึกถึงความสง่างามและความยิ่งใหญ่ของพระองค์, เนื่องจากเรามิได้ไปหาพระองค์ด้วยความวิสาสะ ทว่าเป็นการเชิญของพระองค์, เป็นการรักษามารยาทและสมาธิ, การเข้าไปใกล้เพื่อกระซิบกระซาบกับคนรัก, เป็นการแสดงให้เห็นถึงความดีและบ่าวที่เป็นกัลป์ญาณชน, ความเป็นกันเอง,การเอื้อนเอยพระนามอันไพรจิตของพระองค์ด้วยลิ้น, และ ....การจากคนรักด้วยความเศร้าสลดและสิ้นสุดเวลาเยี่ยมเพื่อเตรียมพบในโอกาสต่อไป, ได้กล่าวสลามแด่พระองค์เพื่อยืนยันการพบกันในครั้งต่อไป, ขณะที่ลิ้นได้เอ่ยนามอันจำเริญของพระองค์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า,ด้วยหัวใจและด้วยชีวิต, ด้วยการรำลึกถึงพระองค์เราจึงดำรงชีวิตอยู่ต่อไป

ดังนั้น โอ้ ท่านผู้เป็นที่รักทั่งหลาย,การที่เราไม่รู้จักคนรัก,ไม่รู้จักพระลักษณะอันสง่างาม,การไม่มอบหัวใจแด่พระองค์,การไม่ได้ยินเสียงร้องเรียกของพระองค์, การนอนหลับ ความขี้เกลียด ความอิ่มแป้ และหัวใจที่มกมุ่นกับภารกิจทางโลก และการไม่อุทิศความสามารถเพื่อพระองค์, ฉะนั้น สภาพเช่นนี้เราจะเข้าพระองค์ได้อย่างไร? การไม่รู้จักหัวนอนปลายเท้า การไม่หวาดกลัว หรือจะรอจนหน้าเปลี่ยนสี และเท้าสั่นเทาเสียก่อน? ตราบที่ตนยังมกมุ่นอยู่ และเท้ายังก้าวเดินอยู่ภายนอก เมื่อไหร่เราจะประสบความสำเร็จได้พบพระองค์?

ต้องไม่ลืมว่าการเติบโตและความสำเร็จของเยาวชน ขึ้นอยู่กับการอบรมสั่งสอนของครอบครัว, ครอบครัวคือเคหสถาน คือสวนแห่งไม้พันธ์ที่ส่งกลิ่นหอมรัญจวน ถ้าหากบรรยากาศกลายเป็นความเศร้า,แล้วเราจะอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นได้อย่างไร



[1] ฟัยฎ์กาชานี,มุลลามุฮฺซิน,ดีวอน ชะเอร

[2] ชุญาอัต,ซัยยิดมะฮฺดี, ดัสต์ดุอาอฺจิชอุมีดมะนาญาตคอมซะตะ อะชะเราะ, มะนาญาตที่ 6, หน้า 81

[3] อัลกุรอาน บทฏอฮา โองการที่ 14

[4] อัลกุรอาน บทอัรเราะอฺดุ 28.

[5] อัลกุรอาน บทมะอาริจญ์, 19 - 23

[6] ญะวาดี ออมูลี,อับดุลลอฮฺ, ฮิกมะฮฺอิบาดะฮฺ, หน้า 95

[7] มันลายะฮฺเฎาะเราะฮุลฟะกีฮฺ, เล่ม 1, หน้า 210, ฮะดีซที่ 636.

[8]ซับซะวารีย์, มุลลาฮาดี,อัสรอรุลฮะกัม,หน้า 528

[9] เฟฎ กาชานีย์, ดีวอนเชรอ์

[10] มักตัลฮุเซน (.) มุก็อรริม, หน้า 232.

[11] อันวารุลบะฮียะฮฺ, หน้า 49

[12] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 46,หน้า 78.

[13] มิกดาร เอซฟาฮาน, อะลี, เนะชอนอัซบีเนะชอนฮอ, เล่ม 1, หน้า 325.

[14] ชุญออัต, ดัสต์ ดุอาอฺ จิชอุมีด, มะนาญาตบทที่ 12.

[15] มะฟาตีฮุลญินาน,มะนาญาตบทที่ 15.

[16] ญะวาดี ออมูลี, ฮิกมัตอิบาดาต, หน้า 105.

[17] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, คำเทศนาที่ 199.

[18] ญะวาดี ออมูลี, ฮิกมัตอิบาดาต, หน้า 115, 116.

[19] ฮะซัน ซอเดะฮฺ ออมูลี, ตอซิยอเนะ ซุลูก, หน้า 12.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เมื่อคำนึงถึงการที่สตรีจะต้องมีประจำเดือน จะเป็นไปได้อย่างไรที่จะถือศีลอดกัฟฟาเราะฮ์ เนื่องจากจะต้องถือศีลอดติดต่อกันเป็นเวลา 31 วัน
    6648 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    ในการถือศีลอดที่มีเงื่อนไขว่าจะต้องถืออย่างติดต่อกัน (เช่นการถือศีลอดกัฟฟาเราะฮ์หรือการถือศีลอดที่มีการบนบานเอาไว้) หากเขาไม่สามาถทำเช่นนี้ได้เนื่องจากป่วยหรือมีรอบเดือนหรือเป็นนิฟาซ (สำหรับสตรี) และผู้ถือศีลอดไม่สามารถถือศีลอดติดต่อกันได้ต่อเมื่อข้อจำกัดเหล่านั้นหมดไป (เช่นการป่วย, การมีรอบเดือนหรือการมีนิฟาซ) หากถือศีลอดต่อทันทีก็จะถือว่าถูกต้องและไม่จำเป็นต้องเริ่มถือศีลอดใหม่แต่อย่างใด[1][1]อิมามโคมัยนี, รูฮุลลอฮ์, ตะฮ์รีรุลวะซีละฮ์, แปล,เล่มที่
  • เพราะเหตุใดพระเจ้าผู้ทรงสามารถปกปักรักษาอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ในช่วงของการเร้นกายให้ปลอดภัยได้, แต่พระองค์มิทรงสัญญาเช่นนั้น เพื่อว่าท่านจะได้ปรากฏกาย และปกป้องท่านจากทุกภยันตราย
    5392 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    หนึ่งในประเด็นสำคัญยิ่งที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้ย้ำเตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าแก่ประชาชาติคือ คือการทำลายล้างอำนาจการกดขี่ข่มเหง และการขุดรากถอนโคนความอธรรมโดยน้ำมือของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ด้วยสาเหตุนี้เอง การดำรงอยู่ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จึงได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากชน 2 กลุ่ม, กลุ่มหนึ่งคือผู้ได้รับการอธรรมข่มเหงบนหน้าแผ่นดินหวังที่จะยื่นคำอุทรณ์และได้รับการสนับสนุน พวกเขาได้ชุมนุมกันเนื่องด้วยการดำรงอยู่ของท่านอิมาม ได้นำเสนอขบวนการและการต่อสู้ป้องกัน, กลุ่มที่สองคือ กลุ่มผู้อธรรมข่มเหง กลั่นแกล้งระราน ผู้ชอบการนองเลือดคอยควบคุมและกดขี่ประชาชาติผู้ด้อยโอกาส และเพื่อไปถึงยังผลประโยชน์ส่วนตัว และรักษาตำแหน่งของพวกเขาเอาไว้ พวกเขาจึงไม่กลัวเกรงการกระทำความชั่วร้าย และความลามกอนาจารใดๆ พวกเขาพร้อมที่จะให้ทุกประเทศเสียสละเพื่อตำแหน่งของพวกเขา คนกลุ่มนี้รู้ดีว่าการดำรงอยู่ของอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) คือผู้ที่จะมากีดขวางและขัดผลประโยชน์ และเจตนาชั่วร้ายของพวกเขา อีกทั้งจะทำให้ตำแหน่งผู้นำและผู้บัญชาการของพวกเขาตกอยู่ในอันตราย พวกเขาจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะขจัดท่านอิมามให้สูญสิ้นไป เพื่อพวกเขาจะได้ปลอดภัยจากภยันตรายอันใหญ่หลวงยิ่งนี้, แต่ทั้งหมดเหล่านี้ ถึงแม้ว่าอำนาจของอัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้ถูกจำกัดให้คับแคบลงแต่อย่างใด เพียงแต่พระองค์ประสงค์ให้ทุกภารกิจการงานดำเนินไปตามธรรมชาติและหลักการทั่วไป มิได้เป็นเงื่อนไขเลยว่า เพื่อปกปักรักษาบรรดาศาสดา อิมามผู้บริสุทธิ์ และศาสนาศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ พระองค์จะหยุดยั้งการใช้วิธีการ สื่อ เครื่องมือ เหตุผล ...
  • จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามได้อย่างไรในสภาพสังคมบริโภคนิยม มีความแตกแยก และโกหกหลอกลวงกันอย่างแพร่หลาย?
    6892 بندگی و تسبیح 2555/05/31
    บทบัญญัติอิสลามสามารถนำมาใช้ได้สองมิติด้วยกัน บางประการเกี่ยวข้องกับปัจเจกบุคคล และบางประการเกี่ยวข้องกับสังคม ส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัจเจกนั้น สามารถปฏิบัติได้ในทุกสภาพสังคม กล่าวคือ หากมุสลิมประสงค์จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามเชิงปัจเจก อาทิเช่น นมาซ ถือศีลอด ฯลฯ แม้สังคมนั้นๆจะเสื่อมทราม แต่ก็ไม่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อกิจวัตรส่วนตัวมากนัก แต่บทบัญญัติบางข้อเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในสังคมที่สามารถประยุกต์ใช้ในสังคมได้ และเนื่องจากมนุษย์ไฝ่ที่จะอยู่ในสังคม จึงจำเป็นจะต้องอาศัยอยู่และสนองความต้องการของตนภายในสังคม ในมุมมองนี้บุคคลควรปกป้องคุณธรรมศาสนาเท่าที่จะมีความสามารถ และมีหน้าที่จะต้องกำชับกันในความดีและห้ามปรามความชั่วตามสำนึกที่มีต่อสังคม ซึ่งแม้ไม่สัมฤทธิ์ผลก็ถือว่าได้ทำตามหน้าที่แล้ว อนึ่ง ในกรณีที่ต้องใช้ชีวิตในสภาพสังคมเช่นนี้ ควรพึ่งพาตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ...
  • มีฮะดีษจากอิมามศอดิก(อ.)ระบุว่า “การก่อสงครามกับรัฐทุกครั้งที่เกิดขึ้นก่อนการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี จะเป็นเหตุให้บรรดาอิมามและชีอะฮ์ต้องเดือดร้อนและเศร้าใจ” เราจะชี้แจงการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านอย่างไร?
    6407 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ต้องเรียนชี้แจงดังต่อไปนี้:หนึ่ง: เป็นไปได้ว่าฮะดีษประเภทนี้อาจจะเกิดจากการตะกียะฮ์หรือเกิดจากสถานการณ์ล่อแหลมในยุคที่การจับดาบขึ้นสู้มิได้มีผลดีใดๆอนึ่งยังมีฮะดีษหลายบทที่อิมามให้การสนับสนุนการต่อสู้บางกรณีสอง: ฮะดีษที่คุณยกมานั้นกล่าวถึงกรณีการปฏิวัติโค่นอำนาจด้วยการนองเลือดแต่ไม่ได้ห้ามมิให้เคลื่อนไหวปรับปรุงสังคมเพราะหากศึกษาประวัติศาสตร์ก็จะพบว่าบรรดาอิมามเองก็ปฏิบัติตามแนววิธีดังกล่าวเช่นกันหากพิจารณาถึงแนววิธีในการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านกอปรกับแนวคิดของผู้นำการปฏิวัติก็จะทราบทันทีว่าการปฏิวัติดังกล่าวมิไช่การปฏิวัติด้วยการนองเลือดและผู้นำปฏิวัติก็ไม่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว สรุปได้ว่าการปฏิวัติอิสลามมิได้ขัดต่อเนื้อหาของฮะดีษประเภทดังกล่าวแต่อย่างใด ...
  • มีฮะดีษบทใดบ้างที่กล่าวถึงบุตรซินา?
    7508 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    อิสลามถือว่าบุตรที่เกิดจากการผิดประเวณี (บุตรซินา) มีสถานะเฉพาะตัวซึ่งท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ตามแหล่งอ้างอิงดังต่อไปนี้1. มรดกของบุตรซินาวะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 26,หน้า 274, بَابُ أَنَّ وَلَدَ الزِّنَا لَا یَرِثُهُ الزَّانِی وَ لَا الزَّانِیَةُ وَ لَا مَنْ تَقَرَّبَ بِهِمَا وَ لَا یَرِثُهُمْ بَلْ مِیرَاثُهُ لِوُلْدِهِ أَوْ نَحْوِهِمْ وَ مَعَ عَدَمِهِمْ لِلْإِمَامِ وَ أَنَّ مَنِ ادَّعَى ابْنَ جَارِیَتِهِ وَ لَمْ یُعْلَمْ کَذِبُهُ قُبِلَ قَوْلُهُ وَ لَزِمَهُ
  • การรัจญฺอัตหมายถึงอะไร? ครอบคลุมบุคคลใดบ้าง? และจะเกิดขึ้นเมื่อใด?
    6393 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    การรัจญฺอัตเป็นหนึ่งในความเชื่อของชีอะฮฺอิมามียะฮฺ, หมายถึงการกลับมายังโลกมนุษย์, ภายหลังจากได้ตายไปแล้วและก่อนที่จะถึงวันฟื้นคืนชีพซึ่งจะเกิดขึ้นภายหลังการปรากฎกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
  • ผู้ที่มาร่วมพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)มีใครบ้าง?
    10269 تاريخ بزرگان 2555/03/14
    ตำราประวัติศาสตร์และฮะดีษของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์เล่าเหตุการณ์ฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)ว่า อลี บิน อบีฏอลิบ(อ.) และฟัฎล์ บิน อับบ้าส และอุซามะฮ์ บิน เซด ร่วมกันอาบน้ำมัยยิตแก่ท่านนบี บุคคลกลุ่มแรกที่ร่วมกันนมาซมัยยิตก็คือ อับบาส บิน อับดุลมุฏ็อลลิบและชาวบนีฮาชิม หลังจากนั้นเหล่ามุฮาญิรีน กลุ่มอันศ้อร และประชาชนทั่วไปก็ได้นมาซมัยยิตทีละกลุ่มตามลำดับ สามวันหลังจากนั้น ท่านอิมามอลี ฟัฎล์ และอุซามะฮ์ได้ลงไปในหลุมและช่วยกันฝังร่างของท่านนบี(ซ.ล.) หากเป็นไปตามรายงานดังกล่าวแล้ว อบูบักรและอุมัรมิได้อยู่ในพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.) แม้จะได้ร่วมนมาซมัยยิตเสมือนมุสลิมคนอื่นๆก็ตาม ...
  • ในอายะฮ์ "وَمَنْ عَادَ فَینتَقِمُ اللّهُ مِنْهُ وَاللّهُ عَزِیزٌ ذُو انْتِقَامٍ"، สาเหตุของการชำระโทษคืออะไร
    6125 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/05
    อายะฮ์ที่ได้ยกมาในคำถามข้างต้นนั้นเป็นอายะฮ์ที่ถัดจากอายะฮ์ก่อนๆในซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ซึ่งมีเนื้อหาว่าการล่าสัตว์ขณะที่กำลังครองอิฮ์รอมถือเป็นสิ่งต้องห้ามในที่นี่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้กล่าวว่าผู้ใดที่ได้ละเมิดขอบเขตของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) กล่าวคือไม่ยี่หระสนใจเกี่ยวกับข้อห้ามในการล่าสัตว์ในขณะที่ครองอิฮ์รอมอยู่โดยได้ล่าสัตว์ขณะที่กำลังทำฮัจญ์  อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ก็จะชำระโทษพวกเขาดังนั้นสาเหตุของการชำระโทษในที่นี้ก็คือการดื้อดึงที่จะทำบาปนั้นเอง[1]ใครก็ตามที่ได้กระทำสิ่งต้องห้าม (ล่าสัตว์ขณะครองอิฮ์รอม) พระองค์ย่อมจะสำเร็จโทษเขาอายะฮ์ดังกล่าวต้องการแสดงให้เห็นว่าบาปนี้เป็นบาปที่ใหญ่หลวงถึงขั้นที่ว่าผู้ที่ดื้อแพ่งจะกระทำซ้ำไม่อาจจะชดเชยบาปดังกล่าวได้ในอันดับแรกสามารถชดเชยบาปได้โดยการจ่ายกัฟฟาเราะฮ์และเตาบะฮ์แต่ถ้าหากได้กระทำบาปซ้ำอีกอัลลอฮ์จะชำระโทษผู้ที่ฝ่าฝืนเนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้มีชัยและเป็นจ้าวแห่งการชำระโทษและสำนวนอายะฮ์นี้แสดงให้เห็นว่าบาปดังกล่าวเป็นบาปที่ใหญ่หลวงสำหรับปวงบ่าวนั่นเอง[2]คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด[1]มัฆนียะฮ์, มุฮัมหมัดญะวาด
  • สตรีสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในโลกไซเบอร์โดยไม่ขออนุญาตจากสามีหรือไม่?
    4816 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    คำตอบของบรรดามัรยิอ์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมีดังนี้อายาตุลลอฮ์คอเมเนอี “หากไม่จำเป็นที่จะต้องครอบครองทรัพย์สินของสามีก็ถือว่าไม่จำเป็นที่จะต้องขออนุญาตแต่จะต้องคำนึงว่าการติดต่อสื่อสารกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอมส่วนใหญ่จะทำให้เกิด... หรืออาจจะทำให้ตกในการกระทำบาปซึ่งไม่อนุญาต”อายาตุลลอฮ์ซิซตานี “การติดต่อสื่อสารกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอมถือว่าไม่อนุญาต”อายาตุลลอฮ์ศอฟีกุลฟัยกานี “โดยรวมแล้วการติดต่อสื่อสารในลักษณะนี้แม้ว่าสามีอนุญาติก็ไม่ถือว่าสามารถจะกระทำได้”ฮาดาวีเตหะรานี “หากการติดต่อสื่อสารในโลกไซเบอร์อยู่ในขอบเขตที่อนุญาตและไม่เกรงที่จะเกิดบาปเป็นที่อนุญาตและไม่จำเป็นที่จะต้องขออนุญาติจากสามี” ...
  • กรุณาแจกแจงความสำคัญของฮะดีษกิซาอ์
    7704 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    ฮะดีษกิซาอ์ที่ปรากฏในตำราฮะดีษและหนังสือมะฟาตีฮุลญินานของเชคอับบาสกุมีมีความสำคัญเป็นพิเศษในแง่อิมามัตและอิศมัต(ภาวะไร้บาป)ตำแหน่งอิมามและวิลายะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์ได้รับการพิสูจน์จากเบาะแสในฮะดีษบทนี้เนื่องจากกริยาและวาจาของท่านนบี(ซ.

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57207 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    54907 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40293 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37385 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    35948 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32344 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26655 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26012 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    25836 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24107 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...