Please Wait
8006
ข้อคิดดังกล่าวมิได้ระบุถึงการศึกษาและกิจกรรมอื่นๆเลย กรุณาชี้แจง พร้อมกับแนะนำว่าดิฉันควรจะต้องใช้ชีวิตอย่างไร จะปฏิบัติตามผู้บรรลุแก่นธรรมเช่นไร?
อิสลามมีคำสอนที่เกี่ยวกับเป้าหมายของชีวิตมากมาย กุรอานได้ชี้แนะว่า “อิบาดัต” คือเป้าหมายของมนุษย์ อันจะนำมาซึ่งการบรรลุธรรม ตลอดจนความผาสุกในโลกนี้และโลกหน้า อีกนัยหนึ่ง จุดประสงค์ของชีวิตก็คือการแข่งขันกันทำความดี ซึ่งฮะดีษหลายบทก็ได้แจกแจงถึงรายละเอียดของเป้าหมายชีวิตอย่างชัดเจน
ส่วนการศึกษาฮะดีษของบรรดามะอ์ศูมีน(อ.)นั้น จำเป็นต้องคำนึงว่า แม้ฮะดีษเหล่านี้จะมีประโยชน์สำหรับทุกคน แต่การที่จะอ้างฮะดีษบทใดบทหนึ่งถึงพวกท่านเหล่านั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงเงื่อนไขบางประการ ซึ่งจะนำเสนอในหน้าคำตอบแบบสมบูรณ์
อิสลามมีคำสอนที่เกี่ยวกับเป้าหมายของชีวิตมากมาย กุรอานได้ชี้แนะว่า “ อิบาดัต ” คือเป้าหมายของมนุษย์ อันจะนำมาซึ่งการบรรลุแก่นธรรม ตลอดจนได้รับความผาสุกในโลกนี้และโลกหน้า [1] อีกนัยหนึ่ง จุดประสงค์ของชีวิตก็คือการแข่งขันกันทำความดี [2] ( สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ อธิบายนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ , อัลลามะฮ์ ญะฟะรี , เล่ม 1,6,8 และหนังสือวิวัฒนาการทางสังคมของมนุษย์ , ชะฮีดมุเฏาะฮะรี ตลอดจนคำตอบที่นำเสนอในเว็บไซต์แห่งนี้ [3] )
อนึ่ง
ควรคำนึงถึงข้อสังเกตุต่อไปนี้
มีฮะดีษจากอิมามศอดิก
(
อ
.)
รายงานว่า
ท่านอิมามฮุเซน
(
อ
.)
กล่าวแก่สาวกของท่านว่า
“
อัลลอฮ์ผู้เกรียงไกรมิได้สร้างปวงบ่าวมาเพื่ออื่นใด
เว้นแต่เพื่อให้รู้จักพระองค์
เมื่อได้รู้จักก็จะบูชาพระองค์
และเมื่อได้บูชาพระองค์ก็จะหลุดพ้นจากการบูชาสิ่งอื่น
”
[4]
แต่ประเด็นที่ไคร่ขออธิบายเป็นพิเศษก็คือ ประเด็นการทำความเข้าใจฮะดีษของบรรดามะอ์ศูมีน ( อ .) ทั้งนี้ จำเป็นต้องคำนึงว่า แม้ฮะดีษจะมีประโยชน์สำหรับทุกคน แต่การที่จะอ้างทัศนะคติใดถึงบรรดาอิมาม จำเป็นต้องคำนึงถึงเงื่อนไขบางประการดังต่อไปนี้
1. จะต้องมีทักษะในการแยกแยะฮะดีษที่มีความหมายเชิงรวมออกจากฮะดีษที่มีความหมายเฉพาะกาลได้ เนื่องจากบางฮะดีษอาจได้รับการเจาะจงความหมายด้วยฮะดีษอื่นๆ จึงจำเป็นต้องมีความรู้เชิงมหภาคในเรื่องนี้ กล่าวคือ หากประสงค์จะทราบว่าอะไรคือเป้าหมายของชีวิตในทัศนะของอิสลามและบรรดาอิมาม จำเป็นจะต้องตรวจตราฮะดีษต่างๆให้แน่ใจเสียก่อนว่าไม่มีฮะดีษอื่นใดที่กำหนดกรอบความหมายให้แคบลงได้อีก
2. จะต้องมีทักษะที่จะจำแนกลักษณะฮะดีษมุฏลัก ( เชิงกว้าง ) ออกจากมุก็อยยัด ( ระบุปัจจัยเจาะจง )
3. บางครั้งฮะดีษบางบทมีความหมายเฉพาะบางยุคสมัย เพราะอิมามท่านอื่นได้ระบุระยะเวลาดังกล่าวในภายหลัง เราเรียกฮะดีษประเภทนี้ว่า นาสิค และ มันสู้ค ฉะนั้นจึงต้องพิจารณาถึงปัจจัยดังกล่าวก่อนที่จะอ้างอิงเนื้อหาใดๆถึงบรรดาอิมาม
4. จะต้องมีทักษะในการลำดับความลึกซึ้งของฮะดีษ ต้องสามารถแยกแยะฮะดีษที่อิมามกล่าวแก่บุคคลทั่วไป ออกจากฮะดีษที่มีเนื้อหาลึกซึ้งเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่นการที่บางคนถามอิมามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่อัลลอฮ์จะบรรจุโลกทั้งใบไว้ในไข่ไก่ใบเดียว โดยที่ไข่ไก่มิได้ใหญ่ขึ้น และโลกมิได้เล็กลง ! อิมามตอบบุคคลดังกล่าวโดยเปรียบเทียบว่าอัลลอฮ์สามารถบรรจุทั้งโลกไว้ในดวงตามนุษย์ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าไข่ไก่ คำตอบดังกล่าวอาจเป็นคำตอบที่ไม่เพียงพอสำหรับบุคคลอีกระดับหนึ่ง จึงมีการนำเสนอเหตุผลเสริมให้ครบถ้วนสมบูรณ์ [5]
ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องเหลือเชื่อที่จะพบคำพูดที่หักล้างกันเองในหนังสืออย่างนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ อันเป็นพจนารถที่นักวิชาการที่ยิ่งใหญ่ของมุสลิมและแม้แต่ต่างศาสนิกต่างก็ได้รับประโยชน์กันถ้วนหน้า [6]
ส่วนประเด็นการศึกษานั้น ต้องเรียนว่า หากได้อ่านหนังสืออัลกาฟี หมวดความรู้และความเขลา ก็จะเข้าใจถึงมุมมองของอิสลามที่มีต่อการศึกษาได้เป็นอย่างดี ในหมวดนี้ระบุว่าการแสวงหาความรู้ถือเป็นอิบาดัตสูงสุดประเภทหนึ่ง ฉะนั้นจึงสามารถนำมาผนวกกับฮะดีษของอิมามอลี ( อ .) ที่ว่าผู้ศรัทธาจะต้องแบ่งเวลาในหนึ่งวันออกเป็นสามส่วน ... ทั้งนี้ก็เพราะว่าการแสวงหาความรู้ก็จัดอยู่ในส่วนของอิบาดัตเช่นกัน ตัวอย่างเช่นฮะดีษของท่านอิมามอลี ( อ .) เกี่ยวกับความสำคัญของการศึกษาที่ว่า :
“ ความสมบูรณ์ของศาสนาก็คือการแสวงหาความรู้และนำสู่การปฏิบัติ จงรู้เถิด การแสวงหาความรู้เป็นวาญิบยิ่งกว่าการแสวงหาทรัพย์สินเสียอีก ” [7]
สุดท้ายนี้อยากจะแนะนำว่า
ในช่วงวัยอันสำคัญนี้
ควรสานสัมพันธ์และหมั่นศึกษาจากผู้รู้ทางศาสนาที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อศึกษาสารธรรมของอะฮ์ลุลบัยต์อย่างจริงจัง
และควรระวังบุคคลที่จ้องจะเบี่ยงเบนเส้นทางชีวิตของคนหนุ่มสาวให้เฉไฉไปตามทิศทางที่เขาต้องการ
ซึ่งเป็นเส้นทางที่มิได้ทอดสู่อัลลอฮ์และความผาสุกในโลกนี้และโลกหน้า
ขอให้คุณประสบความสำเร็จในทุกด้าน
[1] ซาริยาต , 56
[2] ฮู้ด , 7 และ อัลมุ้ลก์ , 2
[3] ระเบียน: เป้าหมายการสรรสร้าง,คำถามที่ 10188 (ในเว็บไซต์ 10385 ) ระเบียน : เป้าหมายการสร้างมนุษย์ , คำถามที่ 224 ( ในเว็บไซต์ 1767) ระเบียน : เป้าหมายของการสร้างมนุษย์ , คำถามที่ 652 ( ในเว็บไซต์ 703) ระเบียน : เป้าหมายการสร้างมนุษย์และโลก , คำถามที่ 1052 ( ในเว็บไซต์ 1268)
[4] "ان الله عزوجل ما خلق العباد الا لیعرفوه، فإذا عرفوه عبدوه، فإذا عبدوه استغنوا بعبادته عن عبادة من سواه" อิละลุชชะรออิอ์ , เชคเศาะดู้ก , อ้างในอัลมีซาน , เล่ม 18, หน้า 423
[5] มัจลิซี , มุฮัมมัดตะกี , บิฮารุลอันว้าร , เล่ม 4, หน้า 143
[6] ดู : ชะฮีดมุเฏาะฮะรี , รู้จักนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ , และ บทนำของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ อรรถาธิบายโดยมุฮัมมัด อับดุห์ , มุฟตีอิยิปต์
[7] กุลัยนี , มุฮัมมัด บิน ยะอ์กู้บ , อัลกาฟี , เล่ม 1, หน้า 30
قَالَ سَمِعْتُ أَمِیرَ الْمُؤْمِنِینَ یَقُولُ أَیُّهَا النَّاسُ اعْلَمُوا أَنَّ کَمَالَ الدِّینِ طَلَبُ الْعِلْمِ وَ الْعَمَلُ بِهِ أَلَا وَ إِنَّ طَلَبَ الْعِلْمِ أَوْجَبُ عَلَیْکُمْ مِنْ طَلَبِ الرزق.