การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7942
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/01/19
 
รหัสในเว็บไซต์ fa5326 รหัสสำเนา 20875
คำถามอย่างย่อ
มีฮะดีษจากอิมามศอดิก(อ.)ระบุว่า “การก่อสงครามกับรัฐทุกครั้งที่เกิดขึ้นก่อนการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี จะเป็นเหตุให้บรรดาอิมามและชีอะฮ์ต้องเดือดร้อนและเศร้าใจ” เราจะชี้แจงการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านอย่างไร?
คำถาม
ในสายรายงานหนึ่งของเศาะฮีฟะฮ์ ซัจญาดียะฮ์ มีฮะดีษจากอิมามศอดิก(อ.)ระบุว่า “การก่อสงครามกับรัฐทุกครั้งที่เกิดขึ้นก่อนการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี จะเป็นเหตุให้บรรดาอิมามและชีอะฮ์ต้องเดือดร้อนและเศร้าใจ” แล้วเราจะประยุกต์เข้ากับการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านได้อย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

ต้องเรียนชี้แจงดังต่อไปนี้:
หนึ่ง: เป็นไปได้ว่าฮะดีษประเภทนี้อาจจะเกิดจากการตะกียะฮ์ หรือเกิดจากสถานการณ์ล่อแหลมในยุคที่การจับดาบขึ้นสู้มิได้มีผลดีใดๆ อนึ่ง ยังมีฮะดีษหลายบทที่อิมามให้การสนับสนุนการต่อสู้บางกรณี

สอง: ฮะดีษที่คุณยกมานั้น กล่าวถึงกรณีการปฏิวัติโค่นอำนาจด้วยการนองเลือด แต่ไม่ได้ห้ามมิให้เคลื่อนไหวปรับปรุงสังคม เพราะหากศึกษาประวัติศาสตร์ก็จะพบว่าบรรดาอิมามเองก็ปฏิบัติตามแนววิธีดังกล่าวเช่นกัน
หากพิจารณาถึงแนววิธีในการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านกอปรกับแนวคิดของผู้นำการปฏิวัติ ก็จะทราบทันทีว่าการปฏิวัติดังกล่าวมิไช่การปฏิวัติด้วยการนองเลือด และผู้นำปฏิวัติก็ไม่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว
สรุปได้ว่า การปฏิวัติอิสลามมิได้ขัดต่อเนื้อหาของฮะดีษประเภทดังกล่าวแต่อย่างใด

คำตอบเชิงรายละเอียด

เราไม่สามารถจะชี้ขาดเกี่ยวกับความชอบธรรมของการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน และพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนไหวครั้งยิ่งใหญ่ดังกล่าวกับหลักการศาสนาด้วยฮะดีษเพียงบทเดียว ทว่าต้องพิจารณาตำราศาสนาและวัตรปฏิบัติของบรรดาอิมามในหน้าประวัติศาสตร์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อน จึงจะสามารถได้ข้อสรุปที่ถูกต้องแม่นยำที่สุด

ด้วยเหตุนี้ เราจึงใคร่ขอแจกแจงและวิเคราะห์คำถามต่อไปนี้ในภาพรวม:
หนึ่ง. ฮะดีษที่ปรากฏในบทนำของเศาะฮีฟะฮ์ ซัจญาดียะฮ์สามารถใช้ปฏิเสธความชอบธรรมของการเคลื่อนไหวเชิงปฏิวัติหรือการจับอาวุธต่อสู้ได้หรือไม่?
สอง. จะชี้แจงอย่างไรเกี่ยวกับฮะดีษประเภทนี้ ที่ห้ามมิให้เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงใดๆก่อนการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี(.)?
สาม. จากคำถามข้างต้น เหตุใดผู้รู้ที่เคร่งครัดศาสนาอย่างอิมามโคมัยนีจึงเคลื่อนไหวต่อต้านและปฏิวัติรัฐบาล?

เราจะร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาข้างต้น แล้วจึงนำเสนอบทสรุปในตอนท้าย

1. ขอชี้แจงคำถามข้อแรกดังนี้ว่า สมมุติว่าฮะดีษที่ปรากฏในบทนำของเศาะฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์มีสายรายงานที่น่าเชื่อถือจากอิมามศอดิก(.)ก็ตาม อย่างไรก็ดี เรากลับพบว่าเนื้อหาของฮะดีษนี้มีข้อสังเกตุที่ทำให้ไม่อาจจะคัดค้านการต่อสู้ก่อนการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี(.)ทุกครั้งได้อย่างสิ้นเชิง เนื่องจาก:

หนึ่ง. ในฮะดีษดังกล่าวเล่าว่าท่านอิมามศอดิก(.)ร่ำไห้อย่างหนักเมื่อได้ยินข่าวการเป็นชะฮีดของยะฮ์ยา บุตรของเซด ซึ่งหากท่านเชื่อว่าการต่อสู้ดังกล่าวเป็นการหาเรื่องใส่ตัวโดยไม่มีประโยชน์ใดๆ ท่านคงจะไม่เสียใจถึงเพียงนี้ อย่างไรก็ดี บางคนอาจถือว่าการร่ำไห้ของอิมามเกิดจากความอาลัยอาวรณ์เครือญาติเท่านั้น ซึ่งไม่ได้หมายความว่าท่านจะให้การสนับสนุนการต่อสู้ดังกล่าว
สมมุติว่าเชื่อตามนั้น แต่จะหักล้างคำตอบถัดไปอย่างไร

สอง. สำนวนของฮะดีษนี้มีอยู่ว่าไม่มีผู้ใดในหมู่พวกเราอะฮ์ลุลบัยต์จะต่อสู้กับการกดขี่หรือทวงความยุติธรรมก่อนการปรากฏกายของมะฮ์ดี เว้นแต่จะประสบทุกข์ภัย อีกทั้งการต่อสู้ของเขาก็รังแต่จะทำให้พวกเราและสาวกเดือดร้อน[1]
หากพิจารณาตัวบทภาษาอรับให้ดีจะพบว่านอกจากจะมีฮะดีษที่ใช้กริยาในรูปปัจจุบันกาล มีฮะดีษบางบทที่ใช้กริยาอดีตกาล ซึ่งหากยึดตามนี้ ย่อมต้องปฏิเสธทุกการต่อสู้ก่อนยุคอิมามศอดิก(.)ให้หมด เนื่องจากไม่มีระบุกรณียกเว้นใดๆในฮะดีษ

เมื่อเป็นเช่นนั้น จะพูดได้หรือไม่ว่าอิมามศอดิก(.)ไม่เห็นด้วยกับสงครามของอิมามอลี(.) ตลอดจนการต่อสู้ด้วยเลือดของอิมามฮุเซน(.) อีกทั้งถือว่าการต่อสู้สองกรณีข้างต้นเป็นผลเสียต่อชีอะฮ์โดยรวม?!

แม้ว่าเนื้อหาฮะดีษจะครอบคลุมทุกกรณี อันรวมถึงการต่อสู้ของอิมามอลีและอิมามฮุเซน(.) แต่ทว่าเป็นที่ทราบกันดีว่าอิมามศอดิก(.)มิได้ต้องการสื่อเช่นนั้นอย่างแน่นอน

ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถนำฮะดีษในบทนำของเศาะฮีฟะฮ์ฯมาตัดสินความถูกต้องของการต่อสู้และการปฏิรูปทุกครั้งในหน้าประวัติศาสตร์ ยิ่งไปกว่านั้น เป็นไปได้ว่าอิมามกล่าวในภาวะตะกียะฮ์ หรือต้องการเพียงสื่อให้ทราบว่าการต่อสู้เหล่านี้จะไม่สัมฤทธิ์ผล และรัฐในอุดมคติจะเกิดขึ้นหลังจากที่อิมามมะฮ์ดีปรากฏกายเท่านั้น การต่อสู้ก่อนอิมามมะฮ์ดีแม้ในกรณีที่เป็นวาญิบก็ตาม ย่อมจะประสบกับอุปสรรคนานัปการ และนำความเดือดร้อนมาสู่เหล่าชีอะฮ์โดยรวม อย่างไรก็ดี ไม่สามารถจะนำภาวะดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างมิให้มีการเคลื่อนไหวฟื้นฟูสังคม เนื่องจากเรามีหน้าที่ปฏิบัติ มิได้มีหน้าที่จะต้องฟันธงว่าจะสัมฤทธิ์ผลหรือไม่ ดังที่อิมามโคมัยนีกล่าวแก่ชะฮีด อายะตุลลอฮ์ สะอีดีว่าหากคนเราได้ทำหน้าที่ที่อัลลอฮ์ทรงบัญชา ถือว่าเราได้ตามเป้าประสงค์แล้ว ไม่ว่าจะสัมฤทธ์ผลตามที่คาดหวังไว้หรือไม่ก็ตาม[2]
เราจะอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ในส่วนต่อไป

2. นอกจากฮะดีษที่คุณยกมา ยังมีฮะดีษอื่นๆที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันนี้ อาทิเช่นทุกธงรบที่ชูขึ้นก่อนอิมามมะฮ์ดี(.)ล้วนเป็นธงของทรราชย์ทั้งสิ้น[3] หรือ “...เสมือนลูกนกที่หวังจะเหิรบินทั้งที่ยังไม่พร้อม ซึ่งจะกลายเป็นของเล่นของเด็กๆในที่สุด[4] ฯลฯ[5]

พึงสังเกตุว่าฮะดีษเหล่านี้กล่าวไว้ในช่วงการปกครองของราชวงศ์ทรราชย์อุมัยยะฮ์ ซึ่งทุกขบวนการที่ต่อต้านราชวงศ์นี้ล้วนได้รับความนิยมจากผู้คนแม้จะเป็นขบวนการที่แฝงเจตนาที่ไม่ซื่อสัตย์ก็ตาม อาทิเช่นขบวนการเคาะวาริจที่แม้จะมีแนวคิดที่ผิดเพี้ยน แต่ก็ต่อสู้กับอำนาจรัฐด้วยเช่นกัน

บรรดาอิมามชีอะฮ์ต้องการจะชี้แจงให้สาวกทราบว่า มิไช่ว่าทุกขบวนการต่อสู้จะถูกต้องเสมอไป ทั้งนี้เพื่อมิให้เลื่อมใสต่อขบวนการที่ผิดเพี้ยน แต่ก็มิได้หมายความว่าจะปฏิเสธการต่อสู้โดยสิ้นเชิงแม้จะในกรอบที่จำกัด ลองพิจารณาฮะดีษจากท่านอิมามศอดิก(.)ต่อไปนี้ว่าจะได้ผลสรุปอย่างที่กล่าวมาหรือไม่

ท่านกล่าวว่าหากพบเห็นขบวนการต่อสู้ พวกท่านก็พิจารณาตามความเหมาะสมก็แล้วกัน แต่ท่านจะต้องไตร่ตรองว่าเป้าหมายของการต่อสู้ของท่านคืออะไร อย่ายึดติดเพียงแค่จะต่อสู้ตามอย่างเซด บิน อลีเท่านั้น เพราะเซดเป็นผู้รู้ที่ซื่อสัตย์ที่มิได้ต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว เขาเพียงเชิญชวนให้พวกท่านภักดีต่ออิมามจากวงศ์วานนบี(..) และหากได้รับชัยชนะ ก็จะปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวอย่างแน่นอน
ท่านกล่าวต่อไปว่าสถานการณ์ยุคนั้นยังไม่เหมาะที่จะจับอาวุธขึ้นสู้ และได้กล่าวถึงประเด็นการต่อสู้ครั้งสุดท้ายของอิมามมะฮ์ดี(.)ด้วย[6]

ข้อคิดที่ได้จากฮะดีษประเภทนี้ก็คือ อัลลอฮ์ทรงประสงค์ให้อิมามมะฮ์ดีเป็นผู้ปฏิรูปประชาคมโลกอย่างสมบูรณ์ และหากมีผู้ใดแอบอ้างลักษณะดังกล่าวก็ย่อมเป็นเพียงแค่คำขวัญที่มิอาจเป็นไปได้จริง อย่างไรก็ดี พระประสงค์ดังกล่าวมิได้ขัดขวางผู้ศรัทธามิให้ปฏิบัติหน้าที่ในการฟื้นฟูสังคมในระดับความสามารถที่ตนมี เพราะมิเช่นนั้นการต่อสู้ของอิมามฮุเซน(.)ก็ย่อมผิดพลาดด้วย เนื่องจากเกิดขึ้นก่อนอิมามมะฮ์ดี(.)
แน่นอนว่าการฟื้นฟูสังคมในขอบเขตจำกัด จะต้องได้รับการชี้นำโดยผู้ที่มีอีหม่านแรงกล้าที่ยึดปณิธานเพื่ออัลลอฮ์เท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นที่ยอมรับ

อิมามโคมัยนีก็เล็งเห็นจุดนี้เป็นอย่างดี ดังที่กล่าวไว้ว่าแน่นอนว่าเราไม่สามารถเติมเต็มโลกนี้ด้วยความยุติธรรมได้อย่างสมบูรณ์ เพราะหากกระทำได้คงทำไปแล้ว แต่เพราะเกินความสามารถของเรา จึงต้องรอให้อิมามมะฮ์ดี(.)มาบริหารเอง ทุกวันนี้โลกเต็มไปด้วยการกดขี่ข่มเหง พวกคุณเป็นเพียงแค่จุดเล็กๆในโลกกว้างที่คราคร่ำไปด้วยการกดขี่ หากเราสามารถสกัดกั้นได้ก็จะต้องสกัดกั้น นี่เป็นหน้าที่ของเรา[7]

เราขออ้างอิงฮะดีษต่อไปนี้จากอิมามซัยนุลอาบิดีน(.) ผู้เป็นตำนานแห่งเศาะฮีฟะฮ์ ซัจญาดียะฮ์เพื่อพิสูจน์แนวคิดของเรา
อิบ้าด บะเศาะรี ได้พบกับท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน(.)ระหว่างทางสู่มักกะฮ์ เขามองอิมามอย่างเหยียดหยามแล้วถามว่าโอ้บุตรของฮุเซน เจ้าเกาะการทำฮัจญ์ไว้แน่นเพราะเป็นเรื่องง่ายดาย แต่ละเลยการญิฮาดอันยากลำบาก (ไม่เคยได้ยินหรือว่า)อัลลอฮ์ทรงตรัสในกุรอานว่าอัลลอฮ์ทรงซื้อชีวิตและทรัพย์สินของเหล่าผู้ศรัทธาด้วยมูลค่าแห่งสรวงสวรรค์ และพวกเขาสังหารและถูกสังหารในหนทางของพระองค์... และนี่คือชัยชนะอันยิ่งใหญ่

ท่านอิมามตอบว่าจงอ่านโองการต่อไปด้วยเขาจึงอ่านต่อไปว่าบรรดาผู้ยำเกรงที่กลับใจสู่พระองค์, เหล่าผู้แซ่ซ้องที่ถือศีลอด, เหล่าผู้ที่โค้งรุกู้อ์และสุญูดบ่อยครั้ง, เหล่าผู้กำชับสู่ความดีและห้ามปรามจากความชั่ว และระมัดระวังขอบเขตของอัลลอฮ์...” เมื่อถึงตรงนี้ ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน(.)กล่าวแก่เขาว่าหากฉันพบบุคคลที่มีลักษณะเช่นนี้เมื่อใด เมื่อนั้นการญิฮาดเคียงข้างบุคคลเหล่านี้จึงจะมีค่ามากกว่าการทำฮัจย์[8]

ควรทราบว่าในยุคนั้นมีนักรบในคราบมุสลิมอยู่สองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือกองทัพของบนีอุมัยยะฮ์ที่หวังพิชิตดินแดนอย่างเดียว กลุ่มที่สองก็คือกลุ่มติดอาวุธอย่างเช่นพวกเคาะวาริจที่ต่อสู้กับกลุ่มแรกทั้งที่ตนมีแนวคิดที่ผิดเพี้ยน ซึ่งทั้งสองกลุ่มไม่จัดอยู่ในประเภทนักต่อสู้ที่มีการกล่าวถึงในโองการข้างต้น จะเห็นได้ว่าท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน(.)มิได้ปฏิเสธหลักการญิฮาด ทว่าท่านไม่ตีขลุมว่าการต่อสู้ทุกประเภทเป็นญิฮาดเสมอไป ท่านเลือกที่จะแจกแจงหลักเกณฑ์ที่กุรอานกำหนด แล้วกล่าวว่าหากพบว่ามีบุคคลที่มีคุณสมบัติดังกล่าว เมื่อนั้นการญิฮาดจึงจะมีคุณค่า

เมื่อพิจารณาแล้วจะทราบว่า ทั้งตัวผู้นำการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน ตลอดจนผู้ที่สละชีพเพื่อการนี้ส่วนใหญ่มีคุณสมบัติดังกล่าวอย่างครบครัน

3. นอกจากฮะดีษประเภทที่อ้างในคำถามแล้ว ควรคำนึงถึงประเด็นอื่นๆดังต่อไปนี้ควบคู่ไปด้วย เพื่อจะได้บทสรุปว่าเหตุใดอิมามโคมัยนีจึงเป็นผู้นำการปฏิวัติอิสลาม

3.1. แม้กระทั่งอิมามมะอ์ศูมที่มิได้ขึ้นปกครองอาณาจักรหรือนำการต่อสู้โดยตรง ต่างก็เลือกที่จะดำเนินงานตามระบบที่มีลักษณะคู่ขนานกับรัฐทรราชย์ อาทิเช่นการส่งตัวแทนไปตามแว่นแคว้นต่างๆ การห้ามมิให้ชีอะฮ์ร้องเรียนศาลของรัฐ โดยให้ร้องเรียนกับตัวแทนของอิมาม(.)แทน[9]  ตลอดจนการระดมทุนทรัพย์ประเภทต่างๆ ปฏิบัติการเหล่านี้ทำให้ผู้ปกครองรัฐหวาดผวาและจ้องจะกำจัดบรรดาอิมามเสมอมา

รายงานว่ามีผู้ยุแยงตะแคงรั่วฮารูนอัรเราะชี้ดว่า ฉันแปลกใจเหตุใดบ้านเมืองจึงมีเคาะลีฟะฮ์(กาหลิบ)สององค์ องค์หนึ่งคือมูซา บิน ญะฟัรที่มีผู้คนส่งเงินทองมาให้  มะดีนะฮ์ อีกองค์หนึ่งก็คือท่าน ที่กำลังเก็บภาษีผู้คน  แคว้นอิรัก![10]

ผู้สถาปนาสาธารณรัฐอิสลามในอิหร่านกล่าวถึงยุทธศาสตร์ดังกล่าวของบรรดาอิมามว่าถ้าหากบรรดาอิมามของเรานั่งเฉยๆอยู่ในบ้าน  และ...  อีกทั้งเชิญชวนผู้คนให้ภักดีต่อราชวงศ์อุมัยยะฮ์หรือราชวงศ์อับบาส แน่นอนว่าพวกเขาจะยกย่องอิมามของเราไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม แต่ความที่รู้ว่าอิมามแต่ละท่านดำเนินการใต้ดินเพื่อโค่นอำนาจพวกตนเนื่องจากไม่มีกำลังทหารพอจะสู้อย่างเปิดเผย จึงจับกุมและขังคุกกว่าสิบปี
อิมามมูซา กาซิมถูกจองจำเพียงเพราะท่านนมาซหรือถือศีลอดหรืออย่างไร? หรือถูกทรมานเพราะท่านเรียกร้องให้ประชาชนภักดีต่อฮารูนเราะชี้ดโดยดุษณี? หรือว่าไม่ไช่ แต่เป็นเพราะพวกเขาเห็นว่าท่านเป็นภัยคุกคามอำนาจของตน จึงใช้วิธีจับกุม สังหาร กดขี่ และเนรเทศกับบรรดาอิมาม[11]

จากข้อวิเคราะห์ดังกล่าว ชีอะฮ์ที่แท้จริงจึงมิอาจนิ่งเฉยไม่ฟื้นฟูสังคมนานหลายศตวรรษเพียงเพราะข้ออ้างที่ว่าต้องการรอคอยการมาของอิมามมะฮ์ดีเท่านั้น 

3.2. เรามีฮะดีษมากมายที่กล่าวถึงและให้การยอมรับขบวนการต่อสู้บางกลุ่มก่อนการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี(.) มีบทหนึ่งกล่าวถึงการต่อสู้ของชาวตะวันออกเพื่อปูทางสู่รัฐบาลของอิมามมะฮ์ดี(.)[12] ซึ่งอิมามโคมัยนีเองก็หวังว่าการปฏิวัติในอิหร่านคือกรณีดังกล่าว ท่านกล่าวว่าอินชาอัลลอฮ์ การแผ่ขยายการปฏิวัติจะทำให้มหาอำนาจซาตานเสื่อมอำนาจลง เป็นผลให้เหล่าผู้ถูกกดขี่ขึ้นครองอำนาจ ปูทางสู่การจัดตั้งรัฐบาลโลกโดยอิมามมะฮ์ดี(.)”[13]
นอกจากนี้ยังมีฮะดีษบางบทกล่าวถึงการต่อสู้ของบุรุษชาวเยเมนก่อนยุคอิมามมะฮ์ดี โดยรณรงค์ให้เหล่าชีอะฮ์ให้การสนับสนุนบุคคลดังกล่าว[14] ... ฯลฯ

3.3. บรรดาอิมามมะอ์ศูม(.)แต่งตั้งให้ผู้รู้ศาสนาเป็นตัวแทนของท่านในยามเร้นกาย[15] แน่นอนว่าประชาชนย่อมหวังจะเห็นพวกเขาเจริญรอยตามบรรดาอิมาม(.)แห่งวงศ์วานนบี(..) จึงเห็นได้ว่าผู้รู้ศาสนามีบทบาทในการปรับปรุงสังคมตลอดยุคแห่งการเร้นกายของอิมามมะฮ์ดี แม้กระทั่งบางท่านที่วิพากษ์วิจารณ์การปฏิวัติอิสลามในอิหร่านเองก็ยังจัดตั้งหน่วยงานมัรญะอียะฮ์ของตนขึ้นมาเพื่อเสริมศีลธรรมในหมู่ประชาชน โดยมิได้ถือว่าผิดคำสอนของบรรดาอิมาม(.)แต่อย่างใด

3.4. เป็นที่ชัดเจนว่าแม้การญิฮาดเชิงรุกจะเป็นสิ่งต้องห้ามในยุคเร้นกาย แต่ไม่มีผู้รู้ศาสนาท่านใดฟัตวาห้ามมิให้ต่อสู้เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินแม้จะด้วยการจับอาวุธสู้ก็ตาม ซ้ำยังถือว่าเป็นวาญิบอีกด้วย
การปฏิวัติอิสลามในอิหร่านเกิดขึ้นในภาวะที่ชีวิต ทรัพย์สิน และเกียรติยศของมุสลิมถูกคุกคามโดยศัตรูในและนอกประเทศ อาทิเช่นกรณีการบังคับถอดฮิญาบอันนำพาสู่การสังหารหมู่ที่มัสญิดโกฮารช้อด กรณีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต หรือกรณีการเฉลิมฉลองระบอบกษัตริย์อิหร่านครบ 2,500 ปี

3.5.. ทั้งๆที่ประเทศอิหร่านในขณะนั้นมีกลุ่มติดอาวุธมากมายที่มีแนวทางการต่อสู้ที่แตกต่างกัน แต่อิมามโคมัยนีที่เป็นผู้ควบคุมกระแสหลักของการปฏิวัติกลับเน้นแนวทางสันติวิธี อันเป็นสิ่งที่บรรดาอิมาม(.)เน้นย้ำในสภาวะเช่นนั้น แม้จะต้องเผชิญกับแรงกดดันจากกลุ่มนักปฏิวัติหลายกลุ่ม แต่ท่านก็ไม่อนุญาตให้จับอาวุธในการปฏิวัติเด็ดขาด แนววิธีนี้ตรงกับเนื้อหาของฮะดีษในเศาะฮีฟะฮ์ซัจญาดียะฮ์ที่อ้างอิงในคำถาม ผลคือรัฐบาลชาห์ต้องรับผิดชอบต่อการสังหารหมู่ทั้งหมดที่เกิดขึ้นเพียงฝ่ายเดียว

ท่านให้สัมภาษณ์นิตยสารฟิกาโร่ในช่วงที่กระแสปฏิวัติร้อนระอุที่สุดว่าจนถึงบัดนี้ ฉันยังคงยืนหยัดบนคำแนะนำให้ดำเนินการด้วยแนวทางสันติวิธีเสมอ[16]

สรุปคือ แม้การปราบปรามอย่างโหดร้ายของรัฐบาลชาห์ปาห์เลวีจะอำนวยให้สามารถจับอาวุธขึ้นป้องกันตัวได้ก็ตาม แต่อิมามโคมัยนีกลับเน้นแนวทางสันติวิธีอย่างชาญฉลาด ทำให้การปฏิวัติได้รับชัยชนะในที่สุด และถึงแม้ว่าประชาชนมากมายจะต้องเสียสละชีวิตในแนวทางดังกล่าว แต่ท้ายที่สุดการปฏิวัติในอิหร่านก็ไม่ถูกจัดอยู่ในการปฏิวัติด้วยอาวุธ ทว่าเป็นการเรียกร้องให้แก้ไขสังคมในมุมกว้าง ซึ่งไม่มีโองการหรือฮะดีษใดที่ปฏิเสธแนวคิดดังกล่าว 

ส่วนการที่มีผู้คนมากมายถูกสังหารในหนทางนี้ ก็เปรียบได้กับการสังหารบรรดาอิมาม(.)อย่างเช่นอิมามมูซา กาซิม(.) ซึ่งแม้ว่าท่านเหล่านั้นมิได้จับอาวุธขึ้นสู้กับทรราชย์ แต่ก็ถูกข่มเหง จับกุม และสังหารเพียงเพราะมีพฤติกรรมที่ฝ่ายกุมอำนาจมองว่าเป็นภัยคุกคาม



[1] เศาะฮีฟะฮ์ ซัจญาดียะฮ์,หน้า 20,สำนักพิมพ์อัลฮาดี,กุม

[2] เศาะฮีฟะฮ์อิมาม,เล่ม 2,หน้า 86

[3] ฮุร อามิลี,มุฮัมมัด บิน ฮะซัน, วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 15,หน้า 52,ฮะดีษที่ 19969,สำนักพิมพ์อาลุลบัยต์,กุม,..1409

[4] เพิ่งอ้าง,หน้า 51,ฮะดีษที่ 19965

[5] ในหน้า 50,เล่ม 15,วะซาอิลุชชีอะฮ์ มีบทว่าด้วยสถานะการจับอาวุธต่อสู้ก่อนอิมามมะฮ์ดี(.) ซึ่งสามารถพบเห็นฮะดีษประเภทนี้ในบทดังกล่าว

[6] ฮุร อามิลี,มุฮัมมัด บิน ฮะซัน, วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 15,หน้า 50 -51,ฮะดีษที่ 19964

[7] เศาะฮีฟะฮ์อิมาม,เล่ม 21,หน้า 16 -17,เกี่ยวกับเรื่องนี้สามารถพบสุนทรพจน์ของท่านได้ที่เล่ม 3,หน้า 339 -340

[8] กุลัยนี,มุฮัมมัด บิน ยะอ์กู้บ,อัลกาฟี,เล่ม 5,หน้า 22,ดารุ้ลกุตุบุลอิสลามียะฮ์,เตหราน

[9] ดู: ฮะดีษที่มีในหมวดแรกของบทว่าด้วยคุณลักษณะผู้พิพากษาในหนังสือวะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 27

[10] มัจลิซี,มุฮัมมัดบากิร,บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 48,หน้า 239,ฮะดีษที่ 48,สำนักพิมพ์อัลวะฟา,เบรุต,..1404

[11] เศาะฮีฟะฮ์อิมาม,เล่ม 4,หน้า 21

[12] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 51,หน้า 87

[13] เศาะฮีฟะฮ์อิมาม,เล่ม 15,หน้า 248 -249

[14] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 52,หน้า 230

[15] วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 27,หน้า 131,ฮะดีษที่ 33401

[16] เศาะฮีฟะฮ์อิมาม,เล่ม 4,หน้า 3

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ศาสดาอาดัม (อ.) และฮะวามีบุตรกี่คน?
    14022 تاريخ بزرگان 2554/06/22
    เกี่ยวกับจำนวนบุตรของศาสดาอาดัม (อ.) และท่านหญิงฮะวามีความคล้ายคลึงกับเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั่นหมายถึงไม่มีทัศนะที่จำกัดที่ตายตัวแน่นอนว่าต้องเป็นเช่นนั้นเพียงประการเดียวเนื่องจากตำราที่เชื่อถือได้ทางประวัติศาสตร์มีความขัดแย้งกันในเรื่องชื่อและจำนวนบุตรของท่านศาสดาการที่เป็นที่เช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าช่วงเวลาที่ยาวนานของพวกเขากับช่วงเวลาการบันทึกเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์หรืออาจเป็นเพราะชื่อไม่มีความสำคัญสำหรับพวกเขาก็เป็นได้และฯลฯกอฎีนาซิรุดดีนบัยฏอวีย์ได้บันทึกไว้ในหนังสือของท่านเกี่ยวกับจำนวนบุตรของท่านศาสดาอาดัม (อ.) กับท่านหญิงฮะวากล่าวว่า:ทุกครั้งที่ท่านหญิงฮะวาตั้งครรภ์จะได้ลูกเป็นแฝดหญิงชายเสมอเขาได้เขียนไว้ว่าท่านหญิงฮะวาได้ตั้งครรภ์ถึง 120
  • ถ้าหากไม่ทราบว่าและได้รับประทานเนื้อฮะรอมไป จะมีความผิดอันใดบ้าง?
    6031 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    บุคคลใดหลังจากรับประทานอาหารแล้ว, เพิ่งจะรู้ว่านั่นเป็นอาหารฮะรอม, ถ้าหากไม่คิดว่าสิ่งนั้นจะฮะรอมประกอบกับมีสัญลักษณ์ของฮะลาลด้วยเช่นมาจากร้านของมุสลิม, มิได้กระทำบาปอันใด
  • ทัศนะของอุละมาอฺนักปราชญ์ทั้งหมดถือว่าการสูบบุหรี่ฮะรอมหรือไม่ ?
    7875 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    อิสลามได้ห้ามการกินการดื่มและการใช้ประโยชน์จากบางสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายและถ้าทุกสิ่งที่มีอันตรายมากการห้ามโดยปัจจัยสาเหตุก็ยิ่งทวีคูณมากยิ่งขึ้นจนกระทั่งถึงขึ้นฮะรอมด้วยซ้ำไปท่านอิมามโคมัยนี ...
  • จงอธิบายเหตุผลที่บ่งบอกว่าดนตรีฮะรอม
    10016 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/22
    ดนตรีและเครื่องเล่นดนตรีตามความหมายของ ฟิกฮฺ มีความแตกต่างกัน. คำว่า ฆินา หมายถึง การส่งเสียงร้องจากลำคอออกมาข้างนอก โดยมีการเล่นลูกคอไปตามจังหวะ, ซึ่งทำให้ผู้ฟังเกิดประเทืองอารมณ์และมีความสุข ซึ่งมีความเหมาะสมกับงานประชุมที่ไร้สาระ หรืองานประชุมที่คร่าเวลาให้หมดไปโดยเปล่าประโยชน์ส่วนเสียงดนตรี หมายถึงเสียงที่เกิดจากการเล่นเครื่องตรี หรือการดีดสีตีเป่าต่างๆเมื่อพิจารณาอัลกุรอานบางโองการและรายงานฮะดีซ ประกอบกับคำพูดของนักจิตวิทยาบางคน, กล่าวว่าการที่บางคนนิยมกระทำความผิดอนาจาร, หลงลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ, ล้วนเป็นผลในทางไม่ดีที่เกิดจากเสียงดนตรีและการขับร้อง ซึ่งเสียงเหล่านี้จะครอบงำประสาทของมนุษย์ ประกอบกับพวกทุนนิยมได้ใช้เสียงดนตรีไปในทางไม่ดี ดังนั้น สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งในเชิงปรัชญาที่ทำให้เสียงดนตรีฮะรอมเหตุผลหลักที่ชี้ว่าดนตรีฮะรอม (หรือเสียงดนตรีบางอย่างฮะลาล) คือโองการอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ...
  • การรัจญฺอัตหมายถึงอะไร? ครอบคลุมบุคคลใดบ้าง? และจะเกิดขึ้นเมื่อใด?
    7519 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    การรัจญฺอัตเป็นหนึ่งในความเชื่อของชีอะฮฺอิมามียะฮฺ, หมายถึงการกลับมายังโลกมนุษย์, ภายหลังจากได้ตายไปแล้วและก่อนที่จะถึงวันฟื้นคืนชีพซึ่งจะเกิดขึ้นภายหลังการปรากฎกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28477 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • ในทัศนะของอัลกุรอาน ความแตกต่างระหว่างอิบลิซ กับชัยฏอน คืออะไร?
    17851 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/08
    บนพื้นฐานของอัลกุรอาน,อิบลิซเป็นหนึ่งในหมู่ญิน เนื่องจากการอิบาดะฮฺอย่างมากมาย จึงทำให้อิบลิซได้ก้าวไปอยู่ในระดับเดียวกันกับมะลาอิกะฮฺ แต่หลังจากการสร้างอาดัม, อิบลิซได้ฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺ ไมยอมกราบอาดัม, จึงได้ถูกขับออกจากสวรรค์เนรมิตแห่งนั้น ส่วนชัยฏอนนั้นจะใช้เรียกทุกการมีอยู่ ที่แสดงความอหังการ ยโสโอหัง ละเมิด และฝ่าฝืน ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นมนุษย์ หรือญิน หรือสรรพสัตว์ก็ตาม ขณะเดียวกันอิบลิซนั้นได้ถูกเรียกว่าชัยฏอน ก็เนื่องจากโอหังและฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้า ดังนั้น ถ้าจะกล่าวแล้ว “ชัยฏอน” เป็นนามโดยทั่วไป ซึ่งครอบคลุมเหนือทั้งอิบลิซ และไม่ใช่อิบลิซ ...
  • โปรดอธิบาย ปรัชญาของการกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ คืออะไร?
    8978 จริยศาสตร์ 2555/06/30
    ตามคำสอนของอิสลามการแต่งงานถือเป็นข้อตกลงที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับการจัดตั้งครอบครัวและสิ่งที่ติดตามมาคือ, ระบบสังคม ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีผลสะท้อนและบทสรุปอย่างมากมาย เช่น : เพื่อตอบสนองความต้องการทางกามรมย์, ผลิตสายเลือดและรักษาเผ่าพันธุ์, สร้างความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์, สร้างความสงบมั่นแก่จิตใจ, เป็นการรักษาความสะอาดบริสุทธิ์, เป็นการส่งเสริมความผูกพันให้มั่นคง และประเด็นอื่นๆ อีกมากมาย, ดังนั้น การจัดการข้อตกลงศักดิ์สิทธิ์นี้ให้สมประสงค์ได้, มีเพียงการปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์พื้นฐาน และเงื่อนไขอันเฉพาะที่อัลลอฮฺ ทรงกำหนดไว้เท่านั้น จึงจะเป็นไปได้. เช่น เงื่อนที่ว่านั้นได้แก่การกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ ด้วยคำพูดเฉพาะ (ดังกล่าวไว้ในหนังสือริซาละฮฺต่างๆ) พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกรในฐานะของ พระเจ้าผู้ทรงกำหนดกฎระเบียบ พระองค์คือผู้ทรงกำหนดคำพูดอันทรงเกียรติยิ่งนี้ และให้ความน่าเชื่อถือ พร้อมกับการเกิดขึ้นของคำพูดดังกล่าวในฐานะ อักดฺนิกาห์, จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเป็นสามีภรรยา ระหว่างชายกับหญิงขึ้น. การแต่งงานมิได้หมายถึง ความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและการยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งสำหรับการแต่งงาน ที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับการอ่านอักดฺนิกาห์ปัจจุบันนี้ เพื่อให้การแต่งงานนั้นถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักการชัรอียฺ. การแต่งงาน มิได้หมายถึงความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการแต่งงาน ...
  • ริวายะฮ์ที่กล่าวว่า “ในสมัยที่อิมามอลี (อ.) ปกครองอยู่ ท่านมักจะถือแซ่เดินไปตามถนนหนทางและท้องตลาดพร้อมจะลงโทษอาชญากรและผู้กระทำผิด” จริงหรือไม่?
    6813 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ริวายะฮ์ข้างต้นกล่าวถึงช่วงรุ่งอรุณขณะที่ท่านสำรวจท้องตลาดในเมืองกูฟะฮ์ และการที่ท่านมักจะพกแซ่ไปด้วยก็เนื่องจากต้องการให้ประชาชนสนใจและให้ความสำคัญกับกฏหมายนั่นเอง สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาศอฟีย์ กุลพัยกานี ริวายะฮ์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง และสิ่งที่อิมามอลี(อ.) ได้กระทำไปคือสิ่งที่จำเป็นต่อสถานการณ์ในยุคนั้น การห้ามปรามความชั่วย่อมมีหลายวิธีที่จะทำให้บังเกิดผล ดังนั้นจะต้องเลือกวิธีที่จะทำให้สังคมคล้อยตามความถูกต้อง คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากผู้ปกครองในอิสลามเห็นสมควรว่าจะต้องลงโทษผู้ต้องหาและผู้ร้ายในสถานที่เกิดเหตุ หลังจากที่พิสูจน์ความผิดด้วยวิธีที่ถูกต้อง และพิพากษาตามหลักศาสนาหรือข้อกำหนดที่ผู้ปกครองอิสลามได้กำหนดไว้ การลงทัณฑ์ในสถานที่เกิดเหตุถือว่าไม่ไช่เรื่องผิด และในการนี้ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงริวายะฮ์ดังกล่าวแต่อย่างใด แต่รายงานที่ถูกต้องที่ปรากฏในตำราฮะดีษอย่าง กุตุบอัรบาอะฮ์[1] ก็คือ ท่านอิมามอลี (อ.) พกแซ่เดินไปตามท้องตลาดและมักจะตักเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่มีตำราเล่มใดบันทึกว่าอิมามอลี (อ.) เคยลงโทษผู้ใดในตลาด
  • ช่วงก่อนจะสิ้นลม การกล่าวว่า “อัชฮะดุอันนะ อาลียัน วะลียุลลอฮ์” ถือเป็นวาญิบหรือไม่?
    8294 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    หนึ่งในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิตคนเราคือช่วงที่เขากำลังจะสิ้นใจ เรียกกันว่าช่วง“อิฮ์ติฎ้อร” โดยปกติแล้วคนที่กำลังอยู่ในช่วงเวลานี้จะไม่สามารถพูดคุยหรือกล่าวอะไรได้ บรรดามัรญะอ์กล่าวถึงช่วงเวลานี้ว่า “เป็นมุสตะฮับที่จะต้องช่วยให้ผู้ที่กำลังจะสิ้นใจกล่าวชะฮาดะตัยน์และยอมรับสถานะของสิบสองอิมาม(อ.) ตลอดจนหลักความเชื่อที่ถูกต้องอื่นๆ”[1] ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า “การกล่าวชะฮาดะฮ์ตัยน์และการเปล่งคำยอมรับสถานะของสิบสองอิมามถือเป็นกิจที่เหมาะสำหรับผู้ที่ใกล้จะสิ้นใจ แต่ไม่ถือเป็นวาญิบ” [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมาม อัลโคมัยนี (พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1, หน้า 312 ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60556 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    58146 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42674 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    40067 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39300 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34415 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28477 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28399 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28326 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26249 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...