การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
16993
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa914 รหัสสำเนา 14734
คำถามอย่างย่อ
บาปใหญ่จะได้รับการอภัยหรือไม่?
คำถาม
บาปใหญ่จะได้รับการอภัยหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

บาปใหญ่ คือบาปประเภทที่กุรอานหรือบทฮะดีษแจ้งว่าจะต้องถูกสำเร็จโทษ(แต่ก็ยังมีสิ่งชี้วัดอื่นๆที่บ่งบอกถึงบาปใหญ่) ทั้งนี้ การฝืนกระทำบาปเล็กซ้ำหลายครั้งก็ทำให้บาปเล็กกลายเป็นบาปใหญ่ได้เช่นกัน
อย่างไรก็ดี อัลลอฮ์ได้ทรงให้สัญญาในกุรอานว่าจะทรงอภัยโทษบาปทุกประเภท โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเตาบะฮ์อย่างถูกต้องเสียก่อน เตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของอัลลอฮ์ หมายถึงการชดเชยอะมั้ลอิบาดะฮ์ที่เคยงดเว้น ประกอบกับการกล่าวอิสติฆฟารอย่างบริสุทธิใจ ส่วนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของมนุษย์ หมายถึงการกล่าวอิสติฆฟาร คืนสิทธิแก่ผู้เสียหาย และขอให้คู่กรณียกโทษให้

คำตอบเชิงรายละเอียด

ต่อข้อซักถามที่ว่าอะไรคือหลักเกณฑ์ในการกำหนดบาปใหญ่ และบาปใดบ้างที่ถือเป็นบาปใหญ่ มีหลายคำตอบด้วยกัน อาทิเช่น
1. บาปทุกประเภทที่กุรอานและฮะดีษระบุว่าเป็นบาปใหญ่
2. บาปทุกประเภทที่กุรอานและฮะดีษให้คำมั่นว่าจะต้องถูกลงโทษในไฟนรก
3. บาปทุกประเภทที่กุรอานและฮะดีษถือว่า ร้ายแรงกว่าบาปที่ถูกระบุว่าเป็นบาปใหญ่
4. บาปทุกประเภทที่ผู้เคร่งครัดศาสนาถือว่าเป็นบาปร้ายแรง ในลักษณะที่สามารถอนุมานได้ว่า ทัศนะดังกล่าวสืบทอดมาจากยุคของบรรดามะอ์ศูมีน[1]
5. บาปทุกประเภทถือว่าเป็นบาปใหญ่ทั้งสิ้น. ทัศนะนี้ได้มาจากฮะดีษที่กล่าวเตือนว่า อย่าพิจารณาเพียงแค่ความเล็กน้อยของบาป แต่จงพิจารณาถึงความยิ่งใหญ่ของผู้ที่เราฝ่าฝืน[2] ดังที่มีในฮะดีษจากท่านอิมามศอดิก()ว่าจงอย่ามองแค่ความเบาบางของบาป แต่จงพิจารณาว่าท่านกำลังเย้ยหยันผู้ใดอยู่?”[3]
อย่างไรก็ดี ผู้ที่จำแนกบาปออกเป็นใหญ่และเล็กเองก็เชื่อว่า ในบางกรณี บาปเล็กก็กลายสภาพเป็นบาปใหญ่ได้[4] ต่อเมื่อ:
1.
กระทำบาปเล็กซ้ำหลายครั้ง ดังที่ท่านนบีเคยกล่าวไว้ว่าเมื่อมีอิสติฆฟ้าร บาปใหญ่จะไม่เหลือ(จะมลายไป) และหากมีการกระทำซ้ำ บาปเล็กก็จะไม่คงสภาพ(จะขยายใหญ่)”[5]
2.
มองข้ามบาป ท่านอิมามอลีกล่าวว่าบาปที่ใหญ่ที่สุด คือบาปที่ผู้กระทำมองข้าม[6]
3. ปลื้มใจที่ได้ทำบาป ท่านนบีกล่าวว่าผู้ที่ทำบาปขณะกำลังหัวเราะชอบใจ เขาจะถูกโยนลงในนรกขณะที่กำลังร่ำไห้[7]

ส่วนการที่บาปใหญ่จะได้รับอภัยหรือไม่นั้น อัลลอฮ์ได้ตรัสไว้ในกุรอานว่าโอ้ปวงบ่าวผู้เคยละเมิดต่อตัวเขาเอง(ทำบาป) อย่าได้สิ้นหวังจากพระเมตตาของพระองค์ แน่แท้ พระองค์ทรงอภัยบาปทุกประการ[8]
อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี กล่าวถึงฮะดีษจากท่านอิมามบากิร()ว่า โองการข้างต้นถือเป็นโองการที่ฟื้นความหวังได้ดีที่สุด[9]

จากโองการดังกล่าว ทำให้เข้าใจเบื้องต้นว่าบาปที่จะทรงอภัยนั้น หมายรวมถึงบาปอันเกิดจากชิริก(การตั้งภาคี)ด้วย ในขณะที่เราทราบกันดีว่า บาปอันเกิดจากชิริกจะไม่ได้รับอภัยโทษเว้นแต่จะเตาบะฮ์เสียก่อน จึงไม่มีทางอื่นนอกจากจะถือว่าโองการข้างต้นแฝงไว้ด้วยเงื่อนไขเตาบะฮ์ด้วย ทั้งนี้ก็เพราะการอภัยโทษย่อมไม่เกิดในลักษณะเทกระจาด ย่อมต้องมีมูลเหตุเสมอ สิ่งที่กุรอานถือว่าเป็นมูลเหตุของการอภัยบาปมีสองประการ นั่นคือ การเตาบะฮ์ และการชะฟาอัต
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาสำนวนของโองการข้างต้นจะพบว่า มีลักษณะปรารภต่อปวงบ่าวทั้งผู้ศรัทธาและผู้ทำชิริกโดยรวม เมื่อเป็นเช่นนี้ มูลเหตุของการอภัยบาปในโองการนี้จึงไม่น่าจะเป็นชะฟาอัต เนื่องจากกุรอานและฮะดีษระบุว่าชะฟาอัตจะไม่บังเกิดผลในกรณีชิริก ทำให้เหลือเพียงเตาบะฮ์วิธีเดียว วจนะของพระองค์จึงระบุชัดเจนว่าหากมีการเตาบะฮ์ อัลลอฮ์ก็จะทรงอภัยบาปทุกประการแม้แต่ชิริก[10]

อย่างไรก็ดี วิธีเตาบะฮ์ก็แตกต่างกันไปตามประเภทของบาป เนื่องจากบาปใหญ่แบ่งออกเป็นสองประเภท อันได้แก่ บาปอันเกิดจากการละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์ และการละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์
วิธีเตาบะฮ์ในกรณีละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์ประกอบด้วย ต้องสำนึกผิดอย่างจริงใจ และตัดสินใจแน่วแน่ว่าจะไม่กระทำอีกเด็ดขาด โดยหากเป็นศาสนกิจที่ชดเชยได้ก็ให้ชดเชยเสีย เช่น นมาซชดเชย,ถือศีลอดชดเชย..ฯลฯ ส่วนกรณีละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์ นอกจากต้องสำนึกผิดแล้ว ยังต้องชดใช้ความเสียหายแก่คู่กรณีด้วย เว้นแต่กรณีที่ผู้เสียหายยินยอมและยกโทษให้.
ท่านอิมามบากิร()กล่าวไว้ว่าผู้เป็นชะฮีดในหนทางของอัลลอฮ์จะได้รับการชำระให้ปราศจากบาปทุกประการ ยกเว้นบาปอันเกิดจากหนี้สินซึ่งจะไม่มีการแทนที่ โดยจะต้องชดใช้ให้เจ้าหนี้ หรือขอให้เจ้าหนี้ยกโทษให้[11]

ท่านชะฮีด ดัสท์เฆบ (.) ได้สรุปเนื้อหาจากกุรอานและฮะดีษในเรื่องนี้ไว้ว่า การชดเชยคือเครื่องชี้วัดความสำนึกผิดต่อบาป ฉะนั้น ในกรณีละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์ เช่น นมาซ ศีลอด ซะกาต ฮัจย์ ก็ควรต้องปฏิบัติชดเชย(ก่อฎอ) แต่ในกรณีละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์ หากเป็นเรื่องทรัพย์สินก็ต้องคืนแก่เจ้าของ หรือคืนแก่ทายาทในกรณีที่เจ้าของเสียชีวิต หากเป็นเรื่องที่เคยทำให้เสื่อมเกียรติ ก็ต้องขออภัยกัน และหากเป็นเรื่องสินไหมหรือการชำระโทษตกตามกัน ก็ต้องเจรจาจ่ายสินไหมหรือไม่ก็จำต้องรับโทษ เว้นแต่คู่กรณีจะอภัยให้.[12]

สรุปคือ อินชาอัลลอฮ์ ทุกบาปไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับสิทธิของอัลลอฮ์หรือเพื่อนมนุษย์ก็ตาม จะได้รับการอภัยจากพระองค์ ทั้งนี้มีข้อแม้ว่าจะต้องเตาบะฮ์ให้ถูกต้อง และชดเชยให้เหมาะสมกับประเภทของบาปเสียก่อน.



[1] อับดุลฮุซัยน์ ดัสท์เฆบ,บาปใหญ่, เล่ม 1, หน้า 26.

[2] ศอเฮบกะรอนี,ละวามิอ์,เล่ม 2, หน้า 368.

[3] มีซานุ้ลฮิกมะฮ์, 6602 : لا تنظرو الی صغر الذنب و لکن انظروا الی من اجتر أثم.  

[4] บาปใหญ่, เล่ม 2, หน้า 273,279.

[5] มีซานุ้ลฮิกมะฮ์, 6617 : لا کبیر مع الاستغفار و لا صغیر مع الاصرار

[6] อ้างแล้ว,6562اشدا لذنوب عندالله سبحانه ما استهان به راکبه

[7] บาปใหญ่, หน้า 280, บิฮารฯ เล่ม 6, หน้า 36. “من اذنب ذنباً و هو ضاحک دخل النار

[8] ซูเราะฮ์ อัซซุมัร, 53. “یا عبادی الذیناسرفوا علی انفسهم لا تقنطوا من رحمة الله ان الله یغفر الذنوب جمیعاً

[9] อัลมีซานฉบับแปลฟารซี, เล่ม 20,หน้า 526.

[10] อ้างแล้ว, เล่ม 17,หน้า 425.

[11] บาปใหญ่, เล่ม 2, หน้า 6. : کل ذنب یکفره القتل فی سبیل الله الا الدین لاکفاره له الا ادائه او یقضی صاحبه او یعفوا الذی له الحقอัลกาฟี, เล่ม 5, หน้า 94, หมวดหนี้สิน, หน้า 93.

12] อ้างแล้ว, เล่ม 2,หน้า 434.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • มีฮะดีษจากอิมามศอดิก(อ.)ระบุว่า “การก่อสงครามกับรัฐทุกครั้งที่เกิดขึ้นก่อนการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี จะเป็นเหตุให้บรรดาอิมามและชีอะฮ์ต้องเดือดร้อนและเศร้าใจ” เราจะชี้แจงการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านอย่างไร?
    7404 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ต้องเรียนชี้แจงดังต่อไปนี้:หนึ่ง: เป็นไปได้ว่าฮะดีษประเภทนี้อาจจะเกิดจากการตะกียะฮ์หรือเกิดจากสถานการณ์ล่อแหลมในยุคที่การจับดาบขึ้นสู้มิได้มีผลดีใดๆอนึ่งยังมีฮะดีษหลายบทที่อิมามให้การสนับสนุนการต่อสู้บางกรณีสอง: ฮะดีษที่คุณยกมานั้นกล่าวถึงกรณีการปฏิวัติโค่นอำนาจด้วยการนองเลือดแต่ไม่ได้ห้ามมิให้เคลื่อนไหวปรับปรุงสังคมเพราะหากศึกษาประวัติศาสตร์ก็จะพบว่าบรรดาอิมามเองก็ปฏิบัติตามแนววิธีดังกล่าวเช่นกันหากพิจารณาถึงแนววิธีในการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านกอปรกับแนวคิดของผู้นำการปฏิวัติก็จะทราบทันทีว่าการปฏิวัติดังกล่าวมิไช่การปฏิวัติด้วยการนองเลือดและผู้นำปฏิวัติก็ไม่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว สรุปได้ว่าการปฏิวัติอิสลามมิได้ขัดต่อเนื้อหาของฮะดีษประเภทดังกล่าวแต่อย่างใด ...
  • ต้องอ่านดุอาเป็นภาษาอรับจึงจะเห็นผลใช่หรือไม่?
    6648 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ไม่จำเป็นจะต้องอ่านดุอาตามบทภาษาอรับเพราะแม้ดุอากุนูตในนมาซก็อนุญาตให้กล่าวด้วยภาษาอื่นได้แต่อย่างไรก็ตามเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะอ่านและพยายามครุ่นคิดในบทดุอาภาษาอรับที่บรรดาอิมามได้สอนไว้ทั้งนี้ก็เนื่องจากเหตุผลที่ว่า:ดังที่กุรอานคือพระวจนะของอัลลอฮ์ที่ใช้สนทนากับมนุษย์ดุอาที่บรรดาอิมาม(อ.)สอนเราไว้ก็คือบทเอื้อนเอ่ยที่มนุษย์วอนขอต่ออัลลอฮ์ดังที่ดุอาได้รับการเปรียบว่าเป็น“กุรอานที่เหิรขึ้นเบื้องบน” นั่นหมายความว่าดุอาเหล่านี้มีเนื้อหาลึกซึ้งแฝงเร้นอยู่ดังเช่นกุรอานและเนื้อหาเหล่านี้จะได้รับการตีแผ่อย่างสมบูรณ์ด้วยภาษาอรับเท่านั้นด้วยเหตุผลดังกล่าวมุสลิมจึงควรเรียนรู้ความหมายของนมาซและดุอาต่างๆเพื่อให้รู้ว่ากำลังเอ่ยขอสิ่งใดจากพระผู้เป็นเจ้าหากทำได้ดังนี้ก็จะส่งผลให้ศาสนกิจของตนอุดมไปด้วยสำนึกทางจิตวิญญาณและจะทำให้สามารถโบยบินสู่ความผาสุกอันนิรันดร์ได้.นอกเหนือปัจจัยดังกล่าวแล้วควรให้ความสำคัญกับปัจจัยอื่นๆด้วยอาทิเช่นเนื้อหาดุอาไม่ควรขัดต่อจารีตที่พระองค์วางไว้ควรศอละวาตแด่นบีและวงศ์วานเสมอผู้ดุอาจะต้องหวังพึ่งพระองค์เท่านั้นมิไช่ผู้อื่นให้บริสุทธิใจและคำนึงถึงความยากไร้ของตนปากกับใจต้องตรงกันยามดุอาเคร่งครัดในข้อบังคับและข้อห้ามทางศาสนากล่าวขอลุแก่โทษต่อพระองค์พยายามย้ำขอดุอามั่นใจและไม่สิ้นหวังในพระองค์.[1][1]มุฮัมมัดตะกีฟัลสะฟี,อธิบายดุอามะการิมุ้ลอัคล้าก,เล่ม1,หน้า ...
  • ขณะลงซัจญฺดะฮฺ จะต้องเอาอวัยวะส่วนใดลงพื้นก่อนซัจญฺดะฮฺ?
    6053 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    การซัจญฺดะฮฺเป็นหนึ่งในวาญิบของนมาซ, ซึ่งมีองค์ประกอบและเงื่อนไขวาญิบและมุสตะฮับหลายประการ, เช่น หนึ่งในบางประการที่ถือว่าเป็นมุสตะฮับของซัจญฺดะฮฺ, กล่าวคือ ชาย ขณะลงซัจญฺดะฮฺให้เอาฝ่ามือลงก่อน, ส่วนหญิงให้เอาเข่าลงก่อน[1] [1] อิมามโคมัยนี, เตาฎีฮุลมะซาอิล (มะฮัชชี), ผู้ตรวจทานและค้นคว้า : บนีฮาชิมมี โคมัยนี, ซัยยิดมุฮัมมัด ฮุซัยน, เล่ม 1, หน้า 591, ดัฟตัรอินเตะชารอต อิสลามี, กุม, พิมพ์ครั้ง 8, ปี ฮ.ศ. 1424
  • เพราะสาเหตุอันใดงานชุมนุมบางแห่งจึงได้วาดภาพการถูกกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ?
    6579 ชีวประวัตินักปราชญ์ 2554/12/20
    มีคำกล่าวว่ามีความทุกข์และความเศร้าโศกอย่างหนักได้ถาถมเข้ามาก่อนที่ท่านอิมามจะถูกทำชะฮาดัต, และโศกนาฏกรรมที่ประดังเข้ามาหลังจากชะฮาดัต, โดยตัวของมันแล้วได้ก่อให้เกิดภาพการถูกกดขี่อย่างรุนแรงของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)ฉะนั้น
  • สถานภาพของจริยธรรมในการออกกำลังกายเป็นอย่างไร?
    8655 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    ศาสนาอิสลามในฐานะที่เป็นศาสนาสมบูรณ์และเป็นศาสนาสากลซึ่งมีแนวคิดครอบคลุมทุกมิติของชีวิตที่สมบูรณ์และแนวทางทั้งหมดของอิสลามได้สิ้นสุดลงที่ความเจริญผาสุกแห่งโลกนี้และปรโลก
  • หากต้องการรับประทานอาหาร จะต้องขออนุญาตจากเจ้าของบ้านก่อนหรือไม่?
    5504 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/17
    ในทัศนะของอิสลามแน่นอนว่าอาหารที่เราจะรับประทานนั้นนอกจากจะต้องฮะลาลและสะอาดแล้วจะต้องมุบาฮ์ด้วยกล่าวคือเจ้าของจะต้องยินยอมให้เรารับประทานและเราจะต้องรู้ว่าเขาอนุญาตจริงการรับประทานอาหารของผู้อื่นโดยที่เขาไม่อนุญาตถือว่าเป็นฮะรอมแต่ในกรณีที่เจ้าบ้านได้เชิญแขกมาที่บ้านเพื่อเลี้ยงอาหารโดยอำนวยความสะดวกให้และจัดเตรียมอาหารไว้ต้อนรับ
  • เหตุใดจึงตั้งชื่อซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ด้วยนามนี้?
    7221 วิทยาการกุรอาน 2555/03/18
    ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ถูกตั้งชื่อด้วยนามนี้เนื่องจากในซูเราะฮ์นี้ได้มีการกล่าวถึงเรื่องราวของบะก็อร(วัว)ของบนีอิสรออีลระหว่างอายะฮ์ที่ 67-71 หลายต่อหลายครั้ง เช่น وَ إِذْ قالَ مُوسى‏ لِقَوْمِهِ إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُكُمْ أَنْ تَذْبَحُوا بَقَرَةً قالُوا أَ تَتَّخِذُنا هُزُواً قالَ أَعُوذُ بِاللَّهِ أَنْ أَكُونَ مِنَ الْجاهِلين‏"؛ (และจงรำลึกถึงขณะที่มูซาได้กล่าวแก่กลุ่มชนของเขาว่า แท้จริงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงบัญชาแก่พวกท่านให้เชือดวัวตัวเมียตัวหนึ่ง (เพื่อนำชิ้นอวัยวะของวัวไปแตะศพที่ไม่สามารถระบุตัวผู้สังหารได้ เพื่อให้ศพฟื้นคืนชีพและชี้ตัวผู้ต้องสงสัย อันเป็นการยุติความขัดแย้งในสังคมยุคนั้น) พวกเขากล่าวว่า “ท่านจะถือเอาพวกเราเป็นที่ล้อเล่นกระนั้นหรือ?” มูซากล่าวว่า “ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้พ้นจากการที่ฉันจะเป็นพวกโง่เขล่าเบาปัญญา)[1] และเนื่องจากประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญต่อการขัดเกลาของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง จึงได้ตั้งชื่อด้วยนามนี้
  • ท่านบิลาลแต่งงานหรือยัง? ในกรณีที่แต่งงานแล้ว ท่านมีลูกหลานหรือไม่?
    8913 تاريخ بزرگان 2554/11/17
    ตำราประวัติศาสตร์กล่าวถึงการแต่งงานของบิลาลเอาไว้เช่นเล่าว่าท่านนบี (ซ.ล.)เสนอแนะและสนับสนุนให้ท่านแต่งงานกับสตรีผู้หนึ่งจากเผ่าบนีกะนานะฮ์[1]และบ้างก็กล่าวว่าท่านแต่งงานกับสตรีจากเผ่าบะนีซุฮเราะฮ์[2]อีกทั้งได้มีการกล่าวว่าท่านเดินทางพร้อมกับพี่ชายเพื่อไปสู่ขอหญิงชาวเยเมนคนหนึ่ง
  • ภาพรวม, คำสอนหลักของอัลกุรอาน บทบนีอิสราเอลคืออะไร?
    8703 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/20
    ตามทัศนะของนักตัฟซีรที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่,กล่าวว่า บทบนีอิสราเอล (อิสรออฺ)[1] ถูกประทานลงที่มักกะฮฺ และถือว่า[2]เป็นหนึ่งในบทมักกียฺ โดยสรุปทั่วไปแล้ว, บทเรียนอันเป็นคำสอนหลักของอัลกุรอาน บทนบีอิสราเอล วางอยู่บนประเด็นดังต่อไปนี้ : 1.เหตุผลของนบูวัต โดยเฉพาะอย่างยิ่งปาฏิหาริย์ของอัลกุรอาน และการขึ้นมิอ์รอจญ์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) 2.ปัญหาเกี่ยวกับ มะอาด, การลงโทษ, ผลรางวัล, บัญชีการงาน และ .. 3.บางส่วนจากประวัติศาสตร์ อันเป็นเรื่องราวของหมู่ชนบนีอิสราเอล ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่บทจนกระทั่งจบบท 4.ปัญหาเรื่องความอิสระทางความคิด ความประสงค์ และเจตนารมณ์เสรี และทุกภารกิจที่เป็นการกระทำดีและไม่ดี ซึ่งทั้งหมดย้อนกลับไปสู่มนุษย์ทั้งสิ้น
  • รายงานฮะดีซกล่าวว่า:การสร้างความสันติระหว่างบุคคลสองคน ดีกว่านมาซและศีลอด วัตถุประสงค์คืออะไร ?
    6339 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/17
    เหมือนกับว่าการแปลฮะดีซบทนี้ มีนักแปลบางคนได้แปลไว้แล้ว ซึ่งท่านได้อ้างถึง, ความอะลุ่มอล่วยนั้นเป็นที่ยอมรับ, เนื่องจากเมื่อพิจารณาใจความภาษาอรับของฮะดีซที่ว่า "صَلَاحُ ذَاتِ الْبَيْنِ أَفْضَلُ مِنْ عَامَّةِ الصَّلَاةِ وَ الصِّيَام‏" เป็นที่ชัดเจนว่า เจตนาคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการกล่าวว่า การสร้างความสันติระหว่างคนสองคน, ดีกว่าการนมาซและการถือศีลอดจำนวนมากมาย[1] แต่วัตถุประสงค์มิได้หมายถึง นมาซหรือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี หรือนมาซและศีลอดทั้งหมด เนื่องจากคำว่า “อามะตุน” ในหลายที่ได้ถูกใช้ในความหมายว่า จำนวนมาก เช่น ประโยคที่กล่าวว่า : "عَامَّةُ رِدَائِهِ مَطْرُوحٌ بِالْأَرْض‏" หมายถึงเสื้อผ้าส่วนใหญ่ของเขาลากพื้น[2] ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59990 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57337 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42095 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39146 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38818 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33907 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27922 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27829 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27621 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25648 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...