การค้นหาขั้นสูง

สำหรับการติดตามผลอย่างมีนัยของการให้ความสำคัญ และปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้ :

  1. การให้ความสนใจต่อคุณธรรมความประเสริฐและลักษณะอันสูงส่ง ของมนุษย์ผู้ชาญฉลาดมีความโดดเด่น ซึ่งได้รับการเลือกสรรแล้ว

หนึ่งในรูปแบบต่างๆ ที่ได้รับการเน้นย้ำไว้โดยอัลกุรอาน หลายโองการด้วยกันคือ การเก็บรักษาและการรำลึกถึงเรื่องราวของวีรบุรุษแห่งพระเจ้าให้มีชีวิตชีวาอยู่เสมอ บุคคลต่างๆ ที่มีความชาญฉลาดและโดดเด่นทางหน้าประวัติศาสตร์, ตลอดจนชะตาชีวิตของพวกเขา เก็นสิ่งเหล่านี้ไว้เป็นบทเรียนสำคัญสำหรับชีวิต

อัลกุรอานบทมัรยัม, อัลลอฮฺตรัสว่า : “และจงกล่าวถึงเรื่องของอิบรอฮีมที่อยู่ในคัมภีร์ แท้จริง เขาเป็นผู้ซื่อสัตย์”[1] หลังจากนั้นได้กล่าวถึงการต่อสู้เยี่ยงวีรบุรุษของท่านที่มีต่อบรรดาพวกเคารพรูปปั้นบูชา และเทวรูปเหล่านั้นอย่างองอาจ

อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า : “และจงกล่าวถึงเรื่องของอิดรีสที่อยู่ในคัมภีร์ แท้จริงเขาเป็นผู้ซื่อสัตย์พูดจริง เป็นนบี (ผู้ยิ่งใหญ่) ท่านหนึ่ง และเราได้เทิดเกียรติเขาซึ่งตําแหน่งอันสูงส่ง”[2] และหลังจากนั้นได้กล่าวถึงบรรดาศาสดาทั้งหลายว่า ทั้งหมดต่างได้รับความโปรดปรานต่างๆ ของพระเจ้าโดยถ้วนหน้ากัน

อัลกุรอาน บทอื่นกล่าวว่า : “และจงรำลึกถึงบ่าวของเราอัยยูบ, เมื่อเขาวิงวอนขอต่อพระผู้อภิบาลของเขาว่า (โอ้ พระผู้อภิบาลของข้าฯ) "ชัยฏอนได้ทำให้ข้าฯได้รับความเหนื่อยยากและทุกข์ทรมาน" (ข้ากล่าวกับเขาว่า) จงกระทืบ (พื้นดิน) ด้วยเท้าของเจ้า, นี่คือตาน้ำเย็นสำหรับการอาบชำระล้าง และสำหรับดื่ม และเราได้ประทานครอบครัวของเขาคืนให้แก่เขา และเพิ่มจำนวนที่เท่ากับพวกเขาเพิ่มเข้ามากับพวกเขา เพื่อจะได้เป็นความเมตตาจากเราและเป็นข้อเตือนสติแด่ปวงผู้มีสติทั้งหลาย”[3]

เป็นที่ชัดเจนว่า โองการเหล่านี้และโองการอื่นที่คล้ายคลึงกันนั้น มิได้กล่าวถึงเนื่องส่วนตัว หรือครอบครัว หรือภารกิจธรรมดาทั่วไปในชีวิตของบรรดาอิมามเหล่านี้ ทว่าได้กล่าวถึงคุณสมบัติพิเศษอื่น หรือความประเสริฐต่างๆ ด้านจริยธรรมและโปรแกรมต่างๆ ในเชิงการสร้างสรรค์ของพวกเขาเหล่านั้น, และแน่นอน สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าการรำลึกถึงบุคลิกภาพอันสูงส่งและวิเศษของบุคคล ที่ได้รับการเลือกสรรแล้วในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูให้มีชีวิตชีวาตลอดเวลา พร้อมทั้งคุณสมบัติอันสูงส่งอันเป็นที่ยอมรับของพวกเขาต้องได้รับความสนใจ ด้วยเหตุนี้เอง จะเห็นว่าบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) จะมีการฟื้นฟูและรำลึกถึงนามของบรรดาชะฮีดแห่งกัรบะลาอ, โดยเฉพาะอย่างยิ่งซัยยิดชุฮะดา อิมามฮุซัยนฺ (อ.) ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน

2.บรรดาอิมามผู้ยิ่งใหญ่ของชีอะฮฺ (อ.) ได้จัดพิธีกรรมรำลึกถึงดอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ด้วยวิธีการหลายหลาก อาทิเช่น

ก) จัดการชุมนุมรำลึกถึงโศกนาฏกรรม

นับว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบที่บรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) พยายามจะรักษาอุดมการณ์ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ให้ดำรงอยู่ตลอดไป คือ การจัดมัจญฺลิสเพื่อรำลึกถึงโศกนาฏกรรม การร้องไห้สำหรับความเศร้าและความทุกข์ยากต่างๆ ที่เกิดแก่แต่ละชีวิตในกัรบะลาอฺ การรำลึกถึงเหตุการณ์อันโหดร้ายในช่วงเวลาอันเหมาะสม

ท่านอิมามซัจญาด (อ.) ตลอดอายุขัยการดำรงแหน่งอิมามะฮฺ ท่านจะอยู่กับการแสดงความเสียใจ และรำลึกถึงโศกนาฎกรรมแห่งกัรบะลาอฺและอาชูรอตลอดเวลา และท่านได้ร้องไห้ให้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างหนักจนกระทั่งได้รับฉายานามว่า อิมาม แห่งการก้มกราบผู้ร่ำไห้[4]

มีรายงานว่าอิมามบากิร (อ.) ได้จัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมแห่งอาชูรออฺ ให้แก่ปู่ของท่าน ณ ที่บ้านของท่าน และท่านได้ร้องไห้อย่างหนักโดยไม่มีการอำพรางตนแต่อย่างใด และบุคคลที่อยู่ในบ้านของท่านกล่าวว่า : ท่านอิมามได้ตกอยู่ในความเศร้าระทมทุกข์ตลอดเวลา และกล่าวแสดงความเสียใจต่อโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ต่อบุคคลอื่น[5]

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวกับดาวูดว่า : ฉันไม่เคยดื่มน้ำเย็นอีกเลยเว้นเสียแต่ว่าได้รำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)[6]

ท่านอิมามริฎอ  (อ.) กล่าวว่า : เมื่อเดือนมุฮัรรอมได้เวียนมาถึง, จะไม่มีผู้ใดเห็นบิดาของฉัน (อิมามมูซากาซิม) ยิ้มอีกเลย ทว่าความเศร้าและความเสียใจได้ครอบคลุมท่านจนหมดสิ้น จนกระทั่งถึงวันที่ 10, และเมื่อถึงวันอาชูรอแล้วในวันนั้น, จะเป็นวันแสดงความเสียใจและร่ำไห้สำหรับท่าน และท่านอิมามกล่าวว่า : วันนนี้,เป็นวันที่อิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้รับชะฮีด[7]

บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) มิใช่เฉพาะพวกท่านเท่านั้นที่จัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามซัยยิดชชุฮะดา และร้องไห้อย่างหนัก, ทว่าท่านยังสนับสนุนให้ประชาชนร้องไห้เพื่ออิมามฮุซัยนฺ (อ.) รายงานกล่าวว่า : บุคคลใดก็ตามร้องไห้เพื่ออิมามฮุซัยนฺ (อ.) หรือร้องไห้เพียงคนเดียว, รางวัลของเขาคือสรวงสวรรค์ และบุคคลใดแสดงความเศร้าและร่ำไห้ให้กับเหตุการณ์ดังกล่าว รางวัลของเขาก็คือสวรรค์เช่นกัน[8]

การสนับสนุนบรรดานักอ่านบทกวีและบทกลอนเกี่ยวกับเหตุการณ์กัรบะลา, หรือบรรดานักกวีที่ได้กล่ายขานถึงโศกนาฏกรรมออกมาเป็นบทกวี หรือบทกลอนและอ่านในงานชุมนุมเพื่อรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) พวกเขาจะได้รับความเมตตาพิเศษจากบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ไม่ว่าจะเป็นบุคคลลเฉกเช่น กัมมียัต อะซะดียฺ, หรือดุอ์บุล, เคาะซาอียฺ, ซัยยิดฮะมีรียฺ และคนอื่นๆ ...

ข) สนับสนุนส่งเสริมให้ไปซิยาเราะฮฺอิมามฮุซัยนฺ (อ.) :

การไปเยี่ยมสถานฝังศพของบรรดาผู้ยิ่งใหญ่ หรือผู้อาวุโส หรือวีรบุรุษถือว่าเป็นประเพณีอันดีงาม ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาคมโลกและประชาชาติต่างๆ มาอย่างช้านานตราบจนถึงปัจจุบันนี้ และหนึ่งในหมู่วีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่เหล่านั้นได้แก่ท่านซัยยิดชุฮะดา ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ผู้นำแห่งอิสระชนทั้งหลาย, ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คือรุ่งอรุณอีกแสงหนึ่ง ท่านคือวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ท่านคือหัวหน้าของบรรดาชะฮีดทั้งหลาย, ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่นามของท่าน และการรำลึกถึงท่านต้องได้รับการรำลึกถึงเป็นอย่างดี, และต้องได้รับการให้เกียรติอย่างสูง, คำพูดของบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ผู้บริสุทธิ์เกี่ยวกับความประเสริฐของการซิยาเราะฮฺ กัรบะลาอฺฮุซัยนียฺ นั้นมีมากมาย ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่า : บรรดาท่านผู้ได้รับการเลือกสรรแล้วจากพระเจ้าทุกครั้งและทุกโอกาสที่เหมาะสม ท่านจะสนับสนุนและเชิญชวนให้ประชาชน ไปเยี่ยมสถานฝังศพของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ซัยยิดชชุฮะดา, ประหนึ่งว่าหนึ่งในโปรแกรมสำคัญสำหรับท่านคือ การได้สัญญาไปเยี่ยมสถานฝังศพของท่านอิมาม และสนับสนุนประชาชนให้กระทำเช่นนั้น เพราะท่านทราบเป็นอย่างดีว่า นี่คือแนวทางการสร้างความสัมพันธ์อันดีงามทางด้านความคิด และจิตวิญญาณของชาวมุสลิมกับอิมาม เป็นการปลุกระดมจิตวิญญาณของพวกเขาให้ต่อสู้, ทว่านี่คือวิถีทางต่อสู้กับบรรดาผู้กดขี่ที่ดีที่สุด ดังที่ประวัติศาสตร์ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า นี่คือวิธีการต่อสู้ที่วิเศษและดีที่สุดสำหรับวันนี้, เกี่ยวกับการซิยาเราะฮฺอิมามฮุซัยนฺ (อ.) มีรายงานจำนวนมากมายที่กล่าวถึง แต่จะขอกล่าวเพียงรายงานเดียว เช่น

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : บุคคลใดก็ตามในวันกิยามะฮฺหากเขาต้องการเห็นประกายรัศมีทุกๆ ที่ ให้เขาซิยาเราะฮฺอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ให้บ่อยที่สุด[9]

  1. ความพิเศษของเดือนมุฮัรรอม, คือ เดือนแห่งชัยชนะของเลือดที่มีเหนือคมดาบ

เดือนมุฮัรรอมเสมือนเป็นหนังสือที่มีคุณค่ามากที่สุด,วันและคืนของเดือนนี้, ช่วงเวลาทุกนาทีและทุกโมงยาม, คือหนึ่งหน้ากระดาษสำคัญสำหรับการรู้จักอัลลอฮฺ ความเป็นมนุษย์ เกียรติยศ ศักดิ์ศรี และความอิสระชน, นอกจากนั้นแล้วยังได้สอนวิธีการดำรงชีวิตแก่มนุษย์ว่า เขาควรจะมีชีวิตอยู่อย่างไร หรือสมควรจะตายอย่างไร, ท่านอมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้บรรจงสร้างกรุสมบัติอันมีค่ายิ่งนี้แก่ประชาคมโลกด้วยคำกล่าวว่า “ฮัยฮาต มินนัซซิลลัต” ท่านได้ส่งสาส์นนี้แก่ชนทุกรุ่นและทุกยุคทุกสมัย แก่ทุกกาลเวลาและทุกพื้นดินว่า โอ้ บุตรหลานของอาดัมเอ๋ย โอ้ ผู้เรียกร้องสัจธรรม โอ้ ผู้เรียกร้องความยุติธรรมแห่งโลก จงยืนขึ้นเพื่อต่อสู้และต่อต้านกับรัฐบาลกดขี่ รัฐปกครองของชัยฏอนเถิด และจงอย่ายอมแพ้พวกเขาเป็นอันขาด

นอกจากนั้นในช่วงวินาสุดท้ายแห่งชีวิตอันจำเริญของท่าน ท่านอิมามได้แสดงให้เห็นถึงการต่อสู้กับความอธรรมอย่างเด็ดเดี่ยว ท่ามกลางเหล่าทหารหลายพันคน ท่านได้กัดฟันเพื่อกล่าวสาส์นแก่ทุกคนว่า “มีใครสักคนที่จะช่วยเหลือฉันบ้างไหม” ท่านอิมามได้ร้องขอความช่วยเหลือ ประหนึ่งว่าท่านได้ร้องขอกับมนุษย์ผู้เป็นอิสระชนทุกคน กับเยาวชนคนหนุ่มสาวทุกยุคสมัย และกับทุกกาลยุคสมัย ท่านอิมามผู้โดดเดี่ยวก่อนหน้านี้ไม่นาน ท่านต้องสูญเสียน้อง มิตรสหาย ลูกหลาน และคนรักไปคนแล้วคนเล่า ท่านเป็นผู้นำเรือนร่างบริสุทธิ์ของชายหนุ่มผู้สง่างาม อะลี อักบัร กลับมายังคัยมะฮฺ, ซึ่งก่อนหน้านั้นเพียงชั่วครู่เดียวท่านได้เห็นน้องชายสุดที่รัก ผู้ซื่อสัตย์ ผู้เสียสละ ผู้ถือธงขบวนต้องนอนแน่ดิ้นจมกองเลือดอย่างน่าเวทนา ท่านอิมามไม่มีใครอีกแล้ว ท่านไม่มีความหวังที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป ท่านทราบดีว่าในไม่ช้านี้ท่านจะได้พบกับตาของท่าน คือ ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ด้วยริมฝีปากที่เหือดแห้งและกระหาย แล้วท่านจะเรียกร้องขอความช่วยเหลือไปเพื่อการใด หรือร้องขอจากผู้ใดหรือ? ท่านมิต้องการส่งเสียงร้องเรียกผู้ช่วยเหลือ ให้ตัวเองให้รอดพ้นจากความตาย, ทว่าท่านอิมาม (อ.) ได้ร้องเรียกเยาวชนคนรุ่นต่อไปให้ช่วยเหลือ จงอย่าลืมต้นไม้แห่งเตาฮีดและการเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียว ซึ่งกำลังจะแห้งเหี่ยวเฉาลงทุกวัน จงพิทักษ์รักษาเลือดของท่านและบรรดาชุฮะดาที่ได้ราดรินลดต้นไม้แห่งเตาฮีดเอาไว้ให้ดี เพื่อให้ขบวนการอาชูรอดำรงอยู่เป็นอมตะนิรันดร ให้มีการรำลึกถึงโศกนาฏกรรมแห่งกัรบะลาอฺเสมอ เพื่อให้เป็นหลักประกันต่อการดำรงอยู่ของอิสลาม

  1. โศกนาฏกรรมคือปัจจัยสำคัญของความสามัคคีและเป็นรหัสยะของความสำเร็จ

ทุกประชาชาติต้องอาศัยความสมานฉันท์ทางสังคม เพื่อการดำรงอยู่และเพื่อความสำเร็จ, ไม่ต้องสงสัยเลยว่าปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ ความสมานฉันท์ให้หมู่ชนผู้จงรักภักดีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ซึ่งนับได้ว่าเป็นปัจจัยที่มิต้องลงทุนหรือเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด แต่สามารถรวบรวมประชาชนให้เป็นปีกแผ่นบนแนวทางเดียวกันได้ นั่นคือการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) และบรรดาชุฮะดาผู้เสียสละแห่งกัรบะลาอฺ ปัจจัยดังกล่าวนี้ยังสามารถปลดปล่อยประชาชาติให้รอดพ้นจากสงครามกับนักล่าอาณานิคม หรือบรรดาพวกเผด็จการทั้งหลาย, ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คือ ที่มาของการยืนหยัดต่อสู้และการปฏิวัติต่างๆ ทั้งเล็กและใหญ่ทั่วโลก เช่น การยืนหยัดต่อสู้ของบรรดาเตาวาบีน (ผู้กลับตัวกลับใจ) ที่มีต่อยะซีดและพรรคพวก, การยืนหยัดต่อสู้ของ “มุคตอร” ซึ่งเขาได้หลั่งเลือดส่วนใหญ่ของบรรดากองโจรแห่งกัรบะลาอฺ เพื่อตอบแทนความชั่วที่ได้ก่อขึ้น เขาได้หยัดเหยียดความปราชัยแก่กองทหารที่เข้มแข็งของราชวงศ์อุมัยยะฮฺ และ ....ซึ่งบรรดานักวิชาการบางท่านกล่าวว่า ส่วนใหญ่ของการปฏิวัติบนโลกนี้ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากการยืนหยัดของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ทั้งสิ้นซึ่งหนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ซึ่งหนึ่งในตัวอย่างนั้นก็คือ การปลดปล่อยประเทศอินเดียให้ได้รับอิสรภาพจากนักล่าอาณานิคมแห่งอังกฤษ โดยน้ำมือของมหาคานธี ผู้นำขบวนการปลดปล่อยในครั้งนั้น เขากล่าวว่า : ฉันไม่ได้นำสิ่งแปลกใหม่อันใดมาสู่ประชาติอินเดียแม้แต่น้อย มันเป็นเพียงการบทสรุปจากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การดำรงชีวิตของวีรบุรุษแห่งกัรบะลาอฺ, ถ้าหากเราต้องการช่วยเหลือประชาชาติอินเดียให้รอดพ้น วาญิบสำหรับเราที่ต้องทำตามแนวทางที่ฮุซัยนฺได้ทำเอาไว้[10]

อีกตัวอย่างหนึ่ง, อันถือได้ว่าเป็นบทบาทอันยิ่งใหญ่ของกัรบะลาอฺและอาชูรอ, คือการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านโดยการนำของท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ซึ่งท่านได้ทำให้โลกทั้งหลายต้องตะลึงงัน และตัวอย่างสุดท้ายอันเป็นผลกระทบของการยืนหยัดต่อสู้กับความอธรรมคือ การยืนหยัดต่อสู้ของขบวนการฮิซบุลลอฮฺ ทางตอนใต้ของประเทศเลบานอน ซึ่งพวกเขามีความผูกพันอยู่กับกัรบะลาอฺและอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จึงทำให้พวกเขาสามารถยืนหยัดต่อสู้กับไซออนิสต์ได้อย่างกล้าหาญโดดเดี่ยว ในทางตรงกันข้ามฝ่ายไซออนิสต์ต้องพบกับความพ่ายแพ้อย่างยับเยิน เมื่อได้เผชิญหน้ากับความเสียสละและพลังอีมานของขบวนการฮิซบุลลอฮฺ

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าพวกเราก็คงจะเป็นคนหนึ่งที่ได้เป็นผู้ช่วยเหลือที่แท้จริง ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) และความการุณย์ของท่านก็คงจะแผ่เมตตามาถึงเรา

 

 


[1] อัลกุรอาน บทมัรยัม, 41.

[2] อัลกุรอาน บทมัรยัม, 56,57.

[3] อัลกุรอาน บทซ็อซดฺ, 41-43.

[4] วะซาอิลุชชีอะฮฺ, เล่ม 2, หน้า 922.

[5] วะซาอิลุชชีอะฮฺ, เล่ม 10, หน้า 398.

[6] อะมาลี เชคซะดูก, หน้า 142

[7] มะฟาตีฮุลญินาน, เชคอับบาสกุมมี, ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเดือนมุฮัรรอม

[8] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 24, หน้า 284.

[9] กามิลซิยาเราะฮฺ, หน้า 135. กล่าววว่า ..

«من سره ان یکون علی موائد النور یوم القیامة، فلیکن من زوار الحسین بن علی علیهما السلام»

[10] ศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือ อัตรชีวประวัติของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.), มุฮัมมัด มุฮัดมะดี  อิชติฮาดียฺ, หน้า 109

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทำไม อิบลิส (ซาตาน) จึงถูกสร้างขึ้นจากไฟ ?
    10683 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ได้สมรสกับหญิงหลายคน และหย่าพวกนางหรือ?
    7455 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    หนึ่งในประเด็น อันเป็นความเสียหายใหญ่หลวง และน่าเสียใจว่าเป็นที่สนใจของแหล่งฮะดีซทั่วไปในอิสลาม, คือการอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซ โดยนำเอาฮะดีซเหล่านั้นมาปะปนรวมกับฮะดีซที่มีสายรายงานถูกต้อง โดยกลุ่มชนที่มีความลำเอียงและรับจ้าง ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) เป็นอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านที่สอง, เป็นหนึ่งในบุคคลที่บรรดานักปลอมแปลงฮะดีซ ได้กุการมุสาพาดพิงไปถึงท่านอย่างหน้าอนาถใจที่สุด ในรูปแบบของรายงานฮะดีซ ซึ่งหนึ่งในการมุสาเหล่านั้นคือ การแต่งงานและการหย่าร้างจำนวนมากหลายครั้ง แต่หน้าเสียใจตรงที่ว่า รายงานเท็จเหล่านี้บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงฮะดีซและหนังสือประวัติศาสตร์ ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ แต่ก็หน้ายินดีว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักความเชื่อที่ถูกต้องมีอยู่อยู่มือจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งทำให้การอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซของพวกเขาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ...
  • ในมุมมองของรายงาน,ควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
    7646 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    อิสลาม เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ ศาสนาแห่งความเมตตา ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของมนุษย์ชาติทั้งหมด อีกด้านหนึ่งการเลือกนับถือศาสนาเป็นความอิสระของมนุษย์ ดังนั้น ในสังคมอิสลามนั้นท่านจะพบว่ามีผู้มิใช่มุสลิมปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย อิสลามมีคำสั่งให้รักษาสิทธิ ประพฤติดี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่นับถือศาสนา ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอิสลาม ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม หรือบุคคลที่อยู่ในสังคมอื่นที่มิใช่อิสลาม, ผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม จำเป็นรักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัยด้วย ถ้าหากไม่รักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัย หรือทรยศหักหลังก็จำเป็นต้องถูกลงโทษตามกฎหมายอิสลาม ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ริวายะฮ์ที่กล่าวว่า “ในสมัยที่อิมามอลี (อ.) ปกครองอยู่ ท่านมักจะถือแซ่เดินไปตามถนนหนทางและท้องตลาดพร้อมจะลงโทษอาชญากรและผู้กระทำผิด” จริงหรือไม่?
    6412 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ริวายะฮ์ข้างต้นกล่าวถึงช่วงรุ่งอรุณขณะที่ท่านสำรวจท้องตลาดในเมืองกูฟะฮ์ และการที่ท่านมักจะพกแซ่ไปด้วยก็เนื่องจากต้องการให้ประชาชนสนใจและให้ความสำคัญกับกฏหมายนั่นเอง สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาศอฟีย์ กุลพัยกานี ริวายะฮ์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง และสิ่งที่อิมามอลี(อ.) ได้กระทำไปคือสิ่งที่จำเป็นต่อสถานการณ์ในยุคนั้น การห้ามปรามความชั่วย่อมมีหลายวิธีที่จะทำให้บังเกิดผล ดังนั้นจะต้องเลือกวิธีที่จะทำให้สังคมคล้อยตามความถูกต้อง คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากผู้ปกครองในอิสลามเห็นสมควรว่าจะต้องลงโทษผู้ต้องหาและผู้ร้ายในสถานที่เกิดเหตุ หลังจากที่พิสูจน์ความผิดด้วยวิธีที่ถูกต้อง และพิพากษาตามหลักศาสนาหรือข้อกำหนดที่ผู้ปกครองอิสลามได้กำหนดไว้ การลงทัณฑ์ในสถานที่เกิดเหตุถือว่าไม่ไช่เรื่องผิด และในการนี้ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงริวายะฮ์ดังกล่าวแต่อย่างใด แต่รายงานที่ถูกต้องที่ปรากฏในตำราฮะดีษอย่าง กุตุบอัรบาอะฮ์[1] ก็คือ ท่านอิมามอลี (อ.) พกแซ่เดินไปตามท้องตลาดและมักจะตักเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่มีตำราเล่มใดบันทึกว่าอิมามอลี (อ.) เคยลงโทษผู้ใดในตลาด
  • ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการีย์ (อ.) »อัลฮัมดุลลิลฮิร็อบบิลอาละมีน« หมายถึงอะไร?
    11262 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) เป็นหนึ่งในตัฟซีรที่กล่าวว่าเป็นของท่านอิมาม ซึ่งมีเหตุผลบางประการพาดพิงว่าตัฟซีรดังกล่าวเป็นของท่านอิมาม แต่เป็นเหตุผลที่เชื่อถือไม่ได้แน่นอน ตัฟซีรชุดนี้ได้มีการตีความอัลกุรอาน บทฟาติฮะฮฺ (ฮัม) และบทบะเกาะเราะฮฺ โองการ 282 โดยรายงานฮะดีซ ซึ่งในวิชาอุลูมกุรอานเรียกว่าตัฟซีร »มะอฺซูเราะฮฺ« อย่างไรก็ตาม, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้อธิบายถึงประโยคที่ว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ไว้ในหลายประเด็น, เนื่องจาการขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานต่างๆ อันไม่อาจคำนวณนับได้, การสนับสนุนสรรพสิ่งถูกสร้าง, ความประเสริฐ และความดีกว่าของชีอะฮฺ เนื่องจากการยอมรับวิลายะฮฺ และอิมามะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) และกล่าวว่า เนื่องจากจำเป็นต้องขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานของพระองค์ จึงได้กล่าวว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7548 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • ได้ยินว่าระหว่างสงครามอิรักกับอิหร่านนั้น ร่างของบางคนที่ได้ชะฮีดแล้ว, แต่ไม่เน่าเปื่อยสลาย, รายงานเหล่านี้เชื่อถือได้หรือยอมรับได้หรือไม่?
    8473 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    โดยปกติโครงสร้างของร่างกายมนุษย์, จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า เมื่อจิตวิญญาณได้ถูกปลิดไปจากร่างกายแล้ว, ร่างกายของมนุษย์จะเผ่าเปื่อยและค่อยๆ สลายไป, ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก ที่ร่างกายของบางคนหลังจากเสียชีวิตไปแล้วนานหลายปี จะไม่เน่าเปื่อยผุสลายและอยู่ในสภาพปกติ. แต่อีกด้านหนึ่ง อัลลอฮฺ ทรงพลานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่างและทุกการงาน[1] ซึ่งอย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งนี้จะไม่มีความเป็นไปได้ หรือห่างไกลจากภูมิปัญญาแต่อย่างใด. เพราะว่านี่คือกฎเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งได้รับการละเว้นไว้ในบางกรณี, เช่น กรณีที่ร่างของผู้ตายอาจจะไม่เน่าเปื่อย โดยอนุญาตของอัลลอฮฺ ดังเช่น มามมีย์ เป็นต้น จะเห็นว่าร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อย ซึ่งเรื่องนี้ได้ผ่านพ้นไปนานหลายพันปีแล้ว และประสบการณ์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความจริงดังกล่าวแล้วด้วย ดังนั้น ถ้าหากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ครอบคลุมเหนือประเด็นดังกล่าวนี้ ก็เป็นไปได้ที่ว่าบางคนอาจเสียชีวิตไปแล้วหลายร้อยปี แต่ร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อยผุสลาย ยังคงสมบูรณ์เหมือนเดิม แล้วพระองค์ทรงเป่าดวงวิญญาณให้เขาอีกครั้ง ซึ่งเขาผู้นั้นได้กลับมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง, อัลกุรอานบางโองการ ก็ได้เน้นย้ำถึงเรื่องราวของศาสดาบางท่านเอาไว้[2] เช่นนี้เองสิ่งที่กล่าวไว้ในรายงานว่า ถ้าหากบุคคลใดที่มีนิสัยชอบทำฆุซลฺ ญุมุอะฮฺ, ร่างกายของเขาในหลุมฝังศพจะไม่เน่นเปื่อย
  • ในทัศนะอิสลาม บาปของฆาตกรที่เข้ารับอิสลามจะได้รับการอภัยหรือไม่?
    8114 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/12
    อิสลามมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามอาทิเช่นหากก่อนรับอิสลามเคยละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์เช่นไม่ทำละหมาดหรือเคยทำบาปเป็นอาจินเขาจะได้รับอภัยโทษภายหลังเข้ารับอิสลามทว่าในส่วนของการล่วงละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์เขาจะไม่ได้รับการอภัยใดๆเว้นแต่คู่กรณีจะยอมประนีประนอมและให้อภัยเท่านั้นฉะนั้นหากผู้ใดเคยล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นเมื่อครั้งที่ยังมิได้รับอิสลามการเข้ารับอิสลามจะส่งผลให้เขาได้รับการอนุโลมโทษทัณฑ์จากอัลลอฮ์ก็จริงแต่ไม่ทำให้พ้นจากกระบวนการพิจารณาโทษในโลกนี้
  • การให้การเพื่อต้อนรับเดือนมุฮัรรอม ตามทัศนะของชีอะฮฺถือว่ามีความหมายหรือไม่?
    7480 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ถือเป็นซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ซึ่งได้รับการสถาปนาและสนับสนุนโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.)

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60132 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57573 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42220 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39370 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34004 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28021 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27966 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27804 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25802 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...