Please Wait
7014
ท่านอิมามอะลี (อ.) ไม่เคยเป็นคนจนหรือคนอนาถาจนไม่มีจะกินแต่อย่างใด แต่ท่านเป็นคนมีความพยายามสูงและไม่เคยหยุดนิ่ง, ท่านได้รับทรัพย์สินจำนวนมากมายแต่ทรัพย์ทั้งหมดเหล่านั้นท่านได้บริจาคไปในหนทางของอัลลอฮฺ (ซบ.), โดยไม่เหลือทรัพย์ส่วนใดไว้สำหรับตนเอง,ดังที่โองการต่างๆ ได้กล่าวถึงการบริจาคซะกาตของท่านไว้มากมาย ซึ่งหนึ่งในโองการเหล่านั้นก็คือโองการที่กำลังกล่าวถึง
นอกจากนั้นแล้ววัฒนธรรมของอัลกุรอานยังได้กล่าวถึงการบริจาคที่เป็นมุสตะฮับ (สมัครใจ) ว่าเป็นซะกาตประเภทหนึ่งและบุคคลก็สามารถบริจาคได้ทั้งสิ้น
ประการแรก : ตามสิ่งที่ปรากฏอยู่ในชีวประวัติของท่านอิมามอะลี (อ.) ท่านอิมามมิเคยเป็นผู้ยากจนค้นแค้นแต่อย่างใด ทว่าท่านอิมามได้ทุ่มเทความพยายามอย่างยิ่ง จนกระทั่งได้ทรัพย์สินมาเป็นจำนวนมากมาย แต่ท่านได้ใช้จ่ายทรัพย์เหล่านั้นไปในหนทางของพระเจ้าจนหมดสิ้น, โดยไม่เหลือสิ่งใดเป็นของตนเอง, เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับการแบกถุงขนมปัง และอินทผลัมเพื่อไปแจกจ่ายให้เด็กกำพร้า และคนยากจนซึ่งเป็นเรื่องที่รับทราบกันเป็นอย่างดี แต่สิ่งที่รับทราบกันเป็นอย่างดีนอกเหนือไปจากนี้ ซึ่งเราต้องการกล่าวในที่นี้คือ ท่านอิมาม (อ.) จะใช้ทรัพย์สินของท่านซื้อทาสเพื่อปลดปล่อยให้เป็นไท ซึ่งประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าท่านได้ปล่อยทาสให้เป็นอิสระถึง 1000 คน. นอกจากนั้นทรัพย์สินของท่านที่ได้รับจากทรัพย์สงครามก็มีจำนวนไม่น้อย แล้วยังจะมีซะกาตและรายได้จากเรือกสวนของท่านอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยืนยันให้เห็นว่าท่านอิมามมิได้เป็นผู้ยากจนค้นแค้นแต่อย่างใด[1]
ฉะนั้น ถ้ากล่าวถึงความยากจนของท่านอิมาม ก็เนื่องด้วยสาเหตุที่ว่าท่านได้บริจาคทานเป็นจำนวนมากมายนั่นเอง บางครั้งก็มากเกินทรัพย์สินที่ท่านมีอยู่. ซึ่งสิ่งที่โองการกล่าวถึงการบริจาคทานของท่านนั้นจะเห็นว่า หนึ่งในประเด็นนี้ก็คือท่านได้บริจาคทานขณะรุกูอ์ให้แก่คนยากจนคนหนึ่ง
ประการที่สอง : อัลกุรอานหลายโองการถือว่าการซะดะเกาะฮฺที่เป็นมุซตะฮับเป็น ซะกาตด้วย เช่น อัลกุรอานที่ประทานลง ณ มักกะฮฺจะใช้คำว่า “ซะกาต” ซึ่งวัตถุประสงค์ก็คือซะกาตมุสตะฮับนั่นเอง[2] เนื่องจากซะกาตวาญิบได้ถูกกำหนดขึ้นหลังจากการอพยพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ไปยังมะดีนะฮฺ[3]
อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺ กล่าวไว้ในตัฟซีรอัลมีซานว่า :
ถ้าหากพิจารณาทุกวันนี้จะเห็นว่าเมื่อกล่าวถึง ซะกาต ทุกคนจะเข้าใจว่าหมายถึง ซะกาตวาญิบ จะไม่มีผู้ใดคิดถึงเซาะดะเกาะฮฺ, แต่ก็มิได้เป็นเพราะสาเหตุที่ว่าภาษาอาหรับที่กล่าวว่า ซะดะเกาะฮฺ มิใช่ซะกาต ทว่าด้วยสาเหตุที่ว่าอายุขัยของอิสลามได้ผ่านพ้นมานับพันกว่าปีที่แล้ว ทั้งผู้วางบทบัญญัติและมุสลิมทั้งหลายต่างนำคำว่า ซะกาต ไปใช้ในวาญิบ, ทว่าในยุคแรกของอิสลามซะกาตได้ถูกใช้ตามความหมายในปทานุกรม ซึ่งครอบคลุมทั้งความหมายในเชิงภาษา และซะดะเกาะฮฺด้วย. ดังนั้น ตามความเป็นจริงแล้ว ซะกาต ในความหมายเฉพาะจะถูกใช้ตรงข้ามกับนมาซ, หมายถึงการบริจาคทรัพย์ในหนทางของพระเจ้า,ดังเช่นเรื่องราวในอัลกุรอานที่ได้กล่าวถึงเรื่องราวของเหล่าบรรดาศาสดา ซึ่งเข้าใจได้เป็นอย่างดี[4]
โองการที่ 55 บทอัลมาอิดะฮฺ ตามคำกล่าวของนักตัฟซีรส่วนใหญ่ว่า[5] หมายถึงเรื่องราวการบริจาคของท่านอิมามอะลี (อ.),ซึ่งขณะรุกูอฺท่านได้บริจาคแหวนให้แก่คนยากจน
ดังนั้น สมมุติว่าซะกาตวาญิบ ไม่วาญิบสำหรับท่านอิมามอะลี (อ.) ฉะนั้น การบริจาคแหวนให้แก่คนยากจนจึงถือว่าเป็นหนึ่งในการบริจาคที่เป็นมุสตะฮับ