Please Wait
7705
เป้าหมายของการสร้างมนุษย์ก็เพื่อ การแสดงความเคารพภักดีและการรู้จักพระเจ้า, ซึ่งการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้านั้น จะทำให้มนุษย์ก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ และตำแหน่งอันใกล้ชิดต่อพระเจ้า, นมาซ คือภาพลักษณ์ที่ดีและสวยงามที่สุดของการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า หรือการแสดงความเป็นบ่าวที่ดีต่อพระผู้ทรงสร้าง, ความเคร่งครัดต่อนมาซ 5 เวลาคือสาเหตุของความประเสริฐและเป็นพลังด้านจิตวิญญาณ ซึ่งทำให้มนุษย์ละเว้นการทำความผิดบาป หรือการแสดงความประพฤติไม่ดี อีกด้านหนึ่งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้พลังแห่งความสำรวมตน ภายในจิตใจมนุษย์มีความเข้มแข็งขึ้น, ในกรณีนี้ เข้าใจได้ทันทีว่า เพราะอะไรนมาซ, จึงเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์
ต้องไม่ลืมที่จะกล่าวว่า, นมาซคือหนึ่งในภาคปฏิบัติที่เป็นอิบาดะฮฺ อันมีผลบุญคือ เป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์, เนื่องจากรายงานฮะดีซ,เกี่ยวกับความรักที่มีต่อบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) คือ การกล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ, ความอดทน ...ก็ถือว่าเป็นกุญแจแห่งสรวงสวรรค์เช่นกัน, และเช่นกันสิ่งที่เข้าใจได้จากรายงานที่ว่า นมาซพร้อมกับความศรัทธามั่นที่มีต่ออัลลอฮฺ ความเป็นเอกะของพระองค์ ขึ้นอยู่กับความรักที่มีต่อบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องที่มีความพิเศษยิ่งต่อกัน
บางแหล่งอ้างอิงในอิสลามกล่าวว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า “นมาซคือ กุญแจสู่สรวงสวรรค์”[1]
ถ้าหากพิจารณาโองการที่กล่าวว่า »และจงดำรงนมาซ แท้จริงนมาซจะยับยั้ง (มนุษย์) จากการลามกอนาจารและความชั่ว«[2] รายงานฮะดีซบางบทที่กล่าวถึง นมาซ เข้าใจได้ว่าเพราะเหตุใดนมาซจึงเป็นกุญแจไปสู่สรวงสวรรค์, ดังเช่นที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า “นมาซคือเสาหลักของศาสนา บุคคลใดไม่นมาซเท่ากับได้ทำลายศาสนาของตน”[3]
ทำนองเดียวกันกล่าวว่า : »ไม่มีเวลานมาซใดล่วงเลยมาถึง เว้นเสียแต่ว่ามลาอิกะฮฺได้ร้องเรียกประชาชนไปสู่การนมาซ แล้วเป่าประกาศว่าจงดับไฟที่ลุกโชนอยู่เบื้องหลัง ด้วยนมาซเถิด” [4]«
คำอธิบาย : วัตถุประสงค์ในการสร้างมนุษย์เพื่อการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า,[5] ซึ่งภายใต้ร่มเงาของการแสดงความเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ นั่นเองที่ทำให้มนุษย์พบกับความสมบูรณ์ และตำแหน่งอันใกล้ชิดกับพระเจ้า, นมาซ, ถือว่าเป็นวิธีการเปิดเผยการเคารพภักดีและความเป็นบ่าวที่ดีที่สุดที่มีต่อพระผู้สร้าง โดยหลักการแล้วการแสดงความเคารพภักดีมีอยู่ในธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ทุกคนอยู่แล้ว และด้วยการปฏิบัติข้อบังคับบางประการ เช่น นมาซ จะทำให้ความจริงที่มีอยู่ในตัวถูกฟื้นฟูและฟูมฟักให้เข้มแข็ง และจะคอยประคับประคองตัวเขาให้ดำเนินไปในหนทางของความดีงาม หลีกเลี่ยงออกจากความชั่วร้ายทั้งปวง การกำหนดให้นมาซประจำวัน 5 เวลา, เนื่องด้วยเป็นความประเสริฐด้านจิตวิญญาณ และทำให้จิตใจมีความเข้มแข็งสูงส่งปกป้องมนุษย์จากการล่วงละเมิดในบาปกรรม และการแสดงมารยาทที่ไม่ดีไม่งาม ทรามและไม่มีความเหมาะสม นอกจากนั้นยังเป็นการเสริมสร้างพลังด้านจิตวิญญาณในตัวมนุษย์ให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้นต่อไป ในกรณีนี้สามารถเข้าใจได้ทันทีว่า เพราะอะไร มนมาซจึงเป็นกุญแจสู่สวรรค์
ต้องไม่ลืมว่า นมาซ เป็นหนึ่งในการงานที่จัดว่าเป็น อิบาดะฮฺ ซึ่งมีผลบุญคือ กุญแจสู่สรวงสวรรค์, เนื่องจากรายงานกล่าว่า ความรักที่มีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.)[6] คือการกล่าวว่า ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ[7]อดทน[8] และ ....และยังถูกนับว่าเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์, ด้วยตุนี้ จะเห็นว่ากุญแจไปสู่สวรรค์, มิได้จำกัดอยู่แค่เพียงนมาซเท่านั้น, แต่เนื่องจาก นมาซวาญิบและมีความสัมพันธ์กับมนุษย์มากกว่าอิบาดะฮฺอื่น หรืออีกนัยหนึ่งอิบาดะฮฺที่ไม่เป็นทางการ การปฏิบัติอิบาดะฮฺเหล่านั้นเป็นหนึ่งในวาญิบที่สำคัญ และด้วยเงื่อนไขตามที่ระบุไว้จึงมีผลบุญคือ กุญแจสู่สรวงสวรรค์
เช่นเดียวกันจากรายงานนี้เข้าใจได้ว่า นมาซด้วยความศรัทธาที่มีต่อพระเจ้าผู้ทรงเอกะ และความรักที่มีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันเป็นพิเศษ
ศึกษาเพิ่มเติมได้จากหัวดังต่อไปนี้ :
«นมาซและการไม่ใส่ใจของเยาวชนต่อนมาซ», คำถามที่ 17839 (ไซต์ : 17487)
«สาเหตุที่นมาซวาญิบ», คำถามที่ 2552 (ไซต์ : 2688)
«ความหมายและมรรคผลของนมาซ», คำถามที่ 2997 (ไซต์ : 3242)
[1] «مِفْتَاحُ الْجَنَّةِ الصَّلَاة» อิบนุอบี ญุมฮูร, มุฮัมมัด บิน ซัยนุดดีน, อะวาลียฺ อัลลิอาลี อัลอะซีซียะฮฺ ฟี อัลอะฮาดีซ อัดดีนียะฮฺ, เล่ม 1, หน้า 322, ดาร ซัยยิด อัชชุฮะดาอ์ ลินนัชร์, กุม, พิมพ์ครั้งแรก, ปี 1405, มุฮัมมัด เรย์ ชะฮฺริและทีมงาน, ฮุกมุนนบี อัลอะอฺซ็อม (ซ็อล ฯ) , เล่ม 5, หน้า 285, ดารุลฮะดีซ, กุม, พิมพ์ครั้งแรก, ปี 1429, ซุเฮลลียฺ, วะฮฺบะตุล บิน มุซเฎาะฟา, อัตตัฟซีร อัลมุนีร ฟิล อะกีดะฮฺ วัชชะรีอะฮฺ วัลมันฮัจญฺ, เล่ม 6, หน้า 102, ดารุลฟิกร์ อัลมะอาซิร, เบรูต, ดะมิชก์, พิมพ์ครั้งที่ 2, ปี 1418, ซุยูฎียฺ, ญะลาลุดดีน, อัดดุรุลมันซูร ฟี ตัฟซีริล มะอฺษูร, เล่ม 1, หน้า 296, พิมพ์ โดยห้องสมุด อายะตุลลอฮฺ มัรอะชีย์ นะญะฟียฺ, กุม, ปี 1404.
[2] «وَ أَقِمِ الصَّلاةَ إِنَّ الصَّلاةَ تَنْهى عَنِ الْفَحْشاءِ وَ الْمُنْكَر» บทอังกะบูต, 45.
[3]. «الصَّلَاةُ عَمُودُ الدِّينِ فَمَنْ تَرَكَهَا فَقَدْ هَدَمَ الدِّين»อิบนุอบิลฮะดีด, อับดุลฮะมีด, ชัรฮฺ นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, ค้นคว้าและตรวจทานโดย อิบรอฮีม, มุฮัมมัด อบุลฟัฎล์, เล่ม 10, หน้า 206, สำนักพิมพ์มักตะบียะฮฺ อายะตุลลอฮฺ อัลมัรอะชีย์ อันนะญะฟีย์,กุม พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 1404, อะวาลียฺ อัลละอาลียฺ อัลอะซีซียะฮฺ ฟิลอะฮาดีซ อัดดีนะยะฮฺ เล่ม 1, หน้า 322,
[4] «مَا مِنْ صَلَاةٍ يَحْضُرُ وَقْتُهَا إِلَّا نَادَى مَلَكٌ بَيْنَ يَدَيِ النَّاسِ أَيُّهَا النَّاسُ قُومُوا إِلَى نِيرَانِكُمُ الَّتِي أَوْقَدْتُمُوهَا عَلَى ظُهُورِكُمْ فَأَطْفِئُوهَا بِصَلَاتِكُم» เชคซะดูก, ษะวาบุลอะอฺมาล วะอิกอบุลอะอฺมาล, หน้า 35, สำนักพิมพ์ อัรเราะฎียฺ, พิมพ์ครั้งที่ 1, ปี 1406
[5] ข้ามิได้สร้างมนุษย์และญินขึ้นมาเพื่อการใด เว้นเสียแต่เพื่อแสดงความเคารพภักดีต่อข้า (เพื่อให้บังเกิดความสมบูรณ์ในหนทางนี้และมีความใกล้ชิดกับข้า) บทซาริยาต 56.
[6] ฏ็อบรียฺ ออมุลียฺ, อิมาดุดดีน อบีญะอฺฟัร มุฮัมมัด บิน อบีลกอซิม, บะชาเราะตุลมุสเฏาะฟา ลิชีอะฮฺ อัลมุรตะฏอ, เล่ม 2, หน้า 68, อัลมักตะบะตุลฮัยดะรียะฮฺ, นะญัฟ,พิมพ์ครั้งที่ 2, ปี ฮ.ศ. 1383, มัจญฺลีซซีย์ มุฮัมมัดบากิร, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 11, หน้า 114, ดารุลอะฮฺยา อัตตุรอษ อัลอะรอบียฺ เบรุต, พิมพ์ครั้งที่ 2 ปี ฮ.ศ. 1403
[7] บิฮารุลอันวาร,เล่ม 48, หน้า 105.
[8] อ้างแล้ว เล่ม 75, หน้า 9.