การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7759
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/09/25
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1078 รหัสสำเนา 16990
คำถามอย่างย่อ
เพราะเหตุใดจึงวาญิบต้องตักลีดกับมัรญิอฺ ?
คำถาม
จะพิสูจน์ได้อย่างไรว่า เพราะเหตุใดวาญิบต้องตักลีดกับมัรญิอฺ?
คำตอบโดยสังเขป

จุดประสงค์ของการตักลีดคือการย้อนไปสู่ภารกิจที่ตนไม่มีความเชี่ยวชาญ ในคำสั่งอันเฉพาะซึ่งต้องอาศัยความความเชี่ยวชาญพิเศษ ซึ่งเหตุผลที่สำคัญที่สุดสำหรับเรื่องการตักลีดเกี่ยวกับปัญหาศาสนาคือ เหตุผลทางสติปัญญา ที่ว่าผู้ไม่มีความรู้และไม่มีความเชี่ยวชาญปัญหา ต้องปฏิบัติตามผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในปัญหานั้น แน่นอนทั้งอัลกุรอาน และรายงานจำนวนมากมายได้เน้นย้ำถึงเรื่องการตักลีดเอาไว้ โดยเฉพาะอัลกุรอานโองการที่กล่าวว่า :

"فاسئلوا أهل الذکر إن کنتم لا تعلمون"

ดังนั้น จงถามผู้รู้ถ้าหากสูเจ้าไม่รู้

สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือเหตุผลทั้งหมดทางคำพูดเกี่ยวกับการตักลีด ก็คือสิ่งอันเป็นที่ยอมรับของบรรดานักปราชญ์ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ มัรญิอฺตักลีดคือ ผู้มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านฟิกฮฺ มีความสามารถในการพิสูจน์บทบัญญัติของพระเจ้าจากแหล่งที่มาของบทบัญญัติ ฉะนั้น จำเป็นสำหรับบุคคลอื่นเกี่ยวกับปัญหาศาสนาต้องปฏิบัติตามพวกเขา

คำตอบเชิงรายละเอียด

ศาสนาอิสลามได้วางกฎเกณฑ์เอาไว้แก่มนุษย์ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของพวกเขาทั้งในแง่ของวัตถุ ศีลธรรมจรรยา เรื่องส่วนตัว สังคมส่วนรวม ตลดจนการเมืองการปกครอง และเศรษฐศาสตร์ อิสลามได้วางกฎเกณฑ์เหล่านั้นไว้ในรูปแบบของบทบัญญัติทางฟิกฮฺที่แตกต่างกัน มีการแต่งและประพันธ์เอาไว้อันก่อให้เกิดวิชาการด้านฟิกฮฺ ซึ่งความรู้ด้านฟิกฮฺตามความเป็นจริงแล้วก็คือ แบบอย่างหลักในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ วิธีการอันถูกต้องของความเป็นมนุษย์ ความสัมพันธ์ทางสังคม และเป็นระบบอันสูงส่งสำหรับชีวิต เนื่องจากได้ครอบคลุมทุกแง่มุมในชีวิตมนุษย์ ดังคำกล่าวของอิมามโคมัยนีที่ว่า ฟิกฮฺ คือทฤษฎีที่แท้จริง มีความสมบูรณ์เพื่อควบคลุมวิถึชีวิตมุสลิม และสังคมนับตั้งแต่เปลจนถึงหลุมฝังศพ[1]

เนื่องจากการให้ความสำคัญเป็นพิเศษด้านฟิกฮฺและบทบัญญัติทางศาสนา หมู่มวลมิตรแห่งอัลลอฮฺได้เชิญชวนเหล่าผู้ปฏิบัติตามตนไปสู่การเชื่อฟังปฏิบัติตาม และจงอย่าเพิกเฉยหรือไม่ใส่ใจต่อการเรียนรู้หลักบัญญัติของอิสลาม เพราะจะเป็นสาเหตุนำไปสู่การลงโทษ

อิมามบากิร (.) กล่าวว่าถ้าหากมีชายหนุ่มจากชีอะฮฺมาหาฉัน แต่ไม่ใคร่ครวญเรื่องฟิกฮฺ ฉันจะลงโทษเขา[2]

บทบัญญัติของอิสลามนั้นมีทั้งสิ่งที่เป็นข้อบังคับ และสิ่งต้องห้ามเนื่องจากอัลลอฮ่ทรงวางกำหนดสิ่งเหล่านี้เอาไว้ เพื่อความจำเริญผาสุกของประชาชนทั้งโลกนี้และโลกหน้า ถ้าหากมนุษย์ไม่เชื่อฟังปฏิบัติตาม เขาจะไม่ไปถึงยังความผาสุกอันเป็นเป้าหมาย และจะไม่รอดพ้นการลงโทษของอัลลอฮฺ สำหรับการรู้จักบทบัญญัติอิสลามจำเป็นต้องรอบรู้สิ่งต่างๆมากมาย เช่น ความเข้าใจเกี่ยวกับโองการอัลกุรอาน รายงาน การรู้จักฮะดีซเชื่อถือได้ และเชื่อถือไม่ได้ วิธีการรวมฮะดีซหรือโองการเข้าด้วยกัน หรือการแยกแยะฮะดีซฮะดีซเหล่านั้น และหลีกหลายปัญหาที่จำเป็น ซึ่งการเรียนรู้จกปัญหาเหล่านั้น ต้องใช้เวลาร่ำเรียนและความพยายามอย่างสูงหลายปีด้วยกัน

ดังนั้น บนปัญหาดังกล่าวนี้ผู้ปฏิบัติตามจึงมีหน้าที่ 3 ประการด้วยกัน

ประการแรก เข้าสู่แนวทางศึกษาหาความรู้จนถึงระดับการอิจญฺติฮาด

ประการที่สอง ศึกษาค้นคว้าทัศนะต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว และถือปฏิบัติในลักษณะที่ว่าตรงหรือไม่ขัดแย้งกับคำฟัตวาเหล่านั้น ถือว่าการปฏิบัติของเขาถูกต้อง (อิฮฺติยาฏ)

ประการที่สาม ทัศนะของบุคคลที่ได้ศึกษาค้นคว้าวิชาการด้านนี้โดยสมบูรณ์ เป็นผู้เชี่ยวชาญบทบัญญัติ สามารถออกทัศนะได้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ถ้าเขาอยู่ในวิถีทางที่หนึ่งเขาต้องไปถึงระดับของการวินิจฉัยแน่นอน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านบทบัญญัติ ดังนั้น สองทางที่เหลื่อไม่จำเป็นสำหรับเขาอีกต่อไป แต่จนกว่าจะไปถึงระดับดังกล่าว เขาจำเป็นต้องท่องไปตามวิถีทางทั้งสองด้วย

แนวทางที่สองต้องอาศัยข้อมูลที่เพียงพอต่อการศึกษาทัศนะต่างๆ ในทุกปัญหาโดยต้องยึดแนวทางอิฮฺติยาฏเพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตน ซึ่งการอิฮฺติยาฏนั้นจะทำให้การดำเนินชีวิตของเขาล่าช้า ดังนั้น การเลือกแนวทางตักลีดเป็นวิธีการที่ง่ายดายที่สุด สะดวกสบายต่อการปฏิบัติอันเป็นหน้าที่ของประชาชนโดยทั่วไปที่จะต้องกระทำเช่นนั้น และนี่คือแนวทางทั้งสามแต่มิได้เป็นแนวทางอันจำกัดในการปฏิบัติตัวตามบทบัญญัติ เนื่องจากทุกสาขานั้นย่อมต้องการผู้เชี่ยวชาญพิเศษประจำสาขานั้น เช่น วิศวกรคนหนึ่งเขามีความชำนาญด้านหนึ่งแต่เมื่อเขาป่วยไม่สบาย เขาจึงมีทางเลือกอยู่สองทางคือ ศึกษาค้นคว้าหาอาการใข้ด้วยตัวเอง โดยนำเอาทัศนะแพทย์ที่มีอยู่อยู่แล้วมาศึกษาวิจัยต่อ แล้วปฏิบัติตัวด้วยความระมัดระวัง เพื่อว่าภายหลังจะได้ไม่ต้องเสียใจ หรือไปพบแพทย์ด้วยตัวเองเพื่อการเยี่ยวยารักษา.

แน่นอน วิธีการแรกนั้นผู้ป่วยไม่อาจเยี่ยวยารักษาให้หายตามปกติได้โดยด่วน ส่วนแนวทางที่สองก็ยากลำบากกับตัวเองเป็นอย่างยิ่งมิหนำซ้ำยังทำให้เขาต้องออกหลุดพ้นความเชี่ยวชาญของตน ดังนั้น วิธีการที่ง่ายที่สุดคือการไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและปฏิบัติไปตามสั่งของแพทย์

การปฏิบัติไปตามทัศนะของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนั้น นอกจากจะไม่ทำให้เขาต้องเสียใจ และไม่เสียเวลาแล้วยังทำให้เขารอดปลอดภัยและพบกับความสุขในชีวิตอีกต่างหาก บรรดาผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามทัศนะของมุจญฺตะฮิดผู้มีความเชี่ยวชาญพิเศษ นอกจากจะทำให้ท่านไม่ต้องเสียใจกับการถูกลงโทษในโลกหน้าแล้ว ท่านยังได้ปฏิบัติศาสนบัญญัติได้อย่างถูกต้องอีกต่างหาก[3]

จุดประสงค์ของการตักลีดคือการย้อนไปสู่ภารกิจที่ตนไม่มีความเชี่ยวชาญ ในคำสั่งอันเฉพาะซึ่งต้องอาศัยความความเชี่ยวชาญพิเศษ ซึ่งเหตุผลที่สำคัญที่สุดสำหรับเรื่องการตักลีดเกี่ยวกับปัญหาศาสนาคือ เหตุผลทางสติปัญญา ที่ว่าผู้ไม่มีความรู้และไม่มีความเชี่ยวชาญปัญหา ต้องปฏิบัติตามผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในปัญหานั้น แน่นอนทั้งอัลกุรอาน และรายงานจำนวนมากมายได้เน้นย้ำถึงเรื่องการตักลีดเอาไว้ โดยเฉพาะอัลกุรอานโองการที่กล่าวว่า :

"فاسئلوا أهل الذکر إن کنتم لا تعلمون"

ดังนั้น จงถามผู้รู้ถ้าหากสูเจ้าไม่รู้[4]

หรือรายงานกล่าวว่าสำหรับสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเจ้าจงย้อนไปหานักรายงานฮะดีซของเรา เพราะพวกเขาคือข้อพิสูจน์ของเราสำหรับพวกท่าน ส่วนพวกเราคือข้อพิสูจน์ของอัลลอฮฺ[5]

ท่านมุฮักกิก กะรักกียฺ กล่าวว่าบรรดาชีอะฮฺทั้งหลายต่างมีความเห็นพร้องต้องกันว่า ฟะกะฮฺที่ยุติธรรม อะมีน มีเงื่อนไขสมบูรณ์ในการออกคำวินิจฉัย ซึ่งตามหลักศาสนบัญญัติเรียกเขาว่า มุจญฺตะฮิด ซึ่งในยุคของการเร้นกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ ถือว่าพวกเขาคือตัวแทนของท่านอิมาม

สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือเหตุผลทั้งหมดทางคำพูดเกี่ยวกับการตักลีด ก็คือสิ่งอันเป็นที่ยอมรับของบรรดานักปราชญ์ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ มัรญิอฺตักลีดคือ ผู้มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านฟิกฮฺ มีความสามารถในการพิสูจน์บทบัญญัติของพระเจ้าจากแหล่งที่มาของบทบัญญัติ ฉะนั้น จำเป็นสำหรับบุคคลอื่นเกี่ยวกับปัญหาศาสนาต้องปฏิบัติตามพวกเขา

ศึกษาเพิ่มเติมได้จากหัวข้อต่อไปนี้

1) มัรญิอ์ และตักลีด, คำถามที่ 276

2) วิลายะตุลฟะกีฮฺ และมัรญิอฺ, คำถามที่ 272

3) อะดิลละฮฺ วิลายะตุลฟะกีฮฺ, คำถามที่ 235



[1] เซาะฮีฟะฮฺนูร เล่ม 21 หน้า 98

[2] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 1 หน้า 241

[3] ริซาละฮฺ ดดนิชญู พิมพ์ครั้งที่ 5 ซัยยิดมุจญฺตะบา หน้า 45-46

[4] อัลกุรอาน บทอันนะฮฺลุ 43

[5] วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 27 หน้า 140

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทำไม อิบลิส (ซาตาน) จึงถูกสร้างขึ้นจากไฟ ?
    10683 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ได้สมรสกับหญิงหลายคน และหย่าพวกนางหรือ?
    7455 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    หนึ่งในประเด็น อันเป็นความเสียหายใหญ่หลวง และน่าเสียใจว่าเป็นที่สนใจของแหล่งฮะดีซทั่วไปในอิสลาม, คือการอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซ โดยนำเอาฮะดีซเหล่านั้นมาปะปนรวมกับฮะดีซที่มีสายรายงานถูกต้อง โดยกลุ่มชนที่มีความลำเอียงและรับจ้าง ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) เป็นอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านที่สอง, เป็นหนึ่งในบุคคลที่บรรดานักปลอมแปลงฮะดีซ ได้กุการมุสาพาดพิงไปถึงท่านอย่างหน้าอนาถใจที่สุด ในรูปแบบของรายงานฮะดีซ ซึ่งหนึ่งในการมุสาเหล่านั้นคือ การแต่งงานและการหย่าร้างจำนวนมากหลายครั้ง แต่หน้าเสียใจตรงที่ว่า รายงานเท็จเหล่านี้บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงฮะดีซและหนังสือประวัติศาสตร์ ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ แต่ก็หน้ายินดีว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักความเชื่อที่ถูกต้องมีอยู่อยู่มือจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งทำให้การอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซของพวกเขาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ...
  • ในมุมมองของรายงาน,ควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
    7646 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    อิสลาม เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ ศาสนาแห่งความเมตตา ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของมนุษย์ชาติทั้งหมด อีกด้านหนึ่งการเลือกนับถือศาสนาเป็นความอิสระของมนุษย์ ดังนั้น ในสังคมอิสลามนั้นท่านจะพบว่ามีผู้มิใช่มุสลิมปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย อิสลามมีคำสั่งให้รักษาสิทธิ ประพฤติดี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่นับถือศาสนา ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอิสลาม ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม หรือบุคคลที่อยู่ในสังคมอื่นที่มิใช่อิสลาม, ผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม จำเป็นรักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัยด้วย ถ้าหากไม่รักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัย หรือทรยศหักหลังก็จำเป็นต้องถูกลงโทษตามกฎหมายอิสลาม ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ริวายะฮ์ที่กล่าวว่า “ในสมัยที่อิมามอลี (อ.) ปกครองอยู่ ท่านมักจะถือแซ่เดินไปตามถนนหนทางและท้องตลาดพร้อมจะลงโทษอาชญากรและผู้กระทำผิด” จริงหรือไม่?
    6412 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ริวายะฮ์ข้างต้นกล่าวถึงช่วงรุ่งอรุณขณะที่ท่านสำรวจท้องตลาดในเมืองกูฟะฮ์ และการที่ท่านมักจะพกแซ่ไปด้วยก็เนื่องจากต้องการให้ประชาชนสนใจและให้ความสำคัญกับกฏหมายนั่นเอง สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาศอฟีย์ กุลพัยกานี ริวายะฮ์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง และสิ่งที่อิมามอลี(อ.) ได้กระทำไปคือสิ่งที่จำเป็นต่อสถานการณ์ในยุคนั้น การห้ามปรามความชั่วย่อมมีหลายวิธีที่จะทำให้บังเกิดผล ดังนั้นจะต้องเลือกวิธีที่จะทำให้สังคมคล้อยตามความถูกต้อง คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากผู้ปกครองในอิสลามเห็นสมควรว่าจะต้องลงโทษผู้ต้องหาและผู้ร้ายในสถานที่เกิดเหตุ หลังจากที่พิสูจน์ความผิดด้วยวิธีที่ถูกต้อง และพิพากษาตามหลักศาสนาหรือข้อกำหนดที่ผู้ปกครองอิสลามได้กำหนดไว้ การลงทัณฑ์ในสถานที่เกิดเหตุถือว่าไม่ไช่เรื่องผิด และในการนี้ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงริวายะฮ์ดังกล่าวแต่อย่างใด แต่รายงานที่ถูกต้องที่ปรากฏในตำราฮะดีษอย่าง กุตุบอัรบาอะฮ์[1] ก็คือ ท่านอิมามอลี (อ.) พกแซ่เดินไปตามท้องตลาดและมักจะตักเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่มีตำราเล่มใดบันทึกว่าอิมามอลี (อ.) เคยลงโทษผู้ใดในตลาด
  • ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการีย์ (อ.) »อัลฮัมดุลลิลฮิร็อบบิลอาละมีน« หมายถึงอะไร?
    11262 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) เป็นหนึ่งในตัฟซีรที่กล่าวว่าเป็นของท่านอิมาม ซึ่งมีเหตุผลบางประการพาดพิงว่าตัฟซีรดังกล่าวเป็นของท่านอิมาม แต่เป็นเหตุผลที่เชื่อถือไม่ได้แน่นอน ตัฟซีรชุดนี้ได้มีการตีความอัลกุรอาน บทฟาติฮะฮฺ (ฮัม) และบทบะเกาะเราะฮฺ โองการ 282 โดยรายงานฮะดีซ ซึ่งในวิชาอุลูมกุรอานเรียกว่าตัฟซีร »มะอฺซูเราะฮฺ« อย่างไรก็ตาม, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้อธิบายถึงประโยคที่ว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ไว้ในหลายประเด็น, เนื่องจาการขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานต่างๆ อันไม่อาจคำนวณนับได้, การสนับสนุนสรรพสิ่งถูกสร้าง, ความประเสริฐ และความดีกว่าของชีอะฮฺ เนื่องจากการยอมรับวิลายะฮฺ และอิมามะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) และกล่าวว่า เนื่องจากจำเป็นต้องขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานของพระองค์ จึงได้กล่าวว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7548 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • ได้ยินว่าระหว่างสงครามอิรักกับอิหร่านนั้น ร่างของบางคนที่ได้ชะฮีดแล้ว, แต่ไม่เน่าเปื่อยสลาย, รายงานเหล่านี้เชื่อถือได้หรือยอมรับได้หรือไม่?
    8473 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    โดยปกติโครงสร้างของร่างกายมนุษย์, จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า เมื่อจิตวิญญาณได้ถูกปลิดไปจากร่างกายแล้ว, ร่างกายของมนุษย์จะเผ่าเปื่อยและค่อยๆ สลายไป, ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก ที่ร่างกายของบางคนหลังจากเสียชีวิตไปแล้วนานหลายปี จะไม่เน่าเปื่อยผุสลายและอยู่ในสภาพปกติ. แต่อีกด้านหนึ่ง อัลลอฮฺ ทรงพลานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่างและทุกการงาน[1] ซึ่งอย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งนี้จะไม่มีความเป็นไปได้ หรือห่างไกลจากภูมิปัญญาแต่อย่างใด. เพราะว่านี่คือกฎเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งได้รับการละเว้นไว้ในบางกรณี, เช่น กรณีที่ร่างของผู้ตายอาจจะไม่เน่าเปื่อย โดยอนุญาตของอัลลอฮฺ ดังเช่น มามมีย์ เป็นต้น จะเห็นว่าร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อย ซึ่งเรื่องนี้ได้ผ่านพ้นไปนานหลายพันปีแล้ว และประสบการณ์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความจริงดังกล่าวแล้วด้วย ดังนั้น ถ้าหากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ครอบคลุมเหนือประเด็นดังกล่าวนี้ ก็เป็นไปได้ที่ว่าบางคนอาจเสียชีวิตไปแล้วหลายร้อยปี แต่ร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อยผุสลาย ยังคงสมบูรณ์เหมือนเดิม แล้วพระองค์ทรงเป่าดวงวิญญาณให้เขาอีกครั้ง ซึ่งเขาผู้นั้นได้กลับมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง, อัลกุรอานบางโองการ ก็ได้เน้นย้ำถึงเรื่องราวของศาสดาบางท่านเอาไว้[2] เช่นนี้เองสิ่งที่กล่าวไว้ในรายงานว่า ถ้าหากบุคคลใดที่มีนิสัยชอบทำฆุซลฺ ญุมุอะฮฺ, ร่างกายของเขาในหลุมฝังศพจะไม่เน่นเปื่อย
  • ในทัศนะอิสลาม บาปของฆาตกรที่เข้ารับอิสลามจะได้รับการอภัยหรือไม่?
    8114 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/12
    อิสลามมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามอาทิเช่นหากก่อนรับอิสลามเคยละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์เช่นไม่ทำละหมาดหรือเคยทำบาปเป็นอาจินเขาจะได้รับอภัยโทษภายหลังเข้ารับอิสลามทว่าในส่วนของการล่วงละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์เขาจะไม่ได้รับการอภัยใดๆเว้นแต่คู่กรณีจะยอมประนีประนอมและให้อภัยเท่านั้นฉะนั้นหากผู้ใดเคยล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นเมื่อครั้งที่ยังมิได้รับอิสลามการเข้ารับอิสลามจะส่งผลให้เขาได้รับการอนุโลมโทษทัณฑ์จากอัลลอฮ์ก็จริงแต่ไม่ทำให้พ้นจากกระบวนการพิจารณาโทษในโลกนี้
  • การให้การเพื่อต้อนรับเดือนมุฮัรรอม ตามทัศนะของชีอะฮฺถือว่ามีความหมายหรือไม่?
    7480 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ถือเป็นซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ซึ่งได้รับการสถาปนาและสนับสนุนโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.)

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60132 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57573 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42220 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39370 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34004 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28021 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27966 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27804 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25802 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...