Please Wait
6077
ศาสนาอิสลามมาเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ทั้งหลาย และเป็นกฎเกณฑ์สำหรับมนุษยชาติ.ดังที่เราจะเห็นว่ามะดีนะตุลนบี (ซ็อล ฯ) คือตัวอย่างสังคมแห่งกฎเกณฑ์ หมายถึงมนุษย์ทุกคนได้สร้างความสัมพันธ์ต่อกันภายใต้กฎเกณฑ์อันเดียวกัน ท่านชะฮีดซ็อดร์ กล่าวว่า อิสลามได้มีเพื่อให้ความเข้าใจดังกล่าวสมจริง และให้หลักประกันสองประการแก่มนุษย์ อันได้แก่หลักประกันภายนอก ซึ่งหมายถึงระบบหรือกลุ่มซึ่งมีหน้าที่ดูแลการนำเอากฎหมายมาปฏิบัติใช้ในสังคม ส่วนอีกประการหนึ่งคือ หลักประกันภายในอันได้แก่แนวคิดและคุณค่าต่างๆ ที่อยู่ภายในตัวมนุษย์อันเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์มีความสำคัญและจำเป็น แต่น่าเสียดายว่าสังคมอิสลามส่วนใหญ่ห่างไกลจากความจริงของศาสนา และแก่นแท้ความเข้าใจของศาสนา และสังคมศาสนามิได้ถูกมองหรือถูกรู้จักว่าเป็นสังคมแห่งกฎเกณฑ์, แต่ในทางตรงกันข้ามเมื่อเหตุการณ์ใดก็ตามได้เกิดขึ้นในโลกตะวันตก เหตุการณ์นั้นจะกลายเป็นวัฒนธรรม และอารยธรรมมนุษย์ไปทันที ทั้งทีบางเหตุการณ์ได้ลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ให้ต่ำต้อยน้อยค่ายิ่งกว่าดินเสียด้วยซ้ำไป แต่เรากลับชื่นชอบและมองว่านั่นคือความก้าวหน้าทางสังคม
เกี่ยวกับประเด็นนี้ มีจุดหนึ่งที่ต้องพิจารณาใคร่ครวญเป็นพิเศษ นั้นคือ อิสลามได้มาเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยชาติทั้งหลาย ในรูปแบบของกฎเกณฑ์, มะดีนะฮฺนบี (ซ็อล ฯ) คือตัวอย่างหนึ่งของเมืองแห่งกฎเกณฑ์ ซึ่งได้วางความสัมพันธ์ของมนุษย์ให้อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกัน ดังคำกล่าวของชะฮีดซ็อดร์ ที่ว่า อิสลามได้มาเพื่อทำให้ความเข้าใจสมจริง และให้หลักประกันสองประการสำหรับมนุษย์ หนึ่งในนั้นคือหลักประกันภายนอก ได้แก่ระบบที่ใช้ควบคุมดูแลการนำกฎหมายมาดำเนินใช้ในสังคม อีกประการหนึ่งคือ หลักประกันภายในอันได้แก่แนวคิดต่างๆ และคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในตัวมนุษย์ อันเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์มีความสำคัญและจำเป็น แต่น่าเสียดายว่าสังคมอิสลาม ซึ่งด้วยเหตุผลมากมายหลายประการ แต่ยังจะไม่ขอกล่าว ณ ที่นี้ ยังห่างไกลจากความจริงของศาสนา และแก่นแท้ของความเข้าใจทางศาสนาอีกมากนัก ซึ่งยังไม่ยอมรับว่าสังคมศาสนาเป็นสังคมแห่งกฎหมาย หรือเป็นสังคมที่ถูกต้องตามธรรมเนียม แต่ในทางกลับกันเรื่องราวหรือเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นในโลกตะวันตก เช่น ในยุคสมัยของ ยุคเรอเนสซองซ์ ก่อนสงครามครูเสด ซึ่งมุสลิมและคริสเตียนได้ต่อสู้กันอย่างหนัก ตะวันตกซึ่งได้รู้จักมักคุ้นวัฒนธรรมอิสลามเป็นอย่างดี พวกเขาได้เห็นอารยธรรมและความก้าวหน้าของอิสลามแล้ว จึงได้เกิดคำถามสำหรับพวกเขาว่า อะไรคือสาเหตุของการเกิดวัฒนธรรมนี้? ตรงนี้เองที่ตะวันตกได้มีแนวความคิดเรื่อง อารยธรรม เกิดขึ้นและได้มีการวิภาษเกี่ยวกับสิ่งนั้น ขณะที่สิ่งที่กำลังกล่าวถึงกันนั้นได้เกิดขึ้นหลังยุคของ เรอเนสซองซ์ ตราบจนถึงปัจจุบัน นั่นคือความพยายามที่จะสร้างกฎเกณฑ์ทางสังคมให้เกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตามสังคมที่มิใช่สังคมศาสนา โดยปกติจะใช้ประโยชน์จากการสนับสนุนส่งเสริมภายนอก กล่าวคือ หากพิจารณาเฉพาะภายนอกของสังคม ที่มิใช่สังคมศาสนาในตะวันตก จะเห็นว่าประชาชนให้ความเคารพต่อกฎหมายเป็นอย่างดี ซึ่งสาเหตุที่ประชาชนให้ความเคารพในกฎหมายนั้นก็คือ ผู้รักษากฎหมายหมายถึงผู้ที่ต้องรักษาปกป้องและให้หลักประกันต่อกฎหมายนั้น พวกเขาได้ปฏิบัติด้วยความเคร่งครัดและจริงจัง ด้วยเหตุนี้เอง ถ้าในที่ใดก็ตามความเข้มงวดในการรักษากฎหมายได้อ่อนแอลง ทันใดนั้นกฎหมายก็จะหมดความหมายลงทันที เช่น ในหมู่พวกเรามีคำร่ำลือว่า ในตะวันตกนั้นจะให้ความเคารพกฎหมายจราจรเป็นพิเศษ ขณะที่ในสังคมของเราไม่มีคนขับรถคนใดปฏิบัติตามกฎจราจร
แน่นอน สิ่งนี้เป็นความจริงสาเหตุของนั้นเป็นเพราะว่า ความเข้มงวดในกฎหมายจราจร ซึ่งความเข้มงวดนั้นเองได้กลายเป็นผู้รักษากฎเกณฑ์สาธารณ ตัวอย่าง เราจะเห็นได้จากบางประเทศว่าพวกเขาไม่เคยติดกล้องวงจรปิด ไม่มีตำรวจจราจรคอยควบคุม แต่ประชาชนก็ยังให้ความเคารพกฎจราจรเหมือนเดิม แต่เมื่อเราถามว่าเป็นเพราะอะไร พวกเขาจึงเคารพกฎจราจร กล่าว่าสาเหตุก็คือ ถ้าหากมีคนหนึ่งฝ่าฝืนกฎจราจร เช่น ขับรถฝ่าไฟแดง หรือทำการฝ่าฝืนกฎอย่างอื่น จะเห็นว่าพลเมืองที่อยู่ใกล้เคียง หรืออยู่ในเหตุการณ์ หรือร้านรวงบริเวณนั้น ตลอดจนผู้พบเห็นเหตุการณ์จะส่งเสียงเอะอะโวยวาย หรือโทรแจ้งตำรวจทันที แจ้งทะเบียนรถของท่านและแจ้งความว่าท่านได้ประพฤติผิดกฎจราจร ซึ่งตำรวจจะปรับท่านด้วยค่าปรับที่แพงลิบลิ่ว เนื่องจากกฎหมายของที่นั้นได้ระบุไว้เช่นนี้ว่า, ถ้าหากบุคคลใดให้ความเคารพต่อกฎหมายก็ถือว่าเป็นสิทธิอันถูกต้อง เว้นเสียแต่ว่าการฝ่าฝืนของเขาเป็นที่ชัดเจน ก็จะมีพลเมืองดีโทรไปแจ้งตำรวจทันทีว่ารถหมายเลขทะเบียนนี้ ได้ขับรถฝ่าฝืนกฎจราจร หรือขับรถฝ่าไฟแดงค่าปรับก็จะออกมาทันที เว้นเสียแต่ว่าท่านต้องพิสูจน์ตัวเองว่า ท่านมิได้ขับรถฝ่าไฟแดง แต่โดยปกติแล้วไม่สามารถพิสูจน์ได้แน่นอน และค่าปรับก็จะเพิ่มขึ้นอีกหลังจากนั้น ในสังคมเช่นนั้นประชาชนจะมีความรู้สึกว่า พวกเขาต้องปฏิบัติตามกฎจราจร แต่การกระทำนั้นก็จะไม่ให้หลักประกันภายในแก่เขา เนื่องจากการคำนวณของพวกเขาเป็นการคำนวณจากวัตถุ, ด้วยเหตุนี้เอง ถ้าหากท่านมีโอกาสเดินทางไปตะวันตกในช่วงฤดูหนาวมีหิมะตกโปรยปราย ในเวลานั้นบางที่ท่านอาจได้พบเหตุการณ์เหล่านี้ เพราะเมื่อมีหิมะตกลงมาถนนก็ปิด แต่ท่านก็จะยังเห็นภาพว่าผู้ขับยังคงหยุดรถหลังไฟแดงอย่างมีระเบียบ รถทุกคันอยู่ในทางของตน แต่ถ้าเวลาผ่านไปแล้วพอประมาณ พวกเขาสายมากแล้ว อิริยาบถก็จะเปลี่ยนเป็นสลับดูนาฬิกาบ่อยครั้งขึ้น เกือบจะไปทำงานสายแล้ว และหลังจากนั้นผู้คนเหล่านี้เองได้ฝ่าฝืนกฎหมาย ทำไม? เพราะการคำนวณของพวกเขาเป็นการคำนวณในแง่ของวัตถุ พวกเขาได้คำนวณว่า ถ้าหากฝ่าฝืนกฎจราจรจะถูกปรับเพียง 50 เหรียญ แต่ถ้าเขาไปถึงที่ทำงานช้าจะถูกปรับ 100 เหรียญ ดังนั้น เมื่อคำนวณแล้วเป็นประโยชน์กับตัวเอง พวกเขาจึงเลือกการฝ่าฝืนกฎจราจร ในความหมายก็คือ ทุกสิ่งขึ้นอยู่กับผลกำไรหรือความเสียหายทางโลกหรือวัตถุเท่านั้น. สิ่งที่อิสลามปรารถนาให้ปฏิบัติ น่าเสียดายว่าในสังคมอิสลามของเราไม่ประสบความสำเร็จ หรือกล่าวได้ว่าล้มเหลว นั่นคือการสร้างกฎให้แก่สังคม โดยให้ทุกคนในสังคมปฏิบัติไปตามกฎระเบียบเหล่านั้น แต่มิใช่ว่ามีตำรวจคอยกวดขัดเพียงอย่างเดียว ยังมีอำนาจตุลาการคอยควบคุมพฤติกรรมของพวกเขา และที่เหนือไปกว่าสิ่งอื่นใดมีอัลลอฮฺ (ซบ.) คอยสังเกตและควบคุมพฤติกรรมของพวกเขา ดังนั้น ถ้าทุกคนปฏิบัติไปตามกฎระเบียบที่พระเจ้าวางไว้ และถ้ามีความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ สังคมของเราก็จะเหมือน และมีความเติบโตคล้ายกับสังคม นบี (ซ็อล ฯ) ในสมัยเมื่อพันกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าพวกอาหรับเร่ร่อน ระยะเวลาเพียงแค่ 10 ปีเท่านั้น ด้วยการอบรมสั่งสอนของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) พวกเขาได้เปลี่ยนแปลง มะดีนะเราะซูล ได้เกิดมาได้อย่างไร และเติบโตไปถึงไหน มีหลักการและกฎเกณฑ์อย่างไร ได้สร้างใครบ้างให้เป็นแบบอย่างสำหรับมนุษย์ และบรรยากาศของมะดีนะฮฺในสมัยนั้นเป็นอย่างไร ทั้งหมดอยู่ที่การเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาทั้งสิ้น ดังนั้น การที่สังคมอิสลามยังล้าหลัง ผู้คนยังฝ่าฝืนกฎระเบียบอยู่ มิใช่เพราะความด้อยของกฎและคำสอนของอิสลาม หากแต่เป็นสันดานของมนุษย์ที่ไม่รักดีและไม่รักความเจริญก้าวหน้าต่างหาก