การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7062
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/05/08
คำถามอย่างย่อ
จำเป็นหรือไม่ที่มิตรภาพระหว่างบุคคลขึ้นอยู่กับความคล้ายคลึงกันทางกายภาพ อย่างเช่น อายุและส่วนสูงที่เท่ากัน ฯลฯ?
คำถาม
นักบรรยายท่านหนึ่งเคยกล่าวว่า เพื่อนสองคนนอกจากจะต้องมีความคล้ายคลึงกันทางความคิดแล้ว ยังจะต้องคล้ายคลึงกันในแง่รูปลักษณ์ภายนอกด้วย อาทิเช่นอยู่ในวัยใกล้เคียงกัน มีร่างกายที่ทัดเทียมกัน (มิไช่ว่าคนหนึ่งร่างเล็กแต่อีกคนหนึ่งร่างกายกำยำ หรือคนหนึ่งหน้าอ่อนแต่อีกคนหน้าตามีอายุ) สรุปคือควรจะเข้ากันได้ในทุกๆด้าน มิฉะนั้นสังคมจะเกิดความเข้าใจผิดได้ ถามว่าความคิดดังกล่าวถูกต้องหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

สิ่งที่อิสลามใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกคบค้าสมาคมอันดับแรกก็คือคุณลักษณะทางจิตใจ หาไช่รูปลักษณ์ภายนอกไม่ อย่างไรก็ดี คุณลักษณะภายนอกบางประการอาจเป็นสิ่งสำคัญในบางสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น การที่ไม่ควรคบหากับผู้ที่จะเป็นเหตุให้ถูกสังคมมองในทางที่ไม่ดี
หลักเกณฑ์ของอิสลามคือ ควรต้องมีอีหม่าน, สามารถจุนเจือเพื่อนได้ทั้งทางโลกและทางธรรม, ช่วยตักเตือนในความผิดพลาด ฯลฯ

คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อนคือผู้ที่อยู่เคียงข้างยามเดียวดาย ร่วมแบ่งทุกข์ปันสุข หยิบยื่นความช่วยเหลือยามยาก เป็นที่พึ่งได้ยามเผชิญอุปสรรค และเป็นที่ปรึกษายามกังวลใจ อย่างไรก็ดี เนื่องจากเพื่อนของแต่ละบุคคลถือเป็นดัชนีชี้วัดบุคลิกและระดับคุณธรรมได้ นอกจากนี้ เพื่อนยังมีอิทธิพลต่อนิสัยใจคอของมนุษย์เราในช่วงวัยต่างๆค่อนข้างสูง การเลือกคบเพื่อนจึงมีส่วนช่วยประคองศีลธรรมสังคมและพฤติกรรมมนุษย์ได้ ดังที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวว่า “มิตรสหายเปรียบดั่งผ้าที่นำมาปะชุนสังคม ฉะนั้นจงเลือกคบบุคคลที่คล้ายคลึงกับท่านเถิด”[1]

สัมพันธภาพทางจิตใจย่อมจะนำสู่การเชื่อมโยงทางสังคมที่จับต้องได้ ในทางกลับกัน สัมพันธภาพทางสังคมก็ส่งผลต่อสภาพจิตใจได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่นิยมการขัดเกลาจิตใจและพัฒนาบุคลิกภาพให้บรรลุซึ่งศีลธรรมจรรยาจึงต้องใช้หลักเกณฑ์ทางศาสนาเป็นมาตรฐานในการพิจารณาคบหาเพื่อน อีกทั้งยังต้องระมัดระวังอิทธิพลของเพื่อนที่มีต่อจิตใจ จึงกล่าวได้ว่า คุณสมบัติทางนิสัยใจคอคือสิ่งที่อิสลามถือเป็นมาตรฐานหลักในการเลือกคบเพื่อน หาไช่คุณสมบัติภายนอกไม่

ในที่นี้ขอนำเสนอคุณสมบัติทางจิตใจบางประการของเพื่อนดังต่อไปนี้

1. อีหม่านคือฐานรากที่สำคัญที่สุดของมิตรภาพ สิ่งเดียวที่มั่นคงถาวรก็คือศรัทธาที่มีต่อหลักความเชื่อทางศาสนา สายสัมพันธ์ที่อิงความรักในอัลลอฮ์เป็นหลักเกณฑ์ย่อมจะไม่มีวันขาดสะบั้น ทั้งนี้ก็เพราะตั้งอยู่บนรากฐานอันแข็งแกร่ง สิ่งนี้ถือเป็นเอกลักษณ์ของอิสลามที่กำหนดว่าศรัทธาคือรากฐานของทุกสิ่งทุกอย่าง อิสลามถือว่ามิตรภาพหรือความชิงชังที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอีหม่านชี้ให้เห็นถึงสัมพันธภาพที่เหนียวแน่นระหว่างพระเจ้าและมนุษย์

โองการกุรอานหลายบทกล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยพยายามระงับมิให้ผู้ศรัทธากระชับสายสัมพันธ์กับเหล่าผู้ปฏิเสธ ผู้ตั้งภาคี และเหล่าผู้กลับกลอก อาทิเช่นโองการที่ว่า “บรรดาผู้ศรัทธามิบังควรเลือกผู้ปฏิเสธเป็นมิตรแทนที่ผู้ศรัทธาด้วยกัน และหากผู้ใดกระทำเช่นนี้ ย่อมถือว่าไม่มีสายสัมพันธ์ใดๆกับพระองค์ (ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับอัลลอฮ์ขาดสะบั้นลง) เว้นเสียแต่ว่าจะงดพฤติกรรมดังกล่าว...”[2]

2. มิตรแท้ควรเป็นผู้ปราดเปรื่องด้วยปัญญา: ปัญญาคือศักยภาพที่ช่วยให้มนุษย์เข้าใจสิ่งต่างๆได้ และเนื่องจากปัญญาเปรียบดั่งประทีปแห่งชีวิตที่ช่วยส่องสว่างสู่ความผาสุกของมนุษย์ เป็นเหตุให้อิสลามถือว่าปัญญาคือหลักเกณฑ์ประการหนึ่งสำหรับการเลือกคบเพื่อน โดยรณรงค์ให้คบค้าสมาคมกับผู้ทรงปัญญาหรือนักวิชาการ

มีฮะดีษจากท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวว่า “ไม่มีปัญหาใดๆหากจะคบคนฉลาดหลักแหลม เพราะแม้ว่าเธออาจจะไม่ได้ประโยชน์จากศีลธรรมของเขา แต่จงใช้ประโยชน์จากปัญญาของเขาทว่าพึงหลีกห่างมารยาทอันไม่พึงประสงค์ที่เขามี และจงคบกับผู้มีไมตรีจิตแม้ว่าเธออาจไม่ได้รับประโยชน์จากปัญญาของเขา แต่จงใช้ปัญญาของเธอเรียนรู้ไมตรีจิตจากเขา และจงออกห่างผู้ต่ำต้อยที่ไร้ความคิด”[3]

ท่าน(อ.)ยังได้กล่าวอีกว่า “การคบหาคนฉลาดจะช่วยให้วิญญาณมีชีวิตชีวา”[4]
ทว่าเพื่อนที่เบาปัญญาเปรียบดั่งยาพิษที่บ่อนทำลายสุขภาพจิตทุกเมื่อเชื่อวัน

อิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “ผู้ที่ยังสานสัมพันธ์กับคนเขลาย่อมจะได้รับอิทธิพลจากพฤติกรรมเบาปัญญา อันจะทำให้เขาค่อยๆมีลักษณะนิสัยเช่นนั้น”[5]

3. เพื่อนแท้คือผู้ที่มอบข้อบกพร่องของเราเป็นของขวัญแก่เราเอง: อิสลามถือว่ามิตรภาพที่มีคุณค่าต้องเป็นดั่งน้ำทิพย์ชโลมชีวิตส่วนตัวและสังคมของเราได้ ฉะนั้น ผู้ที่พบเห็นข้อบกพร่องของเราแต่ไม่เตือนให้ทราบ ย่อมไม่ไช่เพื่อนแท้ เพราะจากมุมมองของฮะดีษแล้ว เพื่อนที่แท้จริงเปรียบดุจกระจกเงาที่สะท้อนข้อบกพร่องแก่เราเพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขได้เนื่องจากหวังดีและอยากเห็นเพื่อนประสบความผาสุก จึงได้แจ้งให้ทราบถึงข้อบกพร่องบางประการเพื่อจะได้แก้ไขอย่างทันท่วงที

กุรอานกล่าวว่า “ปวงบุรุษและสตรีล้วนเป็นกัลญาณมิตรกันและกัน ตักเตือนสู่ความดีและห้ามปรามกันในความชั่ว ดำรงนมาซและชำระซะกาต และภักดีต่ออัลลอฮ์และศาสนทูต ไม่ช้าพระองค์จะทรงประทานเมตตาธรรมแก่พวกเขา พระองค์ทรงยิ่งด้วยพระปรีชาและวิทยปัญญา”[6]
อิมามศอดิกกล่าวว่า “มิตรที่ดีที่สุดของฉันก็คือผู้ที่มอบคำตักเตือนเกี่ยวกับข้อบกพร่องของฉัน”[7]

4. มิตรแท้คือผู้ที่มีจิตดำริในการบรรเทาความเดือดร้อนทั้งในด้านทรัพย์สินและจิตใจเท่าที่สามารถจะกระทำได้
อิมามฮะซัน(อ.)ให้โอวาทเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า
“จงเลือกคบผู้ที่เป็นดั่งเครื่องประดับยามคบหา
ผู้ที่รักษาเกียรติของเธอยามเธอที่ช่วยเหลือ
ผู้ที่ยื่นมือเข้าช่วยยามที่เธอต้องการ
ผู้ที่รับรองคำพูด(ที่ถูกต้อง)ของเธอ
ผู้ที่จะสนับสนุนเธอยามที่เธอต่อสู้กับศัตรู
ผู้ที่จะเกื้อหนุนเธอยามที่เธอกระทำความดี
ผู้ที่จะช่วยเติมเต็มให้ยามที่ชีวิตของเธอมีจุดบอด
ผู้ที่รู้คุณเธอยามที่เธอปฏิบัติดีด้วย
ผู้ที่จะหยิบยื่นเสมอเมื่อเธอขอร้อง
และผู้ที่จะเอ่ยปากช่วยเหลือเธอแม้ยามที่เธอเงียบ”[8]

เหล่านี้ถือเป็นคุณสมบัติส่วนบุคคลที่มิตรแท้ควรมี นอกจากนี้ยังควรพิจารณาคุณสมบัติทางสังคม กล่าวคือควรถือวิถีประชาเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสานสัมพันธ์ฉันเพื่อนฝูงด้วย ซึ่งขอนำเสนอโดยสังเขปดังนี้

  1. อายุ: ควรพิจารณาสองข้อคิดต่อไปนี้
    ก. ในกรณีที่ผู้ที่เราต้องการคบเป็นเพื่อนมีอายุมากกว่า สามารถที่จะศึกษาประสบการณ์จากเขาในฐานะพี่น้องทางศาสนาหรือเพื่อนรุ่นพี่ได้ โดยควรให้เกียรติและระมัดระวังไม่แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมกับวัยเดียวกัน และไม่ควรแสดงอากัปกริยาอันจะทำให้ผู้คนในสังคมตำหนิได้
    ข. สิ่งที่กล่าวไปแล้วข้างต้นสามารถใช้กับเพื่อนที่มีอายุเท่ากันได้ นั่นเป็นเพราะสถานภาพทางสังคมของแต่ละบุคคลเป็นสิ่งสำคัญที่พึงให้เกียรติ
  2. ควรคำนึงถึงภูมิหลังทางสังคมของบุคคลที่ต้องการจะคบค้าสมาคมเสมอ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่เป็นที่ยอมรับในสังคมไม่ควรคบหากับบุคคลที่มีบุคลิกภาพเชิงลบในแง่สังคม เพราะถึงแม้ว่าควรจะมีไมตรีกับผู้ที่เราจะตักเตือน แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องคบหาบุคคลดังกล่าวเป็นมิตรสหายใกล้ชิด
  3. ในกรณีที่บุคคลสองคนสนิทสนมแน่นแฟ้นในลักษณะที่จะทำให้สังคมติฉินนินทาได้ก็ควรระมัดระวังพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดข้อครหาขึ้น ดังที่ท่านอิมามอลี(อ.)เคยกล่าวว่า “พึงหลีกเลี่ยงเหตุปัจจัยที่จะทำให้ผู้คนกล่าวหาได้ เพราะมิตรชั่วจะหลอกลวงเสมอ”[9]

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ระเบียนต่อไปนี้
คุณสมบัติของผู้ศรัทธา,คำถามที่ 2534 (ลำดับในเว็บไซต์ 2671)
ยามที่ผู้ศรัทธาพบปะกันและกัน,คำถามที่11824 (ลำดับในเว็บไซต์ 13365 )
วิธีคบหาผู้อื่น,คำถามที่8795 (ลำดับในเว็บไซต์ 8752)
ชีวิตปัจเจกและชีวิตสังคม,คำถามที่ 8351(ลำดับในเว็บไซต์ 8370)

 

 


[1] ตะมีมี อามิดี,อับดุลวาฮิด บิน มุฮัมมัด, ฆุเราะรุ้ลฮิกัม,หน้า 423,สำนักงานเผยแพร่อิสลาม,กุม,ปี1366

[2] อาลิ อิมรอน,28

[3] กุลัยนี,มุฮัมมัด บิน ยะอ์กู้บ,อัลกาฟี,เล่ม 2,หน้า 638,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,ปี1365

[4] ฆุเราะรุ้ลฮิกัม,หน้า429,ฮะดีษที่ 9771

[5] มุฮัดดิษ นูรี,มุสตัดร้อก อัลวะซาอิ้ล,เล่ม 8,หน้า 336,สถาบันอาลุลบัยต์(อ.),กุม,ฮ.ศ.1408

[6] เตาบะฮ์,71

[7] อัลกาฟี,เล่ม 2,หน้า 639

[8] มัจลิซี,มุฮัมมัด บากิร, บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 44,หน้า 139,สถาบันอัลวะฟา,เบรุต,ฮ.ศ.1404

[9] อามิลี,เชคฮุร,วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 12,หน้า 36,สถาบันอาลุลบัยต์(อ.),กุม,ฮ.ศ.1409

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • สาขามัซฮับที่สำคัญของชีอะฮ์มีจำนวนเท่าใด?
    10492 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    คำว่า“ชีอะฮ์”โดยรากศัพท์แล้วหมายถึง“สหาย”หรือ“สาวก”และยังแปลได้ว่า“การมีแนวทางเดียวกัน” ส่วนในแวดวงมุสลิมหมายถึงผู้เจริญรอยตามท่านอิมามอลี(อ.) ซึ่งมีการนิยามความหมายของคำว่าผู้เจริญรอยตามว่า
  • สตรีสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในโลกไซเบอร์โดยไม่ขออนุญาตจากสามีหรือไม่?
    5807 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    คำตอบของบรรดามัรยิอ์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมีดังนี้อายาตุลลอฮ์คอเมเนอี “หากไม่จำเป็นที่จะต้องครอบครองทรัพย์สินของสามีก็ถือว่าไม่จำเป็นที่จะต้องขออนุญาตแต่จะต้องคำนึงว่าการติดต่อสื่อสารกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอมส่วนใหญ่จะทำให้เกิด... หรืออาจจะทำให้ตกในการกระทำบาปซึ่งไม่อนุญาต”อายาตุลลอฮ์ซิซตานี “การติดต่อสื่อสารกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอมถือว่าไม่อนุญาต”อายาตุลลอฮ์ศอฟีกุลฟัยกานี “โดยรวมแล้วการติดต่อสื่อสารในลักษณะนี้แม้ว่าสามีอนุญาติก็ไม่ถือว่าสามารถจะกระทำได้”ฮาดาวีเตหะรานี “หากการติดต่อสื่อสารในโลกไซเบอร์อยู่ในขอบเขตที่อนุญาตและไม่เกรงที่จะเกิดบาปเป็นที่อนุญาตและไม่จำเป็นที่จะต้องขออนุญาติจากสามี” ...
  • สาเหตุของการตั้งฉายานามท่านอิมามริฎอ (อ.) ว่าผู้ค้ำประกันกวางคืออะไร?
    8608 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    หนึ่งในฉายานามที่มีชื่อเสียงของท่านอิมามริฎอ (อ.) คือ..”ผู้ค้ำประกันกวาง” เรื่องเล่านี้เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งในหมู่ประชาชน,แต่ไม่ได้ถูกบันทึกอยู่ในตำราอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺแต่อย่างใด, แต่มีเรื่องเล่าที่คล้ายคลึงกับเรื่องนี้อย่ซึ่งมีได้รับการโจษขานกันภายในหมู่ซุนนีย, ถึงปาฏิหาริย์ที่พาดพิงไปยังเราะซูล
  • “ศอดุกอติฮินนะ” และ “อุญูริฮินนะ” ในกุรอานหมายถึงอะไร?
    7820 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/08
    คำว่า “ศอดุกอติฮินนะ”[1] มีการกล่าวถึงในประเด็นของการแต่งงานถาวร และได้กล่าวว่าสินสอดนั้นเป็น “ศิด้าก”[2] อายะฮ์ที่คำดังกล่าวปรากฏอยู่นั้น บ่งบอกถึงสิทธิที่สตรีจะต้องได้รับ และย้ำว่าสามีจะต้องจ่ายค่าสินสอดของภรรยาของตน[3] นอกจากว่าพวกนางจะยกสินสอดของนางให้กับเขา[4] นอกจากนี้คำนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสัจจะและความจริงใจในการแต่งงานด้วยเช่นกัน[5] ส่วนคำว่า “อุญูริฮินนะ”[6] หมายถึงการแต่งงานชั่วคราวและที่เรียกกันว่า “มุตอะฮ์” นั้นเอง และกล่าวว่า “จะต้องจ่ายมะฮัรแก่สตรีที่ท่านได้แต่งงานชั่วคราวกับนางเนื่องจากสิ่งนี้เป็นวาญิบ”[7] คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด
  • โปรดอธิบาย ปรัชญาของการกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ คืออะไร?
    8993 จริยศาสตร์ 2555/06/30
    ตามคำสอนของอิสลามการแต่งงานถือเป็นข้อตกลงที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับการจัดตั้งครอบครัวและสิ่งที่ติดตามมาคือ, ระบบสังคม ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีผลสะท้อนและบทสรุปอย่างมากมาย เช่น : เพื่อตอบสนองความต้องการทางกามรมย์, ผลิตสายเลือดและรักษาเผ่าพันธุ์, สร้างความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์, สร้างความสงบมั่นแก่จิตใจ, เป็นการรักษาความสะอาดบริสุทธิ์, เป็นการส่งเสริมความผูกพันให้มั่นคง และประเด็นอื่นๆ อีกมากมาย, ดังนั้น การจัดการข้อตกลงศักดิ์สิทธิ์นี้ให้สมประสงค์ได้, มีเพียงการปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์พื้นฐาน และเงื่อนไขอันเฉพาะที่อัลลอฮฺ ทรงกำหนดไว้เท่านั้น จึงจะเป็นไปได้. เช่น เงื่อนที่ว่านั้นได้แก่การกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ ด้วยคำพูดเฉพาะ (ดังกล่าวไว้ในหนังสือริซาละฮฺต่างๆ) พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกรในฐานะของ พระเจ้าผู้ทรงกำหนดกฎระเบียบ พระองค์คือผู้ทรงกำหนดคำพูดอันทรงเกียรติยิ่งนี้ และให้ความน่าเชื่อถือ พร้อมกับการเกิดขึ้นของคำพูดดังกล่าวในฐานะ อักดฺนิกาห์, จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเป็นสามีภรรยา ระหว่างชายกับหญิงขึ้น. การแต่งงานมิได้หมายถึง ความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและการยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งสำหรับการแต่งงาน ที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับการอ่านอักดฺนิกาห์ปัจจุบันนี้ เพื่อให้การแต่งงานนั้นถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักการชัรอียฺ. การแต่งงาน มิได้หมายถึงความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการแต่งงาน ...
  • เพราะเหตุใดกุญแจสู่สรวงสวรรค์คือ นมาซ?
    8075 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/17
    เป้าหมายของการสร้างมนุษย์ก็เพื่อ การแสดงความเคารพภักดีและการรู้จักพระเจ้า, ซึ่งการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้านั้น จะทำให้มนุษย์ก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ และตำแหน่งอันใกล้ชิดต่อพระเจ้า, นมาซ คือภาพลักษณ์ที่ดีและสวยงามที่สุดของการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า หรือการแสดงความเป็นบ่าวที่ดีต่อพระผู้ทรงสร้าง, ความเคร่งครัดต่อนมาซ 5 เวลาคือสาเหตุของความประเสริฐและเป็นพลังด้านจิตวิญญาณ ซึ่งทำให้มนุษย์ละเว้นการทำความผิดบาป หรือการแสดงความประพฤติไม่ดี อีกด้านหนึ่งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้พลังแห่งความสำรวมตน ภายในจิตใจมนุษย์มีความเข้มแข็งขึ้น, ในกรณีนี้ เข้าใจได้ทันทีว่า เพราะอะไรนมาซ, จึงเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์ ต้องไม่ลืมที่จะกล่าวว่า, นมาซคือหนึ่งในภาคปฏิบัติที่เป็นอิบาดะฮฺ อันมีผลบุญคือ เป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์, เนื่องจากรายงานฮะดีซ,เกี่ยวกับความรักที่มีต่อบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) คือ การกล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ, ความอดทน ...ก็ถือว่าเป็นกุญแจแห่งสรวงสวรรค์เช่นกัน, และเช่นกันสิ่งที่เข้าใจได้จากรายงานที่ว่า นมาซพร้อมกับความศรัทธามั่นที่มีต่ออัลลอฮฺ ความเป็นเอกะของพระองค์ ขึ้นอยู่กับความรักที่มีต่อบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องที่มีความพิเศษยิ่งต่อกัน ...
  • ตักวาหมายถึงอะไร?
    18228 จริยธรรมทฤษฎี 2555/01/23
    ตักว่าคือพลังหนึ่งที่หยุดยั้งจิตด้านในซึ่งการมีอยู่ของมนุษย์คือสาเหตุของการมีพลังนั้นและพลังดังกล่าวจะพิทักษ์ปกป้องมนุษย์ให้รอดพ้นจากการกระทำความผิดฝ่าฝืนต่างๆความสมบูรณ์ของตักวานอกจากจะช่วยทำให้มนุษย์ห่างไกลจากความผิดบาปและการก่ออาชญากรรมต่างๆ
  • มีหลักฐานอนุญาตให้มะตั่มให้แก่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หรือทำร้ายตัวเองของมุสลิมในช่วงเดือนมุฮัรรอม หรือเดือนอื่นหรือไม่?
    8328 ประวัติหลักกฎหมาย 2554/12/21
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นับได้ว่าเป็นหนึ่งในอิบาดะฮฺที่ดีที่สุดและการกระทำทุกสิ่งที่สังคมยอมรับว่านั่นเป็นส่วนหนึ่งของการจัดพิธีกรรมถือว่าอนุญาต, เว้นเสียแต่ว่าสิ่งนั้นได้สร้างเสื่อมเสียหรือมีอันตรายจริง, หรือเป็นสาเหตุทำให้แนวทางชีอะฮฺต้องได้รับการดูถูกเหยียดหยามอย่างรุนแรงซึ่งการทุบอก
  • เหตุใดจึงห้ามกล่าวอามีนในนมาซ?
    11146 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/02
    มีฮะดีษจากอะฮ์ลุลบัยต์ระบุว่าการกล่าวอามีนในนมาซไม่เป็นที่อนุมัติ และจะทำให้นมาซบาฏิล โดยหลักการแล้ว ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงการไม่เป็นที่อนุมัติ ทั้งนี้ก็เพราะการนมาซเป็นอิบาดะฮ์ประเภทหนึ่ง ซึ่งย่อมไม่สามารถจะเพิ่มเติมได้ตามใจชอบ ฉะนั้น หากไม่สามารถจะพิสูจน์การเป็นที่อนุมัติของส่วนใดในนมาซด้วยหลักฐานทางศาสนา ก็ย่อมแสดงว่าพฤติกรรมนั้นๆไม่เป็นที่อนุมัติ เพราะหลักเบื้องต้นในการนมาซก็คือ ไม่สามารถจะเพิ่มเติมใดๆได้ หลักการสงวนท่าที(อิห์ติยาฏ)ก็หนุนให้งดเว้นการเพิ่มเติมเช่นนี้ เนื่องจากเมื่อเอ่ยอามีนออกไป ผู้เอ่ยย่อมไม่แน่ใจว่านมาซจะยังถูกต้องอยู่หรือไม่ ต่างจากกรณีที่มิได้กล่าวอามีน ...
  • เหตุใดจึงตั้งชื่อซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ด้วยนามนี้?
    7834 วิทยาการกุรอาน 2555/03/18
    ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ถูกตั้งชื่อด้วยนามนี้เนื่องจากในซูเราะฮ์นี้ได้มีการกล่าวถึงเรื่องราวของบะก็อร(วัว)ของบนีอิสรออีลระหว่างอายะฮ์ที่ 67-71 หลายต่อหลายครั้ง เช่น وَ إِذْ قالَ مُوسى‏ لِقَوْمِهِ إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُكُمْ أَنْ تَذْبَحُوا بَقَرَةً قالُوا أَ تَتَّخِذُنا هُزُواً قالَ أَعُوذُ بِاللَّهِ أَنْ أَكُونَ مِنَ الْجاهِلين‏"؛ (และจงรำลึกถึงขณะที่มูซาได้กล่าวแก่กลุ่มชนของเขาว่า แท้จริงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงบัญชาแก่พวกท่านให้เชือดวัวตัวเมียตัวหนึ่ง (เพื่อนำชิ้นอวัยวะของวัวไปแตะศพที่ไม่สามารถระบุตัวผู้สังหารได้ เพื่อให้ศพฟื้นคืนชีพและชี้ตัวผู้ต้องสงสัย อันเป็นการยุติความขัดแย้งในสังคมยุคนั้น) พวกเขากล่าวว่า “ท่านจะถือเอาพวกเราเป็นที่ล้อเล่นกระนั้นหรือ?” มูซากล่าวว่า “ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้พ้นจากการที่ฉันจะเป็นพวกโง่เขล่าเบาปัญญา)[1] และเนื่องจากประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญต่อการขัดเกลาของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง จึงได้ตั้งชื่อด้วยนามนี้

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60574 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    58161 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42686 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    40096 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39311 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34426 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28499 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28408 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28342 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26265 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...