การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6887
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2088 รหัสสำเนา 14709
คำถามอย่างย่อ
มีความจำเป็นอะไรที่บรรดาอิมามต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และจะรู้ได้อย่างไรว่าอิมามเป็นมะอฺซูม?
คำถาม
มีความจำเป็นอะไรที่บรรดาอิมามต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และจะรู้ได้อย่างไรว่าอิมามเป็นมะอฺซูม?
คำตอบโดยสังเขป

ฝ่ายชีอะฮฺมีความเชื่อขัดแย้งกับฝ่ายซุนนียฺว่า, บรรดาอิมามในทุกกรณียกเว้นเรื่องวะฮียฺ- มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกับท่านศาสดา (ซ็อล ), ด้วยเหตุนี้เอง, บรรดาอิมามต้องเหมือนกับศาสดาตรงที่ว่าไม่ผิดพลาด, ไม่พลั้งเผลอกระทำบาป และต้องเป็นมะอฺซูม. ดั่งที่ท่านศาสดา (ซ็อล ) และบรรดาศาสดาท่านอื่นเป็นอยู่

แต่ฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ, เชื่อว่าตำแหน่งตัวแทนของท่านศาสดาเป็นเพียงตำแหน่งธรรมดาทางสังคมเท่านั้น-มิใช่ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ- ทว่าได้รับการเลือกสรรโดยประชาชน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺจึงมาจากการเลือกตั้งของประชาชน, ด้วยสาเหตุนี้เองตามความเชื่อของพวกเขา ตำแหน่งอิซมัต (ผู้บริสุทธิ์) จึงไม่จำเป็นสำหรับเคาะลิฟะฮฺแต่อย่างใด

เหตุผลด้านภูมิปัญญาและอ้างอิงฝ่ายชีอะฮฺ :

1. สติปัญญาสมบูรณ์ตัดสินว่า, อิมามในฐานะที่เป็นผู้อธิบาย ผู้พิทักษ์บทบัญญัติศาสนา และสาส์นของเหล่าบรรดาศาสดา, ต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อถือและมั่นใจได้สำหรับประชาชน ซึ่งต้องมีความบริสุทธิ์จากความผิดพลาด และการเบี่ยงเบนทั้งหลาย, เพื่อว่าจะได้พิทักษ์ปกป้องศาสนาและบทบัญญัติของพระองค์ได้, เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการประทานเราะซูลและอิมามมาก็เพื่อ อบรมสั่งสอนประชาชาติ และสิ่งนี้ต้องอาศัยความรอบรู้ อันเป็นวิชาการซึ่งพระองค์ทรงประทานแก่พวกเขา และความรู้ของพระเจ้านั้นต้องถูกประกาศ และถูกถ่ายทอดสู่ประชาชนโดยปราศจากข้อตำหนิ ความบกพร่อง และความไม่สมบูรณ์ อีกทั้งต้องบริสุทธิ์จากการเบี่ยงเบนและเปลี่ยนแปลงแก้ไข ซึ่งนอกจากนี้แล้วจะเห็นว่าปรัชญาของการแต่งตั้งอิมาม,ได้ระบุว่าต้องเป็นมะอฺซูมเท่านั้น

นอกจากนี้แล้วฝ่ายชีอะฮฺยังเชื่ออีกว่า อิมามะฮฺก็คือตัวแทนที่แท้จริงของท่านศาสดา (ซ็อล ) เหมือนกับตำแหน่งของศาสดาที่ได้รับการแต่งตั้งโดยอัลลอฮฺ (ซบ.)-มิใช่การเลือกตั้งโดยประชาชน- อีกนัยหนึ่ง,มะอฺซูมหมายถึงบุคคลที่ไม่ว่าเขาจะอยู่ต่อหน้าสาธารณชน,หรือว่าลับสายตาคน (ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง) เขาก็จะไม่กระทำผิดอย่างเด็ดขาด เป็นที่ชัดเจนว่า นอกจากอัลลอฮฺ (ซบ.) แล้วไม่มีผู้ใดสามารถกล่าวอธิบายถึงความบริสุทธิ์ของอีกคนหนึ่งได้, ดังนั้น การจำแนกตำแหน่งความบริสุทธิ์ (มะอฺซูม) ต้องมาจากหลักฐานการอ้างอิง หรือรายงานฮะดีซจากท่านเราะซูล (ซ็อล ) จึงจะสามารถยอมรับได้

คำตอบเชิงรายละเอียด

1. อิมาม ความหมายตามสารานุกรมต่างๆ หมายถึงผู้นำ ซึ่งจะกล่าวเรียกบุคคลอื่นว่าเป็นอิมามได้ ก็ต่อเมื่อเขาเป็นผู้นำและมีผู้อื่นปฏิบัติตามเขา

รอฆิบ กล่าวไว้ในหนังสือ มุฟรอดาตว่า:อิมามหมายถึงบุคคลที่ได้รับการปฏิบัติตามจากบุคคลอื่น[1]

2. อิมามในความหมายของนักปราชญ์ (นิยาม) ในภาควิชาศาสนศาสตร์มีการให้นิยามไว้แตกต่างกัน เช่น

นิยามคำว่า อิมาม ในมุมมองของชีอะฮฺกล่าวว่า : หมายถึงหัวหน้าผู้นำทั่วไปด้านศาสนจักร ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบภารกิจของประชาชน และปกป้องให้อยู่ในความปลอดภัย ทั้งปัญหาด้านศาสนจักรและอาณาจักร อีกทั้งช่วยเหลือพวกเขาให้ห่างไกลจากภยันตรายบนพื้นฐานของความถูกต้องดังกล่าว[2]

ส่วนคำว่าอิมามในทัศนะของซุนนีหมายถึง :อิมามหรือหัวหน้าผู้นำทั่วไปในความหมายกว้างๆ, เกี่ยวข้องกับปัญหาศาสนาและปัญหาทางโลกของประชาชน,ในฐานะเป็นตัวแทนของท่านศาสดา[3]

3.ความหมายและความเข้าใจเกี่ยวกับ อิซมัต : คำว่า อิซมัต ตามหลักภาษาหมายถึง การระวังรักษา การกีดขวาง ส่วนความหมายของนักปราชญ์ด้านวิชาศาสนศาสตร์หมายถึง : ความเคยชินด้านจิตวิญญาณที่ระบุว่าจะต้องไม่กระทำความผิด หรือกระทำสิ่งขัดแย้งกับหน้าที่ของอัลลอฮฺ ซึ่งความเคยชินด้านจิตวิญญาณนี้ จะปกป้องบุคคลนั้นให้รอดพ้นจากความผิดพลาด และบาปกรรมต่างๆ

อิซมัต เป็นความเคยชินซึ่งกำกับว่าต้องไม่ประพฤติขัดแย้งกับหน้าที่จำเป็น, ไม่ว่าโดยตั้งใจหรือพลั้งเผลอ ซึ่งการมีความเคยชินนี้เองที่ทำให้เขามีอำนาจต่อต้านความไม่ดี[4]

ฝ่ายชีอะฮฺ เชื่อโดยหลักการว่า : อิมามะฮฺก็คือผู้สืบสานเจตนารมณ์และปกป้องรักษาสาส์นของศาสดา,เว้นเสียแต่ว่าท่านศาสดา (ซ็อล ) คือผู้วางรากฐานบทบัญญัติ และวะฮียฺได้ประทานลงมาที่ท่าน, ส่วนอิมามคือผู้อธิบายบทบัญญัติต่างๆ และเป็นผู้พิทักษ์ปกป้องบทบัญญัติเหล่านั้นให้ดำรงอยู่ต่อไป, ด้วยเหตุนี้เอง, อิมามจึงอยู่ในฐานะเดียวกันทั้งหมดกับท่านศาสดา (ซ็อล ) เว้นเสียแต่ว่าไม่มีวะฮียฺถูกประทานลงมาที่อิมาม[5]

และเงื่อนไขจำเป็นทั้งหมดสำหรับท่านศาสดา (ซ็อล ), ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในเรื่องหลักความศรัทธา และหลักปฏิบัติ และฯลฯ หรือบริสุทธิ์จากความผิดพลาดทั้งเปิดเผยและปิดบัง, ซึ่งเงื่อนไขทั้งหมดเหล่านี้ก็จำเป็นสำหรับอิมามด้วย แต่ดั่งที่กล่าวไปแล้วว่าการรู้จักความบริสุทธิ์ นอกจากโดยหนทางของการอธิบายของอัลลอฮฺแล้ว มิอาจเป็นไปได้, อิมามะฮฺเหมือนกับนบูวัตกล่าวคือต้องได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวว่า : ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบตำแหน่งนี้ต้องได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ (ซบ.) แต่ฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ มีความคิดเห็นต่างไปจากชีอะฮฺว่า ตำแหน่งนี้อันยิ่งใหญ่นี้ซึ่งต้องแบกรับหน้าที่ทั้งศาสนจักรและอาณาจักร เป็นภารทางสังคมซึ่งประชาชนเป็นผู้มอบตำแหน่งตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺ และเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนี้ด้วยตัวเอง ซึ่งความหมายนี้ได้มาจากการให้นิยาม อิมาม จากทั้งสองฝ่าย (สุนียฺและชีอะฮฺ)

ลำดับต่อไปโปรดพิจารณษหลักฐานจากทั้งสองฝ่าย ดังนี้:

) เหตุผลด้านภูมิปัญญาถึงความจำเป็นว่าอิมาม (. ต้องเป็นมะอฺซูม

1.เนื่องจากอิมามคือผู้พิทักษ์ปกป้องและเป็นผู้อธิบายบทบัญญัติของอัลลอฮฺ และสาส์นของท่านศาสดา ดังนั้น ต้องเป็นผู้ได้รับความเชื่อถือ และไว้ใจได้จากประชาชน ด้วยเหตุนี้ ถ้าสมมุติว่าอิมามมิใช่มะอฺซูม ความหน้าเชื่อถือเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด

2. ถ้าหากอิมามกระทำความผิด, แน่นอน ความเคารพและความรักที่มีต่ออิมามจะถูกถอดถอนออกไปจากจิตใจของประช่าชน และพวกเขาจะไม่เชื่อฟังปฏิบัติตามอิมามอีกต่อไป,เมื่อเป็นเช่นนั้นประโยชน์ของการแต่งตั้งอิมามก็จะสูญไปโดยปริยาย[6]

3.ถ้าหากอิมามมิได้เป็นมะอฺซูม และได้กระทำความผิด, ก็จำเป็นต้องถูกพิพากษา และวาญิบต้องถูกลงโทษตามหลักการของการกำชับความดี และห้ามปรามความชั่ว, ขณะที่การปฏิบัติทำนองนี้กับอิมาม ประการแรก : เป้าหมายในการแต่งตั้งอิมามเกิดความบกพร่อง และเป็นโมฆะโดยทันที สอง : ขัดแย้งกับโองการอัลกุรอาน (นิซาอฺ,59) ซึ่งกำชับให้เชื่อฟังปฏิบัติตามอิมาม,เนื่องจากโองการข้างต้น,ถือว่าวาญิบต้องปฏิบัติตามอิมาม ตลอดจนการให้เกียรติและการแสดงความเคารพยกย่อง ซึ่งกล่าวไว้โดยสมบูรณ์[7]

4. บรรดาอิมาม เหมือนกับท่านศาสดา (ซ็อล ) ในแง่ที่ว่าเป็นผู้พิทักษ์ปกป้องบทบัญญัติ, ด้วยเหตุนี้ต้องเป็นมะอฺซูม, เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการพิทักษ์ปกป้องคือ , การปกป้องด้านความรู้และการปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าการพิทักษ์ปกป้องบทบัญญัติทั้งในแง่ของความรู้และการกระทำ ไม่อาจเป็นไปได้เว้นเสียแต่ว่าต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ เนื่องจากบุคคลที่มิใช่มะอฺซูม เขาต้องกระทำสิ่งผิดพลาดแน่นอน แต่ถ้ายอมรับเขาได้ปกป้องบทบัญญัติบางส่วน อีกบางส่วนในทัศนะของอัลลอฮฺต้องถือว่าเชื่อถือไม่ได้ และถ้าในภาวะจำเป็นต้องตัดสินที่ตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกับความจริง, เนื่องจากท่านศาสดา (ซ็อล ) มาเพื่อสอนสั่งบทบัญญัติแก่ประชาชน

5.ปรัชญาของการแต่งตั้งอิมาม ดั่งที่กล่าวไปแล้วว่าเพื่อการชี้นำประชาชาติให้มีความสำรวมตนจากความผิด อันเป็นสาเหตุมาจากการเบี่ยงเบนทางความคิดและการกระทำ ฉะนั้น ถ้าอิมามกระทำความผิดเสียเอง หรือมิได้เป็นมะอฺซูม ตามปรัชญาของการแต่งตั้งอิมาม,เพื่อการชี้นำประชาชน ดังนั้น อิมามเองก็ต้องการอิมามอื่นเพื่อชี้นำตนเอง อันถือได้ว่าเป็นความจำเป็น เพื่อว่าจะได้รอดพ้นจากความผิดพลาด ดังนั้น อิมามท่านอื่นต้องเป็นมะอฺซูม เพราะถ้ามิได้เป็นมะอฺซูมแล้วละก็ จำเป็นต้องมีอิมามท่านอื่นอีก และ ....เมื่อเป็นเช่นนี้ความต้องการในอิมามก็จะไม่มีที่สิ้นสุด โดยหลักการแล้วถือว่าเป็นเหตุผลวน ซึ่งเหตุผลวนในทางปัญญาแล้วถือว่าเป็นไปไม่ได้ และบาฎิล ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจบตรงที่ว่าอิมามต้องเป็นมะอฺซูมเท่านั้น ซึ่งต้องมีความเคยชินในแง่ของความบริสุทธิ์ มีศักยภาพในการชี้นำสั่งสอนประชาชน โดยจะต้องไม่เห็นความผิดพลาดและการเบี่ยงเบนในตัวเขาเด็ดขาด

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • อะไรคืออุปสรรคของการเสวนาระหว่างอิสลามและศาสนาคริสต์?
    8210 เทววิทยาใหม่ 2554/07/07
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ทำอย่างไรจึงจะสามารถทำนายฝันได้?
    7143 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    แม้การฝันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับทุกคนในชีวิตประจำวัน  แต่จนถึงบัดนี้นักวิชาการก็ยังไขปริศนาเกี่ยวกับความฝันไม่ได้อัลกุรอานกล่าวถึงท่านนบียูซุฟที่หยั่งรู้เหตุการณ์จริงจากความฝัน[1]และยังได้รับพรจากอัลลอฮ์ให้สามารถทำนายฝันได้อย่างแม่นยำ[2]ท่านเคยทำนายฝันของเพื่อนนักโทษในเรือนจำและมีโอกาสได้ทำนายฝันกษัตริย์แห่งอิยิปต์อีกด้วยจึงกล่าวได้ว่าการทำนายฝัน (หรือที่กุรอานเรียกว่าการ“ตีความ”[3]ฝัน) เป็นศาสตร์ที่มีอยู่จริงและพระองค์ทรงประทานแก่ศาสนทูตของพระองค์
  • ฟิรอูนถูกลงโทษต่อพฤติกรรมที่เป็นบททดสอบของอัลลอฮ์ได้อย่างไร?
    9331 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    หนึ่งในจารีตของพระองค์ที่ไม่เปลี่ยนแปลงก็คือ “การทดสอบปวงบ่าว” ซึ่งกระทำผ่านเหตุการณ์และปัจจัยต่างๆ บางครั้งพระองค์ใช้ผู้กดขี่เป็นบททดสอบทั้งๆที่ตัวผู้กดขี่เองไม่ทราบว่าตนเองเป็นบททดสอบ กรณีเช่นนี้จึงหาได้ลดทอนความน่ารังเกียจของพฤติกรรมของพวกเขาไม่ และไม่ทำให้สมควรได้รับการลดหย่อนโทษแต่อย่างใด ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าพระองค์ไม่ได้สั่งให้เขาเป็นบททดสอบสำหรับผู้อื่น ทว่าพระองค์ทรงตระเตรียมการในลักษณะที่ว่า เมื่อใดก็ตามที่ผู้กดขี่แสดงพฤติกรรมกดขี่ด้วยการตัดสินใจของตนเอง การกดขี่ดังกล่าว (ซึ่งขัดต่อคำสอนของพระองค์) ก็จะกลายเป็นบททดสอบสำหรับผู้อื่น และเนื่องจากการกดขี่ดังกล่าวเกิดขึ้นโดยเจตนาของผู้กดขี่เอง จึงสมควรได้รับบทลงโทษ ...
  • ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์กฎการขวางด้วยหิน (ขวางให้ตาย) คืออะไร? การถือปฏิบัติกฎระเบียบดังกล่าว ตามหลักการอิสลามในยุคสมัยนี้ ไม่สร้างความเสื่อมเสียแก่อิสลามหรือ?
    8165 بیشتر بدانیم 2555/08/22
    การลงโทษ โดยการขว้างด้วยก้อนหิน หรือเรียกว่า “รัจม์” เป็นที่ยอมรับในหมู่ประชาชาติ หมู่ชน และศาสนาต่างๆ ก่อนหน้าอิสลาม ซึ่งในอิสลามถือว่า การลงโทษดังกล่าวเป็นข้อกำหนดประเภทหนึ่งตามหลักชัรอียฺ แน่นอนและตายตัว ซึ่งจะใช้ลงโทษสำหรับการกระทำผิดที่หนักมาก ซึ่งมีรายงานจำนวนมากจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวไว้ เป้าหมายของอิสลามจากการลงโทษดังกล่าวคือ การปรับปรุงแก้ไขสังคม, อันเกิดจากความผิดปรกติด้านการก่ออาชญากรรม, เป็นการชำระผู้กระทำผิดอีกทั้งเป็นการลบล้างความผิดบาป ที่เกิดจากผลของความผิดนั้น, ดำเนินความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม,ป้องกันความหันเห ความหลงผิดต่างๆ อันเกิดจากการทำลายความบริสุทธิ์ของสังคม กลับคืนสู่สังคมอีกครั้ง ตามทัศนะของอิสลามการลงโทษ การทำชู้ (หญิงที่มีสามี หรือชายที่มีภรรยา) จะถูกลงโทษด้วยเงื่อนไขอันเฉพาะด้วยการขว้างด้วยก้อนหินจนกระทั่งเสียชีวิต ถ้าหากการดำเนินกฎเกณฑ์ดังกล่าว หรือกฎเกณฑ์ข้ออื่นๆ นำไปสู่การดูถูกเหยียดหยามอิสลามแล้วละก็ วะลียุลฟะกีฮฺ หรือฮากิมชัรอียฺ สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการลงโทษได้ตามความเหมาะสม และต้องสอดคล้องกับกฎหมายอิสลาม ...
  • ในอายะฮ์ "وَمَنْ عَادَ فَینتَقِمُ اللّهُ مِنْهُ وَاللّهُ عَزِیزٌ ذُو انْتِقَامٍ"، สาเหตุของการชำระโทษคืออะไร
    6128 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/05
    อายะฮ์ที่ได้ยกมาในคำถามข้างต้นนั้นเป็นอายะฮ์ที่ถัดจากอายะฮ์ก่อนๆในซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ซึ่งมีเนื้อหาว่าการล่าสัตว์ขณะที่กำลังครองอิฮ์รอมถือเป็นสิ่งต้องห้ามในที่นี่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้กล่าวว่าผู้ใดที่ได้ละเมิดขอบเขตของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) กล่าวคือไม่ยี่หระสนใจเกี่ยวกับข้อห้ามในการล่าสัตว์ในขณะที่ครองอิฮ์รอมอยู่โดยได้ล่าสัตว์ขณะที่กำลังทำฮัจญ์  อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ก็จะชำระโทษพวกเขาดังนั้นสาเหตุของการชำระโทษในที่นี้ก็คือการดื้อดึงที่จะทำบาปนั้นเอง[1]ใครก็ตามที่ได้กระทำสิ่งต้องห้าม (ล่าสัตว์ขณะครองอิฮ์รอม) พระองค์ย่อมจะสำเร็จโทษเขาอายะฮ์ดังกล่าวต้องการแสดงให้เห็นว่าบาปนี้เป็นบาปที่ใหญ่หลวงถึงขั้นที่ว่าผู้ที่ดื้อแพ่งจะกระทำซ้ำไม่อาจจะชดเชยบาปดังกล่าวได้ในอันดับแรกสามารถชดเชยบาปได้โดยการจ่ายกัฟฟาเราะฮ์และเตาบะฮ์แต่ถ้าหากได้กระทำบาปซ้ำอีกอัลลอฮ์จะชำระโทษผู้ที่ฝ่าฝืนเนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้มีชัยและเป็นจ้าวแห่งการชำระโทษและสำนวนอายะฮ์นี้แสดงให้เห็นว่าบาปดังกล่าวเป็นบาปที่ใหญ่หลวงสำหรับปวงบ่าวนั่นเอง[2]คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด[1]มัฆนียะฮ์, มุฮัมหมัดญะวาด
  • เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น,อิสลามมีทัศนะอย่างไรบ้าง?
    11115 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/06/22
    แนวคิดที่ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่บนเส้นทางช้างเผือกหรือดาวเคราะห์ดวงอื่นหรือมีสิ่งมีสติปัญญาอื่นอยู่อีกหรือไม่, เป็นหนึ่งในคำถามที่มนุษย์เฝ้าติดตามค้นหาคำตอบอยู่จนถึงปัจจุบันนี้, แต่ตราบจนถึงเดี๋ยวนี้ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่นอน. อัลกุรอานบางโองการได้กล่าวถึงสิ่งมีชีวิตอื่นในชั้นฟ้าเอาไว้อาทิเช่น1. ในการตีความของคำว่า “มินดาบะติน” ในโองการที่กล่าวว่า :”และหนึ่งจากบรรดาสัญญาณ (อำนาจ) ของพระองค์คือการสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินและสิ่งที่ (ประเภท) มีชีวิตทั้งหลายพระองค์ทรงแพร่กระจายไปทั่วในระหว่างทั้งสองและพระองค์เป็นผู้ทรงอานุภาพที่จะรวบรวมพวกเขาเมื่อพระองค์ทรงประสงค์”
  • มีวิธีใดที่จะตักเตือนสามีเกี่ยวกับพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ได้บ้าง?
    5293 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/01
    สิ่งหนึ่งที่สังเกตุเห็นได้ชัดเจนในคำถามก็คือ คุณสองคนยังรักกันตามปกติ อีกทั้งคุณต้องการจะทำหน้าที่ภรรยาอย่างสุดความสามารถ สมควรอย่างยิ่งที่จะคำนึงถึงสองจุดเด่นนี้ให้มากเพื่อจะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาในเรื่องอื่นๆ บรรยากาศในครอบครัวควรอบอวลไปด้วยความรักความเข้าใจ มิไช่การยกตนข่มท่าน ด้วยเหตุนี้เอง บางปัญหาที่ว่าหนักเกินแบกรับ ก็สามารถแก้ไขได้อย่างไม่ยากเย็น บางเรื่องที่เรามองว่าเป็นจุดบกพร่องอาจจะมิไช่จุดบกพร่องเสมอไป ฉะนั้นจึงต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าพฤติกรรมใดคือจุดบกพร่อง แล้วจึงคิดที่จะเยียวยารักษา เชื่อว่าหลักการง่ายๆเพื่อตักเตือนสามีก็คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ลองคิดว่าถ้าหากมีใครสักคนต้องการจะตักเตือนเรา เราอยากได้ยินคำตักเตือนลักษณะใด ให้ถือว่านั่นคือสิ่งที่ควรถือปฏิบัติ เมื่อคำนึงถึงการที่คุณสองคนเพิ่งจะแต่งงานกันได้ไม่นาน ย่อมจะยังไม่เข้าใจอุปนิสัยของคู่รักอย่างละเอียดละออนัก จึงไม่ควรจะด่วนสรุปจนกว่าจะเข้าใจกันและกันอย่างละเอียด หากทำได้ดังนี้ก็สามารถจะบรรลุเป้าหมายได้โดยต้องไม่สร้างแรงกดดันแก่คู่ครองของคุณ ...
  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับสายรายงานและเนื้อหาของซิยารัตอาชูรอ
    5649 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/10
    แหล่งอ้างอิงหลักของซิยารัตบทนี้ก็คือหนังสือสองเล่มต่อไปนี้กามิลุซซิยารอตประพันธ์โดยญะฟัรบินมุฮัมมัดบินกุละวัยฮ์กุมี (เสียชีวิตฮ.ศ.348) และมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนของเชคฏูซี (ฮ.ศ.385-460) ตามหลักบางประการแล้วสายรายงานของอิบนิกูละวัยฮ์เชื่อถือได้แต่สำหรับสายรายงานที่ปรากฏในหนังสือมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนนั้นต้องเรียนว่าหนังสือเล่มนี้นำเสนอซิยารัตนี้ผ่านสองสายรายงานซึ่งสันนิษฐานได้สามประการเกี่ยวกับผู้รายงานฮะดีษหนึ่ง:น่าเชื่อถือ
  • ความหมายของเตาฮีดคอลิกียะฮฺคืออะไร?
    8735 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    เตาฮีด หมายถึงความเป็นเอกะหรือเอกเทศ, เตาฮีดคอลิกียะฮฺ หมายถึงจักรวาลและสรรพสิ่งทั้งหลายไม่มีผู้ใดสร้างขึ้นมา นอกจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงพิสุทธิ์ยิ่ง, สรรพสิ่งที่มีอยู่, ร่องรอยและกิจการงานของพวกเขา, แม้แต่มนุษย์และผลงานสร้างสรรค์ทั้งหมดของเขา หรือสิ่งที่พวกเขาค้นพบ โดยความเป็นจริงแล้วและมิได้เป็นการกล่าวอย่างเลยเถิด ทั้งหมดเหล่านั้นคือ สิ่งถูกสร้างของอัลลอฮฺ ทั้งสิ้น ดังนั้น ทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลกใบนี้คือ สิ่งถูกสร้างของพระองค์ทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าบางสิ่งปราศจากสื่อและบางสิ่งมีสื่อในการสร้าง ...
  • โองการ وَ یُطْعِمُونَ الطَّعامَ عَلى‏ حُبِّهِ مِسْکیناً وَ یَتیماً وَ أَسیراً ประทานลงมาในช่วงเวลาใด?
    6151 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    นักประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญฮะดีษ และนักอรรถาธิบายกุรอานจากสายชีอะฮ์และซุนหนี่ต่างเห็นพ้องกันว่า บางโองการของซูเราะฮ์ อัลอินซาน อาทิเช่น وَ یطْعِمُونَ الطَّعامَ... ประทานลงมาในกรณีของวงศ์วานของท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งประกอบด้วย ท่านอิมามอลี, ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.) โองการนี้ประทานลงมาในเดือนซุลฮิจญะฮ์ ในช่วงที่ท่านอิมามอลีและท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)กำลังแก้นะซัรที่เคยทำไว้เพื่อขอให้อิมามฮะซันและอิมามฮุเซนหายป่วยอิบนิ อับบาสเล่าว่า ฮะซันและฮุเซนล้มป่วยอย่างหนัก ถึงขั้นที่เหล่าเศาะฮาบะฮ์หมุนเวียนกันมาเยี่ยมไข้ ในจำนวนนั้นก็มีอบูบักร์ และอุมัรด้วย พวกเขา(เศาะฮาบะฮ์) กล่าวแก่อลีว่า โอ้บิดาของฮะซัน คงจะดีหากท่านจะกระทำนะซัร (บนบานกับอัลลอฮ์) อลีตอบว่า “ฉันนะซัรว่าหากอัลลอฮ์ทรงรักษาหลานท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ.ล.)จนหายไข้ จะถือศีลอดเป็นเวลาสามวัน” ฟาฏิมะฮ์ได้ยินเช่นนั้นก็กล่าวว่า ฉันก็ขอรับภาระดังที่ท่านลั่นวาจาไว้เพื่อพระองค์ ฮะซันและฮุเซนเมื่อได้ยินเช่นนั้นก็กล่าวว่า ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57276 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    54982 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40314 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37393 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36008 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32358 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26666 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26054 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    25881 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24112 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...