การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7138
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/13
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1625 รหัสสำเนา 18392
คำถามอย่างย่อ
ฮะดีษนบีและอะฮ์ลุลบัยต์ที่เกี่ยวกับความเศร้าหมองและการโอดครวญเทียบกับทัศนะของผู้รู้ชีอะฮ์ อย่างใดสำคัญกว่ากัน?
คำถาม
เกี่ยวกับความเศร้าหมองและการโอดครวญ ฮะดีษนบีและอะฮ์ลุลบัยต์สำคัญกว่าหรือทัศนะของผู้รู้ชีอะฮ์? อัลลอฮ์ตรัสว่า "และจงแจ้งข่าวดีแก่เหล่าผู้อดทน ผู้ที่เมื่อภัยพิบัติมาสู่ตนจะกล่าวว่า เราเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ และเราจะคืนกลับยังพระองค์ (ผู้อดทนที่เปี่ยมศรัทธาเหล่านี้แหล่ะที่)จะได้รับความเมตตาและความดีงามและอภัยโทษจากพระองค์ และแน่แท้ พวกเขาคือผู้ได้รับทางนำ" อีกโองการกล่าวว่า "และเหล่าผู้ที่อดทนต่อความยากไร้และความป่วยไข้และในสมรภูมิ"
ส่วนในนะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์เล่าว่า ท่านอิมามอลี(อ.)รำพึงรำพันถึงท่านนบี(ซ.ล.)ภายหลังท่านนบีวะฝาตว่า "มาตรว่าท่านมิได้ยับยั้งมิให้อุมมัตแสดงอาการโอดครวญ และมิได้สั่งให้อดทนแล้วไซร้ ฉันจะร่ำไห้แก่ท่านกระทั่งน้ำตาหยดสุดท้าย"
นอกจากนี้ท่านอิมามอลี(อ.)ยังกล่าวไว้ในนะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์ว่า "ผู้ใดที่ตบที่ขาอ่อนตนเองเพื่อแสดงความละเหี่ยใจขณะมีภัยมา อะมั้ลของเขาจะพินาศสิ้น"
ผู้ประพันธ์หนังสือมุนตะฮั้ลอามาล รายงานว่าอิมามฮุเซนกล่าวแก่ท่านหญิงซัยนับในสมรภูมิกัรบะลาว่า "โอ้น้องพี่ พี่ขอร้องว่าอย่าเผลอฉีกอาภรณ์หลังพี่ถูกสังหาร อย่าข่วนใบหน้าตนเอง อย่ากรีดร้องโอดครวญ"
อบูญะฟัร กุมีรายงานว่า ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวแก่มิตรสหายว่า لَا تَلْبَسُوا السَّوَادَ فَإِنَّهُ لِبَاسُ فِرْعَوْنَ
"จงอย่าสวมใส่เสื้อผ้าสีดำ เพราะนั่นเป็นอาภรณ์ของฟาโรห์"
หนังสือตัฟซี้ร ศอฟีกล่าวไว้ว่า "ท่านนบี(ซ.ล.)รับสัตยาบันของเหล่าสตรีด้วยเงื่อนไขที่ว่าจะต้องไม่นุ่งห่มดำ และจะต้องไม่ฉีกเสื้อผ้าและกรีดร้องฟูมฟาย(ยามทุกข์โศก)"
หนังสือ ฟุรู้อ์ กาฟีย์เขียนไว้ว่า ท่านนบีได้สั่งเสียแก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ว่า "เมื่อพ่อจากไป จงอย่าข่วนใบหน้าเป็นแผล จงอย่าทำให้ผมเผ้ารุงรัง จงอย่ากรีดร้องฟูมฟาย และจงอย่าจัดให้มีหญิงร่ายโศกคนใดมาร่ายบทโศกให้พ่อ"
เชคมุฮัมมัด บิน ฮุเซน บิน บาบะวัยฮ์ กุมี ซึ่งชีอะฮ์เรียกขานว่า "เชคศ่อดู้ก" กล่าวไว้ว่า "หนึ่งในวจนะที่ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวไว้เป็นคนแรกก็คือ การขับบทโศกถือเป็นกิจกรรมของญาฮิลียะฮ์(ยุคอวิชชา)"
นอกจากนี้ อุละมาอ์ชีอะฮ์อย่างมัจลิซี นูรี และบุรูเญรดี ต่างรายงานจากท่านนบี(ซ.ล.)ไว้ว่า "มีสองเสียงที่พระองค์ไม่ทรงโปรด นั่นคือเสียงกรีดร้องฟูมฟายยามทุกข์ระทม และเสียงดนตรีและการขับร้อง"
ด้วยกับฮะดีษทั้งหมดที่ยกมา คำถามก็คือ เหตุใดชีอะฮ์จึงเพิกเฉยต่อคำสอนดังกล่าว? เราควรจะเชื่อฟังผู้ใด? วจนะของท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.) หรือคำพูดของอุละมาอ์ยุคปัจจุบันของชีอะฮ์?
คำตอบโดยสังเขป

เกี่ยวกับเรื่องนี้ จำเป็นต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงต่อไปนี้:
1.
ไม่ไช่ว่าฮะดีษทุกบทจะเชื่อถือได้ทั้งหมด
2. ต้องคำนึงเสมอว่าปัจจัยกาลเวลาและสถานที่มีอิทธิพลต่อฮุก่ม(กฎศาสนา)
3. ในจำนวนฮุก่มทั้งหมด มีฮุก่มวาญิบและฮะรอมเท่านั้นที่มีความอ่อนไหว
4. จะต้องพิจารณาแหล่งอ้างอิงให้ถี่ถ้วน ตัวอย่างเช่น กรณีของการร้องไห้นั้น ยังมีข้อถกเถียงกันได้ เพราะแม้ว่าวะฮาบีจะฟัตวาห้ามร้องไห้แก่ผู้ตาย แต่ในแง่สติปัญญาแล้วถือว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ นอกจากนี้ฮะดีษทั้งสายซุนหนี่และชีอะฮ์ก็ปรากฏเหตุการณ์ที่ท่านนบี(..)และบรรดาอิมาม(.)ร้องไห้ให้กับผู้ตายหรือบรรดาชะฮีดเช่นท่านฮัมซะฮ์ หรือมารดาท่านนบี(..) ตลอดจนกรณีอื่นๆอีกมาก
5. อุละมาอ์และผู้รู้ระดับสูงสอนว่า มีบางพฤติกรรมที่ผู้ไว้อาลัยไม่ควรกระทำ ซึ่งบางกรณีอาจทำให้ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮ์ด้วย ฉะนั้น จะต้องแยกแยะระหว่างพฤติกรรมที่ผิดหลักศาสนาของผู้คนที่ไม่รู้ศาสนา กับคำสอนที่แท้จริงของอิสลามและบรรดาอุละมาอ์

คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อให้ได้คำตอบที่เหมาะสมจำเป็นต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงต่อไปนี้:
ฮะดีษที่มีอยู่ในตำราทั่วไป เชื่อถือได้ทั้งหมดหรือไม่?
ต้องเรียนว่าการจะเชื่อถือฮะดีษบทใดนั้น จะต้องพิจารณาทั้งในแง่สายรายงานและเนื้อหาเสียก่อน ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญอิสลามหรือที่เรียกกันว่า"ฟะกีฮ์"หรือ"มุจตะฮิด"
แต่ก็ต้องคำนึงว่า แม้ฮะดีษใดจะถือเป็นฮะดีษเศาะฮี้ห์แล้วก็ตาม หากพบว่ามีฮะดีษเศาะฮี้ห์บทอื่นที่มีเนื้อหาไม่ตรงกัน ก็ต้องนำมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ถ้าจะเปรียบเทียบแล้ว การศึกษากุรอานและฮะดีษก็มีส่วนคล้ายการใช้คอมพิวเตอร์อยู่เหมือนกัน ปุ่มคีย์บอร์ดบางปุ่มสั่งการได้เลย แต่บางปุ่มต้องกดพร้อมกันสองหรือสามปุ่มพร้อมกัน การจะเริ่มโปรแกรมใดๆสามารถกดปุ่ม Enter เพียงปุ่มเดียว แต่การทำงานบางส่วนอาจต้องกดหลายปุ่มพร้อมกัน
กรณีกุรอานและฮะดีษก็เช่นเดียวกัน บางประเด็นได้ข้อสรุปด้วยโองการหรือฮะดีษเพียงบทเดียว แต่บางครั้งจะต้องนำมาเทียบเคียงกันมากกว่าสองบทขึ้นไป ยกตัวอย่างกรณีของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ที่มีอยู่ว่า ท่านอิมามอลีกล่าวขณะกำลังอาบน้ำมัยยิตท่านนบี(..)ว่า "มาตรว่าท่านมิได้ยับยั้งมิให้อุมมัตแสดงอาการโอดครวญ และมิได้สั่งให้อดทนแล้วไซร้ ฉันจะร่ำไห้แก่ท่านกระทั่งน้ำตาหยดสุดท้าย ความปวดร้าวนี้จะอยู่ในใจฉันตลอดไป ความระทมจะตรึงอยู่ตลอดกาล เหล่านี้ทั้งหมดเป็นเพียงเศษเสี้ยวของการจากไปของท่าน"[1]
ในขณะที่อีกแห่งหนึ่งท่านกล่าวขณะฝังร่างท่านนบี(..)ว่า "แท้จริงการอดกลั้นเป็นสิ่งดี เว้นแต่สำหรับความโศกต่อการจากไปของท่าน การคร่ำครวญเป็นสิ่งไม่เหมาะสม เว้นแต่สำหรับความระทมต่อการสิ้นชีพตักษัยของท่าน โศกนาฏกรรมก่อนและหลังจากการจากไปของท่านช่างเล็กน้อยนัก"[2]

ส่วนประเด็นเสื้อผ้าสีดำ มีฮะดีษหลายบทเกี่ยวกับเรื่องนี้ หนึ่งในนั้นกล่าวว่า "ท่านอิมามอลีกล่าวว่า พึงหลีกเลี่ยงอาภรณ์สีดำเถิด เพราะนั่นเป็นอาภรณ์ของฟาโรห์"[3]
อีกฮะดีษหนึ่งรายงานจากท่านอิมามศอดิก(.)ว่า "ท่านนบี(..)ไม่โปรดเสื้อฟ้าสีดำนอกจากสามสิ่ง ผ้าโพกหัว รองเท้า และผ้าคลุมกาย"[4]

2. ต้องคำนึงเสมอว่าปัจจัยกาลเวลาและสถานที่หรือ สถานะษานะวี(ต่างกรรมต่างวาระ)นั้น มีอิทธิพลต่อฮุก่มเสมอ ดังที่บรรดาอุละมาอ์ระดับสูงอย่างเช่นท่านอิมามโคมัยนีได้อธิบายไว้ ยุคของท่านนบีก็มีเหตุการณ์เช่นนี้เช่นกัน ตัวอย่างเช่นประเด็นการเยี่ยมเยียนสุสาน ซึ่งผู้รู้ระดับสูงฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์เองก็รายงานไว้ว่าท่านนบี(..)กล่าวว่า "ก่อนหน้านี้ฉันเคยระงับพวกท่านมิให้เยี่ยมเยียนสุสาน แต่บัดนี้จงไปเยี่ยมเยียนเถิด เพราะการเยี่ยมเยียนสุสานจะทำให้เป็นผู้สมถะในโลกนี้และทำให้รำลึกถึงอาคิเราะฮ์"[5]
อนึ่ง ยังมีหลักฐานจากกุรอานและฮะดีษอีกมากมายที่ระบุว่าสามารถเยี่ยมเยียนสุสานได้ แต่ไม่ขอนำเสนอเพราะเป็นเรื่องนอกประเด็น
ประเด็นของเราคือการสวมชุดดำ บรรดาอุละมาอ์ได้ให้ทัศนะไว้ว่า "สมมติว่าฮุก่มเบื้องแรกของการสวมใส่เสื้อผ้าสีดำคือ มักรู้ฮ์ (น่ารังเกียจ) แต่ปัจจุบันการกระทำดังกล่าวกลายเป็นสัญลักษณ์ของการให้เกียรติปูชณียบุคคลทางศาสนาไปแล้ว ทำให้ต้องฮุก่มเดิมแปรมาเป็นฮุก่มษานะวี(ฮุก่มที่เปลี่ยนไปตามตัวแปรที่เกิดขึ้น) ส่งผลให้ไม่เหมาะสมนักหากจะกลับไปใช้ฮุก่มเดิม

เป็นที่ทราบดีว่า ในหมู่ฮุก่มทั้งห้าประการ(วาญิบ,มุสตะฮับ,มุบาห์,มักรู้ฮ์,ฮะรอม)นั้น ฮุก่มวาญิบ(คำสั่งให้ปฏิบัติ)และฮุก่มฮะรอม(คำสั่งห้าม)ถือเป็นสองขั้วที่สำคัญที่สุด ที่เหลือสามประการไม่ไช่ภาคบังคับแต่อย่างใด ต้องคำนึงว่าตัวอย่างแต่ละกรณีที่ยกมาในคำถามมีฮุก่มที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะอธิบายในภายหลัง
ส่วนที่ตั้งปริศนาว่าควรเชื่อฟังนบี(..)และอิมาม(.)หรือจะเชื่อฟังอุละมายุคปัจจุบันมากกว่ากันนั้น มีประเด็นที่ต้องหยิบมาพูดคุยกันดังนี้
. การร้องไห้ในปริทรรศน์ปัญญาและวิทยาศาสตร์
มนุษย์มักจะมีอากัปกริยาที่แตกต่างกันออกไปตามปัจจัยต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติสามัญ บางครั้งหัวเราะชอบใจ แต่บางครั้งก็ร้องไห้เสียใจ
การร้องไห้ถือเป็นปัจจัยสำคัญของชีวิตมนุษย์ ซึ่งหากเกิดขึ้นอย่างเหมาะสมก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
การร้องไห้ในสถานการณ์ตึงเครียด จะช่วยระบายความอัดอั้นและความทุกข์ระทมได้เป็นอย่างดี
บางครั้งการร้องไห้ก็ช่วยชำระจิตใจให้ผ่องใสและพร้อมที่จะกลับตัวกลับใจ เพื่อเริ่มขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์
การร้องไห้แก่ผู้ถูกกดขี่ถือเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ทางอารมณ์ และเป็นการคัดค้านผู้กดขี่
การร้องไห้มีคุณประโยชน์ทั้งในด้านสุขภาพกาย จิตใจ และมีผลทางการเมืองในบางกรณี
กรณีการร้องไห้ถึงคนที่ล่วงลับไปแล้วก็เช่นกัน เมื่อเราสูญเสียคนที่เรารักก็ย่อมจะหดหู่และเสียใจ อันเป็นเหตุให้น้ำตาใหลเป็นธรรมดา ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องธรรมชาติซึ่งอิสลามในฐานะที่เป็นศาสนาแห่งสัญชาตญาณมนุษย์ก็มิได้ขัดขวางแต่อย่างใด
. การร้องไห้ในทัศนะอิสลาม
1. ในมุมมองของกุรอาน
ซูเราะฮ์ยูซุฟเล่าว่าท่านนบียะอ์กู้บร้องไห้หนักถึงขั้นที่สูญเสียการมองเห็น[6]
อย่างไรก็ดี กรณีนี้หาได้ขัดต่อการอดทนไม่ แต่เนื่องจากหัวใจของบรรดานบีเปี่ยมด้วยเมตตาธรรม จึงไม่แปลกที่จะร่ำให้ต่อการพรากจากบุตรชายประดุจสายน้ำอันเชี่ยวกราก เพียงแต่จะต้องควบคุมตนเองให้ได้ด้วยการไม่ปฏิบัติหรือกล่าวสิ่งใดที่ขัดต่อความพอพระทัยของอัลลอฮ์
2.
เกี่ยวกับวัตรปฏิบัติของท่านนบี(..)และอะฮ์ลุลบัยต์(.)เกี่ยวกับการร้องไห้ต่อผู้ล่วงลับนั้น ยังมีประเด็นที่ต้องถกเถียงกันทางวิชาการ หากพิจารณาในแง่ประวัติศาสตร์แล้วก็จะพบว่าหาได้เป็นอย่างที่วะฮาบีกล่าวอ้างไม่(ร้องไห้เป็นฮะรอม) เนื่องจากท่านนบีและเหล่าสาวกของท่านต่างก็เคยมีพฤติกรรมดังกล่าวอันสอดคล้องกับสัญชาตณาณมนุษย์ทั่วไป ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ท่านนบี(..)หลั่งน้ำตาต่อการสูญเสียบุตรชายนามอิบรอฮีม เมื่อมีผู้ติติงท่าน ท่านนบี(..)ตอบว่า "ดวงตาร่ำไห้ และหัวใจโศกสลด ทว่าฉันไม่พูดในสิ่งที่ทำให้พระองค์ทรงกริ้ว"[7]
อีกเหตุการณ์หนึ่งท่านกล่าวว่า "นี่หาไช่การร้องไห้อันเกิดจากความอ่อนแอ แต่เป็นเมตตาธรรม"
เสมือนต้องการจะกล่าวว่าสิ่งที่อยู่ในทรวงอกมนุษย์คือหัวใจ มิไช่ก้อนหิน จึงเป็นธรรมดาที่จะมีปฏิกริยาต่อเหตุการณ์สะเทือนใจ ซึ่งจะเผยออกมาในรูปของน้ำตา นี่ไม่ไช่จุดอ่อนแต่เป็นจุดเด่น การพูดวาจาที่พระองค์กริ้วต่างหากที่เป็นจุดอ่อน[8]
อีกเหตุการณ์หนึ่งก็คือกรณีโศกนาฏกรรมของท่านฮัมซะฮ์ รายงานกันว่าหลังจากที่ท่านฮัมซะฮ์เป็นชะฮีดในสมรภูมิอุฮุด น้องสาวของท่านนาม "เศาะฟียะฮ์"ได้ตามหาท่านนบี(..) เมื่อพบแล้ว ท่านนบีได้กล่าวแก่ชาวอันศ้อรว่า "จงปล่อยเธอเถิด" เศาะฟียะฮ์ได้นั่งลงใกล้ท่านนบี(บางรายงานกล่าวว่านั่งใกล้ศพพี่ชาย)แล้วร่ำไห้ ทุกครั้งที่เสียงร่ำไห้ของนางดัง เสียงร่ำไห้ของท่านนบีก็ดังตามไปด้วย และทุกครั้งที่นางร่ำไห้เสียงค่อย ท่านนบีก็เสียงค่อยด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.)ก็ร้องไห้พร้อมกับท่านนบี(..) โดยท่านนบีกล่าวว่า "จะไม่มีผู้ใดเผชิญความปวดร้าวอย่างเธออีกแล้ว"[9]

บางรายงานระบุว่า ภายหลังสงครามอุฮุด เมื่อท่านนบีเห็นว่าทุกบ้านมีเสียงร้องไห้ให้กับชะฮีดในครอบครัวตนเอง ท่านกล่าวขึ้นว่า "ไร้ผู้ใดร่ำไห้ให้กับท่านฮัมซะฮ์" ท่านสะอด์ บิน มุอาซได้ยินเช่นนี้จึงชักชวนให้สตรีเผ่าบนี อับดุลอัชฮั้ลมาร้องไห้ให้กับท่านฮัมซะฮ์ นับแต่นั้นมา ทุกครั้งที่สตรีชาวอันศ้อรจะร้องไห้ให้กับคนในครอบครัวของตน จะร้องไห้ให้กับท่านฮัมซะฮ์ก่อนเสมอ[10]
จากจุดนี้ทำให้ทราบว่าไม่เพียงแต่ท่านนบี(,.)ร่ำไห้ให้กับท่านฮัมซะฮ์ แต่ยังประหนึ่งว่ารณรงค์ให้สตรีชาวอันศ้อรร่ำไห้ร่วมไปด้วย
รายงานว่าเมื่อท่านนบี(..)เยี่ยมเยียนสุสานของมารดา ท่านจะร่ำไห้อย่างหนัก กระทั่งสาวกที่รายล้อมอยู่ร่ำไห้ตามไปด้วย[11]

เกี่ยวกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ มีรายงานดังต่อไปนี้
ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.)ร่ำไห้ต่อการจากไปของท่านนบี(..)และพร่ำรำพันว่า "โอ้พ่อจ๋า พ่อสถิตใกล้ชิดพระองค์ พ่อรับคำเชื้อเชิญของพระองค์ และ  บัดนี้ พ่อจะประทับอยู่ในวิมานแห่งฟิรเดาส์"[12]

ยังมีตัวอย่างอีกมากมายเกี่ยวกับการร่ำไห้ของท่านนบี(..) ตลอดจนบุตรหลานและมิตรสหายของท่าน แต่เพื่อมิให้เยิ่นเย้อจึงยกมาเพียงเท่านี้


 

. จริงหรือไม่ที่บรรดาฟุก่อฮาและผู้เชี่ยวชาญทางศาสนาอนุโลมให้ปฏิบัติอย่างไรก็ได้ในการไว้อาลัยแก่ผู้ล่วงลับหรือเมื่อประสบภัยพิบัติและโศกนาฏกรรม? ขอหยิบยกทัศนะของผู้รู้บางท่านเกี่ยวกับเรื่องนี้มานำเสนอดังต่อไปนี้
การร้องไห้ให้กับผู้ตายถือว่าอนุญาต โดยหากเป็นไปเพื่อระบายความทุกข์ที่อัดอั้นในทรวงก็ถือว่ามุสตะฮับ แต่จะต้องไม่เอ่ยคำพูดที่ทำให้พระองค์ทรงกริ้ว นอกจากนี้ การอ่านบทโศกก็ดี ร้อยแก้วหรือร้อยกรองก็ดี หากไม่มีเนื้อหาที่โมฆะ อาทิเช่น การโกหกหรือถ้อยคำต้องห้ามอื่นๆ ก็ถือว่ากระทำได้ เอียะฮ์ติยาฏวาญิบ(พึงระวัง)ไม่ให้มีคำที่ส่อไปในการตัดพ้อโอดครวญเกินเหตุ และเอียะห์ติยาฏวาญิบไม่ให้ข่วนหน้า หรือจิกผมตนเอง หรือตะโกนโหวกเหวกโวยวาย ซึ่งบางกรณีจะทำให้มีภาระต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮ์(สินไหม)อีกด้วย [13]
จึงกล่าวได้ว่าบรรดาอุละมาอ์ระดับสูงของฝ่ายชีอะฮ์มีความเห็นสอดคล้องกับฮะดีษและวัตรปฏิบัติของบรรพชนอิสลามทั้งสิ้น

อย่างไรก็ดี อุละมาอ์ทุกฝ่ายต่างยึดถือคำแนะนำของอิสลาม โดยถือว่าการอดทนเป็นคุณค่าอันสูงส่งและกำชับให้ถือปฏิบัติในยามประสบภัยพิบัติและการสูญเสียเพื่อจะได้รับผลบุญอันมหาศาลจากพระองค์
ฉะนั้น สิ่งแรกที่มุสลิมพึงกระทำเมื่อต้องประสบกับภัยพิบัตินานาชนิดก็คือ อดทนเข้าไว้ ซึ่งหากจะร้องไห้ก็ไม่ไช่เรื่องเสียหายอะไร แต่จะต้องไม่แสดงพฤติกรรมบางอย่าง อาทิเช่น ข่วนใบหน้าตนเอง ตะโกนโหวกเหวกโวยวาย ดึงผม ฯลฯ ซึ่งถือว่าขัดต่อคำสอนของอิสลามและอุละมาอ์ ด้วยเหตุนี้ ผู้ตั้งคำถามข้างต้นควรจะปรับทัศนคติให้ถูกต้อง

. ประเด็นสำคัญก็คือ มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีหลากหลายแง่มุม โดยแต่ละแง่มุมมีปฏิกริยาต่อกัน ศาสนาเล็งเห็นความสำคัญทางจิตวิทยาในจุดนี้จึงได้ใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมศาสนา เห็นได้จากการทีท่านนบี(..)รณรงค์ให้ร่ำไห้ให้กับท่านฮัมซะฮ์ โดยตัวท่าน(..)เองก็ร่ำไห้ด้วย ด้วยเหตุนี้ บรรดาอิมาม(.)จึงได้รณรงค์ให้มีการไว้อาลัยแด่อิมามฮุเซน(.)ในฐานะประมุขแห่งบรรดาชะฮีด[14]

เรื่องที่เกี่ยวข้อง: การร่ำไห้ของผู้เยี่ยมเยียนสุสานบะกี้อ์, คำถามที่ 171



[1] นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์,ดัชตี,ฮิกมัตที่ 235

[2] เพิ่งอ้าง,ฮิกมัตที่ 292

[3] เชคศ่อดู้ก,อิละลุชชะรอยิอ์,เล่ม 2,หน้า 347

[4] เพิ่งอ้าง

[5] สุนัน อิบนิมาญะฮ์,เล่ม 1,หน้า 144

[6] ซูเราะฮ์ยูซุฟ, 84

[7] กาฟีย์,เล่ม 3,หน้า 262

[8] ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 9,หน้า 352

[9] มักรีซี,อัลอัสมาอ์, หน้า 154

[10] อิบนิสะอ์ด,เฏาะบะกอตุลกุบรอ,เล่ม 3,หน้า 11 และ มุสนัดอะหมัด,เล่ม 2,หน้า 129

[11] .ญะฟัร ซุบฮานี, นำทางสู่สัจธรรม,หน้า 231

[12] เพิ่งอ้าง,หน้า 232

[13] อิมามโคมัยนี,ตะห์รีรุ้ลวะซีละฮ์,เล่ม 1,หน้า 93

[14] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 44,หน้า 292

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เซาบานมีบุคลิกเป็นอย่างไร? บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) มีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับเขาและรายงานของเขา?
    6848 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    “เซาบาน” ในฐานะที่ถูกกล่าวขานถึงว่าเป็น “เมาลาของท่านเราะซูล” ทั้งที่เขาคือทาสคนหนึ่ง ซึ่งได้รับความเป็นไทโดยการไถ่ตัวของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และหลังจากได้รับอิสรภาพแล้ว เขาได้กลายเป็นสหายของท่านศาสดา และเป็นผู้จงรักภักดีกับบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เกี่ยวกับความจงรักภักดีและความรักที่เขาทีต่อท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และครอบครัวของท่านนั้น ตำราบางเล่มได้สาธยายถึงรายงานฮะดีซเกี่ยวกับเขาเอาไว้ ...
  • อะฮ์ลิสซุนนะฮ์จะต้องเชื่อเช่นไรจึงจะถือว่าเป็นชีอะฮ์แล้ว?
    6076 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    ชีอะฮ์และซุนหนี่มีความเชื่อและหลักปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันมากมายอาจมีบางประเด็นที่เห็นต่างกันข้อแตกต่างสำคัญระหว่างชีอะฮ์กับซุนหนี่ก็คือประเด็นปัญหาเกี่ยวกับหลักอิมามัตและภาวะผู้นำของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ของนบี(ซ.ล.) พี่น้องซุนหนี่จะรับสายธารชีอะฮ์ได้ก็ต่อเมื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อประเด็นอิมามัตเสียก่อนทั้งนี้ก็เนื่องจากชีอะฮ์เชื่อว่าหากไม่นับรวมสถานภาพการรับวะฮีย์แล้ว
  • สามารถจะติดต่อกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้หรือไม่?
    6450 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/19
    โดยทั่วไป สัมพันธภาพจะไม่เกิดขึ้นระหว่างคนแปลกหน้าสองคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน นอกจากจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้จักและมีไมตรีจิตต่อฝ่ายตรงข้าม จึงจะค่อยๆสานเป็นความสัมพันธ์อันดีต่อกันในอนาคตกรณีของท่านอิมามมะฮ์ดีก็เช่นกัน ท่านรู้จักเราและมีไมตรีจิตต่อเราอย่างอบอุ่น  แต่เราซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่งของสายสัมพันธ์ หากได้รู้จักฐานะภาพของท่านอย่างแท้จริง ก็จะทำให้สามารถสานสัมพันธ์และติดต่อกับท่านได้ ดังที่อุละมาอ์ระดับสูงหรือผู้ที่สำรวมตนขัดเกลาจิตใจบางท่านสามารถติดต่อกับท่านอิมาม(อ.)ได้ในอดีตกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การสานสัมพันธ์กับท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)นั้น แบ่งออกเป็นสองประเภท 1.เชื่อมสัมพันธ์ทางจิตใจ 2.เชื่อมสัมพันธ์ในระดับการเข้าพบ อย่างไรก็ดี แม้ว่าความสัมพันธ์ทั้งสองประเภทนี้จะมิไช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อม แต่หากต้องการจะมีความสัมพันธ์ในระดับเข้าพบ ก็จะต้องมีคุณสมบัติพิเศษ กล่าวคือ จะต้องมีสัมพันธภาพทางจิตใจพร้อมกับจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆที่จำเป็นด้วย จึงจะถือเป็นการตระเตรียมโอกาสที่จะได้เข้าพบท่าน(อ.) ...
  • อะฮ์ลุลบัยต์หมายถึงบุคคลกลุ่มใด?
    11548 ปรัชญาอิสลาม 2554/06/28
    คำว่า“อะฮ์ลุลบัยต์”เป็นศัพท์ที่ปรากฏในกุรอานฮะดีษและวิชาเทววิทยาอิสลามอันหมายถึงครอบครัวท่านนบี(ซ.ล.) ความหมายนี้มีอยู่ในโองการตัฏฮี้ร(อายะฮ์33ซูเราะฮ์อะห์ซาบ).นักอรรถาธิบายกุรอานฝ่ายชีอะฮ์ทั้งหมดและฝ่ายซุนหนี่บางส่วนแสดงทัศนะฟันธงว่าโองการดังกล่าวประทานมาเพื่อกรณีของชาวผ้าคลุมอันหมายถึงตัวท่านนบีท่านอิมามอลีท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน. อะฮ์ลุลบัยต์ในที่นี้จึงหมายถึงบุคคลเหล่านี้ (อ้างจากฮะดีษที่รายงานจากอิมามอลีอิมามฮะซันอิมามฮุเซนอิมามซัยนุลอาบิดีนและอิมามท่านอื่นๆรวมทั้งที่รายงานจากอุมมุสะลามะฮ์อาอิชะฮ์อบูสะอี้ดคุดรีอิบนุอับบาสฯลฯ) นอกจากนี้ยังมีฮะดีษจากสายชีอะฮ์และซุนหนี่ระบุว่าอะฮ์ลุลบัยต์หมายรวมถึงอิมามซัยนุลอาบิดีนจนถึงอิมามมะฮ์ดี(อ.)ด้วยเช่นกัน. ...
  • เพราะสาเหตุใด มุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ จึงไม่ได้ช่วยเหลือท่านอิมามฮุซัยนฺ ในขบวนการอาชูรอ และสิ่งที่กล่าวพาดพิงถึงท่านที่ว่า ท่านได้อ้างตัวการเป็นอิมามะฮฺถูกต้องหรือไม่?
    6155 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    การตัดสินเกี่ยวกับบุคลภาพ ความประเสริฐ ความศรัทธาและจริยธรรมของมุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ หรือการค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอบบิดเบือนตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับบุคลิกภาพ สถานะภาพของบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ มิใช่สิ่งที่ง่ายดายแต่อย่างใดเลย แต่จากการศึกษาค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ปัจจุบัน พร้อมกับอาศัยสัญลักษณ์ที่กระจัดกระจายอยู่ตามตำราอ้างอิงต่าวๆ สามารถเข้าใจมุมมองหนึ่งจากชีวประวัติของบุรุษผู้นี้ได้ เช่น คำพูดที่พูดพาดพิงถึงบุตรชายคนนี้ของท่านอิมามอะลี (อ.) สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้, กล่าวคือเขาเป็นบุรุษที่มีความยิ่งใหญ่คนหนึ่ง เป็นที่รักใคร่ของท่านอิมามอะลี และอิมามฮะซะนัยฺ (อ.) เขามีความเชื่อศรัทธาต่อสถานการณ์เป็นอิมามของบรรดาอิมาม (อ.) เขามิเพียงไม่ได้กล่าวอ้างการเป็นอิมามเพียงอย่างเดียว ทว่าเขายังเป็นทหารผู้เสียสละคอยปกป้อง และรับใช้ท่านอิมามอะลี (อ.) อิมามฮะซัน และอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ด้วยดีมาโดยตลอด เกี่ยวกับสาเหตุที่ท่านมิได้เข้าร่วมเหตุการณ์ในกัรบะลาอฺ หนึ่งในสาเหตุนั้นก็คือ การยืนหยัดต่อสู้ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นั้นมีชะฮาดัตรอคอยอยู่ และการที่เป้าหมายดังกล่าวจะบังเกิดสมจริงได้นั้น ก็ด้วยจำนวนสหายดังกล่าวที่ได้ร่วมเดินทางไปพร้อมกับท่านอิมามฮุซัยน (อ.) ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เห็นว่าไม่มีความสมควรแต่อย่างใด ในการสู้รบหนึ่งซึ่งผลที่ออกมาทั้งสหาย และบุรุษลูกหลานในครอบครัวแห่งอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน จะต้องเข้าร่วมโดวยพร้อมหน้ากัน
  • เพราะเหตุใดอัลลอฮฺ (ซบ.) จึงทรงสร้างชัยฏอน?
    9366 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ประการแรก: บทบาทของชัยฏอนในการทำให้มนุษย์หลงผิดและหลงทางออกไปนั้นอยู่ในขอบข่ายของการเชิญชวนประการที่สอง : ความสมบูรณ์นั้นจะอยู่ท่ามกลางการต่อต้านและสิ่งตรงกันข้ามด้วยเหตุผลนี้เองการสร้างสรรพสิ่งเช่นนี้ขึ้นมาในระบบที่ดีงามมิได้เป็นสิ่งไร้สาระและไร้ความหมายแต่อย่างใดทว่าถูกนับว่าเป็นรูปโฉมหนึ่งจากความเมตตาและความดีของพระเจ้า ...
  • อิมามโคมัยนีเชื่อว่าการร่ำไห้และการไว้อาลัยแด่อิมามฮุเซน(อ.)สามารถรักษาอิสลามให้คงอยู่ถึงปัจจุบันไช่หรือไม่? เพราะเหตุใด?
    7916 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/08
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • อัศล์ อะมะลีและดะลี้ล อิจติฮาดีหมายความว่าอย่างไร และมีความเกี่ยวโยงกันหรือไม่?
    7011 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/18
    อัศล์อะมะลีอัศล์อะมะลีในวิชาฟิกเกาะฮ์หมายถึงหลักการที่นำมาใช้เมื่อไม่สามารถพิสูจน์ฮุก่มชัรอีได้โดยตรงโดยจะกำหนดหน้าที่ของมุกัลลัฟในยามที่ไม่พบหลักฐานหรือข้อสันนิษฐานใดๆกล่าวคืออัศล์อะมะลีหรืออุศู้ลอะมะลียะฮ์ก็คือหลักที่จะกำหนดหน้าที่ของมุกัลลัฟในกรณีที่เผชิญกับข้อสงสัยฉะนั้นมูลเหตุของอุศู้ลอะมะลียะฮ์ก็คือ “ข้อสงสัย” อีกชื่อหนึ่งของอัศล์อะมะลีก็คือ “ดะลี้ลฟะกอฮะตี” ดะลี้ลฟะกอฮะตีคือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยฮุก่มเฉพาะกาลอันได้แก่บะรออะฮ์เอียะฮ์ติยาฏตัคยี้รและอิสติศฮ้าบดะลี้ลอิจติฮาดีดะลี้ลอิจติฮาดีคือหลักฐานที่บ่งชี้ถึงฮุก่มที่แท้จริงสาเหตุที่ตั้งชื่อไว้เช่นนี้ก็เนื่องจากมีความเกี่ยวโยงกับนิยามของอิจติฮาด (การทุ่มเทความพยายามเพื่อแสวงหาข้อสันนิษฐานสู่ฮุกุ่มที่แท้จริง) และเนื่องจากหลักฐานประเภทนี้ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานสู่ฮุกุ่มที่แท้จริงจึงขนานนามว่าดะลี้ลอิจติฮาดีซึ่งในส่วนของอัมมาเราะฮ์ก็ถือเป็นดะลี้ลอิจติฮาดีได้เช่นกันดะลี้ลอิจติฮาดีมีไว้เพื่อวินิจฉัยฮุ่กุ่มที่แท้จริงอันได้แก่กุรอานซุนนะฮ์อิจมาอ์และสติปัญญาความเชื่อมโยงระหว่างดะลี้ลและอัศล์ควรทราบว่าไม่มีความขัดแย้งระหว่างดะลี้ลและอัศล์แต่สองสิ่งนี้มีสัมพันธ์ในลักษณะลูกโซ่อยู่ทั้งนี้ก็เพราะหากข้อสงสัยใดมีดะลี้ลก็จะไม่เหลือความสงสัยอันเป็นมูลเหตุของอัศล์อะมะลีอีกต่อไปในประเด็นความขัดแย้งระหว่างดะลี้ลกับอัศล์นั้นในกรณีของดะลี้ลที่ชัดเจนแน่นอนว่าไม่มีอัศล์ใดจะสามารถเทียบเคียงได้เนื่องจากมูลเหตุของอัศล์คือความสงสัยเมื่อมีความแน่นอนในแง่มูลเหตุอัศล์ก็ย่อมหายไปแต่ในกรณีดะลี้ลที่ไม่ชัดเจนอย่างเช่นอิมาเราะฮ์ปะทะกับอัศล์ในกรณีเช่นนี้ถือเป็นการหักล้างกันซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาอุศู้ลเชื่อว่าควรถือข้างอิมาเราะฮ์มากกว่าอัศล์ทุกประเภทแม้กระทั่งอิสติศฮ้าบ (ตามหลักเฏาะรีกียะฮ์)[1][1]อ่านเพิ่มเติมได้ตามหนังสือวิชาอุศู้ล อาทิเช่น อุศูลุลฟิกฮ์ ของท่านมุซ็อฟฟัร, กิฟายะตุ้ลอุศู้ล ของออคูนด์โครอซอนี ฯลฯ ...
  • ฐานะภาพของบรรดาอิมามสูงส่งกว่าบรรดานบีจริงหรือ?
    6633 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    ฮะดีษมากมายระบุว่าบรรดาอิมามมีความสูงส่งเหนือบรรดานบีทั้งนี้ก็เนื่องจากรัศมีทางจิตใจของบรรดาอิมามหลอมรวมกับท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ฉะนั้นในเมื่อท่านนบีมีศักดิ์เหนือบรรดานบีท่านอื่นๆวุฒิภาวะที่บรรดาอิมามได้รับการถ่ายทอดจากนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) จึงเหนือกว่านบีทุกท่าน ประเด็นที่ว่ามนุษย์มีศักดิ์ที่สูงกว่ามลาอิกะฮ์นั้นถือเป็นสิ่งที่อิสลามยอมรับฉะนั้นการที่อิมามผู้ไร้บาปจะมีศักดิ์เหนือกว่ามลาอิกะฮ์จึงไม่ไช่เรื่องที่เหนือความคาดหมายแต่อย่างใด ...
  • ใครเป็นผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์? มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร?
    6692 รหัสยทฤษฎี 2555/02/18
    ผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์คือ ชะฮาบุดดีน ยะฮ์ยา บิน ฮะบัช บิน อมีร็อก อบุลฟุตู้ฮ์ ซุฮ์เราะวัรดี หรือที่รู้จักกันในฉายา “เชคอิชร้อก”“เศษะฟี้ร” หมายถึงเสียงที่ลากยาว รื่นหู และปราศจากคำพูดที่เปล่งจากริมฝีปากทั้งสอง ส่วน “ซีโม้รก์” เป็นชื่อสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เปรียบเสมือนราชาแห่งฝูงวิหคในนิยาย ในเชิงวิชาอิรฟานหมายถึงผู้เฒ่าผู้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ดี เรื่องราวของซีโม้รก์ได้รับการเล่าขานหลากเรื่องราวในตำรับตำราด้านวรรณกรรมเปอร์เซียและรหัสยนิยม(อิรฟาน)ในหนังสือเล่มนี้ เชคอิชร้อกได้แสดงถึงความสำคัญของการจาริกทางจิตวิญญาณสู่อัลลอฮ์ อีกทั้งอธิบายถึงสภาวะและอุปสรรคนานัปการในหนทางนี้ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56821 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38394 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38390 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25181 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...