การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6490
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/04/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2379 รหัสสำเนา 13581
คำถามอย่างย่อ
เพราะสาเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของชาย?
คำถาม
เพราะสาเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของชาย?
คำตอบโดยสังเขป

จากการศึกษาเกี่ยวกับหลักนิติศาสตร์อิสลามและประวัติความเป็นมาของ ค่าปรับ จะเห็นว่าเป็นประเด็นที่มีความจำกัดพิเศษเกี่ยวกับเรื่องของ เศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะ วัตถุประสงค์ได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการชดเชยสิ่งที่เสียหายไป อีกด้านหนึ่งในสังคมซึ่งอิสลามได้พยายามที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์ หรือพยายามสร้างสังคมที่มีความสมบูรณ์จึงได้กำหนดกิจกรรมหลังของสังคมด้านเศรษฐศาสตร์ให้อยู่ในความรับผิดชอบของสังคม กล่าวคือ อิสลามได้มองเรื่องเศรษฐศาสตร์ภาพรวมที่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชาย ทำให้ได้รับผลอย่างหนึ่งว่า ผู้ชายมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบบางหน้าที่ซึ่งฝ่ายหญิงได้รับการละเว้นเอาไว้ ขณะที่หน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญที่สุดสำหรับสตรีคนหนึ่งคือ การจัดระบบและระเบียบเรื่องค่าใช้จ่ายและการเป็นอยู่ของครอบครัว

ถ้าพิจารณาอย่างรอบคอบในบทความนี้ท่านผู้อ่านสมารถเข้าใจเหตุผลได้อย่างง่ายดายว่า อิสลามได้ให้การสนับสนุนภารกิจหนึ่ง ที่มีผลในทางเศรษฐศาสตร์สำหรับผู้ชาย และหนึ่งในนั้นคือเรื่องค่าปรับ หรือค่าชดเชย ตามหลักคำสอนของอสิลามถ้าหากพิจารณาถึงหน้าที่และบทบาทของฝ่ายชายในแง่ของรายได้ของครอบครัว ประกอบกับการพิจารณาถึงเรื่องค่าปรับและค่าชดเชย นั้นเกี่ยวข้องกับกายภาพของมนุษย์โดยตรง ฉะนั้น ในแง่ของรายได้ถ้าร่างกายมีความแข็งแรงมากเท่าใด ค่าชดเชยย่อมมีอัตรามากตามไปด้วย และเนื่องจากฝ่ายชายคือผู้รับผิดชอบด้านค่าใช้จ่ายของครอบครัว หรืออาจกล่าวได้ว่าชายคือผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของครอบครัว ดังนั้น ค่าชดเชยของชายจึงต้องมากกว่าฝ่ายหญิง สิ่งนี้มิได้หมายความว่าอิสลามได้ให้เกียรติผู้ชายสูงส่งกว่าผู้หญิง เนื่องจากถ้าจะกล่าวถึงในแง่ของเกียรติยศหรือคุณค่าของมนุษย์แล้วละก็ จะไม่มีวันเท่าเทียมกับเลยในเรื่องของค่าชดเชยระหว่างนักวิชาการ นักคิด ปักปราชญ์ หรือผู้นำศาสนา และนักการเมืองคุณภาพ กับบุคคลธรรมดาทั่วไป หรือคนงานธรรมดาคนหนึ่ง

อีกประเด็นหนึ่งบทบาทเรื่องความปลอดภัยของผู้ชายคนหนึ่งในครอบครัว เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าโดยทั่วไปแล้วผู้ชายนั่นเองที่เป็นผู้นำพาความสงบสุขมาสู่ครอบครัว เป็นผู้ปกป้องความปลอดภัยของครอบครัวโดยไม่ให้มีบุคคลอื่นมาระราน ด้วยเหตุนี้ โดยธรรมชาติแล้ว ถ้าหากจะเกิดความเสียหายขึ้นกับครอบครัวในกรณีที่ไม่มีผู้ชายย่อมมีเสียหายมากกว่าการไม่มีผู้หญิง

และแล้วประเด็นสำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ สำหรับประเด็นที่กำลังกล่าวถึงนี้ ได้มีบทบัญญัติทางศาสนาเป็นตัวกำกับไว้ด้วย บนพื้นฐานทางความคิดและคำสอนของศาสนานั้นได้ให้ความสำคัญแก่บุรุษเอาไว้ ประกอบกับทัศนะต่างๆ ที่ได้กล่าวไว้เป็นพิเศษเกี่ยวกับประเด็นข้างต้น ด้วยเหตุนี้ ประเด็นเกี่ยวกับค่าปรับหรือค่าสินไหมในอิสลาม จึงได้ถูกบัญญัติขึ้นตามพื้นฐานหน้าที่หลักซึ่งได้มอบไว้ตามเจตนารมณ์เสรีของบุรุษและสตรี ประกอบกับเมื่อพิจารณาถึงกฎเกณฑ์โดยทั่วไปที่มีเหนือระบบครอบครัว อิสลามจึงได้วางกฎนี้ออกมา ซึ่งแน่นอนว่า เราไม่สามารถคัดค้านได้เลยว่าบทบัญญัติของอิสลามไม่เข้ากันกับสติปัญญา หรือว่าเป็นการเอาเปรียบฝ่ายหญิงแต่อย่างใด

คำตอบเชิงรายละเอียด

บทบัญญัติทั้งหมดของอิสลามวางอยู่บนพื้นฐานของสิ่งถูกต้อง และความเสียหายอันเฉพาะด้วยความมั่นคง ซึ่งสำหรับทุกๆ กฎเกณฑ์ย่อมมีวิทยปัญญาอันเฉพาะ และสำหรับทุกการร่างบทบัญญัติย่อมมีความดีและสิ่งถูกต้องควบคู่เสมอไป ถ้าหากอิสลามได้ห้ามมนุษย์จากสิ่งหนึ่ง ก็เนื่องจากว่าสิ่งนั้นมีความเสียหายร่วมอยู่อย่างแน่นอน ขณะเดียวกันถ้าอิสลามได้มีบัญชาให้กระทำสิ่งหนึ่งก็เนื่องจากว่าสิ่งนั้นมีความดีงามแอบแฝงอยู่ แน่นอนว่าการที่เราจะติดตามความดีและไม่ดีของทุกบทบัญญัตินั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่จะมีกฎโดยรวมวางไว้เพื่อช่วยให้เราได้สัมฤทธิ์ผลโดยเร็ว นั่นคือ สติปัญญาสมบูรณ์ หรือความจริงภายนอก และคำอธิบายของบรรดาผู้นำบริสุทธิ์ (.) ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญทำให้เราได้เข้าใจถึงมุมมองหนึ่งของบทบัญญัติเหล่านั้น ดังนั้น การที่อิสลามได้บัญญัติว่า ค่าชดเชย หรือค่าปรับ หรือค่าสินไหมของสตรีนั้นน้อยกว่าบุรุษครึ่งหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าสิ่งนั้นย่อมมีวิทยปัญญาซ่อนเร้นอยู่ ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้ว่า

1) ถ้าหากอิสลามเป็นศาสนาแห่งวัตถุโดยสมบูรณ์ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่วัตถุปัจจัย เศรษฐกิจ และทรัพย์สินเป็นหลัก เวลานั้นได้กำหนดว่า ค่าชดเชยของสตรีน้อยกว่าบุรุษครึ่งหนึ่ง ตรงนี้ข้อท้วงติงที่ว่าเป็นการลดคุณค่าของสตรีให้น้อยไปจากบุรุษ เพราะเหตุใดราคาของสตรีจึงมีค่าเพียงครึ่งหนึ่งของบุรุษ จึงจะสมจริง ขณะที่อิสลามถือว่าคุณค่าของมนุษย์นั้นอยู่ที่จิตวิญญาณและจิตด้านในที่มีความสมบูรณ์ของพวกเขา สิ่งที่อิสลามได้ให้ความสำคัญมากที่สุดคือมาตรฐานของคุณค่าอันได้แก่ ความสำรวมตนจากบาป มนุษย์สามารถเป็นเยี่ยงศาสดามูซา (.) หรือท่านหญิงมัรย้ม (.) ที่สามารถติดต่อกับอัลลอฮฺ (ซบ.) โดยผ่านวะฮฺยูก็ได้ สตรีและบุรุษที่อยู่ในหนทางของการแสวงหาความจำเริญ และการได้รับตำแหน่งอันสูงส่งทางด้านจิตวิญญาณ มีความเท่าเทียมกันไม่ได้มีความแตกต่างกันแม้แต่น้อยระหว่างบุรุษและสตรี ซึ่งขึ้นอยู่กับความอดทนและความพยายามของแต่ละบุคคล 

แต่เรื่องค่า ชดเชย เป็นประเด็นเกี่ยวกับเรื่องรายได้ ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับร่างกายมนุษย์ ด้วยเหตุผลนี้เองจึงมีความแตกต่างกันระหว่างค่าชดเชยของผู้นำประเทศ กับพลเมืองที่เป็นคนงานธรรมดาคนหนึ่ง[1]

2) ในมุมมองหนึ่งสามารถกล่าวได้ว่า มนุษย์ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นบุรุษหรือสตรีมี 3 ลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้

2.1 ความสูงส่งในความเป็นมนุษย์ ประเด็นนี้ไม่มีความแตกต่างกันทั้งบุรุษและสตรี ประกอบกับหนทางที่จะมุ่งไปสู่ความเป็นมนุษย์แห่งพระเจ้านั้น ก็ไม่มีความจำกัดแต่อย่างใดหนทางเปิดกว้างสำหรับทั้งสองเสมอ

อัลกุรอานบทอันนะฮฺลุ โองการที่ 97 กล่าวว่าผู้ใดปฏิบัติความดีไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิงก็ตาม โดยที่เขาเป็นผู้มีศรัทธา ดังนั้นเราจะให้เขาดำรงชีวิตที่ดี แน่นอนเราจะตอบแทนพวกเขาซึ่งรางวัลของ พวกเขา ที่ดียิ่งกว่าที่พวกเขาได้เคยกระทำไว้

อัลกุรอาน บทอะฮฺซาบ โองการที่ 35 ก็ได้ถึงความหมายดังกล่าวไว้เช่นกัน

2.2 ในแง่ของความรู้ ในมุมมองนี้เช่นกันไม่มีความแตกต่างกันระหว่างบุรุษและสตรี อิสลามไม่เคยให้ความแตกต่างในการแสวงหาความรู้ทั้งบุรุษและสตรี รายงานฮะดีซกล่าวว่า 

"طلب العلم فریضة على کل مسلم و مسلمة".

การแสวงหารความรู้เป็นข้อบังคับสำหรับมุสลิมทุกคนทั้งบุรุษและสตรี[2]

อัลกุรอาน ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างบุรุษและสตรีในการแสวงหาความรู้ หรือในแง่ของความรู้ ซึ่งมีโองการกล่าวโดยรวมถึงประเด็นเหล่านี้เกินกว่า 40 โองการด้วยกัน

2.3 ในแง่ของเศรษฐศาสตร์ ระหว่างสตรีและบุรุษตามทัศนะของอิสลามจากรายงานฮะดีซ หน้าที่ด้านนี้มีความแตกต่างกัน เนื่องจากหน้าที่นี้วางอยู่บนพื้นฐานความสามารถ ศักยภาพ และพลังของร่างกาย ซึ่งได้จัดแบ่งไว้แล้วตามลักษณะของจิตวิญญาณระหว่างสตรีและบุรุษ สตรีนั้นในแง่ของการแบกรับภาระด้านเศรษฐกิจอ่อนแอกว่าบุรุษ แม้ว่าในแง่ของไหวพริบและสติปัญญาทางด้านเศรษฐศาสตร์อาจเท่าเทียมหรือดีกว่าบุรุษก็ตาม แต่การแบกรับภาระอันหนักอึ้งนี้เธออ่อนแอกว่า แม้แต่ในสังคมตะวันตกที่มีค่านิยมและแสดงความเห็นว่าว่าบุรุษและสตรีเท่าเทียมกัน ก็ให้การยอมรับว่าการแบกรับภาระอันหนักอึ้งนี้สตรีอ่อนแอกว่าบุรุษ

ตามความเป็นจริงแล้วสตรีมีหน้าที่หลักคือ การให้กำเนิดบุตร เธอต้องตั้งครรภ์และหลังจากคลอดบุตรแล้วเธอต้องให้นมลูก ต้องคอยดูแลปกปักรักษาและคอยเลี้ยงดูจนกว่าจะเติบโต ดังนั้น ช่วงเวลาตั้งครรภ์และการให้นมนั้นได้บั่นทอนความสามารถของสตรีไปไม่น้อย พลังงานและเวลาของเธอได้ถูกใช้ไปเป็นจำนวนมาก แม้ว่าภารกิจนี้โดยตัวของมันแล้วเป็นงานใหญ่ และมีคุณค่าอันมหาศาล แต่อย่างไรก็ตามงานด้านเศรษฐกิจนั้นต่างไปจากสิ่งที่กล่าวมา อีกด้านหนึ่งโครงสร้างทางกายภาพของสตรีและบุรุษนั้นมีความแตกต่างกัน สตรีนั้นมีร่างกายและโครงสร้างที่อ่อนแอพร้อมที่จะรับผลกระทบและความเสียหายต่างๆ ได้สูง ขณะที่โครงสร้างด้านร่างกายของบุรุษมีความแข็งแรงกว่า มีความอดทนกับความลำบาก และเหมาะสมกับงานหนักต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุผลนี้เองการงานและอาชีพส่วนใหญ่ในสังคมจึงมีความเหมาะสมกับบุรุษมากกว่า ฉะนั้น เป็นที่ประจักษ์ว่าการปราศจากผู้ชายในสังคม ครอบครัวจะพบกับความเสียหายมากกว่า ด้วยเหตุนี้ เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจ่ายค่า ชดเชยจำนวนมากเมื่อสูญเสียบุรุษไป[3]

3. ความว่างเปล่าเนื่องจากครอบครัวปราศจากผู้ชาย นั้นจะมีช่องว่างมากกว่าขาดสตรี จากการค้นคว้าของนักนิติศาสตร์และประวัติศาสตร์[4] ดียะฮฺ หรือค่าชดเชยนั้นมีวัตถุประสงค์ เพื่อชดเชยค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำผิด หรือการก่ออาชญากรรมกับคนๆ หนึ่ง หรือกับครอบครัวหนึ่ง ขณะที่สังคมเป็นสังคมศาสนาภารกิจด้านเศรษฐกิจส่วนใหญ่ จึงอยู่ในการดูแลของบุรุษ ส่วนสตรีมีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยในครอบครัว เป็นธรรมชาติที่ว่าร่องรอยของงานทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดจากผู้ชายนั้นมีมากกว่าสตรี ด้วยเหตุนี้การปราศจากผู้ชายไปจากสังคมและครอบครัว ในแง่ของเศรษฐกิจถือว่าเป็นความเสียหายอย่างใหญ่หลวงแก่ครอบครัว เนื่องจากขาดผู้นำและคนหาเลี้ยงครอบครัว ด้วยเหตุนี้ ค่าชดเชยของผู้ชายจึงต้องจ่ายตามเหมาะสมกับสถานภาพของเขาในครอบครัว[5]

นอกจากนั้นแล้ว ค่าเลี้ยงดูครอบครัวยังเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ชาย มิใช่ผู้หญิง ด้วยเหตุนี้การสูญเสียผู้ชายไปบรรดาลูกๆ อีกหลายคนที่ต้องอาศัยค่าเลี้ยงดูจากเขายังคงอยู่ ดังนั้น จำเป็นต้องชดเชยในลักษณะเติมเต็มความว่างเปล่าของเขา ด้วยเหตุผลนี้เอง โดยหลักการแล้วค่าชดเชยของผู้ชายจำเป็นต้องมากกว่าผู้หญิง ซึ่งประเด็นนี้มิได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าใครดีกว่าใคร หรือผู้ชายดีกว่าผู้หญิงแต่อย่างใด ทว่าได้พิจารณาจากองค์ประกอบภายนอกถึงสาเหตุการเสียชีวิตของเขา และบทบาทของเขาในครอบครัวเป็นหลัก[6]

จากสิ่งที่อธิบายมานี้สามารถสรุปได้ว่า ปัญหาเรื่องค่าชดเชย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณค่าของสตรีหรือบุรุษ อันเป็นสาเหตุให้ความแตกต่างระหว่างทั้งสองนั้นได้รับการทักท้วง อีกด้านหนึ่ง หน้าที่ความรับผิดชอบทางด้านเศรษฐกิจซึ่งเป็นหน้าที่ของบุรุษในครอบครัวก็ได้สนับสนุนประเด็นดังกล่าวได้เป็นอย่างดีว่า ความแตกต่างของค่าชดเชยขึ้นอยู่กับเรื่องค่าใช้จ่ายของครอบครัวเป็นหลัก 

ผู้ชายในแง่ของร่างกายทางกายภาพนั้นมีความแข็งแกร่งกว่าสตรี สามารถปฏิบัติหน้าที่หนักได้ การมีอยู่ของผู้ชายสำหรับครอบครัวแล้วถือว่าสร้างความมั่นใจและให้พลังแก่จิตใจได้เป็นอย่างดี อีกด้านหนึ่งการไม่มีผู้ชายในครอบครัวเป็นสาเหตุทำให้ผู้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของเขาต้องปราศจากผู้นำ และผู้รับผิดชอบ ด้วยเหตุนี้ เป็นธรรมดาที่ว่าเมื่อต้องสูญเสียผู้ชายไปเนื่องจากอุบัติเหตุหรือด้วยสาเหตุอื่นๆ ค่าชดเชยของเขาจึงต้องมากกว่าผู้หญิง[7]

สุดท้ายของบทความใคร่จะชี้ให้เห็นถึงประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่ง ซึ่งมิได้หลุดพ้นไปจากความการุณย์ของพระเจ้าแต่อย่างใด ประเด็นดังกล่าวคือ 

ประการแรก ค่าชดเชยของหญิงซึ่งน้อยกว่าผู้ชายครึ่งหนึ่งนั้น ตราบที่ค่าชดเชยนั้นมีไม่ถึง หนึ่งในสามส่วน มิเช่นนั้นแล้วค่าชดเชยของผู้ชายและผู้หญิงถ้าน้อยกว่า หนึ่งในสามจะเท่ากัน ด้วยเหตุผลนี้เอง ถ้าเหตุผลที่กล่าวว่า ค่าชดเชยของสตรีน้อยกว่าบุรุษครึ่งหนึ่งนั้นก็เนื่องจากความพร่องของนาง ดังนั้น ในทุกที่ค่าชดเชยของเธอโดยทั่วไปแล้วต้องน้อยกว่าผู้ชายครึ่งหนึ่ง

ประการที่สอง บุรุษคือผู้ที่ได้รับค่าชดเชยมากกว่าผู้หญิงครึ่งหนึ่ง เขามีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในการจ่ายค่าชดเชยกรณีที่ญาติของตนได้สังหารชีวิตผู้อื่น หรือก่ออาชญากรรมในลักษณะของความผิดพลาด ขณะที่ผู้หญิงได้รับการยกเว้นในกรณีนี้

เป็นไปได้ว่าในสมัยนี้ สตรีและบุรุษมีความเท่าเทียมกัน สตรีก็ประกอบหน้าที่การงานในสังคม มีการทำธุระกรรมด้านการเงินมากขึ้น มีส่วนร่วมกับผู้ชายในการจัดหาค่าเลี้ยงดูครอบครัว ดังนั้น ในสมัยนี้จึงไม่มีเหตุผลอันใดที่จะมากล่าวว่า ค่าชดเชย ของสตรีนั้นน้อยกว่าบุรุษครึ่งหนึ่ง

คำตอบ สามารถกล่าวได้ว่า ถูกต้องที่ทุกวันนี้สตรีได้ประกอบอาชีพเยี่ยงบุรุษ หรือเคียงบ่าเคียงไหล่กับบุรุษในการแสวงหาปัจจัยเลี้ยงดูครอบครัว แต่ขณะเดียวกันสตรีไม่อาจสร้างความสงบหรือความปลอดภัยให้แก่ครอบครัวได้เยี่ยงบุรุษ ตามความเป็นจริงแล้วการปกป้องครอบครัวนั้นสตรีไม่อาจทำได้เยี่ยงบุรุษ ประการที่สอง ดังที่กล่าวไปแล้วว่าอาชีพที่มีรายได้มากจำนวนมากมายในสังคมที่ไม่มีความเหมาะสมกับสภาพร่างกายที่อ่อนแอของสตรี จึงเป็นการผูกขาดไว้ที่ผู้ชาย และเป็นธรรมชาติที่ว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจจากผู้จะเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าผลทางเศรษฐกิจระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงเท่าเทียมกัน แล้วเป็นเพราะสาเหตุใดในสังคมที่มีการกล่าวอ้างถึง สิทธิของสตรีตำแหน่งรัฐมนตรี ผู้บริหารระดับสูง หรือนักกฎหมายจึงอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ชาย?

ปัญหาอีกประการหนึ่งที่อาจจะกล่าวเพิ่มได้ในที่นี้ก็คือ ค่าชดเชยของสตรีมีค่าครึ่งหนึ่งของบุรุษ เท่ากับเป็นการแบ่งชนชั้นและให้ความโปรดปรานพิเศษแก่ผู้ชาย

คำตอบ สำหรับคำถามเหล่านี้คือ อิสลามเป็นศาสนาแห่งความเสมอภาค ความเป็นบุรุษและสตรีในแง่ของศาสนาไม่มีความแตกต่างอันใดทั้งสิ้น แต่ในกรณีที่ค่าชดเชยของฝ่ายหญิงน้อยกว่าผู้ชายครึ่งหนึ่ง นั้นย่อมีความดีอยู่ในนั้น ดังเช่นที่บทบัญญัติอื่นของอิสลามอันเนื่องจากมีวิทยปัญญาอยู่ในนั้น จึงได้ร่างขึ้นเพื่ออำนวยประโยชน์แก่สตรี เช่น ถ้าหากมุสลิมตกศาสนา (มุรตัดฟิฎรีย) หมายถึงเป็นมุสลิมและได้ตกสภาพการเป็นมุสลิม แม้ว่าจะขอลุแก่โทษแล้ว บรรดานักปราชญ์ส่วนใหญ่มีความเห็นพร้องต้องกันว่าโทษของเขาคือ การประหารชีวิต แต่ถ้าเป็นสตรีถ้าตกศาสนาและเธอได้ขอลุแก่โทษแล้ว เธอจะได้รับอิสรภาพและดำเนินชีวิตเยี่ยงคนธรรมดาสามัญทั่วไป

หรือการลงโทษบุคคลที่จะก่อกบฏในรัฐอิสลาม ถ้าเป็นชายนอกจากจะได้รับการลงโทษทางกายแล้ว ยังจะถูกเนรเทศไปยังเมืองอื่นอีกด้วย แต่ถ้าเป็นหญิงไม่ต้องถูกเนรเทศ หรือสาเหตุของการยกเลิกการแต่งงาน ถ้าเป็นผู้ชายหลักจากอ่านอักด์นิกาฮฺแล้วกลายเป็นคนวิกลจริต ผู้หญิงมีสิทธิ์ยกเลิกการแต่งงานนั้น แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าสิ่งนี้ได้เกิดกับผู้หญิง ผู้ชายไม่มีสิทธิ์ยกเลิกการแต่งงาน[8]



[1]  ญะวาดี ออมูลีย์ อับดุลลอฮฺ ซันดัรอออีเนะฮฺ ญะลาล วะญะมาล หน้า 400,401

[2] มัจญิลิสซีย์ บิฮารุลอันวาร เล่ม 67 หน้า 68 หมวดที่ 45, มุสตัดร็อกวะซาอิล เล่ม 17 หน้า 249

[3]  มะการิมชีรอซีย์ นาซิร บทเรียนฟิกฮฺระดับสูงหัวข้อ เรื่องค่าชดเชย หนังสือพิมพ์ ฟัยฎียะฮฺ ฉบับที่ 18

[4] ชะฟีอียฺ ซุรูซตานีย์ อิบรอฮีม กฎหมายว่าด้วยเรื่องการชดเชยและความจำกัดของเวลา ศูนย์ค้นคว้าข้อมูลพิเศษสำนักประธานาธิบดี พิมพ์ครั้งแรก

[5] ชะฟีอียฺ ซุรูซตานีย์ อิบรอฮีม ความต่างระหว่างหญิงกับชายในเรื่องการชดเชยและการลงโทษ สะฟีร เระฮฺซุบฮฺ พิมพ์ครั้งแรก หน้า 93

[6]  คอมเมเนอี ซัยยิดมุฮัมมัด สิทธิสตรี สำนักพิมพ์ อินติชารอตอิลมี ฟังฮังกีย์ ปี 1375 พิมพ์ครั้งที่ 2 หน้า 98

[7] มะฮฺมูดีย อับบาซอะลี ความเสมอภาคระหว่างบุรุษและสตรีในการลงโทษ สำนักพิมพ์ บิอ์ษัต พิมพ์ครั้งแรก ปี 1365 หน้า 83, มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัฎลุลลอฮฺ สตรีในสิทธิอิสลาม แปลโดยอับดุลฮาดีย์ ฟะกีฮีย์ ซอเดะฮฺ สำนักพิมพ์สำนักผู้พิพากษา หน้า 24

[8]  คัดเลือกมาจากทัศนะของนักปราชญ์แห่งยุคสมัย และริซาละฮฺเตาฎีฮุลมะซาอิลของบรรดามัรญิอ์ทั้งหลาย

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เงื่อนไขถูกต้องสำหรับการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เป็นเช่นไร?
    6622 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับศาสนาอื่นที่มองเห็นความต้องการของมนุษย์เพียงด้านเดียวและให้ความสนใจเฉพาะด้านวัตถุปัจจัยหรือด้านจิตวิญาณเพียงอย่างเดียว, อิสลามได้เลือกสายกลาง. เพื่อเป็นครรลองดำเนินชีวิตถูกต้องแก่ประชาชาติโดยให้มนุษย์เลือกใช้ความโปรดปรานต่างๆจากพระเจ้าอย่างถูกต้องและถูกวิธี
  • ทำไม อิบลิส (ซาตาน) จึงถูกสร้างขึ้นจากไฟ ?
    10870 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • มีฮะดีษบทใดบ้างที่กล่าวถึงบุตรซินา?
    8606 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    อิสลามถือว่าบุตรที่เกิดจากการผิดประเวณี (บุตรซินา) มีสถานะเฉพาะตัวซึ่งท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ตามแหล่งอ้างอิงดังต่อไปนี้1. มรดกของบุตรซินาวะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 26,หน้า 274, بَابُ أَنَّ وَلَدَ الزِّنَا لَا یَرِثُهُ الزَّانِی وَ لَا الزَّانِیَةُ وَ لَا مَنْ تَقَرَّبَ بِهِمَا وَ لَا یَرِثُهُمْ بَلْ مِیرَاثُهُ لِوُلْدِهِ أَوْ نَحْوِهِمْ وَ مَعَ عَدَمِهِمْ لِلْإِمَامِ وَ أَنَّ مَنِ ادَّعَى ابْنَ جَارِیَتِهِ وَ لَمْ یُعْلَمْ کَذِبُهُ قُبِلَ قَوْلُهُ وَ لَزِمَهُ
  • ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับจริยศาสตร์คืออะไร? สิ่งไหนครอบคลุมมากกว่ากัน? และการตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์กับจริยธรรมอันไหนครอบคลุมมากกว่า?
    21486 จริยธรรมทฤษฎี 2555/04/07
    คำว่า “อัคลาก” ในแง่ของภาษาเป็นพหูพจน์ของคำว่า “คุลก์” หมายถึง อารมณ์,ธรรมชาติ, อุปนิสัย, และความเคยชิน,ซึ่งครอบคลุมทั้งอุปนิสัยทั้งดีและไม่ดี นักวิชาการด้านจริยศาสตร์,และนักปรัชญาได้ตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์ไว้มากมาย. ซึ่งในหมู่การตีความทั้งหลายเหล่านั้นของนักวิชาการสามารถนำมารวมกัน และกล่าวสรุปได้ดังนี้ว่า “อัคลาก ก็คือคุณภาพทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มีความเหมาะสม หรือพฤติกรรมอันเหมาะสมของมนุษย์ที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวันตน” สำหรับ ศาสตร์ด้านจริยธรรมนั้น มีการตีความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งในคำอธิบายเหล่านั้นเป็นคำพูดของท่าน มัรฮูม นะรอกียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ญามิอุลสะอาดะฮฺว่า : ความรู้ (อิลม์) แห่งจริยศาสตร์หมายถึง การรู้ถึงคุณลักษณะ (ความเคยชิน) ทักษะ พฤติกรรม และการถูกขยายความแห่งคุณลักษณะเหล่านั้น การปฏิบัติตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือให้รอดพ้น หรือการการปล่อยวางคุณลักษณะที่นำไปสู่ความหายนะ” ส่วนการครอบคลุมระหว่างจริยธรรมกับศาสตร์แห่งจริยธรรมนั้น มีคำกล่าวว่า,ความแตกต่างระหว่างทั้งสองมีอยู่เฉพาะในทฤษฎีเท่านั้นเอง ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากจะกล่าวว่า สิ่งไหนมีความครอบคลุมมากกว่ากันจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด ...
  • เพราะอะไรจึงเรียกชาวยะฮูดียฺทั้งหลายว่า ยะฮูด?
    13118 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    เกี่ยวกับสาเหตุที่ตั้งชื่อหมู่ชน อิสราเอล ว่ายะฮูด, มีความเห็นแตกต่างกัน, บางคนกล่าวว่า “ยะฮูด” หมายถึงผู้ที่ได้รับการชี้นำทางแล้ว ซึ่งสาเหตุของมันก็คือ การกลับตัวกลับใจ (เตาบะฮฺ) ของหมู่ชนมูชา (อ.) จากการเคารพสักการลูกวัว[1] บางคนกล่าวว่าสาเหตุของการเรียกหมู่ชนอิสราเอลว่า “ยะฮูด” ก็เนื่องจากบุตรคนที่ 4 ของศาสดายะอฺกูบ ซึ่งมีชื่อว่า “ยะฮูดา” ซึ่งคำว่า “ยะฮูด” ได้ผันมาจากคำว่า “ยะฮูซ” จุดบนตัว ซาล ได้ตัดขาดหายไป[2] [1] ฏอละกอนียฺ, ...
  • ในเมื่อนบีมูซาสังหารชายกิบฏี แล้วจะเชื่อว่าท่านไร้บาปได้อย่างไร?
    9898 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/17
    นบีทุกท่านล้วนเป็นผู้ปราศจากบาปและมีสถานะอันสูงส่งณอัลลอฮ์ (ตามระดับขั้นของแต่ละท่าน) และมีภาระหน้าที่ๆหนักกว่าคนทั่วไปโดยมาตรฐานของบรรดานบีแล้วการให้ความสำคัญต่อสิ่งอื่นนอกเหนืออัลลอฮ์ถือเป็นบาปอันใหญ่หลวงอย่างไรก็ดีนักวิชาการมีคำอธิบายเกี่ยวกับเหตุการณ์สังหารชายชาวกิบฏีหลายทัศนะคำอธิบายที่น่าสนใจที่สุดคือท่านมิได้ทำบาปใดๆเนื่องจากการสังหารชาวกิบฏีในครั้งนั้นไม่เป็นฮะรอมเพราะควรแก่เหตุเพียงแต่ท่านไม่ควรรีบลงมือเช่นนั้นสำนวนในโองการกุรอานก็มิได้ระบุว่าเหตุดังกล่าวคือบาปของท่านดังที่มะอ์มูนถามอิมามริฎอ(อ.)เกี่ยวกับคำพูดของนบีมูซาที่ว่า “นี่คือการกระทำของชัยฏอนมันคือศัตรูผู้ล่อลวงอย่างชัดแจ้ง” หรือที่กล่าวว่า “
  • ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์ (ตะมีม) เป็นใครมาจากใหน?
    6480 تاريخ بزرگان 2555/03/08
    حصين بن نمير ซึ่งออกเสียงว่า “ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์” ก็คือคนเดียวกันกับ “ฮุศ็อยน์ บิน ตะมีม” หนึ่งในแกนนำฝ่ายบนีอุมัยยะฮ์ที่มาจากเผ่า “กินดะฮ์” ซึ่งจงเกลียดจงชังลูกหลานของอิมามอลีอย่างยิ่ง และมีส่วนร่วมในการสังหารฮะบี้บ บิน มะซอฮิร หนึ่งในสาวกของอิมามฮุเซน บิน อลีในวันอาชูรอ ปีฮ.ศ. 61 โดยได้นำศีรษะของฮะบี้บผูกไว้ที่คอของม้าเพื่อนำไปยังราชวังของ “อิบนิ ซิยาด” ...
  • สตรีในทัศนะอิสลามมีสถานภาพสูงส่งเพียงใด ?พวกเธอมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชายหรือ?
    12910 ปรัชญาของศาสนา 2554/10/22
    ในทัศนะอิสลาม, สตรีและบุรุษนั้นมีเป้าหมายร่วมกันนั่นคือ – การพัฒนาตนไปให้ถึงยังสถานอันสูงสุดของความเป็นมนุษย์ – และการไปถึงเป้าหมายดังกล่าว ทั้งสองจึงมีมาตรฐานอันเดียวกัน ซึ่งความต่างเรื่องเพศอันเป็นความจำเป็นของการสร้าง แทบจะไม่มีบทบาทอันใดทั้งสิ้นในการสร้าง หรือเพิ่มเติมศักยภาพและความสามารถดังกล่าวนั้น หรือคุณค่าในทางศาสนาเองก็มิได้มีบทบาทอันใดเช่นกัน ดังนั้น ความสมบูรณ์ของสตรีจึงมิได้อยู่ในฐานะภาพเดียวกันกับความสมบูรณ์ของบุรุษ หรือใช่ว่าบุรุษจะใช้ความเป็นเพศชาย มาควบคุมความเป็นสตรีก็หาไม่ดังนั้น ในทัศนะของอิสลาม :1.สตรี, จึงเป็นสถานที่ปรากฏความสวยงาม ความประณีต และความเงียบสงบ2.สตรี, คือที่มาแห่งความสงบมั่นของบุรุษ, ส่วนบุรุษนั่นเป็นสถานพำนักพักพิง ให้ความรับผิดชอบ และการเป็นผู้นำของสตรี
  • บทบาทของผู้เป็นสื่อในการสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺคืออะไร?
    7805 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    สื่อมีความหมายกว้างมากซึ่งครอบคลุมถึงทุกสิ่งหรือทุกภารกิจอันเป็นสาเหตุนำเราเข้าใกล้ชิดพระผู้อภิบาลได้ถือว่าเป็นสื่อขณะที่โลกนี้วางอยู่บนพื้นฐานของระบบเหตุและผล,สาเหตุและสิ่งเป็นสาเหตุ, ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการชี้นำมนุษย์ให้เจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์, ดังเช่นที่ความต้องการทางธรรมชาติของมนุษย์ทั้งหลายบรรลุและดำเนินไปโดยปัจจัยและสาเหตุทางวัตถุ, ความเมตตาอันล้นเหลือด้านศีลธรรมของพระเจ้า, เฉกเช่นการชี้นำทาง, การอภัยโทษ, การสอนสั่ง, ความใกล้ชิดและความสูงส่งของมนุษย์ก็เช่นเดียวกันวางอยู่บนพื้นฐานของระบบอันเฉพาะเจาะจงซึ่งได้ถูกกำหนดสำหรับมนุษย์แล้วโดยผ่านสาเหตุและปัจจัยต่างๆแน่นอนถ้าปราศจากปัจจัยสื่อและสาเหตุเหล่านี้ไม่อาจเป็นไปได้แน่นอนที่มนุษย์จะได้รับความเมตตาอันล้นเหลือจากพระเจ้าหรือเข้าใกล้ชิดกับพระองค์อัลกุรอานหลายโองการและรายงานจำนวนมากมายได้แนะนำปัจจัยและสาเหตุเหล่านั้นเอาไว้และยืนยันว่าถ้าปราศจากสื่อเหล่านั้นมนุษย์ไม่มีวันใกล้ชิดกับอัลลอฮฺได้อย่างแน่นอน ...
  • “ศอดุกอติฮินนะ” และ “อุญูริฮินนะ” ในกุรอานหมายถึงอะไร?
    7701 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/08
    คำว่า “ศอดุกอติฮินนะ”[1] มีการกล่าวถึงในประเด็นของการแต่งงานถาวร และได้กล่าวว่าสินสอดนั้นเป็น “ศิด้าก”[2] อายะฮ์ที่คำดังกล่าวปรากฏอยู่นั้น บ่งบอกถึงสิทธิที่สตรีจะต้องได้รับ และย้ำว่าสามีจะต้องจ่ายค่าสินสอดของภรรยาของตน[3] นอกจากว่าพวกนางจะยกสินสอดของนางให้กับเขา[4] นอกจากนี้คำนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสัจจะและความจริงใจในการแต่งงานด้วยเช่นกัน[5] ส่วนคำว่า “อุญูริฮินนะ”[6] หมายถึงการแต่งงานชั่วคราวและที่เรียกกันว่า “มุตอะฮ์” นั้นเอง และกล่าวว่า “จะต้องจ่ายมะฮัรแก่สตรีที่ท่านได้แต่งงานชั่วคราวกับนางเนื่องจากสิ่งนี้เป็นวาญิบ”[7] คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60420 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57990 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42522 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39814 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39172 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34282 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28329 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28254 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28186 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26126 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...