Please Wait
9122
คำว่า “ฮุบูต” หมายถึงการลงมาด้านล่างจากที่สูง (นุซูล) ตรงกันข้ามกับคำว่า สุอูด (ขึ้นด้านบน), บางครั้งก็ใช้ในความหมายว่าหมายถึงการปรากฏในที่หนึ่ง
การวิพากถึงการลงมาของศาสดาอาดัม และความหมายของการลงมานั้น อันดับแรกขึ้นอยู่กับว่า สวรรค์ที่ศาสดาอาดัมอยู่ในตอนนั้นเราจะตีความกันว่าอย่างไร? สวรรค์นั้นเป็นสวรรค์บนโลกหรือว่าสวรรค์ในปรโลก? สิ่งที่แน่ชัดคือมิใช่สวรรค์อมตะนิรันดร์, ดังนั้นการลงมาของศาสดาอาดัม, จึงเป็นการลงมาในฐานะของฐานันดร, กล่าวคือวัตถุประสงค์ของอาดัมที่ลงจากสวรรค์, หมายถึงการขับออกจากสวรรค์ การกีดกันจากการใช้ชีวิตในสวรรค์ (สวรรค์บนพื้นโลก) การใช้ชีวิตบนพื้นโลก การดำเนินชีวิตไปพร้อมกับการเผชิญกับความยากลำบาก ดังที่อัลกุรอานหลายโองการได้กล่าวถึงไว้
คำว่า “ฮุบูต” ตามรากศัพท์หมายถึง การลงมาจากที่สูงยังสถานที่ต่ำกว่าหรือสถานที่แย่กว่า มีความบกพร่องมากกว่า[1]
อัลกุรอานหลายโองการ, กล่าวถึงการเนรเทศอาดัมออกจากสวรรค์และสถานที่พำนักของเขา อยู่ในพื้นพิภพนี้เองโดยใช้คำจำกัดความว่า ขับลงมา :
1. «وقلنا اهبطوا بعضکم لبعض عدو و لکم فی الارض مستقر و متاع الی حین»؛
“และเราได้ประกาศว่า สูเจ้าทั้งหมดจงออกไปจากที่นี่ สูเจ้าต่างเป็นศัตรูกัน และสูเจ้าจะมีที่พักและสิ่งอำนวยประโยชน์จนถึงระยะเวลาหนึ่ง"[2]
2. «قلنا اهبطوا منها جمیعاً فاما یأتینکم منی هدی فمن تبع هدای فلاخوف علیهم ولا هم یحزنون»؛
“เราได้กล่าวว่า เธอทั้งหมดจงออกไปจากที่นี่ และถ้ามีการชี้นำจากฉันมายังสูเจ้า แล้วผู้ใดปฏิบัติตามการชี้นำของฉัน ก็จะไม่มีความหวาดกลัวใด ๆ แก่พวกเขา และพวกเขาจะไม่เศร้าโศก”[3]
3. «قال اهبطوا بعضکم لبعض عدو و لکم فی الارض مستقر و متاع الی حین»؛
“พระองค์ตรัสว่า "พวกเจ้าจงลงกันไป โดยที่พวกเจ้าเป็นศัตรูต่อกัน (ชัยฏอนจะเป็นศัตรูกับเจ้าและเจ้าก็จะเป็นศัตรูกับชัยฎอน) และในแผ่นดินนั้นมีที่พำนัก และสิ่งอำนวยประโยชน์สำหรับพวกเจ้าจนถึงระยะเวลาหนึ่ง"[4]
ด้วยเหตุนี้ บางครั้งคำว่า ฮุบูต ในอัลกุรอานจึงถูกใช้ในหมายว่า หมายถึงถึงการปรากฏหรือการพำนักในสถานที่หนึ่ง (เมือง) ด้วยเช่นกัน. ซึ่งจะเห็นว่าเรื่องราวของศาสดามูซา (อ.) กับวงศ์วานอิสราเอลอัลกุรอานกล่าวว่า :
«... قال أتستبدلون الذی هو ادنی بالذی هو خیر اهبطوا مصراً فان لکم ماسألتم...»؛
"มูซาได้บอกว่า สูเจ้าต้องการเปลี่ยนเอาสิ่งที่เลวกว่า แทนสิ่งที่ดีกว่ากระนั้นหรือ? ถ้าเช่นนั้น (เมื่อเป็นเช่นนี้ จงพยายามขวนขวายในทะเลทราย) จงเข้าเมืองเถิด! แล้วสูเจ้าก็จะได้สิ่งที่สูเจ้าต้องการ" [5]
การวิพากถึงการลงมาของศาสดาอาดัม และความหมายของการลงมานั้น อันดับแรกขึ้นอยู่กับว่า สวรรค์ที่ศาสดาอาดัมอยู่ในตอนนั้นเราจะตีความกันว่าอย่างไร? สวรรค์นั้นเป็นสวรรค์บนโลก (พื้นโลกหรือบัรซัค) หรือว่าสวรรค์ในปรโลก? สิ่งที่แน่ชัดคือมิใช่สวรรค์อมตะนิรันดร์, บนพื้นฐานดังกล่าว คำว่า ฮุบุต ของศาสดาอาดัม, จึงเป็นการลงมาในฐานะของฐานันดร,อย่างไรก็ตามประเด็นดังกล่าวนี้ มีการวิพากในหมู่นักอรรถาธิบายอัลกุรอาน และนักปรัชญา ซึ่งแต่ละฝ่ายได้แสดงทัศนะเอาไว้ ซึ่งในที่นี้จะขอนำเสนอเฉพาะทัศนะของนักอรรถาธิบายอัลกุรอานเท่านั้น :
มัรฮูมเฎาะบัรซีย์ กล่าวไว้ในตัฟซีรมัจญฺมะอุลบะบายว่า : คำว่า ฮุบูต และนุซูล เป็นการเกิดที่คล้ายคลึงกัน (หมายถึงมีความหมายเดียวกัน) กล่าวคือ : เป็นการเคลื่อนจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำกว่า ... และบางครั้งคำว่า ฮุบูต ถูกใช้ในความหมายว่าหมายถึง (การพำนักในสถานที่) ด้วยเช่นกัน เช่น อัลกุรอานโองการหนึ่งกล่าวว่า «اهبطوا مصراً» หมายถึง จงเข้าไปในเมือง[6]
อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอีย์ กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า : ฮุบูต หมายถึงการออกจากสวรรค์และพำนักอยู่บนหน้าพื้นดิน พร้อมกับการใช้ชีวิตบนความยากลำบากบนหน้าแผ่นดิน” แน่นอน โดยทั่วไปโองการที่ว่า
«قلنا اهبطوا بعضکم لبعض عدو و لکم فی الارض مستقر و متاع الی حین»
และโองการที่กล่าวว่า
«قال فیها تحیون و فیها تموتون و منها تخرجون»،
หมายถึงสภาพชีวิตที่แตกต่างกัน ภายหลังจากลงมาแล้วกับสภาพชีวิตก่อนหน้านั้น (ชีวิตในสวรรค์) ชีวิตบนโลกนี้ต้องเผชิญกับความยากลำบากและความทุกข์ต่างๆ นานา, แต่ชีวิตในสวรรค์คือชีวิตแห่งฟากฟ้า ในที่นั้นไม่หิวและไม่กระหาย
อัลลามะฮฺ กล่าวว่า สวรรค์ของอาดัมอยู่ในฟากฟ้า แม้ว่าจะไม่ใช่สวรรค์ในปรโลก หรือสวรรค์นิรันดร์ก็ตาม, (เนื่องจากไม่ว่าบุคคลใดก็ตามได้เข้าไปแล้วจะไม่ออกมาอีก)
ถูกต้อง ในสภาพเช่นนั้นยังคงเหลือคำถามที่ว่า : คำว่าฟากฟ้าหมายถึงอะไร? และสวรรค์แห่งฟากฟ้ามีความหมายว่าอย่างไร?[7]
อัลลามะฮฺได้อธิบายการถูกเนรเทศของชัยฏอนจากหมู่มลาอิกะฮฺ ภายหลังจากไม่ยอมกราบกรานอาดัมในโองการที่ว่า
«قال فاهبط منها فما یکون لک ان تتکبر فیها فاخرج انک من الصاغرین»
แล้วเราได้กล่าวว่า "พระองค์ตรัสว่า จงลงไปจากสวรรค์นั้น ไม่บังควรแก่เจ้าที่จะทำโอหังในนั้น จงออกไป แท้จริง เจ้านั้นอยู่ในหมู่ผู้ต่ำต้อย"[8] อัลลามะฮฺกล่าวว่า :
ประโยคที่กล่าวว่า «فاخرج انک من الصاغرین» จงออกไป แท้จริง เจ้านั้นอยู่ในหมู่ผู้ต่ำต้อย เท่ากับเป็นการเน้นย้ำให้ประโยคที่กล่าวว่า «فاهبط منها» จงออกไปจากสวรรค์นั้น เนื่องจาก ฮุบูต ก็คือการออกไปนั่นเอง แน่นอนคำๆ นี้จะแตกต่างจากคำว่า คุรูจญ์ (ออกไป) เพียงเล็กน้อยเท่านั้นกล่าวคือ คำว่า ฮุบูต หมายถึงการออกไปจากตำแหน่งหรือฐานันดรไปยังตำแหน่งที่ต่ำกว่า, ซึ่งความหมายนี้เป็นเหตุผลที่ยืนยันว่าวัตถุประสงค์ของ ฮุบูต มิได้เป็นการลงมาจากสถานที่สูงกว่า ทว่าหมายถึงเป็นการลงจากตำแหน่งหรือฐานันดรที่สูงส่งกว่า
แน่นอน คำพูดของอัลลามะฮฺเท่ากับเป็นการสนับสนุนคำกล่าวของเรา เนื่องจากเรากล่าวว่า คำสรรพนาม ในคำว่า มินฮา และฟีฮา นั้นย้อนกลับไปหา ตำแหน่งหรือฐานันดร มิใช่ฟากฟ้า หรือสวรรค์แต่อย่างใด
บางทีบางคนอาจจะกล่าวว่า การย้อนกลับของคำสรรพนามอาจย้อนกลับไปที่คำว่า ฟากฟ้า และสวรรค์ จุดประสงค์ของเขาก็คือ ฐานันดรนั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ ความหมายของโองการจึงกล่าวว่า อัลลอฮฺตรัสว่า : มันเป็นความผิดอย่างมหันต์ เมื่อเราได้สั่งให้เจ้ากราบอาดัม แต่เจ้าปฏิเสธไม่ทำ ดังนั้นเจ้าจะต้องออกจากตำแหน่งนั้น และเนื่องจากตำแหน่งของเจ้าคือ การนอบน้อมและการเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่ง ซึ่งเจ้าไม่บังควรที่จะแสดงความยโสโอหัง ดังนั้น เจ้าจงออกไปเสียเถิด เพราะเจ้าเป็นหนึ่งในพวกต่ำต้อย[9]
ในอีกที่หนึ่งอัลลามะฮฺได้ชี้ให้เห็นถึงประเด็นสำคัญโดยกล่าวว่า : คำสั่งให้ลงไป หรือออกไปนี้เป็นคำสั่งในเชิง ตักวีนี (หน้าที่อันเป็นการกำหนด) หลังจากได้พำนักอยู่ในสวรรค์แล้ว แต่ได้เกิดพลาดพลั้งขึ้น ดังนั้น เมื่อฝ่าฝืนคำสั่งห้ามของพระเจ้าและได้เข้าไปใกล้ต้นไม้ต้องห้าม ซึ่งยังไม่มีศาสนาใดๆ และยังไม่มีหน้าทางชัรอีย์แต่อย่างใดทั้งสิ้น ดังนั้น เท่ากับอาดัมไม่ได้กระทำความผิดอันใดทั้งปวง ไม่ได้ฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺ และไม่มีบาปด้วย[10]
คำอธิบายของตัฟซีรอัลมีซาน ต้องกล่าวว่า การห้ามมิให้เข้าใกล้ต้นไม้เฉพาะ เป็นเพียงคำสั่งห้ามในเชิงของการแนะนำว่าอย่าทำเช่นนั้นเลยดีกว่า ประหนึ่งว่าแพทย์ได้กำชับแก่คนป่วยว่า : ถ้ารับประทานอาหารประเภทนี้จะทำให้ไม่สบายเป็นโรคนั้น โรคนี้ได้ ในที่นี้ก็เช่นเดียวกัน อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า เจ้าอย่าเข้าใกล้ต้นไม้นี้นะและอย่าบริโภคผลไม้ดังกล่าวด้วย, เพราะถ้าเจ้าบริโภคผลไม้นั้น ผลลัพธ์คือเจ้าต้องออกจากสวรรค์นี้ไป, ซึ่งจากคำพูดนี้อัลลามะฮฺได้ตีความคำว่า ฮุบูต และวัตถุประสงค์ของ ฮุบูต ได้อย่างชัดเจนที่สุด
อายะตุลลอฮฺ ญะวาดี ออมูลี ยอมรับว่าสถานพำนักของอาดัมและฮะวาคือ สวรรค์แห่งบัรซัค ท่านกล่าวว่า : อาดัมได้ถูกย้ายที่จากสถานที่กว้างและเหนือธรรมชาติ ไปสู่ธรรมชาติที่มีความจำกัด ซึ่งการย้ายลักษณะนี้ก็คือ การลงจากสถานที่ๆ มีอยู่ – ดังเช่นการลงอัลกุรอานจากอัลลอฮฺ (ซบ.) เพื่อชี้นำมวลมนุษย์ – มิใช่เป็นการลงทางกายภายหรือสถานที่แต่อย่างใด นอกจากนั้น การฮุบูต ได้มาพร้อมกับการเตาบะฮฺและการหลีกเลี่ยงของท่านศาสดาอาดัม (อ.) ดังนั้น สิ่งนี้จึงชี้ให้เห็นถึงการลงมาของวิลายะฮฺและคิลาฟะฮฺ[11]
การลงมาของชัยฏอนก็เป็นการลงจากฐานันดรด้วยเช่นกัน, แตกต่างกันตรงที่ว่า การลงมาของอาดัม เป็นการลงมาอย่างมีเกียรติบนหน้าพื้นดิน, กล่าวคือการมาพำนักของอาดัมบนโลกนี้ได้พำนักร่วมกับ
อิบลิส, ส่วนอิบลิสได้ลงมาอย่างไร้เกียรติก่อนหน้านั้นยังพื้นโลก ส่วนอาดัมได้พำนักด้วยการคงเกียรติก่อนหน้านั้นไว้[12]
ดังนั้น ชัยฏอนจึงมีการลงมา 2 ลักษณะ กล่าวคือ :
1. การลงจากตำแหน่งและฐานันดรที่มีอยู่ หลังจากได้แสดงความยโสโอหังโดยไม่ยอมกราบกรานอาดัม ซึ่งสิ่งจำเป็นสำหรับการลงจากสวรรค์ในฐานะที่เป็นสถานพำนักและเป็นเกียรติยศอันสูงส่งของชัยฏอน อัลกุรอานกล่าวว่า
«قال فاهبط منها فما یکون لک ان تتکبر فیها فاخرج انک من الصاغرین».
"พระองค์ตรัสว่า จงลงไปจากสวรรค์นั้น ไม่บังควรแก่เจ้าที่จะทำโอหังในนั้น จงออกไป แท้จริง เจ้านั้นอยู่ในหมู่ผู้ต่ำต้อย"[13]
2.การลงจากสวรรค์ในฐานะที่เป็นสถานที่พำนักชั่วคราว ซึ่งมารได้เข้าไปในสถานที่นั้นเนื่องจากเจตนาร้ายที่มีต่ออาดัมและฮะวา และการลงมาของมารนั้นได้เกิดขึ้นหลังจากได้หยุแหย่อาดัมและฮะวาแล้ว และได้ลงมาพร้อมกับทั้งสองนั้นเอง[14]
ตัฟซีร เนะมูเนะฮ์ ได้ตั้งคำถามว่าสวรรค์ของอาดัมอยู่ที่ไหน? คำตอบกล่าวว่า : แม้ว่าบางคนจะมีความเชื่อว่าสวรรค์แห่งนั้นคือสวรรค์ที่ได้รับการสัญญาเอาไว้ สำหรับผู้ประกอบกรรมดีก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาจากภายนอกแล้วจะพบว่า นั่นมิใช่สวรรค์ที่ได้รับการสัญญาเอาไว้, ทว่าเป็นหนึ่งในส่วนที่อุดมไปด้วยความโปรดปราน เป็นหนึ่งในท้องทุ่งที่เขียวขจีบนโลกนี้, เนื่องจากว่า
หนึ่ง : สวรรค์ที่ได้ถูกสัญญาเอาไว้นั้น, จะอุดมไปด้วยความโปรดปรานนิรันดร ซึ่งอัลกุรอาน หลายโองการได้กล่าวถึงความเป็นอมตะของความโปรดปรานเหล่านั้น, และการที่จะออกไปจากสถานที่นั้นก็ไม่อาจเป็นไปได้.
สอง : อิบลิสคือสิ่งสกปรก และไม่มีศรัทธาไม่มีวันจะได้เข้าสวรรค์อันบรมสุขอย่างแน่นอน, เนื่องจากในสถานที่นั้นจะไม่มีเสียงกระซิบกระซาบของมารร้าย และจะไม่มีการฝ่าฝืนอย่างเด็ดขาด
สาม : มีรายงานจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ที่ได้กล่าวถึงประเด็นนี้โดยตรง เช่น.
รายงานบทหนึ่งกล่าวว่า : รอวี (ผู้รายงานฮะดีซ) ได้ถามท่านอิมามซอดิก (อ.) ถึงสวรรค์ของอาดัม อิมาม (อ.) กล่าวว่า : เป็นหนึ่งในสวนทั้งหลายบนโลกนี้ แสงตะวันและแสงเดือนได้ฉายสาดส่องไปทั่ว, ถ้าหากเป็นสวรรค์อมตะแล้วละก็ อาดัมจะไม่มีวันออกมาจากที่นั้นอย่างเด็ดขาด[15]
จากจุดนี้เองเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าจุดประสงค์ของการ ฮุบูต และการลงมาของอาดัม (อ.) ยังพื้นโลกนั้น เป็นการลงมาด้านตำแหน่งและฐานันดร, มิใช่เป็นการลงมาด้านสถานที่, กล่าวคือได้ลงจากตำแหน่งและฐานันดรอันมีเกียรติยิ่ง และลงจากสถานที่เขียวขจี
อาจเป็นไปได้ว่าสวรรค์ดังกล่าวนั้นอาจเป็นหนึ่งดาวดวงหนึ่งของจักรวาลนี้ก็ได้. แม้ว่าจะไม่ใช่สวรรค์ชั้นอมตะก็ตาม, รายงานบางบทก็ได้บ่งชี้ให้เห็นว่าสวรรค์ดังกล่าวอยู่ในฟากฟ้า, และก็อาจเป็นไปได้ว่าคำว่า สะมาอฺ (ท้องฟ้า) ในรายงานเหล่านี้อาจบ่งชี้ให้เห็น ตำแหน่งอันสูงส่งของท่านศาสดา มิใช่สถานที่เบื้องบนแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามยังมีหลักฐานอีกจำนวนมากมาย บ่งบอกให้เห็นว่าสวรรค์ดังกล่าวนอกเหนือไปจากสวรรค์อันบรมสุข, เนื่องจากสถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่สุดท้ายสำหรับการเดินทางของมนุษย์ และนี่คือการเริ่มต้นเดินทางของอาดัม. และนี่เป็นบทนำของการงานและโครงการต่างๆ ของอาดัม ส่วนสวรรค์คือบทสรุปของการงานและโครงการต่างๆ ของเขา[16]
ตัฟซีรดังกล่าวยังได้กล่าวอีกที่หนึ่งว่า : คำว่า ฮุบูต ตามหลักภาษาแล้วหมายถึงการถูกบังคับให้ลงมาข้างล่าง, เช่น การตกของก้อนหินจากด้านบน แต่เมื่อนำมาใช้กับมนุษย์หมายถึง การถูกขับลงไปข้างล่าง ซึ่งเป็นการใช้ในความหมายที่ไม่แท้จริง
ด้วยการพิจารณาในกรณีที่ว่า อาดัม ได้ถูกสร้างขึ้นมาให้มีชีวิตบนโลกนี้ และสวรรค์ในตรงนั้นก็เป็นเพียงสถานที่เขียวขจี ที่อุดมไปด้วยความโปรดปราน ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นดินบนโลกนี้ ดังการ การลงมา (ฮุบูต) ของอาดัมในที่นี้จึงหมายถึง การลงมาในแง่ของตำแหน่งหรือยศถา มิใช่เป็นการลงมาในแง่ของสถานที่. กล่าวคือ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงลดฐานันดรของเขา เนื่องจากเขาได้ละทิ้งสิ่งที่ดีกว่า จึงถูกกีดกันจากสถานที่ๆ อุดมไปด้วยความโปรดปรานต่างๆ มากมาย และได้เผชิญกับความยากลำบากบนโลกนี้[17] และ[18]
[1] อิลญีล,อัลอัยน์, เล่ม 4, หน้า 44, หน้า 21, ลิซานุลอาหรับ, เล่ม 7, หน้า 412, มัจญฺมะอุลบะยาน, เล่ม 4, หน้า 279
[2] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ, 36.
[3] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ, 38.
[4] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ, 24,
[5] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ, 61.
[6] แน่นอน การขับอาดัมและฮะวาออกจากสวรรค์ และถูกส่งลงมายังโลก มิใช่เป็นการลงโทษอันใดทั้งสิ้น, ด้วยเหตุผลที่ว่าบรรดาศาสดาของพระเจ้าจะไม่กระทำสิ่งที่น่ารังเกียจ หรือการทำความผิดอย่างเด็ดขาด และบุคคลใดก็ตามที่เชื่อว่าศาสดาของพระเจ้าถูกพระองค์ลงโทษเนื่องจากกระทำผิด เท่ากับได้ดูถูกเหยียดหยามสิทธิของพวกเขา มิหนำซ้ำยังเป็นการใส่ร้ายที่เลวร้ายที่สุด ที่มีต่ออัลลอฮฺอีกด้วย ดังที่พระองค์ขับอาดัมออกจากสวรรค์ เนื่องจากอาดัมได้กินผลไม้จากต้นไม้ต้นหนึ่งที่ได้ถูกห้ามเอาไว้, ดังนั้น เหตุการณ์จึงเปลี่ยนไปวิทยปัญญาและการบริบาลของพระเจ้าได้กำหนดว่า ต้องนำเขาไปไว้ยังโลกเพื่อจะได้ปฏิบัติหน้าที่และเผชิญกับความยากลำบากทางโลก, มัจญฺมะอุลบะยาน, เล่ม 1, หน้า 196-197.
[7] อัลมีซาน, เล่ม 1, หน้า 135, มีฉบับแปล, เล่ม 1 หน้า 208.
[8] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ, 13.
[9] มีซานฉบับแปล, เล่ม 8, หน้า 35.
[10] อ้างแล้ว, หน้า 137.
[11] ตัฟซีร ตัสนีม, เล่ม 3 หน้า 383.
[12] ตัฟซีร ตัสนีม, เล่ม 3, หน้า 374, 408, 466
[13] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ, 13.
[14] ตัฟซีร ตัสนีม, เล่ม 3 หน้า 371 – 375.
[15] ตัฟซรี นูรุซซะเกาะลัยนฺ, เล่ม 1, หน้า 62.
[16] ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ, เล่ม 1, หน้า 187.
[17] ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ, เล่ม 13, หน้า 333.
[18] ศึกษาหัวข้อ : สวรรค์ของอาดัม, คำถามที่ 273 (ไซต์ : 112)