การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
16607
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/12/10
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1895 รหัสสำเนา 28159
หมวดหมู่ ปรัชญาอิสลาม
คำถามอย่างย่อ
ความต่างกิจกรรมของวิญญาณขณะนอนหลับ และสลบคืออะไร?
คำถาม
มีความแตกต่างอย่างไร ระหว่างกิจกรรมต่างๆ ของจิตวิญญาณ ขณะนอนหลับและสลบ แล้วทำไมความฝันขณะนอนหลับจึงอยู่ในความทรงจำ แต่ขณะสลบมิได้เป็นเข่นนั้น?
คำตอบโดยสังเขป

รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิตวิญญาณขณะตื่นนอน กับการปฏิสัมพันธ์ขณะนอนหลับนั้นมีความแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ ตามคำสอนของอิสลามจึงได้เรียกการนอนหลับว่า เป็นพี่น้องของความตาย

วิทยาศาสตร์แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลการปฏิสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญญาณกับร่างกายขณะนอนหลับ แต่สามารถค้นพบการเปลี่ยนแปลงและปฏิกิริยาบางอย่างทางร่างกายขณะนอนหลับได้ บนพื้นฐานของการค้นคว้านั้นและการทำสอบพบว่ามนุษย์มีการนอนหลับในสองระดับ ด้วยนามว่า REM และ Non REM ซึ่งทั้งสองมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยปกติแล้วการความฝันที่มักเกิดในระดับของ Non REM เกิดจากการหลับลึกซึ่งจะไม่อยู่ในความทรงจำ แต่เฉพาะการนอนหลับในระ REM เท่านั้นที่จะคงอยู่ในความทรงจำ ส่วนการสลบหมดสติเกิดจากการเบี่ยงเบนของวิญญาณ และเป็นการหลับที่ลุ่มลึกมาก ทำให้เขาไม่มีความทรงจำอันใดหลงเหลืออยู่

คำตอบเชิงรายละเอียด

ภารกิจของจิตวิญญาณเป็นหนึ่งในปัญหาที่สลับซับซ้อนที่สุด ซึ่งจนถึงปัจจุบันความรู้ของมนุษย์ยังไร้ความสามารถในการรับรู้ ด้วยเหตุนี้ ทำให้นักวิชาการมีความคิดเห็นขัดแย้งกัน ในลักษณะที่ว่า นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า มีทัศนะเกี่ยวกับจิตวิญญาณมากเกินพันทัศนะ และยังมีประเด็นอื่นๆ อีกที่เกี่ยวข้อง[1]

อัลกุรอาน ได้เน้นถึงความไร้สามารถของมนุษย์ในการรู้จักวิญญาณ โดยกล่าวว่า »พวกเขาจะถามเจ้า เกี่ยวกับวิญญาณจงกล่าวเถิดว่า รื่องวิญญาณนั้นเป็นไปตามพระบัญชาของพระผู้อภิบาลของฉัน พวกท่านจะไม่ได้รับความรู้ใดๆ เว้นแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น”[2]

จากโองการและรายงาน เข้าใจได้ว่า วิญญาณ เป็นการมีอยู่ที่ต่างไปจากสังขาร เป็นอรูปห่างไกลจากวัตถุและสสาร กล่าวคือ มิได้จำกัดอยู่ในเวลาและสถานที่ ทำนองเดียวกันเป็นที่ชัดเจนว่าปฏิสัมพันธ์ของวิญญาณที่มีต่อร่างกายนั้น ทั้งในตอนตื่นและหลับ การแยกออกของวิญญาณจากร่างกาย กับความตายนั้นมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง อัลกุรอาน กล่าวว่า “อัลลอฮฺ จะทรงปลิดชีวิตเมื่อถึงความตายและผู้ที่ยังไม่ตายโดยสมบูรณ์ขณะนอนหลับ ดังนั้น พระองค์จะปลิดชีวิตผู้ที่พระองค์กำหนดความตายแก่เขาแล้ว และจะทรงยืดชีวิตหนึ่งไปถึงวาระที่กำหนดไว้ แน่นอน ในการนี้ย่อมเป็นสัญญาสำหรับหมู่ชนผู้ใคร่ครวญ”[3]

อัลกุรอาน กล่าวถึงความตายโดยใช้คำว่า “ตะวัฟฟา” หมายถึงการได้รับหลังจากนั้นได้เอาไป อีกนัยหนึ่ง วิญญาณที่อัลลอฮฺ ทรงมอบแก่มนุษย์พระองค์ได้นำกลับคืนไปอีกครั้ง ซึ่งการปลิดดวงวิญญาณนั้นแบ่งออกเป็น 2 ช่วงด้วยกันกล่าวคือ 1.ขั้นตอนที่อ่อนแอคือขณะนอนหลับ 2. ขั้นตอนที่แข็งแรงขณะเสียชีวิต

ไม่ว่าอย่างไรก็ตามทั้งสองขั้นตอนนั้นต้องใคร่ครวญเป็นพิเศษ วิญญาณที่ได้แยกออกจากร่างขณะนอนหลับ เป็นวิญญาณเช่นไร และร่องรอยของวิญญาณนั้นเป็นอย่างไร? ช่วงเวลาที่ดวงวิญญาณถูกปลิด มีสัญลักษณ์อย่างไรบ้าง เนื่องจากขณะนอนหลับนั้นมีการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคลไม่มากเท่าใด เพียงแค่ต่อมที่รับรู้และร่างกายของเขาจะอ่อนแอลงเท่านั้น[4]

ดังที่นักวิทยาศาสตร์และนักสรีระวิทยา ขณะที่ค้นคว้าเกี่ยวกับการนอนหลับและความฝัน ก็ได้พบว่ามนุษย์ขณะนอนหลับนั้นใกล้เคียงกับความตายมากที่สุด ซึ่งการวิจัยของพวกเขาเป็นเพียงด้านร่างกาย และการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเท่านั้น มิใช่มิติของวิญญาณ พวกเขาได้แบ่งการนอนหลับออกเป็น 2 ช่วง ภายใต้หัวข้อว่า การนอนหลับไม่สมบูรณ์ (REM (กับการนอนหลับธรรมดา (Non REM)

ก) การนอนหลับสบาย เรียกว่า “คลื่นสั้น” (Non REM) ในช่วงนี้ สมองของคนเราจะได้รับการผักผ่อน คลื่นสมอง จะสงบและผ่อนคลาย ความเหน็ดเหนื่อยเมื้อยล้าจากการทำงานในตอนกลางจะค่อยๆ หายไปจากร่างกาย การนอนหลับสบายนี้เริ่มต้นตั้งแต่เราได้เข้าไปสู่ที่นอนแบบยาวนาน แต่ค่อยๆ เปลี่ยนไปซึ่ง 90 นาทีต่อมาความนานนั้นจะค่อยๆ ลดลงตามลำดับ

ข) การนอนหลับไม่สมบูรณ์หลับไม่สนิท หรือ(REM (การนอนหลับประเภทนี้จะเกิดการต่อต้านกันในร่างกาย เนื่องสมองคลื่นสมองจะเต้นเร็วเหมือนทำงานอยู่เสมอ มีความกังวลคล้ายคนตื่นนอน ดวงตาทั้งสองปิดอยู่ใต้เปลือกตา เมื่อตื่นขึ้นจะกรอกสายตาไปทางซ้ายและขวาขึ้นบนและลงล่าง แต่ร่างกายไม่ขยับเขยื้อนแต่อย่างใด ซึ่งในความเป็นจริงอวัยวะและกล้ามเนื้อร่างกายเหมือนเป็นอัมพาต เมื่อเราฝันไป ขณะนอนหลับไม่สนิทในช่วงที่สองในระยะ 90 นาที

การนอนหลับธรรมดาหรือหลับสนิทนั้นมีสี่ระดับด้วยกัน ในช่วงนั้นการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว สายตาจะมองไม่เห็น ซึ่งถ้าจะกล่าวโดยรวมแล้วการนอนหลับของคนเราแบ่งออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ซึ่งแต่ละระดับจะมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งคลื่นสมองในแต่ระดับเหล่านี้ ก็จะมีความแตกต่างกันออกไปด้วย ซึ่งแน่นอนว่า ในสองระดับนี้จะไม่มีความสม่ำเสมอในช่วงนอนหลับ[5]

ส่วนการนอนหลับแบบ REM เหมือนคนเป็นอัมพาต เซลล์ประสาทจะเคลื่อนไหว สมองและไขสันหลังจะถูกยับยั้ง ในช่วงเวลานั้นเองสมองของเขาจะทำงานหนัก เลือดและออกซิเจนจะถูกสูบฉีดใช้มาก[6]

ทำนองเดียวกัน บุคคลที่นอนหลับอยู่ในระดับของ การนอนหลับไม่สนิทหรือไม่สมบูรณ์ อวัยวะภายในส่วนมาก เช่น หัวใจ และระบบทางเดินหายใจ การสูบฉีดเลือด การสร้าง การหลั่ง จะมีเพิ่มมากขึ้นเล็กน้อย ฮอร์โมนในร่างการก็จะมีการสูบฉีดมากด้วย (มีความเป็นไปได้ที่จะมีปัญหากับหัวใจ) กระเพาะอาหาร และลำไส้ จะทำงานมากขึ้นด้วย[7]

การนอนหลับไม่สนิทหรือ REM นั้นจะได้เห็นสภาพแปลกๆ เช่น หัวใจจะเต้นไม่เป็นระบบในช่วงนี้ และอาจก่อให้เกิดโรคหัวใจได้ อาจเป็นไปได้ที่ว่าการก่อให้เกิดการโจมตีที่หัวใจ เกณฑ์ความตายในเวลากลางคืน ขณะนอนหลับนั้นมีความเป็นไปได้สูงกว่าตอนกลางวัน[8]

เป็นเพราะเหตุใดที่บางคนมีความทรงจำกับความฝัน

ผลจากการวิจัยพบว่าการทดลองต่างๆ หลังจากตื่นนอน ในระดับของการนอนหลับไม่สนิท เขาจะมีความทรงจำเรื่องความฝัน แต่ในระดับของการนอนหลับสนิทจะไม่มีความทรงจำด้านนี้เลย[9]

บางคนกล่าวว่า มนุษย์บางคนไม่เคยนอนหลับฝันเลย แน่นอนคำพูดเหลานี้ไม่ถูกต้อง แต่สิ่งที่ได้เกิดขึ้นคอ ส่วนมากแล้วจะลืมความฝันของตนเอง ถ้าหากบุคคลหนึ่งขณะนอนหลับ หรือไม่ได้ตื่นหลังจากนั้นโดยพลัน เขาจะไม่นอนหลับฝัน ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่คิดว่านานหลายปีแล้วที่เขาไม่เคยนอนหลับฝันเลย เมื่อเขาไม่เคยนอนหลับไม่สนิท REM และตื่นขึ้นในช่วงนั้น จะพบว่าเรื่องราวจากความฝันต่างๆ เหมือนเป็นความจริงและสร้างความตื่นเต้นแก่เขาเป็นอย่างยิ่ง[10]

เราจะได้ประสบและรู้ถึงสาระของการนอนฝัน ขณะนอนหลับ (หรือหลังจากนั้นเล็กน้อย) เขาได้ตื่นขึ้น ถ้าเขารู้สึกตัวในช่วงนั้น และพยายามทบทวนความฝันของตนเขาก็จะสามารถจดจำความฝันได้บางส่วน และมันจะหายไปอย่างรวดเร็ว เป็นไปได้ที่ว่าเราได้นอนหลับฝันไป แต่เราไม่อาจจดจำสาระของความฝันไว้ได้นั่นเอง[11]

อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปแล้วสามารถกล่าวได้ว่า “การนอนหลับคือ การเบี่ยงเบนวิญญาณไปจากร่างกาย ซึ่งการเบี่ยงเบนนี้บางครั้งหนักหน่วง บางครั้งก็แผ่วเบา และบางครั้งก็นาน และบางครั้งก็สั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาสลบคือ ช่วงเวลาที่วิญญาณเบี่ยงเบนไปจากร่างกาย แม้ว่าช่วงเวลานั้นจะขึ้นอยู่กับประเภทของยาสลบ และการผ่าตัดซึ่งมีความแตกต่างกัน แต่สิ่งสำคัญคือยาสลบซึ่งมีผลอย่างรุนแรงกับร่างกาย ทำให้ปฏิสัมพันธ์ของจิตวิญญาณแยกออกจากร่างกาย แม้ว่าจะมีปฏิสัมพันธ์อยู่บ้างแต่ก็น้อยและอ่อนแอมาก ซึ่งทำให้ร่างกายมีการดำเนินกิจกรรมอ่อนแอ ประหนึ่งว่าจิตวิญญาณปราศจากอุปกรณ์และร่างกาย ด้วยเหตุนี้ จนถึงช่วงเวลาหนึ่งร่างกายไร้ความสามารถอย่างสมบูรณ์ ในการเป็นเครื่องของจิตวิญญาณ ในทางตรงกันข้ามจิตวิญญาณเองก็มีปฏิสัมพันธ์กับร่างกายแบบอ่อนแอที่สุด บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ เหตุผลของการเบี่ยงเบนจิตวิญญาณไปจากร่างกาย หรือการมีปฏิสัมพันธ์อ่อนแอระหว่างจิตวิญญาณกับร่างกาย ในขณะสลบ แม้แต่ได้มีการดำเนินการหนัก เช่น ผ่าตัดร่างกาย แต่เนื่องจากจิตวิญญาณยังมิได้ควบคุมร่างกาย ทำให้เขาไม่ต่นจากสลบ[12]

ผลจากที่กล่าวมา :

1.ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิญญาณกับร่างกาย มิได้มีเพียงช่วงนอนหลับ ทว่าในช่วงตื่นก็ไม่เป็นที่ชัดเจนสำหรับเรา

2.มนุษย์สามารถจดจำความฝันในช่วงการนอนหลับไม่สนิทเท่านั้น เนื่องจากการนอนหลับสนิทจะมีความทรงจำน้อยมาก ดังนั้น การจดจำความฝันในช่วงที่นอนหลับไม่สนิท และตื่นขึ้นโดยฉับพลับหลังจากฝัน

3.สาเหตุที่มนุษย์ ไม่มีความทรงจำความฝันในช่วงของการนอนหลับสนิทได้ เนื่องจากจิตวิญญาณไปเบี่ยงเบนไปจากร่างกายมากกว่าการนอนหลับไม่สนิท ด้วยเหตุนี้เอง ขณะสลบหรือหมดสติ จิตวิญญาณจะเบี่ยงเบนไปจากร่างกายมาก และเมื่อช่วงเวลาผ่านไปนานพอสมควร จิตวิญญาณจะค่อยๆ กลับมาสู่ร่างอีกครั้ง ด้วยเหตุนี้ เขาจึงไม่อาจจดจำความฝันได้

 


[1] มาะการิมชีรอซียฺ, บทเรียนหลักศรัทธาสำหรับเยาวชน หน้า 5

[2] บทอัสรออฺ 85, «وَ يَسْئَلُونَكَ عَنِ الرُّوحِ قُلِ الرُّوحُ مِنْ أَمْرِ رَبِّي وَ ما أُوتيتُمْ مِنَ الْعِلْمِ إِلاَّ قَليلا»

[3] บทซุมัร 42

[4] มิซบาฮฺ ยัซดี มุฮัมมัดตะกี พีชเนยอซฮอเยะ มุดีรียัต อิสลามี หน้า 71, 72

[5] โคดา พะนอฮียฺ มุฮัมมัด กะรีม จิตวิทยาทางสรีระวิทยา หน้า 242.

[6] คาร์ลสันนีล จิตวิทยาทางสรีระวิทยา หน้า 401.

[7] โคดา พะนอฮียฺ มุฮัมมัด กะรีม จิตวิทยาทางสรีระวิทยา หน้า 247

[8] โรเบิร์ต จิตวิทยาทางสรีระวิทยา หน้า 325

[9] โคดา พะนอฮียฺ มุฮัมมัด กะรีม จิตวิทยาทางสรีระวิทยา หน้า 253

[10] คาร์ลสันนีล จิตวิทยาทางสรีระวิทยา หน้า 403

[11] ริต้าแอล และกลุ่มนักเขียน จิตวิทยาฮายล์การ์ด หน้า 372

[12] ซีดี วิชาการพะรีชอน

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เงื่อนไขถูกต้องสำหรับการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เป็นเช่นไร?
    6622 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับศาสนาอื่นที่มองเห็นความต้องการของมนุษย์เพียงด้านเดียวและให้ความสนใจเฉพาะด้านวัตถุปัจจัยหรือด้านจิตวิญาณเพียงอย่างเดียว, อิสลามได้เลือกสายกลาง. เพื่อเป็นครรลองดำเนินชีวิตถูกต้องแก่ประชาชาติโดยให้มนุษย์เลือกใช้ความโปรดปรานต่างๆจากพระเจ้าอย่างถูกต้องและถูกวิธี
  • ทำไม อิบลิส (ซาตาน) จึงถูกสร้างขึ้นจากไฟ ?
    10870 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • มีฮะดีษบทใดบ้างที่กล่าวถึงบุตรซินา?
    8606 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    อิสลามถือว่าบุตรที่เกิดจากการผิดประเวณี (บุตรซินา) มีสถานะเฉพาะตัวซึ่งท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ตามแหล่งอ้างอิงดังต่อไปนี้1. มรดกของบุตรซินาวะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 26,หน้า 274, بَابُ أَنَّ وَلَدَ الزِّنَا لَا یَرِثُهُ الزَّانِی وَ لَا الزَّانِیَةُ وَ لَا مَنْ تَقَرَّبَ بِهِمَا وَ لَا یَرِثُهُمْ بَلْ مِیرَاثُهُ لِوُلْدِهِ أَوْ نَحْوِهِمْ وَ مَعَ عَدَمِهِمْ لِلْإِمَامِ وَ أَنَّ مَنِ ادَّعَى ابْنَ جَارِیَتِهِ وَ لَمْ یُعْلَمْ کَذِبُهُ قُبِلَ قَوْلُهُ وَ لَزِمَهُ
  • ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับจริยศาสตร์คืออะไร? สิ่งไหนครอบคลุมมากกว่ากัน? และการตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์กับจริยธรรมอันไหนครอบคลุมมากกว่า?
    21486 จริยธรรมทฤษฎี 2555/04/07
    คำว่า “อัคลาก” ในแง่ของภาษาเป็นพหูพจน์ของคำว่า “คุลก์” หมายถึง อารมณ์,ธรรมชาติ, อุปนิสัย, และความเคยชิน,ซึ่งครอบคลุมทั้งอุปนิสัยทั้งดีและไม่ดี นักวิชาการด้านจริยศาสตร์,และนักปรัชญาได้ตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์ไว้มากมาย. ซึ่งในหมู่การตีความทั้งหลายเหล่านั้นของนักวิชาการสามารถนำมารวมกัน และกล่าวสรุปได้ดังนี้ว่า “อัคลาก ก็คือคุณภาพทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มีความเหมาะสม หรือพฤติกรรมอันเหมาะสมของมนุษย์ที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวันตน” สำหรับ ศาสตร์ด้านจริยธรรมนั้น มีการตีความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งในคำอธิบายเหล่านั้นเป็นคำพูดของท่าน มัรฮูม นะรอกียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ญามิอุลสะอาดะฮฺว่า : ความรู้ (อิลม์) แห่งจริยศาสตร์หมายถึง การรู้ถึงคุณลักษณะ (ความเคยชิน) ทักษะ พฤติกรรม และการถูกขยายความแห่งคุณลักษณะเหล่านั้น การปฏิบัติตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือให้รอดพ้น หรือการการปล่อยวางคุณลักษณะที่นำไปสู่ความหายนะ” ส่วนการครอบคลุมระหว่างจริยธรรมกับศาสตร์แห่งจริยธรรมนั้น มีคำกล่าวว่า,ความแตกต่างระหว่างทั้งสองมีอยู่เฉพาะในทฤษฎีเท่านั้นเอง ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากจะกล่าวว่า สิ่งไหนมีความครอบคลุมมากกว่ากันจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด ...
  • เพราะอะไรจึงเรียกชาวยะฮูดียฺทั้งหลายว่า ยะฮูด?
    13118 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    เกี่ยวกับสาเหตุที่ตั้งชื่อหมู่ชน อิสราเอล ว่ายะฮูด, มีความเห็นแตกต่างกัน, บางคนกล่าวว่า “ยะฮูด” หมายถึงผู้ที่ได้รับการชี้นำทางแล้ว ซึ่งสาเหตุของมันก็คือ การกลับตัวกลับใจ (เตาบะฮฺ) ของหมู่ชนมูชา (อ.) จากการเคารพสักการลูกวัว[1] บางคนกล่าวว่าสาเหตุของการเรียกหมู่ชนอิสราเอลว่า “ยะฮูด” ก็เนื่องจากบุตรคนที่ 4 ของศาสดายะอฺกูบ ซึ่งมีชื่อว่า “ยะฮูดา” ซึ่งคำว่า “ยะฮูด” ได้ผันมาจากคำว่า “ยะฮูซ” จุดบนตัว ซาล ได้ตัดขาดหายไป[2] [1] ฏอละกอนียฺ, ...
  • ในเมื่อนบีมูซาสังหารชายกิบฏี แล้วจะเชื่อว่าท่านไร้บาปได้อย่างไร?
    9898 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/17
    นบีทุกท่านล้วนเป็นผู้ปราศจากบาปและมีสถานะอันสูงส่งณอัลลอฮ์ (ตามระดับขั้นของแต่ละท่าน) และมีภาระหน้าที่ๆหนักกว่าคนทั่วไปโดยมาตรฐานของบรรดานบีแล้วการให้ความสำคัญต่อสิ่งอื่นนอกเหนืออัลลอฮ์ถือเป็นบาปอันใหญ่หลวงอย่างไรก็ดีนักวิชาการมีคำอธิบายเกี่ยวกับเหตุการณ์สังหารชายชาวกิบฏีหลายทัศนะคำอธิบายที่น่าสนใจที่สุดคือท่านมิได้ทำบาปใดๆเนื่องจากการสังหารชาวกิบฏีในครั้งนั้นไม่เป็นฮะรอมเพราะควรแก่เหตุเพียงแต่ท่านไม่ควรรีบลงมือเช่นนั้นสำนวนในโองการกุรอานก็มิได้ระบุว่าเหตุดังกล่าวคือบาปของท่านดังที่มะอ์มูนถามอิมามริฎอ(อ.)เกี่ยวกับคำพูดของนบีมูซาที่ว่า “นี่คือการกระทำของชัยฏอนมันคือศัตรูผู้ล่อลวงอย่างชัดแจ้ง” หรือที่กล่าวว่า “
  • ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์ (ตะมีม) เป็นใครมาจากใหน?
    6480 تاريخ بزرگان 2555/03/08
    حصين بن نمير ซึ่งออกเสียงว่า “ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์” ก็คือคนเดียวกันกับ “ฮุศ็อยน์ บิน ตะมีม” หนึ่งในแกนนำฝ่ายบนีอุมัยยะฮ์ที่มาจากเผ่า “กินดะฮ์” ซึ่งจงเกลียดจงชังลูกหลานของอิมามอลีอย่างยิ่ง และมีส่วนร่วมในการสังหารฮะบี้บ บิน มะซอฮิร หนึ่งในสาวกของอิมามฮุเซน บิน อลีในวันอาชูรอ ปีฮ.ศ. 61 โดยได้นำศีรษะของฮะบี้บผูกไว้ที่คอของม้าเพื่อนำไปยังราชวังของ “อิบนิ ซิยาด” ...
  • สตรีในทัศนะอิสลามมีสถานภาพสูงส่งเพียงใด ?พวกเธอมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชายหรือ?
    12910 ปรัชญาของศาสนา 2554/10/22
    ในทัศนะอิสลาม, สตรีและบุรุษนั้นมีเป้าหมายร่วมกันนั่นคือ – การพัฒนาตนไปให้ถึงยังสถานอันสูงสุดของความเป็นมนุษย์ – และการไปถึงเป้าหมายดังกล่าว ทั้งสองจึงมีมาตรฐานอันเดียวกัน ซึ่งความต่างเรื่องเพศอันเป็นความจำเป็นของการสร้าง แทบจะไม่มีบทบาทอันใดทั้งสิ้นในการสร้าง หรือเพิ่มเติมศักยภาพและความสามารถดังกล่าวนั้น หรือคุณค่าในทางศาสนาเองก็มิได้มีบทบาทอันใดเช่นกัน ดังนั้น ความสมบูรณ์ของสตรีจึงมิได้อยู่ในฐานะภาพเดียวกันกับความสมบูรณ์ของบุรุษ หรือใช่ว่าบุรุษจะใช้ความเป็นเพศชาย มาควบคุมความเป็นสตรีก็หาไม่ดังนั้น ในทัศนะของอิสลาม :1.สตรี, จึงเป็นสถานที่ปรากฏความสวยงาม ความประณีต และความเงียบสงบ2.สตรี, คือที่มาแห่งความสงบมั่นของบุรุษ, ส่วนบุรุษนั่นเป็นสถานพำนักพักพิง ให้ความรับผิดชอบ และการเป็นผู้นำของสตรี
  • บทบาทของผู้เป็นสื่อในการสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺคืออะไร?
    7805 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    สื่อมีความหมายกว้างมากซึ่งครอบคลุมถึงทุกสิ่งหรือทุกภารกิจอันเป็นสาเหตุนำเราเข้าใกล้ชิดพระผู้อภิบาลได้ถือว่าเป็นสื่อขณะที่โลกนี้วางอยู่บนพื้นฐานของระบบเหตุและผล,สาเหตุและสิ่งเป็นสาเหตุ, ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการชี้นำมนุษย์ให้เจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์, ดังเช่นที่ความต้องการทางธรรมชาติของมนุษย์ทั้งหลายบรรลุและดำเนินไปโดยปัจจัยและสาเหตุทางวัตถุ, ความเมตตาอันล้นเหลือด้านศีลธรรมของพระเจ้า, เฉกเช่นการชี้นำทาง, การอภัยโทษ, การสอนสั่ง, ความใกล้ชิดและความสูงส่งของมนุษย์ก็เช่นเดียวกันวางอยู่บนพื้นฐานของระบบอันเฉพาะเจาะจงซึ่งได้ถูกกำหนดสำหรับมนุษย์แล้วโดยผ่านสาเหตุและปัจจัยต่างๆแน่นอนถ้าปราศจากปัจจัยสื่อและสาเหตุเหล่านี้ไม่อาจเป็นไปได้แน่นอนที่มนุษย์จะได้รับความเมตตาอันล้นเหลือจากพระเจ้าหรือเข้าใกล้ชิดกับพระองค์อัลกุรอานหลายโองการและรายงานจำนวนมากมายได้แนะนำปัจจัยและสาเหตุเหล่านั้นเอาไว้และยืนยันว่าถ้าปราศจากสื่อเหล่านั้นมนุษย์ไม่มีวันใกล้ชิดกับอัลลอฮฺได้อย่างแน่นอน ...
  • “ศอดุกอติฮินนะ” และ “อุญูริฮินนะ” ในกุรอานหมายถึงอะไร?
    7701 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/08
    คำว่า “ศอดุกอติฮินนะ”[1] มีการกล่าวถึงในประเด็นของการแต่งงานถาวร และได้กล่าวว่าสินสอดนั้นเป็น “ศิด้าก”[2] อายะฮ์ที่คำดังกล่าวปรากฏอยู่นั้น บ่งบอกถึงสิทธิที่สตรีจะต้องได้รับ และย้ำว่าสามีจะต้องจ่ายค่าสินสอดของภรรยาของตน[3] นอกจากว่าพวกนางจะยกสินสอดของนางให้กับเขา[4] นอกจากนี้คำนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสัจจะและความจริงใจในการแต่งงานด้วยเช่นกัน[5] ส่วนคำว่า “อุญูริฮินนะ”[6] หมายถึงการแต่งงานชั่วคราวและที่เรียกกันว่า “มุตอะฮ์” นั้นเอง และกล่าวว่า “จะต้องจ่ายมะฮัรแก่สตรีที่ท่านได้แต่งงานชั่วคราวกับนางเนื่องจากสิ่งนี้เป็นวาญิบ”[7] คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60420 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57990 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42522 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39814 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39172 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34282 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28329 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28254 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28186 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26126 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...