การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7160
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/12/26
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1978 รหัสสำเนา 26999
คำถามอย่างย่อ
เราจะมั่นใจได้อย่างไร สำหรับผู้รู้ที่ตักเตือนแนะนำและกล่าวปราศรัย มีความเหมาะสมสำหรับภารกิจนั้น?
คำถาม
เราใช้ชีวิตอยู่ในสังคมที่มีมุสลิมเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ มีอุละมาอฺจำนวนมากมาย ซึ่งพวกเขาส่วนใหญ่ในทัศนะของเราแล้ว ไม่มีความเหมาะสมอันใดเลย ดังนั้น เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า อุละมาอฺผู้รู้ที่ตักเตือนแนะนำและกล่าวปราศรัย มีความเหมาะสมสำหรับภารกิจนั้น ในมุมมองทางความเชื่อของชีอะฮฺ?
คำตอบโดยสังเขป

ตามคำสอนของอิสลามที่มีต่อสาธารณชนคือ จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับความเข้าในคำสอนศาสนา ตนต้องค้นคว้าและวิจัยด้วยตัวเองเกี่ยวกับบทบัญญัติของศาสนา หรือให้เชื่อฟังปฏิบัติตามอุละมาอฺ และเนื่องจากว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถกระทำเช่นนั้นได้ทั้งหมด กล่าวตนเข้าศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอนของศาสนา ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เขาต้องเข้าหาอุละมาอฺในศาสนา อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการรู้จักผู้รู้ที่คู่ควรและเหมาะสมเอาไว้ว่า การได้ที่เราจะสามารถพบอุละมาอฺที่ดี บริสุทธิ์ และมีความเหมาะสมคู่ควร สำหรับชีอะฮฺแล้วง่ายนิดเดียว เช่น กล่าวว่า “ผู้ที่เป็นอุละมาอฺคือ ผู้ที่ปกป้องตัวเอง พิทักษ์ศาสนา เป็นปรปักษ์กับอำนาจฝ่ายต่ำของตน และเชื่อฟังปฏิบัติตามบัญชาของอัลลอฮฺ ฉะนั้น เป็นวาญิบสำหรับบุคคลทั่วไปที่จะต้องปฏิบัติตามเขา

นอกจาคำกล่าวของอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) แล้วยังมีวิทยปัญญาอันล้ำลึกของผู้ศรัทธา ไม่ว่าเขาจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตามเขาจะใช้ประโยชน์จากมัน แม้ว่าจะอยู่ในหมู่ผู้ปฏิเสธศรัทธาก็ตาม

คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อความชัดเจนในคำตอบจำเป็นต้องกล่าวอารัมภ์บทสักสองสามประการที่จำเป็น ดังนี้ :

1.คุณค่าความรู้ของอุละมาอฺ : อัลลอฮฺตรัสถึงคุณค่าความประเสริฐของความรู้ และสถานภาพของผู้รู้เอาไว้ในอัลกุรอานของพระองค์ว่า “จงกล่าวเถิด บรรดาผู้รู้และบรรดาผู้ไม่รู้จะเท่าเทียมกันหรือ[1] แท้จริงบรรดาผู้มีสติปัญญาเท่านั้นที่จะใคร่ครวญ”

อีกที่หนึ่งพระองค์ตรัสว่า “อัลลอฮฺ จะทรงยกย่องเทิดเกียรติบรรดาผู้ศรัทธาในหมู่พวกเจ้า บรรดาผู้ได้รับความรู้หลายชั้น อัลลอฮฺทรงรอบรู้ยิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ”[2]

รายงานฮะดีซเช่นกันได้กล่าวถึงคุณค่าความประเสริฐของความรู้ อุละมาอฺ และจำเป็นที่ประชาชนต้องเข้าหาผู้รู้ เช่น

ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “บุคคลใดก็ตามได้เรียนรู้วิชาการจากผู้รู้ และปฏิบัติตาม เขาจะได้รับความช่วยเหลือ”[3]

ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “การมองใบหน้าของอุละมาอฺคือ อิบาดะฮฺ”[4] อีกที่หนึ่งกล่าวถึงความจำเป็นในการเรียนรู้ว่า “การแสวงหาความรู้เป็นวาญิบสำหรับผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิง”[5]

2.จากอัลกุรอานและรายงานฮะดีซที่กล่าวมา เข้าใจได้ว่าศาสนาอิสลาม คือ ศาสนาอมตะนิรันดรและทันสมัย กฎเกณฑ์ต่างๆ ของศาสนาจำเป็นต้องปฏิบัติกับมวลมนุษย์ชาติ ตราบจนถึงวันแห่งการอวสาน ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์ที่ว่า เขาจะต้องเรียนรู้กฎระเบียบทั้งหมดของอิสลาม เพื่อก้าวไปให้ถึงแหล่งแห่งความปลอดภัย ดังนั้น เขามีทางเลือกไม่เกิน 2 ทาง กล่าวคือตัวของเขาลงทุนลงแรงเรียนรู้และศึกษาวิชาการด้วยตนเอง ค้นคว้าจากตำรับตำราต่างๆ ทางฟิกฮฺ และดึงเอาบทบัญญัติที่ซ่อนอยู่ในนั้นออกมาให้ได้ แต่ในกรณีที่ตนไม่มีความสามารถ หรือมีศักยภาพไม่เพียงพอก็จงสอบถามจากผู้รู้เถิด[6]

3.ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการจำแนกผู้รู้ที่มีความเหมาะสม คู่ควรเอาไว้ ซึ่งจะขอกล่าวถึงสักสองสามประการดังนี้ :

ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) กล่าวถึงโองการนี้ وَيْلٌ لِلَّذِينَ يَكْتُبُونَ الْكِتابَ بِأَيْدِيهِمْ، ثُمَّ يَقُولُونَ هذا مِنْ عِنْدِ اللَّهِ"؛”วามวิบัติจงมีแด่ผู้ที่เขียนคัมภีร์ด้วยมือของพวกเขา แล้วกล่าวว่า สิ่งนี้มาจากอัลลอฮฺ” ท่านอิมามกล่าวว่า “โองการข้างต้นได้ประทานลงมาแก่หมู่ชนยะฮูดียฺ ชายคนหนึ่งได้กล่าวแก่ท่านอิมามซอดิก (อ.) ว่า : ถ้าหากพวกนั้นเป็นสามัญชนในหมู่พวกยะฮูดียฺ ซึ่งได้เรียนรู้คัมภีร์เตารอตจากผู้รู้ของพวกเขา ดังนั้น พวกเขาได้ปฏิบัติตามและยอมรับผู้รู้ ที่ได้รับคำตำหนิประณามได้อย่างไร สามัญชนในหมู่ชาวยะฮูดียฺไม่เหมือนสามัญชนในหมู่พวกเราดอกหรือ ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “สามัญชนในหมู่พวกเราและในหมู่พวกยะฮูดียฺ ด้านหนึ่งเท่าเทียมกัน และอีกด้านหนึ่งแตกต่างกัน ซึ่งด้านที่เหมือนกันคือ อัลลอฮฺทรงประณามสามัญชนในหมู่พวกเราผู้ซึ่งปฏิบัติตามเยี่ยงคนหูหนวกตาบอด ดั่งที่ บรรพชนของพวกเขาได้รับการประณามสาปแช่งมาแล้ว ส่วนในด้านที่แตกต่างกันคือ สามัญชนของพวกยะฮูดียฺ ทั้งๆ ที่รู้ว่าผู้รู้ของตนพูดโกหกอย่างเปิดเผย กินสิ่งฮะรอม และติดสินบน แต่ก็ยังเชื่อพวกเขาเรืองบทบัญญัติของพระเจ้า และมิหนำซ้ำพวกเขายังรู้อีกว่าผู้ใดกระทำเช่นนั้นคือ ผู้ฝ่าฝืน จึงไม่เหมาะสมแต่อย่างใดที่จะให้ผู้รู้ประเภทนี้ เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับอัลลอฮฺ หรือระว่างเราะซูลกับมนุษย์ แต่สามัญชนของยะฮูดียฺ ก็ยังอุตาส่าเชื่อฟังปฏิบัติตาม ผู้รู้ประเภทดังกล่าว,

สามัญชนในหมู่พวกเราก็เหมือนกัน เมื่อเห็นอุละมาอฺที่เผยให้เห็นความอยุติธรรม ความชั่ว ฝ่าฝืน อคติ มีความกระตือรือร้นในทางที่ผิด มีความโลภ และปฏิบัติกิจการที่ฮะรอมอย่างเปิดเผย แล้วยังเชื่อฟังปฏิบัติตามเขาอีก พวกเขาก็ไม่ต่างอะไรไปจากหมู่ชนยะฮูดียฺ ที่อัลลอฮฺ ทรงประณามและสาปแช่งพวกเขา เนื่องจากเชื่อฟังปฏิบัติตามอุละมาอฺที่เป็นฟาซิก

แต่สำหรับอุละมาอฺที่เอาชนะตัวเอง ปกป้องศาสนาของตน เป็นปรปักษ์กับอำนาจฝ่ายต่ำของตน และเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺโดยเคร่งครัด เป็นวาญิบสำหรับสามัญชนที่ต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามเขา แน่นอนว่า คำพูดของท่านอิมาม (อ.) หมายถึง บรรดามัรญิอฺตักลีด หรือฟุเกาะฮาของชีอะฮฺบางคน มิใช่ทุกคนในหมู่พวกเขา ดังนั้น เมื่อเราเห็นผู้รู้กระทำความผิด หรือกระทำการที่น่ารังเกลียด ซึ่งมิได้อยู่ในเกียรติยศของอุละมาอฺอีกต่อไป หรือเลือกทางเดินที่โน้มนำไปสู่ฟะกีฮฺชั้นฟาซิก หรือชั้นเลว ดังนั้น จงอย่าเชื่อฟังเขาโดยเด็ดขา แม้ว่าเขาจะพูดคำพูดของเราก็ตาม และจงอย่าให้เกียรติหรือแสดงความเคารพเขาอีกต่อไป[7]

ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “จงอย่านั่งร่มวงกับอุละมาอฺทุกคน เว้นเสียแต่ว่าผู้รู้คนนั้นได้แนะนำเจ้าจากอันตรายห้าประการ ไปสู่สิ่งที่ให้คุณห้าประการได้แก่ :เปลี่ยนความสงสัยเป็นความเชื่อมั่น, ออกจากความเย่อหยิ่งจองหองไปสู่ความนอบน้อมถ่อมตน, ออกจากความโอ้อวดไปสู่ความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ,ปลดความเป็นศัตรูและความอคติไปสู่ความหวังดี,ออกจากความลุ่มหลงและความโลภทางโลกไปสู่ผู้มีความสำรวมตนจากความชั่ว และไม่ลุ่มหลงโลก[8]

4.ตามคำสอนของอิสลาม, วิทยปัญญาที่ขาดหายไปของผู้ศรัทธา ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดอยู่กับใครก็ตามเขาได้ใช้ประโยชน์จากมัน[9] หมายถึง ผู้ศรัทธาคือผู้ที่แสวงหาความรู้ วิทยปัญญา และการปรับปรุงแก้ไขตนเอง ทุกคำพูดที่วางอยู่บนพื้นฐานของสติปัญญาและวิชาการแล้ว เขาจะยอมรับมัน ดังคำสอนของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่กล่าวว่า “จงอย่ามองว่าใครเป็นผู้พูด แต่จงพิจารณาว่าเขาพูดอะไร”[10] แน่นอน วิธีการนี้จะอยู่ในบรรยากาศที่ท่านรู้และเข้าใจถึงบุคลิกภาพ และความประพฤติของผู้พูดเป็นอย่างดี เนื่องจากถ้าหากผู้พูดมีความประพฤติที่ขัดแย้งกับสิ่งที่พูด แม้ว่าคำพูดของเขาจะวางอยู่บนพื้นฐานของสติปัญญา และเป็นวิชาการก็ตาม มันจะหมดความน่าเชื่อถือและได้รับการตำหนิ แต่ในกรณีเดียวกันสามารถใช้ประโยชน์จากวิทยปัญญาและวิชาการนั้นได้ บนพื้นฐานคำสอนของศาสนา

จากสิ่งที่กล่าวมา เป็นที่ชัดเจนว่าใครคือผู้รู้และเป็นอุละมาอฺในสังคมอิสลาม มิใช่ว่าทุกคนที่ได้ศึกษาศาสนาแล้วจะเป็นอุละมาอฺเสมอไป คำพูดและความประพฤติเช่นใดที่เหมาะสมสำหรับการเป็นอุละมาอฺ

 


[1] บทอัซซุมัร, 9.

[2] บทมุญาดะละฮฺ, 11.

[3] อะวาลี อัลลิอาลี, เล่ม 4, หน้า 77, กาฟียฺ, เล่ม 1, หน้า 46

[4] บิฮารุลอันวาร,เล่ม 1, หน้า 195.

[5] ตันบีฮุลเคาะวาฏิร, เล่ม 2, หน้า 176.

[6] เราะเนมอ ฮะกีกี,อายะตุลลอฮฺ ญะอฺฟัร ซุบฮานี, หน้า 577.

[7] อัลฮะยาต, แปลโดยอะฮฺมัด ออรอม, เล่ม 2, หน้า 571.

[8] บิฮารุลอันวาร,เล่ม 1, หน้า 38.

[9] กาฟียฺ, เล่ม 8, หน้า 167

سَهْلُ بْنُ زِيَادٍ عَنْ بَكْرِ بْنِ صَالِحٍ عَنِ ابْنِ سِنَانٍ عَنْ عَمْرِو بْنِ شِمْرٍ عَنْ جَابِرٍ عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ الْحِكْمَةُ ضَالَّةُ الْمُؤْمِنِ فَحَيْثُمَا وَجَدَ أَحَدُكُمْ ضَالَّتَهُ فَلْيَأْخُذْهَا

[10] "خذ الحكمة ممن أتاك بها و انظر إلى ما قال و لا تنظر إلى من قال". ฆอรเราะรุลฮิกัม, หน้า 58.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • รายงานฮะดีซกล่าวว่า:การสร้างความสันติระหว่างบุคคลสองคน ดีกว่านมาซและศีลอด วัตถุประสงค์คืออะไร ?
    6397 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/17
    เหมือนกับว่าการแปลฮะดีซบทนี้ มีนักแปลบางคนได้แปลไว้แล้ว ซึ่งท่านได้อ้างถึง, ความอะลุ่มอล่วยนั้นเป็นที่ยอมรับ, เนื่องจากเมื่อพิจารณาใจความภาษาอรับของฮะดีซที่ว่า "صَلَاحُ ذَاتِ الْبَيْنِ أَفْضَلُ مِنْ عَامَّةِ الصَّلَاةِ وَ الصِّيَام‏" เป็นที่ชัดเจนว่า เจตนาคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการกล่าวว่า การสร้างความสันติระหว่างคนสองคน, ดีกว่าการนมาซและการถือศีลอดจำนวนมากมาย[1] แต่วัตถุประสงค์มิได้หมายถึง นมาซหรือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี หรือนมาซและศีลอดทั้งหมด เนื่องจากคำว่า “อามะตุน” ในหลายที่ได้ถูกใช้ในความหมายว่า จำนวนมาก เช่น ประโยคที่กล่าวว่า : "عَامَّةُ رِدَائِهِ مَطْرُوحٌ بِالْأَرْض‏" หมายถึงเสื้อผ้าส่วนใหญ่ของเขาลากพื้น[2] ...
  • อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ท่านใดที่อ่านดุอาอฺฟะรัจญฺ?
    9040 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/20
    คำว่า “ฟะรัจญฺ” (อ่านโดยให้ฟาเป็นฟัตตะฮฺ) ตามรากศัพท์หมายถึง »การหลุดพ้นจากความทุกข์โศกและความหม่นหมอง«[1] ตำราฮะดีซจำนวนมากที่กล่าวถึงดุอาอฺ และการกระทำสำหรับการ ฟะรัจญฺ และการขยายภารกิจให้กว้างออกไป ตามความหมายในเชิงภาษาตามกล่าวมา ในที่นี้ จะขอกล่าวสักสามตัวอย่างจากดุอาอฺนามว่า ดุอาอฺฟะรัจญฺ หรือนมาซซึ่งมีนามว่า นมาซฟะรัจญฺ เพื่อเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ : หนึ่ง. ดุอาอฺกล่าวโดย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ชื่อว่าดุอาอฺ ฟะรัจญฺ [2]«اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ يَا اللَّهُ ...
  • อะไรคือมาตรฐานความจำกัดของเสรีภาพในการพูดในมุมมองของอิสลาม
    6015 สิทธิและกฎหมาย 2553/12/22
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • จะเชิญชวนชาวคริสเตียนให้รู้จักอิสลามด้วยรหัสยนิยมอิสลาม(อิรฟาน)ได้อย่างไร?
    10540 รหัสยทฤษฎี 2554/08/14
    คุณสามารถกระทำได้โดยการแนะนำให้รู้จักคุณสมบัติเด่นของอิรฟาน(รหัสยนิยมอิสลาม) และเล่าชีวประวัติของบรรดาอาริฟที่มีชื่อเสียงของอิสลามและสำนักคิดอะฮ์ลุลบัยต์1). อิรฟานแบ่งออกเป็นสองประเภทด้วยกันอิรฟานเชิงทฤษฎีและอิรฟานภาคปฏิบัติเนื้อหาหลักของวิชาอิรฟานเชิงทฤษฎีก็คือก. แจกแจงเกี่ยวกับแก่นเนื้อหาของเตาฮี้ด(เอกานุภาพของอัลลอฮ์)ข. สาธยายคุณลักษณะของมุวะฮ์ฮิด(ผู้ยึดถือเตาฮี้ด)ที่แท้จริงเตาฮี้ดในแง่อิรฟานหมายถึงการเชื่อว่านอกเหนือจากพระองค์แล้วไม่มีสิ่งใดที่“มีอยู่”โดยตนเองทั้งหมดล้วนเป็นภาพลักษณ์ของอัลลอฮ์ในฐานะทรงเป็นสิ่งมีอยู่เพียงหนึ่งเดียวทั้งสิ้น
  • คำว่า “ฮุจซะฮ์”ในฮะดีษของมุฮัมมัด บิน ฮะนะฟียะฮ์ หมายความว่าอย่างไร?
    7248 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/12
    คำว่าฮุจซะฮ์ที่ปรากฏในฮะดีษบทต่างๆแปลว่าการยึดเหนี่ยวสื่อกลางในโลกนี้ระหว่างเรากับอัลลอฮ์ท่านนบีและบรรดาอิมาม(อ.) ซึ่งก็หมายถึงศาสนาจริยธรรมและความประพฤติที่ดีงามหากบุคคลยึดถืออิสลาม
  • การรู้พระเจ้าเป็นไปได้ไหมสำหรับมนุษย์ ขอบเขตและคุณค่าของการรู้จักมีมากน้อยเพียงใด ?
    7167 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    มนุษย์สามารถรู้พระเจ้าด้วยวิธีการที่แตกต่างกันหลายวิธีซึ่งเป็นไปได้ที่การรู้จักอาจผ่านเหตุผล (สติปัญญา)หรือผ่านทางจิตใจบางครั้งอาจเป็นเหมือนปราชญ์ผู้ชาญฉลาดซึ่งรู้จักโดยผ่านทางความรู้ประจักษ์หรือการช่วยเหลือทางความรู้สึกและสิตปัญญาในการพิสูจน์จนกระทั่งเกิดความเข้าใจหรือบางครั้งอาจเป็นเหมือนพวกอาริฟ (บรรลุญาณ),รู้จักเองโดยไม่ผ่านสื่อเป็นความรู้ที่ปรากฏขึ้นเองซึ่งเรียกว่าจิตสำนึกตัวอย่างเช่นการค้นพบการมีอยู่ของไฟบางครั้งผ่านควันไฟที่พวยพุ่งขึ้นทำให้เกิดความเข้าใจหรือเวลาที่มองเห็นไฟทำให้รู้ได้ทันทีหรือเห็นรอยไหม้บนร่างกายก็ทำให้รู้ได้เช่นกันว่ามีไฟ
  • ความตายจะเกิดขึ้นในสวรรค์หรือนรกหรือไม่?
    7073 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/15
    โองการกุรอานฮะดีษและเหตุผลเชิงสติปัญญาพิสูจน์แล้วว่าหลังจากที่มนุษย์ขึ้นสวรรค์และลงนรกแล้วความตายจะไม่มีความหมายอีกต่อไป กุรอานขนานนามวันกิยามะฮ์ว่า “เยามุ้ลคุลู้ด”(วันอันเป็นนิรันดร์) และยังกล่าวถึงคุณลักษณะของชาวสวรรค์ว่า “คอลิดีน”(คงกระพัน) ส่วนฮะดีษก็ระบุว่าจะมีสุรเสียงปรารภกับชาวสวรรค์และชาวนรกว่า “สูเจ้าเป็นอมตะและจะไม่มีความตายอีกต่อไป(یا اهل الجنه خلود فلاموت و یا اهل النار خلود فلا ...
  • สามารถนมาซเต็มในนครกัรบะลาเหมือนกับการนมาซที่นครมักกะฮ์หรือไม่?
    6259 สิทธิและกฎหมาย 2555/06/23
    เกี่ยวกับประเด็นที่ว่าจะต้องนมาซเต็มหรือนมาซย่อในฮะรอมท่านอิมามฮุเซน (อ.) นั้น จะต้องกล่าวว่า ผู้เดินทางสามารถที่จะนมาซเต็มในมัสยิดุลฮะรอม มัสยิดุนนบี และมัสยิดกูฟะฮ์ แต่ถ้าหากต้องการนมาซในสถานที่ที่ตอนแรกไม่ได้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมัสยิด แต่ภายหลังได้เติมให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของมัสยิดนั้น เป็นอิฮ์ติญาฏมุสตะฮับให้นมาซย่อ ถึงแม้ว่า... และผู้เดินทางก็สามารถที่จะนมาซเต็มในฮะรอม และในส่วนต่าง ๆ ของฮะรอมท่านซัยยิดุชชุฮาดาอ์ รวมไปถึงมัสยิดที่เชื่อมต่อกับตัวฮะรอมอีกด้วย[1] แต่ทว่าจะต้องกล่าวเพิ่มเติมใน 2 ประเด็น คือ สามารถเลือกได้ระหว่างการนมาซเต็มหรือนมาซย่อใน 4 สถานที่เหล่านี้ และผู้เดินทางสามารถเลือกระหว่างสองสิ่งนี้ได้ ฮุกุมนี้มีไว้สำหรับเฉพาะฮะรอมอิมามฮุเซน (อ.) ไม่ใช่สำหรับทั้งเมืองกัรบะลา[2]
  • ทำอย่างไรมนุษย์จึงจะกลายเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺ?
    5596 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    คำว่า “มุฮิบบัต” มาจากรากศัพท์คำว่า “ฮุบ” หมายถึงมิตรภาพความรัก. ความรักของอัลลอฮฺ (ซบ.) ที่มีต่อปวงบ่าวข้าทาสบริพารมิได้มีความเข้าใจเหมือนกับความรักสามัญทั่วไป, เนื่องจากความสิ่งจำเป็นของความรักในความหมายของสามัญคือปฏิกิริยาแสดงออกของจิตใจและอารมณ์ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านี้, ทว่าความรักที่อัลลอฮฺทรงมีต่อปวงบ่าว,
  • สาเหตุของการตั้งฉายานามท่านอิมามริฎอ (อ.) ว่าผู้ค้ำประกันกวางคืออะไร?
    8274 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    หนึ่งในฉายานามที่มีชื่อเสียงของท่านอิมามริฎอ (อ.) คือ..”ผู้ค้ำประกันกวาง” เรื่องเล่านี้เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งในหมู่ประชาชน,แต่ไม่ได้ถูกบันทึกอยู่ในตำราอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺแต่อย่างใด, แต่มีเรื่องเล่าที่คล้ายคลึงกับเรื่องนี้อย่ซึ่งมีได้รับการโจษขานกันภายในหมู่ซุนนีย, ถึงปาฏิหาริย์ที่พาดพิงไปยังเราะซูล

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60103 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57510 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42177 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39317 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38925 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33981 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27999 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27929 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27763 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25759 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...