การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8238
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/11
 
รหัสในเว็บไซต์ fa6268 รหัสสำเนา 19621
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
บรรพบุรุษและลูกหลานของมาลิก อัชตัรเป็นผู้ที่ศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าและเชื่อในวิลายัตหรือไม่?
คำถาม
บรรพบุรุษของมาลิกอัชตัรเป็นผู้ที่ศรัทธาต่อพระเจ้าหรือไม่? และบุตรของมาลิกเชื่อฟังอิมามท่านต่อๆมาดังที่บิดาเคยกระทำเป็นเยี่ยงอย่างหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

ตำราประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมิได้กล่าวถึงประเด็นความศรัทธาของบรรพบุรุษของมาลิกอัชตัร ซึ่งมาจากเผ่านะเคาะอ์และมิซฮัจในเยเมนแต่อย่างใด สิ่งที่ประวัติศาสตร์บันทึกไว้คือ เผ่านี้เป็นกลุ่มแรก  ในเยเมนที่เข้ารับอิสลาม 

มาลิก อัชตัรมีบุตรชายสองคน คนหนึ่งมีนามว่า อิสฮาก และอีกคนมีชื่อว่า อิบรอฮีม อิสฮากเป็นหนึ่งในทหารของอิมามฮุเซน (.) ในกัรบาลา และได้เป็นชะฮาดัตเคียงข้างกับซัยยิดุชชุฮาดาอ์ในที่สุด อิบรอฮีมได้เข้าร่วมในการปฏิวัติของมุคตาร ษะเกาะฟี และได้ทำหน้าในฐานะแม่ทัพอย่างเต็มความสามารถ โดยได้ฆ่าบุคคลที่สังหารอิมามฮุเซน (.) เช่น อิบนุซิยาด ประวัติศาสตร์ได้จารึกว่า อิบรอฮีมมีบุตร 5 คน นามว่า นุอ์มาน, มาลิก, มุฮัมหมัด, กอซิม, คูลาน ในจำนวนบุตรทั้งหมดของอิบรอฮีม กอซิมและมุฮัมหมัดได้ผันตนมาเป็นนักรายงานฮาดีษในเวลาต่อมา

คำตอบเชิงรายละเอียด

มาลิก บินฮาริษ บินอับด์ ยะฆูษ บินสะละมะฮ์ บิน เราะบีอะฮ์ บินฮาริษ บินคุซัยมะฮ์ บินสะอ์ด บินมาลิก บินนะเคาะอ์ถือกำเนิดในครอบครัวที่กล้าหาญและมีชาติตระกูลในเผ่านะเคาะอ์และมิซฮัจแห่งเยเมน[1] เขาเกิดในสมัยญาฮิลียะฮ์ก่อนยุคอิสลาม[2] แต่ทว่าตำราประวัติศาสตร์ ตลอดจนฮะดีษต่างๆก็มิได้กล่าวถึงความเชื่อของเขาและเผ่าของเขา และมิได้ระบุว่าเข้ารับอิสลามในช่วงเวลาใด[3] นักเขียนบางคนสันนิษฐานว่าการที่เผ่าใหญ่  ของเยเมน เช่นนะเคาะอ์”, “มิซฮัจ”, “ฮัมดานฯลฯ เริ่มทะยอยกันเข้ารับอิสลามทีละเผ่านั้น เกิดขึ้นหลังจากที่อิมามอาลี (.) ได้เดินทางไปยังดินแดนแห่งนั้นในปีที่ 10 ..โดยคำสั่งของท่านนบี (..) [4]

ครอบครัวชาวอรับดั้งเดิมดังกล่าวได้เดินทางมายังเมืองชามในสมัยการปกครองของอบูบักร และหลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปยังเมืองกูฟะฮ์ และได้ตั้งรกรากที่นั้น และไม่นานก็มีสายตระกูลมากมายที่แตกสาขาจากครอบครัวดังกล่าวในแผ่นดินนี้ ทายาทของมาลิกค่อยๆกลายเป็นสายตระกูลที่กว้างขวาง อาทิเช่นบะนูมาลิก”, “บะนูอิบรอฮีมฯลฯ ปัจจุบันในประเทศอิรักมีครอบครัวที่มีชื่อเสียงเช่นสายตระกูลของ กาชิฟ อัลฆิฏอ และตระกูลของเชครอฎี ซึ่งล้วนสืบเชื่อสายมาจากมาลิกอัชตัรทั้งสิ้น

ในประวัติศาสตร์ได้ระบุถึงบุตรของมาลิกอัชตัรไว้สองคนอิสฮาก และ อิบรอฮีมในกัรบาลา อิสฮากได้เป็นหนึ่งในผู้ที่ช่วยเหลือท่านอิมามฮุเซน (.) เขาออกสู่สนามรบหลังจากฮาบีบ บินมะซาฮิร และในที่สุดได้เป็นชะฮีด[5] อิบรอฮีมบุตรชายอีกคนหนึ่งของมาลิกอัชตัร เป็นชายผู้กล้าหาญและเปรียบดั่งอัศวินในสมรภูมิรบ เขาเป็นชีอะฮ์และรักอะฮ์ลุลบัยต์อย่างมั่นคงมิเสื่อมคลาย ไม่เพียงแต่อิบรอฮีมจะคล้ายคลึงกับบิดาในด้านอุปนิสัย แต่ยังคล้ายในแง่รูปร่างหน้าตาอีกด้วย[6] ซะฮะบีผู้เป็นนักประวัติศาสตร์ของซุนนีได้บันทึกไว้เกี่ยวกับอิบรอฮีมว่าเขาคือวีรบุรุษที่สูงส่งและยิ่งใหญ่เฉกเช่นบิดา[7]

อิบรอฮีมได้เข้าร่วมในการปฏิวัติของมุคตาร ษะเกาะฟี และได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพของกองทัพมุคตาร และด้วยกับความกล้าหาญและความเด็ดเดี่ยวไร้เทียมทาน ทำให้สามารถชนะศัตรูของอะฮ์ลิลบัยต์และสำเร็จโทษผู้ที่ฆ่าอิมามฮุเซน (.) เป็นจำนวนมาก เขาได้ฆ่าอิบนุซิยาดในวันที่ 10 มุฮัรรอม อัลฮะรอม ปี 67 เป็นผลสำเร็จ[8]

ในตำราประวัติศาสตร์ได้บันทึกรายชื่อผู้ที่เป็นลูกหลานของอิบรอฮีมไว้ 5 คนนุอ์มาน, มาลิก, มุฮัมหมัด, กอซิม, คูลานซึ่งในจำนวนนี้ กอซิมและมุฮัมหมัดได้ผันตนมาเป็นนักรายงานฮาดีษในเวลาต่อมา[9]

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ อะมีน, ซัยยิดมุฮ์ซิน, อะอ์ยานุชชีอะฮ์, เล่ม 2, หน้า 200, ดารุตตะอารุฟ ลิลมัทบูอาท, เบรูต, 1406 ..



[1] อัลอะอ์ละมี อัลฮาอิรีย์, มุฮัมหมัดฮุเซน, ดาอิเราะตุลมะอาริฟ อัชชีอะฮ์ อัลอามมะฮ์, เล่ม 16, หน้าที่ 40, พิมพ์ครั้งที่ 2, สถาบันอัลอะอ์ลามีย์ ลิลมัฏบูอาต, เบรุต, 1413, อัลอะมีน, ซัยยิดมุฮ์ซิน, อะอ์ยานุชชีอะฮ์, เล่ม 9, หน้าที่ 38, ดารุตะอารุฟ ลิลมัฏบูอาต, เบรุต, 1403, อัลอัฏฏ้อร, เกส, มาลิก อัลอัชตัร คุเฏาะบุฮูวะอารออุฮู , หน้า 13, พิมพ์ครั้งที่ 1, สถาบันอัลฟิกรุล อิสลามีย์, อิหร่าน, 1412

[2] อัซซัรกุลี, ค็อยรุดดีน, อัลอะอ์ลาม, เล่ม 5, หน้า 259, พิมพ์ครั้งที่ 5, ดารุลอุลูม, เบรุต

[3] ดู: อัลฮะกีม, อัซซัยยิดมูฮัมหมัดริฏอ, มาลิก อัลอัชตัร, หน้า 33, พิมพ์ครั้งที่ 1, อัลมักตะบะฮ์ อัลฮัยดารียะฮ์, กุม, 1427

[4] ดู: มุฮัมมะดี เอชเทฮอรดี, มุฮัมหมัด, มาลิก อัชตัร, หน้า 19, พิมพ์ครั้งที่ 2,สำนักพิมพ์พายอมเม ออซอดี, เตหะราน, 1372

[5] มุฮัมมะดี เอชเทฮอรดี, มุฮัมหมัด, มาลิก อัชตัร, หน้า 188

[6] อัลอะอ์ละมีย์ อัลฮาอิรีย์, มุฮัมหมัด ฮุเซน, ดาอิเราะตุลมะอาริฟ อัชชีอะฮ์ อัลอามมะฮ์, เล่ม 2, หน้า 131

[7] ซะฮะบี, สิยัร อะอ์ลามุนนุบะลา , เล่ม 4, หน้า 35, พิมพ์ครั้งที่ 9, สถาบันอัรริซาละฮ์, เบรุต, 1413

[8] อิบนิอะษี้ร, อัลกามิล ฟิตตารีค, เล่ม 4, หน้า 264, อ้างใน: นะซะรี มุนฟะริด, อาลี, เรื่องราวแห่งกัรบาลา, หน้า 670, พิมพ์ครั้งที่ 6, สำนักพิมพ์สุรูร, กุม, 1379

[9] ดู: มะฮ์มูด, วิเคราะห์ชีวประวัติมาลิกอัชตัร, หนังสือพิมพ์ริซาลัต, ฉบับที่ 6054, 16/10/85

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • “ฟาฏิมะฮ์”แปลว่าอะไร? และเพราะเหตุใดท่านนบีจึงตั้งชื่อนี้ให้บุตรีของท่าน?
    21913 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/06/12
    ไม่จำเป็นที่ชื่อของคนทั่วไปจะต้องสื่อความหมายพิเศษหรือแสดงถึงบุคลิกภาพของเจ้าของชื่อเสมอไปขอเพียงไม่สื่อความหมายถึงการตั้งภาคีหรือขัดต่อศีลธรรมอิสลามก็ถือว่าเพียงพอแต่กรณีปูชณียบุคคลที่ได้รับการขนานนามจากอัลลอฮ์เช่นท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซะฮ์รอ(ส) นามของเธอย่อมมีความหมายสอดคล้องกับคุณลักษณะเฉพาะตัวอย่างแน่นอนนาม “ฟาฏิมะฮ์”มาจากรากศัพท์ “ฟัฏมุน” ...
  • บุคลิกของอุบัย บิน กะอฺบ์?
    8254 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    อุบัย บิน กะอฺบ์ เป็นหนึ่งของสหายที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และเป็นผู้มีเกียรติยิ่งทั้งในหมู่อะฮฺลิซุนนะฮฺ และชีอะฮฺ แหล่งอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺมีบันทึกรายงานฮะดีซจำนวหนึ่ของเขาไว้ด้วย นักปราชญ์ผู้อาวุโสฝ่ายฮะดีซ, ยอมรับว่าเขาเป็นสหายของท่านศาสดา และเป็นหนึ่งในผู้บันทึกวะฮฺยู เมื่อพิจารณารายงานที่มาจากเขา, สามารถเข้าใจได้ถึงความรักที่เขามีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามอะลี (อ.) ...
  • จากเนื้อหาของดุอากุเมล บาปประเภทใดที่จะทำให้ม่านแห่งความละอายถูกฉีกขาด บะลาถาโถมมา และทำให้ดุอาไม่ได้รับการตอบรับ?
    9235 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/02/13
    โดยปกติแล้วบาปทุกประเภทจะเป็นเหตุให้ม่านแห่งความละอายถูกฉีกขาดบาปทุกประเภทสามารถทำให้เกิดบะลายับยั้งการตอบรับดุอาและริซกีของมนุษย์ได้ทั้งสิ้นเหล่านี้เป็นผลกระทบตามธรรมชาติของการทำบาปซึ่งตำราวิชาการของเราก็เน้นย้ำไว้เช่นนี้อย่างไรก็ดีบางฮะดีษเจาะจงถึงผลลัพท์ของบาปบางประเภทเป็นการเฉพาะอาทิเช่นการกดขี่ข่มเหงผู้อื่น
  • ความหมายของเตาฮีดคอลิกียะฮฺคืออะไร?
    8896 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    เตาฮีด หมายถึงความเป็นเอกะหรือเอกเทศ, เตาฮีดคอลิกียะฮฺ หมายถึงจักรวาลและสรรพสิ่งทั้งหลายไม่มีผู้ใดสร้างขึ้นมา นอกจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงพิสุทธิ์ยิ่ง, สรรพสิ่งที่มีอยู่, ร่องรอยและกิจการงานของพวกเขา, แม้แต่มนุษย์และผลงานสร้างสรรค์ทั้งหมดของเขา หรือสิ่งที่พวกเขาค้นพบ โดยความเป็นจริงแล้วและมิได้เป็นการกล่าวอย่างเลยเถิด ทั้งหมดเหล่านั้นคือ สิ่งถูกสร้างของอัลลอฮฺ ทั้งสิ้น ดังนั้น ทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลกใบนี้คือ สิ่งถูกสร้างของพระองค์ทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าบางสิ่งปราศจากสื่อและบางสิ่งมีสื่อในการสร้าง ...
  • ทำไมจึงให้สร้อยนามมะอ์ศูมะฮ์แก่ท่านหญิงฟาติมะฮ์ มะอ์ศูมะฮ์ ท่านดำรงสถานะมะอ์ศูมด้วยหรืออย่างไร?
    6439 شخصیت های شیعی 2555/06/23
    ชื่อของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ คือ“ฟาติมะฮ์” ตำราประวัติศาสตร์ก็ได้เอ่ยถึงท่านโดยใช้นามว่า ฟาติมะฮ์ บินติ มูซา บินญะอ์ฟัร (อ.) ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ไม่ได้เป็นมะอ์ศูมในความหมายทางหลักของศาสตร์แห่งเทววิทยาอิสลามอย่างที่ใช้กับบรรดาศาสดาและบรรดาอะอิมมะฮ์ แต่ทว่าเธอมีความบริสุทธิ์ทางจิตใจและความเพียบพร้อมทางด้านจิตใจที่สูงส่ง อนึ่ง ประเด็นของอิศมะฮ์และความบริสุทธิ์ถือเป็นประเด็นที่ต้องอาศัยการเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น เมื่อคำนึงถึงฮะดีษหลายบทที่ได้กล่าวถึงฐานันดรและความสูงส่งของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์แล้ว สามารถกล่าวได้ว่าท่านนั้นมีความสูงส่งในด้านของอิศมะฮ์ ในระดับสูง – แม้ไม่ถึงขั้นของอะอิมมะฮ์ ...
  • เพราะเหตุอะไร เราจึงซัจญฺดะฮฺในซิยารัตอาชูรอ เพื่อขอบคุณพระเจ้า เนื่องจากโศกนาฏกรรมดังกล่าว?
    20719 زیارت عاشورا و دیگر زیارات 2555/05/20
    การขอบคุณความโปรดปราน เป็นหนึ่งในหัวข้อที่บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงรายงานของเรา ซึ่งมีสถานภาพอันเฉพาะเจาะจงพิเศษ[1] มนุษย์ผู้ศรัทธาและเชื่อมั่นต่อพระเจ้าก็เนื่องจากว่า เขามีการรู้จักที่ถูกต้องเกี่ยวกับพระเจ้า และการสร้างสรรค์ของพระองค์, และทุกสิ่งจากพระเจ้าที่ได้ตกมาถึงพวกเขา, เขาจะขอบคุณ, เนื่องจากมนุษย์เหล่านี้, เขาจะปฏิบัติหน้าที่กำหนดจากพระเจ้าร่วมไปด้วย และเมื่อประสบอุปสรรคปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะดีหรือร้ายแรง เขาต่างแสดงความจำนนต่อพระเจ้า และถือว่าสิ่งเหล่านั้นอยู่ในหนทางนำไปสู่ความสมบูรณ์ ในหนทางของพระเจ้า ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในตอนบ่ายของวันอาชูรอ, ท่านได้อยู่ร่วมกับสหายคนอื่น ร่วมแซ่ซ้องสดุดีต่อพระเจ้า ทั้งที่ทั้งความดีงามและความเลวร้าย ได้ประสบแด่ท่าน : ประโยคที่กล่าวว่า "احمده على السرّاء والضرّاء" โอ้ อัลลอฮฺ ไม่ว่าฉันจะอยู่ในสภาพปกติ หรืออยู่ในสภาพเศร้าหมอง,ฉันก็จะขอขอบคุณพระองค์ เพื่อว่าฉันจะได้รับความสัมฤทธิผล ด้วยการช่วยเหลือของพระองค์ ได้ชะฮีดและอยู่ร่วมกับบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ "الحمد للّه الذی أکرمنا ...
  • อัลลอฮฺคือสาเหตุที่แท้จริงของการอธรรม และผู้อธรรมหรือ?
    10040 جبر یا اختیار و عدالت پروردگار 2555/09/29
    สำหรับคำตอบคำถามเหล่านี้ จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญเหล่านี้ก่อน 1.รากที่มาของการอธรรมของผู้อธรรมทั้งหลาย สามารถสรุปได้ใน 4 ประเด็นดังนี้คือ 1.ความโง่เขลา 2. การเลือกสรร 3. ความประพฤติอันเลวทราม 4. ความอ่อนแอไร้สามารถ, แต่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ไม่ความอธรรมใดๆ ในพระองค์ ด้วยเหตุนี้ สำหรับพระองค์แล้วคือ ผู้ยุติธรรม ซึ่งเป็นหน่วยเนื้อเดียวกันกับความยุติธรรม และเนื่องจากพระองค์ทรงรอบรู้ และทรงยุติธรรม ภารกิจของพระองค์จึงวางอยู่บนความยุติธรรม และวิทยปัญญาเท่านั้น 2.อัลลอฮฺ ทรงสร้างมนุษย์มาในลักษณะเดียวกัน และได้ประทานแนวทางแห่งการชี้นำทางแก่พวกเขา และทั้งหมดมีสิทธิที่จะเลือกสรรด้วยตนเอง ซึ่งมีบางกลุ่มด้วยเหตุผลนานัปการ หรือมีปัจจัยหลายอย่างเป็นแรงจูงใจให้พวกเขาเลือกหนทางหลงผิด และการอธรรม บางกลุ่มพยายามต่อสู้ชนิดขุดรากถอนโคนการอธรรม ที่แฝงเร้นอยู่ในใจของตนเอง พวกเขามุ่งไปสู่หนทางแห่งการชี้นำ และความยุติธรรม พยามประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี ไม่ว่าอย่างไรก็ตามรากที่มาของคำถามเหล่านี้ ล้วนมาจากความคิดที่ว่ามนุษย์ได้รับการบีบบังคับให้เป็นเช่นนั้น หรือที่เรียกว่าพรหมลิขิต ทั้งที่เหตุผลของพรหมลิขิตมิเป็นที่ยอมรับแต่อย่างใด เราเชื่อตามคำสอนของศาสนา ...
  • บทบาทของผู้เป็นสื่อในการสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺคืออะไร?
    6513 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    สื่อมีความหมายกว้างมากซึ่งครอบคลุมถึงทุกสิ่งหรือทุกภารกิจอันเป็นสาเหตุนำเราเข้าใกล้ชิดพระผู้อภิบาลได้ถือว่าเป็นสื่อขณะที่โลกนี้วางอยู่บนพื้นฐานของระบบเหตุและผล,สาเหตุและสิ่งเป็นสาเหตุ, ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการชี้นำมนุษย์ให้เจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์, ดังเช่นที่ความต้องการทางธรรมชาติของมนุษย์ทั้งหลายบรรลุและดำเนินไปโดยปัจจัยและสาเหตุทางวัตถุ, ความเมตตาอันล้นเหลือด้านศีลธรรมของพระเจ้า, เฉกเช่นการชี้นำทาง, การอภัยโทษ, การสอนสั่ง, ความใกล้ชิดและความสูงส่งของมนุษย์ก็เช่นเดียวกันวางอยู่บนพื้นฐานของระบบอันเฉพาะเจาะจงซึ่งได้ถูกกำหนดสำหรับมนุษย์แล้วโดยผ่านสาเหตุและปัจจัยต่างๆแน่นอนถ้าปราศจากปัจจัยสื่อและสาเหตุเหล่านี้ไม่อาจเป็นไปได้แน่นอนที่มนุษย์จะได้รับความเมตตาอันล้นเหลือจากพระเจ้าหรือเข้าใกล้ชิดกับพระองค์อัลกุรอานหลายโองการและรายงานจำนวนมากมายได้แนะนำปัจจัยและสาเหตุเหล่านั้นเอาไว้และยืนยันว่าถ้าปราศจากสื่อเหล่านั้นมนุษย์ไม่มีวันใกล้ชิดกับอัลลอฮฺได้อย่างแน่นอน ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36502 ابلیس و شیطان 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ฮะดีษนบีและอะฮ์ลุลบัยต์ที่เกี่ยวกับความเศร้าหมองและการโอดครวญเทียบกับทัศนะของผู้รู้ชีอะฮ์ อย่างใดสำคัญกว่ากัน?
    6582 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/13
    เกี่ยวกับเรื่องนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงต่อไปนี้:1. ไม่ไช่ว่าฮะดีษทุกบทจะเชื่อถือได้ทั้งหมด2. ต้องคำนึงเสมอว่าปัจจัยกาลเวลาและสถานที่มีอิทธิพลต่อฮุก่ม(กฎศาสนา)3. ในจำนวนฮุก่มทั้งหมดมีฮุก่มวาญิบและฮะรอมเท่านั้นที่มีความอ่อนไหว4. จะต้องพิจารณาแหล่งอ้างอิงให้ถี่ถ้วนตัวอย่างเช่นกรณีของการร้องไห้นั้นยังมีข้อถกเถียงกันได้เพราะแม้ว่าวะฮาบีจะฟัตวาห้ามร้องไห้แก่ผู้ตายแต่ในแง่สติปัญญาแล้วถือว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้นอกจากนี้ฮะดีษทั้งสายซุนหนี่และชีอะฮ์ก็ปรากฏเหตุการณ์ที่ท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)ร้องไห้ให้กับผู้ตายหรือบรรดาชะฮีดเช่นท่านฮัมซะฮ์หรือมารดาท่านนบี(ซ.ล.) ตลอดจนกรณีอื่นๆอีกมาก 5. อุละมาอ์และผู้รู้ระดับสูงสอนว่ามีบางพฤติกรรมที่ผู้ไว้อาลัยไม่ควรกระทำซึ่งบางกรณีอาจทำให้ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮ์ด้วยฉะนั้นจะต้องแยกแยะระหว่างพฤติกรรมที่ผิดหลักศาสนาของผู้คนที่ไม่รู้ศาสนากับคำสอนที่แท้จริงของอิสลามและบรรดาอุละมาอ์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57901 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55405 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40665 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37593 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36502 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32637 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26827 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26385 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26149 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24293 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...