การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
14530
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/28
 
รหัสในเว็บไซต์ fa863 รหัสสำเนา 14813
คำถามอย่างย่อ
“มุอ์มินีน”หมายถึงมุสลิมกลุ่มใด?
คำถาม
มุสลิมกลุ่มใดคือ“มุอ์มินีน”ที่กุรอานกล่าวถึงบ่อยครั้ง?
คำตอบโดยสังเขป

มุอ์มินีน คือกลุ่มผู้ศรัทธา ยอมจำนนต่ออัลลอฮ์ และเชื่อฟังศาสนทูตของพระองค์ทุกท่าน  ซึ่งหากพิจารณาจากการที่อีหม่านของคนเรามีระดับที่ไม่เท่ากัน รวมถึงการที่กุรอานและฮะดีษถือว่าการเชื่อฟังอะฮ์ลุลบัยต์เป็นสัญลักษณ์ของผู้มีอีหม่านระดับสูง และจากการเปรียบเทียบแนวคิดของมัซฮับต่างๆกับเนื้อหาของอัลกุรอาน ก็จะได้ผลลัพธ์ว่า ผู้เจริญรอยตามอะฮ์ลุลบัยต์เท่านั้นที่เป็นผู้ศรัทธาที่มีระดับอีหม่านสูงเด่นตามทัศนะกุรอาน
อย่างไรก็ดี คำว่ามุอ์มินดังที่กล่าวมาข้างต้น ย่อมหมายถึงผู้ที่เชื่อมั่นในอะฮ์ลุลบัยต์ ทั้งในแง่แนวคิดและภาคปฏิบัติอย่างแท้จริง มิไช่บุคคลที่แอบอ้างอย่างฉาบฉวย

อย่างไรก็ดี จำเป็นต้องคำนึงถึงข้อเตือนใจสามประการ คือ.
หนึ่ง: คำว่าอิสลามกินความหมายกว้างกว่าคำว่าอีหม่านโดยที่ฮะดีษบทต่างๆ ได้อธิบายคุณลักษณะของมุอ์มินไว้แล้ว ฉะนั้น แม้ผู้ใดมีคุณสมบัติไม่ครบ ก็มิได้หมายความว่าเขามิไช่มุสลิม

สอง: นับตั้งแต่อิสลามยุคแรกเป็นต้นมา ทุกมัซฮับต่างก็แสดงความรักและให้เกียรติอะฮ์ลุลบัยต์ด้วยกันทั้งสิ้น ผู้รู้ฝ่ายซุนหนี่หลายท่านก็เคยประพันธ์หนังสือมากมายเกี่ยวกับอัตชีวประวัติของอะฮ์ลุลบัยต์  ซึ่งเราจะหยิบยกมานำเสนอในส่วนของรายละเอียดคำตอบ.

สาม: ผู้ที่ถือตามมัซฮับอื่นๆล้วนได้รับเกียรติในสายตาของผู้ยึดถือแนวทางอะฮ์ลุลบัยต์ และมีการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว การศึกษา ความร่วมมือทางการเมืองและสังคม จึงทำให้สามารถพบเห็นผู้รู้ชีอะฮ์บางท่านเคยเล่าเรียนศาสตร์บางแขนงจากผู้รู้ฝ่ายซุนหนี่ ขณะเดียวกัน ในตำราฮะดีษของฝ่ายซุนหนี่ก็มีรายชื่อนักรายงานฮะดีษชีอะฮ์ปรากฏอยู่มากมาย

อย่างไรก็ดี การเสริมสร้างเอกภาพระหว่างพี่น้องมุสลิมถือเป็นวิธีขับเคลื่อนอิสลามสู่ความก้าวหน้า อีกทั้งยังเป็นปราการแข็งแกร่งที่ป้องกันศัตรูอิสลาม จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงเอกภาพมากกว่ารายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ.

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำว่ามุอ์มินมาจากรากศัพท์امنซึ่งมีความหมายว่า การแสดงท่าทียอมรับ, เชื่อมัน และความอุ่นใจ, การยอมสยบ.[1] คำว่ามุอ์มินีนจึงแปลว่า กลุ่มผู้ให้การยอมรับ
ส่วนความหมายในแวดวงอิสลาม คำนี้ใช้กับผู้ศรัทธาในอัลลอฮ์ ภักดีและยอมสยบต่อพระองค์ รวมทั้งเชื่อฟังบรรดาศาสนทูต  ท่านนบีกล่าวว่าอีหม่านประกอบด้วยการบรรลุด้วยใจ เอ่ยด้วยวจี และปฏิบัติด้วยสรรพางค์กาย[2]

สัญลักษณ์ของมุอ์มินที่ระบุในกุรอาน

กุรอานได้ระบุถึงสัญลักษณ์ของผู้ศรัทธาไว้ อาทิเช่น มุอ์มินเป็นผู้ที่ดำรงนมาซด้วยความนอบน้อม บริจาคในหนทางของพระองค์ หวังความสำเร็จจากพระองค์ กำชับกันในความดีและห้ามปรามจากความชั่ว หลีกห่างสิ่งไร้สาระ รักนวลสงวนตน เชื่อฟังและยอมสยบต่ออัลลอฮ์และท่านนบี(..)[3]
สัญลักษณ์ของมุอ์มินที่ระบุในกุรอานมิได้มีเพียงเท่านี้ สามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่า มุอ์มินที่แท้จริงคือผู้ที่สยบต่อคำบัญชาและสารธรรมจากอัลลอฮ์และท่านนบี(..)โดยดุษณี[4] มิไช่ผู้ที่เลือกปฏิบัติศาสนกิจตามใจชอบ ทั้งนี้ฮะดีษต่างๆได้สาธยายคุณสมบัติของมุอ์มินไว้ดังนี้: เป็นผู้สงวนตนจากกิเลศตัณหาแม้ในที่ลับตาคน บริจาคทานทั้งที่ตนเองขัดสน อดทนต่อความทุกข์ยาก ระงับอารมณ์ยามโกรธ รักษาสัจจะ หวังความสำเร็จจากพระองค์ เชื่อฟังคำสั่งและพึงพอใจในลิขิตของพระองค์[5]

อนึ่ง แม้มุอ์มินทุกคนจะมีจุดร่วมเดียวกันในฐานะที่ยอมรับและเชื่อฟังพระองค์ แต่เนื่องจากมนุษย์เรามักจะมีความแตกต่างกันในแง่ของความรู้และความมุ่งมั่น จึงส่งผลให้ระดับอีหม่านของแต่ละคนแตกต่างกัน เป็นเหตุให้ฐานะภาพของมุอ์มินไม่เท่าเทียมกัน[6]ท่านอิมามศอดิก(.)กล่าวว่าอีหม่านเปรียบดั่งบันไดสิบขั้น ซึ่งจะต้องก้าวขึ้นไปละขั้น[7]

การยอมรับในวิลายะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์ก็ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักของอีหม่าน บทสรุปที่ได้จากการศึกษากุรอานและฮะดีษก็คือความเชื่อที่ว่า การเชื่อฟังอะฮ์ลุลบัยต์มีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมอีหม่าน และหากผู้ใดมิได้ดำเนินชีวิตบนแนวทางของอะฮ์ลุลบัยต์ ย่อมถือว่าองค์ประกอบอีหม่านของเขายังบกพร่องอยู่

เราขอพิสูจน์วาทกรรมดังกล่าวโดยอ้างอิงโองการกุรอานและฮะดีษดังต่อไปนี้

1. โองการตับลีฆที่กล่าวว่าโอ้ศาสนทูต จงเผยแผ่สิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าของเจ้าประทานแด่เจ้า และมาตรว่าเจ้าไม่กระทำ (เท่ากับว่า)เจ้ามิได้เผยแผ่ศาสนสาส์นใดๆของพระองค์เลย[8]
อิบนุ อะซากิร(ผู้รู้ที่มีชื่อเสียงฝ่ายซุนหนี่) ได้รายงานจากอิบนุ สะอี้ด คุดรีด้วยสายรายงานศ่อเฮี้ยะห์ว่า โองการนี้ประทานแก่ท่านนบีในวันแห่งเฆาะดีร คุม โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับท่านอลี()[9] จากโองการนี้ทำให้ทราบว่า การเผยแผ่ตำแหน่งวิลายะฮ์ของท่านอิมามอลี(.)ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในภารกิจการเป็นศาสนทูตของท่านนบี(..) นั่นหมายความว่า การยอมรับวิลายะฮ์ของท่านอิมามอลี(.)คือองค์ประกอบหลักของการยอมรับความเป็นศาสดาของท่านนบี(..)

2. โองการวิลายะฮ์ที่กล่าวว่าผู้มีสิทธิเหนือสูเจ้ามีเพียงอัลลอฮ์ และศาสนทูตของพระองค์ และเหล่ามุอ์มินที่ดำรงนมาซและบริจาคท่านแก่ผู้ยากไร้ขณะโค้งรุกู้อ์[10]
ตำราอรรถาธิบายกุรอานและตำราฮะดีษของฝ่ายซุนหนี่ต่างเห็นพ้องกันว่า โองการดังกล่าวประทานลงมาในกรณีของท่านอลี (.)[11]

ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า หากผู้ใดเมินเฉยไม่ยอมรับวิลายะฮ์ของท่านอิมามอลี(.) เท่ากับว่าเขากำลังเมินเฉยต่อคำบัญชาที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของพระองค์เลยทีเดียว โองการข้างต้นระบุชัดเจนว่าวิลายะฮ์ของท่านอิมามอลีอยู่เคียงข้างวิลายะฮ์ของอัลลอฮ์และท่านนบี(..) และในเมื่อความศรัทธาต่ออัลลอฮ์และท่านนบี(..)ถือเป็นองค์ประกอบหลักของอีหม่าน วิลายะฮ์ของท่านอิมามอลี(.)จึงนับเป็นองค์ประกอบหลักของอีหม่านด้วยเช่นกัน ยังมีอีกหลายโองการที่ยืนยันเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่เพื่อไม่ให้คำตอบยืดยาวจึงขอยกมาเพียงสองโองการ

นอกจากนี้ยังมีฮะดีษรายงานจากท่านนบี(..)อีกมากมาย ซึ่งเราขอหยิบยกมาบางส่วนดังต่อไปนี้
1. ฮะดีษษะเกาะลัยน์: ทั้งฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่ต่างรายงานตรงกันว่า ท่านนบี(..)ได้กล่าวว่าฉันขอฝากฝังเกี่ยวกับสองสิ่งสำคัญ ที่หากพวกท่านยึดเหนี่ยวไว้ ก็จะไม่หลงทางอย่างแน่นอน, นั่นคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์ และวงศ์วานของฉัน[12]
ฮะดีษนี้ชี้ชัดว่าหากไม่ยึดเหนี่ยวอะฮ์ลุลบัยต์ ย่อมต้องพบกับความหลงทางอย่างไม่ต้องสงสัย จึงเข้าใจได้ว่าการเชื่อฟังอะฮ์ลุลบัยต์เป็นส่วนสำคัญของอีหม่านอย่างแท้จริง.

2. ฮะดีษสะฟีนะฮ์: ท่านนบีกล่าวว่าอุปมาอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน อุปไมยสำเภาท่านนบีนู้ห์ ผู้ใดเมินเฉยไม่สนใจ เขาจะพินาศในไฟนรก[13] ฮะดีษนี้มีนัยยะชัดเจนว่าการเคารพเชื่อฟังอะฮ์ลุลบัยต์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของแก่นแท้แห่งอีหม่าน.

3. ฮะดีษมันซิละฮ์: ท่านนบีกล่าวแก่อิมามอลีว่าฐานะภาพของเธอที่มีต่อฉัน เทียบเท่าฐานะภาพของนบีฮารูนที่มีต่อนบีมูซา จะต่างกันเพียงว่าหลังจากฉันจะไม่มีศาสดาคนใดอีก[14] เนื้อหาของฮะดีษนี้ระบุชัดเจนว่า นอกจากตำแหน่งศาสดาแล้ว ท่านอิมามอลีมีฐานะภาพคล้ายคลึงกับท่านนบี(..)ทุกอย่าง  ทำให้ทราบว่า การเคารพเชื่อฟังท่านอิมามอลีมีผลโดยตรงต่อระดับอีหม่านในทำนองเดียวกับการเคารพเชื่อฟังท่านนบี(..)

ท่านอิมามบากิร กล่าวว่าอิสลามตั้งอยู่บนพื้นฐานห้าประการ นมาซ, ซะกาต, ศีลอด, ฮัจย์ และวิลายะฮ์ แต่ไม่มีประการใดจะได้รับการเน้นย้ำเชิญชวนเท่ากับวิลายะฮ์[15]
ท่านอิมามศอดิก กล่าวว่าหากแผ่นดินปราศจากอิมามเมื่อใด มันจะพังพินาศในบัดดล[16]
ฮะดีษเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของหลักอิมามะฮ์และวิลายะฮ์(ภาวะผู้นำของอะฮ์ลุลบัยต์)ในการจุดคบเพลิงศรัทธาได้เป็นอย่างดี

จากเนื้อหาที่นำเสนอท่านผู้อ่านทั้งหมด ทำให้ทราบว่า มัซฮับเดียวที่สอดคล้องกับคำสอนของกุรอานอย่างแนบสนิท ทั้งในแง่ของความเชื่อ แนวคิด ทฤษฎีด้านศีลธรรม นิติศาสตร์และวิถีปฏิบัติ ก็คือมัซฮับที่เชื่อฟังอะฮ์ลุลบัยต์ อันเป็นแนวทางที่ทำให้สามารถเข้าใจแก่นแท้ของกุรอานและฮะดีษ ทำให้รอดพ้นความหลงผิดและข้อบิดเบือนคำสอนอิสลาม 

เพื่อพิสูจน์ทัศนคติดังกล่าว ควรคำนึงถึงสองประเด็นต่อไปนี้
หนึ่ง: ทั้งสายชีอะฮ์และซุนหนี่ต่างรายงานฮะดีษจากท่านนบีตรงกันว่า มุสลิมกลุ่มที่จะได้รับชัยชนะก็คือชีอะฮ์[17]
สอง: ควรศึกษาความเชื่อของฝ่ายชีอะฮ์โดยเปรียบเทียบกับกุรอาน
ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ควรศึกษาจากหนังสือที่ผู้รู้ฝ่ายชีอะฮ์เขียนขึ้นเพื่อชี้แจงหลักความเชื่อของตน อาทิเช่น อะกออิดุช ชีอะฮ์ โดย มัรฮูม มุซ็อฟฟัร, บทเรียนอะกออิด โดย อุสตาซ มิศบาฮ์, ประมวลความเชื่อชีอะฮ์ โดย อุสตาซ ซุบฮานี, ชีอะฮ์ โดย อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี, อัลมุรอญะอ้าต และ อัศลุชชีอะฮ์ วะ อุศูลุฮา ...ฯลฯ

อย่างไรก็ดี การที่จะศึกษาความเชื่อของมัซฮับใดอย่างถ่องแท้ ควรพิจารณาดังนี้
1. ควรพิจารณาความเชื่อของมัซฮับที่ต้องการศึกษาจากแหล่งข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับของมัซฮับนั้นๆ ก่อนจะตัดสินว่ามัซฮับดังกล่าวถูกหรือผิด.
2.
ไม่ควรนำระดับความเคร่งครัดของผู้นับถือมัซฮับมาใช้พิจารณาความถูกต้องของเนื้อหามัซฮับได้ ต้องทราบว่า ชีอะฮ์ที่แท้จริงคือผู้ที่เข้าใจและยึดมั่นในความเชื่อของชีอะฮ์  ไม่ว่าจะในแง่ความรู้ ทัศนคติ และแนวพฤติกรรม มิไช่ผู้ที่แอบอ้างอย่างฉาบฉวย หรือผู้ที่เป็นชีอะฮ์ตามผู้อื่น
ทั้งนี้ บรรดาอิมามได้ระบุคุณสมบัติของชีอะฮ์ไว้อย่างชัดเจน ท่านอิมามบากิรกล่าวว่าขอสาบานต่ออัลลอฮ์ บุคคลที่ขาดคุณสมบัติต่อไปนี้หาไช่ชีอะฮ์ของเราไม่ เขาต้องยำเกรงและเชื่อฟังอัลลอฮ์ เห็นได้จากการที่เขานอบน้อมถ่อมตน ซื่อสัตย์ ปรนนิบัติบุพการี ช่วยเหลือเพื่อนบ้านผู้ยากไร้ ผู้มีหนี้สิน และลูกกำพร้า มีสัจจะวาจา อัญเชิญกุรอานเป็นประจำ และไม่เอ่ยวาจาต่อผู้ใดเว้นแต่คำอันไพเราะ[18]

สุดท้ายนี้ไคร่ขอนำเสนอสามประเด็นสำคัญ
1. ความหมายของคำว่าอิสลามย่อมกว้างกว่าคำว่าอีหม่านเสมอ ส่วนคำว่ามุอ์มินเป็นศัพท์ที่ได้รับการอธิบายโดยฮะดีษต่างๆไว้แล้ว ซึ่งหมายความว่าหากผู้ใดยังมีคุณสมบัติไม่ครบตามเงื่อนไข ก็มิได้หมายความว่าเขาพ้นสภาพมุสลิมแต่อย่างใด.
อิมามบากิร(.) กล่าวว่าอีหม่านคือสิ่งที่สถิตอยู่  หัวใจ และจะเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งได้รับการยืนยันโดยการปฎิบัติตามคำบัญชาและยอมสยบต่อพระองค์ ส่วนอิสลามคือสิ่งที่เผยออกทางวาจาหรือพฤติกรรม อันเป็นสิ่งที่ผู้คนจากทุกมัซฮับล้วนให้การยอมรับ ส่งผลให้พวกเขาได้รับความปลอดภัยในชีวิต ได้รับมรดก และสมรสกันอย่างถูกทำนองคลองธรรม ผู้คนจะปฏิบัตินมาซ จ่ายซะกาต ถือศีลอด และประกอบพิธีฮัจย์ โดยสิ่งเหล่านี้จะจำแนกพวกเขาออกจากกุฟร์(มิจฉาทิฐิ) และนำพาสู่อีหม่าน...”[19]

2. ทุกมัซฮับล้วนให้เกียรติอะฮ์ลุลบัยต์ด้วยกันทั้งสิ้น เห็นได้จากการที่มุสลิมจากทุกมัซฮับนับตั้งแต่อิสลามยุคแรกจวบจนปัจจุบัน ล้วนแสดงความรักความนิยมต่ออะฮ์ลุลบัยต์มาโดยตลอด อุละมาอ์ฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บางท่านได้ประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับบรรดาอิมามในวงศ์วานอะฮ์ลุลบัยต์โดยเฉพาะ อาทิเช่น
มะวัดดะตุล กุรบา, มีร ซัยร์ อลี ชาฟิอี.
ยะนาบีอุล มะวัดดะฮ์, เชค สุลัยมาน บัลคี ฮะนะฟี.
มิอ์รอญุล วุศูล ฟี มะอ์ริฟะติ อาลิร เราะซูล, ฮาฟิซ ญะมาลุดดีน ซะร็อนดี.
มะนากิ้บ วะ ฟะฎออิล อะฮ์ลิลบัยต์, ฮาฟิซ อบูนะอีม อิศฟะฮานี.
มะนากิ้บ อะฮ์ลิลบัยต์, อิบนุ มะฆอซิลี ฟะกีฮ์ ชาฟิอี.
ร็อชฟะตุศ ศอดี มิน บะฮ์ริ ฟะฎออิลิ บะนิน นบียิล ฮาดี, ซัยยิด อบีบักร์ บิน ชะฮาดะตุดดีน อะละวี.
อัลอิตฮาฟ บิฮุบบิล อัชรอฟ, เชค อิบดุลลอฮ์ มุฮัมมัด บิน อามิร ชิบรอวี.
อิห์ยาอุล มัยยิต บิฟะฎออิลิ อะฮ์ลิลบัยต์, ญะลาลุดดีน สุยูฏี.
ฟะรออิดุส สิมฏ็อยน์ ฟี ฟะฎออิลิล มุรตะฎอ วัซซะฮ์รอ วัซซิบฏ็อยน์, ชัยคุลอิสลาม อิบรอฮีม บิน มุฮัมมัด เฮาบะนี.
ซะคออิรุล อุกบา, อิมามุล ฮะร็อม ชาฟิอี.
ฟุศูลุล มุฮิมมะฮ์ ฟี มะอ์ริฟะติล อะอิมมะฮ์, นูรุดดีน บิน ศ่อบ้าฆ มาลิกี.
ตัซกิเราะตุล เคาะวาศิล อุมมะฮ์ ฟี มะอ์ริฟะติล อะอิมมะฮ์, ยูซุฟ สิปฏ์ บิน เญาซี.
กิฟายะตุฏฏอลิบ, มุฮัมมัด บิน ยูสุฟ ฆันญี ชาฟิอี.
มะฏอลิบิส สุอ์ลิ ฟี มะนากิบิ อาลิร เราะซูล, มุฮัมมัด บิน ฏ็อลหะฮ์ ชาฟิอี.

3. กลุ่มผู้เจริญรอยตามอะฮลุลบัยต์ต่างให้เกียรติพี่น้องต่างมัซฮับ และมีพฤติกรรมถ้อยทีถ้อยอาศัยกันมาโดยตลอด ไม่ว่าจะในด้านความสัมพันธ์ฉันเครือญาติ การเรียนการสอน ความร่วมมือด้านการเมืองและสังคม. ดังจะเห็นได้จากการที่อุละมาอ์ชีอะฮ์บางท่านเรียนรู้ศาสตร์บางแขนงจากอาจารย์ฝ่ายซุนหนี่ ดังกรณีของชะฮีด เอาวัล(มุฮัมมัด บิน มักกี) ซึ่งกล่าวกันว่าท่านได้รับอนุญาตให้สามารถรายงานฮะดีษจากอุละมาอ์ซุนหนี่กว่าสี่สิบท่านอย่างเป็นทางการ.[20]
ในทางตรงกันข้าม นักรายงานฮะดีษชีอะฮ์ก็มีบทบาทในการสืบทอดฮะดีษตามตำราสำคัญๆของฝ่ายซุนหนี่ไม่น้อย โดยท่านซัยยิด ชะเราะฟุดดีนได้รวบรวมชื่อบุคคลเหล่านี้ไว้ถึงหนึ่งร้อยท่านในหนังสือ อัลมุรอญะอาต.
อย่างไรก็ดี เอกภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันระหว่างพี่น้องมุสลิม ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนประชาคมมุสลิมสู่ความก้าวหน้า และยังเป็นเกราะป้องกันที่แข็งแกร่งที่สุดในการเผชิญหน้ากับศัตรูอิสลาม.

ผู้สนใจสามารถหาอ่านเพิ่มเติมจาก:
คำถาม248, ดัชนี ชีอะฮ์กับสวรรค์
คำถาม283, ดัชนี สวรรค์กับต่างศาสนิก
คำถาม323, ดัชนี ผู้ผิดกับการรอดพ้นจากนรก.


[1] มุอ์ญัม มะกอยีซุล ลุเฆาะฮ์, อักร่อบุลมะวาริด, พจนานุกรมรวม, คำว่าامن

[2] กันซุ้ล อุมม้าล, หน้า 95.

[3] อัลอันฟาล, 2-4 และ อัตเตาบะฮ์, 71 และ อัลมุอ์มินูน, 1-11.

[4] อันนิซาอ์, 65, 150.

[5] อุศู้ล อัลกาฟี, เล่ม 2, หน้า 71, 232.

[6] อัลอันฟาล, 4 และ อัลมุญาดะละฮ์, 11 และ อัตเตาบะฮ์, 20.

[7] อุศู้ล อัลกาฟี, เล่ม 2, หน้า 45.

[8] อัลมาอิดะฮ์, 67.

[9] อิบนุ อะซากิร, ตัรญิมะฮ์ อิมามอลี(), เล่ม 2, หน้า 86.

[10] อัลมาอิดะฮ์, 55.

[11] วาฮิดี, อัสบาบุ้นนุซูล,หน้า 133 และ อัลกัชช้าฟ เล่ม 1, หน้า 649. และ อบูบักร์ ญัศศอศ, อะห์กามุ้ลกุรอาน, เล่ม 2, หน้า 446.

[12] เศาะฮี้ห์ ติรมิซี, เล่ม 5, หน้า 621.

[13] อิบนิ อะษี้ร, นิฮายะฮ์, รากศัพท์ زخ

[14] เศาะฮี้ห์ ติรมิซี, เล่ม 5, หน้า 641.

[15] อัลกาฟี, เล่ม 2,หน้า 18.

[16] อ้างแล้ว, เล่ม 1,หน้า 179.

[17] ดุรรุ้ล มันษู้ร, เล่ม 6,อธิบายโองการ7 ซูเราะฮ์อัลบัยยินะฮ์ และ อัลมีซาน, เล่ม 2,หน้า 341.

[18] ตุฮะฟุ้ล อุกู้ล, หน้า 338.

[19] عِدَّةٌ مِنْ أَصْحَابِنَا عَنْ سَهْلِ بْنِ زِیَادٍ وَ مُحَمَّدُ بْنُ یَحْیَى عَنْ أَحْمَدَ بْنِ مُحَمَّدٍ جَمِیعاً عَنِ ابْنِ مَحْبُوبٍ عَنْ عَلِیِّ بْنِ رِئَابٍ عَنْ حُمْرَانَ بْنِ أَعْیَنَ عَنْ أَبِی جَعْفَرٍ ع قَالَ سَمِعْتُهُ یَقُولُ الْإِیمَانُ مَا اسْتَقَرَّ فِی الْقَلْبِ وَ أَفْضَى بِهِ إِلَى اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ وَ صَدَّقَهُ الْعَمَلُ بِالطَّاعَةِ لِلَّهِ وَ التَّسْلِیمِ لِأَمْرِهِ وَ الْإِسْلَامُ مَا ظَهَرَ مِنْ قَوْلٍ أَوْ فِعْلٍ وَ هُوَ الَّذِی عَلَیْهِ جَمَاعَةُ النَّاسِ مِنَ الْفِرَقِ کُلِّهَا وَ بِهِ حُقِنَتِ الدِّمَاءُ وَ عَلَیْهِ جَرَتِ الْمَوَارِیثُ وَ جَازَ النِّکَاحُ وَ اجْتَمَعُوا عَلَى الصَّلَاةِ وَ الزَّکَاةِ وَ الصَّوْمِ وَ الْحَجِّ فَخَرَجُوا بِذَلِکَ مِنَ الْکُفْرِ وَ أُضِیفُوا إِلَى الْإِیمَانِ وَ الْإِسْلَامُ لَا یَشْرَکُ الْإِیمَانَ وَ الْإِیمَانُ یَشْرَکُ الْإِسْلَامَ وَ هُمَا فِی الْقَوْلِ وَ الْفِعْلِ یَجْتَمِعَانِ کَمَا صَارَتِ الْکَعْبَةُ فِی الْمَسْجِدِ وَ الْمَسْجِدُ لَیْسَ فِی الْکَعْبَةِ وَ کَذَلِکَ الْإِیمَانُ یَشْرَکُ الْإِسْلَامَ وَ الْإِسْلَامُ لَا یَشْرَکُ الْإِیمَانَ وَ قَدْ قَالَ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ قالَتِ الْأَعْرابُ آمَنَّا قُلْ لَمْ تُؤْمِنُوا وَ لکِنْ قُولُوا أَسْلَمْنا وَ لَمَّا یَدْخُلِ الْإِیمانُ فِی قُلُوبِکُمْ فَقَوْلُ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ أَصْدَقُ الْقَوْلِ قُلْتُ فَهَلْ لِلْمُؤْمِنِ فَضْلٌ عَلَى الْمُسْلِمِ فِی شَیْ‏ءٍ مِنَ الْفَضَائِلِ وَ الْأَحْکَامِ وَ الْحُدُودِ وَ غَیْرِ ذَلِکَ فَقَالَ لَا هُمَا یَجْرِیَانِ فِی ذَلِکَ مَجْرَى وَاحِدٍ وَ لَکِنْ لِلْمُؤْمِنِ فَضْلٌ عَلَى الْمُسْلِمอัลกาฟี, เล่ม 2,หน้า 26.

[20] อัลลุมอะฮ์ อัดดิมัชกียะฮ์, หน้า 16.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทั้งที่ซะกาตไม่วาญิบสำหรับท่านอะลี (อ.) แล้วเพราะเหตุใดท่านต้องบริจาคซะกาตขณะนมาซด้วย ?
    6961 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    ท่านอิมามอะลี (อ.) ไม่เคยเป็นคนจนหรือคนอนาถาจนไม่มีจะกินแต่อย่างใดแต่ท่านเป็นคนมีความพยายามสูงและไม่เคยหยุดนิ่ง, ท่านได้รับทรัพย์สินจำนวนมากมายแต่ทรัพย์ทั้งหมดเหล่านั้นท่านได้บริจาคไปในหนทางของอัลลอฮฺ (ซบ.), โดยไม่เหลือทรัพย์ส่วนใดไว้สำหรับตนเอง,ดังที่โองการต่างๆได้กล่าวถึงการบริจาคซะกาตของท่านไว้มากมายซึ่งหนึ่งในโองการเหล่านั้นก็คือโองการที่กำลังกล่าวถึงนอกจากนั้นแล้ววัฒนธรรมของอัลกุรอานยังได้กล่าวถึงการบริจาคที่เป็นมุสตะฮับ (สมัครใจ)
  • กรุณาไขเคล็ดลับวิธีบำรุงสมองทั้งในแง่รูปธรรมและนามธรรมตามที่ปรากฏในฮะดีษ
    7360 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ปัจจัยที่มีส่วนช่วยบำรุงสมองและเสริมความจำมีอยู่หลายประเภทอาทิเช่น1. ปัจจัยด้านจิตวิญญาณก. การรำลึกถึงอัลลอฮ์(ด้วยการปฏิบัติศาสนกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนมาซตรงเวลา)ข. อ่านบทดุอาที่มีผลต่อการเสริมความจำอย่างเช่นดุอาที่นบี(ซ.ล.)สอนแก่ท่านอิมามอลี(อ.)[i]سبحان من لایعتدى على اهل مملکته، سبحان من لایأخذ اهل الارض بالوان العذاب، سبحان الرؤوف الرحیم، اللهم اجعل لى فى قلبى نورا و بصرا و فهما و علما انک على کل ...
  • ทำไมอิมามฮุซัยน (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนในสมัยของมุอาวิยะฮ ?
    7508 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/03/08
    สำหรับคำตอบที่ว่าเพราะเหตุใดท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนต่อสู้ในสมัยมุอาวิยะฮฺนั้นสามารถกล่าวได้ว่าอาจเป็นเพราะประเด็นเหล่านี้ :1. เป็นเพราะการให้เกียรติและเคารพในสนธิสัญญาของพี่ชายและอิมามของท่าน
  • มลาอิกะฮ์สร้างมาจากรัศมีของบรรดาอิมาม และมีหน้าที่ร่ำไห้แด่อิมามฮุเซน(อ.)กระนั้นหรือ?
    8981 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/19
    1. ความเชื่อที่ว่ามลาอิกะฮ์สร้างขึ้นจากรัศมีนั้นได้รับการยืนยันจากฮะดีษหลายบทที่รายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่ตำราชีอะฮ์บางเล่มระบุถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตต่างๆรวมถึงมลาอิกะฮ์จากรัศมีของปูชนียบุคคลอย่างท่านนบี(ซ.ล.) หรือบรรดาอิมามหรือบุคคลอื่นๆดังที่ตำราของซุนหนี่เองก็เล่าว่าเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกและคนอื่นๆถือกำเนิดจากรัศมีของท่านนบี(ซ.ล) การที่มีฮะดีษเหล่านี้ปรากฏอยู่ในตำรับตำราของแต่ละฝ่ายมิได้หมายความว่าทุกคนจะต้องคล้อยตามฮะดีษเหล่านี้เสมอไป อย่างไรก็ดีตำราฮะดีษชีอะฮ์ได้รายงานฮะดีษชุด "ฏีนัต" ไว้ซึ่งไม่อาจจะมองข้ามได้กล่าวโดยสรุปคือหากพบว่ามุสลิมแต่ละฝ่ายอาจมีทัศนะแตกต่างกันบ้างในเรื่องการสรรสร้างของพระองค์
  • ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ให้บัยอัตแก่อบูบักรฺ อุมัร และอุสมานหรือไม่? เพราะอะไร?
    10155 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/07/16
    ประการแรก: ท่านอิมามอะลี (อ.) และบรรดาสหายกลุ่มหนึ่งของท่าน พร้อมกับสหายของท่านศาสดา มิได้ให้บัยอัตกับท่านอบูบักรฺตั้งแต่แรก แต่ต่อมาคนกลุ่มนี้ได้ให้บัยอัต ก็เนื่องจากว่าต้องการปกปักรักษาอิสลาม และความสงบสันติในรัฐอิสลาม ประการที่สอง: ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นไม่อาจคลี่คลายให้เสร็จสิ้นได้ด้วยคมดาบ หรือความกล้าหาญเพียงอย่างเดียว และมิได้หมายความว่าทุกที่จะสามารถใช้กำลังได้ทั้งหมด เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้มีสติปัญญา และฉลาดหลักแหลม สามารถใช้เครื่องมืออันเฉพาะแก้ไขปัญหาได้ ประการที่สาม: ถ้าหากท่านอิมามยอมให้บัยอัตกับบางคน เพื่อปกป้องรักษาสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่า เช่น ปกป้องศาสนาของพระเจ้า และความยากลำบากของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) นั่นมิได้หมายความว่า ท่านเกรงกลัวอำนาจของพวกเขา และต้องการรักษาชีวิตของตนให้รอดปลอดภัย หรือท่านมีอำนาจต่อรองในตำแหน่งอิมามะฮฺและการเป็นผู้นำน้อยกว่าพวกเขาแต่อย่างใด ประการที่สี่ : จากประวัติศาสตร์และคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) เข้าใจได้ว่า ท่านอิมาม ได้พยายามคัดค้านและท้วงติงพวกเขาหลายต่อหลายครั้ง เกี่ยวกับสถานภาพตามความจริง ในช่วงการปกครองของพวกเขา แต่ในที่สุดท่านได้พยายามปกปักรักษาอิสลามด้วยการนิ่งเงียบ และช่วยเหลืองานรัฐอิสลามเมื่อเผชิญหน้ากับศัตรู ...
  • การนอนในศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นบริเวณฮะร็อมมีฮุกุมอย่างไร?
    5350 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ฮะร็อม(บริเวณสุสาน)ของบรรดาอิมามตลอดจนศาสนสถานถือเป็นสถานที่ที่มุสลิมให้เกียรติมาโดยตลอดเนื่องจากการแสดงความเคารพสถานที่เหล่านี้ถือเป็นการให้เกียรติบรรดาอิมามและบุคคลสำคัญต่างๆที่ฝังอยู่ณสุสานดังกล่าวฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ส่อไปในทางลบหลู่ดูหมิ่นสถานที่เหล่านี้เท่าที่จะทำได้แต่ทว่าในแง่ของฟิกฮ์การนอนในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นมัสยิด, ฮะร็อมฯลฯถือว่าไม่เป็นที่ต้องห้ามนอกจากคนทั่วไปจะมองว่าการนอนในสถานที่ดังกล่าวเป็นการไม่ให้เกียรติสถานที่ซึ่งในกรณีนี้เนื่องจากวิถีประชาเห็นว่าการกระทำนี้เป็นสิ่งที่ไม่บังควรก็จะถึอว่าไม่ควรกระทำไม่ว่าสถานที่เหล่านั้นจะเป็นมัสยิดหรือฮะร็อมของบรรดาอาอิมมะฮ์ฯลฯก็ตาม
  • มีภัยคุกคามใดที่อาจจะเกิดขึ้นกับสาธารณรับอิสลาม?
    5365 ระบบต่างๆ 2554/11/21
    เพื่อที่จะทราบถึงภัยคุกคามของสิ่งๆหนึ่งก่อนอื่นเราจะต้องทำความรู้จักกับมูลเหตุต่างๆที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น (ปัจจัยกำเนิด) และสิ่งที่จะทำให้สิ่งนั้นดำรงอยู่ (ปัจจัยพิทักษ์) เสียก่อนเนื่องจากภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็คือภัยที่จะคุกคามสองปัจจัยดังกล่าวนี่เองปัจจัยกำเนิดและพิทักษ์ของสาธารณรัฐอิสลามก็คือ 1. หลักคำสอนที่สูงส่งของอิสลาม (การปฏิบัติตามคำสั่งและหลักคำสอนของอิสลาม) 2. การมีผู้นำการปฏิวัติที่รอบรู้ 3. ความเป็นปึกแผ่นของประชาชนและการเชื่อฟังผู้นำหากปัจจัยดังกล่าวถูกคุกคามสาธารณรัฐอิสลามก็จะตกอยู่ในอันตรายฉะนั้นประชาชนเจ้าหน้าที่รัฐ
  • เนื่องจากการเสริมสวยใบหน้า ดังนั้น กรณีนี้สามารถทำตะยัมมุมแทนวุฎูอฺได้หรือไม่?
    9265 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    ทัศนะบรรดามัรญิอฺ ตักลีดเห็นพร้องต้องกันว่า สิ่งที่กล่าวมาในคำถามนั้นไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้าง เพื่อละทิ้งวุฎูอฺหรือฆุซลฺ และทำตะยัมมุมแทนได้เด็ดขาด[1] กรณีลักษณะเช่นนี้ ผู้ที่มีความสำรวมตนส่วนใหญ่จะวางแผนไว้ก่อน เพื่อไม่ให้โปรแกรมเสริมสวยมามีผลกระทบกับการปฏิบัติสิ่งวาญิบของตน ซึ่งส่วนใหญ่จะทราบเป็นอย่างดีว่าเวลาที่ใช้ในการเสริมสวยแต่ละครั้งจะไม่เกิน 6 ชม. ดังนั้น ช่วงเวลาซุฮฺรฺ เจ้าสาวสามารถทำวุฏูอฺและนะมาซในร้านเสริมสวย หลังจากนั้นค่อยเริ่มแต่งหน้าเสริมสวย จนกว่าจะถึงอะซานมัฆริบให้รักษาวุฏูอฺเอาไว้ และเมื่ออะซานมัฆริบดังขึ้น เธอสามารถทำนะมาซมัฆริบและอิชาอฺได้ทันที ดังนั้น ถ้าหากมีการจัดระเบียบเวลาให้เรียบร้อยก่อน เธอก็สามารถทำได้ตามกล่าวมาอย่างลงตัว อย่างไรก็ตามเจ้าสาวต้องรู้ว่าเครื่องสำอางที่เธอแต่งหน้าไว้นั้น ต้องสามารถล้างน้ำออกได้อย่างง่ายดาย และต้องไม่เป็นอุปสรรคกีดกั้นน้ำสำหรับการทำวุฎูอฺเพื่อนะมาซซุบฮฺในวันใหม่ [1] มะการิมชีรอซียฺ,นาซิร,อะฮฺกามบานูวอน, ...
  • การเข้าร่วมงานแต่งงานที่มีจำนวนแขกจำ ซึ่งกำหนดไว้ก่อนแล้วล่วงหนา แต่แขกที่มาไม่มีใครคุมผ้าเรียบร้อยสักคนเมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว กรณีนี้กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวไว้อย่างไร (และลักษณะงานเช่นนี้ โดยทั่วไปเจ้าบ่าวและมะฮาริมที่เข้าร่วมงานแต่ง ตลอดงานนิกาฮฺจะแยกระหว่างชายหญิง)
    4701 สิทธิและกฎหมาย 2562/06/15
    เริ่มแรกเกี่ยวกับคำถามข้างต้น ขอกล่าวถึงทัศนะของมัรญิอฺตักลีด 1.งานสมรสตามประเพณีอิสลาม คือการร่วมแสดงความสุข รื่นเริง โดยปราศจากการกระทำความผิดบาปต่าง ๆ หรือภารกิจต่าง ๆ ที่ฮะรอม และมารยาทอันไม่ดีไม่งาม ที่มิใช่วิสัยของมนุษย์[1] 2.เมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว หรือนามะฮฺรัมคนอื่น จำเป็นต้องรักษาฮิญาบ อย่างเคร่งครัด ซึ่งตรงนี้ไม่แตกต่างกันระหว่างงานสมรส และงานชุมนุมอย่างอื่น[2] 3.การเข้าร่วมงานสมรส หรืองานสังสรรค์อื่นๆ ซึ่งภายในงานนั้นมิได้เอาใจใส่สิ่งเป็นวาญิบในอิสลาม (เช่น แขกที่มาอยู่รวมกันทั้งชายและหญิง มีการเต้นรำ หรือเปิดเพลงที่ฮะรอม อย่างเปิดเผย) ถือว่าฮะรอม[3] 4. ถ้างานสมรสมิได้เป็นไปในลักษณะที่ว่า เป็นงานสังสรรค์แบบไร้สาระ ฮะรอม เป็นบาป หรือการปรากฏตัวในงานเหล่านั้น มิได้เป็นการสนับสนุนการก่อความเสียหาย ซึ่งการเข้าร่วมในงานสังสรรค์เช่นนั้น โดยทั่วไปไม่ถือว่าเป็นการสนับสนุน ถือว่าไม่เป็นไร
  • แถวนมาซญะมาอะฮฺควรตั้งอย่างไร? การเคลื่อนในนมาซทำให้บาฎิลหรือไม่?
    6811 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    เกี่ยวกับคำถามของท่านในเรื่องการจัดแถวนมาซญะมาอะฮฺมีกล่าวไว้แล้วในหนังสือฟิกฮต่างๆ :1. มะอฺมูมต้องไม่ยืนล้ำหน้าอิมามญะมาอะฮฺ[1]2. มุสตะฮับถ้าหากมะอฺมูม,เป็นชายเพียงคนเดียว, ให้ยืนด้านขวามือของอิมามญะมาอะฮฺ[2], และเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบให้ยืนถอยไปด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺแต่ถ้ามีมะอฺมูมหลายคนให้ยืนด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺ[3]ดังนั้นโดยทั่วไปของเรื่องนี้ต้องการให้แต่ละคนจากมะอฺมูมคนที่ 1 และ 2 ปฏิบัติหน้าที่ของตนส่วนคำตอบสำหรับคำถามที่ว่ามะอฺมูมคนที่สองเป็นสาเหตุทำให้มะอฺมูมคนแรกต้องเคลื่อนที่ในนมาซญะมาอะฮฺอันเป็นสาเหตุทำให้นมาซของเขาบาฏิลหรือไม่นั้น, ต้องกล่าวว่า: การกระทำใดก็ตามที่ทำให้รูปแบบของมนาซต้องสูญเสียไปถือว่านมาซบาฏิล, เช่นการกอดอกหรือการกระโดดและฯลฯ[4]มัรฮูมซัยยิดกาซิมเฎาะบาเฏาะบาอียัซดีกล่าวว่า[5]ขณะนมาซ,ถ้าได้เคลื่อนเพื่อหันให้ตรงกับกิบละฮฺ[6]ถือว่าถูกต้อง,แม้ว่าจะถอยไปสองสามก้าวหรือมากกว่านั้น, เนื่องจากการเคลื่อนเพียงเท่านี้ไม่นับว่าเป็นอากับกริยาเพิ่มในนมาซทั้งที่มิได้มีการเคลื่อนมากมายและไม่ถือเป็นการทำลายรูปลักษณ์ของนมาซหรือเคลื่อนมากไปกว่านั้นก็ยังไม่ถือว่าทำลายรูปลักณ์ของนมาซอยู่ดีด้วยเหตุนี้มีรายงานอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นด้วย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60074 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57461 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42157 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39251 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38900 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33960 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27975 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27896 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27720 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25733 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...