Please Wait
ผู้เยี่ยมชม
10826
10826
อัปเดตเกี่ยวกับ:
2557/02/12
คำถามอย่างย่อ
ได้ยินว่าผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์จะพ้นจากภยันตรายต่างๆ ถามว่าผู้รับเศาะดะเกาะฮ์จะประสบกับภยันตรายเหล่านั้นแทนหรือไม่?
คำถาม
อยากทราบว่า การรับเศาะดาเกาะฮฺจากผู้ให้โดยที่เขาต้องการให้สิ่งที่ไม่ดีไม่ให้เกิดขึ้นกับเขา เช่น ผู้เดินทางต้องการไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ หรือการบริจาคโดยเหนียตให้หายจากโรคร้ายต่าง ๆ ซึ่งในส่วนของผู้รับก็จะได้รับสิ่งที่ไม่ดีนั้น ๆ ใช่หรือไม่ ?
คำตอบโดยสังเขป
“เศาะดะเกาะฮ์” ในแง่ภาษาอรับแล้ว ถือเป็นอาการนาม ให้ความหมายว่า “การมอบให้เพื่อจะได้รับผลบุญ” และมีรากศัพท์จากคำว่า “ศิดกุน” พหูพจน์ของเศาะดะเกาะฮ์คือ “เศาะดะกอต” [1]
นิยามของเศาะดะเกาะฮ์
เศาะดะเกาะฮ์หมายถึง สิ่งที่บุคคลมอบให้ผู้ขัดสน ผู้ยากไร้ เพื่ออัลลอฮ์ อันเป็นการพิสูจน์ความจริงใจในแนวทางของพระองค์[2]
บทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์ และผลบุญที่จะได้รับ
อิสลามมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์สองประเภทด้วยกัน
1. เศาะดะเกาะฮ์ภาคบังคับ (วาญิบ) ซึ่งก็หมายถึง “ซะกาต” นั่นเอง ดังโองการที่กล่าวว่า
خُذْ مِنْ أَمْوَالِهِمْ صَدَقَةً تُطَهِّرُهُمْ وَ تُزَکِّیهِمْ بِهَا وَ صَلِّ عَلَیْهِمْ إِنَّ صَلاَتَکَ سَکَنٌ لَهُمْ وَ اللَّهُ سَمِیعٌ عَلِیمٌ[3]
เกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์ประเภทนี้ สามารถศึกษาได้จากคำถามหมายเลข 2981 และ 4597
2. เศาะดะเกาะฮ์ภาคอาสา (มุสตะฮับ/สุนัต) ซึ่งมักจะเป็นสิ่งที่คนทั่วไปนึกถึงเมื่อได้ยินคำว่าเศาะดะเกาะฮ์ และเป็นความหมายที่ผู้ตั้งคำถามต้องการจะสื่อถึง (รายละเอียดเกี่ยวกับผลบุญของเศาะดะเกาะฮ์ประเภทนี้ และข้อจำแนกจากการกู้ยืม สามารถอ่านได้จากคำถามหมายเลข 13033)
ก่อนที่จะตอบคำถาม เราขอเกริ่นนำเกี่ยวกับผลบุญและอานิสงส์ที่จะได้รับจากการเศาะดะเกาะฮ์โดยสังเขป
ฮะดีษกล่าวถึงประเด็นข้างต้นโดยแบ่งออกเป็นสองส่วนดังนี้ :
ส่วนแรก. อานิสงค์ในการดึงดูดความจำเริญและคุณานุประโยชน์ต่างๆมาสู่ผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์ อาทิเช่น ทำให้ริซกี (ปัจจัยยังชีพ) โปรยปรายลงมา, ช่วยเพิ่มทรัพย์สินและบะเราะกัต, การได้อยู่ภายใต้กรุณาธิคุณของพระผู้เป็นเจ้า, ช่วยในการเยี่ยวยารักษาผู้ป่วย และช่วยให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ
ส่วนที่สอง. อานิสงส์ในการขจัดปัดเป่าภัยต่างๆให้พ้นจากผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์ เป็นต้นว่า ระงับความกริ้วของพระผู้เป็นเจ้า ขจัดลางร้ายต่างๆ ขจัดโรคภัยไข้เจ็บ ระงับอัคคีภัย ป้องกันการจมน้ำ ป้องกันการเสียสติ ป้องกันมรณกรรมในลักษณะที่ไม่พึงประสงค์
ซึ่งสามารถสรุปได้ด้วยสำนวนฮะดีษบทหนึ่งที่ว่า “เศาะดะเกาะฮ์จะขจัดภัยกว่าเจ็ดสิบประการ”[4]
สำนวนของฮะดีษหลายบทที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับส่วนที่สองนี้ มักจะใช้คำต่างๆที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า “دفع” (ขจัดปัดเป่า) อาทิเช่นคำว่า یدفع، تدفع، ادفعوا ฯลฯ ฉะนั้น หากต้องการจะตอบคำถามตามหัวข้อที่ตั้งไว้ ก็เห็นควรที่จะต้องไขความหมายของรากศัพท์ดังกล่าวให้ชัดเจนเสียก่อน
دفع (ดัฟอ์) แปลว่า “การสนับสนุนส่งเสริม”[5], “การขจัดด้วยกำลัง”[6] และ “การหักห้าม”[7] ด้วยเหตุนี้เอง ความหมายของการ “ดัฟอ์” ภยันตรายต่างๆด้วยเศาะดะเกาะฮ์ก็คือ “หากบุคคลบริจาคเศาะดะเกาะฮ์ และหากพระองค์ทรงประสงค์ให้บังเกิดผล การบริจาคดังกล่าวสามารถขจัดปัดเป่าภยันตรายต่างๆที่จะถาโถมมาสู่ผู้บริจาค ทั้งนี้ก็เป็นเพราะพระองค์ทรงประสงค์ที่จะปกป้องผู้บริจาคให้พ้นจากภยันตราย เพื่อเป็นการตอบแทนกรรมดี (การบริจาค) ของเขา”
ตรรกะดังกล่าวนี้สามารถพบเห็นได้ในฮะดีษที่อบู วัลลาด รายงานจากท่านอิมามศอดิก (อ.)[8]
อนึ่ง เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้ควบคุมการลงทัณฑ์และภยันตรายต่างๆ กอปรกับการที่พระองค์ทรงมีสถานะเหนือกว่าทุกปัจจัย ด้วยเหตุนี้ ฮะดีษหลายบทจึงใช้สำนวน “ภยันตรายที่ถาโถมลงมา” คำว่าฟากฟ้าที่ปรากฏในฮะดีษเหล่านี้ย่อมหมายถึงสถานะภาพที่สูงส่ง มิไช่ท้องฟ้าอันหมายถึงจักรวาลหรือระบบสุริยะ
โองการที่สามารถใช้พิสูจน์เนื้อหาข้างต้นได้ก็คือ “สูเจ้าแน่ใจหรือว่าจะปลอดภัยจากการสูบของธรณี หรือกรณีที่(พระองค์)ทรงส่งวาตภัยเหนือสูเจ้า”[9]
อีกโองการหนึ่งระบุว่า “สูเจ้าคิดหรือว่าจะรอดพ้นจากคำสั่งจากพระผู้ทรงสถิต ณ ฟากฟ้า ที่ลิขิตให้ธรณีสูบสูเจ้า โดยที่มันจะสั่นสะเทือนต่อไป”[10]
เมื่อพิจารณาสองโองการข้างต้นประกอบกับโองการต่างๆที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันนี้ ทำให้ทราบว่า ภยันตราย (บะลา) นั้น เกิดขึ้นทั้งจากฟากฟ้าและแผ่นดินได้ทั้งสิ้น แต่ทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้อาณัติของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้จึงมักจะใช้สำนวนที่ว่า “การลงบะลา” (ภยันตราย)
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงความหมายของคำว่า “ดัฟอ์” ทั้งความหมายในพจนานุกรมและความหมายที่แพร่หลาย ก็จะทำให้ได้ข้อสรุปว่า จริงๆแล้วการบริจาคเศาะดะเกาะฮ์มีผลระงับภยันตรายต่างๆมิให้ถูกลิขิตลงมาตั้งแต่แรก ฉะนั้นจึงไม่เหลือภยันตรายใดๆที่จะถูกโอนถ่ายไปสู่ผู้รับเศาะดะเกาะฮ์อีกต่อไป และนี่ก็คือความหมายของการระงับภยันตรายโดยการบริจาคเศาะดะเกาะฮ์นั่นเอง
และดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า คำว่าดัฟอ์หมายถึงการที่พระองค์ทรงปกปักษ์รักษาผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์ให้พ้นจากภยันตราย มิไช่การโยกย้ายถ่ายโอนภยันตรายจากผู้บริจาคไปสู่ผู้อื่น
จึงไม่มีเหตุผลที่จะเข้าใจว่าภยันตรายต่างๆจะโอนถ่ายไปสู่ผู้รับบริจาคอีกต่อไป.
นิยามของเศาะดะเกาะฮ์
เศาะดะเกาะฮ์หมายถึง สิ่งที่บุคคลมอบให้ผู้ขัดสน ผู้ยากไร้ เพื่ออัลลอฮ์ อันเป็นการพิสูจน์ความจริงใจในแนวทางของพระองค์[2]
บทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์ และผลบุญที่จะได้รับ
อิสลามมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์สองประเภทด้วยกัน
1. เศาะดะเกาะฮ์ภาคบังคับ (วาญิบ) ซึ่งก็หมายถึง “ซะกาต” นั่นเอง ดังโองการที่กล่าวว่า
خُذْ مِنْ أَمْوَالِهِمْ صَدَقَةً تُطَهِّرُهُمْ وَ تُزَکِّیهِمْ بِهَا وَ صَلِّ عَلَیْهِمْ إِنَّ صَلاَتَکَ سَکَنٌ لَهُمْ وَ اللَّهُ سَمِیعٌ عَلِیمٌ[3]
เกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์ประเภทนี้ สามารถศึกษาได้จากคำถามหมายเลข 2981 และ 4597
2. เศาะดะเกาะฮ์ภาคอาสา (มุสตะฮับ/สุนัต) ซึ่งมักจะเป็นสิ่งที่คนทั่วไปนึกถึงเมื่อได้ยินคำว่าเศาะดะเกาะฮ์ และเป็นความหมายที่ผู้ตั้งคำถามต้องการจะสื่อถึง (รายละเอียดเกี่ยวกับผลบุญของเศาะดะเกาะฮ์ประเภทนี้ และข้อจำแนกจากการกู้ยืม สามารถอ่านได้จากคำถามหมายเลข 13033)
ก่อนที่จะตอบคำถาม เราขอเกริ่นนำเกี่ยวกับผลบุญและอานิสงส์ที่จะได้รับจากการเศาะดะเกาะฮ์โดยสังเขป
ฮะดีษกล่าวถึงประเด็นข้างต้นโดยแบ่งออกเป็นสองส่วนดังนี้ :
ส่วนแรก. อานิสงค์ในการดึงดูดความจำเริญและคุณานุประโยชน์ต่างๆมาสู่ผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์ อาทิเช่น ทำให้ริซกี (ปัจจัยยังชีพ) โปรยปรายลงมา, ช่วยเพิ่มทรัพย์สินและบะเราะกัต, การได้อยู่ภายใต้กรุณาธิคุณของพระผู้เป็นเจ้า, ช่วยในการเยี่ยวยารักษาผู้ป่วย และช่วยให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ
ส่วนที่สอง. อานิสงส์ในการขจัดปัดเป่าภัยต่างๆให้พ้นจากผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์ เป็นต้นว่า ระงับความกริ้วของพระผู้เป็นเจ้า ขจัดลางร้ายต่างๆ ขจัดโรคภัยไข้เจ็บ ระงับอัคคีภัย ป้องกันการจมน้ำ ป้องกันการเสียสติ ป้องกันมรณกรรมในลักษณะที่ไม่พึงประสงค์
ซึ่งสามารถสรุปได้ด้วยสำนวนฮะดีษบทหนึ่งที่ว่า “เศาะดะเกาะฮ์จะขจัดภัยกว่าเจ็ดสิบประการ”[4]
สำนวนของฮะดีษหลายบทที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับส่วนที่สองนี้ มักจะใช้คำต่างๆที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า “دفع” (ขจัดปัดเป่า) อาทิเช่นคำว่า یدفع، تدفع، ادفعوا ฯลฯ ฉะนั้น หากต้องการจะตอบคำถามตามหัวข้อที่ตั้งไว้ ก็เห็นควรที่จะต้องไขความหมายของรากศัพท์ดังกล่าวให้ชัดเจนเสียก่อน
دفع (ดัฟอ์) แปลว่า “การสนับสนุนส่งเสริม”[5], “การขจัดด้วยกำลัง”[6] และ “การหักห้าม”[7] ด้วยเหตุนี้เอง ความหมายของการ “ดัฟอ์” ภยันตรายต่างๆด้วยเศาะดะเกาะฮ์ก็คือ “หากบุคคลบริจาคเศาะดะเกาะฮ์ และหากพระองค์ทรงประสงค์ให้บังเกิดผล การบริจาคดังกล่าวสามารถขจัดปัดเป่าภยันตรายต่างๆที่จะถาโถมมาสู่ผู้บริจาค ทั้งนี้ก็เป็นเพราะพระองค์ทรงประสงค์ที่จะปกป้องผู้บริจาคให้พ้นจากภยันตราย เพื่อเป็นการตอบแทนกรรมดี (การบริจาค) ของเขา”
ตรรกะดังกล่าวนี้สามารถพบเห็นได้ในฮะดีษที่อบู วัลลาด รายงานจากท่านอิมามศอดิก (อ.)[8]
อนึ่ง เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้ควบคุมการลงทัณฑ์และภยันตรายต่างๆ กอปรกับการที่พระองค์ทรงมีสถานะเหนือกว่าทุกปัจจัย ด้วยเหตุนี้ ฮะดีษหลายบทจึงใช้สำนวน “ภยันตรายที่ถาโถมลงมา” คำว่าฟากฟ้าที่ปรากฏในฮะดีษเหล่านี้ย่อมหมายถึงสถานะภาพที่สูงส่ง มิไช่ท้องฟ้าอันหมายถึงจักรวาลหรือระบบสุริยะ
โองการที่สามารถใช้พิสูจน์เนื้อหาข้างต้นได้ก็คือ “สูเจ้าแน่ใจหรือว่าจะปลอดภัยจากการสูบของธรณี หรือกรณีที่(พระองค์)ทรงส่งวาตภัยเหนือสูเจ้า”[9]
อีกโองการหนึ่งระบุว่า “สูเจ้าคิดหรือว่าจะรอดพ้นจากคำสั่งจากพระผู้ทรงสถิต ณ ฟากฟ้า ที่ลิขิตให้ธรณีสูบสูเจ้า โดยที่มันจะสั่นสะเทือนต่อไป”[10]
เมื่อพิจารณาสองโองการข้างต้นประกอบกับโองการต่างๆที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันนี้ ทำให้ทราบว่า ภยันตราย (บะลา) นั้น เกิดขึ้นทั้งจากฟากฟ้าและแผ่นดินได้ทั้งสิ้น แต่ทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้อาณัติของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้จึงมักจะใช้สำนวนที่ว่า “การลงบะลา” (ภยันตราย)
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงความหมายของคำว่า “ดัฟอ์” ทั้งความหมายในพจนานุกรมและความหมายที่แพร่หลาย ก็จะทำให้ได้ข้อสรุปว่า จริงๆแล้วการบริจาคเศาะดะเกาะฮ์มีผลระงับภยันตรายต่างๆมิให้ถูกลิขิตลงมาตั้งแต่แรก ฉะนั้นจึงไม่เหลือภยันตรายใดๆที่จะถูกโอนถ่ายไปสู่ผู้รับเศาะดะเกาะฮ์อีกต่อไป และนี่ก็คือความหมายของการระงับภยันตรายโดยการบริจาคเศาะดะเกาะฮ์นั่นเอง
และดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า คำว่าดัฟอ์หมายถึงการที่พระองค์ทรงปกปักษ์รักษาผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์ให้พ้นจากภยันตราย มิไช่การโยกย้ายถ่ายโอนภยันตรายจากผู้บริจาคไปสู่ผู้อื่น
จึงไม่มีเหตุผลที่จะเข้าใจว่าภยันตรายต่างๆจะโอนถ่ายไปสู่ผู้รับบริจาคอีกต่อไป.
[1] ริฏอ มะฮ์ยอร,พจนานุกรมอรับ ฟารซี,หน้า 551, คำว่า “صدق”
[2] ฮะซัน มุศเฏาะฟะวี, อัตตะห์กีก ฟี กะลิมาติลกุรอานิลกะรีม, เล่ม 6,หน้า 217, เล่ม 12,หน้า 59, โบนเฆาะเฮ ทัรโญเมะฮ์ วะ นัชเร เคทอบ, เตหราน, อิหร่านศักราช 1360.
[3] “จงรับเศาะดะเกาะฮ์ (ในรูปซะกาต) จากทรัพย์สินของพวกเขา เพื่อเป็นการชำระพวกเขาให้บริสุทธิ์สะอาด และ (ขณะรับซะกาต) จงขอพรแด่พวกเขา แน่แท้ การขอพรของเจ้าจะนำมาซึ่งความสงบแก่พวกเขา และพระองค์ทรงได้ยินและทรงรอบรู้” อัตเตาบะฮ์, 103.
[4] กุลัยนี, มุฮัมมัด ยะอ์กูบ บิน อิสฮ้าก, อัลกาฟี, ค้นคว้าเพิ่มเติมโดย อลีอักบัร ฆอฟฟารี และมุฮัมมัด ออคูนดี, เล่ม 4 หน้า 3-10, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮ์, เตหราน, พิมพ์ครั้งที่สี่, ฮศ1407
[5] รอฆิบ อิศฟะฮานี, ฮุเซน บิน มุฮัมมัด, อัลมุฟเราะดาต ฟี เฆาะรีบิลกุรอาน, ค้นคว้าเพิ่มเติมโดย ศ็อฟวาน อัดนาน ดาวูดี, หน้า 316, ดารุลอิลม์ อัดดารุช ชามียะฮ์, ดามัสกัส, เบรุต, พิมพ์ครั้งแรก, ฮศ.1412
[6] อิบนิ มันซูร, มุฮัมมัด บิน มุกัรร็อม, ลิซานุลอรับ, เล่ม 8, หน้า 87, ดาร ศอดิร, เบรุต, ฮศ.1414
[7] เคาะลีล บิน อะห์มัด ฟะรอฮีดี, กิตาบุลอัยน์, เล่ม 2, หน้า 45, สำนักพิมพ์ฮิจรัต, กุม, พิมพ์ครั้งที่สอง, ฮศ.1410
[8] อัลกาฟี, เล่ม 4,หน้า 5
[9] فَأَمِنْتُمْ أَنْ یَخْسِفَ بِکُمْ جانِبَ الْبَرِّ أَوْ یُرْسِلَ عَلَیْکُمْ حاصِباً... ซูเราะฮ์อัลอิสรอ, 68
[10] أَ أَمِنْتُمْ مَنْ فِی السَّماءِ أَنْ یَخْسِفَ بِکُمُ الْأَرْضَ فَإِذا هِیَ تَمُورُ ซูเราะฮ์อัลมุลก์, 16
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น