การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
17674
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2553/10/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa316 รหัสสำเนา 10186
คำถามอย่างย่อ
การพิสูจน์การเป็นวะฮฺยูของคำและรวบรวมอัลกุรอาน หรือการเป็นวะฮฺยูของการเรียบเรียงตามลำดับของบทและโองการต่างๆ นั้น มีมาตรฐานในการยึดมั่นอัลกุรอานอย่างไร จึงจะมีบทบาทต่อการให้ได้มาซึ่งศาสนบัญญัติ ?
คำถาม
การพิสูจน์การเป็นวะฮฺยูของคำและรวบรวมอัลกุรอาน หรือการเป็นวะฮฺยูของการเรียบเรียงตามลำดับของบทและโองการต่างๆ นั้น มีมาตรฐานในการยึดมั่นอัลกุรอานอย่างไร จึงจะมีบทบาทต่อการให้ได้มาซึ่งศาสนบัญญัติ ?
คำตอบโดยสังเขป
คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์
คำตอบเชิงรายละเอียด

คำตอบสำหรับคำถามนี้จำเป็นต้องกล่าวว่า โดยทั่วไปแล้วการเรียงลำดับบทต่างๆ (ซูเราะฮฺ) ไม่มีบทบาทต่อ การอิจญ์ติฮาด แต่อย่างใด ที่สำคัญไปกว่านั้นไม่มีกรณีใด ที่สามารถพิสูจน์จุดหรือประเด็นต่างๆ ของฟิกฮฺจากการเรียงลำดับซูเราะฮฺได้เลย นอกจากนั้นการวางโองการที่ความหมายไม่สอดคล้องกัน ก็ไม่มีผลอะไรต่อการอิจญ์ติฮาดเรื่องฟิกฮฺ ด้วยเหตุนี้ บรรดาฟุเกาะฮา บนพื้นฐานคำพูดของท่านเหล่านั้นจึงไม่จำเป็นต้องพิสูจน์เนื้อหาทั้ง 2 ประนี้[1]

สิ่งที่จำเป็นสำหรับบรรดาฟะกีฮฺทั้งหลาย คือการพิสูจน์ว่าอะไรเป็นหลักฐาน เนื้อหาของอัลกุรอาน คำเอกพจน์ การผสมคำซึ่งทำให้เกิดโองาการ และกุล่มโองการที่มีความหมายสัมพันธ์กัน พระเจ้าและอะฮฺยู[2] ซึ่งสิ่งนี้สามารถพิสูจน์ได้ด้วยความมหัศจรรย์ด้านวาทศาสตร์ของอัลกุรอาน เนื่องจากวาทศาสตร์นั้น ไม่ได้จำกัดอยู่แค่คำเท่านั้น ทว่าทั้งคำและความหมายต่างมีผลทั้งสิ้น โดยทั่วไปวาทศาสตร์และโวหารนั้น ถ้าปราศจากเนื้อหาที่ถูกต้อง ความหมายที่เหมาะสมและจิตวิญญาณของความหมายต่อเนื่องแล้วละก็ จะไม่มีความหมายใดๆ ทั้งสิ้น

อีกด้านหนึ่ง อาจเป็นไปได้ที่ว่ามีบางกรณีในอัลกุรอานได้ถูกแยก หรือโองการสลับที่กัน แน่นอน ว่าในส่วนนั้นความหมายจะหายไปด้วย  -- ตัวอย่างเช่น สัญลักษณ์ของซิยากได้บ่งบอกถึงความหมายอันเฉพาะเจาะจง แต่เนืองจากเกิดสลับที่กันความหมายได้ถูกทำลายไป -- จากมุมมองบรรดามุจญ์ตะฮิดถือว่าใช้ไม่ได้- เนื่องจากเหตุผลที่ว่าอัล-กุรอานได้รับการป้องกันจากการบิดเบือนใดๆ ทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมุจญฺตะฮิดคิดว่าโองการมากหรือน้อยไป อยู่ก่อนหรืออยู่หลัง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีผลทางความหมายด้วย ฉะนั้น ไม่สามารถกล่าวได้อีกว่า "ข้าพเจ้ามีหน้าที่ปฏิบัติตามภายนอกของอัลกุรอาน” เพราะการคิดลักษณะเช่นนี้ จะทำให้เหตุผลภายนอกของอัลกุรอานอยู่ภายใต้คำถามได้ ดังนั้น สติปัญญาจึงคาดการณ์ว่า คำหรือวลีของอัลกุรอาน หรือการรวบรวมคำเหล่านั้น อันก่อให้เกิดเป็นโองการต่างๆ หรือกลุ่มคำต่างๆ จากโองการ ซึ่งทั้งหมดมี ซิยากเดียวกันและเกี่ยวข้องกับเรื่องเดียวกัน ถ้าเป็นสิ่งที่มาจากผู้อื่นที่นอกเหนือไปจากอัลลอฮฺ สิ่งนี้เป็นความจำเป็นของการบิดเบือนอัลกุรอาน ซึ่งในที่สุดแล้วก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว สามารถพิสูจน์ด้วยสติปัญญาได้ว่าการประทานอัลกุรอานนั้นมาจากพระเจ้าหรือไม่ ถึงแม้ว่าการนี้จะทำให้พื้นฐานของการย่อยสาขาออกไป จากสาขาอันเป็นพื้นฐานสำคัญ ซึ่งจะทำให้อัลกุรอานบริสุทธิ์จากการถูกบิดเบือน

ด้วยเหตุนี้ การยอมรับความคิดที่ว่า คำหรือการรวบรวม หรือแม้แต่กลุ่มโองการที่อยู่ในซิยาก (บริบท) เดียวกัน  มาจากคนอื่นที่นอกเหนือไปจากอัลลอฮฺแล้วละก็ จะทำให้อัลกุรอานตกจากการเป็นเหตุผล บางทีอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ บรรดานักรุวาอีย์ (นักฮะดีซ) ถือว่าภายนอกของอัลกุรอานไม่ได้เป็นข้อพิสูจน์หรือเหตุผล พวกเขาเชื่อในการสลับที่ของโองการอัลกุรอาน แน่นอน สิ่งที่พวกเขากระทำนอกจากจะไม่ได้ปกป้องศาสนาแล้ว ยังถือว่าเป็นการก้าวถอยหลังอีกต่างหาก ความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงของพวกเขาคือ พวกเขาคิดว่าถ้าหากรักษาอัลกุรอานไว้ข้างๆ เท่ากับได้ปกป้องศาสนาแล้ว ทว่าสิ่งที่พวกเขาได้กระทำนั้นเท่ากับทำให้กิจการของศาสนาถูกสอบสวน[3]

 

แหล่งศึกษาเพิ่มเติม :

Hadavi เตหะราน Mehdi มะบานีกะลามีอิจญ์ติฮาด, มะอัซซะซะฮฺ ฟังฮังกี คอเนะ เครัด กุม พิมพ์ครั้งแรก ปี, 1377



[1] ความหมายของคำพูดข้างต้นไม่ได้หมายความว่าไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า อัลกุรอานไม่ได้ถูกรวบรวมในสมัยของท่านศาสดา ทว่าสิ่งที่พูดคือประเด็นดังกล่าวไม่มีบทบาทอะไรในทางฟิกฮฺ อีกทั้งยังไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ มะบานีกะลามอิจญ์ติฮาดอีกด้วย ด้งที่ในอดีตที่ผ่านมา นักวิชาการฝ่ายชีอะฮฺหลายคน ได้นำเสนอเหตุผลในประวัติศาสตร์ ซึ่งยืนยันให้เห็นว่าอัลกุรอานนั้นถูกรวบรวมในสมัยของท่านนบี (ซ็อล ฯ)  นอกจากนี้ถ้าหากหาจุดในการเรียบเรียงซูเราะฮฺและโองการต่างๆนั้น ถ้าหากการเรียบเรียงล้มเหลวลง แน่นอน จุดต่างๆ ก็ต้องสูญเสยไปด้วย เข่น ความสัมพันธ์ตัวเลขกับซูเราะฮฺและโองการต่างๆ

[2] ผลสะท้อนของการเป็นวะฮฺยูและกลุ่มโองการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเรียกว่า กะรีนะฮฺซิยากียะฮฺ มีความขัดแย้งกัน

[3] ฮาดะวี เตหะรานนี มะฮฺดี มะบานีกะลามี อิจญฺติฮาด หน้า 56-57

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อรุก็อยยะฮ์ไช่หรือไม่?
    7146 تاريخ بزرگان 2554/12/04
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • กรุณานำเสนอฮะดีษที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความสำคัญของการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮ์พร้อมกับระบุแหล่งอ้างอิงได้หรือไม่?
    5237 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/03/14
    ท่านอิมามอลี(อ.)เคยกล่าวว่า “ญิฮาดคือประตูสวรรค์บานหนึ่ง ซึ่งอัลลอฮ์ได้เปิดกว้างสำหรับกัลญาณมิตรของพระองค์ ญิฮาดคืออาภรณ์แห่งความยำเกรง เสื้อเกราะอันแข็งแกร่งของอัลลอฮ์ และโล่ห์ที่ไว้ใจได้ ฉะนั้น ผู้ใดที่ละทิ้งญิฮาดโดยไม่แยแส อัลลอฮ์จะทรงสวมอาภรณ์แห่งความต่ำต้อยแก่เขา อันจะทำให้ประสบภัยพิบัติ ความน่าอดสูจะกระหน่ำลงมาใส่เขา แสงแห่งปัญญาจะดับลงในใจเขา การเพิกเฉยต่อญิฮาดจะทำให้สัจธรรมผินหน้าจากเขา ความต่ำต้อยถาโถมสู่เขา และจะไม่มีผู้ใดช่วยเหลือเขาอีกต่อไป ...
  • ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์มีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับท่านบิล้าล?
    5890 تاريخ بزرگان 2554/08/08
    หนังสืออ้างอิงทางประวัติศาสตร์ของชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์กล่าวถึงท่านบิล้าลผู้เป็นอัครสาวกว่าท่านได้รับการไถ่ตัวโดยท่านอบูบักร์ท่านเป็นผู้ศรัทธาที่อดทนต่อการทรมานโดยกาเฟรมุชริกีนและเป็นนักอะซานประจำของท่านนบี(ซ.ล.) อีกทั้งยังเป็นนักต่อสู้เพื่ออิสลามในสมรภูมิต่างๆเคียงข้างท่านนบี(ซ.ล.) ทว่าหลังจากที่นบีละสังขารท่านก็จากเมืองมะดีนะฮ์มุ่งสู่แคว้นชามและเสียชีวิตณที่นั่น ...
  • ฉันต้องการฮะดีซสักสองสามบท ที่ห้ามการติดต่อสัมพันธ์กัน ระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาวที่สามารถแต่งงานกันได้?
    5223 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    ความสัมพันธ์ระหว่างนามะฮฺรัม 2 คน, กว้างมากซึ่งแน่นอนว่าบางองค์ประกอบของมันไม่มีปัญหาแต่อย่างใดจากคำถามที่ได้ถามมานั้นยังมีความเคลือบแคลงอยู่แต่จะขอตอบคำถามนี้ในหลายสถานะด้วยกัน
  • ใครคือบุคคลทีได้เข้าสรวงสวรรค์?
    9008 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    จากการศึกษาอัลกุรอานหลายโองการเข้าใจได้ว่าสวรรค์คือพันธสัญญาแน่นอนของพระเจ้าและจะตกไปถึงบุคคลที่มีความสำรวมตนจากความชั่ว “มุตตะกี”หรือผู้ศรัทธา “มุอฺมิน” ผู้ที่ปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเจ้า (ซบ.) และคำสั่งสอนของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) โดยสมบูรณ์บุคคลเหล่านี้คือผู้ได้รับความจำเริญและความสุขอันแท้จริงและเป็นผู้อยู่ในกลุ่มของผู้ประสบความสำเร็จทั้งหลายด้วยการพิจารณาพระบัญชาของอัลลอฮฺ (
  • เหตุใดจึงไม่ควรครุ่นคิดเกี่ยวกับความลึกซึ้งของการสรรสร้าง?
    5599 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/02/19
    ประเด็นหนึ่งที่กุรอานและฮะดีษเน้นย้ำไว้เป็นพิเศษก็คือ การครุ่นคิดเกี่ยวกับการสร้างสรรพสิ่งต่างๆ[1] ทว่าควรหลีกเลี่ยงการไตร่ตรองเกี่ยวกับอาตมันของอัลลอ์ ดังฮะดีษนบี(ซ.ล.)ที่ว่า จงครุ่นคิดเกี่ยวกับสรรพสิ่งที่อัลลอฮ์สร้างเถิด แต่ในกรณีของอาตมันของพระองค์นั้น ไม่บังควรอย่างยิ่ง”[2] อีกฮะดีษหนึ่ง ท่านนบีระบุถึงสาเหตุที่ห้ามมิให้ไตร่ตรองเกี่ยวกับอาตมันของอัลลอฮ์ว่า “เนื่องจากพวกท่านไม่อาจจะเข้าถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์เด็ดขาด”[3] ด้วยเหตุนี้ นอกจากจะไม่มีการห้ามครุ่นคิดเกี่ยวกับการสรรสร้างของพระองค์แล้ว ...
  • อิสลามมิได้ห้ามรับประทานเนื้อดอกหรือ?
    8080 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/14
    พืชผักผลไม้และเนื้อสัตว์ถือเป็นอาหารของมนุษย์มาตั้งแต่โบราณ แต่ก็มีมนุษย์บางกลุ่มที่มีรสนิยมสองขั้วที่ต่างกัน บางกลุ่มไม่แตะต้องเนื้อสัตว์เลย ส่วนบางกลุ่มในแอฟริกา ตะวันออกไกลและยุโรปบางประเทศกินเนื้อสัตว์แทบทุกประเภทแม้กระทั่งเนื้อมนุษย์ในบางกรณี การเปรียบเทียบระหว่างมนุษย์กับสัตว์เดรัจฉานถือว่าไม่ถูกต้องนัก การจะใช้เหตุผลที่ว่าเนื่องจากสัตว์เดรัจฉานกินเนื้อ ฉะนั้นมนุษย์จึงไม่ควรจะทานเนื้อ คงต้องถามกลับว่า สัตว์ป่าอย่างเช่น กวาง ยีราฟ ฯลฯ กินเนื้อเป็นอาหารหรือไม่? สัตว์ที่มีนิสัยดุร้ายอย่างหมีไม่ได้กินน้ำผึ้งและผักผลไม้ดอกหรือ? สิ่งนี้จะถือเป็นเหตุผลที่มนุษย์ไม่ควรทานน้ำผึ้งและพืชผักได้หรือไม่? ...
  • จงอธิบายเหตุผลที่บ่งบอกว่าดนตรีฮะรอม
    8229 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/22
    ดนตรีและเครื่องเล่นดนตรีตามความหมายของ ฟิกฮฺ มีความแตกต่างกัน. คำว่า ฆินา หมายถึง การส่งเสียงร้องจากลำคอออกมาข้างนอก โดยมีการเล่นลูกคอไปตามจังหวะ, ซึ่งทำให้ผู้ฟังเกิดประเทืองอารมณ์และมีความสุข ซึ่งมีความเหมาะสมกับงานประชุมที่ไร้สาระ หรืองานประชุมที่คร่าเวลาให้หมดไปโดยเปล่าประโยชน์ส่วนเสียงดนตรี หมายถึงเสียงที่เกิดจากการเล่นเครื่องตรี หรือการดีดสีตีเป่าต่างๆเมื่อพิจารณาอัลกุรอานบางโองการและรายงานฮะดีซ ประกอบกับคำพูดของนักจิตวิทยาบางคน, กล่าวว่าการที่บางคนนิยมกระทำความผิดอนาจาร, หลงลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ, ล้วนเป็นผลในทางไม่ดีที่เกิดจากเสียงดนตรีและการขับร้อง ซึ่งเสียงเหล่านี้จะครอบงำประสาทของมนุษย์ ประกอบกับพวกทุนนิยมได้ใช้เสียงดนตรีไปในทางไม่ดี ดังนั้น สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งในเชิงปรัชญาที่ทำให้เสียงดนตรีฮะรอมเหตุผลหลักที่ชี้ว่าดนตรีฮะรอม (หรือเสียงดนตรีบางอย่างฮะลาล) คือโองการอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ...
  • เพราะสาเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของชาย?
    5196 สิทธิและกฎหมาย 2554/04/21
    จากการศึกษาเกี่ยวกับหลักนิติศาสตร์อิสลามและประวัติความเป็นมาของค่าปรับจะเห็นว่าเป็นประเด็นที่มีความจำกัดพิเศษเกี่ยวกับเรื่องของเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการชดเชยสิ่งที่เสียหายไปอีกด้านหนึ่งในสังคมซึ่งอิสลามได้พยายามที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์หรือพยายามสร้างสังคมที่มีความสมบูรณ์จึงได้กำหนดกิจกรรมหลังของสังคมด้านเศรษฐศาสตร์ให้อยู่ในความรับผิดชอบของสังคมกล่าวคืออิสลามได้มองเรื่องเศรษฐศาสตร์ภาพรวมที่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชายทำให้ได้รับผลอย่างหนึ่งว่าผู้ชายมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบบางหน้าที่ซึ่งฝ่ายหญิงได้รับการละเว้นเอาไว้ขณะที่หน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญที่สุดสำหรับสตรีคนหนึ่งคือการจัดระบบและระเบียบเรื่องค่าใช้จ่ายและการเป็นอยู่ของครอบครัวถ้าพิจารณาอย่างรอบคอบในบทความนี้ท่านผู้อ่านสมารถเข้าใจเหตุผลได้อย่างง่ายดายว่า
  • การนอนในศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นบริเวณฮะร็อมมีฮุกุมอย่างไร?
    4497 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ฮะร็อม(บริเวณสุสาน)ของบรรดาอิมามตลอดจนศาสนสถานถือเป็นสถานที่ที่มุสลิมให้เกียรติมาโดยตลอดเนื่องจากการแสดงความเคารพสถานที่เหล่านี้ถือเป็นการให้เกียรติบรรดาอิมามและบุคคลสำคัญต่างๆที่ฝังอยู่ณสุสานดังกล่าวฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ส่อไปในทางลบหลู่ดูหมิ่นสถานที่เหล่านี้เท่าที่จะทำได้แต่ทว่าในแง่ของฟิกฮ์การนอนในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นมัสยิด, ฮะร็อมฯลฯถือว่าไม่เป็นที่ต้องห้ามนอกจากคนทั่วไปจะมองว่าการนอนในสถานที่ดังกล่าวเป็นการไม่ให้เกียรติสถานที่ซึ่งในกรณีนี้เนื่องจากวิถีประชาเห็นว่าการกระทำนี้เป็นสิ่งที่ไม่บังควรก็จะถึอว่าไม่ควรกระทำไม่ว่าสถานที่เหล่านั้นจะเป็นมัสยิดหรือฮะร็อมของบรรดาอาอิมมะฮ์ฯลฯก็ตาม

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57265 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    54967 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40309 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37392 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    35999 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32357 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26666 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26041 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    25881 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24112 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...