การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7098
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/16
 
รหัสในเว็บไซต์ fa3264 รหัสสำเนา 15062
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
อลี บิน ฮุเซน ในประโยค“اَلسَّلامُ عَلَى الْحُسَیْنِ وَ عَلى عَلِىِّ بْنِ الْحُسَیْنِ و” หมายถึงใคร?
คำถาม
“اَلسَّلامُ عَلَى الْحُسَیْنِ وَ عَلى عَلِىِّ بْنِ الْحُسَیْنِ و” อลี บิน ฮุเซนในที่นี้คือใคร? อลี อักบัร หรืออิมามซัยนุ้ลอาบิดีน? กรุณาให้เหตุผลประกอบด้วยครับ.
คำตอบโดยสังเขป

หากพิจารณาจากดุอาตะวัซซุ้ล บทศอละวาตแด่อิมาม บทซิยารัต กลอนปลุกใจ และฮะดีษต่างๆที่กล่าวถึงอิมามซัยนุลอาบิดีนและท่านอลีอักบัรจะพบว่า ชื่อ“อลี บิน ฮุเซน”เป็นชื่อที่ใช้กับทั้งสองท่าน แต่หากพิจารณาถึงบริบทกาลเวลาและสถานที่ที่ระบุในซิยารัตอาชูรอ อันกล่าวถึงวันอาชูรอ กัรบะลา และบรรดาชะฮีดในวันนั้น กอปรกับการที่มีสมญานาม“ชะฮีด”ต่อท้ายคำว่าอลี บิน ฮุเซนในซิยารัตวาริษ ซิยารัตอาชูรอฉบับที่ไม่แพร่หลาย และซิยารัตมุฏละเกาะฮ์ ทำให้พอจะอนุมานได้ว่า อลี บิน ฮุเซนในที่นี้หมายถึงท่านอลีอักบัรที่เป็นชะฮีดที่กัรบะลาในวันอาชูรอ

คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อให้ได้คำตอบ ควรพิจารณาประเด็นต่อไปนี้
ก. ในดุอาตะวัซซุ้ล บทศอละวาตแด่อิมาม บทซิยารัต และฮะดีษต่างๆ กล่าวถึงอิมามซัยนุลอาบิดีนด้วยชื่อ“อลี บิน ฮุเซน” อาทิเช่น
السلام علی علیّ بن الحسین (ซิยารัตอิมามฮุเซนในวันอะเราะฟะฮ์) หรือ اللهم صلّ علی علیّ بن الحسین (ศอลาวาตแด่ฮุญัจ ฏอฮิเราะฮ์) หรือ السلام علیک یا مولای یا ابا محمد علی بن الحسین (ซิยารัตญามิอะฮ์) หรือ یا اباالحسن یا علی بن الحسین (ดุอาตะวัซซุ้ล)

ข. ในบทซิยารัตหรือกลอนปลุกใจที่เกี่ยวข้องกับท่านอลีอักบัร ก็ใช้คำว่า อลี บิน ฮุเซน เช่นกัน อาทิเช่นالسلام علی علیّ بن الحسین الشهید  (ซิยารัต วาริษ) หรือ السلام علی علیّ بن الحسین الشهید (ซิยารัตอาชูรอฉบับไม่แพร่หลาย) หรือ السلام علیک یابن الحسین الشهید (ซิยารัต มุฏละเกาะฮ์ อิมามฮุเซน)[1] หรือที่ปรากฏในกลอนปลุกใจของท่านอลีอักบัรที่ว่า

 [2]انا علیّ بن الحسین بن علی                  نحن و بیت الله اولی بالنبی.

ค. แม้ว่าชื่อ อลี บิน ฮุเซน จะปรากฏในบทซิยารัตต่างๆที่เกี่ยวกับท่านอิมามซัยนุ้ลอาบิดีน และท่านอลี อักบัร แต่ด้วยเหตุผลต่อไปนี้ เราจึงเชื่อว่าอลี บิน ฮุเซนในซิยารัตอาชูรอ หมายถึงท่านอลี อักบัร:
1.
รายงานจากท่านอิมามบากิร(อ.)ว่า: “ในวันที่สิบมุฮัรร็อม ผู้ที่อยู่ ณ กัรบะลา และผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาที่กัรบะลาแต่หันหน้าสู่กัรบะลาบนดาดฟ้าบ้านของตน ควรอ่านซิยารัตอาชูรอ”[3]
2. ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว เนื้อหาของซิยารัตอาชูรอฉบับไม่แพร่หลาย ซิยารัตวาริษ และซิยารัตมุฏละเกาะฮ์มีคำว่า “ชะฮีด”ต่อจากคำว่า อลี บิน ฮุเซน ทั้งๆที่ไม่เคยปรากฏคำว่าชะฮีดในดุอาตะวัซซุ้ลและบทซิยารัตของอิมามซัยนุลอาบิดีน
3. ซิยารัตอาชูรอกล่าวถึงผู้ที่เสียชีวิต ณ แผ่นดินกัรบะลาเป็นหลัก ฉะนั้นจึงไม่มีใครสันนิษฐานว่า อลี บิน ฮุเซนในที่นี้หมายถึงอิมามซัยนุ้ลอาบิดีน อีกเหตุผลหนึ่งที่สนับสนุนทัศนะนี้ก็คือ ซิยารัตอัรบะอีนที่รำพันโดยท่าน ญาบิร บิน อับดุลลอฮ์ อันศอรี ที่ได้กล่าวไว้ว่า
السلام على الارواح المنیخة بقبر أبی عبد اللّه[4] ด้วยสามเหตุผลดังกล่าว จึงสามารถมั่นใจได้ว่า อลี บิน ฮุเซน ที่ปรากฏในซิยารัตอาชูรอ หมายถึงท่านอลีอักบัร ที่เป็นชะฮีด ณ แผ่นดินกัรบะลานั่นเอง


[1] เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทซิยารัต ดู: มะฟาตีฮุลญินาน.

[2] อัลอิกบาล,หน้า 574.

[3] ดู: มิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิด,เชค ฏูซี,หน้า 536-543.

[4] บิฮารุ้ลอันว้าร,เล่ม 98,หน้า 329. ดู: ชิฟาอุศศุดู้ร,หน้า 170.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • อัคล้ากกับเชาวน์ปัญญามีความเกี่ยวพันกันอย่างไร?
    6119 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/02/18
    อัคล้าก (จริยธรรม) แบ่งออกเป็นสองประเภทเสมือนศาสตร์แขนงอื่นๆดังนี้ก. จริยธรรมภาคทฤษฎีข. จริยธรรมภาคปฏิบัติการเรียนรู้หลักจริยธรรมภาคทฤษฎีมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับเชาวน์ปัญญา กล่าวคือ ยิ่งมีความเฉลียวฉลาดเท่าใด ก็ยิ่งเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่หากมีเชาวน์ปัญญาน้อย ก็จะทำให้เรียนรู้จริยศาสตร์ได้น้อยตามไปด้วยทว่าในส่วนของภาคปฏิบัติ (ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นจุดประสงค์หลักของผู้ถาม) จำเป็นต้องชี้แจงในรายละเอียดดังต่อไปนี้มีการนิยามคำว่าอัคล้ากว่า เป็นพหูพจน์ของ “คุ้ลก์” อันหมายถึง “ทักษะทางจิตใจของมนุษย์ที่ส่งผลให้กระทำการใดๆโดยอัตโนมัติ”ฉะนั้น อัคล้าก (จริยธรรม) ก็คือนิสัยและความเคยชินที่หยั่งรากลึกในจิตใจมนุษย์ ส่งผลให้ปฏิบัติกิจกรรมโดยไม่ต้องข่มใจ นั่นหมายความว่า การทำดีในลักษณะที่เกิดจากการไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น แม้จะถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม แต่ไม่ถือเป็นความประเสริฐทางอัคล้าก ผู้ที่มีอัคล้ากดีก็คือผู้ที่กระทำความดีจนกลายเป็นอุปนิสัย ...
  • สาขามัซฮับที่สำคัญของชีอะฮ์มีจำนวนเท่าใด?
    9818 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    คำว่า“ชีอะฮ์”โดยรากศัพท์แล้วหมายถึง“สหาย”หรือ“สาวก”และยังแปลได้ว่า“การมีแนวทางเดียวกัน” ส่วนในแวดวงมุสลิมหมายถึงผู้เจริญรอยตามท่านอิมามอลี(อ.) ซึ่งมีการนิยามความหมายของคำว่าผู้เจริญรอยตามว่า
  • ถ้าหากท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ประสบความสำเร็จในการยืนหยัดแห่งอาชูรอ ท่านจะได้จัดตั้งรัฐบาล แล้ววันนี้โลกอิสลามจะอยู่ในสถานภาพอย่างไร?
    8173 تاريخ بزرگان 2555/09/08
    สาเหตุหลักในการเคลื่อนไหวต่อสู้ของท่านอิมามฮุซัยน (อ.) คือ การฟื้นฟูตำสอนศาสนา และการกำชับความดี ห้ามปรามความชั่วร้าย ต่อสู้กับผู้ปกครองที่อธรรม ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะกำจัดอิสลามให้สิ้นซาก ซึ่งความคิดอันเลวร้ายนั้นได้ลุกลามอย่างกว้างขวางในสังคมอิสลาม โดยมีความเชื่อว่าเคาะลีฟะฮฺหรือฮากิมอิสลาม จะเป็นใครก็ตาม และไม่ว่าจะก่ออาชญากรรมมากน้อยเพียงใดก็ตาม เขาก็คือเคาะลิฟะฮฺของอัลลอฮฺ วาญิบต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามเขา การยืนหยัดของท่านอิมามฮุซัยนฺ ในแง่นี้ประสบความสำเร็จและได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น และถือว่าบรรลุเป้าหมายด้วย แม้ว่าเป้าหมายอันสูงส่งของอิสลาม ความสำเร็จของสังคมขึ้นอยู่การทำความดีต่างๆ และนำเอาบทบัญญัติมาดำเนินใช้ในสังคม การได้จัดตั้งรัฐอิสลาม ซึ่งแน่นอนว่า รูปแบบการจัดตั้งรัฐอิสลามโดยท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) พร้อมกับการโค่นล้มการปกครองของผู้อธรรม ซึ่งผลที่จะได้รับนอกจากจะได้รับรัฐอิสลาม และความสำเร็จของสังคมแล้ว เราก็จะได้เห็นรูปลักษณ์ที่แท้จริงของอิสลาม แน่นอนว่าสิ่งนี้จะเป็นประโยชน์อันอเนกอนันต์แก่ประชาชาติอิสลาม และถือว่านั้นคือความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงในการเผยแผ่อิสลาม แต่น่าเสียดายว่าสิ่งนั้นมิได้เกิดขึ้นจริง ...
  • มีการกล่าวถึงรายชื่อบุคคลทั้งห้าในคัมภีร์เตารอตและคัมภีร์อินญีลหรือไม่?
    5547 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/11
    ดังที่ฮะดีษบางบทกล่าวไว้ว่ารายชื่อของบุคคลทั้งห้าผู้เป็นชาวผ้าคลุม (อ.) อันประกอบด้วยท่านศาสดา (ซ.ล.), อิมามอลี (อ.), ท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.), อิมามฮะซัน (อ.), อิมามฮุเซน (อ.) มีการกล่าวถึงในคัมภีร์เตารอตและคัมภีร์อินญีลซึ่งในการถกระหว่างอิมามริฏอ (อ.) กับบาทหลวงคริสต์และแร็บไบยิวได้มีกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวด้วย ...
  • ฉันต้องการฮะดีซสักสองสามบท ที่ห้ามการติดต่อสัมพันธ์กัน ระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาวที่สามารถแต่งงานกันได้?
    5923 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    ความสัมพันธ์ระหว่างนามะฮฺรัม 2 คน, กว้างมากซึ่งแน่นอนว่าบางองค์ประกอบของมันไม่มีปัญหาแต่อย่างใดจากคำถามที่ได้ถามมานั้นยังมีความเคลือบแคลงอยู่แต่จะขอตอบคำถามนี้ในหลายสถานะด้วยกัน
  • ในทัศนะอิสลาม บาปของฆาตกรที่เข้ารับอิสลามจะได้รับการอภัยหรือไม่?
    7671 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/12
    อิสลามมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามอาทิเช่นหากก่อนรับอิสลามเคยละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์เช่นไม่ทำละหมาดหรือเคยทำบาปเป็นอาจินเขาจะได้รับอภัยโทษภายหลังเข้ารับอิสลามทว่าในส่วนของการล่วงละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์เขาจะไม่ได้รับการอภัยใดๆเว้นแต่คู่กรณีจะยอมประนีประนอมและให้อภัยเท่านั้นฉะนั้นหากผู้ใดเคยล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นเมื่อครั้งที่ยังมิได้รับอิสลามการเข้ารับอิสลามจะส่งผลให้เขาได้รับการอนุโลมโทษทัณฑ์จากอัลลอฮ์ก็จริงแต่ไม่ทำให้พ้นจากกระบวนการพิจารณาโทษในโลกนี้
  • มีฮะดีษจากอิมามศอดิก(อ.)ระบุว่า “การก่อสงครามกับรัฐทุกครั้งที่เกิดขึ้นก่อนการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี จะเป็นเหตุให้บรรดาอิมามและชีอะฮ์ต้องเดือดร้อนและเศร้าใจ” เราจะชี้แจงการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านอย่างไร?
    7098 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ต้องเรียนชี้แจงดังต่อไปนี้:หนึ่ง: เป็นไปได้ว่าฮะดีษประเภทนี้อาจจะเกิดจากการตะกียะฮ์หรือเกิดจากสถานการณ์ล่อแหลมในยุคที่การจับดาบขึ้นสู้มิได้มีผลดีใดๆอนึ่งยังมีฮะดีษหลายบทที่อิมามให้การสนับสนุนการต่อสู้บางกรณีสอง: ฮะดีษที่คุณยกมานั้นกล่าวถึงกรณีการปฏิวัติโค่นอำนาจด้วยการนองเลือดแต่ไม่ได้ห้ามมิให้เคลื่อนไหวปรับปรุงสังคมเพราะหากศึกษาประวัติศาสตร์ก็จะพบว่าบรรดาอิมามเองก็ปฏิบัติตามแนววิธีดังกล่าวเช่นกันหากพิจารณาถึงแนววิธีในการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านกอปรกับแนวคิดของผู้นำการปฏิวัติก็จะทราบทันทีว่าการปฏิวัติดังกล่าวมิไช่การปฏิวัติด้วยการนองเลือดและผู้นำปฏิวัติก็ไม่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว สรุปได้ว่าการปฏิวัติอิสลามมิได้ขัดต่อเนื้อหาของฮะดีษประเภทดังกล่าวแต่อย่างใด ...
  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับสายรายงานและเนื้อหาของซิยารัตอาชูรอ
    6302 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/10
    แหล่งอ้างอิงหลักของซิยารัตบทนี้ก็คือหนังสือสองเล่มต่อไปนี้กามิลุซซิยารอตประพันธ์โดยญะฟัรบินมุฮัมมัดบินกุละวัยฮ์กุมี (เสียชีวิตฮ.ศ.348) และมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนของเชคฏูซี (ฮ.ศ.385-460) ตามหลักบางประการแล้วสายรายงานของอิบนิกูละวัยฮ์เชื่อถือได้แต่สำหรับสายรายงานที่ปรากฏในหนังสือมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนนั้นต้องเรียนว่าหนังสือเล่มนี้นำเสนอซิยารัตนี้ผ่านสองสายรายงานซึ่งสันนิษฐานได้สามประการเกี่ยวกับผู้รายงานฮะดีษหนึ่ง:น่าเชื่อถือ
  • เราจะแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการอ่านซูเราะฮ์ต่าง ๆ ที่มีสุญูดวาญิบในสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถทำการสุญูดได้อย่างไร?
    6967 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
     มัรญะอ์ตักลีดทุกท่านมีความเห็นว่าเป็นวาญิบสำหรับทุกคนที่จะต้องสุญูดหลังจากการอ่านหรือฟังอายะฮ์ที่วาญิบจะต้องสุญูดท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า “ในซูเราะฮ์ “อันนัจม์, อัลอะลัก, อลีฟลามมีมตันซีลและฮามีมซัจดะฮ์” จะมีหนึ่งอายะฮ์ที่หากใครก็ตามได้อ่านหรือฟังอายะฮ์เหล่านี้จะต้องทำการสุญูดทันทีหลังจากที่อายะฮ์ดังกล่าวจบลงและหากหลงลืมจะต้องทำการสุญูดเมื่อนึกขึ้นได้[1]มัรญะอ์บางท่านได้กล่าวว่า “แม้หากได้ยินอายะฮ์ดังกล่าวโดยไม่ตั้งใจหรือได้ยินอายะฮ์ดังกล่าวอย่างผิวเผินเป็นอิฮ์ติญาดวาญิบที่จะต้องทำการสุญูด[2]อนึ่งในการสุญูดวาญิบของกุรอานไม่สามารถสุญูดบนอาหารหรือเครื่องแต่งกายแต่ไม่จำเป็นที่จะทำตามเงื่อนไขข้ออื่นๆ[3]ของการสุญูดในนมาซเช่นไม่จำเป็นที่จะต้องมีน้ำละหมาดหรือหันหน้าไปทางกิบลัตอีกทั้งไม่วาญิบที่จะต้องอ่านอะไรและหากกระทำเพียงแตะหน้าผากบนพื้นโดยมีเจตนาที่จะสุญูดโดยไม่ได้อ่านอะไรก็ถือว่าเพียงพอแล้ว[4]ดังนั้นหากไม่สามารถสุญูดเช่นนี้ได้จะต้องแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่นเช่นขอร้องไม่ให้นักกอรีอ่านซูเราะฮ์ที่มีสุญูดวาญิบในงานเช่นนี้หรือผู้จัดงานจะต้องหาสถานที่จัดงานที่ผู้เข้าร่วมในงานสามารถทำสุญูดได้เมื่อมีการอันเชิญอายะฮ์ที่จะต้องทำการสุญูดวาญิบและหากไม่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ผู้ฟังจะต้องหาทางหลีกเลี่ยงที่จะได้ยินอายะฮ์ที่จะต้องทำการสุญูดวาญิบเองเช่นเมื่อจะมีการอ่านอายะฮ์หรือซูเราะฮ์ดังกล่าวให้รีบเดินออกจากงานทันทีเพื่อไม่ต้องสุญูด[1]
  • เพราะสาเหตุใดอัลกุรอานอ่านจึงมิได้ถูกรวบรวมตามการถูกประทานลงมา
    7668 วิทยาการกุรอาน 2557/01/22
    ไม่มีคำสั่งหรือรายงานใดจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เกี่ยวกับการรวบรวมอัลกุรอาน ตามการประทานลงมามาถึงพวกเรา การรวบรวมอัลกุรอานได้ถูกกระทำลงไปหลายขั้นตอนด้วยกัน ท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นผู้รวบรวมอัลกุรอานตามการประทานลงมา แต่ในที่สุดอัลกุรอานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นการรวบรวมโดยเหล่าบรรดาสากวก โดยได้รับความเห็นชอบจากบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ว่าสมบูรณ์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56821 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38394 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38390 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25181 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...