การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6117
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/01/02
 
รหัสในเว็บไซต์ fa4276 รหัสสำเนา 20384
คำถามอย่างย่อ
คำว่าดวงวิญญาณที่ปรากฏในซิยารัตอาชูรอหมายถึงผู้ใด? اَلسَّلامُ عَلَیْکَ یا اَبا عَبْدِ اللَّهِ وَ عَلَى الْاَرْواحِ الَّتى حَلَّتْ بِفِنائکَ
คำถาม
ดวงวิญญาณที่กล่าวถึงในซิยารัตอาชูรอ اَلسَّلامُ عَلَیْکَ یا اَبا عَبْدِ اللَّهِ وَ عَلَى الْاَرْواحِ الَّتى حَلَّتْ بِفِنائکَ หมายถึงผู้ใดคะ? เพราะมักจะแปลกันว่า “ดวงวิญญาณที่ถลาสู่อาณาเขตของท่าน” แสดงว่าหมายถึงผู้มาเยี่ยมเยียนท่านอิมาม หรือผู้ที่ฝังในสุสานใกล้กุโบรอิมาม หรือหมายถึงเหล่าสาวกที่สลายอัตตาและพลีชีพเพื่ออุดมการณ์ของท่าน ?
คำตอบโดยสังเขป

ارواح التی حلت بفنائک หมายถึงบรรดาชะฮีดที่พลีชีพเคียงข้างท่านอิมามฮุเซน  แผ่นดินกัรบะลา ทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้:
1
. ผู้เยี่ยมเยียนที่ยังไม่เสียชีวิตมักไม่เรียกกันว่าดวงวิญญาณ

2. บทซิยารัตนี้มักจะอ่านโดยผู้เยี่ยมเยียน และแน่นอนว่าผู้อ่านย่อมมิไช่คนเดียวกันกับผู้เป็นที่ปรารภ

3. ไม่มีซิยารัตบทใดที่กล่าวสลามถึงผู้เยี่ยมเยียนเป็นการเฉพาะ

4. ซิยารัตอาชูรอรายงานไว้ก่อนที่จะมีสุสานที่รายล้อมกุโบรของอิมาม ฉะนั้น ดวงวิญญาณในที่นี้ย่อมมิได้หมายถึงผู้ที่ฝังอยู่  บริเวณนั้น

5. จากบริบทของซิยารัตทำให้พอจะเข้าใจได้ว่าดวงวิญญาณในที่นี้หมายถึงบรรดาชะฮีดที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามฮุเซนในกัรบะลา อาทิเช่น การสลามผู้ที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามเป็นการเฉพาะ
 
السلام علی الحسین و علی علِیّ بن الحسین و علی اولاد الحسین و علی اصحاب الحسین
นอกจากที่เนื้อหาของซิยารัตอาชูรอจะสื่อถึงการสลามอิมามฮุเซน ลูกหลานและเหล่าสาวกของท่านแล้ว ยังแสดงถึงการสวามิภักดิ์ต่อท่านและการคัดค้านศัตรูของท่านอีกด้วย

6. ซิยารัตอาชูรอในสายรายงานอื่นมีประโยคที่ว่า
السلام علیک و علی الارواح التی حلّت بفنائک و اناخت بساحتک و جاهدت فی الله معک و شرت نفسها ابتغاء مرضات الله فیک[1]
ประโยคเหล่านี้สื่อถึงคุณลักษณะแห่งการต่อสู้ในหนทางของพระองค์เคียงข้างท่านอิมามฮุเซน(.) และการพลีชีพเพื่อความพอพระทัยของอัลลอฮ์ในวิถีของท่าน ซึ่งปรากฏหลังจากคำว่าถลาสู่อาณาเขตของอิมาม (ฮุลู้ล และ อินาเคาะฮ์) ทำให้เข้าใจ[2]ได้ว่าดวงวิญญาณในที่นี้จำกัดความหมายไว้เพียงบรรดาชะฮีดที่ยืนหยัดเคียงข้างอิมามฮุเซนนั่นเอง

7. ซิยารัตอาชูรอฉบับไม่เป็นทางการ[3]ระบุว่า
السلام علیک یا ابا عبد الله الحسین و علی من ساعدک و عاونک و واساک بنفسه و بذل مهجته فی الذّب عنک... السلام علیک یا مولای و علیهم و علی روحک و علی ارواحهم و علی تربتک و علی تربتهم السلام علیک یابن سید العالمین و علی المستشهدین معک

จากประโยคเหล่านี้ทำให้ทราบว่าอัรว้าห์หรือดวงวิญญาณในที่นี้หมายถึงบรรดาชะฮีดสาวกท่านอิมามฮุเซน

8. ในบทซิยารัตที่ต่อท้ายซิยารัตอิมามฮุเซน(.)และท่านอลีอักบัร มีข้อความระบุว่าให้หันหน้าไปทางบรรดาชะฮีดกัรบะลาแล้วจึงอ่านบทซิยารัตดังกล่าว ในชณะที่ไม่มีซิยารัตบทใดระบุว่าให้สลามแก่บรรดาผู้มาเยี่ยมเยียนหรือผู้ที่ฝังอยู่ใกล้สุสานอิมาม

สรุปคือ เมื่อพิจารณาซิยารัตอาชูรอฉบับต่างๆตลอดจนซิยารัตอื่นๆของอิมามฮุเซน(.)ทำให้มั่นใจได้ว่า ดวงวิญญาณที่ได้รับสลามในซิยารัตอาชูรอหมายถึงบรรดาชะฮีดที่ยืนหยัดเคียงข้างอิมามฮุเซน.

 



[1] ซัยยิดอิบนิฏอวู้ส,อิกบาลุลอะอ์ม้าล,เล่ม 3,หน้า 70

[2] จากการที่นัยยะแห่งญิฮ้าดและชะฮีดตามหลังฮุลู้ลและอินาเคาะฮ์อันแปลว่าการถลาลง ทำให้เข้าใจได้ว่าดวงวิญญาณในที่นี้หมายถึงบรรดาชะฮีดที่พลีชีพในวันอาชูรอเคียงข้างอิมามฮุเซน

[3] ซิยารัตที่มีมรรคผลเทียบเท่าซิยารัตอาชูรอ สำหรับผุ้ที่ไม่สามารถจะอ่านซิยารัตอาชูรออย่างครบทุกเงื่อนไข (เช่นตักบี้ร, ร้อยละอ์นัต, ร้อยสลาม, สุญูด, นมาซ และดุอาหลังซิยารัต), มะฟาตีฮุลญินาน

คำตอบเชิงรายละเอียด
คำถามนี้ไม่มีคำตอแบบรายละเอียด
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ฮุกุมของการขับร้องเพลงวันประสูติพร้อมกับการบรรเลง (ในงานเฉพาะสตรี)เป็นอย่างไร?
    5486 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/11
    ในทัศนะของอิสลามเพลงบรรเลง[1]หรือการขับร้องที่มีลักษณะ“ฆินาอ์”ถือเป็นฮะรอมกล่าวคือไม่ว่าจะเป็นการร้อง, การแสดง, การฟังและการรับค่า
  • คำว่าดวงวิญญาณที่ปรากฏในซิยารัตอาชูรอหมายถึงผู้ใด? اَلسَّلامُ عَلَیْکَ یا اَبا عَبْدِ اللَّهِ وَ عَلَى الْاَرْواحِ الَّتى حَلَّتْ بِفِنائکَ
    6116 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/02
    ارواح التی حلت بفنائک หมายถึงบรรดาชะฮีดที่พลีชีพเคียงข้างท่านอิมามฮุเซนณแผ่นดินกัรบะลาทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้:1. ผู้เยี่ยมเยียนที่ยังไม่เสียชีวิตมักไม่เรียกกันว่าดวงวิญญาณ2. บทซิยารัตนี้มักจะอ่านโดยผู้เยี่ยมเยียนและแน่นอนว่าผู้อ่านย่อมมิไช่คนเดียวกันกับผู้เป็นที่ปรารภ3. ไม่มีซิยารัตบทใดที่กล่าวสลามถึงผู้เยี่ยมเยียนเป็นการเฉพาะ4. ซิยารัตอาชูรอรายงานไว้ก่อนที่จะมีสุสานที่รายล้อมกุโบรของอิมามฉะนั้นดวงวิญญาณในที่นี้ย่อมมิได้หมายถึงผู้ที่ฝังอยู่ณบริเวณนั้น5. จากบริบทของซิยารัตทำให้พอจะเข้าใจได้ว่าดวงวิญญาณในที่นี้หมายถึงบรรดาชะฮีดที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามฮุเซนในกัรบะลาอาทิเช่นการสลามผู้ที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามเป็นการเฉพาะ السلام علی الحسین و علی علِیّ بن الحسین و علی اولاد الحسین و علی اصحاب الحسین นอกจากที่เนื้อหาของซิยารัตอาชูรอจะสื่อถึงการสลามอิมามฮุเซนลูกหลานและเหล่าสาวกของท่านแล้วยังแสดงถึงการสวามิภักดิ์ต่อท่านและการคัดค้านศัตรูของท่านอีกด้วย6. ซิยารัตอาชูรอในสายรายงานอื่นมีประโยคที่ว่า السلام علیک و علی الارواح التی حلّت بفنائک و اناخت بساحتک و جاهدت فی ...
  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวชื่อรุก็อยยะฮ์หรือสะกีนะฮ์ไช่หรือไม่ ที่เสียชีวิตที่ดามัสกัสขณะอายุได้สามหรือสี่ขวบ?
    6791 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    แม้ว่านักประวัติศาสตร์จะมิได้กล่าวถึงบุตรสาวตัวน้อยของอิมามฮุเซน(อ.) ที่มีนามว่ารุก็อยยะฮ์หรือฟาฏิมะฮ์ศุฆรอฯลฯแต่ตำราบางเล่มก็สาธยายเรื่องราวอันน่าเวทนาของเด็กหญิงคนนี้ณซากปรักหักพังในแคว้นชามเราพบว่ามีเบาะแสเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวปรากฏในตำราประวัติศาสตร์บางเล่มอาทิเช่นก. เมื่อท่านหญิงซัยนับ(ส.) ได้เห็นศีรษะของอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นพี่ชายนางได้รำพึงรำพันบทกวีที่มีเนื้อหาว่า “โอ้พี่จ๋าโปรดคุยกับฟาฏิมะฮ์น้อยสักนิดเถิดเพราะหัวใจนางกำลังจะสูญสลาย”
  • ประโยคที่ว่า لاتعادوا الایام فتعادیکم หมายความว่าอย่างไร?
    5878 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ประโยคดังกล่าวแปลว่า “จงอย่าเป็นศัตรูกับวันเวลาแล้ววันเวลาจะไม่เป็นศัตรูกับท่าน”ประโยคนี้ปรากฏอยู่ในฮะดีษของท่านนบี(ซ.ล.)บางบทอัยยามในที่นี้หมายถึงวันเวลาในรอบสัปดาห์สำนวนนี้ต้องการชี้ให้เห็นความสำคัญของวันเวลาและไม่ควรมองวันเวลาในแง่ลบเพราะอาจจะทำให้ประสบเคราะห์กรรมได้ควรคิดว่าวันเวลาเปี่ยมด้วยความเมตตาของพระองค์ที่เราจะต้องขวนขวายไว้อย่างไรก็ดีประโยคนี้ยังสามารถอธิบายได้อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งจะนำเสนอในคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่: การภักดีต่ออลี(อ.)คือสัมมาคารวะที่แท้จริง และการไม่ภักดีต่อท่าน คือการปฏิเสธพระเจ้า
    6732 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/11/09
    ฮะดีษนี้มีเนื้อหาที่ถูกต้องเนื่องจากมีรายงานอย่างเป็นเอกฉันท์กล่าวคือมีฮะดีษมากมายที่ถ่ายทอดถึงเนื้อหาดังกล่าวอย่างไรก็ดีการปฏิเสธในที่นี้ไม่ไช่การปฏิเสธอิสลามแต่เป็นการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงแน่นอนว่าการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงย่อมมิได้ทำให้บุคคลผู้นั้นอยู่ในฮุก่มของกาเฟรทั่วไปในแง่ความเป็นนะญิส ...ฯลฯต้องเข้าใจว่าที่เชื่อว่าการไม่จงรักภักดีต่อท่านอิมามอลี(อ.)เท่ากับปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงนั้นเป็นเพราะการจงรักภักดีต่อท่านคือแนวทางสัจธรรมที่พระองค์ทรงกำหนดฉะนั้นผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของท่านก็เท่ากับฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์
  • มีคำอรรถาธิบายอย่างไรเกี่ยวกับโองการที่เก้า ซูเราะฮ์ญิน?
    10976 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    นักอรรถาธิบายกุรอานแสดงทัศนะเกี่ยวกับโองการประเภทนี้แตกต่างกัน นักอรรถาธิบายยุคแรกส่วนใหญ่เชื่อว่าควรถือตามความหมายทั่วไปของโองการ แต่“อาลูซี”ได้หักล้างแนวคิดดังกล่าวพร้อมกับนำเสนอคำตอบไว้ในตำราอธิบายกุรอานของตน นักอรรถาธิบายบางคนอย่างเช่นผู้ประพันธ์ “ตัฟซี้รฟีซิล้าล”ข้ามประเด็นนี้ไปอย่างง่ายดายเพราะเชื่อว่าโองการประเภทนี้เป็นเนื้อหาที่พ้นญาณวิสัยของมนุษย์ ส่วนบางคนก็อธิบายลึกซึ้งกว่าความหมายทั่วไป โดยเชื่อว่าฟากฟ้าที่เป็นเขตพำนักของเหล่ามลาอิกะฮ์นี้ เป็นมิติที่พ้นญาณวิสัยที่มีสถานะเหนือกว่าโลกของเรา ส่วนการที่กลุ่มชัยฏอนพยายามเข้าใกล้ฟากฟ้าดังกล่าวเพื่อจารกรรมข้อมูล จึงถูกกระหน่ำด้วยอุกกาบาตนั้น หมายถึงการที่เหล่าชัยฏอนต้องการจะเข้าสู่มิติแห่งมลาอิกะฮ์เพื่อจะทราบถึงเหตุการณ์ในอนาคต แต่ก็ถูกขับไล่ด้วยลำแสงของมิติดังกล่าวซึ่งชัยฏอนไม่สามารถจะทนได้ ...
  • ทั้งที่ท่านอิมามอลี (อ.) ทราบถึงเจตนาชั่วของอิบนิ มุลญัม เหตุใดท่านจึงไม่ปกป้องชีวิตตนเอง?
    6168 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/29
    เหตุผลที่ท่านอิมามอลีไม่แก้ไขเหตุที่จะเกิดในอนาคตก็คือ:1.ความรู้ระดับทั่วไปคือหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติภารกิจ:เพื่อเป็นการเคารพกฏเกณฑ์ของอัลลอฮ์ท่านอิมามจึงเลือกที่จะปฏิบัติหน้าที่เสมือนบุคคลทั่วไปโดยจะไม่ปฏิบัติตามความรู้แจ้งเห็นจริงเนื่องจากว่าหากท่านจะปฏิบัติตามญาณวิเศษย่อมจะไม่สามารถเป็นแบบฉบับแก่บุคคลทั่วไปได้เพราะบุคคลทั่วไปไม่มีญาณวิเศษ2. กลไกของโลกดุนยาตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทดสอบซึ่งหากจะปฏิบัติตามญาณวิเศษก็ย่อมจะทำให้กลไกดังกล่าวเสียหายเนื่องจากจะทำลายชีวิตประจำวันของผู้คนสรุปคือแม้ว่าอิมามอลีมีหน้าที่ต้องรักษาชีวิตเสมือนบุคคลทั่วไปแต่ทว่าประการแรก: หน้าที่ดังกล่าวอยู่ในขอบเขตความรู้ทั่วไปมิไช่ญาณวิเศษประการที่สอง: คู่กรณีของท่าน(อิบนิมุลญัม)
  • ในเมื่อไม่สามารถมองเห็นพระองค์ได้ แล้วคำว่า لَّمَحْجُوبُونَ หมายถึงอะไร?
    7041 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/08
    คำว่า “ฮิญาบ” (สิ่งปิดกั้น) มิได้สื่อถึงความหมายเชิงรูปธรรมเพียงอย่างเดียวทั้งนี้ก็เพราะเหตุผลทางปัญญาและกุรอาน, ฮะดีษพิสูจน์แล้วว่าอัลลอฮ์มิไช่วัตถุธาตุ[1]ฉะนั้นฮิญาบในที่นี้จึงมีความหมายเชิงนามธรรมมิไช่ความหมายเชิงรูปธรรมดังที่ปรากฏในโองการต่างๆอาทิเช่นوَ إِذَا قَرَأْتَ الْقُرْءَانَ جَعَلْنَا بَیْنَکَ وَ بَینْ‏َ الَّذِینَ لَا یُؤْمِنُونَ بِالاَخِرَةِ حِجَابًا مَّسْتُورًا  (ยามที่เจ้าอัญเชิญกุรอานเราได้บันดาลให้มีปราการล่องหนกั้นกลางระหว่างเจ้ากับผู้ที่ไม่ศรัทธาต่อปรโลก)
  • ท่านอิมามฮุเซนเคยจำแนกระหว่างอรับและชนชาติอื่น หรือเคยกล่าวตำหนิชนชาติอื่นหรือไม่?
    5518 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/10/11
    ฮะดีษที่อ้างอิงมานั้นเป็นฮะดีษจากอิมามศอดิก(อ.)มิไช่อิมามฮุเซน(อ.) ฮะดีษกล่าวว่า "เราสืบเชื้อสายกุเรชและเหล่าชีอะฮ์ของเราล้วนเป็นอรับแท้ส่วนผองศัตรูของเราล้วนเป็น"อะญัม"(ชนชาติอื่น) ไม่ว่าจะพิจารณาในแง่สายรายงานหรือเนื้อหาจะพบว่าฮะดีษนี้ปราศจากความน่าเชื่อถือใดๆทั้งสิ้นทั้งนี้เพราะสายรายงานของฮะดีษนี้มีนักรายงานฮะดีษที่ไม่น่าเชื่อถือ(เฎาะอี้ฟ)ปรากฏอยู่ส่วนเนื้อหาทั่วไปของฮะดีษนี้นอกจากขัดต่อสติปัญญาแล้วยังขัดต่อโองการกุรอานฮะดีษมากมายที่ถือว่าอีหม่านและตักวาเท่านั้นที่เป็นมาตรวัดคุณค่ามนุษย์หาไช่ชาติพันธุ์ไม่ทั้งนี้ท่านนบีได้ให้หลักเกณฑ์ไว้ว่า "หากฮะดีษที่รายงานจากเราขัดต่อประกาศิตของกุรอานก็จงขว้างใส่กำแพงเสีย(ไม่ต้องสนใจ)"อย่างไรก็ดีเราปฏิเสธที่จะรับฮะดีษดังกล่าวในกรณีที่ตีความตามความหมายทั่วไปเท่านั้นแต่น่าสังเกตุว่าคำว่า"อรับ"และ"อะญัม"หาได้หมายถึงชาติพันธุ์เท่านั้นแต่ในทางภาษาศาสตร์แล้วสองคำนี้สามารถสื่อถึงคุณลักษณะบางอย่างได้สองคำนี้สามารถใช้กับสมาชิกเผ่าพันธุ์เดียวกันก็ได้อาทิเช่นคำว่าอรับสามารถตีความได้ว่าหมายถึงการ"มีชาติตระกูล" และอะญัมอาจหมายถึง"คนไร้ชาติตระกูล" ในกรณีนี้สมมติว่าฮะดีษผ่านการตรวจสอบสายรายงานมาได้ก็ถือว่าไม่มีปัญหาในแง่เนื้อหาทั้งนี้ก็เพราะเรามีฮะดีษมากมายที่ยกย่องชาติพันธุ์ที่ไม่ไช่อรับเนื่องจากมีอีหม่านอะมั้ลที่ดีงามและความอดทน ...
  • การมองอย่างไรจึงจะถือว่าฮะรอมและเป็นบาป?
    8600 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59308 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56759 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41585 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38350 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38324 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33396 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27490 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27172 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27061 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25139 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...