การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
21537
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/02
 
รหัสในเว็บไซต์ fa6395 รหัสสำเนา 23034
คำถามอย่างย่อ
การเผยแพร่ศาสนา (สอนและแนะนำต่างศาสนิก) เป็นวาญิบสำหรับมุสลิมทุกคนหรือไม่?
คำถาม
การเผยแพร่ศาสนา (สอนและแนะนำให้ต่างศาสนิกสนใจเข้ารับอิสลาม) เป็นวาญิบสำหรับมุสลิมทุกคนหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

อิสลามเป็นศาสนาระดับโลกสำหรับสาธารณชน และเป็นศาสนาสุดท้าย ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ทุกชาติพันธุ์จึงควรศึกษาเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม วิธีสำคัญที่จะทำให้ผู้อื่นรู้จักศาสนาแห่งมนุษยธรรมดังกล่าวก็คือ การเผยแพร่ข้อเท็จจริง บทบัญญัติ คำแนะนำและขนบมารยาทของอิสลามให้เป็นที่รู้จัก คัมภีร์กุรอานได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเผยแพร่ไว้ในหลายโองการด้วยกัน ดังโองการที่ว่า “จะมีใครมีวาจาที่ประเสริฐไปกว่าผู้ที่เชื้อเชิญสู่อัลลอฮ์และความประพฤติอันงดงาม โดยกล่าวว่าฉันคือหนึ่งในมวลมุสลิม”[1] อีกโองการหนึ่งระบุว่า “และจะต้องมีคณะหนึ่งจากสูเจ้าที่เชื้อเชิญสู่ความประเสริฐ กำชับสู่ความดีและห้ามปรามจากความชั่ว บุคคลเหล่านี้แหล่ะคือผู้ได้รับชัยชนะ”[2]

แม้ว่าการเผยแพร่ศาสนาจะมิได้เป็นภาระหน้าที่ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่กุรอานได้กำชับให้มีคณะบุคคลจำนวนหนึ่งจากบรรดาผู้ศรัทธาออกไปศึกษาวิชาการอิสลามเพื่อเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ในการเผยแพร่ศาสนา โองการกล่าวว่า “มิบังควรที่เหล่าผู้ศรัทธาจะกรีฑาทัพ(สู่สมรภูมิ)ทุกคน เหตุใดจึงไม่กรีฑาทัพไปเพียงคณะหนึ่งจากแต่ละกลุ่ม (และเหลือบุคคลที่ยังอยู่ในมะดีนะฮ์)เพื่อจะได้ศึกษาศาสนา(สารธรรมและบทบัญญัติอิสลาม)อย่างลึกซึ้ง และจะได้กำชับสอนสั่งกลุ่มชนของตนเมื่อพวกเขากลับ(จากสมรภูมิ) เพื่อหวังว่าพวกเขาจะยำเกรง”[3]

โองการดังกล่าวสื่อว่า จำเป็นต้องมีความพร้อมสรรพด้านวิชาการในการเผยแพร่ศาสนา โดยแต่ละคนมีหน้าที่ในการเผยแพร่ตามความรู้ที่ตนมี ท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวไว้ว่า “ผู้ที่รายงานฮะดีษของเราจำนวนมาก อันจะสามารถทำให้จิตใจของชีอะฮ์ของเรามั่นคง บุคคลผู้นี้ประเสริฐกว่าผู้บำเพ็ญอิบาดะฮ์ถึงหนึ่งพันคน”[4]

การช่วยเหลืออิมามมะฮ์ดีที่สำคัญที่สุดประเภทหนึ่งก็คือ การตอบปัญหาและการปกป้องความเชื่ออันบริสุทธิของชีอะฮ์ให้พ้นจากเหล่าผู้ใส่ไคล้ ผู้ที่หวงแหนศาสนาย่อมจะต้องพร้อมด้วยการศึกษาวิชาการศาสนา เพื่อที่จะสนองความต้องการทางวิชาการและการเผยแพร่ศาสนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี การเผยแพร่มิได้จำกัดอยู่เพียงการกล่าวเทศนาหรือการเขียนตำรา ทว่าการเผยแพร่ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือการเผยแพร่ด้วยความประพฤติอันงดงาม[5]

 


[1] ฟุศศิลัต,33 وَ مَنْ أَحْسَنُ قَوْلاً مِمَّنْ دَعا إِلَى اللَّهِ وَ عَمِلَ صالِحاً وَ قالَ إِنَّني‏ مِنَ الْمُسْلِمينَ

[2] อาลิอิมรอน, 104  وَ لْتَكُنْ مِنْكُمْ أُمَّةٌ يَدْعُونَ إِلَى الْخَيْرِ وَ يَأْمُرُونَ بِالْمَعْرُوفِ وَ يَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنْكَرِ وَ أُولئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُون

[3] อัตเตาบะฮ์, 122  وَ ما كانَ الْمُؤْمِنُونَ لِيَنْفِرُوا كَافَّةً فَلَوْ لا نَفَرَ مِنْ كُلِّ فِرْقَةٍ مِنْهُمْ طائِفَةٌ لِيَتَفَقَّهُوا فِي الدِّينِ وَ لِيُنْذِرُوا قَوْمَهُمْ إِذا رَجَعُوا إِلَيْهِمْ لَعَلَّهُمْ يَحْذَرُونَ

[4] อัลกาฟี,เล่ม 1,หน้า 33,ฮะดีษที่ 9 الْحُسَيْنُ بْنُ مُحَمَّدٍ عَنْ أَحْمَدَ بْنِ إِسْحَاقَ عَنْ سَعْدَانَ بْنِ مُسْلِمٍ عَنْ مُعَاوِيَةَ بْنِ عَمَّارٍ قَالَ قُلْتُ لِأَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع رَجُلٌ رَاوِيَةٌ لِحَدِيثِكُمْ يَبُثُّ ذَلِكَ فِي النَّاسِ وَ يُشَدِّدُهُ فِي قُلُوبِهِمْ وَ قُلُوبِ شِيعَتِكُمْ وَ لَعَلَّ عَابِداً مِنْ شِيعَتِكُمْ لَيْسَتْ لَهُ هَذِهِ الرِّوَايَةُ أَيُّهُمَا أَفْضَلُ قَالَ الرَّاوِيَةُ لِحَدِيثِنَا يَشُدُّ بِهِ قُلُوبَ شِيعَتِنَا أَفْضَلُ مِنْ أَلْفِ عَابِدٍ

[5] เพิ่งอ้าง,เล่ม 2,หน้า 10,ฮะดีษที่ 60,   ....عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ كُونُوا دُعَاةً لِلنَّاسِ بِالْخَيْرِ بِغَيْرِ أَلْسِنَتِكُمْ لِيَرَوْا مِنْكُمُ الِاجْتِهَادَ وَ الصِّدْقَ وَ الْوَرَعَ

 

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • มีหลักฐานระบุว่าควรกล่าวตักบี้รและหันหน้าซ้ายขวาหลังกล่าวสลามหรือไม่?
    5271 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/19
    การผินหน้าไปทางขวาและซ้าย ถือเป็นมุสตะฮับภายหลังให้สลามสุดท้ายของนมาซ โดยตำราฮะดีษก็ให้การยืนยันถึงเรื่องนี้  อย่างไรก็ดี วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้:1. ในกรณีของอิมามญะมาอัต ภายหลังให้สลามแล้ว ก่อนที่จะผินหน้าขวาซ้าย ให้มองไปทางขวาก่อน2. ในกรณีของมะอ์มูม ให้กล่าวสลามแก่อิมามขณะอยู่ในทิศกิบละฮ์ หลังจากนั้นจึงให้สลามทางด้านขวาและซ้าย ทั้งนี้ การสลามด้านซ้ายจะกระทำต่อเมื่อมีมะอ์มูมหรือมีกำแพงอยู่ด้านซ้าย ส่วนด้านขวาจะกระทำทุกกรณี ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีมะอ์มูมด้านขวาก็ตาม3. ในกรณีที่นมาซฟุรอดา (คนเดียว) ให้กล่าวสลามครั้งเดียวขณะอยู่ในทิศกิบละฮ์ว่า อัสลามุอลัยกุม และหันด้านขวาในลักษณะที่ปลายจมูกเบนไปด้านขวาเล็กน้อย[1]จากที่นำเสนอมาทั้งหมด ทำให้เข้าใจได้ว่าสิ่งที่เป็นมุสตะฮับสำหรับผู้ที่นมาซคนเดียวก็คือการเบนหน้าไปทางขวาให้ปลายจมูกหันทางขวาเล็กน้อย และสำหรับผู้ที่นมาซญะมาอัต ...
  • แต่งงานมา 8 ปีและไม่เคยชำระคุมุสเลย กรุณาให้คำแนะนำด้วย
    4934 วิธีคำนวนและชำระคุมุส 2555/03/18
    สำนักงานของท่านอายาตุลลอฮ์อุซมา ซิซตานี วันแรกของการทำงานถือว่าเป็นต้นปีของการชำระคุมุส และในวันครบรอบวันนั้นของทุก ๆ ปีจำเป็นที่จะต้องชำระคุมุสในสิ่งที่เหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็นเงินสดหรือสิ่งของก็ตาม เช่นข้าวสารอาหารแห้ง ข้าวของเครื่องใช้และเสื้อผ้าที่เหลือใช้เป็นต้น หากภายในหนึ่งปีไม่ได้ใช้สิ่งของเหล่านั้น และหากปีก่อน ๆ ไม่ได้คำนวนและชำระคุมุสก็จะต้องทำเช่นนี้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี จะต้องชำระย้อนหลังในส่วนที่หลงเหลือมาจนทบปีใหม่ซึ่งเผอิญใช้ชำระไปทั้งที่ยังไม่ได้ชำระคุมุสของปีก่อนๆ และหากไม่แน่ใจว่าคุมุสที่ค้างอยู่นั้นมีจำนวนเท่าใด จะต้องชำระในจำนวนที่แน่ใจไว้ก่อน ถึงแม้ว่าจะทยอยชำระก็ตาม และอิฮ์ติยาฏวาญิบจะต้องเจรจากับตัวแทนของมัรญะอ์เกี่ยวกับจำนวนคุมุสที่คลุมเคลือด้วย อย่างเช่น หากสันนิษฐานในระดับ 50 เปอร์เซนต์ว่าต้องชำระคุมุสจำนวนหนึ่ง ก็สามารถชำระครึ่งหนึ่งของคุมุสจำนวนนั้น และหากเป็นบ้าน, ของใช้ในบ้าน, รถ หรือของใช้อื่น ๆ ซึ่งได้ซื้อมาด้วยกับเงินที่ได้มาในตลอดทั้งปี และได้ใช้อยู่เป็นประจำก็จะถือว่าไม่ต้องชำระคุมุสแต่อย่างใด สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์อุซมา มะการิม ชีรอซี ไม่จำเป็นที่จะต้องชำระเงินคุมุสของบ้านและเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมด อีกทั้งยานพาหนะ (ถ้ามี) ให้คำนวนของใช้ที่เหลือและหักลบหนี้สินที่เกี่ยวข้องออกไป สามารถชำระคุมุสจากเงินที่เหลือทั้งหมดด้วยเงินสดหรือเงินผ่อนได้
  • ฮะดีซต่างๆ ในหนังสือกาฟียฺ สามารถอธิบายความอัลกุรอานได้หรือไม่?
    6694 تألیفات شیعی 2555/07/16
    นักรายงานฮะดีซผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งคือ มุฮัมมัด บิน ยะอฺกูบ กุลัยนียฺ (รฮ.) เป็นหนึ่งในปราชญ์ผู้อาวุโสฝ่ายชีอะฮฺ และเป็นหนึ่งในนักรายงานฮะดีซที่เชื่อถือได้มากที่สุดของฝ่ายอิมามียะฮฺ ท่านอยู่ในยุคสมัยการเร้นกายระยะสั้นของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) และยังเป็นผู้ประพันธ์หนังสือ อุซูลกาฟียฺ อันเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้เอง จะเห็นว่ารายงานส่วนใหญ่ในหนังสือกาฟียฺล้วนเป็นที่เชื่อถือ แต่หนังสือกาฟียฺก็เหมือนกับหนังสือฮะดีซทั่วไปที่มีรายงานอ่อนแอ และไม่น่าเชื่อถืออยู่บ้าง ตามทัศนะของชีอะฮฺและอะฮฺลุซซุนนะฮฺ มีฮะดีซที่ถูกต้องจำนวนมากมายจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ บันทึกอยู่ในหนังสือญะวามิอฺริวายะฮฺ ซึ่งฮะดีซจำนวนมากเหล่านั้นได้ตัฟซีรโองการอัลกุรอาน ซึ่งหนึ่งในฮะดีซทรงคุณค่าเหล่านั้นคือ หนังสือกาฟียฺ ...
  • เหตุใดอัลลอฮ์จึงกำชับให้ขอบคุณต่อเนียะอฺมัตที่ทรงประทานให้?
    16186 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    “ชุโกร”ในทางภาษาอรับหมายถึง การมโนภาพเนียะอฺมัต(ความโปรดปรานจากพระองค์)แล้วเผยความกตัญญูรู้คุณผ่านคำพูดหรือการกระทำ[i] ส่วนที่ว่าทำไมต้องชุโกรขอบคุณพระองค์ในฐานะที่ประทานเนียะอฺมัตต่างๆนั้น ขอให้ลองพิจารณาประเด็นต่อไปนี้:1.
  • เหตุใดศาสนาจึงขัดต่อหลักสติปัญญา?
    5770 เทววิทยาใหม่ 2554/09/04
    สติปัญญาถือเป็นเครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายในส่วนชะรีอัต(ศาสนา)ก็ถือเป็นเครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายนอกทั้งสองมีหน้าที่นำพามนุษย์สู่ความผาสุกและความสมบูรณ์แบบซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่เครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายในและภายนอกจะขัดแย้งกันเองจากการที่สติปัญญานับเป็นปรากฏการณ์หนึ่งและการที่ทุกปรากฏการณ์มีข้อจำกัดศักยภาพของสติปัญญาก็มิอาจอยู่เหนือกฏเกณฑ์นี้ได้จึงมีศักยภาพประมวลผลในระดับของสรรพสิ่งถูกสร้างเท่านั้นโดยไม่อาจที่จะหยั่งรู้ถึงสถานภาพที่แท้จริงของพระเจ้าได้อย่างถี่ถ้วนเนื่องจากทรงปราศจากข้อจำกัด
  • กฎทางชัรอียฺ และผลสะท้อนของการสาปแช่ง และการปฏิเสธความจริงแก่คนอื่น เป็นอย่างไร?
    10858 تبری و لعن 2555/05/20
    ตามหลักคำสอนของศาสนาของเรา นอกจากจะห้ามมิให้มีการสาปแช่ง หรือปฏิเสธอย่างไม่ถูกต้องต่อคนอื่นแล้ว ยังไม่อนุญาตให้กระทำเช่นนั้นอีกต่างหาก, มีรายงานจำนวนมากมายจากบรรดาอิมามผู้นำ กล่าวว่า, ถ้าหากใครก็ตาม, ได้สาปแช่งบุคคลหนึ่ง ทั้งที่บุคคลนั้นไม่สมควรได้รับการสาปแช่งแม้แต่นิดเดียว, การสาปแช่งนั้นจะย้อนกลับไปหาผู้สาปแช่ง ...
  • มีคำอธิบายอย่างไรเกี่ยวกับโองการที่ ซูเราะฮ์เราะอ์ด وَ لَوْ أَنَّ قُرْآناً سُیِّرَتْ بِهِ الْجِبالُ أَوْ قُطِّعَتْ بِهِ الْأَرْضُ أَوْ کُلِّمَ بِهِ الْمَوْتى‏ بَلْ لِلَّهِ الْأَمْرُ جَمیعا
    7237 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    ในประเด็นที่ว่าโองการوَ لَوْ أَنَّ قُرْآناً سُیِّرَتْ بِهِ الْجِبالُ أَوْ قُطِّعَتْ بِهِ الْأَرْضُ... หมายความว่าอย่างไรนั้นนักอรรถาธิบายกุรอานได้นำเสนอไว้สองทัศนะด้วยกัน1. โองการต้องการจะสื่อว่าหากจะมีตำราใดที่จะสามารถเคลื่อนย้ายภูเขาหรือแยกแผ่นดินหรือทำให้ผู้ตายสนทนาได้ตำรานั้นย่อมมิไช่อื่นใดนอกจากกุรอานทั้งนี้ก็เพราะกุรอานประเสริฐเหนือทุกคัมภีร์2. โองการข้างต้นเป็นคำตอบโต้ข้อเรียกร้องของบรรดากาเฟรแห่งมักกะฮ์ที่เรียกร้องให้ท่านนบีแสดงอภินิหารโดยโองการนี้สื่อว่าคนพวกนี้มีนิสัยดื้อรั้นแม้หากกุรอานแสดงอภินิหารเคลื่อนย้ายภูเขาตามที่พวกเขาต้องการหรือแม้จะแยกแผ่นดินและผุดตาน้ำหรือแม้จะชุบชีวิตผู้ตายให้ปฏิญาณถึงความเป็นศาสดาของเจ้า (โอ้มุฮัมมัด)ให้เป็นที่ประจักษ์แก่พวกเขาก็ตามแต่คนเหล่านี้ก็จะยังดื้อแพ่งไม่ศรัทธาอยู่วันยังค่ำ. ...
  • โองการที่ 144 ซูเราะฮ์อาลิอิมรอนบ่งบอกว่าท่านนบี(ซ.ล.)เป็นชะฮีดหรือไม่?
    8669 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    ขณะที่เกิดข่าวลือในหมู่มุสลิมขณะทำสงครามอุฮุดว่าท่านนบีถูกสังหารแล้ว อันทำให้มุสลิมบางส่วนถอนตัวจากสงคราม ถึงขั้นที่บางคนหวังจะขอประนีประนอมกับพวกศัตรูและยอมออกจากศาสนาอิสลาม ในสถานการณ์ดังกล่าว โองการข้างต้นได้ประทานลงมาเพื่อตำหนิมุสลิมที่คิดจะปลีกตัวจากสงครามอย่างเผ็ดร้อน โดยสอนว่ามุสลิมจะต้องมั่นคง ในศาสนาไม่ว่าท่านนบีจะมีชีวิตอยู่หรือถูกสังหารไปแล้วก็ตาม จงอย่าหวั่นไหวในศรัทธาเด็ดขาดฉะนั้น กริยา قُتِلَ (ถูกสังหาร) เป็นเพียงสมมุติฐานหนึ่งที่กุรอานนำเสนอว่า แม้ท่านนบีจะเพลี่ยงพล้ำถึงขั้นถูกสังหารก็ตาม มุสลิมจะต้องมั่นคงในศาสนาและไม่หวั่นไหวในภารกิจของตน ด้วยเหตุนี้ โองการดังกล่าวจึงใช้พิสูจน์ว่าท่านนบี(ซ.ล.)เป็นชะฮีดไม่ได้ ...
  • ความใกล้ชิดกับพระเจ้าคืออะไร มีประเภทใดบ้าง ? และจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
    8341 รหัสยปฏิบัติ 2553/10/21
    ค่าว่า กุรบุน หมายความว่าความใกล้กันของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง บางครั้งความใกล้ชิดนี้อาจเป็นสถานที่ใกล้เคียง และบางครั้งก็อาจเป็นเวลา ดังนั้น กุรบุน จึงอาจเป็นสถานที่หรือเวลาก็ได้ ส่วนในความในทัศนะทั่วไป คำว่า กุรบุน อาจใช้ในความหมายอื่นก็ได้ กล่าวคือ หมายถึงการมีคุณค่า ศักดิ์ศรีและฐานันดรใกล้เคียงกันในสายตาคนอื่นประเภทของ กุรบุน ในทัศนะของปรัชญา :
  • บาปใหญ่จะได้รับการอภัยหรือไม่?
    15833 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    บาปใหญ่คือบาปประเภทที่กุรอานหรือบทฮะดีษแจ้งว่าจะต้องถูกสำเร็จโทษ(แต่ก็ยังมีสิ่งชี้วัดอื่นๆที่บ่งบอกถึงบาปใหญ่) ทั้งนี้การฝืนกระทำบาปเล็กซ้ำหลายครั้งก็ทำให้บาปเล็กกลายเป็นบาปใหญ่ได้เช่นกันอย่างไรก็ดีอัลลอฮ์ได้ทรงให้สัญญาในกุรอานว่าจะทรงอภัยโทษบาปทุกประเภทโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเตาบะฮ์อย่างถูกต้องเสียก่อนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของอัลลอฮ์หมายถึงการชดเชยอะมั้ลอิบาดะฮ์ที่เคยงดเว้นประกอบกับการกล่าวอิสติฆฟารอย่างบริสุทธิใจส่วนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของมนุษย์หมายถึงการกล่าวอิสติฆฟารคืนสิทธิแก่ผู้เสียหายและขอให้คู่กรณียกโทษให้ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57328 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55082 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40347 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37409 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36058 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32377 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26675 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26114 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    25942 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24124 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...