การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9928
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa849 รหัสสำเนา 14549
คำถามอย่างย่อ
เคยได้ยินฮะดีษที่ว่าท่านนบี(ซ.ล.)ได้บั่นศีรษะชัยฏอนไปแล้ว, ฮะดีษนี้เชื่อถือได้เพียงใด? แล้วการล่อลวงของชัยฏอนจะตีความอย่างไร?
คำถาม
ดิฉันเคยอ่านพบฮะดีษที่ว่าท่านอิมามอลี(อ)เคยรบพุ่งกับชัยฏอนมารร้าย เมื่อท่านเริ่มจะเพลี่ยงพล้ำและชัยฏอนกำลังจะกุมชัยชนะ ทันใดนั้นเองท่านศาสดา(ซ.ล.)ก็ลงมาจากฟากฟ้า ชัยฏอนเห็นเช่นนั้นจึงรีบวิ่งหนี แต่ท่านนบีสามารถตามไปบั่นศีรษะชัยฏอนได้สำเร็จ. ฮะดีษนี้เชื่อถือได้เพียงใด? และหากชัยฏอนถูกปลิดชีพแล้ว เหตุใดผู้คนจึงยังเชื่อว่าชัยฏอนล่อลวงจิตใจมนุษย์?
คำตอบโดยสังเขป

ฮะดีษที่ดังกล่าวมีอยู่จริงในขุมตำราฮะดีษของเรา อย่างไรก็ดี ฮะดีษดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่ออธิบายเกี่ยวกับ“เยามิล วักติล มะอ์ลูม”(วันเวลาที่กำหนดไว้)

ดังคำบอกเล่าของกุรอาน อิบลีสถูกเนรเทศออกไปจาก ณ พระองค์ แต่มันได้ขอให้ทรงประวิงเวลา อัลลอฮ์ตัดสินคาดโทษอิบลีสจนถึง“เยามิล วักติล มะอ์ลูม” ฮะดีษที่ถามมาต้องการจะเฉลยปริศนาเกี่ยวกับวันเวลาดังกล่าว โดยเชื่อว่าจะเกิดขึ้นในยุคแห่งร็อจอะฮ์(ยุคต่อจากกาลสมัยของอิมามมะฮ์ดี ที่บรรดาอิมามในอดีตจะหวลกลับมาบริหารรัฐอิสลามโลก) หาไช่วันสิ้นโลกหรือวันกิยามะฮ์ไม่.

สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นคือ:
1.
ฮะดีษดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าอิบลีสถูกสังหารไปแล้วในอดีต เนื่องจากความเชื่อดังกล่าวขัดกับเนื้อหาอัลกุรอาน และแน่นอนว่าความเห็นที่ขัดต่ออัลกุรอานย่อมไม่เป็นที่ยอมรับ.
จึงหมายความว่า ณ ขณะนี้ อิบลีสชัยฏอนยังมีชีวิตอยู่ และยังคงกระซิบกระซาบในจิตใจเพื่อล่อลวงให้มนุษย์หลงทาง

2. ฮะดีษดังกล่าวเล่าถึงสงครามระหว่างกองทัพอิบลีสกับกองทัพของอิมามอลี และแม้ว่าฮะดีษจะระบุว่ากองทัพของอิมามอลีล่าถอย แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าท่านอิมามอลีเพลี่ยงพล้ำชัยฏอนแต่อย่างใด.

3. ฮะดีษนี้อาจมีเนื้อหาที่ขัดต่อหลักความเชื่อพื้นฐานของอิมามียะฮ์ จึงจะต้องได้รับการตีความเพื่อให้มีความหมายที่ถูกต้อง.

คำตอบเชิงรายละเอียด

ประเด็นแรก: อิบลีสมีทายาท[1]และพลทหารที่ช่วยกันล่อลวงมนุษย์[2] ซึ่งในคำสอนอิสลามเรียกญินกลุ่มนี้ว่า “ชัยฏอน”[3]
ประเด็นที่สอง
: กุรอานระบุว่า หลังจากที่อิบลีสคัดค้านคำบัญชาของอัลลอฮ์ โดยไม่ยอมศิโรราบต่อท่านนบีอาดัมจนกระทั่งทำให้ถูกอัปเปหิแล้ว มันได้ขอต่อพระองค์ว่า “โอ้นายข้า ขอจงประวิงเวลาแก่ข้าฯตราบถึงวันฟื้นคืนชีพเถิด”[4] พระองค์ทรงรับคำขอของอิบลีสว่า“เจ้าได้รับการประวิงเวลา”[5] แม้ในอายะฮ์นี้จะไม่ระบุชัดเจนว่าพระองค์ประวิงเวลาถึงเมื่อใด แต่ในอายะฮ์ที่ 38 ซูเราะฮ์ ฮิจร์ ระบุว่า “เจ้าได้รับการประวิงเวลาถึงวันเวลาที่กำหนดไว้”[6] นั่นหมายความว่าอิบลีสไม่ได้รับการประวิงเวลาตามที่ขอทั้งหมด แต่ได้เพียงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น.[7]

ประเด็นที่สาม: ฮะดีษต่างๆให้คำอธิบายเกี่ยวกับ“เยามิล วักติล มะอ์ลูม”ไว้หลายทัศนะด้วยกัน อาทิเช่น:
   
1. วันสิ้นโลก: วันที่ทุกสิ่งมีชีวิตจะตายลง ทำให้หมดยุคแห่งศาสนกิจและบทบัญญัติศาสนา และพระองค์จะคงอยู่เพียงองค์เดียว.[8]
     2. วันกิยามะฮ์: อันหมายถึงวันฟื้นคืนชีพและพิพากษา[9]. หากเชื่อว่าอิบลีสจะอยู่ถึงวันนี้ก็ย่อมขัดกับความเข้าใจทั่วไปในอายะฮ์ดังกล่าว และขัดต่อความเชื่อที่ว่า ทุกสิ่งมีชีวิต(รวมทั้งชัยฏอน)ล้วนต้องตายก่อนวันสิ้นโลก ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันกิยามะฮ์.[10]
   
3. วันที่ไม่มีใครล่วงรู้ได้นอกจากพระองค์.[11]

ผู้ประพันธ์ตัฟซีรเนมูเนะฮ์เชื่อว่าทัศนะแรกมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีฮะดีษจากท่านอิมามศอดิกที่ระบุว่าชัยฏอนจะตายช่วงระหว่างการเป่าสังข์ครั้งแรกและครั้งที่สอง.[12]

มีการให้เหตุผลเสริมทัศนะดังกล่าวว่า การทำบาปจะมีอยู่เรื่อยไปตราบเท่าที่มีศาสนกิจภาคบังคับ และศาสนกิจจะมีจนถึงวันที่ทุกสิ่งมีชีวิตล้มตายจนหมดสิ้น นั่นคือวันเป่าสังข์ครั้งแรก และระยะเวลาระหว่างการเป่าสัญญาณตายและสัญญาณฟื้นคืนชีพนั้นห่างกัน 40/400 ปี(ต่างกันตามรายงาน) และนี่คือระยะห่างระหว่างเวลาที่อิบลีสขอประวิงเวลา และเวลาที่พระองค์ทรงอนุโลมให้.[13]

อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี กล่าวว่า เหตุผลดังกล่าวฟังดูเข้าที แต่ประโยคที่ว่า ตราบใดที่คนเรามีหน้าที่ทางศาสนาย่อมมีการทำบาปนั้น ฟังดูไม่กระจ่างและไม่มีเหตุผลที่ชัดเจนยืนยัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะนักตัฟซีรหลายท่านมักจะผูกโยงความเห็นดังกล่าวกับอายะฮ์ที่ระบุว่า การทำบาปของมนุษย์เป็นผลมาจากการล่อลวงของอิบลีส นอกจากนี้ยังมีอายะฮ์ 60 ยาซีน[14], 22 อิบรอฮีม[15] ที่บ่งชี้ว่าอิบลีสจะยังคงอยู่ตราบใดที่ยังมีศาสนกิจ และในเมื่อศาสนกิจยังคงบังคับใช้จวบจนมนุษย์คนสุดท้าย จึงสรุปเอาว่า อิบลีสจะอยู่ล่อลวงจนกระทั่งมนุษย์คนสุดท้าย

อย่างไรก็ดี ปฏิเสธไม่ได้ว่า อายะฮ์ที่อ้างมาทั้งหมดถือว่าการทำบาปเป็นผลจากการล่อลวงของอิบลีส แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อายะฮ์เหล่านี้ต้องการยืนยันเพียงแค่ว่า อิบลีสจะยังคงมีชีวิตอยู่ตราบที่มนุษย์ยังทำบาป มิไช่ตราบเท่าที่มนุษย์ยังต้องประกอบศาสนกิจ เนื่องจากไม่สามารถฟันธงได้ว่าการประกอบศาสนกิจต้องคู่กับการทำบาปเสมอไป

ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะฮะดีษและเหตุผลเชิงปัญญาต่างพิสูจน์ว่า มนุษย์กำลังมุ่งหน้าสู่ความผาสุก และท้ายที่สุดประชาคมโลกจะหันห่างจากความชั่วร้ายทั้งปวง โดยมุ่งหน้าสู่ความดีงามในระดับที่ทุกคนพร้อมใจภักดีต่ออัลลอฮ์แต่เพียงองค์เดียว รากเหง้าแห่งกุฟร์และการปฏิเสธจะถูกขจัดไป วิถีชีวิตมนุษย์จะดีขึ้น และโรคภัยทางจิตวิญญาณรวมทั้งการล่อลวงของชัยฏอนจะหมดไป[16]

จากอุดมคติดังกล่าวทำให้ทราบว่า“เยามิล วักติล มะอ์ลูม”มิไช่วันกิยามะฮ์ หรือวันสิ้นโลก ทว่าเป็นช่วงที่สิ่งมีชีวิตยังคงอยู่ และมนุษย์ยังต้องปฏิบัติศาสนกิจเช่นปกติ สิ่งที่สนับสนุนทัศนะนี้ก็คือฮะดีษที่เกี่ยวกับร็อจอะฮ์.[17]

ในตัฟซีรกุมี มีฮะดีษที่รายงานจาก มุฮัมมัด บิน ยูนุส รายงานจากชายคนหนึ่งว่าท่านอิมามญะฟัร กล่าวอธิบายอายะฮ์“เยามิล วักติล มะอ์ลูม”ว่า “วันดังกล่าวคือวันที่ศาสดาจะตัดคออิบลีสบนแท่นหิน ณ บัยตุลมักดิส”[18] ฮะดีษประเภทนี้มีรายงานมากมาย ซึ่งฮะดีษที่อ้างอิงในคำถามก็คือหนึ่งในนั้น.[19]

4. อาจเกิดข้อสงสัยว่า หลังจากอิบลีสถูกสังหารก่อนวันสิ้นโลก มนุษย์ก็จะไม่มีกิเลสตัณหาหลงเหลืออยู่ในใจไช่หรือไม่?
คำตอบก็คือ วิธีการของชัยฏอนคือการสร้างภาพกิเลสตัณหาให้แลดูเพริดพริ้งชวนหลงใหล[20] ซึ่งหากผู้ใดถูกชัยฏอนบิดเบือนวิสัยทัศน์ไว้แล้ว ก็ย่อมเดินหน้ากระทำบาปต่อไปได้โดยไม่ต้องมีชัยฏอนผลักดัน[21]

5. ดูเหมือนว่าฮะดีษที่อ้างอิงในคำถามจะเป็นฮะดีษที่ปรากฏอยู่ในตำราฮะดีษของเรา[22] อย่างไรก็ดี[23]ต้องคำนึงว่า:
    1.
ฮะดีษนี้กล่าวถึงเหตุการณ์ในยุคแห่งร็อจอะฮ์  ไม่มีส่วนใดระบุว่าอิบลีสถูกฆ่าตายไปแล้วในอดีต[24] ทั้งนี้ก็เพราะกุรอานยืนยันชัดเจนว่าอิบลีสจะมีชีวิตอยู่จนถึง“เยามิล วักติล มะอ์ลูม” และตามกฏแล้ว ฮะดีษใดที่ขัดกับกุรอานย่อมขาดความน่าเชื่อถือ[25] สรุปคือ ปัจจุบันอิบลีสยังมีชีวิตอยู่ และยังสาละวนกับการล่อลวงมนุษย์ให้หลงทาง.
  
2. ฮะดีษนี้กล่าวถึงการทำสงครามระหว่างกองทัพอิบลีสกับกองทัพของอิมามอลี หากฮะดีษระบุว่ามีการล่าถอยเพื่อตั้งหลัก นั่นหมายถึงการล่าถอยของกองทัพของท่านโดยรวม มิไช่ว่าท่านอิมามอลีเพลี่ยงพล้ำเสียทีอิบลีสแต่อย่างใด[26]
  
3. บางประโยคในฮะดีษนี้ขัดต่อหลักความเชื่อพื้นฐานของอิมามียะฮ์ และต้องได้รับการตีความเพื่อให้ได้ความหมายที่ถูกต้อง.[27]



[1] ซูเราะฮ์ อัลกะฮ์ฟิ,50.

[2] ดัชนี: ชัยฏอนและทายาทของมัน, คำถามที่565 (ไซต์: 618).

[3] ดู: ดัชนีต่อไปนี้: ชัยฏอน,มะลาอิกะฮ์หรือญิน?,คำถามที่ 100 (ไซต์: ) และ การไม่ศิโรราบของอิบลีส, เหตุการณ์หรือสัญลักษณ์, คำถามที่ 137(ไซต์ 891) และ ความสามารถของชัยฏอนและญิน, คำถามที่ 138 (ไซต์ 883).

[4] قالَ رب أَنْظِرْنی‏ إِلى‏ یَوْمِ یُبْعَثُونซูเราะฮ์ อะอ์รอฟ, 14.

[5] "قالَ إِنَّکَ مِنَ الْمُنْظَرِینَ".

[6] "فانک من المنظرین،الی یوم الوقت المعلوم" อัลฮิจร์, 37,38. กาลเวลาที่กำหนดไว้อาจหมายถึงวันปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี หรืออาจหมายถึงวันกิยามะฮ์.

[7] ตัฟซีร เนมูเนะฮ์, เล่ม 6, หน้า 109

[8] ดังที่ปรากฏในอายะฮ์ที่ 88 ซูเราะฮ์ก่อศ็อศ ว่า “کُلُّ شَیْ‏ءٍ هالِکٌ إِلَّا وَجْهَهُ

[9] เพราะตามทัศนะนี้ อิบลีสต้องการมีชีวิตจวบจนวันนั้นเพื่อจะได้มีชีวิตอมตะ และคำขอของมันได้รับการตอบรับ, โดยที่สำนวน
یَوْمِ الْوَقْتِ الْمَعْلُومِ ในอายะฮ์ 50 ซูเราะฮ์วากิอะฮ์ก็หมายถึงวันกิยามะฮ์.

[10] ดู: ตัฟซีรอัลมีซานฉบับแปลฟารซี, เล่ม 12,หน้า 235.

[11] เพราะหากอัลลอฮ์ทรงเผยให้รู้ว่าวันนั้นคือวันใด อิบลีสก็ยิ่งจะลำพองใจทำบาปมากยิ่งขึ้น, มัจมะอุ้ล บะยาน, เล่ม 6, หน้า 337. ทว่าทัศนะที่หักล้าง ดู: ตัฟซีรอัลมีซานฉบับแปลฟารซี, เล่ม 6,หน้า 337

[12] ตัฟซีร บุรฮาน, เล่ม 2, หน้า 342 และ ตัฟซีร นูรุษษะเกาะลัยน์, เล่ม 13, หน้า 45 และ อ้างแล้ว, เล่ม 11, หน้า 72.

[13] ดู: ตัฟซีรอัลมีซานฉบับแปลฟารซี, เล่ม 12,หน้า 237.

[14] "أَ لَمْ أَعْهَدْ إِلَیْکُمْ یا بَنِی آدَمَ أَنْ لا تَعْبُدُوا الشَّیْطانَ إِنَّهُ لَکُمْ عَدُوٌّ مُبِینٌ" โอ้ลูกหลานอาดัมเอ๋ย ข้ามิได้สัญญากับสูเจ้ามิให้บูชาชัยฏอนหรืออย่างไร แท้จริงมันคือศัตรูตัวฉกาจของสูเจ้า”

[15] "وَ قالَ الشَّیْطانُ لَمَّا قُضِیَ الْأَمْرُ إِنَّ اللَّهَ وَعَدَکُمْ وَعْدَ الْحَقِّ وَ وَعَدْتُکُمْ فَأَخْلَفْتُکُمْ ..." และเมื่อ(การพิพากษา)เสร็จสิ้น ชัยฏอนกล่าวว่า อัลลอฮ์สัญญาในสิ่งที่สัจจริง ทว่าข้าสัญญาแล้วบิดพริ้วพวกเจ้า”

[16] ตัฟซีรอัลมีซานฉบับแปลฟารซี, เล่ม 12,หน้า 237. และ ดู: หมวดนุบูวัต, ในเล่มที่สอง และ เรื่องราวนบีนูห์, เล่มที่สิบ.

[17] มัรฮูม อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอีได้ประมวลทัศนะเหล่านี้ว่า“โองการที่เกี่ยวกับวันกิยามะฮ์ มักจะได้รับการตีความในสายของอะฮ์ลุลบัยต์(อ)ว่าเป็นวันปรากฏกายอิมามมะฮ์ดีก็,วันแห่งร็อจอะฮ์ และวันกิยามะฮ์ ทั้งนี้ก็เพราะว่าทั้งสามวันนี้นับเป็นวันแห่งการเผยสัจธรรม แม้ว่าระดับความเข้มข้นของสัจธรรมทั้งสามจะไม่เท่ากัน ฉะนั้น คุณสมบัติของวันกิยามะฮ์ก็สามารถนำมาเทียบกับอีกสองเหตุการณ์ข้างต้นได้. ตัฟซีรอัลมีซานฉบับแปลฟารซี, เล่ม 12,หน้า 258.

[18] ตัฟซีรกุมี, เล่ม 1, หน้า 349. ส่วนตัฟซีรอัยยาชีย์รายงานจากวะฮับ บิน ญะมี้อ์ และตัฟซีรบุรฮานรายงานจาก ชะรอฟุดดีน นะญะฟี รายงานจากวะฮับโดยไม่เอ่ยถึงสายรายงานว่า ฉันถามอิมามศอดิกเกี่ยวกับอิบลีส และคำว่า“วันเวลาที่กำหนดไว้”ดังปรากฏในอายะฮ์กุรอาน อิมามตอบว่า “โอ้วะฮับ ท่านคิดหรือว่านั่นหมายถึงวันแห่งการฟื้นคืนชีพ? หามิได้ อัลลอฮ์จะทรงประวิงเวลาให้มันจนกระทั่งมะฮ์ดีของเราปรากฏกาย ในวันนั้น อิบลีสจะถูกกระชากผมเพื่อบั่นศีรษะ ไช่แล้ว! วันนั้นคือวันที่กำหนดไว้.” อัลบุรฮาน, เล่ม 2, หน้า 343 ฮะดีษที่ 7. ตัฟซีรอัยยาชี, เล่ม 2, หน้า 242. ฮะดีษ 14.

[19] ดู: ณ บทเรียนของอัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี, คำถามที่ 75,หน้า 42.

[20] ฮิจร์, 39.

[21] ดู: ณ บทเรียนของอัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี, คำถามที่ 76,หน้า 47.

[22] ดู: บิฮารุลอันว้าร เล่ม 53, หน้า 42,ฮะดีษที่ 12:

 سَعْدٌ عَنِ ابْنِ أَبِی الْخَطَّابِ عَنْ مُوسَى بْنِ سَعْدَانَ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ الْقَاسِمِ الْحَضْرَمِیِّ عَنْ عَبْدِ الْکَرِیمِ بْنِ عَمْرٍو الْخَثْعَمِیِّ قَالَ سَمِعْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّهِ ع یَقُولُ إِنَّ إِبْلِیسَ قَالَ أَنْظِرْنِی إِلى‏ یَوْمِ یُبْعَثُونَ فَأَبَى اللَّهُ ذَلِکَ عَلَیْهِ قالَ فَإِنَّکَ مِنَ الْمُنْظَرِینَ إِلى‏ یَوْمِ الْوَقْتِ الْمَعْلُومِ فَإِذَا کَانَ یَوْمُ الْوَقْتِ الْمَعْلُومِ ظَهَرَ إِبْلِیسُ لَعَنَهُ اللَّهُ فِی جَمِیعِ أَشْیَاعِهِ مُنْذُ خَلَقَ اللَّهُ آدَمَ إِلَى یَوْمِ الْوَقْتِ الْمَعْلُومِ وَ هِیَ آخِرُ کَرَّةٍ یَکُرُّهَا أَمِیرُ الْمُؤْمِنِینَ ع فَقُلْتُ وَ إِنَّهَا لَکَرَّاتٌ قَالَ نَعَمْ إِنَّهَا لَکَرَّاتٌ وَ کَرَّاتٌ مَا مِنْ إِمَامٍ فِی قَرْنٍ إِلَّا وَ یَکُرُّ مَعَهُ الْبَرُّ وَ الْفَاجِرُ فِی دَهْرِهِ حَتَّى یُدِیلَ اللَّهُ الْمُؤْمِنَ مِنَ الْکَافِرِ فَإِذَا کَانَ یَوْمُ الْوَقْتِ الْمَعْلُومِ کَرَّ أَمِیرُ الْمُؤْمِنِینَ ع فِی أَصْحَابِهِ وَ جَاءَ إِبْلِیسُ فِی أَصْحَابِهِ وَ یَکُونُ مِیقَاتُهُمْ فِی أَرْضٍ مِنْ أَرَاضِی الْفُرَاتِ یُقَالُ لَهُ الرَّوْحَاءُ قَرِیبٌ‏ مِنْ کُوفَتِکُمْ فَیَقْتَتِلُونَ قِتَالًا لَمْ یُقْتَتَلْ مِثْلُهُ مُنْذُ خَلَقَ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ الْعَالَمِینَ فَکَأَنِّی أَنْظُرُ إِلَى أَصْحَابِ عَلِیٍّ أَمِیرِ الْمُؤْمِنِینَ ع قَدْ رَجَعُوا إِلَى خَلْفِهِمُ الْقَهْقَرَى مِائَةَ قَدَمٍ وَ کَأَنِّی أَنْظُرُ إِلَیْهِمْ وَ قَدْ وَقَعَتْ بَعْضُ أَرْجُلِهِمْ فِی الْفُرَاتِ فَعِنْدَ ذَلِکَ یَهْبِطُ الْجَبَّارُ عَزَّ وَ جَلَّ فِی ظُلَلٍ مِنَ الْغَمامِ وَ الْمَلائِکَةُ وَ قُضِیَ الْأَمْرُ رَسُولُ اللَّهِ ص أَمَامَهُ بِیَدِهِ حَرْبَةٌ مِنْ نُورٍ فَإِذَا نَظَرَ إِلَیْهِ إِبْلِیسُ رَجَعَ الْقَهْقَرَى نَاکِصاً عَلَى عَقِبَیْهِ فَیَقُولُونَ لَهُ أَصْحَابُهُ أَیْنَ تُرِیدُ وَ قَدْ ظَفِرْتَ فَیَقُولُ إِنِّی أَرى‏ ما لا تَرَوْنَ إِنِّی أَخافُ اللَّهَ رَبَّ الْعالَمِینَ فَیَلْحَقُهُ النَّبِیُّ ص فَیَطْعُنُهُ طَعْنَةً بَیْنَ کَتِفَیْهِ فَیَکُونُ هَلَاکُهُ وَ هَلَاکُ جَمِیعِ أَشْیَاعِهِ فَعِنْدَ ذَلِکَ یُعْبَدُ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ وَ لَا یُشْرَکُ بِهِ شَیْئاً وَ یَمْلِکُ أَمِیرُ الْمُؤْمِنِینَ ع أَرْبَعاً وَ أَرْبَعِینَ أَلْفَ سَنَةٍ حَتَّى یَلِدَ الرَّجُلُ مِنْ شِیعَةِ عَلِیٍّ ع أَلْفَ وَلَدٍ مِنْ صُلْبِهِ ذَکَراً وَ عِنْدَ ذَلِکَ تَظْهَرُ الْجَنَّتَانِ الْمُدْهَامَّتَانِ عِنْدَ مَسْجِدِ الْکُوفَةِ وَ مَا حَوْلَهُ بِمَا شَاءَ اللَّهُ

[23] น่าสังเกตุว่าในบิฮารุลอันว้ารเล่ม 14 และ 27 มีฮะดีษอีกกลุ่มหนึ่งที่รายงานเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกองทัพของอิมามอลีและพลพรรคอิบลีส โดยมีเนื้อหาแตกต่างจากฮะดีษที่ถามถึงอย่างสิ้นเชิง. ดู: ตำราฟากฟ้าและโลกา, อายะตุลลอฮ์ คูฮ์ โคมเรอี, หน้า 160, บทแปลบิฮารุลอันว้าร เล่ม 14.

[24] การสังหารทหารของอิบลีสมิไช่เรื่องแปลก เนื่องจากทั้งอิบลีสและทหารของมันล้วนเป็นญินทั้งสิ้น และเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์มีวิธีที่จะสังหารญิน อย่างไรก็ดี การฆ่าทหารอิบลีสมิได้หมายความว่าจะไม่มีชัยฏอนหลงเหลืออยู่อีกเลยบนโลกนี้

[25] ดังที่กล่าวไปแล้ว อัลลอฮ์ทรงคาดโทษอิบลีสจนถึง“วันที่กำหนดไว้” ซึ่งฮะดีษมากมายได้อธิบายถึงวันดังกล่าว ทั้งหมดนี้ก็เนื่องจากการเห็นสมควรของอัลลอฮ์ที่จะไว้ชีวิตอิบลีสเพื่อทดสอบความศรัทธาของมนุษย์. ดู: ดัชนี: ปรัชญาการสร้างชัยฏอน, เลขที่232 และการสร้างอิบลีส, คำถามที่ 333. นอกจากนี้ในอายะฮ์ 5,6 ซูเราะฮ์ อันนาส พระองค์ตรัสว่า “...ผู้ที่กำลังล่อลวงในใจมนุษย์”, , สังเกตุว่ากุรอานใช้กริยาปัจจุบันกาล อันแปลว่าผู้ที่ล่อลวงอยู่อย่างต่อเนื่องถึงตอนนี้.

[26] کَأَنِّی أَنْظُرُ إِلَى أَصْحَابِ عَلِیٍّ أَمِیرِ الْمُؤْمِنِینَ ع قَدْ رَجَعُوا إِلَى خَلْفِهِمُ الْقَهْقَرَى مِائَةَ قَدَمٍ

[27] อัลลามะฮ์ มัจลิซี ตีความเกี่ยวกับข้อเคลือบแคลงในฮะดีษว่า:

"هبوط الجبار تعالى کنایة عن نزول آیات عذابه و قد مضى تأویل الآیة المضمنة فی هذا الخبر فی کتاب التوحید و قد سبق الروایة عن الرضا ع هناک أنها هکذا نزلت إلا أن یأتیهم الله بالملائکة فی ظلل من الغمام و على هذا یمکن أن یکون الواو فی قوله و الملائکة هنا زائدا من النساخ."

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ภารกิจของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) หลังจากปรากฏกายแล้วคืออะไร? แล้วเป็นไปได้ไหมที่ท่านจะถูกทำชะฮาดัตโดยน้ำมือของสตรีชราที่มีนวดเครา?
    6315 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ในเวลานั้นท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จะได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺให้จัดตั้งทั้งด้านวัตถุปัจจัยและด้านคุณธรรมมโนธรรมเพื่อจะได้จัดตั้งรัฐบาลแห่งความยุติธรรมขึ้นมาปกครองโลกซึ่งถือว่าเป็นรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดบนโลกนี้ ท่านจะเป็นผู้สนับสนุนส่งเสริมเกียรติและคุณค่าของความเป็นมนุษย์พร้อมกับเรียกร้องไปสู่ความปลอดภัยชีวิตมนุษย์จะกลายเป็นชีวิตแห่งพระเจ้าในเวลานั้นท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
  • ฮะดีซต่างๆ ในหนังสือกาฟียฺ สามารถอธิบายความอัลกุรอานได้หรือไม่?
    8196 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/07/16
    นักรายงานฮะดีซผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งคือ มุฮัมมัด บิน ยะอฺกูบ กุลัยนียฺ (รฮ.) เป็นหนึ่งในปราชญ์ผู้อาวุโสฝ่ายชีอะฮฺ และเป็นหนึ่งในนักรายงานฮะดีซที่เชื่อถือได้มากที่สุดของฝ่ายอิมามียะฮฺ ท่านอยู่ในยุคสมัยการเร้นกายระยะสั้นของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) และยังเป็นผู้ประพันธ์หนังสือ อุซูลกาฟียฺ อันเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้เอง จะเห็นว่ารายงานส่วนใหญ่ในหนังสือกาฟียฺล้วนเป็นที่เชื่อถือ แต่หนังสือกาฟียฺก็เหมือนกับหนังสือฮะดีซทั่วไปที่มีรายงานอ่อนแอ และไม่น่าเชื่อถืออยู่บ้าง ตามทัศนะของชีอะฮฺและอะฮฺลุซซุนนะฮฺ มีฮะดีซที่ถูกต้องจำนวนมากมายจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ บันทึกอยู่ในหนังสือญะวามิอฺริวายะฮฺ ซึ่งฮะดีซจำนวนมากเหล่านั้นได้ตัฟซีรโองการอัลกุรอาน ซึ่งหนึ่งในฮะดีซทรงคุณค่าเหล่านั้นคือ หนังสือกาฟียฺ ...
  • อลี บิน ฮุเซน ในประโยค“اَلسَّلامُ عَلَى الْحُسَیْنِ وَ عَلى عَلِىِّ بْنِ الْحُسَیْنِ و” หมายถึงใคร?
    7505 تاريخ بزرگان 2554/07/16
    หากพิจารณาจากดุอาตะวัซซุ้ล บทศอละวาตแด่อิมาม บทซิยารัต กลอนปลุกใจ และฮะดีษต่างๆที่กล่าวถึงอิมามซัยนุลอาบิดีนและท่านอลีอักบัรจะพบว่า ชื่อ“อลี บิน ฮุเซน”เป็นชื่อที่ใช้กับทั้งสองท่าน แต่หากพิจารณาถึงบริบทกาลเวลาและสถานที่ที่ระบุในซิยารัตอาชูรอ อันกล่าวถึงวันอาชูรอ กัรบะลา และบรรดาชะฮีดในวันนั้น กอปรกับการที่มีสมญานาม“ชะฮีด”ต่อท้ายคำว่าอลี บิน ฮุเซนในซิยารัตวาริษ ซิยารัตอาชูรอฉบับที่ไม่แพร่หลาย และซิยารัตมุฏละเกาะฮ์ ทำให้พอจะอนุมานได้ว่า อลี บิน ฮุเซนในที่นี้หมายถึงท่านอลีอักบัรที่เป็นชะฮีดที่กัรบะลาในวันอาชูรอ ...
  • อิมามมะฮ์ดีสมรสแล้วหรือยัง?
    8143 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    แม้จะเป็นไปได้ว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)อาจมีคู่ครองและบุตรหลาน เนื่องจากภาวะการเร้นกายมิได้จำกัดว่าจะท่านต้องงดกระทำการสมรสอันเป็นซุนนะฮ์แต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราไม่พบเหตุผลใดๆที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ สันนิษฐานว่าสาเหตุที่ประเด็นดังกล่าวไม่เป็นที่เปิดเผยนั้น อาจเป็นผลพวงมาจากความจำเป็นที่พระองค์ทรงเร้นกายท่านจากสายตาผู้คนนั่นเอง ...
  • ความเสียหายของศาสนาคือสิ่งไหน?
    9438 دین و فرهنگ 2555/09/29
    ศาสนา,เป็นพระบัญชาศักดิ์สิทธิ์,มาจากพระเจ้า ซึ่งในนั้นจะไม่มีทางผิดพลาด และไม่มีผลกระทบอันเสียหายอย่างแน่นอน, การยอมรับความผิดพลาดและการกระทำผิด เกี่ยวข้องกับภารกิจของมนุษย์ แน่นอนการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการรู้จักผลกระทบของศาสนา และการตื่นตัวของผู้มีศาสนา สิ่งเหล่านี้จะไม่ย้อนกลับไปสู่แก่นแท้ความจริงของศาสนา, ทว่าจะย้อนกลับไปสู่ประชาชาติที่นับถือศาสนา ความใจและการพัฒนาของมนุษย์ที่มีต่อศาสนา ประเภทของการรู้จักในศาสนา และรูปแบบของการตื่นตัวในศาสนา ความเสียหายและผลกระทบต่อศาสนา มีรายละเอียดแตกต่างกันมากมาย เนื่องจากกลุ่มหนึ่งของความเสียหายทางศาสนา เป็นความเสียหายที่มีผลกระทบ ต่อความศรัทธาของบุคคลที่นับถือศาสนา หรือผู้มีความสำรวมตน ซึ่งความเสียหายดังกล่าวนี้เองจะอยู่ในระดับของการรู้จักทางศาสนา (ความเสียหายทางศาสนาและการศึกษา) บางครั้งก็อยู่ในระดับของการปฏิบัติบทบัญญัติและคำสั่งของศาสนา การรักษาบทบัญญัติ บทลงโทษ และสิทธิ ซึ่งศาสนาได้กำหนดเป็นข้อบังคับให้รักพึงระมัดระวังต่อสิ่งเหล่านั้น เช่น ความอิจฉาริษยา ความอคติ และเกียรติยศ อีกกลุ่มหนึ่งของความเสียหายทางศาสนา จะอยู่ในปัญหาด้านสังคมทางศาสนา เช่น ความบิดเบือน การอุปโลกน์ และการกระทำตามความนิยมต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตราย และเป็นความกดดันต่อการระวังรักษาความศักดิ์สิทธิ์ และการขยายศาสนาให้กว้างขวางออกไป ...
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42344 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ชาวสวรรค์ทุกคนจะได้ครองรักกับฮูรุลอัยน์หรือไม่? ฮูรุลอัยน์แต่ละนางมีสามีได้เพียงคนเดียวไช่หรือไม่? และจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสตรีชาวสวรรค์หรือไม่?
    10913 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    สรวงสวรรค์นับเป็นความโปรดปรานที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ศรัทธาและประพฤติดีโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศจากการยืนยันโดยกุรอานและฮะดีษพบว่า “ฮูรุลอัยน์”คือหนึ่งในผลรางวัลที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้ชาวสวรรค์น่าสังเกตุว่านักอรรถาธิบายกุรอานส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าในสวรรค์ไม่มีพิธีแต่งงานส่วนคำว่าแต่งงานกับฮูรุลอัยน์ที่ปรากฏในกุรอานนั้นตีความกันว่าหมายถึงการมอบฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชาวสวรรค์โดยไม่ต้องแต่งงาน.ส่วนคำถามที่ว่าสตรีในสวรรค์สามารถมีสามีหลายคนหรือไม่นั้นจากการศึกษาโองการกุรอานและฮะดีษทำให้ได้คำตอบคร่าวๆว่าหากนางปรารถนาจะมีคู่ครองหลายคนในสวรรค์ก็จะได้ตามที่ประสงค์ทว่านางกลับไม่ปรารถนาเช่นนั้น ...
  • ความต่างกิจกรรมของวิญญาณขณะนอนหลับ และสลบคืออะไร?
    16478 ปรัชญาอิสลาม 2555/09/29
    รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิตวิญญาณขณะตื่นนอน กับการปฏิสัมพันธ์ขณะนอนหลับนั้นมีความแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ ตามคำสอนของอิสลามจึงได้เรียกการนอนหลับว่า เป็นพี่น้องของความตาย วิทยาศาสตร์แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลการปฏิสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญญาณกับร่างกายขณะนอนหลับ แต่สามารถค้นพบการเปลี่ยนแปลงและปฏิกิริยาบางอย่างทางร่างกายขณะนอนหลับได้ บนพื้นฐานของการค้นคว้านั้นและการทำสอบพบว่ามนุษย์มีการนอนหลับในสองระดับ ด้วยนามว่า REM และ Non REM ซึ่งทั้งสองมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยปกติแล้วการความฝันที่มักเกิดในระดับของ Non REM เกิดจากการหลับลึกซึ่งจะไม่อยู่ในความทรงจำ แต่เฉพาะการนอนหลับในระ REM เท่านั้นที่จะคงอยู่ในความทรงจำ ส่วนการสลบหมดสติเกิดจากการเบี่ยงเบนของวิญญาณ และเป็นการหลับที่ลุ่มลึกมาก ทำให้เขาไม่มีความทรงจำอันใดหลงเหลืออยู่ ...
  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับมัสญิดญัมกะรอนและสาเหตุของการก่อตั้งมัสญิดแห่งนี้
    7357 ประวัติสถานที่ 2554/08/08
    มัสญิดญัมกะรอนหนึ่งคือในสถานที่ศักดิสิทธิและเป็นสถานที่ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ตั้งอยู่ห่างจากเมืองกุมประมาณ๖กิโลเมตรมัสญิดแห่งนี้ได้ก่อสร้างเมื่อประมาณ๑๐๐๐ปีที่แล้วโดยคำสั่งของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งผู้ริเริ่มก่อสร้างได้รับคำสั่งดังกล่าวในขณะตื่น (ไม่ใช่ในฝัน) ซึ่งความเมตตาและสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ได้ปรากฎณสถานที่แห่งนี้อีกทั้งเป็นสถานที่นัดหมายสำหรับผู้ที่รอคอยการมาของท่านและมีความรักต่อท่านมัรฮูมมิรซาฮูเซนนูรีได้กล่าวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งมัสญิดญัมกะรอนโดยอ้างอิงจากเชคฟาฏิลฮะซันบินฮะซันกุมี (อยู่ยุคสมัยเดียวกับเชคศอดูก) ในหนังสือ “ประวัติศาสตร์เมืองกุม”[1] จากหนังสือ “มูนิซุลฮะซีนฟีมะอ์ริฟะติลฮักวัลยะกีน”[2] ว่า:[3]เชคอะฟีฟศอและฮ์ฮะซันบินมุซลิฮ์ยัมกะรอนีได้กล่าวว่า: ในคือวันพุธที่๑๗เดือนรอมฏอนปี๓๙๓ฮ. ฉันได้นอนอยู่ในบ้านทันใดนั้นได้มีกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งมาที่ประตูบ้านของฉันและได้ปลุกฉันและได้กล่าวกับฉันว่าจงลุกขึ้นและทำตามความต้องการของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งท่านได้เรียกหาท่านอยู่พวกเขาได้พาฉันมาสถานที่หนึ่งซึ่งในปัจจุบันสถานที่แห่งนั้นได้กลายมาเป็นมัสญิดญัมกะรอนแล้วท่านอิมามมะฮ์ดีได้เรียกชื่อของฉันและได้กล่าวว่า: “ไปบอกกับฮะซันบินมุสลิมว่า “สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่อันบริสุทธ์ที่อัลลอฮ์ทรงเลือกและให้สถานที่แห่งนี้มีความบริสุทธ์เจ้าได้ยึดครองสถานที่แห่งนี้...ดังนั้นท่านได้กล่าวว่า: จงบอกประชาชนว่าให้รักและหวงแหนสถานที่แห่งนี้”[4]อายาตุลลอฮ์อัลอุซมามัรอะชีนะญะฟีได้กล่าวยอมรับความศักดิ์สิทธิของมัสญิดญัมกะรอนว่า: ชีอะฮ์ทั่วไปให้ความสำคัญต่อมัสญิดอันศักดิ์สิทธ์แห่งนี้ตั้งแต่สมัยของการเร้นกายระยะแรกของท่านอิมามมะฮ์ดีจนถึงปัจจุบันซึ่งกินระยะเวลาถึงพันสองร้อยสองปีท่านเชคผู้สูงส่งมัรฮูมศอดูกได้กล่าวในหนังสือเล่มหนึ่งที่มีชื่อว่า “มูนิซุลฮะซีน” ซึ่งฉันยังไม่ได้อ่านเองทว่ามัรฮูมฮัจยีมิรซาฮุเซนนูรีซึ่งเป็นอาจารย์ของฉันได้เล่าจากหนังสือเล่มนั้นว่าอุลามาอ์และนักวิชาการชั้นนำของชีอะอ์ให้ความเคารพมัสญิดแห่งนี้กันถ้วนหน้าและสิ่งมหัศจรรย์มากมายได้ปรากฏในมัสญิดญัมกะรอนแห่งนี้
  • เพราะสาเหตุใดการใส่ทองคำจึงฮะรอมสำหรับผู้ชาย?
    12391 ปรัชญาของศาสนา 2554/06/22
    ตามทัศนะของนักปราชญ์และผู้รู้การสวมใส่ทองคำสำหรับผู้ชายมีผลกระทบที่สามารถทำลายล้างได้กล่าวคือก) เป็นการกระตุ้นประสาท[1], ข) การเพิ่มจำนวนที่มากเกินไปของเซลล์เม็ดเลือดขาว[2]เหล่านี้คือผลเสียที่สามารถกล่าวถึงได้แต่ประเด็นทีต้องพิจารณาความรู้ที่รับผิดชอบต่อ"สุขภาพพลานามัย" ของมนุษย์ในขณะการปรับปรุงและพัฒนามิติด้านอาณาจักรที่เร้นลับและมิติทางจิตวิญญาณของมนุษย์ผู้ที่เป็นกังวลสมควรเป็นมุสลิมมากที่สุดซึ่งต้องพิจารณาที่ "ร่างกาย" และ "ความรู้" ระดับในการแสดงออกและเป็นบทนำสำหรับการพิจาณาในขั้นต่อไปเนื่องจากมนุษย์มิใช่เป็นเพียงดินหรือวัตถุเท่านั้นความเป็นมนุษยชาติขึ้นอยู่กับการเติบโตของความสามารถและศักยภาพต่างๆของมนุษย์พระเจ้าผู้ทรงอำนาจได้ประทานให้แก่พวกเขาโดยมีประสงค์ให้เขาบรรลุตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺของพระองค์แต่จริงๆแล้วแนวทางที่ทำให้พรสวรรค์นี้เติบโตคืออะไร? ศัตรูและอุปสรรคของหนทางนี้อยู่ตรงไหน?อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้อธิบายถึงแนวทางและอุปสรรคขวางกั้นพรสวรรค์และศักยภาพของมนุษย์ไว้ในรูปแบบของบัญญัติแห่งศาสนาในฐานะที่เป็นพระมหากรุณาธิคุณด้วยการพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆแล้วไม่อาจมีข้อสงสัยใดๆได้เลยว่าบทบัญญัติพระเจ้าเป็นความจริงที่เกิดขึ้นภายนอกและในตัวเองแต่ถ้าต้องการทราบถึงปรัชญาของสิ่งนั้นจำเป็นต้องพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ด้วย:1- มนุษย์สามารถรับรู้ปรัชญาทั้งหมดของบทบัญญัติของพระเจ้าได้หรือไม่? แน่นอนคำตอบคือไม่เนื่องจาก:ก) เนื่องจากในตำราทางศาสนามิได้กล่าวถึงปรัชญาทั้งหมดของบทบัญญัติเอาไว้ข) บทบัญญัติที่กล่าวถึงปรัชญาของตัวเองเอาไว้ไม่อาจรับรู้ได้ว่ากล่าวถึงปรัชญาทั้งหมดแล้วหรือไม่, ทว่าบางครั้งบทบัญญัติเพียงข้อเดียวก็มีปรัชญากล่าวไว้อย่างมากมายแต่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะกล่าวบางข้อเหล่านั้นเพื่อเป็นการย้ำเตือนความทรงจำค) ความรอบรู้ของมนุษย์ก็สามารถค้นหาปรัชญาและวิทยปัญญาบางประการของบทบัญญัติได้เท่านั้นมิใช่ทั้งหมด

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60250 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57752 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42344 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39564 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39023 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34112 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28116 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28091 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27966 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25949 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...