การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9065
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/01
 
รหัสในเว็บไซต์ fa10279 รหัสสำเนา 19362
คำถามอย่างย่อ
เนื่องจากชาวสวรรค์ล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาว เหตุใดท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.)จึงได้เป็นประมุขทั้งที่ยังมีบรรดานบีและบรรดาอิมามท่านอื่นๆอยู่?
คำถาม
ทั้งที่ชาวสวรรค์ล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาวทั้งหมด เหตุใดท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.)จึงได้เป็นประมุขทั้งที่ยังมีบรรดานบีและบรรดาอิมามท่านอื่นๆอยู่?
คำตอบโดยสังเขป

ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(.) ผู้เป็นหลานรักของท่านนบี(..)นั้น มีสถานะภาพสูงกว่าชาวสวรรค์ทั่วไป อย่างไรก็ดี เนื่องจากชาวสวรรค์ทุกท่านล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาว บารมีดังกล่าวจึงเจาะจงชาวสวรรค์ที่เป็นชะฮีดหรือเสียชีวิตในวัยหนุ่มสาวเป็นพิเศษ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่ขัดกับบารมีของบรรดานบีและบรรดาเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ท่านอื่นๆอย่างแน่นอน
อนึ่ง เมื่อพิจารณาเบาะแสต่างๆจะพบว่า ฮะดีษดังกล่าวสื่อถึงความเป็นประมุขที่มีต่อชาวสวรรค์ทั่วไป มิได้เป็นประมุขของอิมามท่านอื่นๆหรือบรรดานบี

คำตอบเชิงรายละเอียด

บรรดานบีและเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ (ซึ่งท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(.)ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของบุคคลประเภทนี้) ล้วนมีความโดดเด่นเป็นพิเศษเหนือชาวสวรรค์ท่านอื่นๆ ทำให้บุคคลเหล่านี้ล้วนมีฐานะภาพเหนือชาวสวรรค์ทั่วไป อย่างไรก็ดี บางครั้งคุณลักษณะบางประการของบุคคลเหล่านี้ทำให้บารมีดังกล่าวโดดเด่นในด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ

หากเราจะขนานนามท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.)ว่า "ประมุขหญิงแห่งอิสตรีชาวสวรรค์" หรือหากเราจะขนานนามอิมามซัยนุลอาบิดีน(.)ว่า "ประมุขแห่งผู้ศิโรราบ"หรือ "ประมุขแห่งผู้บำเพ็ญอิบาดะฮ์" นั่นมิได้หมายความว่าท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.)ไม่มีบารมีเหนือบุรุษเพศ หรือท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน(.)ไม่มีภาวะผู้นำเหนือผู้ที่ปล่อยปละละเลยอิบาดะฮ์ แต่ที่ขนานนามเช่นนั้นก็เพราะคุณสมบัติความเป็นสตรีของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.) ตลอดจนการที่อิมามซัยนุลอาบิดีน(.)มีสมาธิขั้นสูงในการทำอิบาดะฮ์ ทำให้ทั้งสองท่านเหมาะสมที่จะได้รับฉายานามดังที่กล่าวมา

เมื่อทราบดังนี้ จึงไม่ควรจะคิดว่าท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน(.) มีสถานภาพเหนือกว่าท่านนบี(..) อิมามอลี(.) และนักบำเพ็ญอิบาดะฮ์ขั้นสูงท่านอื่นๆ เพียงเพราะได้รับฉายานามว่าเป็นประมุขแห่งเหล่านักบำเพ็ญอิบาดะฮ์

ในกรณีของท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(.) ที่มีสถานภาพเหนือกว่าหนุ่มสาวในสรวงสวรรค์ก็ชี้แจงได้ด้วยตรรกะเดียวกันนี้  เนื่องจากท่านทั้งสองถือกำเนิดในยุคแรกของอิสลาม วัยหนุ่มของทั้งสองท่านตรงกับยุคที่อิสลามเริ่มทอแสง และไม่ว่าจะในยุคของท่านนบี(..)หรือยุคต่อมาก็ตาม ไม่อาจจะหาวัยรุ่นคนใดมาเทียบเคียงท่านทั้งสองได้ ท่านทั้งสองมีความยำเกรงเหนือเด็กหนุ่มทุกคน  เวลานั้น ด้วยเหตุนี้จึงได้รับฉายานามว่าประมุขแห่งเด็กหนุ่มในสรวงสวรรค์ เพราะโดยปกติ ท่านก็เป็นทั้งประมุขของเด็กหนุ่มในสรวงสวรรค์ และเป็นประมุขของผู้มีอายุท่านอื่นๆในโลกดุนยาอยู่แล้ว

ขอให้ลองพิจารณาฮะดีษสองบทต่อไปนี้

1. . قَالَ أَبُو عَبْدِ اللَّهِ ع زُورُوا قَبْرَ الْحُسَیْنِ ع وَ لَا تَجْفُوهُ فَإِنَّهُ سَیِّدُ شَبَابِ أَهْلِ الْجَنَّةِ مِنَ الْخَلْقِ وَ سَیِّدُ شَبَابِ الشُّهَدَاء

อิมามศอดิก(.)กล่าวว่า "พวกท่านจงไปเยี่ยมเยียนสุสานของอิมามฮุเซน(.)เถิด และระวังอย่าละเมิดสิทธิของท่าน เพราะท่านคือประมุขของหนุ่มสาวชาวสวรรค์ และเป็นประมุขของชายหนุ่มที่เป็นชะฮีด"[1]
หากพิจารณาฮะดีษดังกล่าวให้ดีจะพบว่า นอกจากท่านอิมามฮุเซนจะได้รับการขนานนามว่า ซัยยิดุชชุฮะดาอ์ (ประมุขของเหล่าชะฮีด) และแม้ว่าท่านจะเสียชีวิตขณะอยู่ในวัยกลางคนก็ตาม แต่กลับได้รับฉายานามว่า "ประมุขของชายหนุ่มชะฮีด" เพิ่มมาด้วย ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นการชี้ให้เห็นถึงสถานภาพอันสูงส่งของบรรดาชะฮีดที่เป็นยุวชน ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของท่านอิมามฮุเซน(.)

2 ฮะดีษที่ว่า

عن علی ع قال قال رسول الله ص أتانی ملک فقال یا محمد إن الله تعالى یقول لک إنی قد أمرت شجرة طوبى أن تحمل الدر و الیاقوت و المرجان و أن تنثره على من قضى عقد نکاح فاطمة من الملائکة و الحور العین و قد سر بذلک سائر أهل السماوات و إنه سیولد بینهما ولدان سیدان فی الدنیا و سیسودان على کهول أهل الجنة و شبابها و قد تزین أهل الجنة لذلک فاقرر عینا یا محمد فإنک سید الأولین و الآخرین[2]

ท่านอิมามอลี(.)รายงานจากท่านนบี(..)ว่า ท่านเคยกล่าวว่า "มีมะลาอิกะฮ์องค์หนึ่งมาพบฉันและเล่าว่า โอ้มุฮัมมัด ... และหลานทั้งสองของท่านคือผู้มีเกียรติในโลกดุนยา และในไม่ช้าก็จะได้เป็นประมุขของชายหนุ่มและคนชราในสรวงสวรรค์ และ..."

ฮะดีษนี้ระบุว่ามีทั้งวัยรุ่นและคนชราในสวรรค์ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาว่าในสรวงสวรรค์ไม่มีภาวะชราภาพ จึงสามารถสรุปได้ว่าหลานรักของท่านนบี(..)ทั้งสองท่านนี้ เป็นผู้นำของชาวสวรรค์โดยรวมก็จริง แต่ทว่าสถานะความเป็นประมุขที่มีต่อของชาวสวรรค์ที่ชะฮีดหรือเสียชีวิตปกติในวัยหนุ่มสาวนั้น เข้มข้นกว่า สำนวนเช่นนี้ย่อมไม่ขัดต่อความเชื่อที่ว่าชาวสวรรค์ล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาวทั้งหมด เพราะคนชราชาวสวรรค์ในที่นี้หมายถึงผู้ที่เป็นชะฮีดหรือเสียชีวิตในวัยชรานั่นเอง

อีกคำถามหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นกับบางท่านก็คือ ฮะดีษนี้ต้องการจะสื่อว่าท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(.)มีสถานะเป็นประมุขเหนือบรรดานบีและบรรดาอิมามท่านอื่นๆหรือไม่? ตอบโดยสรุปได้ว่า โดยปกติแล้ว สำนวนทุกสำนวนย่อมมีข้อยกเว้น ซึ่งบางสำนวนระบุข้อยกเว้นไว้อย่างชัดเจน แต่บางสำนวน เนื่องจากผู้พูดถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ต้องอธิบายมากนัก ผู้ฟังจึงต้องพิจารณาเบาะแสและพยานแวดล้อมเอง
เพราะฉะนั้น เนื้อหาโดยสรุปของฮะดีษก็คือ ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(.)มีสถานะเป็นประมุขเหนือชาวสวรรค์ทั่วไป แต่ไม่รวมถึงชาวสวรรค์ระดับพิเศษอย่างท่านนบี(..), ท่านอิมามอลี(.),ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.) ...ฯลฯ

เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ลองพิจารณาฮะดีษต่อไปนี้
มีชายคนหนึ่งซักถามท่านอิมามศอดิก(.)ว่า "ท่านนบี(..)มิได้กล่าวดอกหรือว่าท่านอบูซัรคือผู้มีสัจจะที่สุด?" ท่านอิมามตอบว่า "ท่านนบี(..)กล่าวไว้เช่นนั้นจริง" เขาจึงแย้งว่า "หากเป็นเช่นนั้น แล้วท่านนบี(..)และอิมามอลี(.)เล่า? อิมามฮะซัน อิมามฮุเซน(.)เล่า?" (ท่านอบูซัรมีสัจจะกว่าบุคคลเหล่านี้กระนั้นหรือ?) ท่านอิมามตอบว่า "อะฮ์ลุลบัยต์อย่างพวกอยู่นอกการเปรียบเทียบดังกล่าว"[3]

นั่นหมายความว่า เมื่อพิจารณาถึงเบาะแสและพยานแวดล้อม จะเข้าใจได้ว่ามีการเปรียบสัจจะวาจาของท่านอบูซัรกับบุคคลทั่วไป ไม่ได้หมายรวมถึงบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(.) แม้ตัวบทฮะดีษจะมิได้ระบุอย่างชัดเจนก็ตาม



[1] เชคศ่อดู้ก,ษะวาบุ้ลอะอ์ม้าล,หน้า 97,สำนักพิมพ์ ชะรีฟ เราะฎี,กุม

[2] เศาะฮีฟะตุรริฎอ(.),หน้า 94,ฮะดีษที่ 30,การประชุมนานาชาติอิมามริฎอ(.),..1406

[3] เชคศ่อดู้ก,มะอานิ้ลอัคบ้าร,เล่ม 1,หน้า 179,สำนักพิมพ์ญามิอะฮ์ มุดัรริซีน,กุม

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • อิสลามมิได้ห้ามรับประทานเนื้อดอกหรือ?
    9206 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/14
    พืชผักผลไม้และเนื้อสัตว์ถือเป็นอาหารของมนุษย์มาตั้งแต่โบราณ แต่ก็มีมนุษย์บางกลุ่มที่มีรสนิยมสองขั้วที่ต่างกัน บางกลุ่มไม่แตะต้องเนื้อสัตว์เลย ส่วนบางกลุ่มในแอฟริกา ตะวันออกไกลและยุโรปบางประเทศกินเนื้อสัตว์แทบทุกประเภทแม้กระทั่งเนื้อมนุษย์ในบางกรณี การเปรียบเทียบระหว่างมนุษย์กับสัตว์เดรัจฉานถือว่าไม่ถูกต้องนัก การจะใช้เหตุผลที่ว่าเนื่องจากสัตว์เดรัจฉานกินเนื้อ ฉะนั้นมนุษย์จึงไม่ควรจะทานเนื้อ คงต้องถามกลับว่า สัตว์ป่าอย่างเช่น กวาง ยีราฟ ฯลฯ กินเนื้อเป็นอาหารหรือไม่? สัตว์ที่มีนิสัยดุร้ายอย่างหมีไม่ได้กินน้ำผึ้งและผักผลไม้ดอกหรือ? สิ่งนี้จะถือเป็นเหตุผลที่มนุษย์ไม่ควรทานน้ำผึ้งและพืชผักได้หรือไม่? ...
  • ถ้าหากรายงานที่กล่าวประณามการสั่งสมทรัพย์สมบัติถูกต้อง, ดังนั้น ทรัพย์สมบัติของคนเราหรือแม้แต่ทรัพย์สินของบรรดาอุละมาอฺจะอธิบายว่าอย่างไร?
    7037 ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ 2554/11/21
    ประการแรก: รายงานที่กล่าวถึง,แม้ว่าจะมีสายรายงานที่อ่อนแอก็ตาม, แต่เมื่อพิจารณารายงานอื่นที่กล่าวถึงประเด็นนี้, ก็จะสามารถลบล้างความอ่อนแอของสายรายงานฮะดีซดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
  • ปัจจุบันสวรรค์และนรกมีอยู่หรือไม่ ?
    8975 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    พิจารณาจากโองการและรายงานต่างๆแล้วจะเห็นว่าสวรรค์และนรกที่ถูกสัญญาไว้มีอยู่แล้วในปัจจุบันซึ่งในปรโลกจะได้รับการเสนอขึ้นมาซึ่งมนุษย์ทุกคนจะถูกจัดส่งไปยังสถานที่อันเหมาะสมของแต่ละคนตามความเชื่อความประพฤติ
  • การทำหมันแมวเพื่อป้องกันมิให้จรจัด แต่ก็มีผลกระทบไม่ดีด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ฮุกุ่มเป็นอย่างไรบ้าง?
    8679 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    สำนักฯพณฯท่านผู้นำอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน):
  • ท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จะนำศาสนาใหม่และคัมภีร์ที่นอกเหนือจากอัลกุรอานลงมาหรือไม่?
    6375 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ทำไมจึงเรียกการไว้อาลัยแด่ซัยยิดุชชูฮะดาว่า การอร่านร็อวเฎาะฮ์?
    6329 تاريخ کلام 2554/12/10
    สำนวน “ร็อวเฎาะฮ์” เกิดขึ้นเนื่องจากการนำบทต่างๆในหนังสือ “ร็อวเฎาะตุชชุฮะดา”มาอ่านโดยนักบรรยายหนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในหนังสือเล่มแรกๆที่กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกัรบาลาซึ่งเขียนโดยมุลลาฮุเซนกาชิฟซับซะวอรี (เกิด 910 ฮ.ศ.) เป็นหนังสือภาษาฟาร์ซีหนังสือเล่มนี้ใช้อ่านในการไว้อาลัยมาเป็นเวลาช้านานแล้วดังนั้นพิธีต่างๆที่มีการไว้อาลัยจึงเรียกว่าการร็อวเฎาะฮ์ถึงปัจจุบัน
  • เพราะสาเหตุใด มุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ จึงไม่ได้ช่วยเหลือท่านอิมามฮุซัยนฺ ในขบวนการอาชูรอ และสิ่งที่กล่าวพาดพิงถึงท่านที่ว่า ท่านได้อ้างตัวการเป็นอิมามะฮฺถูกต้องหรือไม่?
    6706 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    การตัดสินเกี่ยวกับบุคลภาพ ความประเสริฐ ความศรัทธาและจริยธรรมของมุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ หรือการค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอบบิดเบือนตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับบุคลิกภาพ สถานะภาพของบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ มิใช่สิ่งที่ง่ายดายแต่อย่างใดเลย แต่จากการศึกษาค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ปัจจุบัน พร้อมกับอาศัยสัญลักษณ์ที่กระจัดกระจายอยู่ตามตำราอ้างอิงต่าวๆ สามารถเข้าใจมุมมองหนึ่งจากชีวประวัติของบุรุษผู้นี้ได้ เช่น คำพูดที่พูดพาดพิงถึงบุตรชายคนนี้ของท่านอิมามอะลี (อ.) สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้, กล่าวคือเขาเป็นบุรุษที่มีความยิ่งใหญ่คนหนึ่ง เป็นที่รักใคร่ของท่านอิมามอะลี และอิมามฮะซะนัยฺ (อ.) เขามีความเชื่อศรัทธาต่อสถานการณ์เป็นอิมามของบรรดาอิมาม (อ.) เขามิเพียงไม่ได้กล่าวอ้างการเป็นอิมามเพียงอย่างเดียว ทว่าเขายังเป็นทหารผู้เสียสละคอยปกป้อง และรับใช้ท่านอิมามอะลี (อ.) อิมามฮะซัน และอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ด้วยดีมาโดยตลอด เกี่ยวกับสาเหตุที่ท่านมิได้เข้าร่วมเหตุการณ์ในกัรบะลาอฺ หนึ่งในสาเหตุนั้นก็คือ การยืนหยัดต่อสู้ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นั้นมีชะฮาดัตรอคอยอยู่ และการที่เป้าหมายดังกล่าวจะบังเกิดสมจริงได้นั้น ก็ด้วยจำนวนสหายดังกล่าวที่ได้ร่วมเดินทางไปพร้อมกับท่านอิมามฮุซัยน (อ.) ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เห็นว่าไม่มีความสมควรแต่อย่างใด ในการสู้รบหนึ่งซึ่งผลที่ออกมาทั้งสหาย และบุรุษลูกหลานในครอบครัวแห่งอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน จะต้องเข้าร่วมโดวยพร้อมหน้ากัน
  • ใครคือบุคคลทีได้เข้าสรวงสวรรค์?
    10296 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    จากการศึกษาอัลกุรอานหลายโองการเข้าใจได้ว่าสวรรค์คือพันธสัญญาแน่นอนของพระเจ้าและจะตกไปถึงบุคคลที่มีความสำรวมตนจากความชั่ว “มุตตะกี”หรือผู้ศรัทธา “มุอฺมิน” ผู้ที่ปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเจ้า (ซบ.) และคำสั่งสอนของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) โดยสมบูรณ์บุคคลเหล่านี้คือผู้ได้รับความจำเริญและความสุขอันแท้จริงและเป็นผู้อยู่ในกลุ่มของผู้ประสบความสำเร็จทั้งหลายด้วยการพิจารณาพระบัญชาของอัลลอฮฺ (
  • เราสามารถปฏิบัติตามอัลกุรอานเฉพาะโองการที่เข้าใจได้หรือไม่?
    8359 فضایل اخلاقی 2557/01/21
    มนุษย์เราจำเป็นจะต้องขวนขวายหาความรู้อยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าหากเลือกปฏิบัติตามที่ตนรู้ตามกระบวนการดังกล่าวอย่างบริสุทธิ์ใจ อัลลอฮ์จะทรงชี้นำเขาสู่ความถูกต้องอย่างแน่นอน กุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า «وَ الَّذینَ جاهَدُوا فینا لَنَهْدِیَنَّهُمْ سُبُلَنا وَ إِنَّ اللَّهَ لَمَعَ الْمُحْسِنین»[1] “และเหล่าผู้ที่ต่อสู้ในแนวทางของเรา(อย่างบริสุทธิ์ใจ) แน่แท้ เราจะชี้นำพวกเขา และพระองค์ทรงอยู่เคียงข้างผู้บำเพ็ญความดี” ท่านนบีกล่าวว่า “مَنْ عَمِلَ بِمَا یَعْلَمُ وَرَّثَهُ اللَّهُ عِلْمَ مَا لَمْ یَعْلَمْ”[2] ผู้ที่ปฏิบัติตามสิ่งที่ตนรู้ พระองค์จะทรงสอนสั่งในสิ่งที่เขาไม่รู้” จำเป็นต้องทราบว่า กุรอานมีทั้งโองการที่มีสำนวนเข้าใจง่ายและมีความหมายไม่ซับซ้อน อย่างเช่นโองการที่บัญชาให้นมาซ ห้ามมิให้พูดปด ห้ามนินทา ฯลฯ ...
  • ในเมื่อการกดขี่เป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกแล้ว เหตุใดอิมามมะฮ์ดี (อ.) จึงยังไม่ปรากฏกาย
    6834 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    เมื่อคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้จะทำให้เราค้นหาคำตอบได้ง่ายยิ่งขึ้น1.     เราจะเห็นประโยคที่ว่าیملأ الارض قسطا و عدلا کما ملئت ظلما و جورا" ในหลายๆฮะดิษ[1] (ท่านจะเติมเต็มโลกทั้งผองด้วยความยุติธรรมแม้ในอดีตจะเคยคละคลุ้งไปด้วยความอยุติธรรม) สิ่งที่เราจะเข้าใจได้จากฮะดีษดังกล่าวก็คือ

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60544 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    58136 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42667 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    40045 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39286 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34407 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28469 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28394 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28317 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26243 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...