Please Wait
7928
คำถามแรก. คำตอบใดตอบข้อกล่าวอ้างดังกล่าวได้ดีที่สุดจากมุมมองภายในและภายนอกศาสนา?
คำถามที่สอง. กลุ่มดังกล่าวเป็นใครมาจากใหนกันแน่?
ความเชื่อในการยึดถือเพียงกุรอานและปฏิเสธฮะดีษมีมาตั้งแต่ยุคแรกของอิสลาม แหล่งอ้างอิงทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ต่างบันทึกตรงกันว่า ช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านนบี(ซ.ล.) เมื่อท่านสั่งให้นำปากกาและหมึกมาบันทึกคำสั่งเสียของท่าน เพื่อประชาชาติอิสลามจะไม่หลงทางภายหลังจากท่านนั้น เคาะลีฟะฮ์ที่สอง อุมัร บิน ค็อฏฏ้อบกลับคัดค้านคำสั่งดังกล่าวพร้อมกับกล่าวว่า “คัมภีร์ของอัลลอฮ์(กุรอาน)เพียงพอแล้วสำหรับเรา (ไม่จำเป็นต้องใช้ซุนนะฮ์นบี)
ไม่มีใครสามารถจะอ้างได้ว่าไม่จำเป็นต้องมีฮะดีษ ถามว่ารายละเอียดหน้าที่ทางศาสนามีอยู่ในกุรอานอย่างครบถ้วนหรือไม่? ข้อปลีกย่อยของฟัรฎูต่างๆอาทิเช่น นมาซ, ศีลอด, ซะกาต, ฮัจย์ ฯลฯ มีในกุรอานกระนั้นหรือ?
กุรอานกล่าวว่า “สิ่งที่ศาสนทูตนำมาก็จบรับไว้(ปฏิบัติตาม) และสิ่งที่เขาระงับก็จงหลีกเลี่ยง จงยำเกรงต่อพระองค์ เพราะพระองค์ทรงมีบทลงโทษอันรุนแรง”[i]
แน่นอนว่าคำสั่งและข้อห้ามปรามของท่านนบี(ซ.ล.)ก็คือซุนนะฮ์ของท่านนั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาให้เราปฏิบัติตาม
อะห์มัด บิน ฮัมบัล หนึ่งในอิมามทั้งสี่ของพี่น้องซุนหนี่กล่าวไว้ในหนังสือมุสนัดว่า ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “ฉันได้ฝากฝังสองสิ่งเลอค่าซึ่งมีคุณค่าต่างกันไว้ในหมู่พวกท่าน นั่นคือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์อันเปรียบดั่งสายเชือกที่เชื่อมโยงระหว่างฟากฟ้าและปฐพี และวงศ์วานอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน สองสิ่งนี้จะไม่พรากจากกันกระทั่งบรรจบกับฉัน ณ บ่อน้ำเกาษัร”
จะเห็นได้ว่าในฮะดีษนี้ ท่านนบี(ซ.ล.)และอะฮ์ลุลบัยต์(อ.)ได้รับการจัดให้เคียงคู่กุรอาน อันหมายความว่า ดังที่มุสลิมทุกคนมีหน้าที่ต้องยึดถือกุรอานฉันใด พวกเขาก็จะต้องยึดถืออะฮ์ลุลบัยต์ในภาวะจำเป็นฉันนั้น สองสิ่งนี้จะสมบูรณ์เมื่อเคียงคู่กัน การเลือกยึดถืออย่างใดอย่างหนึ่งจะทำให้สิ่งนั้นบกพร่อง
ข้อครหาดังกล่าวมิไช่ประเด็นใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น หากแต่เป็นประเด็นต้นๆที่เกิดขึ้นภายหลังนบีเสียชีวิต หรืออาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นตั้งแต่ท่านนบี(ซ.ล.)ยังมีชีวิตอยู่แล้วโดยบุคคลบางคน
เราจึงขอเท้าความถึงภูมิหลังดังกล่าวเสียก่อน แล้วจึงวิเคราะห์และตอบคำถาม
ความเชื่อในการยึดถือเพียงกุรอานและปฏิเสธฮะดีษมีมาตั้งแต่ยุคแรกของอิสลาม แหล่งอ้างอิงทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ต่างบันทึกตรงกันว่า ช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านนบี(ซ.ล.) ท่านสั่งให้นำปากกาและหมึกมาบันทึกคำสั่งเสียของท่าน เพื่อประชาชาติอิสลามจะไม่หลงทางภายหลังจากท่าน เคาะลีฟะฮ์ที่สอง อุมัร บิน ค็อฏฏ้อบกลับคัดค้านคำสั่งดังกล่าวพร้อมกับกล่าวว่า “คัมภีร์ของอัลลอฮ์(กุรอาน)เพียงพอแล้วสำหรับเรา (ไม่จำเป็นต้องใช้ซุนนะฮ์นบี)
เราขออ้างอิงจากตำราที่น่าเชื่อถือที่สุดของพี่น้องซุนหนี่ดังนี้
เศาะฮี้ห์บุคอรี, มุสลิม, มุสนัดอะห์มัด ฯลฯ รายงานว่า อิบรอฮีม บิน มูซารายงานจาก ฮิชาม บินมุอัมมัร จากอับดุลลอฮ์ บินมุฮัมมัด จากอับดุรร็อซซ้าก จากมุอัมมัร จากซุฮ์รี จากอุบัยดิลลาฮ์ บิน อับดุลลอฮ์ บิน อับบาสว่า อิบนิ อับบาสเคยกล่าวว่า ช่วงบั้นปลายอายุขัยของท่านนบี(ซ.ล.)มีเศาะฮาบะฮ์กลุ่มหนึ่งเข้าพบท่านนบี ซึ่งอุมัร บิน ค็อฏฏ้อบก็อยู่ในจำนวนนั้นด้วย ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “จงมาใกล้ๆเถิด เพื่อจะเขียนบางสิ่งที่พวกท่านจะไม่มีวันหลงทางหลังจากฉัน” อุมัรพูดขึ้นว่า “ความเจ็บปวดมีอิทธิพลเหนือท่าน พวกเจ้ามีกุรอานอยู่แล้ว คัมภีร์ของอัลลอฮ์เพียงพอแล้วสำหรับเรา”[1] พลันเศาะฮาบะฮ์เกิดมีปากเสียงต่อหน้าท่านนบี(ซ.ล.) ท่านจึงสั่งว่า “จงลุกไปจากฉัน ไม่บังควรที่จะต่อล้อต่อเถียงกันต่อหน้าฉัน”[2]
อุบัยดุลลอฮ์เล่าว่า อิบนิ อับบาสโอดครวญว่า “โศกนาฏกรรมเริ่มตั้งแต่พวกเขาขวางกั้นมิให้ท่านบันทึกคำสั่งเสีย”[3]
คำตอบต่อไปนี้เป็นคำตอบจากมุมมองภายในและภายนอกศาสนา และยังถือเป็นคำตอบสำหรับแนวคิดของเคาะลีฟะฮ์ที่สองได้อีกด้วย
เหตุผลที่หนึ่ง: สติปัญญา
สมมุติว่ามุสลิมทั้งโลกเชื่อว่ากุรอานเพียงพอแล้ว และไม่จำเป็นต้องพึ่งพาฮะดีษ ถามว่าความเชื่อนี้ตรงกับข้อเท็จจริงหรือไม่?
หากจะเชื่อถือเพียงกุรอาน ถามว่าทุกคนเข้าใจกุรอานไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่?
แม้ว่าทุกคนทราบคำตอบได้ด้วยสามัญสำนึก แต่เราขอชี้แจงเรื่องดังกล่าวพอสังเขปตามแนวคิดที่ว่า “เราจะเชื่อว่าสิ่งใดเกิดขึ้น ต้องสังเกตุว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นจริงแล้วหรือยัง”
ก. เป็นที่ทราบกันดีว่าในหมู่พี่น้องมุสลิมเอง ไม่ว่าซุนหนี่หรือชีอะฮ์ ก็มิได้เข้าใจโองการกุรอานในทิศทางเดียวกัน กล่าวได้ว่ามีหลักศรัทธาหรือข้อบังคับไม่กี่ข้อที่นักอธิบายกุรอานทุกคนจะมีทัศนะเป็นเอกฉันท์[4]
ข. ไม่มีใครสามารถจะอ้างได้ว่าไม่จำเป็นต้องมีฮะดีษ ทั้งนี้ ถามว่ารายละเอียดข้อบังคับศาสนามีอยู่ในกุรอานอย่างครบถ้วนหรือไม่? ข้อปลีกย่อยของฟัรฎูต่างๆอาทิเช่น นมาซ, ศีลอด, ซะกาต, ฮัจย์ ฯลฯ มีในกุรอานกระนั้นหรือ?
ค. หากเราเชื่อดังที่กล่าวมา แล้วจะทำอย่างไรกับตำราฮะดีษที่มีจำนวนมากมายมหาศาลของพี่น้องซุนหนี่ อาทิเช่น เศาะฮี้ห์บุคอรี มุสลิม สุนันอบีดาวู้ด สุนันติรมิซี สุนันนะซาอี สุนันอิบนิมาญะฮ์ และอีกเป็นร้อยเป็นพันเล่ม
เหตุผลที่สอง: มติปวงปราชญ์(อิจมาอ์)
ปัจจุบันนี้ ทุกมัซฮับไม่ว่าจะเป็นมัซฮับหลักความเชื่อหรือมัซฮับฟิกเกาะฮ์ล้วนเห็นพ้องกันว่าเราขาดฮะดีษไม่ได้ ไม่มีฟะกี้ฮ์หรือนักเทววิทยามุสลิมคนใดที่เชื่อว่ามุสลิมไม่จำเป็นต้องพึ่งพาฮะดีษในภาคความเชื่อและภาคปฏิบัติ[5]
เหตุผลที่สาม: กุรอาน
กุรอานกล่าวว่า “สิ่งที่ศาสนทูตมอบให้ก็จงรับไว้(ปฏิบัติตาม) และสิ่งที่ศาสนทูตยับยั้งก็จงหลีกเลี่ยง จงยำเกรงต่อพระองค์ แท้จริงพระองค์ทรงมีบทลงโทษอันรุนแรง”[6]
แม้ว่าโองการข้างต้นจะประทานมาในเหตุการณ์แบ่งสินสงครามบนีนะฎี้รก็ตาม แต่เนื่องจากเป็นพระดำรัสในเชิงกว้าง จึงครอบคลุมวิถีชีวิตของมุสลิมทุกคน[7] และเป็นหลักฐานบ่งชี้ว่าสามารถยึดถือซุนนะฮ์นบี(ซ.ล.)ได้[8]
หลักการดังกล่าวสอนว่ามุสลิมทุกคนมีหน้าที่จะต้องเชื่อฟังคำสั่งของท่านนบี(ซ.ล.)โดยดุษณี ไม่ว่าจะในด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ อิบาดะฮ์ และด้านอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โองการดังกล่าวเตือนว่าผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษแสนสาหัส[9]
แน่นอนว่าคำสั่งและข้อห้ามปรามของท่านนบี(ซ.ล.)ก็คือซุนนะฮ์ของท่านนั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาให้เราปฏิบัติตาม
ในจุดนี้ บางท่านอาจสงสัยว่าเหตุใดอัลลอฮ์จึงสั่งให้มนุษยชาติเชื่อฟังท่านนบี(ซ.ล.)โดยปราศจากข้อแม้ใดๆ?
เราจะตอบปัญหาข้างต้นได้ก็ต่อเมื่อยอมรับเสียก่อนว่าท่านและวงศ์วานของท่านล้วนเป็นผู้มีภาวะไร้บาป(มะอ์ศูม)
ฮะดีษมากมาย[10]ระบุว่า เหตุที่อัลลอฮ์ทรงประทานอำนาจหน้าที่แก่ท่านนบีถึงเพียงนี้ก็เพราะว่าทรงพิจารณาแล้วว่าท่านนบีเป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยจริยธรรมอันยิ่งใหญ่[11]
เหตุผลที่สี่: ฮะดีษ
มีฮะดีษมากมายทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ที่รณรงค์ให้ยึดถือฮะดีษ อาทิเช่นฮะดีษษะเกาะลัยน์ที่ปรากฏในตำราฮะดีษของซุนหนี่และชีอะฮ์อย่างเป็นเอกฉันท์
อะห์มัด บิน ฮัมบัล หนึ่งในอิมามทั้งสี่ของพี่น้องซุนหนี่กล่าวไว้ในหนังสือมุสนัดว่า อัสวัด บินอามิร รายงานจากอบูอิสรออีล (อิสมาอีล บิน อิสฮ้าก มุลาอี) จากอะฎียะฮ์ จากอบูสะอี้ด รายงานว่าท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “ฉันได้ฝากฝังสองสิ่งเลอค่าซึ่งมีคุณค่าต่างกันไว้ในหมู่พวกท่าน นั่นคือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์อันเปรียบดั่งสายเชือกที่เชื่อมโยงระหว่างฟากฟ้าและปฐพี และวงศ์วานอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน สองสิ่งนี้จะไม่พรากจากกันกระทั่งบรรจบกับฉัน ณ บ่อน้ำเกาษัร”[12]
จะเห็นได้ว่าในฮะดีษนี้ ท่านนบี(ซ.ล.)และอะฮ์ลุลบัยต์(อ.)ได้รับการจัดให้เคียงคู่กุรอาน อันหมายความว่า ดังที่มุสลิมทุกคนมีหน้าที่ต้องยึดถือกุรอานฉันใด พวกเขาก็จะต้องยึดถืออะฮ์ลุลบัยต์ในภาวะจำเป็นฉันนั้น สองสิ่งนี้จะสมบูรณ์เมื่อเคียงคู่กัน การเลือกยึดถืออย่างใดอย่างหนึ่งจะทำให้สิ่งนั้นบกพร่อง
สรุปคือ หนึ่ง.เป็นไปไม่ได้ที่จะปฏิบัติตามข้อบังคับและดำเนินชีวิตตามวิถีมุสลิมโดยปราศจากฮะดีษ สอง. สมมุติว่าไม่พึ่งพาฮะดีษ ความขัดแย้งก็หาได้ลดลงไม่ อาจจะมากกว่าที่เป็นอยู่ด้วยซ้ำ
[1] บทที่รายงานโดยอิบนิอุมัร “...แท้จริงนบีกำลังเพ้อเจ้อ”,นะฮ์ญุ้ลฮักวะกัชฟุศศิดก์,หน้า 333
[2] เศาะฮี้ห์บุคอรี,เล่ม 17,หน้า 417,ฮะดีษที่ 5237, และเศาะฮี้ห์มุสลิม,เล่ม 8,หน้า 414, และมุสนัดอะห์มัด,เล่ม 6,หน้า 368,478, ที่มา: http://www.al-islam.com
[3] ฮิลลี่,นะฮ์ญุ้ลฮักวะกัชฟุศศิดก์,หน้า 333,สำนักพิมพ์ดารุ้ลฮิจเราะฮ์,กุม,ฮ.ศ.1407
[4] กรุณาศึกษาเพิ่มเติมจากตำราตัฟซี้รของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์
[5] อิจมาอ์ในที่นี้มิได้หมายถึงอิจมาอ์เชิงฟิกเกาะฮ์ แต่หมายถึงทัศนะอันเป็นเอกฉันท์ที่สามารถเป็นหลักฐานสำหรับเราได้
[6] อัลฮัชร์, 7 وَ ما آتاکُمُ الرَّسُولُ فَخُذُوهُ وَ ما نَهاکُمْ عَنْهُ فَانْتَهُوا وَ اتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ شَدیدُ الْعِقابِ
[7] المورد لا یخصّص الوارد
[8] ฟัครุดดีน รอซี, อบูอับดิลลาฮ์ มุฮัมมัด บินอุมัร, มะฟาตีฮุ้ลฆ็อยบ์,เล่ม 29,หน้า 507,สำนักพิมพ์ดารุอิห์ยาอิตตุร้อษ อัลอะเราะบี,เบรุต,พิมพ์ครั้งที่สาม,ฮ.ศ.1420
[9] و الأجود أن تکون هذه الآیة عامة فی کل ما آتى رسول اللَّه و نهى عنه و أمر الفیء داخل فی عمومه : เฏาะบาเฏาะบาอี,ซัยยิดมุฮัมมัดฮุเซน,อัลมีซานฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 19,หน้า 353,สำนักพิมพ์อินติชาร้อตอิสลามีของญามิอะฮ์มุดัรริซีน สถาบันการศาสนาเมืองกุม,พิมพ์ครั้งที่ห้า /อายะฮ์นี้มิได้จำกัดเนื้อหาไว้เพียงเหตุการณ์ที่ประทานลงมาในเรื่องสัดส่วนของสินสงคราม แต่ครอบคลุมคำสั่งและข้อห้ามปรามทั้งหมดของท่านนบี(ซ.ล.)
[10] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 23,หน้า 507- 508, สำนักพิมพ์ดารุลกุตุบอัลอิสลามียะฮ์,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,1375
[11] มีฮะดีษที่กล่าวถึงประเด็นนี้จำนวนมาก โปรดอ่านตัฟซี้รนูรุษษะเกาะลัยน์,เล่ม 5,หน้า 279-283
ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 23,หน้า 509,510
[12] มุสนัดอะห์มัด,เล่ม 22,หน้า 226,252,324 เล่ม 39,หน้า 308
حَدَّثَنَا أَسْوَدُ بْنُ عَامِرٍ أَخْبَرَنَا أَبُو إِسْرَائِیلَ یَعْنِی إِسْمَاعِیلَ بْنَ أَبِی إِسْحَاقَ الْمُلَائِیَّ عَنْ عَطِیَّةَ عَنْ أَبِی سَعِیدٍ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَیْهِ وَسَلَّمَ إِنِّی تَارِکٌ فِیکُمْ الثَّقَلَیْنِ أَحَدُهُمَا أَکْبَرُ مِنْ الْآخَرِ کِتَابُ اللَّهِ حَبْلٌ مَمْدُودٌ مِنْ السَّمَاءِ إِلَى الْأَرْضِ وَعِتْرَتِی أَهْلُ بَیْتِی وَإِنَّهُمَا لَنْ یَفْتَرِقَا حَتَّى یَرِدَا عَلَیَّ الْحَوْضَ