การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7028
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/09/25
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1040 รหัสสำเนา 16978
คำถามอย่างย่อ
จะมีวิธีการจำแนก ระหว่างการกรุการมุสาหรือพูดจริง สำหรับบุคคลที่กล่าวอ้างถึงวะฮฺยู (อ้างการลงวะฮฺยูและการเป็นนบี) ได้อย่างไร?
คำถาม
จะมีวิธีการจำแนก ระหว่างการกรุการมุสาหรือพูดจริง สำหรับบุคคลที่กล่าวอ้างถึงวะฮฺยู (อ้างการลงวะฮฺยูและการเป็นนบี) ได้อย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

1- วะฮฺยูในความหมายของคำหมายถึง "การถ่ายโอนเนื้อหาอย่างรวดเร็วอย่างลับๆ" แต่ในความหมายทางโวหารหมายถึง "การรับรู้ด้วยสติอันเป็นความพิเศษของศาสดา การได้ยินพระวจนะของพระเจ้าโดยไม่มีสื่อกลาง หรือผ่านสื่อกลาง

2- วะฮฺยูตามความมายของคำนั้น,ไม่เพียงแต่ไม่ใช้สำหรับมนุษย์ที่มิได้เป็นนบีเท่านั้น แม้แต่สรรพสัตว์และสิ่งไม่มีชีวิตอื่นก็ถูกใช้ด้วย และ ... นอกจากนี้ยังนำมาใช้เป็นวัฒนธรรมของกุรอาน, เช่น แรงบันดาลใจที่มีต่อมารดาของศาสดามูซา (.), และเรื่องราวอันเป็นสัญชาติญาณ เช่น การสร้างรวงรังของผึ้ง, หรือภารกิจอันเป็นการกำหนด เช่น การโคจรของฟากฟ้าและแผ่นดิน สิ่งเหล่านี้เป็นวะฮฺยูเช่นกัน

3- บรรดานักเอรฟานบางท่านยังเรียกร้องว่า ตนมีแรงบันดาลใจวะฮฺยู" ซึ่งจุดประสงค์ของพวกเขาคือ วะฮฺยู ในความหมายเชิงภาษาหรือแรงบันดาลใจนั่นเอง ส่วนวะฮฺยูในเชิงของโวหารนั้นสำหรับบรรดานบี (.) เท่านั้น, แต่แรงบันดาลใจอาจจะครอบคลุมถึงคนอื่นด้วย

4- ถ้ามีคนเรียกร้องวะฮฺยูพร้อมกับการเป็นนบีและมีสาส์น ดังนั้นเพื่อระบุคำพูดของเขาว่าเป็นจริงในอันดับแรกจะมี "ปาฏิหาริย์" แสดงออกมา

5- ปาฏิหาริย์ (มุอฺญิซะฮฺ) เป็นภารกิจพิเศษเหนือธรรมชาติ ซึ่งอยู่เหนืออำนาจมนุษย์และออกนอกกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งบุคคลที่อ้างว่าตนเป็นนบีจะแสดงออกมาเพื่อพิสูจน์การเป็นนบีของตน พร้อมกับเป็นการโต้ตอบการร้องขอหรือคำท้าทาย (ตะฮัดดี) ของคนอื่น เช่น ไม้เท้าของศาสดามูซา (.) ได้กลายเป็นงู หรือการที่ศาสดาอีซา (.) ได้ทำให้สิ่งที่ตายแล้วฟื้นคืนชีพขึ้นมา หรืออัลกุรอานมะญีดอันเป็นความอัศจรรย์ของพระศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ) ผู้เป็นศาสดาสุดท้าย ดังนั้น หากใครกำลังมองหาการกระทำพิเศษเหนือธรรมชาติ ซึ่งจะไม่เรียกการกระทำของเขาว่าเป็น มุอฺญิซะฮฺ ทว่าจะเรียกเป็น กะรอมัต หรือ ... ขณะเดียวกันถ้าหากการกระทำของเขาไม่ตรงกับคำกล่าวอ้างการเป็นนบี จะไม่เรียกสิ่งนั้นว่าเป็นมุอฺญิซะฮฺเช่นกัน

6- สิ่งที่บ่งว่ามุอฺญิซะฮฺนั้นรับรองคำกล่าวอ้างการเป็นนบีว่าเป็นความจริง ก็คือ: ทั้งมุอฺญิซะฮฺและวะฮฺยู (แรงบันดาลใจ) ทั้งสองเป็นภารกิจเหนือธรรมชาติและเป็นปรากฏการณ์เร้นลับ ทว่าวะฮฺยูมิใช่ว่าบุคคลอื่นจะสามารถเห็นได้ การมองเห็นมลาอิกะฮฺเป็นไปไม่ได้สำหรับบุคคลอื่นที่มิใช่นบี ด้วยเหตุนี้เอง บรรดาศาสดาทั้งหลายที่ได้แสดงปาฏิหาริย์นั้นถือเป็นภารกิจเหนือธรรมชาติ และเหนืออำนาจของมนุษย์,เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าสิ่งนั้นได้มาจาก แหล่งอันเป็นอำนาจสูงสุดหรือสัมพันธ์อยู่กับอำนาจสูงสุด ด้วยเหตุนี้กฏเกณฑ์ที่ว่ากฏแห่งความคล้ายเหมือนในสิ่งอนุญาต และสิ่งที่ไม่อนุญาตจึงเป็นหนึ่งเดียวกันเราจึงสามารถสรุปได้ว่า คำกล่าวอ้างของบรรดาศาสดาทั้งหลายเกี่ยวกับการประทานวะฮฺยูลงมายังพวกท่าน ถือเป็นความจริงและถูกต้อง

7- การกล่าวอ้างถึงปาฏิหาริย์ สำหรับผู้ที่กรุการกล่าวอ้างการเป็นนบีจึงเป็นสิ่งเป็นไปไม่ได้, เพราะไม่เข้ากับภูมิปัญญาและคำชี้นำของพระเจ้า และการกล่าวปาฏิหาริย์ทำนองนี้ด้วยน้ำมือของผู้กล่าวเท็จย่อมเป็นสาเหตุทำให้บุคคลอื่นหลงทาง,เนื่องจากถ้าหน้าที่ของประชาชนคือการยอมรับคำกล่าวอ้างการเป็นนบีของทุกคนแล้วละก็ ย่อมนำไปสู่ความเสียหายอย่างแน่นอน และยังเป็นสาเหตุทำให้มีผู้กรุการกล่าวอ้างการเป็นนบีเพิ่มมากยิ่งขึ้น หรือปฏิเสธทุกคนที่กล่าวอ้างว่าเป็นนบี แน่นอนสิ่งนี้ย่อมขัดแย้งกับเป้าหมายของการประทานศาสดา และการชี้นำประชาชนอย่างแน่นอน, หรือจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานสำหรับการจำแนกการเป็นนบีที่มาจากพระเจ้าแก่ประชาชน เพื่อจะได้จำแนกได้ทันทีว่าผู้กล่าวอ้างจริงและเท็จเป็นอย่างไร และแน่นอน มาตรฐานนั้นก็คือมุอฺญิซะฮฺนั่นอง

8- ยังมีวิธีอื่นที่จะรู้จักความจริงสำหรับการกล่าวอ้างการเป็นนบี เช่น : การตรวจสอบเนื้อหาของวะฮฺยูในที่ขัดแย้งกับด้านใน, หรือในแง่ที่ขัดแย้งกับสติปัญญา เหตุผล และธรรมชาติ. ดังนั้น การกล่าวอ้างเรืองวะฮฺยูถ้าหากว่าขัดยังกับเหตุผลแน่นอนหรือสติปัญญาหรือธรรมชาติแล้วละก็ ถือว่าเป็นเท็จ และถ้าแตกต่างกันระหว่างประโยคต่าง หรือพบว่ามีความขัดแย้งกันระหว่างวะฮฺยูเหล่านั้น สิ่งนี้ย่อมเป็นเหตุผลที่ยืนยันถึงคำกล่าวอ้างที่เป็นเท็จนั้น

9- ตรวจสอบพฤติกรรมของผู้เรียกร้องการเป็นนบี ในแง่ของการมีความสมบูรณ์ทางศีลธรรม จิตใจ และพฤติกรรม, ซึ่งวิธีนี้สามารถพิสูจน์ได้ว่าคำกล่าวอ้างของเขาเป็นจริงหรือไม่

10- การแนะนำหรือการประกาศแจ้งของศาสดาคนก่อนหน้า หรือศาสดาร่วมสมัย,หรือคำชี้แจงที่อยู่ในตำราหรือคัมภีร์แห่งพระเจ้า ซึ่งสิ่งนี้นับว่าเป็นอีกวิธีหนึ่งในการรู้จักนบี, โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรู้จักท่านศาสดาอิสลาม (ซ็อล )

คำตอบเชิงรายละเอียด

"วะฮฺยู" มีความหมายทางภาษาและความหมายในเชิงสติปัญญา[1] วะฮฺยูตามความหมายของคำหมายถึง "การโยกย้ายเรื่องราวโดยรวดเร็วอย่างลับๆ ไปยังบุรุษที่สอง"[2] ซึ่งครอบคลุมถึง "แรงบันดาลใจหรือการดลใจ" ส่วนความหมายในเชิงของสติปัญญา "วะฮฺยู" คือสติและการรับรู้พิเศษและลึกลับ (ไม่ใช่การคิดของปัญญา) จะไม่มีผู้ใดได้รับวะฮฺยู ยกเว้นมนุษย์ผู้ที่ได้รับความเมตตาพิเศษจากพระเจ้าเท่านั้น (บรรดาศาสดา) และวะฮฺยูจะถูกปกปิดไปจากความรู้สึกภายนอกด้วย[3]

วะฮฺยู ในแง่ของภาษานั้นมิได้จำกัดอยู่แค่มนุษย์ธรรมดาเท่านั้น, ทว่าได้ครอบคลุมถึงบรรดาสรรพสัตว์ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ หรือแม้แต่สิ่งไม่มีชีวิตซึ่งภายนอกอาจจะไม่มีการรับรู้เช่น (หิน) เป็นต้น. ซึ่งตามวัฒนธรรมของอัลกุรอานสภาพอันเป็นธรรมชาติ สำหรับผึ้งที่สร้างรวงรังผึ้งและผลิตน้ำผึ้งได้นั้น เป็นไปตามวะฮฺยูของพระเจ้าพระผู้ทรงสร้างสรรค์ซึ่งได้อธิบายแก่มัน[4] หรือการดลใจที่มีต่อมารดาของศาสดามูซา (.) เพื่อให้ช่วยเหลือบุตรของตน,โดยนางได้วางบุตรชายลงในกล่องและปล่อยลอยไปตามแม่น้ำไนล์, ซึ่งสิ่งนี้ก็ถือว่าเป็นวะฮฺยูด้วยเช่นกัน[5] หรือดั่งเช่นที่พระองค์ได้วะฮฺยูแก่ท้องฟ้าและแผ่นดิน[6]

นักเอรฟานบางคนกล่าวอ้างถึงวะฮฺยู ซึ่งน่าจะเป็นความหมายในเชิงภาษา หรือที่เรียกว่าการดลใจซึ่งจุดประสงค์คือการได้รับหรือการประจักษ์นั่นเอง

อิบนุอะเราะบีย์ กล่าวว่าการครอบคลุมวะฮฺยูมีเหนือจิตวิญญาณของบุคคลที่วะฮฺยูได้ประทานลงมาแก่เขา, มีความเข็มแข็งยิ่งกว่าการภาวะจิตใจซึ่งเป็นจิตวิญญาณของบุคคล, อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า : และเราจะอยู่ใกล้ชิดกับเขายิ่งกว่าเส้นเลือดที่ลำคอของเขาดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่คิดว่าอัลลอฮฺได้วะฮฺยูแก่ท่าน, จงพิจารณาตัวของท่าน,แล้วใคร่ครวญดูซิว่าท่านลังเลใจหรือเคลือบแคลงสงสัย หรืออยู่ในสภาพที่ขัดแย้งกับจิตด้านในหรือไม่? ถ้าหากว่าตอนนั้นยังสงสัย ยังครุ่นคิด และยังวิเคราะห์อยู่แสดงให้เห็นว่าท่านมิใช่เจ้าของวะฮฺยู และไม่มีวะฮฺยูใดๆ ลงมาที่ท่านอย่างแน่นอน, แต่ทุกครั้งสิ่งที่มีมายังท่าน, ทำให้ท่านลืมตัวเองไปชั่วขณะ ดวงตาพร่ามัวคล้ายมืดบอด ไม่ได้ยินเสียงใดๆ และระหว่างท่านกับความคิดใคร่ครวญเหมือนมีกำแพงขวางกั้นอยู่,ประหนึ่งว่าบัญชานั้นได้ครอบคลุมท่านไว้ทั้งหมด, พึงรู้ไว้เถิดว่าวะฮฺยูได้ลงมาที่ท่านแล้ว[7] แน่นอน ประเด็นนี้มีคำพูดมากมายที่กล่าวถึงไว้ ซึ่งจะขออธิบายในเวลาอื่น,ในที่นี้จะขอนำเสนอคำพูดของนักปราชญ์บางท่านอันเป็นที่ยอมรับ ที่กล่าวไว้เช่น. ซ็อดรุลมุตะอัลลิฮีน ชีรอซีย์ (รฎ.) กล่าวไว้ในหนังสือ มะตีฮุลฆัยบฺ หลังจากอธิบายถึงแนวทางต่างๆ ในการศึกษาหาความรู้ (การศึกษาหาความรู้,ความโน้มน้าวในการให้) กล่าวคือการสั่งสอนของพระเจ้าโดยปราศจากสื่อกลาง, อาจเกิดขึ้นได้ใน 2 ลักษณะดังนี้ ลักษณะแรก,คือการประทานวะฮฺยู,ลักษณะที่สองคือ การดลใจ,โดยกล่าวว่า : สรุปว่าการดลใจคือภารกิจหนึ่งซึ่งครอบคลุมทั้งบุคคลที่เป็นศาสดาและหมู่มิตรของพระองค์, ส่วนวะฮฺยูนั้นเฉพาะเจาะจงสำหรับบุคคลที่เป็นศาสดาเท่านั้น, เนื่องจากท่านเหล่านี้คือหลักประกันตำแหน่งการเป็นศาสดาและสาส์นของพระองค์[8] หลังจากนั้นท่านได้กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างวะฮฺยูกับการอิลฮาม,และยังได้กล่าวถึงบทบาทของสื่อกลางในการถ่ายทอดวะฮฺยูและการอิลฮาม[9]

กัยซัรรีย์ กล่าวไว้ในบทนำของหนังสือ ฟุซูซุลฮิกัม ของอิบนุอะเราะบีย์ และได้อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างอิลฮามกับวะฮฺยู หลังจากนั้นได้กล่าวถึงความแตกต่างๆ เอาไว้ โดยกล่าวว่าวะฮฺยูคือความพิเศษอันเฉพาะสำหรับนบีเท่านั้น...ส่วนอิลฮามคือความเฉพาะพิเศษสำหรับวิลายะฮฺ และ ...[10]

ด้วยเหตุนี้ อาจเป็นไปได้ว่า, จะมีผู้กล่าวอ้างวะฮฺยูในทุกยุคสมัยก็ได้,แต่ต้องระบุให้ชัดเจนลงไปว่าจุดประสงค์ของเขาหมายถึง วะฮฺยูในเชิงสติปัญญาที่มาพร้อมการกล่าวอ้างการเป็นนบี หรือวัตถุประสงค์ของเขาคือการหยั่งรู้ไปถึงระดับหนึ่งที่เรียกว่าเป็นการค้นพบโดยสัญชาติญาต หรือเรียกว่าได้อิลฮามจากพระเจ้า? ตามสมมุติฐานที่สอง ถือว่าเขาเป็นอาริฟคนหนึ่ง มิใช่ศาสดา ดังนั้น เพื่อพิสูจน์คำพูดของเขาว่าเป็นความจริงหรือไม่ จำเป็นต้องย้อนไปศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับประเด็นนี้

แต่ถ้าวัตถุประสงค์ของเขา,คือวะฮฺยูในเชิงสติปัญญาซึ่งมลาอิกะฮฺเป็นผู้นำวะฮฺยูลงมาให้เขา หรือนำดำรัสของพระเจ้ามายังเขา,เวลานั้นการวิพากษ์ด้านศาสนศาสตร์ก็จะเกิดขึ้นโดยปริยาย ซึ่งจะต้องเน้นย้ำให้เห็นว่า แนวทางการรู้จักนบีเป็นอย่างไร และเราจะจำแนกระหว่างผู้ที่เป็นนบีกับผู้แจ้งข่าวได้อย่างไร?

ปกติแล้วจุดประสงค์ของผู้ถามก็คือ เป้าหมาย และการรอบรู้ถึงแนวทางในการยืนยันความกล่าวอ้างการเป็นนบี, ด้วยเหตุนี้ เราสามารถตั้งคำถามเช่นนี้ว่า :ถ้าหากมีผู้กล่าวอ้างว่าเป็นนบี,จะสามารถรับรู้ถึงความจริงในการกล่าวอ้างของเขาได้อย่างไร?

ถ้าหากบุคคลหนึ่งกล่าวอ้างถึง วะฮฺยู นบูวัต และสาส์นจากพระเจ้า, ดังนั้น เขาต้องนำเสนอสัญลักษณ์หรือมีเหตุผลที่เชื่อถือได้ หรือพยานหลักฐานต่างๆ เนื่องจากวะฮฺยูมิใช่ภารกิจสำหรับทุกคนหรือใช่ว่าทุกคนจะได้รับวะฮฺยู ประกอบกับมลาอิกะฮฺแห่งวะฮฺยูจะไม่มีผู้ใดได้พบเห็นเด็ดขาดนอกจากผู้ที่เป็น ศาสดา เท่านั้น และจะไมปรากฏสัญญาณแก่ผู้ใดด้วย. การพิสูจน์ปาฏิหาริย์ที่ไม่อาจมองเห็นด้วยตาได้ ต้องอาศัยปาฏิหาริย์อีกประการหนึ่งที่มองเห็นได้ เพื่อว่าเมื่อผู้คนได้เห็นปาฏิหาริย์แล้ว เขาจะได้เชื่อถือได้ว่าผู้ที่กล่าวอ้างตนเป็นนบี มีการติดต่อกับแหล่งแห่งอำนาจที่เหนือธรรมชาติ และเหนือวัตถุทั้งหลาย เขาได้พึ่งพิงอำนาจที่ไม่ใช่อำนาจธรรมดาสามัญ หรือมิใช่อำนาจทางวัตถุ และวะฮฺยูได้ประทานลงมาที่เขา เขามีการสัมพันธ์ติดต่อกับพระเจ้า, เป็นเจ้าของปาฏิหาริย์, มีศักยภาพในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ซึ่งสามัญชนไม่อาจกระทำได้ และในที่สุดแล้วได้ยอมรับฟังคำพูดของเขา

จากคำอธิบายข้างต้นเข้าใจได้ว่า ทุกประชาชาติได้เรียกร้องการแสดงปาฏิหาริย์จากศาสดาแห่งยุคของตน อันเป็นสิทธิอันชอบธรรมของพวกเขา และบรรดาศาสดาเหล่านั้นก็ได้ตอบสนองคำเรียกร้องของพวกเขา ท่านได้แสดงปาฏิหาริย์ และนำโองการต่างๆ มาสั่งสอน อัลกุรอานกล่าวว่าโดยแน่นอน เราได้ส่งบรรดาศาสนทูตของเราพร้อมด้วยหลักฐานทั้งหลายอันชัดแจ้ง (ปาฏิหาริย์และเหตุผลอันชัดเจน) และเราได้ประทานคัมภีร์และความยุติธรรมลงมาพร้อมกับพวกเขา เพื่อมนุษย์จะได้ดํารงอยู่บนความเที่ยงธรรม[11]

คำนิยามของ มุอฺญิซะฮฺ : แน่นอนสำหรับมุอฺญิซะฮฺ ได้มีคำอธิบายไว้มากมาย, แต่ถ้าไม่ใส่ใจต่อคำนิยามเหล่านั้นละก็ เราสามารถกล่าวได้ดังนี้ว่า มุอฺญิซะฮฺคือ :ภารกิจพิเศษที่เหนือการคาดหมายและพ้นญาณวิสัยของมนุษย์ ซึ่งเฉพาะศาสดาของพระองค์เท่านั้นที่สามารถแสดงปาฏิหาริย์นั้นได้ มนุษย์สามัญชนทั่วไปแม้ว่าจะทุ่มเทพลังความสามารถทั้งหมดลงไป ก็ยังไร้ความสามารถในการแสดงมุอฺญิซะฮฺอยู่ดี[12]

จากนิยามดังกล่าว เข้าใจได้ว่ามุอฺญิซะฮฺต้องมีลักษณะพิเศษต่างไปจากภารกิจทั่วไป ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่า ประการแรก : มุอฺญิซะฮฺ ตามนามชื่อแล้วเป็นที่ประจักษ์ว่า,เป็นภารกิจหนึ่งซึ่งสามัญชนทั่วไปไร้ความสามารถในการแสดง อีกทั้งได้แสดงให้เห็นความไร้สามารถของคนอื่น,กล่าวคือ เป็นภารกิจที่เหนือธรรมชาติและอยู่พ้นญาณวิสัยของมนุษย์ปุถุชน อยู่เหนือศักยภาพและความสามารถของมนุษย์ มิใช่ภารกจิที่ได้มาจากการศึกษาร่ำเรียน หรือการฝึกฝนแต่อย่างใด, ประการที่สอง : มุอฺญิซะฮฺ คือการจำแนกระหว่างผู้เป็นนบีกับมิใช่นบี การแสดงปาฏิหาริย์นี้จะเป็นหลักฐานและเป็นเหตุผลที่ไม่มีวันพ่ายแพ้ อีกทั้งไม่สามารถทำลายได้ด้วย ...[13]

ตัวอย่าง เช่น การทำในซากศพที่ตายไปแล้วฟื้นคืนชีพอีกครั้งโดยท่านศาสดาอีซา (.) ซึ่งภารกิจดังกล่าวนี้, นอกจากจะเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติแล้ว, ยังเป็นการพิสูจน์คำกล่าวอ้างการเป็นศาสดาของท่านจากอัลลอฮฺอีกด้วย, อีกทั้งเป็นการพิสูจน์ความไร้สามารถของคนอื่นในการนำปาฏิหาริย์มาอีกด้วย และยังเป็นข้อพิสูจน์และเป็นเหตุผลที่ไม่อาจลบล้างได้

การแสดงภารกิจเหล่านี้โดยบรรดาศาสดาถือว่าเป็นเหตุผลอันชัดแจ้งแล้วว่า วะฮฺยู ก็เป็นอีกภารกิจหนึ่งที่เหนือธรรมชาติและเกิดขึ้นจริง ตามกฎเกณฑ์ที่รู้จักกันดีว่า

"حکم الامثال فیما یجوز و فیما لایجوز واحد"،[14]

สามารถสรุปได้ว่า : จากอำนาจเร้นลับหนึ่งที่ทำให้ไม้เท้าของศาสดามูซา (.) กลายเป็นงูใหญ่, พระดำรัสของพระเจ้าก็ถือว่าเป็นความเร้นลับหนึ่งเช่นกัน, เนื่องจากทำให้ตัวเองตื่นตัวในความรู้ และยังให้ความรู้แก่คนอื่นอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้, สำคัญที่สุดสำหรับการรู้จักความสัตย์จริงของบุคคลหนึ่ง ที่กล่าวอ้างการเป็นนบีและได้รับวะฮฺยูก็คือมุอฺญิซะฮฺซึ่งเราสามารถเชื่อหรือมีอีมานกับบุคคลที่กล่าวอ้างการเป็นนบี โดยแสดงปาฏิหาริย์เพื่อพิสูจน์การเป็นนบีของเขา และยังสามารถยอมรับคำเชิญชวนของเขาได้ ดังนั้น ตามความเป็นจริงแล้วมุอฺญิซะฮฺ

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ฮะดีษ“หากไร้ซึ่งฟาฏิมะฮ์...”มีสายรายงานอย่างไร? กรุณาชี้แจงความหมายด้วยครับ
    7159 تاريخ بزرگان 2554/07/16
    ผู้เขียนหนังสือ“ญุนนะตุ้ลอาศิมะฮ์”ได้อ้างอิงฮะดีษนี้จากหนังสือ“กัชฟุ้ลลิอาลี”ประพันธ์โดย
  • ทั้งที่พจนารถของอิมามบากิรและอิมามศอดิกมีมากมาย เหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมไว้ในหนังสือสักชุดหนึ่ง?
    6514 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    หากจะพิจารณาถึงสังคมและยุคสมัยของท่านอิมามบากิร(อ.)และอิมามศอดิก(อ.)ก็จะเข้าใจได้ว่าเหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมตำราดังกล่าวขึ้นอย่างไรก็ดีฮะดีษของทั้งสองท่านได้รับการรวบรวมไว้ในบันทึกที่เรียกว่า “อุศู้ลสี่ร้อยฉบับ” จากนั้นก็บันทึกในรูปของ”ตำราทั้งสี่” ต่อมาก็ได้รับการเรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ฟิกเกาะฮ์ในหนังสือวะซาอิลุชชีอะฮ์กว่าสามสิบเล่มโดยท่านฮุรอามิลีแต่กระนั้นก็ต้องทราบว่าแม้ว่าฮะดีษของอิมามสองท่านดังกล่าวจะมีมากกว่าท่านอื่นๆก็ตามแต่หนังสือดังกล่าวก็มิได้รวบรวมเฉพาะฮะดีษของท่านทั้งสองแต่ยังรวมถึงฮะดีษของอิมามท่านอื่นๆอีกด้วย ทว่าปัจจุบันมีการเรียบเรียงหนังสือในลักษณะเจาะจงอยู่บ้างอาทิเช่นมุสนัดอิมามบากิร(อ.) และมุสนัดอิมามศอดิก(
  • ทำไมจึงให้สร้อยนามมะอ์ศูมะฮ์แก่ท่านหญิงฟาติมะฮ์ มะอ์ศูมะฮ์ ท่านดำรงสถานะมะอ์ศูมด้วยหรืออย่างไร?
    7263 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/06/23
    ชื่อของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ คือ“ฟาติมะฮ์” ตำราประวัติศาสตร์ก็ได้เอ่ยถึงท่านโดยใช้นามว่า ฟาติมะฮ์ บินติ มูซา บินญะอ์ฟัร (อ.) ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ไม่ได้เป็นมะอ์ศูมในความหมายทางหลักของศาสตร์แห่งเทววิทยาอิสลามอย่างที่ใช้กับบรรดาศาสดาและบรรดาอะอิมมะฮ์ แต่ทว่าเธอมีความบริสุทธิ์ทางจิตใจและความเพียบพร้อมทางด้านจิตใจที่สูงส่ง อนึ่ง ประเด็นของอิศมะฮ์และความบริสุทธิ์ถือเป็นประเด็นที่ต้องอาศัยการเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น เมื่อคำนึงถึงฮะดีษหลายบทที่ได้กล่าวถึงฐานันดรและความสูงส่งของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์แล้ว สามารถกล่าวได้ว่าท่านนั้นมีความสูงส่งในด้านของอิศมะฮ์ ในระดับสูง – แม้ไม่ถึงขั้นของอะอิมมะฮ์ ...
  • สรรพสัตว์นั้นมีจิตวิญญาณหรือไม่ ถ้าหากมีชีวิตของสัตว์กับมนุษย์แตกต่างกันอย่างไร
    13709 เทววิทยาใหม่ 2554/04/21
    ก่อนที่จะเข้าเรื่องสิ่งจำเป็นที่ต้องกล่าวถึงคือพื้นฐานของคำตอบที่จะนำเสนอนั้นวางอยู่บนพื้นฐานของฮิกมัตมุตะอาลียะฮฺ (ฟัลซะฟะฮฺ
  • คำว่าดวงวิญญาณที่ปรากฏในซิยารัตอาชูรอหมายถึงผู้ใด? اَلسَّلامُ عَلَیْکَ یا اَبا عَبْدِ اللَّهِ وَ عَلَى الْاَرْواحِ الَّتى حَلَّتْ بِفِنائکَ
    6374 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/02
    ارواح التی حلت بفنائک หมายถึงบรรดาชะฮีดที่พลีชีพเคียงข้างท่านอิมามฮุเซนณแผ่นดินกัรบะลาทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้:1. ผู้เยี่ยมเยียนที่ยังไม่เสียชีวิตมักไม่เรียกกันว่าดวงวิญญาณ2. บทซิยารัตนี้มักจะอ่านโดยผู้เยี่ยมเยียนและแน่นอนว่าผู้อ่านย่อมมิไช่คนเดียวกันกับผู้เป็นที่ปรารภ3. ไม่มีซิยารัตบทใดที่กล่าวสลามถึงผู้เยี่ยมเยียนเป็นการเฉพาะ4. ซิยารัตอาชูรอรายงานไว้ก่อนที่จะมีสุสานที่รายล้อมกุโบรของอิมามฉะนั้นดวงวิญญาณในที่นี้ย่อมมิได้หมายถึงผู้ที่ฝังอยู่ณบริเวณนั้น5. จากบริบทของซิยารัตทำให้พอจะเข้าใจได้ว่าดวงวิญญาณในที่นี้หมายถึงบรรดาชะฮีดที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามฮุเซนในกัรบะลาอาทิเช่นการสลามผู้ที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามเป็นการเฉพาะ السلام علی الحسین و علی علِیّ بن الحسین و علی اولاد الحسین و علی اصحاب الحسین นอกจากที่เนื้อหาของซิยารัตอาชูรอจะสื่อถึงการสลามอิมามฮุเซนลูกหลานและเหล่าสาวกของท่านแล้วยังแสดงถึงการสวามิภักดิ์ต่อท่านและการคัดค้านศัตรูของท่านอีกด้วย6. ซิยารัตอาชูรอในสายรายงานอื่นมีประโยคที่ว่า السلام علیک و علی الارواح التی حلّت بفنائک و اناخت بساحتک و جاهدت فی ...
  • ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่: การภักดีต่ออลี(อ.)คือสัมมาคารวะที่แท้จริง และการไม่ภักดีต่อท่าน คือการปฏิเสธพระเจ้า
    6986 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/11/09
    ฮะดีษนี้มีเนื้อหาที่ถูกต้องเนื่องจากมีรายงานอย่างเป็นเอกฉันท์กล่าวคือมีฮะดีษมากมายที่ถ่ายทอดถึงเนื้อหาดังกล่าวอย่างไรก็ดีการปฏิเสธในที่นี้ไม่ไช่การปฏิเสธอิสลามแต่เป็นการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงแน่นอนว่าการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงย่อมมิได้ทำให้บุคคลผู้นั้นอยู่ในฮุก่มของกาเฟรทั่วไปในแง่ความเป็นนะญิส ...ฯลฯต้องเข้าใจว่าที่เชื่อว่าการไม่จงรักภักดีต่อท่านอิมามอลี(อ.)เท่ากับปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงนั้นเป็นเพราะการจงรักภักดีต่อท่านคือแนวทางสัจธรรมที่พระองค์ทรงกำหนดฉะนั้นผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของท่านก็เท่ากับฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์
  • อ่านกุรอานซูเราะฮ์ใดจึงจะได้ผลบุญมากที่สุด?
    24787 วิทยาการกุรอาน 2554/06/28
    อิสลามถือว่ากุรอานคือครรลองสำหรับการดำเนินชีวิตและเป็นชุดคำสอนที่จะเสริมสร้างจิตวิญญาณมนุษย์ให้สมบูรณ์หากจะอัญเชิญกุรอานโดยคำนึงเพียงว่าซูเราะฮ์ใดมีผลบุญมากกว่าก็ย่อมจะสูญเสียบะเราะกัต(ความศิริมงคล)ที่มีในซูเราะฮ์อื่นๆฉะนั้นจึงควรอัญเชิญกุรอานให้ครบทุกซูเราะฮ์และพยายามนำสู่การปฏิบัติ อย่างไรก็ดีแต่ละซูเราะฮ์มีคุณสมบัติพิเศษในแง่ของความศิริมงคลและผลบุญตามคำบอกเล่าของฮะดีษอาทิเช่นซูเราะฮ์ฟาติหะฮ์มีฐานะที่เทียบเท่าเศษสองส่วนสามของกุรอานหรืออายะฮ์กุรซีที่เป็นที่กล่าวขานกันถึงคุณประโยชน์อันมหาศาลหรือซูเราะฮ์กุ้ลฮุวัลลอฮ์ที่เทียบเท่าเศษหนึ่งส่วนสามของกุรอานส่วนซูเราะฮ์อื่นๆก็มีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันไป. ...
  • มีฮะดีษอยู่บทหนึ่งระบุว่าอัลลอฮ์ทรงยกย่องความบริสุทธิ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ด้วยการไม่ปล่อยให้ลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ตกนรก
    6606 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ฮะดีษนี้ปรากฏอยู่ในตำราฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์โดยมีความน่าเชื่อถือสูงเนื่องจากมีหลากสายรายงานแต่คำถามที่มีมาตั้งแต่อดีตก็คือความหมายของลูกหลานในฮะดีษนี้ครอบคลุมเพียงใด? เมื่อพิจารณาเทียบกับฮะดีษอื่นๆก็จะเข้าใจได้ว่าฮะดีษนี้เจาะจงเฉพาะบุตรชั้นแรกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เท่านั้นที่ได้รับความเมตตาให้มีภาวะปลอดบาปอันเป็นการสมนาคุณแด่การสงวนตนของท่านหญิงทว่าลูกหลานชั้นต่อๆไปแม้จะได้รับสิทธิบางอย่างแต่จะไม่ได้รับความปลอดภัยจากการลงทัณฑ์อย่างสมบูรณ์ ...
  • สามารถจะติดต่อกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้หรือไม่?
    6681 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/19
    โดยทั่วไป สัมพันธภาพจะไม่เกิดขึ้นระหว่างคนแปลกหน้าสองคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน นอกจากจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้จักและมีไมตรีจิตต่อฝ่ายตรงข้าม จึงจะค่อยๆสานเป็นความสัมพันธ์อันดีต่อกันในอนาคตกรณีของท่านอิมามมะฮ์ดีก็เช่นกัน ท่านรู้จักเราและมีไมตรีจิตต่อเราอย่างอบอุ่น  แต่เราซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่งของสายสัมพันธ์ หากได้รู้จักฐานะภาพของท่านอย่างแท้จริง ก็จะทำให้สามารถสานสัมพันธ์และติดต่อกับท่านได้ ดังที่อุละมาอ์ระดับสูงหรือผู้ที่สำรวมตนขัดเกลาจิตใจบางท่านสามารถติดต่อกับท่านอิมาม(อ.)ได้ในอดีตกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การสานสัมพันธ์กับท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)นั้น แบ่งออกเป็นสองประเภท 1.เชื่อมสัมพันธ์ทางจิตใจ 2.เชื่อมสัมพันธ์ในระดับการเข้าพบ อย่างไรก็ดี แม้ว่าความสัมพันธ์ทั้งสองประเภทนี้จะมิไช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อม แต่หากต้องการจะมีความสัมพันธ์ในระดับเข้าพบ ก็จะต้องมีคุณสมบัติพิเศษ กล่าวคือ จะต้องมีสัมพันธภาพทางจิตใจพร้อมกับจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆที่จำเป็นด้วย จึงจะถือเป็นการตระเตรียมโอกาสที่จะได้เข้าพบท่าน(อ.) ...
  • มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์คืออะไร? ท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ทราบเรื่องนี้หรือไม่?
    9016 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์เป็นชื่อหนังสือที่บันทึกโดยท่านอิมามอลี(อ.)ภายหลังนบีวะฝาตไปแล้วเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้เป็นข้อมูลที่ญิบรออีลหรือมะลาอิกะฮ์องค์หนึ่งถ่ายทอดแก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคตตลอดจนความเร้นลับของอาลิมุฮัมมัด(ซ.ล.) หนังสือเล่มนี้ถือเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของตำแหน่งอิมามและเป็นมรดกตกทอดระหว่างอิมามปัจจุบันอยู่ในครอบครองของท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นหลังท่านนบี(ซ.

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59928 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57277 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42057 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39035 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38756 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33867 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27872 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27763 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27566 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25585 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...