การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
19939
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/07
คำถามอย่างย่อ
ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับจริยศาสตร์คืออะไร? สิ่งไหนครอบคลุมมากกว่ากัน? และการตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์กับจริยธรรมอันไหนครอบคลุมมากกว่า?
คำถาม
ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับจริยศาสตร์คืออะไร? สิ่งไหนครอบคลุมมากกว่ากัน? และการตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์กับจริยธรรมอันไหนครอบคลุมมากกว่า?
คำตอบโดยสังเขป

คำว่า “อัคลาก” ในแง่ของภาษาเป็นพหูพจน์ของคำว่า “คุลก์” หมายถึง อารมณ์,ธรรมชาติ, อุปนิสัย, และความเคยชิน,ซึ่งครอบคลุมทั้งอุปนิสัยทั้งดีและไม่ดี

นักวิชาการด้านจริยศาสตร์,และนักปรัชญาได้ตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์ไว้มากมาย. ซึ่งในหมู่การตีความทั้งหลายเหล่านั้นของนักวิชาการสามารถนำมารวมกัน และกล่าวสรุปได้ดังนี้ว่า “อัคลาก ก็คือคุณภาพทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มีความเหมาะสม หรือพฤติกรรมอันเหมาะสมของมนุษย์ที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวันตน”

สำหรับ ศาสตร์ด้านจริยธรรมนั้น มีการตีความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งในคำอธิบายเหล่านั้นเป็นคำพูดของท่าน มัรฮูม นะรอกียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ญามิอุลสะอาดะฮฺว่า : ความรู้ (อิลม์) แห่งจริยศาสตร์หมายถึง การรู้ถึงคุณลักษณะ (ความเคยชิน) ทักษะ พฤติกรรม และการถูกขยายความแห่งคุณลักษณะเหล่านั้น การปฏิบัติตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือให้รอดพ้น หรือการการปล่อยวางคุณลักษณะที่นำไปสู่ความหายนะ”

ส่วนการครอบคลุมระหว่างจริยธรรมกับศาสตร์แห่งจริยธรรมนั้น มีคำกล่าวว่า,ความแตกต่างระหว่างทั้งสองมีอยู่เฉพาะในทฤษฎีเท่านั้นเอง ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากจะกล่าวว่า สิ่งไหนมีความครอบคลุมมากกว่ากันจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด

คำตอบเชิงรายละเอียด

อัคลากในความหมายด้านภาษา

คำว่า “อัคลาก” ในแง่ของภาษาเป็นพหูพจน์ของคำว่า “คุลก์” หมายถึง อารมณ์,ธรรมชาติ, อุปนิสัย, และความเคยชิน[1],ซึ่งครอบคลุมทั้งอุปนิสัยทั้งดีและไม่ดี

อัคลากในความหมายของนักปราชญ์

นักวิชาการด้าน อิลมุอัคลาก ได้อธิบายความหมายของ อัคลาก ไว้จำนวนมากมาย เช่น :

ก) บางคนกล่าวว่า อัคลาก หมายถึง ความเคยชินทางจิตวิญญาณ กล่าวคือสิ่งนี้เป็นตัวกำหนดการงานต่างๆ ที่ออกมาจากมนุษย์ โดยมิต้องอาศัยการคิดหรือการใคร่ครวญแต่อย่างใด

ข) บางคนกล่าวว่า อัคลาก จะใช้ได้เฉพาะสิ่งที่เป็นความดีทางความประพฤติเท่านั้น และมักจะใช้กับสิ่งที่ต่อต้านอัคลาก

ค) บางครั้งก็หมายถึงพื้นฐานด้านจริยธรรมในการดำเนินชีวิต[2]

ด้วยเหตุนี้ คำว่า อัคลาก ตามความหมายในทัศนะของนักปราชญ์จึงถูกอธิบายในความหมายที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งไม่อาจนำสิ่งนั้นมารวมกันได้โดยละเอียด, แต่สามารถนำเอา อัคลาก ในทัศนะของนักปราชญ์อิสลามมารวมกันในความหมายกว้างๆ ได้ อันได้แก่ “อัคลาก” ที่หมายถึงการจาริกสำหรับจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งความประพฤติที่เหมาะสมได้ถูกปฏิบัติออกมาจากมนุษย์” หมายถึงถ้าการจาริกสำหรับจิตวิญญาณนั้นดีเขาก็จะปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี แต่ถ้าเป็นการจาริกไม่ดี การกระทำของเขาก็จะไม่ดีตามไปด้วย, ฉะนั้น อัคลาก จึงแบ่งเป็นอัคลากดี, อัคลากไม่ดี, ซึ่งการจาริกจิตใจอาจเป็นไปได้ว่าอาจออกมาในรูปลักษณ์ที่ไม่ดี หรืออาจเป็นไปในลักษณะของความเคยชินแห่งจิตใจ

จริยศาสตร์ :

สำหรับ จริยศาสตร์ นั้นได้มีการตีความไว้จำนวนมากมาย เช่น

นักวิชาการอิสลามและนักวิชาการตะวันตกได้นำเสนอการตีความสำหรับ จริยศาสตร์ ไว้มากมาย ซึ่งจะขอนำเสนอบางประการดังต่อไปนี้

ก) บางคนกล่าวว่า “อิลมุลอัคลาก” หมายถึงศาสตร์ที่ค้นหาความประพฤติอันดีงาม ซึ่งบนพื้นฐานดังกล่าว จะสร้างสรรค์ให้การกระทำและบุคลิกภาพของบุคคลนั้นดี[3]

ข) มีบางคนเรียกว่า ศาสตร์ แห่งวิธีการดำเนินชีวิต[4]

ค) บางคนได้ตีความ อัคลาก ตามความหมายเชิงภาษาของคำว่า อัคลาก, เช่น ตีความ อิลมุอัคลาก ว่าหมายถึง ความตระหนัก ศาสตร์และความรู้เกี่ยวกับนิสัย มารยาท และความเคยชินของมนุษย์[5]

ง) ท่านมัรฮูม นะรอกียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ญามิอุสสะอาดะฮฺ ว่า อิลมุลอัคลาค คือ การรอบรู้คุณลักษณะ (ความเคยชิน) ทักษะ พฤติกรรม และการถูกขยายความแห่งคุณลักษณะเหล่านั้น การปฏิบัติตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือให้รอดพ้น หรือการการปล่อยวางคุณลักษณะที่นำไปสู่ความหายนะ”[6]

เมื่อพิจารณาหนังสือต่างๆ ทางจริยธรรม, เช่น ญามิอุสสะอาดะฮฺ, มิอ์รอจญุสสะอาดะฮฺ และ ..[7] สามารถกล่าวได้ว่า อิลมุลอัคลาค ในทัศนะของนักวิชาการอิสลาม, หมายถึงความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะที่ดีและไม่ดี,และนำสิ่งนั้นมาวิเคราะห์วิจัยและอธิบายความ, วิธีการค้นหาคุณลักษณะที่ดีมีคุณภาพและมีความสูงส่ง ขณะเดียวกันก็อธิบายถึงวิธีการกำจัดคุณลักษณะที่เลวร้ายให้หมดไป

ด้วยเหตุนี้ ประเด็นของอิลมุลอัคลาก จึงประกอบด้วยการค้นหาคุณลักษณะที่ดี และแนวทางในการค้นหา และคุณลักษณะต่ำทรามพร้อมกับวิธีการกำจัดให้หมดไป, คุณลักษณะที่ดีและไม่ดีนั้นในแง่หนึ่งเนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับการกระทำ และเจตนารมณ์เสรีของมนุษย์ จึงได้รับการพิจารณาใน อิลมุลอัคลาค จุดหมายอันเป็นบั้นปลายสุดท้ายของวิชา อิลมุลอัคลาค คือ การนำพามนุษย์ไปถึงยังความสมบูรณ์ ความจำเริญผาสุก ความนิรันดร และสถานภาพอันเป็นเป้าหมาย ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อไปให้ถึงยังจุดนั้น ดังที่กล่าวไปแล้วว่า อิลมุลอัคลาค เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาในความหมายทั่วไป

ครอบคลุมที่สุดของคำอธิบาย

อัคลาค หมายถึง : วิธีการหรือแนวทางทั้งดีและไม่ดี, ส่วนอิลมุลอัคลาค, หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับวิธีการหรือแนวทางนั้นว่า อันไหนจำเป็นต้องปฏิบัติ, อีกนัยหนึ่งความแตกต่างของอัคลาคและอิลมุลอัคลาค, มีอยู่เฉพาะในทฤษฎีและประสิทธิภาพทางการกระทำ ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าว, คำพูดที่ว่าอันไหนมีความครอบคลุมมากกว่ากันจึงไม่มีความหมายอันใดทั้งสิ้น

 


[1] กุเรชีย์,ซัยยิด อะลี อักบัร, กอมูซอัลกุรอาน, เล่ม 2 หน้า 293, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, เตหะราน, พิมพ์ครั้งที่ 6, ปี 1371, เฏาะรีฮียฺ, ฟัครุดดีน, มัจญฺมะอุลบะฮฺเรน, เล่ม 5, หน้า 156, ร้านขายหนังสือ มุรตะฎอวี, เตหะราน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ปี 1375.

[2] สำหรับการอธิบายเพื่อความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โปรดศึกษาได้จากไซต์ “พอยเฆาะฮฺ เฮาเซะฮฺ เน็ต”

[3] ฏูซียฺ, คอเญะฮฺนะซีรุดดีน, อัคลาก นาซิรียฺ, หน้า 14, ร้านขายหนังสือ อิสลามียะฮฺ, บีทอ, เตหะราน

[4] มุเฏาะฮะรียฺ, มุรตะฎอ, ออเชนอบออุลูม อิสลามี, เล่ม 2, หน้า 190, ซ็อดรอ, เตหะราน, พิมพ์ครั้งที่ 6, 1368

[5] ฌอเนะฮฺ, พีร, อัคลาก, หน้า 53, แปลโดยบัดรุดดีน กิทอบี, เอซฟาฮาน, สำนักพิมพ์ออมูเซซ วะพัรวะริช, 1373

[6] นะรอกียฺ, มุฮัมมัด มะฮฺดียฺ, ญามิอุสสะอาดะฮฺ เล่ม 1, หน้า 34, นะญัฟ, สำนักพิมพ์ อัซซะฮฺรอ 1368.

[7] นะรอกียฺ, มุฮัมมัด มะฮฺดียฺ, ญามิอุสสะอาดะฮฺ, สถาบันอะอฺลัมมียฺ, เบรูต,พิมพ์ครั้งที่ 6, ฮ.ศ. 1408, นะรอกียฺ, มุลลาอะฮฺมัด, มิอ์รอจญุสสะอาดะฮฺ, เตหะราน, สำนักพิมพ์ เราชีดี, เตหะราน, บีทอ

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ได้ยินว่าผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์จะพ้นจากภยันตรายต่างๆ ถามว่าผู้รับเศาะดะเกาะฮ์จะประสบกับภยันตรายเหล่านั้นแทนหรือไม่?
    9422 بیشتر بدانیم 2557/02/12
    “เศาะดะเกาะฮ์” ในแง่ภาษาอรับแล้ว ถือเป็นอาการนาม ให้ความหมายว่า “การมอบให้เพื่อจะได้รับผลบุญ” และมีรากศัพท์จากคำว่า “ศิดกุน” พหูพจน์ของเศาะดะเกาะฮ์คือ “เศาะดะกอต” [1] นิยามของเศาะดะเกาะฮ์ เศาะดะเกาะฮ์หมายถึง สิ่งที่บุคคลมอบให้ผู้ขัดสน ผู้ยากไร้ เพื่ออัลลอฮ์ อันเป็นการพิสูจน์ความจริงใจในแนวทางของพระองค์[2] บทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์ และผลบุญที่จะได้รับ อิสลามมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์สองประเภทด้วยกัน 1. เศาะดะเกาะฮ์ภาคบังคับ (วาญิบ) ซึ่งก็หมายถึง “ซะกาต” นั่นเอง ดังโองการที่กล่าวว่า خُذْ مِنْ أَمْوَالِهِمْ صَدَقَةً تُطَهِّرُهُمْ وَ تُزَکِّیهِمْ بِهَا وَ صَلِّ عَلَیْهِمْ إِنَّ صَلاَتَکَ سَکَنٌ ...
  • เหตุใดจึงไม่ควรครุ่นคิดเกี่ยวกับความลึกซึ้งของการสรรสร้าง?
    5693 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/02/19
    ประเด็นหนึ่งที่กุรอานและฮะดีษเน้นย้ำไว้เป็นพิเศษก็คือ การครุ่นคิดเกี่ยวกับการสร้างสรรพสิ่งต่างๆ[1] ทว่าควรหลีกเลี่ยงการไตร่ตรองเกี่ยวกับอาตมันของอัลลอ์ ดังฮะดีษนบี(ซ.ล.)ที่ว่า จงครุ่นคิดเกี่ยวกับสรรพสิ่งที่อัลลอฮ์สร้างเถิด แต่ในกรณีของอาตมันของพระองค์นั้น ไม่บังควรอย่างยิ่ง”[2] อีกฮะดีษหนึ่ง ท่านนบีระบุถึงสาเหตุที่ห้ามมิให้ไตร่ตรองเกี่ยวกับอาตมันของอัลลอฮ์ว่า “เนื่องจากพวกท่านไม่อาจจะเข้าถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์เด็ดขาด”[3] ด้วยเหตุนี้ นอกจากจะไม่มีการห้ามครุ่นคิดเกี่ยวกับการสรรสร้างของพระองค์แล้ว ...
  • เหตุใดกุรอานจึงใช้สำนวน فبشّرهم بعذاب الیم ทั้งๆที่คำว่าข่าวดีมีความหมายเชิงบวก?
    7274 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    กุรอานใช้คำว่า “บิชาเราะฮ์” เพื่อสื่อความหมายถึงทั้งข่าวดีและข่าวร้ายแต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสำนวนแวดล้อมจะกำหนดความหมายใดกุรอานใช้คำว่าบิชาเราะฮ์ในความหมายเชิงลบในลักษณะอุปลักษณ์เพื่อสื่อว่าไม่มีสิ่งใดจะมอบแก่พวกเขาแล้วนอกจากการลงทัณฑ์ทั้งนี้ก็เพราะเหล่ากาฟิรมุชริกีนไม่ฟังคำตักเตือนใดๆทั้งสิ้นอัลลอฮ์จึงบัญชาให้ท่านนบี(ซ.ล.)แจ้งว่าพวกเขาจะถูกลงทัณฑ์อย่างแสนสาหัส ...
  • คำว่าศ็อฟในโองการ جَاء رَبُّكَ وَالْمَلَكُ صَفّاً صَفّاً หมายความว่าอย่างไร?
    5601 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/04
    คำดังกล่าวและคำอื่นๆที่มีรากศัพท์เดียวกันปรากฏอยู่ในหลายโองการ[1] คำว่า “ศ็อฟ” หมายถึงการเรียงสิ่งต่างๆให้เป็นเส้นตรง อาทิเช่นการยืนต่อแถว หรือแถวของต้นไม้[2] “ศ็อฟฟัน” ในโองการดังกล่าวมีสถานะเป็น ฮาล (ลักษณะกริยา)ของมะลาอิกะฮ์ ซึ่งนักอรรถาธิบายกุรอานได้ให้ความหมายไว้หลายรูปแบบ ซึ่งจะขอนำเสนอโดยสังเขปดังต่อไปนี้ หนึ่ง. มวลมะลาอิกะฮ์จะมาเป็นแถวที่แตกต่างกัน ซึ่งจำแนกตามฐานันดรศักดิ์ของแต่ละองค์[3] สอง. หมายถึงการลงมาของมะลาอิกะฮ์แต่ละชั้นฟ้า โดยจะมาทีละแถว ห้อมล้อมบรรดาญินและมนุษย์[4] สาม. บางท่านเปรียบกับแถวนมาซญะมาอะฮ์ โดยมะลาอิกะฮ์จะมาทีละแถวจากแถวแรก แถวที่สอง ฯลฯ ตามลำดับ[5]
  • ระบบการศึกษาในโรงเรียนสอนศาสนาในอิหร่านเป็นอย่างไร?
    9299 ประวัติหลักกฎหมาย 2555/08/22
    ปัจจุบันวิธีการศึกษาศาสนาในสถาบันสอนศาสนา ณ ประเทศอิหร่าน จะยกระดับสูงมาก ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายระดับ เนื่องจากนักศึกษาทุกท่านก่อนเข้าศึกษาศาสนา ต้องจบการศึกษาระดับมัธยมปลายเป็นอย่างน้อย ระดับต้นของการศึกษา นักศึกษาทุกคนต้องศึกษาวิชา อิลมุล ซะรอฟ วิชาการเปลี่ยนแปลงคำ รูปแบบหรือโครงสร้างของลำดับคำในประโยคและวะล, อิลมุลนะฮฺวุ วิชาโครงสร้างของประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษา, อิลมุลมะอานี วิชาวาทศาสตร์ หรือบางครั้งก็เรียก วาทศิลป์ เหมือนกัน, อิลมุลลุเฆาะฮฺ การเข้าใจความหมายของคำอย่างถูกต้อง, อิลมุลมันติก วิชาที่สอนให้รู้จักคิดอย่างถูกต้อง(ตรรกศาสตร์) ระดับที่สอง ซึ่งมีทั้งสิ้นสิบระดับด้วยกัน วิชาที่ต้องเรียนในระดับนี้คือ อุซูล วิชาหลักการ หรือกฎที่ใช้เป็นมูลฐานในการอธิบายปรากฏการณ์ หรือแนวคิด หรือกฎที่ใช้พิสูจน์บทบัญญัติ,ฟิกฮฺ หลักนิติศาสตร์อิสลาม และวิชาทั่วไปที่ต้องศึกร่วมประกอบด้วย เทววิทยา ตัฟซีร เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์,ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกุรอาน, จริยศาสตร์, ภาษาต่างประเทศ,คอมพิวเตอร์ และ...ระดับสามเรียกว่า บะฮัษคอริจญฺ ต้องเรียนอุซูลและฟิกฮฺระดับของการอิจญฺติฮาดเพื่อก้าวไปเป็นมุจญฺตะฮิด และวิชาเฉพาะที่ต้องศึกษาร่วมคือ ตัฟซีรกุรอาน เทววิทยาระดับสูง การเผยแพร่ ...
  • อิสลามและอิมามโคมัยนีมีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับการหยอกล้อและการพักผ่อนหย่อนใจ?
    6086 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/20
    เป้าประสงค์ของการสร้างมนุษย์ตามทัศนะของอิสลามคือการอำนวยให้มนุษย์มีพัฒนาการเพราะทุกสรรพสิ่งบนโลกล้วนถูกสร้างมาเพื่อเป้าหมายดังกล่าวทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์คือสิ่งถูกสร้างที่ประเสริฐสุดดังที่กุรอานกล่าวว่า "ข้ามิได้สร้างมนุษย์และญินมาเพื่ออื่นใดเว้นแต่ให้สักการะภักดีต่อข้า"[i] นักอรรถาธิบาย(ตัฟซี้ร)ลงความเห็นว่าการสักการะภักดีในที่นี้หมายถึงภาวะแห่งการเป็นบ่าวซึ่งเป็นปัจจัยสำหรับพัฒนาการที่แท้จริงของมนุษย์เพื่อการนี้อิสลามให้ความสำคัญต่อทั้งด้านร่างกายและจิตใจมนุษย์ดังที่อิมามอลี(อ.)กล่าวไว้ว่าผู้ที่มีอีหม่านจะต้องมีสามช่วงเวลาในแต่ละวันของเขา: ส่วนหนึ่งสำหรับการอิบาดะฮ์ส่วนหนึ่งสำหรับการทำมาหากินและกิจการทางโลกส่วนหนึ่งสำหรับความบันเทิงที่ฮะล้าลและใช้ประโยชน์จากความโปรดปรานของพระองค์โดยที่ส่วนสุดท้ายจะช่วยให้สองส่วนแรกเป็นไปอย่างราบรื่น[ii]อิสลามไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจหรือการหยอกล้อที่ถูกต้องไม่เคยห้ามว่ายน้ำในทะเลซ้ำบรรดาอิมาม(อ.)ได้สอนสาวกให้ทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเชิงปฏิบัติท่านนบี(ซ.ล.)เองก็เคยหยอกล้อกับมิตรสหายเพื่อให้มีความสุขท่านอิมามโคมัยนีไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจและการหยอกล้อที่อยู่ในขอบเขตท่านกล่าวเสมอว่าการพักผ่อนหย่อนใจควรเป็นไปอย่างถูกต้องท่านไม่เคยคัดค้านรายการบันเทิงตามวิทยุโทรทัศน์บางครั้งท่านชื่นชมยกย่องทีมงานของรายการต่างๆเหล่านี้ด้วยแต่ท่านก็ให้คำแนะนำอันทรงคุณค่าเกี่ยวกับประเด็นนี้โดยถือว่าทุกรายการจะต้องมีจุดประสงค์เพื่อรับใช้อิสลามและแฝงไว้ซึ่งคำสอนทางจริยธรรมอย่างไรก็ดีการที่จะศึกษาทัศนะของอิมามโคมัยนีนั้นจำเป็นต้องอ้างอิงจากเว็บไซต์ของศูนย์เรียบเรียงและเผยแพร่ผลงานของอิมามโคมัยนีหรือหาอ่านจากหนังสือชุดเศาะฮีฟะฮ์นู้รตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ (เปอร์เซีย)http://www.imam-khomeini.org/farsi/main/main.htm[i]ซูเราะฮ์
  • ทำไมเราจึงต้องมีเพียงสิบสองอิมามเท่านั้น ในยุคสมัยของอิมามที่ไม่ปรากฏตัว เราจะสามารถหาทางรอดพ้นได้อย่างไร?
    5724 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/03
    ตำแหน่งอิมามเป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระผู้เป็นเจ้า การกำหนดตัวบุคคลที่จะขึ้นมาเป็นอิมามและจำนวนของอิมามนั้นขึ้นกับพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าและทางเดียวที่เราจะสามารถรับรู้ถึงเจตนาดังกล่าวได้ก็คือฮะดีษของท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) นั่นเองท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวถึงบุคคลและจำนวนของอิมาม(อ
  • จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามได้อย่างไรในสภาพสังคมบริโภคนิยม มีความแตกแยก และโกหกหลอกลวงกันอย่างแพร่หลาย?
    7004 بندگی و تسبیح 2555/05/31
    บทบัญญัติอิสลามสามารถนำมาใช้ได้สองมิติด้วยกัน บางประการเกี่ยวข้องกับปัจเจกบุคคล และบางประการเกี่ยวข้องกับสังคม ส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัจเจกนั้น สามารถปฏิบัติได้ในทุกสภาพสังคม กล่าวคือ หากมุสลิมประสงค์จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามเชิงปัจเจก อาทิเช่น นมาซ ถือศีลอด ฯลฯ แม้สังคมนั้นๆจะเสื่อมทราม แต่ก็ไม่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อกิจวัตรส่วนตัวมากนัก แต่บทบัญญัติบางข้อเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในสังคมที่สามารถประยุกต์ใช้ในสังคมได้ และเนื่องจากมนุษย์ไฝ่ที่จะอยู่ในสังคม จึงจำเป็นจะต้องอาศัยอยู่และสนองความต้องการของตนภายในสังคม ในมุมมองนี้บุคคลควรปกป้องคุณธรรมศาสนาเท่าที่จะมีความสามารถ และมีหน้าที่จะต้องกำชับกันในความดีและห้ามปรามความชั่วตามสำนึกที่มีต่อสังคม ซึ่งแม้ไม่สัมฤทธิ์ผลก็ถือว่าได้ทำตามหน้าที่แล้ว อนึ่ง ในกรณีที่ต้องใช้ชีวิตในสภาพสังคมเช่นนี้ ควรพึ่งพาตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ...
  • เป็นไปได้อย่างไรที่มนุษย์คนหนึ่งซึ่งตลอดอายุขัยเขาอยู่ท่ามกลางการหลงทาง และประพฤติผิด และ..? แล้วในปรโลกชะตาชีวิตของเขาได้เปลี่ยนแปลงไปได้ไหม เนื่องจากการทำดี ดุอาอฺ และการวิงวอนขออภัยของคนอื่น ทั้งที่เขาไม่มีบทบาทอันใด?
    7327 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    ประเด็นที่คำถามได้กล่าวถึงมิใช่ว่าจะสามารถรับได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม, หรือปฏิเสธโดยสิ้นเชิงร้อยทั้งร้อย, ทว่าขึ้นอยู่กับความผิดที่ได้กระทำลงไปโดยผู้กระทำผิด, เนื่องจากความผิดบางอย่างเช่น “การตั้งภาคีเทียบเทียมพระเจ้า”
  • มนุษย์นั้นมีสิทธิที่จะพูดจาจาบจ้วงพี่น้องในศาสนาของตนได้ไหม – เนื่องจากการทะเลาะวิวาทหรือความขัดแย้งระหว่างพวกเขา- อันเป็นสาเหตุของการกลั่นแกล้งและทำให้การโกรธเกลียดกัน, ทั้งๆ ที่เขาได้กล่าวขออภัยแล้ว?
    5310 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/20
    การอภัยและการยกโทษเป็นคุณสมบัติพิเศษของบุรุษผู้มีความยิ่งใหญ่และยังเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่แห่งจิตวิญญาณของเขาอีกด้วย, ตามคำสอนของอิสลามคุณลักษณะเหล่านี้ถือว่าเป็นความประเสริฐด้านคุณธรรมและจริยธรรม, ศาสนาซึ่งท่านศาสดาประจำศาสนาได้ถูกคัดเลือกขึ้นมาเพื่อเติมเต็มความสมบูรณ์และความประเสริฐของจริยธรรม

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57934 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55430 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40677 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37599 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36547 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32645 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26842 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26406 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26179 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24308 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...