การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
12835
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa14350 รหัสสำเนา 19932
คำถามอย่างย่อ
การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง?
คำถาม
การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง? เพื่อว่าจะได้สามารถปกปิดความลับของตนเองและผู้อื่นได้
คำตอบโดยสังเขป

ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้ว ยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมาย และยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆ ได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้น ในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้า จงเตือนตัวเองว่า โปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี

ท่านอิมามอะลี (.) กล่าวว่า : คำพูดนั้นอยู่ในอำนาจของเธอตราบเท่าที่เธอยังไม่ได้พูดออกมา, แต่เมื่อใดก็ตามเธอได้พูดออกมา เธอก็จะกลายเป็นทาสของคำพูดทันที, บัดนี้จงระวังรักษาคำพูดของเธอให้ดีเหมือนดังทองคำและเงิน, กี่มากน้อยเท่าใดแล้วที่คำพูดได้กลายเป็นสิ่งขจัดความโปรดปรานให้พ้นไปจากมนุษย์, ดังนั้น สิ่งใดที่เธอไม่รู้ไม่เข้าใจก็จงหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงมันเถิด, อัลลอฮฺ ทรงกำหนดบางสิ่งให้เป็นวาญิบสำหรับอวัยวะบนร่างกาย ซึ่งในวันฟื้นคืนชีพพระองค์จะสอบสวนถามไถ่จากมัน, และในวันนั้นบุคคลใดที่มีลิ้นเป็นนาย เขาจะอับอายและอัปยศเป็นที่สุด, บุคคลใดก็ตามที่พูดมากความผิดพลาดของเขาก็ย่อมมีมาก, และบุคคลใดที่มีอุปนิสัยเยี่ยงนี้ ความละอายจะลดน้อยไปจากเขา, บุคคลใดที่ความละอายลดน้อยไปจากเขา, ความสำรวมตนจากบาปหรือสิ่งอันตรายก็จะลดน้อยตามไปด้วย,จิตใจของเขาจะตายด้าน และบุคคลใดที่มีจิตใจตายด้าน เขาก็จะถูกนำไปสู่นรก

คำตอบเชิงรายละเอียด

ลิ้น , คือผู้แปลภาษาใจ , ตัวแทนของความคิด , กุญแจแห่งบุคลิกภาพ   และระดับสำคัญสูงสุดของจิตวิญญาณ , สิ่งที่ปรากฏออกมาจากลิ้นหรือบนคำพูดของมนุษย์ , คือภาพลักษณ์อันแท้จริงที่ปรากฏบนจิตวิญญาณและมีบทบาทสำคัญยิ่ง , ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้ว   ยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย , ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมาย   และยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆ   ได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย , ด้วยเหตุนี้เอง   สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้น   ขอนำเสนอ 2 วิธีดังต่อไปนี้   :

) การเยี่ยวยาด้วยการปฏิบัติ   :

เมื่อพิจารณาถึงอันตรายต่างๆ   จากลิ้นและการระมัดระวังลิ้น   จึงได้บทสรุปว่าแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการเยียวยา   การพูดมาก , มนุษย์ต้องใช้ประโยชน์จากลิ้นในการพูดสนทนา   ในสถานที่ต่างๆ   ที่สำคัญและมีประโยชน์   ขณะเดียวกันอันตรายมากมายก็เกิดจากลิ้นเช่นเดียวกัน , ดังนั้น   ทุกๆ   เช้าหลังจากตื่นนอน , จำเป็นต้องแนะนำตักเตือนตนเองเสมอว่า   จงระวังลิ้นของเราให้ดี , เนื่องจากอวัยวะส่วนนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นมีความจำเริญ   หรือสูงส่งเทียมฟ้าก็ได้   หรือทำให้เขาไร้ค่าและตกต่ำเพียงดินก็ได้เช่นกัน , ท่านอิมามซัจญาด ( .) กล่าวว่า   : ทุกเช้า , ต้องทำให้ลิ้นสำรวมตนอยู่ภายใต้การควบคุมของอวัยวะทุกส่วนบนร่างกาย , มีคนถามว่า   : จะให้ทำอย่างไรหรือ ? และจะต้องตืนนอนตอนเช้าอย่างไร ? ท่านอิมาม ( .) ตอบว่า   : ตื่นด้วยความดีงามด้วยเงื่อนไขที่ว่า   ] เจ้าจงถอนมือไปจากเราและปล่อยเราให้เป็นตัวของตัวเองเถิด [ , ขอสาบานสิ่งนั้นด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า   ] เราจะไม่พูดจาไร้สาระ   เราจะไม่ทำให้ลิ้นต้องลำบาก [ หลังจากนั้นท่านอิมาม ( .) กล่าวว่า   ] ไม่ต้องสงสัยเลยว่า [ เนื่องจากเจ้านั่นเองที่ทำให้เราได้รับผลบุญ   และเนื่องจากเจ้านั่นเองที่เราได้รับการลงทัณฑ์ [1]

ดังนั้น   มนุษย์มีหน้าที่ระวังรักษาลิ้นและคำพูดของตนไว้ให้ดี , เนื่องจากทุกๆ   คำพูดที่ได้ออกมาจากปากของเขา   มันจะถูกบันทึกไว้ในบัญชีการกระทำ   อัลกุรอาน   กล่าวว่า   : ไม่มีคำพูดคำใดที่เขากล่าวออกมา   เว้นแต่ใกล้     เขานั้นมี ( มะลัก ) ผู้เฝ้าติดตาม   ผู้เตรียมพร้อม ( ที่จะบันทึก )” [2]

รายงานฮะดีซจากท่านอิมามอะลี ( .) :

1. ท่านอิมามอะลี ( .) ได้เดินผ่านไปใกล้ๆ   ชายคนหนึ่ง   เขาเป็นคนพูดมาก , ท่านอิมามได้หยุดใกล้ๆ   เขา   แล้วกล่าวว่า   : โอ้   เจ้าหนุ่มน้อยเอ๋ย   เธอได้ให้มะลักที่ประทับอยู่บนตัวเธอ   คอยบันทึกคำพูดจนบัญชีการงานเต็มไปหมดแล้ว , เธอจงพูดเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์กับเธอเถิด   และจงออกห่างจากคำพูดไร้สาระและอันตราย [3]

2. คำพูดนั้นอยู่ในอำนาจของเธอตราบเท่าที่เธอยังไม่ได้พูดออกมา , แต่เมื่อใดก็ตามเธอได้พูดออกมา   เธอก็จะกลายเป็นทาสของคำพูดทันที , บัดนี้จงระวังรักษาคำพูดของเธอให้ดีเหมือนดังทองคำและเงิน , กี่มากน้อยเท่าใดแล้วที่คำพูดได้กลายเป็นสิ่งขจัดความโปรดปรานให้พ้นไปจากมนุษย์ , ดังนั้น   สิ่งใดที่เธอไม่รู้ไม่เข้าใจก็จงหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงมันเถิด , อัลลอฮฺ   ทรงกำหนดบางสิ่งให้เป็นวาญิบสำหรับอวัยวะบนร่างกาย   ซึ่งในวันฟื้นคืนชีพพระองค์จะสอบสวนถามไถ่จากมัน , และในวันนั้นบุคคลใดที่มีลิ้นเป็นนาย   เขาจะอับอายและอัปยศเป็นที่สุด , บุคคลใดก็ตามที่พูดมากความผิดพลาดของเขาก็ย่อมมีมาก , และบุคคลใดที่มีอุปนิสัยเยี่ยงนี้   ความละอายจะลดน้อยไปจากเขา , บุคคลใดที่ความละอายลดน้อยไปจากเขา , ความสำรวมตนจากบาปหรือสิ่งอันตรายก็จะลดน้อยตามไปด้วย , จิตใจของเขาจะตายด้าน   และบุคคลใดที่มีจิตใจตายด้าน   เขาก็จะถูกนำไปสู่นรก [4]

3.  » เมื่อสติปัญญาสมบูรณ์แล้ว , คำพูดก็จะน้อยลง [5] «

ด้วยเหตุนี้เอง , ในมุมมองของโองการอัลกุรอาน   และรายงานฮะดีซ , แนะนำว่าแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการหลีกเลี่ยงการพูดจาไร้สาระอันตรายคือ   หลีกเลี่ยงการพูดมาก , ละเว้นการพูดจาไร้สาระไม่มีประโยชน์ , เนื่องจากถ้าเรารู้ว่าคำพูดก็คือส่วนหนึ่งของการกระทำ   และเราต้องรับผิดชอบ , ดังนั้น   จงหลีกเลี่ยงการพูดมากเสียเถิด   เพราะโดยปกติการพูดมากจะนำไปสู่   การโกหก , นินทาว่าร้าย , เสียเวลา , กลั่นบุคคลอื่น , ทำให้จิตใจแข็งกระด้าง , และอื่นๆ   อีกมากมาย

บางทีอาจกล่าวได้ว่ารากที่มาทางจิตวิทยาของการพูดมาก   อาจเกิดจากการที่ว่าเรามนุษย์นั้นชอบที่จะเรียกร้องความสนใจจากคนอื่น   และสำหรับการเรียกร้องความสนใจอันเพียงพอจากคนอื่น   เราก็จะเริ่มกระทำในสิ่งที่เป็นสาเหตุของการเรียกร้องความสนใจ , แต่ต้องไม่ลืมว่า   ถ้าหากเราสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้า   ความคิดของเขาก็จะเปลี่ยนเป็นว่า   เขาจะทำอย่างไรจึงจะสร้างความพึงพอพระทัยจากพระองค์ , และเขาก็จะทุ่มเทความพยายามให้แก่การนั้นเพื่อว่าจะได้เป็น   ที่รักยิ่งของพระองค์ , โดยไม่ต้องใส่ใจหรือต้องแสดงความโอ้อวด   หรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นอีกต่อไป   ดังนั้น   การพูดมากหรือการกระทำทุกสิ่งอันไม่พึงปรารถนาไม่อาจเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นได้เสมอไป [6]

) การเยี่ยวยารักษาด้วยการปฏิบัติ :

สามารถใช้วิธีฝึกฝนหรือการบอกกล่าวด้วยการ   สาบถ   บนบาน   หรือการจ่ายค่าปรับ   ในกรณีที่เราได้พูดมาก , แน่นอน   ถ้าสามารถปฏิบัติได้และเป็นความเคยชินที่จะทำให้เราค่อยๆ   ห่างไกลจากพูดมากไร้สาระ   และในที่สุดเราจะได้พบกับอุปนิสัยใหม่อันแน่นอนและถูกต้องแก่ตัวเอง

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ , การห้ามปรามลิ้นมิให้พูดมาก , เป็นงานที่ต้องค่อยๆ   ทำค่อยๆ   ไป   และต้องใช้เวลาอันยาวนานพอสมควรจึงจะเป็นความเคยชิน   บุคคลที่พูดมากและไม่อาจควบคุมลิ้นของตนเองได้   ให้ความเคยชินแก่ลิ้นของตนจนเป็นความเคยชินไปเสียแล้ว , ระยะเวลาเพียงวันเดียวเขาไม่อาจปฏิบัติสิ่งที่ขัดแย้งกับความเคยชินของตนได้สำเร็จอย่างแน่นอน , ทว่าเขาต้องสัญญาและต้องให้เวลากับตัวเอง   และในแต่ละวันนั้นเขาต้องค่อยๆ   ลดคำพูดของตัวเองให้ลดน้อย   จนกระทั่งว่าเป็นความเคยชินและสามารถควบคุมลิ้นของตัวเองได้   สามารถตามความจำเป็นและที่มีความสำคัญ   และใช้ประโยชน์จากลิ้นได้อย่างถูกต้อง

สำหรับการศึกษาเพิ่มเติม   โปรดค้นคว้าได้จาก   :

« แนวทางสำหรับการละทิ้งมารยาททราม », คำถามที่ 2604 ( ไซต์ : 2741)

« การเปรียบเทียบระหว่างการพูดกับการนิ่งเงียบ », คำถามที่ 9135 ( ไซต์ : 9608)

« แนวทางการละทิ้งบาปอันเกิดจากลิ้น », คำถามที่ 13686 ( ไซต์ : 13582)



[1] มัจญฺลิซซียฺ , มุฮัมมัดบากิร , บิฮารุลอันวาร   เล่ม 68, หน้า 302, สถาบันอัลวะฟาอฺ , เบรูต   ปี   . . 1404.

[2] อัลกุรอาน   บทก๊อฟ , 18, «ما یَلْفِظُ مِنْ قَوْلٍ إِلاَّ لَدَیْهِ رَقیبٌ عَتیدٌ»

[3] เชคซะดูก , มันลายะฮฺเฎาะเราะฮุลฟะกีฮฺ , เล่ม 4 หน้า 396, พิมพ์ที่ญามิอะฮฺ   มุดัรริซีน , กุม , พิมพ์ครั้งที่ 2, ปี   . .1404

[4] บิฮารุลอันวาร , เล่ม 68, หน้า 286.

[5] บิฮารุลอันวาร , เล่ม 1, หน้า 159.

[6] เพื่อศึกษาเพิ่มเติม   โปรดดูที่หัวข้อต่างๆ   เช่น   « แนวทางค้นหาความรักจากคนอื่น », คำถามที่ 10915 ( ไซต์ : 11664) และหัวข้อ   «แนวทางเป็นที่รักของอัลลอฮฺ», คำถามที่ 12547, ( ไซต์ : 12587)

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ควรจะตอบคำถามเด็กๆ อย่างไร เมื่อถามเกี่ยวกับอัลลอฮฺ?
    7655 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/06/30
    ไม่สมควรหลีกเลี่ยงคำถามต่างๆ ที่เด็กๆ ได้ถามเกี่ยวกับอัลลอฮฺ, ทว่าจำเป็นต้องตอบคำถามเหล่านั้นด้วยความถูกต้อง เข้าใจง่าย และมั่นคง,โดยอาศัยข้อพิสูจน์เรื่องความเป็นระบบระเบียบของโลก พร้อมคำอธิบายง่ายๆ ขณะเดียวกันด้วยคำอธิบายที่ง่ายนั้นต้องกล่าวถึงความโปรดปรานของพระเจ้าชนิดคำนวณนับมิได้ ซึ่งอยู่ร่ายรอบตัวเอรา นอกจากนั้นยังสามารถพิสูจน์คุณลักษณะบางประการของพระองค์ เช่น ความปรีชาญาณ, พลานุภาพ, และความเมตตาแก่เด็กๆ ...
  • อัลลอฮฺคือสาเหตุที่แท้จริงของการอธรรม และผู้อธรรมหรือ?
    11260 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/09/29
    สำหรับคำตอบคำถามเหล่านี้ จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญเหล่านี้ก่อน 1.รากที่มาของการอธรรมของผู้อธรรมทั้งหลาย สามารถสรุปได้ใน 4 ประเด็นดังนี้คือ 1.ความโง่เขลา 2. การเลือกสรร 3. ความประพฤติอันเลวทราม 4. ความอ่อนแอไร้สามารถ, แต่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ไม่ความอธรรมใดๆ ในพระองค์ ด้วยเหตุนี้ สำหรับพระองค์แล้วคือ ผู้ยุติธรรม ซึ่งเป็นหน่วยเนื้อเดียวกันกับความยุติธรรม และเนื่องจากพระองค์ทรงรอบรู้ และทรงยุติธรรม ภารกิจของพระองค์จึงวางอยู่บนความยุติธรรม และวิทยปัญญาเท่านั้น 2.อัลลอฮฺ ทรงสร้างมนุษย์มาในลักษณะเดียวกัน และได้ประทานแนวทางแห่งการชี้นำทางแก่พวกเขา และทั้งหมดมีสิทธิที่จะเลือกสรรด้วยตนเอง ซึ่งมีบางกลุ่มด้วยเหตุผลนานัปการ หรือมีปัจจัยหลายอย่างเป็นแรงจูงใจให้พวกเขาเลือกหนทางหลงผิด และการอธรรม บางกลุ่มพยายามต่อสู้ชนิดขุดรากถอนโคนการอธรรม ที่แฝงเร้นอยู่ในใจของตนเอง พวกเขามุ่งไปสู่หนทางแห่งการชี้นำ และความยุติธรรม พยามประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี ไม่ว่าอย่างไรก็ตามรากที่มาของคำถามเหล่านี้ ล้วนมาจากความคิดที่ว่ามนุษย์ได้รับการบีบบังคับให้เป็นเช่นนั้น หรือที่เรียกว่าพรหมลิขิต ทั้งที่เหตุผลของพรหมลิขิตมิเป็นที่ยอมรับแต่อย่างใด เราเชื่อตามคำสอนของศาสนา ...
  • การลอกข้อสอบผู้อื่นโดยที่บุคคลดังกล่าวยินยอม จะมีฮุกุมเช่นไร?
    15233 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ว่ากันว่าบรรดาฟะกีฮ์มีทัศนะเป็นเอกฉันท์ว่าการลอกข้อสอบถือเป็นฮะรอมดังที่หนังสือ “ประมวลคำถามของนักศึกษา” ได้ตั้งคำถามว่าการลอกข้อสอบมีฮุกุมอย่างไร? คำตอบคือทุกมัรญะอ์ให้ความคิดเห็นว่าไม่อนุญาต[1]หนังสือดังกล่าวได้ให้คำตอบต่อข้อคำถามที่ว่ากรณีที่ยินยอมให้ผู้อื่นลอกข้อสอบจะมีฮุก่มเช่นไร? มัรญะอ์ทุกท่านตอบว่า “การยินยอมไม่มีผลต่อฮุกุมแต่อย่างใด”[2] หมายความว่าฮุกุมของการลอกข้อสอบซึ่งถือว่าเป็นฮะรอมนั้นไม่เปลี่ยนเป็นฮะลาลด้วยกับการยินยอมของผู้ถูกลอกแต่อย่างใดเกี่ยวกับประเด็นนี้มีอีกหนึ่งคำถามที่ถามจากมัรญะอ์บางท่านดังต่อไปนี้คำถาม "หากนักเรียนหรือนักศึกษาสอบผ่านด้วยการลอกข้อสอบและได้เลื่อนระดับขั้นที่สูงขึ้นอันทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆกรณีเช่นนี้อนุญาตให้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวได้หรือไม่?”ท่านอายะตุลลอฮ์คอเมเนอี “การลอกข้อสอบถือว่าเป็นฮะรอมแต่กรณีที่บุคคลผู้นั้นมีความชำนาญและความเชี่ยวชาญในหน้าที่การงานที่เขาได้รับการว่าจ้างโดยที่เขาทำตามกฎระเบียบของการว่าจ้างอย่างเคร่งครัดการว่าจ้างและการรับค่าจ้างถือว่าถูกต้อง”ท่านอายาตุลลอฮ์ฟาฏิลลังกะรอนี “ไม่อนุญาตและไม่มีสิทธิรับสิทธิประโยชน์ใดๆที่ได้มาโดยการนี้”ท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัต “จะต้องเรียนชดเชยวิชานั้น”ท่านอายาตุลลอฮ์ตับรีซี “การลอกข้อสอบคือการโกหกภาคปฏิบัตินั่นเองและถือว่าไม่อนุญาตส่วนผู้ที่กระทำเช่นนี้แล้วได้บรรจุเข้าทำงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะพิเศษก็ถือว่าสามารถทำได้แต่หากเป็นงานที่ต้องใช้ทักษะที่ตนไม่มีก็ไม่อนุญาตให้รับผิดชอบงานนั้นท่านอายาตุลลอฮ์ศอฟีโฆลพอยฆอนี “การคดโกงไม่ว่าในกรณีใดถือว่าไม่อนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี “ในกรณีที่มีการลอกข้อสอบในหนึ่งหรือสองวิชาแม้ว่าถือเป็นการกระทำที่ผิดแต่การรับวุฒิบัตรและการศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่านั้นหรือรับงานด้วยกับวุฒิบัตรดังกล่าวถือว่าอนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์ซิซตานี “เขาสามารถใช้ได้แม้นว่าการกระทำของเขา (การลอกข้อสอบ) ถือว่าไม่อนุญาต”
  • เหตุใดศาสนาจึงขัดต่อหลักสติปัญญา?
    6742 เทววิทยาใหม่ 2554/09/04
    สติปัญญาถือเป็นเครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายในส่วนชะรีอัต(ศาสนา)ก็ถือเป็นเครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายนอกทั้งสองมีหน้าที่นำพามนุษย์สู่ความผาสุกและความสมบูรณ์แบบซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่เครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายในและภายนอกจะขัดแย้งกันเองจากการที่สติปัญญานับเป็นปรากฏการณ์หนึ่งและการที่ทุกปรากฏการณ์มีข้อจำกัดศักยภาพของสติปัญญาก็มิอาจอยู่เหนือกฏเกณฑ์นี้ได้จึงมีศักยภาพประมวลผลในระดับของสรรพสิ่งถูกสร้างเท่านั้นโดยไม่อาจที่จะหยั่งรู้ถึงสถานภาพที่แท้จริงของพระเจ้าได้อย่างถี่ถ้วนเนื่องจากทรงปราศจากข้อจำกัด
  • ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่: การภักดีต่ออลี(อ.)คือสัมมาคารวะที่แท้จริง และการไม่ภักดีต่อท่าน คือการปฏิเสธพระเจ้า
    7102 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/11/09
    ฮะดีษนี้มีเนื้อหาที่ถูกต้องเนื่องจากมีรายงานอย่างเป็นเอกฉันท์กล่าวคือมีฮะดีษมากมายที่ถ่ายทอดถึงเนื้อหาดังกล่าวอย่างไรก็ดีการปฏิเสธในที่นี้ไม่ไช่การปฏิเสธอิสลามแต่เป็นการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงแน่นอนว่าการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงย่อมมิได้ทำให้บุคคลผู้นั้นอยู่ในฮุก่มของกาเฟรทั่วไปในแง่ความเป็นนะญิส ...ฯลฯต้องเข้าใจว่าที่เชื่อว่าการไม่จงรักภักดีต่อท่านอิมามอลี(อ.)เท่ากับปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงนั้นเป็นเพราะการจงรักภักดีต่อท่านคือแนวทางสัจธรรมที่พระองค์ทรงกำหนดฉะนั้นผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของท่านก็เท่ากับฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์
  • ท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จะนำศาสนาใหม่และคัมภีร์ที่นอกเหนือจากอัลกุรอานลงมาหรือไม่?
    6051 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • “มุอ์มินีน”หมายถึงมุสลิมกลุ่มใด?
    14585 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/28
    มุอ์มินีนคือกลุ่มผู้ศรัทธายอมจำนนต่ออัลลอฮ์และเชื่อฟังศาสนทูตของพระองค์ทุกท่าน  ซึ่งหากพิจารณาจากการที่อีหม่านของคนเรามีระดับที่ไม่เท่ากันรวมถึงการที่กุรอานและฮะดีษถือว่าการเชื่อฟังอะฮ์ลุลบัยต์เป็นสัญลักษณ์ของผู้มีอีหม่านระดับสูงและจากการเปรียบเทียบแนวคิดของมัซฮับต่างๆกับเนื้อหาของอัลกุรอานก็จะได้ผลลัพธ์ว่าผู้เจริญรอยตามอะฮ์ลุลบัยต์เท่านั้นที่เป็นผู้ศรัทธาที่มีระดับอีหม่านสูงเด่นตามทัศนะกุรอาน อย่างไรก็ดีคำว่ามุอ์มินดังที่กล่าวมาข้างต้นย่อมหมายถึงผู้ที่เชื่อมั่นในอะฮ์ลุลบัยต์ทั้งในแง่แนวคิดและภาคปฏิบัติอย่างแท้จริงมิไช่บุคคลที่แอบอ้างอย่างฉาบฉวยอย่างไรก็ดีจำเป็นต้องคำนึงถึงข้อเตือนใจสามประการคือ.หนึ่ง:คำว่า“อิสลาม”กินความหมายกว้างกว่าคำว่า“อีหม่าน” โดยที่ฮะดีษบทต่างๆได้อธิบายคุณลักษณะของมุอ์มินไว้แล้วฉะนั้นแม้ผู้ใดมีคุณสมบัติไม่ครบก็มิได้หมายความว่า “เขามิไช่มุสลิม”สอง:นับตั้งแต่อิสลามยุคแรกเป็นต้นมาทุกมัซฮับต่างก็แสดงความรักและให้เกียรติอะฮ์ลุลบัยต์ด้วยกันทั้งสิ้นผู้รู้ฝ่ายซุนหนี่หลายท่านก็เคยประพันธ์หนังสือมากมายเกี่ยวกับอัตชีวประวัติของอะฮ์ลุลบัยต์  ซึ่งเราจะหยิบยกมานำเสนอในส่วนของรายละเอียดคำตอบ.สาม: ผู้ที่ถือตามมัซฮับอื่นๆล้วนได้รับเกียรติในสายตาของผู้ยึดถือแนวทางอะฮ์ลุลบัยต์และมีการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันมาโดยตลอดไม่ว่าจะเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัวการศึกษาความร่วมมือทางการเมืองและสังคมจึงทำให้สามารถพบเห็นผู้รู้ชีอะฮ์บางท่านเคยเล่าเรียนศาสตร์บางแขนงจากผู้รู้ฝ่ายซุนหนี่ขณะเดียวกันในตำราฮะดีษของฝ่ายซุนหนี่ก็มีรายชื่อนักรายงานฮะดีษชีอะฮ์ปรากฏอยู่มากมายอย่างไรก็ดีการเสริมสร้างเอกภาพระหว่างพี่น้องมุสลิมถือเป็นวิธีขับเคลื่อนอิสลามสู่ความก้าวหน้าอีกทั้งยังเป็นปราการแข็งแกร่งที่ป้องกันศัตรูอิสลามจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงเอกภาพมากกว่ารายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ. ...
  • กฎทางชัรอียฺ และผลสะท้อนของการสาปแช่ง และการปฏิเสธความจริงแก่คนอื่น เป็นอย่างไร?
    11905 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/20
    ตามหลักคำสอนของศาสนาของเรา นอกจากจะห้ามมิให้มีการสาปแช่ง หรือปฏิเสธอย่างไม่ถูกต้องต่อคนอื่นแล้ว ยังไม่อนุญาตให้กระทำเช่นนั้นอีกต่างหาก, มีรายงานจำนวนมากมายจากบรรดาอิมามผู้นำ กล่าวว่า, ถ้าหากใครก็ตาม, ได้สาปแช่งบุคคลหนึ่ง ทั้งที่บุคคลนั้นไม่สมควรได้รับการสาปแช่งแม้แต่นิดเดียว, การสาปแช่งนั้นจะย้อนกลับไปหาผู้สาปแช่ง ...
  • เหตุใดท่านอิมามอลี(อ.)จึงวางเฉยต่อการหมิ่นประมาทท่านหญิงฟาฏิมะฮ์?
    7622 ประวัติหลักกฎหมาย 2554/10/09
    การที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ถูกทุบตีมิได้ขัดต่อความกล้าหาญของท่านอิมามอลี(อ.) เพราะในสถานการณ์นั้นท่านต้องเลือกระหว่างการจับดาบขึ้นสู้เพื่อทวงสิทธิของครอบครัวที่ถูกละเมิดหรือจะอดทนสงวนท่าทีแล้วหาทางช่วยเหลืออิสลามด้วยวิธีอื่นจากการที่การจับดาบขึ้นสู้ในเวลานั้นเท่ากับการต่อต้านและสร้างความแตกแยกในหมู่มุสลิมอันจะทำให้สังคมมุสลิมยุคแรกอ่อนเปลี้ยส่งผลให้กองทัพโรมันเหล่าศาสดาจอมปลอมและผู้ตกศาสนาจ้องตะครุบให้สิ้นซากท่านอิมามอลี(อ.)ยอมสละความสุขของตนและครอบครัวเพื่อผดุงไว้ซึ่งอิสลามศาสนาที่เป็นผลงานคำสอนทั้งชีวิตของท่านนบี(ซ.ล.)และการเสียสละของเหล่าชะฮีดในสมรภูมิต่างๆ ...
  • สาขามัซฮับที่สำคัญของชีอะฮ์มีจำนวนเท่าใด?
    10146 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    คำว่า“ชีอะฮ์”โดยรากศัพท์แล้วหมายถึง“สหาย”หรือ“สาวก”และยังแปลได้ว่า“การมีแนวทางเดียวกัน” ส่วนในแวดวงมุสลิมหมายถึงผู้เจริญรอยตามท่านอิมามอลี(อ.) ซึ่งมีการนิยามความหมายของคำว่าผู้เจริญรอยตามว่า

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60137 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57585 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42226 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39388 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38960 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34011 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28030 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27978 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27815 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25807 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...