การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
11273
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/02
คำถามอย่างย่อ
มีคำอรรถาธิบายอย่างไรเกี่ยวกับโองการที่เก้า ซูเราะฮ์ญิน?
คำถาม
มีคำอรรถาธิบายอย่างไรเกี่ยวกับโองการที่เก้า ซูเราะฮ์ญิน?
คำตอบโดยสังเขป

นักอรรถาธิบายกุรอานแสดงทัศนะเกี่ยวกับโองการประเภทนี้แตกต่างกัน นักอรรถาธิบายยุคแรกส่วนใหญ่เชื่อว่าควรถือตามความหมายทั่วไปของโองการ แต่“อาลูซี”ได้หักล้างแนวคิดดังกล่าวพร้อมกับนำเสนอคำตอบไว้ในตำราอธิบายกุรอานของตน
นักอรรถาธิบายบางคนอย่างเช่นผู้ประพันธ์ “ตัฟซี้รฟีซิล้าล”ข้ามประเด็นนี้ไปอย่างง่ายดายเพราะเชื่อว่าโองการประเภทนี้เป็นเนื้อหาที่พ้นญาณวิสัยของมนุษย์ ส่วนบางคนก็อธิบายลึกซึ้งกว่าความหมายทั่วไป โดยเชื่อว่าฟากฟ้าที่เป็นเขตพำนักของเหล่ามลาอิกะฮ์นี้ เป็นมิติที่พ้นญาณวิสัยที่มีสถานะเหนือกว่าโลกของเรา ส่วนการที่กลุ่มชัยฏอนพยายามเข้าใกล้ฟากฟ้าดังกล่าวเพื่อจารกรรมข้อมูล จึงถูกกระหน่ำด้วยอุกกาบาตนั้น หมายถึงการที่เหล่าชัยฏอนต้องการจะเข้าสู่มิติแห่งมลาอิกะฮ์เพื่อจะทราบถึงเหตุการณ์ในอนาคต แต่ก็ถูกขับไล่ด้วยลำแสงของมิติดังกล่าวซึ่งชัยฏอนไม่สามารถจะทนได้

คำตอบเชิงรายละเอียด

โองการที่เก้า ซูเราะฮ์ญิน กล่าวถึงคำพูดของญินที่ว่า وَ أَنَّا كُنَّا نَقْعُدُ مِنْها مَقاعِدَ لِلسَّمْعِ فَمَنْ يَسْتَمِعِ الْآنَ يَجِدْ لَهُ شِهاباً رَصَداً (เราเคยสอดแนมเพื่อแอบฟัง ทว่าหากผู้ใดสอดแนม ณ เวลานี้ ก็จะประสบกับอุกกาบาตที่เฝ้าระวังตลอดเวลา)[1]

ก่อนจะเข้าสู่การอรรถาธิบาย ความทราบความหมายของคำสำคัญดังต่อไปนี้
1. “อิสติรอกุส สัมอ์” อิสติร้อก มาจากรากคำ “สะริเกาะฮ์”ที่แปลว่าการขโมย[2] ซึ่งหมายถึงการหยิบฉวยทรัพย์สินไปโดยที่เจ้าของไม่รู้ตัว ส่วน “อิสติรอกุสสัมอ์” หมายถึงการขโมยวาจา อันหมายถึง “การที่มีใครสักคนแอบฟังคำสนทนาระหว่างคนสองคนซึ่งมิได้ต้องการให้ผู้อื่นได้ยิน” การกระทำดังกล่าวถือเป็นบาปใหญ่ประเภทหนึ่ง[3]

2. ชิฮ้าบ ในพจนานุกรมให้ความหมายว่า เพลิงที่ลุกโชติช่วง[4]

3. เราะศ็อด ในพจนานุกรมให้ความหมายว่า การเฝ้าระวัง, การดักซุ่ม, ผู้เฝ้าระวัง[5]

เนื้อหาของโองการข้างต้นปรากฏอยู่ในซูเราะฮ์อื่นๆสองครั้งดังต่อไปนี้
ก. ซูเราะฮ์ อัศศ้อฟฟ้าต “เว้นแต่ผู้ที่เข้าใกล้ฟากฟ้าเป็นเวลาสั้นๆเพื่อจารกรรมข้อมูล ซึ่งจะถูกไล่ล่าด้วย “ชิฮาบิน ษากิ๊บ”[6]
ข. ซูเราะฮ์ ฮิจร์  “เว้นแต่ผู้ที่จารกรรมข้อมูล (แอบฟัง) ซึ่งจะถูกไล่ล่าด้วย “ชิฮาบิน ษากิ๊บ”[7]

บรรดานักอรรถาธิบายได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับโองการเหล่านี้ไว้แตกต่างกันดังนี้
1. นักอรรถาธิบายบางคนอย่างเช่นผู้ประพันธ์ตัฟซี้ร “ฟีซิลาลิลกุรอาน”ข้ามประเด็นนี้ไปอย่างง่ายดาย โดยกล่าวว่าโองการประเภทนี้ถือเป็นเนื้อหาที่พ้นญาณวิสัยของมนุษย์ และเราควรเน้นเฉพาะสิ่งที่มีผลต่อวิถีชีวิตในเชิงปฏิบัตินั้น ทั้งนี้ ผู้เขียนมิได้แจกแจงประเด็นนี้อย่างละเอียด โดยกล่าวเพียงว่า “การที่ชัยฏอนจะแอบฟังอย่างไร หรือจารกรรมข้อมูลใดนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นความลี้ลับของอัลลอฮ์ที่ไม่อาจไขปริศนาได้ด้วยตัวบทกุรอานหรือฮะดีษ ซึ่งหากจะนำมาวิเคราะห์กันก็เห็นทีจะเปล่าประโยชน์ เพราะนอกจากจะไม่เพิ่มศรัทธาของเราแล้ว ยังทำให้หมกมุ่นอยู่กับเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเรา อีกทั้งยังฉุดรั้งมิให้สนใจหน้าที่ที่พึงปฏิบัติในชีวิตด้วย”[8]

ผู้ประพันธ์ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์ได้แย้งทัศนะดังกล่าวว่า “ไม่เป็นที่สงสัยใดๆเลยว่ากุรอานคือคัมภีร์ที่อบรมและขัดเกลามนุษย์สู่ชีวิตที่แท้จริง กุรอานย่อมนำเสนอเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์เท่านั้น คำสอนกุรอานล้วนเป็นบทเรียนแห่งชีวิต ทั้งนี้ก็เพราะกุรอานคือรัศมีและเป็นคัมภีร์อันชัดแจ้ง ซึ่งประทานมาเพื่อความรู้ความเข้าใจและนำทางมนุษยชาติ เพราะฉะนั้น เหตุใดความเข้าใจกุรอานจึงจะไม่เกี่ยวกับเรา? เราไม่เห็นด้วยกับการแสดงทัศนะเช่นนี้ต่อโองการประเภทดังกล่าว”[9]

2. นักอรรถาธิบายอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นนักอรรถาธิบายยุคก่อน พยายามจะอธิบายโองการเหล่านี้ด้วยความหมายทั่วไป โดยเชื่อว่า:
“สะมาอ์ หมายถึงท้องฟ้า ส่วน ชิฮ้าบ ก็คืออุกกาบาตทั่วไป ส่วนชัยฏอนก็หมายถึงสิ่งมีชีวิตจอมฝ่าฝืน ที่ต้องการจะท่องไปบนฟากฟ้าชั้นต่างๆ และพยายามแอบฟังข่าวคราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ในโลกที่กล่าวขานกันบนฟากฟ้า เพื่อที่จะนำมาบอกเล่าแก่มนุษย์ที่เป็นสาวกของมัน แต่อุกกาบาตก็พุ่งใส่พวกมันเสมือนลูกธนูเพื่อขับไล่มิให้พวกมันขึ้นมาแอบฟังข่าวคราวสำเร็จ”[10]

อาลูซี กล่าวถึงทัศนะข้างต้นพร้อมกับนำเสนอข้อโต้แย้งหลายประการ ซึ่งล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีทางดาราศาสตร์โบราณ อาทิเช่นทฤษฎีเอกภพเปลือกหัวหอม ฯลฯ โดยได้นำเสนอคำตอบไว้ด้วย ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จากตัฟซี้รของเขา[11]

3. เมื่อเชื่อมโยงโองการที่เก้าเข้ากับโองการก่อนหน้านี้ ก็จะได้ใจความว่าชั้นฟ้าเพิ่งจะมีการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดในภายหลัง ซึ่งก่อนหน้านี้เหล่าญินสามารถเข้าสู่ชั้นฟ้าเบื้องบนได้อย่างอิสระ และพยายามดักฟังข่าวคราวเร้นลับที่ได้จากการสนทนาของเหล่ามลาอิกะฮ์อย่างใจจดใจจ่อ” และการที่มีตัว “ฟาอ์”ใน .فَمَنْ... ที่สื่อถึงผลลัพท์ ทำให้มีใจความว่าเหล่าญินต้องการจะสื่อว่า นับแต่นี้เป็นต้นไป หากญินตนใดหมายจะขึ้นไปดักฟังข่าวคราวบนฟากฟ้าเช่นเดิม ก็จะถูกโจมตีด้วยอุกกาบาตที่มีลักษณะเหมือนการซุ่มยิงธนู

เมื่อศึกษาเนื้อหาของสองโองการดังกล่าวทำให้ทราบวา เหล่าญินพบปรากฏการณ์แปลกใหม่บนฟากฟ้าที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงแห่งการประทานกุรอานและการแต่งตั้งท่านนบี(ซ.ล.) ปรากฏการณ์นั้นก็คือ ญินทั้งหมดไม่สามารถจะแอบฟังข่าวคราวลี้ลับบนฟากฟ้าได้อีกภายหลังจากการแต่งตั้งท่านนบี(ซ.ล.)[12]

ท่านอัลลามะฮ์ เฏาะบาเฏาะบาอีกล่าวไว้ในหนังสือของท่านว่า “สิ่งที่กล่าวได้ว่าเป็นข้อสันนิษฐานหนึ่งในที่นี้ก็คือ สำนวนเช่นนี้ถือเป็นการเปรียบเปรย เพื่อจะสื่อให้เข้าใจถึงภาวะที่พ้นญาณวิสัยด้วยตัวอย่างที่สัมผัสได้ ดังที่พระองค์ทรงกล่าวไว้ว่า “เหล่านี้ล้วนเป็นอุปมาอุปไมยที่เราได้แสดงแก่มนุษย์ และไม่มีผู้ใดจะเข้าใจเว้นแต่เหล่าผู้รู้เท่านั้น” สำนวนการเปรียบเปรยเช่นนี้มีมากมายในกุรอาน[13] อาทิเช่น อะร็อช (บัลลังก์) กุรซี (เก้าอี้) หนังสือ โล่ห์ ฯลฯ

ฉะนั้นจึงสามารถจะกล่าวได้ว่าฟากฟ้าที่เป็นเขตพำนักของเหล่ามลาอิกะฮ์นี้ หมายถึงมิติที่พ้นญาณวิสัยซี่งมีสถานะเหนือกว่าโลกของเรา ส่วนการที่กลุ่มชัยฏอนพยายามเข้าใกล้ฟากฟ้าดังกล่าวเพื่อจารกรรมข้อมูล จึงถูกกระหน่ำด้วยอุกกาบาตนั้น หมายถึงการที่เหล่าชัยฏอนต้องการจะเข้าสู่มิติแห่งมลาอิกะฮ์เพื่อจะทราบถึงเหตุการณ์ในอนาคต แต่ก็ถูกขับไล่ด้วยลำแสงของมิติดังกล่าวซึ่งชัยฏอนไม่สามารถจะทนได้[14]

อนึ่ง ทัศนะที่ได้นำเสนอไปทั้งหมดนั้น ถือได้ว่าเป็นสามทัศนะที่มีการกล่าวถึงมากที่สุดเกี่ยวกับโองการประเภทนี้

 

 


[1] อัลญิน,9

[2] ลิซานุ้ลอรับ,เล่ม 10,หน้า 156

[3] ฏ็อยยิบ,ซัยยิด อับดุลฮุเซน,อัฏยะบุ้ลกุรอาน,เล่ม 8,หน้า 20,สำนักพิมพ์อิสลาม,พิมพ์ครั้งที่สอง,เตหราน,ปี 1378

[4] รอฆิบ,มุฟเราะด้าต ฟี เฆาะรีบิลกุรอาน,เล่ม1,หน้า 465

[5] ปทานุกรมกุรอาน,เล่ม 3,หน้า 101

[6] إِلاَّ مَنْ خَطِفَ الْخَطْفَةَ فَأَتْبَعَهُ شِهابٌ ثاقِبٌ".

[7] إِلاَّ مَنِ اسْتَرَقَ السَّمْعَ فَأَتْبَعَهُ شِهابٌ مُبينٌ

[8] ชาซิลี,ซัยยิด บิน กุฏบ์,ตัฟซี้รฟีซิลาลิลกุรอาน,เล่ม 4,หน้า 213,สำนักพิมพ์ดารุชชุรู้ก,พิมพ์ครั้งที่สิบเจ็ด,เบรุต,ฮ.ศ.1412

[9] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 11,หน้า 43,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,พิมพ์ครั้งแรก,เตหราน,ปี 1374

[10] เพิ่งอ้าง

[11] อาลูซี,ซัยยิดมะฮ์มู้ด,รูฮุลมะอานี,เล่ม 7,หน้า 270,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,พิมพ์ครั้งแรก,เบรุต,ฮ.ศ.1415

[12] เฏาะบาเฏาะบาอี,ซัยยิดมุฮัมมัด ฮุเซน,อัลมีซาน,แปลโดยมูซะวี,เล่ม 20,หน้า 64

[13] อัลอังกะบู้ต,43 وَ تِلْكَ الْأَمْثالُ نَضْرِبُها لِلنَّاسِ وَ ما يَعْقِلُها إِلَّا الْعالِمُونَ

[14] อัลมีซาน,เล่ม 17,หน้า 186,187

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีฟัตวาไว้อย่างไรเกี่ยวกับการมองหญิงสาวที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?
    5747 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
     ฟัตวาของท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีเกี่ยวกับการมองหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมเหมือนกับฟัตวาของอิมามโคมัยนีที่ได้เคยฟัตวาไว้ท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับการมองมุสลิมะฮ์ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมว่า “การมองเรือนร่างของสุภาพสตรีที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมไม่ว่าจะมองด้วยความเสน่หาหรือไม่ก็ตามถือว่าเป็นฮะรอมส่วนการมองใบหน้าและมือทั้งสองของนางหากไม่ได้มองด้วยความเสน่หาถือว่าไม่เป็นไรและไม่เป็นที่อนุมัติให้สุภาพสตรีมองเรือนร่างของสุภาพบุรุษเช่นกันส่วนการมองใบหน้า, ร่างกายและเส้นผมของเด็กสาวที่ยังไม่บาลิฆหากไม่ได้มองเพื่อสนองกิเลสและหากไม่เกรงว่าการมองนั้นจะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่ฮะรอมแล้วถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใดแต่ตามหลักอิฮ์ติยาฎแล้วไม่ควรมองส่วนต่างๆของร่างกายที่คนทั่วไปมักจะปกปิดกันเช่นขาอ่อนและท้องฯลฯ [1]ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีได้ตอบคำถามที่ว่า “การมองใบหน้าและที่มือของหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมมีกรณีใดบ้าง? จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องปกปิดเท้าทั้งสองจากสายตาของชายที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?” ท่านได้ตอบว่า “หากฝ่ายชายมองด้วยความเสน่หาหรือในกรณีที่หญิงคนนั้นแต่งหน้าหรือมีเครื่องประดับที่มือของเธอถือว่าไม่อนุญาตให้มองส่วนการปกปิดสองเท้าจากสายตาของผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมนั้นถือเป็นสิ่งที่จำเป็น” [2]และได้กล่าวเกี่ยวกับสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมว่า“หากมองใบหน้าและสองมือของสตรีที่เป็นชาวคัมภีร์เช่นชาวยิวหรือนะศอรอโดยปราศจากความเสน่หาหรือกรณีที่ไม่เกรงว่าการมองนี้จะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่เป็นฮะรอมถือว่าอนุญาต[3]และได้ตอบคำถามที่ว่าในกรณีสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมหากมองส่วนอื่นๆที่โดยทั่วไปมักจะเปิดเผยกันเช่นผมหูฯลฯเหล่านี้จะมีฮุกุมเช่นไร?” ท่านได้ตอบว่า “การมองโดยปราศจากความเสน่หาและไม่โน้มนำสู่ความเสื่อมเสียถือว่าไม่เป็นไร”[4]
  • มีการระบุสิทธิของสิ่งถูกสร้างอื่นๆไว้ในคำสอนอิสลามหรือไม่?
    6934 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/04
    ในตำราทางศาสนามีฮะดีษมากมายที่ระบุว่าสิทธิประโยชน์ต่างๆมิได้ครอบคลุมเฉพาะมนุษย์เท่านั้นทว่ามัคลู้กอื่นๆก็มีสิทธิบางประการเช่นกันดังที่ปรากฏในหนังสือمن لا یحضره الفقیه มีฮะดีษหลายบทรวบรวมไว้ในหมวดที่ว่าด้วยสิทธิของปศุสัตว์เหนือเจ้าของ (حق الدابّة علی صاحبه ) ซึ่งเราขอนำเสนอโดยสังเขปดังต่อไปนี้:ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “สัตว์ทั้งหลายมีสิทธิเหนือผู้ครอบครองดังต่อไปนี้จะต้องให้อาหารเมื่อลงจากหลังของมันจะต้องให้มันกินน้ำเมื่อผ่านแหล่งน้ำจะต้องไม่บรรทุกสัมภาระหรือบังคับให้เดินทางเกินความสามารถของมันและอย่าฟาดที่ใบหน้าของมันเพราะสรรพสัตว์พร่ำรำลึกถึงพระองค์เสมอ”[1]นอกจากนี้ยังมีฮะดีษที่คล้ายคลึงกันในหมวดحق الدابّة علی صاحبه ของหนังสือบิฮารุลอันว้ารเล่าว่าท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “สรรพสัตว์มีสิทธิเหนือเจ้าของเจ็ดประการ1. จะต้องไม่บรรทุกเกินกำลังของมัน 2.ให้อาหารเมื่อลงจากหลังของมัน 3.ให้น้ำเมื่อผ่านแหล่งน้ำ... “[2]เมื่อพิจารณาถึงฮะดีษที่ระบุถึงสิทธิของสัตว์ทำให้ทราบว่ามนุษย์มิไช่ผู้ที่มีสิทธิเพียงผู้เดียวทว่าสรรสิ่งอื่นๆก็มีสิทธิบางประการเช่นกันกรุณาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ระเบียน:  วิธีการรำลึกถึงอัลลอฮ์ของวัตถุและพืชคำถามที่ 7575  ( ลำดับในเว็บไซต์8341 ) 
  • อัลกุรอาน โองการสุดท้ายคืออะไร และเป็นไปได้ไหมที่จะเพิ่มเติมโองการอัลกุรอาน?
    20197 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/29
    เกี่ยวกับอัลกุรอาน โองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีรายงานจำนวนมากและแตกต่างกัน แต่รายงานโดยรวมเหล่านั้นสามารถกล่าวได้ว่า อัลกุรอาน ซูเราะฮฺสุดท้ายสมบูรณ์ที่ได้ประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ซูเราะฮฺ “นัซรฺ” ซึ่งได้ถูกประทานลงมาก่อนที่จะพิชิตมักกะฮฺ หรือในปีที่พิชิตมักกะฮฺนั่นเอง ส่วนซูเราะฮฺสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) แต่ถ้านับโองการถือเป็นโองการเริ่มต้น ของบทบะรออะฮฺ ซึ่งไประทานลงมาในปีที่ 9 ของการอพยพ หลังจากการพิชิตมักกะฮฺ หลังจากกลับจากสงครามตะบูก แต่ในแง่ของโองการ เมื่อถามถึงโองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้แก่โองการอิกมาลุดดีน (มาอิดะฮฺ, 3) เนื่องจากโองการดังกล่าวได้ประกาศถึงความสมบูรณ์ของศาสนา และเป็นการเตือนสำทับให้เห็นว่า การประทานวะฮฺยูได้สิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งโองการนี้ได้ถูกประทานลงมาเมื่อวันที่ 18 ซุลฮิจญฺ ปี ฮ.ศ. ที่ 10 ขณะเดินทางกลับจากการประกอบพิธีฮัจญฺ อัลวะดา บางที่สามารถกล่าวได้ว่าโองการ อิกมาลุดดีน เป็นโองการสุดท้ายเกี่ยวกับ โองการอายะตุลอะฮฺกาม ส่วนโองการที่ 281 บทบะเกาะเราะฮฺ ...
  • สระน้ำเกาษัรคืออะไร?
    13795 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    “เกาษัร” หมายถึงความดีจำนวนมากมายและมหาศาล หรือตัวอย่างหลายกรณีสามารถกล่าวเพื่อสิ่งนั้นได้ เช่น : สระน้ำและแม่น้ำเกาษัร, ชะฟาอัต, นบูวัต, วิทยปัญญา, ความรู้, ลูกหลานจำนวนมากมาย, ทายาทมาก และ ...เกาษัร มีตัวอย่างสองประการ หนึ่งคือโลกนี้ได้แก่ (ฟาฏิมะฮฺซะฮฺรอ อะลัยฮัสลาม) ส่วนปรโลกคือ (สระน้ำเกาษัร)สระน้ำเกาษัร, คือแห่งน้ำดื่มอันชุ่มชื่นใจแห่งสรวงสวรรค์ ซึ่งมีความกว้างมากซึ่งชาวสวรรค์หลังจากผ่านสนามสอบสวนในวันฟื้นคืนชีพ หลังจากนั้นพวกเขาจะถูกนำตัวเข้าสวรรค์และเข้าไปยังสระน้ำนั้น พวกเขาจะได้ดื่มน้ำจากสระเกาษัรเพื่อดับความกระหาย และจะได้ลิ้มรสความอร่อยอย่างที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน. จากสระน้ำเกาษัร, จะมีแม่น้ำอีกสองสายไหลแยกออกไปและจะไหลผ่านอยู่ในสวรรค์นั้น ...
  • บุคลิกของอุบัย บิน กะอฺบ์?
    9426 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    อุบัย บิน กะอฺบ์ เป็นหนึ่งของสหายที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และเป็นผู้มีเกียรติยิ่งทั้งในหมู่อะฮฺลิซุนนะฮฺ และชีอะฮฺ แหล่งอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺมีบันทึกรายงานฮะดีซจำนวหนึ่ของเขาไว้ด้วย นักปราชญ์ผู้อาวุโสฝ่ายฮะดีซ, ยอมรับว่าเขาเป็นสหายของท่านศาสดา และเป็นหนึ่งในผู้บันทึกวะฮฺยู เมื่อพิจารณารายงานที่มาจากเขา, สามารถเข้าใจได้ถึงความรักที่เขามีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามอะลี (อ.) ...
  • ต้องอ่านดุอาเป็นภาษาอรับจึงจะเห็นผลใช่หรือไม่?
    6667 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ไม่จำเป็นจะต้องอ่านดุอาตามบทภาษาอรับเพราะแม้ดุอากุนูตในนมาซก็อนุญาตให้กล่าวด้วยภาษาอื่นได้แต่อย่างไรก็ตามเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะอ่านและพยายามครุ่นคิดในบทดุอาภาษาอรับที่บรรดาอิมามได้สอนไว้ทั้งนี้ก็เนื่องจากเหตุผลที่ว่า:ดังที่กุรอานคือพระวจนะของอัลลอฮ์ที่ใช้สนทนากับมนุษย์ดุอาที่บรรดาอิมาม(อ.)สอนเราไว้ก็คือบทเอื้อนเอ่ยที่มนุษย์วอนขอต่ออัลลอฮ์ดังที่ดุอาได้รับการเปรียบว่าเป็น“กุรอานที่เหิรขึ้นเบื้องบน” นั่นหมายความว่าดุอาเหล่านี้มีเนื้อหาลึกซึ้งแฝงเร้นอยู่ดังเช่นกุรอานและเนื้อหาเหล่านี้จะได้รับการตีแผ่อย่างสมบูรณ์ด้วยภาษาอรับเท่านั้นด้วยเหตุผลดังกล่าวมุสลิมจึงควรเรียนรู้ความหมายของนมาซและดุอาต่างๆเพื่อให้รู้ว่ากำลังเอ่ยขอสิ่งใดจากพระผู้เป็นเจ้าหากทำได้ดังนี้ก็จะส่งผลให้ศาสนกิจของตนอุดมไปด้วยสำนึกทางจิตวิญญาณและจะทำให้สามารถโบยบินสู่ความผาสุกอันนิรันดร์ได้.นอกเหนือปัจจัยดังกล่าวแล้วควรให้ความสำคัญกับปัจจัยอื่นๆด้วยอาทิเช่นเนื้อหาดุอาไม่ควรขัดต่อจารีตที่พระองค์วางไว้ควรศอละวาตแด่นบีและวงศ์วานเสมอผู้ดุอาจะต้องหวังพึ่งพระองค์เท่านั้นมิไช่ผู้อื่นให้บริสุทธิใจและคำนึงถึงความยากไร้ของตนปากกับใจต้องตรงกันยามดุอาเคร่งครัดในข้อบังคับและข้อห้ามทางศาสนากล่าวขอลุแก่โทษต่อพระองค์พยายามย้ำขอดุอามั่นใจและไม่สิ้นหวังในพระองค์.[1][1]มุฮัมมัดตะกีฟัลสะฟี,อธิบายดุอามะการิมุ้ลอัคล้าก,เล่ม1,หน้า ...
  • ถ้าหากนะมาซคือเสาหลักของศาสนา แล้วทำไมจึงจัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นหลักการของศาสนา?
    8754 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    อุซูลลุดดีน หรือหลักศรัทธาเป็นภารกิจทางความเชื่อ ซึ่งมนุษย์ได้ยอมรับสิ่งนั้นด้วยสติปัญญาของตน และได้กลายเป็นมุสลิม หลังจากยอมรับการศรัทธาแล้ว อิสลามได้กำหนดหน้าที่อันเป็นวาญิบแก่เขา ทั้งที่เป็นหน้าที่ส่วนรวมและปัจเจกบุคคล ซึ่งหนึ่งในหน้าที่สำคัญที่สุดของมุสลิมคือ นะมาซ ด้วยเหตุที่ว่า นะมาซ นั้นมีความกว้างและเป็นบทบัญญัติที่สำคัญอย่างยิ่ง จึงได้เรียกนะมาซว่าเป็น เสาหลักของศาสนา แต่ไม่นับว่าเป็นว่ารากฐานทางความเชื่อ ซึ่งไม่สามารถนับว่าเป็นหลักศรัทธาหรืออุซูลลุดดีนได้ ...
  • จุดประสงค์ของการสร้างคืออะไร จงอธิบายเหตุผลในเชิงเหตุผลนิยม ถ้าเป้าหมายคือความสมบูรณ์แล้วทำไมพระเจ้าไม่ทรงสร้างมนุษย์ให้สมบูรณ์แบบ
    13524 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    พระเจ้าคือผู้ดำรงอยู่ที่ไม่มีความจำกัด พระองค์ทรงมีความสมบูรณ์แบบทุกประการ การสร้าง (บังเกิด) เป็นความงดงาม และพระองค์คือผู้มีความงดงามความงดงามอันสมบูรณ์แบบของพระองค์ เป็นตัวกำหนดว่าพระองค์ทรงสร้างทุกอย่างขึ้นตามคุณค่าของมัน ดังนั้น พระเจ้าทรงสร้างเป็นเพราะพระองค์คือผู้งดงาม หมายถึงจุดประสงค์และเป้าหมายในการสร้างของพระองค์นั้นงดงาม อีกด้านหนึ่งคุณลักษณะอาตมันของพระเจ้าไม่ได้แยกออกจากอาตมันของพระองค์ จึงสามารถกล่าวได้ว่าจุดประสงค์ของการสร้างคือ อาตมันของพระเพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาโดยให้มีแนวโน้มที่ดีและความชั่วร้ายภายใน และทรงประทานผู้เชิญชวนภายนอก 2 ท่าน ที่ดีได้แก่ศาสดา (นบี) และความชั่วร้ายได้แก่ชัยฎอน (ปีศาจ), ทั้งนี้มนุษย์สามารถบรรลุความสมบูรณ์สูงสุดของสรรพสิ่งที่อยู่หรือก้าวไปสู่ความชั่วช้าที่ต่ำทรามที่สุดก็เป็นได้ ทั้งที่มนุษย์นั้นมีพลังของเดรัจฉานและการลวงล่อของซาตานที่ล่อลวงอยู่ตลอดเวลา ...
  • หากว่าหลังจากที่เราตายไป อัลลอฮ์อนุญาตให้กลับสู่โลกนี้อีกครั้ง เราจะปรับปรุงตนได้หรือไม่?
    6332 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/04
    อันดับแรกต้องเรียนว่าการกลับสู่โลกนี้ตามใจชอบนั้นจะทำลายระบบระเบียบของโลกนี้อีกทั้งยังทำให้ภารกิจของบรรดานบีหมดความหมายไปโดยสิ้นเชิงสอง, สมมติว่าคนที่ทำบาปได้กลับสู่โลกนี้ก็ไม่แน่เสมอไปว่าจะปรับปรุงตัวได้หรือไม่ทั้งนี้ก็เนื่องจากโลกนี้ก็ยังเหมือนเดิมและกิเลสตัณหาของผู้ตายก็มิได้อันตรธานหายไปดังจะเห็นได้ว่าหลายครั้งหลายหนที่คนเราได้เห็นอุทาหรณ์สอนใจว่าโลกนี้ไร้แก่นสารแต่ก็ยังไม่วายจะหลงใหลครั้งแล้วครั้งเล่าเป็นเหตุให้พวกเขาทำบาปเพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขชั่ววูบในโลกนี้ ...
  • คำว่าดวงวิญญาณที่ปรากฏในซิยารัตอาชูรอหมายถึงผู้ใด? اَلسَّلامُ عَلَیْکَ یا اَبا عَبْدِ اللَّهِ وَ عَلَى الْاَرْواحِ الَّتى حَلَّتْ بِفِنائکَ
    6429 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/02
    ارواح التی حلت بفنائک หมายถึงบรรดาชะฮีดที่พลีชีพเคียงข้างท่านอิมามฮุเซนณแผ่นดินกัรบะลาทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้:1. ผู้เยี่ยมเยียนที่ยังไม่เสียชีวิตมักไม่เรียกกันว่าดวงวิญญาณ2. บทซิยารัตนี้มักจะอ่านโดยผู้เยี่ยมเยียนและแน่นอนว่าผู้อ่านย่อมมิไช่คนเดียวกันกับผู้เป็นที่ปรารภ3. ไม่มีซิยารัตบทใดที่กล่าวสลามถึงผู้เยี่ยมเยียนเป็นการเฉพาะ4. ซิยารัตอาชูรอรายงานไว้ก่อนที่จะมีสุสานที่รายล้อมกุโบรของอิมามฉะนั้นดวงวิญญาณในที่นี้ย่อมมิได้หมายถึงผู้ที่ฝังอยู่ณบริเวณนั้น5. จากบริบทของซิยารัตทำให้พอจะเข้าใจได้ว่าดวงวิญญาณในที่นี้หมายถึงบรรดาชะฮีดที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามฮุเซนในกัรบะลาอาทิเช่นการสลามผู้ที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามเป็นการเฉพาะ السلام علی الحسین و علی علِیّ بن الحسین و علی اولاد الحسین و علی اصحاب الحسین นอกจากที่เนื้อหาของซิยารัตอาชูรอจะสื่อถึงการสลามอิมามฮุเซนลูกหลานและเหล่าสาวกของท่านแล้วยังแสดงถึงการสวามิภักดิ์ต่อท่านและการคัดค้านศัตรูของท่านอีกด้วย6. ซิยารัตอาชูรอในสายรายงานอื่นมีประโยคที่ว่า السلام علیک و علی الارواح التی حلّت بفنائک و اناخت بساحتک و جاهدت فی ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60032 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57392 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42127 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39190 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38855 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33928 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27950 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27863 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27665 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25690 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...