การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10473
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/02/18
 
รหัสในเว็บไซต์ fa17772 รหัสสำเนา 21904
คำถามอย่างย่อ
บุคคลย้ำคิดย้ำทำที่ได้รับการอนุโลม ถามว่าได้รับการอนุโลมข้อสงสัยทุกประเภทหรือไม่?
คำถาม
บุคคลย้ำคิดย้ำทำที่ได้รับการอนุโลม ถามว่าได้รับการอนุโลมข้อสงสัยทุกประเภทหรือไม่? บรรดามัรญะอ์มีความเห็นพ้องกันหรือไม่? หรือว่ายังมีข้อถกเถียงกันอยู่?
คำตอบโดยสังเขป

ตามหลัก “لا شکّ لکثیر الشکแล้ว ผู้ที่ชอบย้ำคิดย้ำทำ(ช่างสงสัย) ไม่ควรให้ความสำคัญแก่การสงสัยของตน อุละมาส่วนใหญ่เชื่อว่าหลักการนี้มิได้จำกัดเฉพาะกรณีการนมาซเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอะมั้ลที่กระทำก่อนนมาซ อาทิเช่น การอาบน้ำนมาซ, ฆุสุลและตะยัมมุม, อีกทั้งรวมไปถึงชุดอิบาดะฮ์อย่างเช่นการทำฮัจย์ และครอบคลุมถึงการทำธุรกรรม และประเด็นความศรัทธาด้วย อุละมายกหลักฐานสนับสนุนทัศนะของตนอันได้แก่ หลักการ لا شکّ لکثیر الشک ซึ่งมีลักษณะตะอ์ลี้ลและสื่อถึงความครอบคลุมวงกว้าง แต่มีเงื่อนไขว่าบุคคลนั้นๆจะต้องมีคุณสมบัติเป็น “คนย้ำคิดย้ำทำ” และจะต้องเป็นการสงสัยที่เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำเท่านั้น ในลักษณะที่คนทั่วไปถือว่าเขาเป็นบุคคลย้ำคิดย้ำทำ ]

คำตอบเชิงรายละเอียด

ตามหลัก “لا شکّ لکثیر الشکแล้ว ผู้ที่ชอบย้ำคิดย้ำทำ(ช่างสงสัย) ไม่ควรให้ความสำคัญแก่การสงสัยของตน แต่ในประเด็นที่ว่าหลักดังกล่าวจะครอบคลุมถึงการกระทำที่มิไช่อิบาดะฮ์ อันได้แก่ธุรกรรมประเภทต่างๆ, สิทธิบุคคล และประเด็นความศรัทธาด้วยหรือไม่? เกี่ยวกับเรื่องนี้มีหลายทัศนะด้วยกัน ได้แก่:

หนึ่ง. ทัศนะของฟุเกาะฮาส่วนใหญ่: นักนิติศาสตร์อิสลามส่วนใหญ่เชื่อว่ากฏดังกล่าวมิได้จำกัดเฉพาะกรณีการนมาซเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอะมั้ลที่กระทำก่อนนมาซ อาทิเช่น การอาบน้ำนมาซ, ฆุสุลและตะยัมมุม, อีกทั้งรวมไปถึงชุดอิบาดะฮ์อย่างเช่นการทำฮัจย์ และครอบคลุมถึงการทำธุรกรรม และประเด็นความศรัทธาด้วย อุละมายกหลักฐานสนับสนุนทัศนะของตนอันได้แก่ หลักการ لا شکّ لکثیر الشک ซึ่งมีลักษณะตะอ์ลี้ลและสื่อถึงความครอบคลุมวงกว้าง[1] แต่มีเงื่อนไขว่าบุคคลนั้นๆจะต้องมีคุณสมบัติเป็น “คนย้ำคิดย้ำทำ” และจะต้องเป็นการสงสัยที่เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำเท่านั้น ในลักษณะที่คนทั่วไปถือว่าเขาเป็นบุคคลย้ำคิดย้ำทำ ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวกันว่า

1. ไม่ควรสนใจการสงสัยที่เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ[2]

2. หากไปร่วมรับประทานอาหารที่บ้านผู้อื่นแล้วเกิดสงสัยบ่อยครั้งว่าอาหารฮาล้าลหรือไม่ ไม่ควรสนใจและให้ถือว่าฮาล้าล[3]

3. เกี่ยวกับสิทธิบุคคล “ฮักกุนนาส” ผู้ย้ำคิดย้ำทำไม่ควรสนใจข้อเคลือบแคลงของตน และให้ถือว่าการกระทำของตนถูกต้องแล้ว[4]

4. หน้าที่ของผู้ที่สงสัยทุกเรื่องไม่ว่าในเรื่องอิบาดะฮ์หรือประเด็นอื่นๆก็คือ หากมีคุณสมบัติเป็นคนย้ำคิดย้ำทำ ก็ไม่ควรสนใจการสงสัยของตน[5]

5. ผู้ที่ศรัทธาในอัลลอฮ์และท่านนบี(ซ.ล.) ทว่ามักจะมีข้อสงสัยเกิดขึ้นและเป็นเหตุให้ต้องศึกษาหาคำตอบนั้น ข้อสงสัยเหล่านี้มิได้ทำให้เขาตกเป็นกาเฟรและกลายเป็นนะญิสแต่อย่างใด[6]

สอง. ทัศนะของฟุเกาะฮาที่เหลือ: บางท่านเชื่อว่ากฏดังกล่าวมีไว้เฉพาะกรณีการนมาซเท่านั้น และไม่ครอบคลุมถึงประเด็นอื่นๆ โดยเชื่อว่าในประเด็นอื่นๆจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฏเฉพาะของแต่ละกรณี[7]

เราจะกล่าวถึงคุณลักษณะของการสงสัยดังต่อไปนี้

1. การสงสัย การกระซิบกระซาบ และความหวั่นไหวทางความคิด เกิดจากการยุแยงของชัยฏอน ในทางกลับกัน ความมั่นใจและยะกีนเกิดจากความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า ชัยฏอนมักจะใช้กลเม็ดเด็ดพรายหลากรูปแบบเพื่อชักนำให้บ่าวของพระองค์หลุดจากหนทางที่เที่ยงตรง และเนื่องจากชัยฏอนมีความเจ้าเล่ห์สูง จึงมักปรับใช้วิธีหลอกล่อให้ตรงกับจุดอ่อนของแต่ละคน วิธีต่อสู้กับการกระซิบกระซาบของชัยฏอนก็คือ การไม่ให้ราคาไดๆแก่พฤติกรรมของมัน ฉะนั้น เมื่อชัยฏอนชักนำให้มนุษย์คิดเรื่องอันเป็นโมฆะ ก็ควรหันไปสนใจเรื่องอื่นๆแทน

2. มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่มีศักยภาพทางความคิด จึงต้องไตร่ตรองค้นหาแนวทางสัจธรรมและยึดถืออย่างเคร่งครัด แน่นอนว่ากระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นมิได้หากปราศจากการพากเพียรทางปัญญาอย่างมีระบบ เพื่อให้สามารถค้นหาความหมายของโลก และบรรลุถึงฮะย้าต ฏ็อยยิบะฮ์ (ชีวิตอันเปี่ยมสุข)ได้ แต่ไม่ว่าจะพยายามเท่าใดก็ยังไม่เพียงพอ ซึ่งถือเป็นต้นทุนในการขวนขวายหาปัญญาธรรม และเพื่อการนี้ จำเป็นต้องเสริมสร้างพื้นฐานความศรัทธาให้แน่นหนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อมิให้โครงสร้างทางปัญญาต้องเผชิญกับแรงสั่นสะเทือนทางความคิดจนเสียหาย ในการเดินทางครั้งนี้ สถานีแรกก็คือการครุ่นคิดไตร่ตรองอย่างลึกซึ้ง และหาข้อสรุปเกี่ยวกับความหมายของโลกและมนุษย์ ระหว่างนี้ก็อาจจะมีข้อสงสัยเกิดขึ้นในใจบ้าง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นเพียงแรงสั่นสะเทือนทางความคิด ซึ่งมิได้เป็นอันตรายเสมอไป ซ้ำบางครั้งยังสามารถจะเป็นช่องทางไปสู่ระดับขั้นที่สูงขึ้นไปก็เป็นได้ แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องรีบผ่านขั้นตอนนี้ไปให้เร็วที่สุด เนื่องจากการหยุดอยู่ ณ สถานีแห่งการสงสัยเป็นอันตรายอย่างยิ่ง[8]

ท้ายนี้ขอนำเสนอคำตอบจากบรรดามัรญะตักลี้ดต่อข้อซักถามข้างต้นดังนี้[9]

อายะตุลลอฮ์ คอเมเนอี: ผู้ที่สงสัยบ่อย ถือเป็นคนย้ำคิดย้ำทำ (กะษีรุชชักก์) ส่วนในกรณีนมาซ หากผู้ใดสงสัยถึงสามครั้งในนมาซครั้งเดียว หรือสงสัยในนมาซสามเวลาติดต่อกัน (อย่างเช่น นมาซศุบฮิ ซุฮ์ริ และอัศริ) ล้วนถือเป็นคนย้ำคิดย้ำทำทั้งสิ้น ตราบใดที่การสงสัยดังกล่าวมิได้เกิดจากความหวั่นวิตกใดๆ ก็จงอย่าให้ความสำคัญ และตราบใดที่คนย้ำคิดย้ำทำยังมิได้รู้สึกว่าตนเองกลับสู่สภาวะปกติแล้ว ก็ให้ปล่อยวางความสงสัยต่อไป

อายะตุลลอฮ์ มะการิม ชีรอซี: ฟัตวาของเราก็คือ กะษีรุชชักก์ หมายถึงผู้ที่สงสัยบ่อยนั้น ไม่ควรให้ความสนใจการสงสัยของตน ไม่ว่าจะสงสัยในจำนวนเราะกะอัต หรือส่วนอื่นของนมาซ หรือเงื่อนไขของนมาซ
คนย้ำคิดย้ำทำคือบุคคลที่สงสัยบ่อยในทัศนะของคนทั่วไป และหากสงสัยถึงสามครั้งในนมาซครั้งเดียว หรือสงสัยในนมาซสามเวลาติดต่อกัน ถือว่าเป็นคนย้ำคิดย้ำทำ

อายะตุลลอฮ์ ศอฟี โฆลพอยฆอนี: โดยทั่วไปแล้ว คนย้ำคิดย้ำทำไม่ควรให้ความสำคัญแก่การสงสัยของตนในประเด็นการนมาซ ไม่ว่าจะในเรื่องซิเกร หรือจำนวนเราะกะอัต หรือส่วนอื่นๆอย่างเช่นรุกั้วอ์และสุญูด

อายะตุลลอฮ์ ซีสตานี: ไช่แล้ว (ไม่ควรให้ความสนใจ)

อายะตุลลอฮ์ ฮาดะวี เตหรานี: ผู้ที่ย้ำคิดย้ำทำ ไม่ควรสนใจข้อสงสัยของตนเฉพาะกรณีที่มีอาการย้ำคิดย้ำทำเท่านั้น ส่วนเรื่องอื่นๆที่มีอัตราการสงสัยในระดับปกติ ให้ปฏิบัติเสมือนบุคคลทั่วไปยามเกิดข้อสงสัย

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
“ฮักกุนนาส”
9249, (ลำดับในเว็บไซต์ 9221)
“ฮักกุนนาสและการขออภัย”
7952, (ลำดับในเว็บไซต์ 8054)

“กฏการระวังในยามสงสัย” 3078, (ลำดับในเว็บไซต์ 3324)



[1] มูซะวี,บุจนูรดี,ซัยยิดฮะซัน, อัลเกาะวาอิดุ้ลฟิกฮียะฮ์,ค้นคว้าเพิ่มเติมโดย เมะฮ์รีซี,มะฮ์ดี และ ดิรอยะตี,มุฮัมมัด ฮะซัน,เล่ม 2,หน้า 353-356,สำนักพิมพ์อัลฮาดี,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,..1419 และ เฏาะบาเฏาะบาอี,กุมมี,ซัยยิดตะกี, อัลอันวารุ้ลบะฮียะฮ์ ฟีเกาะวาอิดิ้ลฟิกฮียะฮ์,หน้า 190-191, สำนักพิมพ์มะฮัลลอที,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,..1423 และ ตับรีซี,ญะว้าด,ถามตอบปัญหาศาสนาใหม่,เล่ม 2,หน้า 71,คำถามที่ 325,กุม,พิมพ์ครั้งแรก

[2] อิมามโคมัยนี,ซัยยิดรูฮุลลอฮ์,ถามตอบปัญหาศาสนา,เล่ม 1,หน้า 169,คำถามที่ 158,สำนึกพิมพ์อิสลามี,กุม,พิมพ์ครั้งที่ห้า,..1422

[3] เพิ่งอ้าง,หน้า 110,คำถามที่ 295

[4] ตับรีซี,ญะว้าด,ถามตอบปัญหาศาสนาใหม่,เล่ม 2,หน้า 71,คำถามที่ 325

[5] บะฮ์ญัต,มุฮัมมัดตะกี,ถามตอบปัญหาศาสนา,เล่ม 2,หน้า 215,คำถามที่ 2302, สำนักพิมพ์อายะตุลลอฮ์บะฮ์ญัต,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,..1428

[6] มะการิมชีรอซี,นาศิร,ประมวลปัญหาศาสนา,หน้า 36,ปัญหาที่ 114,สำนักพิมพ์โรงเรียนอิมามอลีบินอบีฏอลิบ(.),กุม,พิมพ์ครั้งที่ห้าสิบสอง,..1429

[7] ดู: อัลเกาะวาอิดุ้ลฟิกฮียะฮ์,เล่ม 2,หน้า 355,356

[8] ดู: ระเบียนข้อสงสัยในหลักศรัทธาคำถามที่ 4895 (ลำดับในเว็บไซต์ 5356)

[9] สอบถามโดยเว็บไซต์อิสลามเควสท์

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ความใกล้ชิดกับพระเจ้าคืออะไร มีประเภทใดบ้าง ? และจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
    9516 รหัสยปฏิบัติ 2553/10/21
    ค่าว่า กุรบุน หมายความว่าความใกล้กันของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง บางครั้งความใกล้ชิดนี้อาจเป็นสถานที่ใกล้เคียง และบางครั้งก็อาจเป็นเวลา ดังนั้น กุรบุน จึงอาจเป็นสถานที่หรือเวลาก็ได้ ส่วนในความในทัศนะทั่วไป คำว่า กุรบุน อาจใช้ในความหมายอื่นก็ได้ กล่าวคือ หมายถึงการมีคุณค่า ศักดิ์ศรีและฐานันดรใกล้เคียงกันในสายตาคนอื่นประเภทของ กุรบุน ในทัศนะของปรัชญา :
  • ในอายะฮ์ที่ได้กล่าวว่า "فَمَنِ اعْتَدَى بَعْدَ ذَلِکَ فَلَهُ عَذَابٌ أَلِیمٌ"، คำว่า “ฟะมะนิอ์ตะดา” หมายถึงอะไร และสาเหตุใดจึงมีการเตือนว่าจะลงโทษ?
    8847 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    ข้อบังคับประการหนึ่งในพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์ก็คือห้ามล่าสัตว์ในขณะที่ครองอิฮ์รอมซึ่งอายะฮ์ที่ 94-96 ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ก็ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้กล่าวคือห้ามมิให้ล่าสัตว์ทะเลทรายและสัตว์น้ำในขณะที่ยังครองอิฮ์รอมก่อนที่จะกล่าวถึงความหมายของคำว่า “ตะอัดดี” (การรุกราน) จำเป็นที่จะต้องอธิบายว่าเหตุผลหนึ่งของการห้ามล่าสัตว์ในขณะครองอิฮ์รอมก็คือการที่พิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์เป็นอิบาดะฮ์ที่จะแยกมนุษย์ออกจากโลกิยะและจะนำพามนุษย์สู่โลกที่เต็มไปด้วยจิตวิญญาณอันสูงส่งส่วนสิ่งที่เป็นวัตถุ, การรบราฆ่าฟัน, ความอาฆาต, ความต้องการทางเพศ, ความสุขทางด้านวัตถุล้วนเป็นสิ่งที่พึงละเว้นในพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์ซึ่งถือเป็นวิธีฝึกฝนที่ได้รับการอนุมัติจากพระองค์ฉะนั้นการห้ามล่าสัตว์ในขณะครองอิฮ์รอมก็อาจจะเนื่องด้วยสาเหตุเหล่านี้[1]ศาสนบัญญัติข้อนี้ได้รับการกำหนดไว้อย่างละเอียดโดยมิได้เจาะจงห้ามล่าสัตว์เพียงอย่างเดียวแต่รวมไปถึงการช่วยชี้เป้าหรือการหาเหยื่อให้ผู้ล่าก็เป็นสิ่งต้องห้ามด้วยเช่นกันดังที่ในฮะดีษได้กล่าวไว้ว่าอิมามศอดิก (อ.) กล่าวกับสหายของท่านว่า “จงอย่าถือว่าการล่าสัตว์ในขณะที่ยังครองอิฮ์รอมเป็นสิ่งอนุมัติไม่ว่าจะอยู่ในเขตฮะร็อมหรือนอกเขตฮะร็อมก็ตามและถึงแม้ว่าพวกท่านจะไม่ได้ครองอิฮ์รอมก็ไม่สามารถล่าสัตว์ได้และจงอย่าชี้เป้าแก่บุคคลที่กำลังครองอิฮ์รอมหรือผู้ที่มิได้ครองอิฮ์รอมเพื่อให้เขาล่าสัตว์และจงอย่าสนับสนุน (และสั่ง) แต่อย่างใดเพื่อที่จะได้ทำให้การล่าสัตว์นั้นๆเป็นฮะลาลเนื่องจากจะทำให้ผู้ละเมิดโดยตั้งใจต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮ์”[2]ดังนั้น “มะนิอ์ตะดา”ในที่นี้หมายถึงบุคลลใดก็ตามที่ได้ฝ่าฝืนกฏดังกล่าว (การห้ามล่าสัตว์) ซึ่งเป็นคำสั่งของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) เขาจะต้องทนทุกข์ทรมานกับการลงโทษที่หนักหน่วงดังนั้นสาเหตุของการลงโทษคือการฝ่าฝืนกฏและคำสั่งของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) นั่นเองและการลงโทษดังกล่าวหมายถึงการลงโทษด้วยไฟนรกในโลกหน้า “หรืออาจจะหมายถึงการประสบอุปสรรคในโลกนี้ด้วยก็เป็นได้”[3] ดังนั้นการดื้อแพ่งกระทำบาปครั้งแล้วครั้งเล่าจะนำมาซึ่งภยันตรายและการลงทัณฑ์อันเจ็บปวดคำถามดังกล่าวไม่มีคำตอบเชิงอธิบาย
  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับฮูรุลอัยน์ และถามว่าจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสุภาพสตรีชาวสวรรค์หรือไม่?
    11473 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/07/16
    สรวงสวรรค์นับเป็นความโปรดปรานที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ศรัทธาและประพฤติดีโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศจากการยืนยันโดยกุรอานและฮะดีษพบว่า “ฮูรุลอัยน์”คือหนึ่งในผลรางวัลที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้ชาวสวรรค์น่าสังเกตุว่านักอรรถาธิบายกุรอานส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าในสวรรค์ไม่มีพิธีแต่งงานส่วนคำว่าแต่งงานกับฮูรุลอัยน์ที่ปรากฏในกุรอานนั้นตีความกันว่าหมายถึงการมอบฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชาวสวรรค์โดยไม่ต้องแต่งงาน.นอกจากนี้คำว่าฮูรุลอัยน์ยังสามารถใช้กับเพศชายและเพศหญิงได้ทำให้มีความหมายกว้างครอบคลุมคู่ครองทั้งหมดในสวรรค์ไม่ว่าจะเป็นเนื้อคู่สาวสำหรับชายหนุ่มผู้ศรัทธาหรืออาจจะเป็นเนื้อคู่หนุ่มสำหรับหญิงสาวผู้ศรัทธา[i]นอกจากเนื้อคู่แล้วยังมี“ฆิลมาน”หรือบรรดาเด็กหนุ่มที่คอยรับใช้ชาวสวรรค์ทั้งชายและหญิงอีกด้วย[i]ดีดอเรย้อร(โลกหน้าในครรลองวะฮีย์),อ.มะการิมชีรอซี,หน้า
  • บทบาทของผู้เป็นสื่อในการสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺคืออะไร?
    7461 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    สื่อมีความหมายกว้างมากซึ่งครอบคลุมถึงทุกสิ่งหรือทุกภารกิจอันเป็นสาเหตุนำเราเข้าใกล้ชิดพระผู้อภิบาลได้ถือว่าเป็นสื่อขณะที่โลกนี้วางอยู่บนพื้นฐานของระบบเหตุและผล,สาเหตุและสิ่งเป็นสาเหตุ, ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการชี้นำมนุษย์ให้เจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์, ดังเช่นที่ความต้องการทางธรรมชาติของมนุษย์ทั้งหลายบรรลุและดำเนินไปโดยปัจจัยและสาเหตุทางวัตถุ, ความเมตตาอันล้นเหลือด้านศีลธรรมของพระเจ้า, เฉกเช่นการชี้นำทาง, การอภัยโทษ, การสอนสั่ง, ความใกล้ชิดและความสูงส่งของมนุษย์ก็เช่นเดียวกันวางอยู่บนพื้นฐานของระบบอันเฉพาะเจาะจงซึ่งได้ถูกกำหนดสำหรับมนุษย์แล้วโดยผ่านสาเหตุและปัจจัยต่างๆแน่นอนถ้าปราศจากปัจจัยสื่อและสาเหตุเหล่านี้ไม่อาจเป็นไปได้แน่นอนที่มนุษย์จะได้รับความเมตตาอันล้นเหลือจากพระเจ้าหรือเข้าใกล้ชิดกับพระองค์อัลกุรอานหลายโองการและรายงานจำนวนมากมายได้แนะนำปัจจัยและสาเหตุเหล่านั้นเอาไว้และยืนยันว่าถ้าปราศจากสื่อเหล่านั้นมนุษย์ไม่มีวันใกล้ชิดกับอัลลอฮฺได้อย่างแน่นอน ...
  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อรุก็อยยะฮ์ไช่หรือไม่?
    8294 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/04
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • จะมีวิธีการอะไรสามารถพิสูจน์ได้ว่าอัล-กุรอาน ถูกประทานลงมาจากพระเจ้า
    9479 วิทยาการกุรอาน 2553/10/11
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ท่านอับบาสอ่านกลอนปลุกใจว่าอย่างไรขณะกำลังนำน้ำมา
    8935 ชีวประวัตินักปราชญ์ 2554/12/25
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • “ฟาฏิมะฮ์”แปลว่าอะไร? และเพราะเหตุใดท่านนบีจึงตั้งชื่อนี้ให้บุตรีของท่าน?
    23089 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/06/12
    ไม่จำเป็นที่ชื่อของคนทั่วไปจะต้องสื่อความหมายพิเศษหรือแสดงถึงบุคลิกภาพของเจ้าของชื่อเสมอไปขอเพียงไม่สื่อความหมายถึงการตั้งภาคีหรือขัดต่อศีลธรรมอิสลามก็ถือว่าเพียงพอแต่กรณีปูชณียบุคคลที่ได้รับการขนานนามจากอัลลอฮ์เช่นท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซะฮ์รอ(ส) นามของเธอย่อมมีความหมายสอดคล้องกับคุณลักษณะเฉพาะตัวอย่างแน่นอนนาม “ฟาฏิมะฮ์”มาจากรากศัพท์ “ฟัฏมุน” ...
  • เพราะเหตุใดนิกายชีอะฮฺจึงเป็นนิกายที่ดีที่สุด ?
    9581 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    การที่นิกายชีอะฮฺดีที่สุดนั้นเนื่องจาก “ความถูกต้อง” นั่นเองซึ่งศาสนาที่ถูกต้องนั้นจำกัดอยู่เพียงแค่ศาสนาเดียวส่วนศาสนาอื่นๆ
  • คำอธิบายอัลกุรอาน บทอัฏฏีน จากตัฟซีรฟะรอต มีฮะดีซบทหนึ่งกล่าวว่า วัตถุประสงค์ของคำว่า ฏีน หมายถึงอิมามฮะซัน (อ.) และวัตถุประสงค์ของ ซัยตูน คืออิมามฮุซัยนฺ (ฮ.) ถามว่าฮะดีซเหล่านี้ และฮะดีซที่คล้ายคลึงกันเชื่อถือได้หรือไม่?
    10592 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/20
    อัลกุรอาน นอกจากจะมีความหมายภายนอกแล้ว,เป็นไปที่ว่าอาจมีความหมายภายในซ่อนเร้นอยู่อีก เช่น ความหมายภายนอกของคำว่า ฏีนและซัยตูน ซึ่งอัลลอฮฺ กล่าวไว้ในโองการที่ 1 และ 2 ของบท ฏีนว่า ขอสาบานด้วยพวกเขาว่า, สามารถกล่าวได้ว่าอาจหมายถึงผลมะกอก และมะเดื่อตามที่ประชาชนทั้งหลายเข้าใจ กล่าวคือ ผลมะกอกและมะเดื่อ ที่มาจากต้นมะกอกและต้นมะเดื่อ, แต่ขณะเดียวกันก็สามารถกล่าวถึงความหมายด้านในของโองการได้ ซึ่งสองสิ่งที่ฮะดีซพาดพิงถึงคือ ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เป็นผลไม้จากต้นวิลายะฮฺ[1] ทำนองเดียวกัน สามารถกล่าวได้ว่า โองการยังมีวัตถุประสงค์อื่นอีก, ดังที่รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงสิ่งนี้เอาไว้, ซึ่งวัตถุประสงค์จาก ฏีน หมายถึง เมืองแห่งเราะซูล ส่วนวัตถุประสงค์ของ ซัยตูน หมายถึง บัยตุลมุก็อดดิส กิบละฮฺแห่งแรกของมวลมุสลิม[2] ตัฟซีรกุมมีกล่าวว่า ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60042 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57417 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42132 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39203 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38869 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33938 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27956 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27872 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27683 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25705 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...