การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9212
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/01/19
 
รหัสในเว็บไซต์ fa9622 รหัสสำเนา 20975
คำถามอย่างย่อ
ท่านนบี(ซ.ล.)เคยกล่าวไว้ดังนี้หรือไม่? “หากผู้คนล่วงรู้ถึงอภินิหารของอลี(อ.) จะทำให้พวกเขาปฏิเสธพระเจ้าเพราะจะโจษขานว่าอลีก็คือพระเจ้านั่นเอง(นะอูซุบิลลาฮ์)”
คำถาม
อัสสลามุอลัยกุม เคยได้ยินว่า“หากผู้คนล่วงรู้ถึงอภินิหารของอลี(อ.) จะทำให้พวกเขาปฏิเสธพระเจ้า โดยจะโจษขานกันว่าอลีคือพระเจ้า(นะอูซุบิลลาฮ์)” อยากทราบว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่ ใครเป็นคนกล่าวคำพูดนี้ ดิฉันเคยอ้างว่าเป็นฮะดีษท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ทราบว่าจะถูกต้องหรือเปล่า กรุณาตอบและอธิบายทางอีเมล์ เพราะกลัวว่าจะเป็นการป้ายสีท่านนบี ขอบคุณค่ะ
คำตอบโดยสังเขป

เราไม่พบฮะดีษที่คุณยกมาในหนังสือเล่มใด แต่มีฮะดีษชุดที่มีความหมายคล้ายคลึงกันปรากฏอยู่ในตำราหลายเล่ม ซึ่งขอหยิบยกฮะดีษบทหนึ่งจากหนังสืออัลกาฟีมานำเสนอพอสังเขปดังนี้
อบูบะศี้รเล่าว่า วันหนึ่งขณะที่ท่านนบี(..)นั่งพักอยู่ ท่านอิมามอลี(.)ก็เดินมาหาท่าน ท่านนบีกล่าวแก่อิมามอลี(.)ว่าเธอคล้ายคลึงอีซา บุตรของมัรยัม และหากไม่เกรงว่าจะมีผู้คนบางกลุ่มยกย่องเธอเสมือนอีซาแล้ว ฉันจะสาธยายคุณลักษณะของเธอกระทั่งผู้คนจะเก็บดินใต้เท้าของเธอไว้เพื่อเป็นสิริมงคล

คำตอบเชิงรายละเอียด

เราไม่พบฮะดีษที่คุณยกมาในหนังสือเล่มใด   แต่มีฮะดีษชุดที่มีความหมายคล้ายคลึงกันปรากฏอยู่ในตำราหลายเล่ม   ซึ่งขอหยิบยกฮะดีษบทหนึ่งจากหนังสืออัลกาฟีมานำเสนอพอสังเขปดังนี้
อบูบะศี้รเล่าว่า   วันหนึ่งขณะที่ท่านนบี ( . .) นั่งพักอยู่   ท่านอิมามอลี ( .) ก็เดินมาหาท่าน   ท่านนบีกล่าวแก่อิมามอลี ( .) ว่า เธอคล้ายคลึงอีซา   บุตรของมัรยัม   และหากไม่เกรงว่าจะมีผู้คนบางกลุ่มยกย่องเธอเสมือนอีซาแล้ว   ฉันจะสาธยายคุณลักษณะของเธอกระทั่งผู้คนจะเก็บดินใต้เท้าของเธอไว้เพื่อเป็นสิริมงคล

บางคนในที่นั้นกล่าวขึ้นว่า   นบียกยอลูกพี่ลูกน้องตนเองถึงขั้นเปรียบกับนบีอีซา ( .) เชียวหรือ ? พลันโองการต่อไปนี้ประทานแก่นบีว่า และเมื่อมีการอุปมาถึงอีซา   กลุ่มชนของเจ้าก็โวยวายทันที   พวกเขากล่าวว่า   เหล่าองค์สักการะของเราดีกว่าหรือว่าเขา   คนเหล่านี้มิได้มีเจตนาอื่นใดในการเปรียบเทียบนอกจากต้องการก่อวิวาท ( เจ้ามิได้ถือว่าอีซาเป็นองค์สักการะ ) ทว่าพวกเขาคือพวกนิยมวิวาท   เขา ( อีซา ) มิไช่อื่นใดนอกจากบ่าวที่เราได้ประทานเนี้ยะมัต ( ตำแหน่งนบีและอภินิหาร ) ให้   และให้เป็นสัญลักษณ์ที่ยิ่งใหญ่แก่บนีอิสรออีล   และหากเราประสงค์ก็สามารถจะบันดาลให้พวกเจ้าเป็นทวยเทพบนหน้าแผ่นดินในฐานะตัวแทน [1] ผู้รายงานเล่าว่า   ฮาริษ   บิน   อัมร์   ฟะฮ์รีบันดาลโทสะพร้อมกับกล่าวว่า โอ้อัลลอฮ์   หากพระองค์ประสงค์จะให้กลุ่มบนีฮาชิมเป็นผู้นำประชาชนดังเช่นกษัตริย์กรีกและโรมัน   ก็ขอให้ทรงลงโทษข้าพระองค์ด้วยก้อนหินหรือโทษทัณฑ์อันเจ็บปวดด้วยเทอญ อัลลอฮ์ทรงแจ้งคำพูดของฮาริษแก่นบี   แล้วจึงมีพระดำรัสว่า และอัลลอฮ์ไม่ทรงโปรดที่จะลงทัณฑ์พวกเขาขณะที่เจ้ายังอยู่ในหมู่พวกเขา   หรือเมื่อเขาขออภัยโทษ [2] ท่านนบีกล่าวแก่อัมร์ว่า   จงกลับใจเถิด   หรือไม่ก็ไปให้ห่างจากฉันเสีย   ฮาริษกล่าวว่า   โอ้มุฮัมมัด   จงแบ่งสิ่งที่ท่านมีให้แก่พวกกุเรชบ้างเถิด   เพราะบนีฮาชิมมีจิตใจเอื้ออารีย์ ท่านตอบว่า สิ่งนี้มิได้อยู่ในอำนาจของฉัน   แต่เป็นพระอำนาจของอัลลอฮ์เท่านั้น เขากล่าวว่า   โอ้มุฮัมมัด   ข้าไม่พร้อมที่จะเตาบะฮ์   แต่จะไปให้ใกลท่าน   เขาขึ้นขี่อูฐและเดินทางออกไปจนถึงชานเมืองมะดีนะฮ์   ทันใดนั้นก็มีหินก้อนหนึ่งจากเบื้องบนดิ่งลงมากระแทกศีรษะเขาจนสิ้นใจ   หลังจากนั้นมีโองการแก่ท่านนบีว่า ผู้ร้องขอคนหนึ่งได้ร้องขอการลงทัณฑ์ที่ต้องเกิดขึ้นสำหรับเหล่าผู้ปฏิเสธ   ซึ่งไม่มีสิ่งใดจะยับยั้งได้จากอัลลอฮ์ผู้เป็นจ้าวแห่งชั้นฟ้า [3] ท่านนบีหันไปกล่าวแก่พวกมุนาฟิกีนที่รายล้อมท่านว่า   จงตามหาสหายของพวกเจ้าเถิด   เพราะเขาได้รับในสิ่งที่ต้องการแล้ว มีโองการประทานลงมาว่า และพวกเขาเรียกร้องชัยชนะ   ทว่าพวกทรนงที่หัวรั้นจะกลายเป็นผู้ต่ำต้อย [4] [5]

แนะนำว่าก่อนที่จะอ้างถึงโองการกุรอานหรือฮะดีษของมะอ์ศูมีน   ควรจะค้นคว้าให้ถี่ถ้วนเสียก่อน   อย่างไรก็ดี   ในกรณีของคุณอาจจะเข้าข่ายการอ้างอิงความหมาย   ซึ่งย่อมไม่ผิดหากยังคงความหมายเดิมไว้ได้   จึงกล่าวได้ว่าคุณมิได้โกหกใส่ท่านนบี ( . .) ส่วนตัวบทที่คุณอ้างไว้   หากพิสูจน์แล้วว่าไม่ไช่เรื่องจริง   คุณมีหน้าที่ที่จะต้องชี้แจงแก่ผู้ฟังหรือคู่สนทนาของคุณ



[1]   ซุครุฟ , 57-60

  وَ لَمَّا ضُرِبَ ابْنُ مَرْیَمَ مَثَلًا إِذا قَوْمُکَ مِنْهُ یَصِدُّونَ* وَ قالُوا أَ آلِهَتُنا خَیْرٌ أَمْ هُوَ ما ضَرَبُوهُ لَکَ إِلَّا جَدَلًا بَلْ هُمْ قَوْمٌ خَصِمُونَ* إِنْ هُوَ إِلَّا عَبْدٌ أَنْعَمْنا عَلَیْهِ وَ جَعَلْناهُ مَثَلًا لِبَنِی إِسْرائِیلَ* وَ لَوْ نَشاءُ لَجَعَلْنا مِنْکُمْ مَلائِکَةً فِی الْأَرْضِ یَخْلُفُونَ "

[2]   อันฟาล , 33, وَ ما کانَ اللَّهُ لِیُعَذِّبَهُمْ وَ أَنْتَ فِیهِمْ وَ ما کانَ اللَّهُ مُعَذِّبَهُمْ وَ هُمْ یَسْتَغْفِرُونَ

[3]   มะอาริจ ,1-3, سَأَلَ سائِلٌ بِعَذابٍ واقِعٍ* لِلْکافِرینَ لَیْسَ لَهُ دافِعٌ* مِنَ اللَّهِ ذِی الْمَعارِجِ

[4]   อิบรอฮีม ,15, وَ اسْتَفْتَحُوا وَ خابَ کُلُّ جَبَّارٍ عَنِیدٍ

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60118 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57542 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42200 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39349 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38938 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33993 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28010 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27952 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27782 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25784 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...