การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9410
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/23
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1259 รหัสสำเนา 17911
คำถามอย่างย่อ
เหตุใดจึงไม่อนุญาตให้นำทองใหม่(รูปพรรณ)ไปแลกเปลี่ยนกับทองเก่าที่มีน้ำหนักมากกว่า?
คำถาม
กฎว่าด้วยดอกเบี้ยห้ามไม่ให้แลกเปลี่ยนสิ่งของประเภทเดียวกันที่ไม่อาจนับได้ แต่ในกรณีการซื้อขายทอง ผู้ค้าทองมักจะยอมแลกทองรูปพรรณใหม่กับทองเก่าที่น้ำหนักมากกว่าเท่านั้น (ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป)เนื่องจากราคาทองรูปพรรณสูงกว่าทองเก่า แต่ทุกตำราประมวลปัญหาศาสนาล้วนไม่อนุมัติให้ทำธุรกรรมดังกล่าว ดิฉันอยากทราบว่าเพราะอะไรจึงห้ามเช่นนั้น?
คำตอบโดยสังเขป

กุรอานและฮะดีษห้ามปรามธุรกรรมที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยอย่างชัดเจน โดยได้อธิบายเหตุผลไว้อย่างสังเขป อาทิเช่น ทำลายช่องทางการกู้ยืม เป็นการขูดรีดผู้เดือดร้อน และเป็นเหตุให้สูญเสียการลงทุนในด้านที่สังคมขาดแคลน
เหตุผลข้างต้นล้วนเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยประเภทกู้ยืมทั้งสิ้น ส่วนดอกเบี้ยประเภทซื้อขายแลกเปลี่ยนนั้น เราไม่พบเหตุผลใดๆทั้งในกุรอานและฮะดีษ ทำให้เราไม่อาจจะทราบถึงเหตุผลได้ อย่างไรก็ดี เรายังต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ท่านนบีและบรรดาอิมามกล่าวไว้ แต่ก็มิได้หมายความว่าไม่มีเหตุผลหรือปรัชญาใดๆแฝงอยู่ในเรื่องนี้
ผู้รู้บางท่านสันนิษฐานเกี่ยวกับเหตุผลของการห้ามดอกเบี้ยประเภทแลกเปลี่ยนว่า อาจเป็นเพราะธุรกรรมดังกล่าวจะถูกใช้เป็นช่องทางหลบเลี่ยงดอกเบี้ยประเภทกู้ยืม หรือกล่าวได้ว่าดอกเบี้ยประเภทแลกเปลี่ยนคือประตูไปสู่ดอกเบี้ยประเภทกู้ยืมนั่นเอง

คำตอบเชิงรายละเอียด

ประเด็นดอกเบี้ยถือเป็นประเด็นปัญหาที่มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมายในวิชาฟิกเกาะฮ์ โดยกุรอานและฮะดีษได้ระบุชัดเจนว่าธุรกรรมดังกล่าวถือเป็นสิ่งต้องห้าม ริบาอ์(ดอกเบี้ย)มีสองประเภท
1. ดอกเบี้ยประเภทกู้ยืม
2. ดอกเบี้ยประเภทค้าขายแลกเปลี่ยน
ดอกเบี้ยกู้ยืมหมายถึงการกู้ยืมที่มีการตั้งเงื่อนไข แต่ข้อปลีกย่อยที่ว่าอะไรคือเงื่อนไขของการกู้ยืมที่จะทำให้เป็นฮะรอมนั้น ยังมีข้อถกเถียงกันในหมู่ผู้รู้
ส่วนดอกเบี้ยที่คุณถามก็คือประเภทแลกเปลี่ยน อันหมายถึงธุรกรรมที่ . มีการแลกเปลี่ยนสินค้าสองชิ้น . แลกเปลี่ยนโดยการชั่งตวง . สินค้าสองชิ้นนั้นมีปริมาณที่แตกต่างกัน[1]

ดอกเบี้ยแลกเปลี่ยนถือเป็นสิ่งต้องห้าม แม้กระทั่งกรณีที่แลกเปลี่ยนสินค้าที่อาจแตกต่างกันบ้าง(แต่ยังถือว่าอยู่ในประเภทเดียวกัน) ตัวอย่างเช่นการแลกเปลี่ยนข้าวคุณภาพดีหนึ่งกิโลกรัมกับข้าวคุณภาพต่ำหนึ่งกิโลกรัมครึ่ง ก็ยังถือว่าฮะรอม และเช่นกัน คุณลักษณะอื่นๆเช่นความเก่าหรือใหม่ของสินค้า ฯลฯ ซึ่งล้วนเข้าข่ายดอกเบี้ยทั้งสิ้น กรณีแลกเปลี่ยนทองหรือเงินเช่นเดียวกัน กล่าวคือเมื่อจะแลกเปลี่ยนทองสองชิ้นไม่ว่าจะในลักษณะใด (เก่าหรือไม่, รูปพรรณหรือทองแท่ง, มีตำหนิหรือไม่ ฯลฯ) แม้ราคาค่างวดของแต่ละชิ้นจะแตกต่างกัน ก็ยังจะต้องกระทำโดยให้มีน้ำหนักเท่ากันเท่านั้น ทั้งนี้โดยลักษณะเฉพาะของทองและเงินแล้ว จะต้องแลกเปลี่ยนพร้อมกันเท่านั้น ไม่อนุมัติให้แลกเปลี่ยนโดยเชื่อไว้ก่อน[2]

อย่างไรก็ดี ในเมื่อยังมีความจำเป็นจะต้องแลกเปลี่ยนทองเก่ากับทองใหม่อยู่ จึงยังมีช่องทางให้กระทำได้โดยไม่ผิดหลักการศาสนา (แน่นอนว่าการขัดต่อบัญญัติศาสนาย่อมไม่เป็นผลดีอย่างแน่นอน) ช่องทางดังกล่าวก็คือการหลีกเลี่ยงการแลกเปลี่ยนโดยตรง และเปลี่ยนเป็นธุรกรรมสองต่อ นั่นก็คือ ขายทองเก่าไปในราคาหนึ่ง แล้วซื้อทองใหม่ด้วยเงินที่ได้มา อย่างเช่น ชายทองเก่าสิบกรัมไปในราคาเจ็ดพันบาท แล้วซื้อทองใหม่แปดกรัมในราคาเดียวกัน[3]
ต้องเรียนว่าสำหรับผู้ที่ยอมรับบทบัญญัติศาสนาแล้ว นี่ไม่ไช่การใช้เล่ห์เหลี่ยมหลบหลีกบทบัญญัติของอัลลอฮ์แต่อย่างใด เพียงแต่เป็นการเปลี่ยนจากวิธีที่ต้องห้ามมาสู่วิธีที่อนุมัติ ดังที่ฮะดีษสอนว่า "การหนีจากฮะรอมสู่ฮะล้าลช่างน่าชมเชยนัก"[4] อันหมายถึงการปรับวิถีชีวิตให้พ้นจากข้อห้ามทางศาสนานั่นเอง

ส่วนที่ว่าเพราะเหตุใดจึงห้ามธุรกรรมดอกเบี้ยนั้น:
ก่อนอื่นต้องเกริ่นนำเช่นนี้ว่า บางครั้งการที่เราทราบเหตุผลของบทบัญญัติต่างๆอาจจะเพิ่มแรงบันดาลใจให้ปฎิบัติตาม แต่ก็อาจจะลดทอนจิตคารวะของคนทั่วไปที่มีต่ออัลลอฮ์ไปบ้าง กล่าวคือ หากทราบเหตุ หรือผลประโยชน์ที่จะได้จากการปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ อาจจะทำให้คนเรากระทำไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน มิไช่เพราะศรัทธาในพระองค์อย่างแท้จริง อันจะทำให้สูญเสียคุณค่าของการกระทำอย่างบริสุทธิใจด้วยความจำนน[5] อาจเป็นเพราะเหตุนี้กระมังที่กุรอานและฮะดีษมิได้กล่าวถึงเหตุผลของการบัญญัติกฎเกณฑ์ศาสนาโดยละเอียดนัก แต่กล่าวเพียงบางส่วนเพื่อรณรงค์ให้ผู้คนเข้าใจโดยสังเขป

แม้เราจะทราบดีว่าบทบัญญัติศาสนาบัญญัติขึ้นบนพื้นฐานของผลประโยชน์สูงสุดของมนุษย์ แต่ก็มักจะเกิดข้อสงสัยหยุมหยิมตลอดเวลา อย่างเช่น เราอาจจะทราบดีถึงผลประโยชน์ของการนมาซ แต่คำถามที่ว่าเหตุใดนมาซจึงมีสองเราะกะอัต หรือการที่หากเราดื่มด่ำกับนมาซแล้วถือวิสาสะเพิ่มเป็นสามเราะกะอัตก็ยังถือเป็นโมฆะนั้น เราไม่อาจทราบเหตุผลเหล่านี้ได้ เนื่องจากปัญญาของมนุษย์อาจสามารถรับรู้เพียงเหตุผลเชิงกว้างของบทบัญญัติศาสนาได้ แต่ไม่อาจหยั่งถึงเหตุผลของรายละเอียดปลีกย่อยได้เลย จะมีก็แต่ความศรัทธาในอัลลอฮ์และนบีเท่านั้นที่ช่วยกระตุ้นให้เราปฏิบัติตามบทบัญญัติศาสนา ซึ่งความผูกพันเชิงศรัทธานี้แหล่ะที่งดงามและสร้างความอิ่มเอิบทางจิตวิญญาณ

อย่างไรก็ดี กุรอานและฮะดีษได้ระบุถึงเหตุผลบางประการของการห้ามธุรกรรมที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยไว้ดังนี้
1. ธุรกรรมดอกเบี้ยคือการแสวงหาผลกำไรที่ปราศจากเหตุอันควร[6]
2. มีฮะดีษจากอิมามศอดิก(.)กล่าวว่า "หากธุรกรรมดอกเบี้ยเป็นที่อนุมัติไซร้ ผู้คนจะทิ้งการทำมาค้าขายที่จำเป็นต่อสังคมกันหมด อัลลอฮ์ทรงห้ามกินดอกเบี้ย เพื่อให้ผู้คนหันไปสนใจธุรกรรมที่ฮะล้าลแทนที่ฮะรอม สนใจการทำมาค้าขาย เพื่อเงินที่คงเหลือจะได้ปล่อยให้ผู้อื่นกู้ยืมได้"[7] ฉะนั้น การกินดอกเบี้ยถูกห้ามเพื่อให้เศรษฐกิจของสังคมคึกคักนั่นเอง
3. หลังจากที่กุรอานระบุข้อห้ามเกี่ยวกับดอกเบี้ยแล้ว ได้กล่าวต่อไปว่า " لا تَظلِمون و لا تُظلَمون[8]" (...เพื่อมิให้สูเจ้าขูดรีดผู้อื่นหรือถูกผู้อื่นขูดรีด) จากเนื้อหานี้ทำให้ทราบว่าธุรกรรมดอกเบี้ยเป็นการขูดรีด และนี่ก็ถือเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ต้องห้ามธุรกรรมนี้
4. อีกหนึ่งเหตุผลที่ฮะดีษระบุไว้ก็คือ ธุรกรรมดอกเบี้ยจะทำลายจิตสำนึกในการประกอบกุศลกรรม ดังที่มีฮะดีษกล่าวว่า "แท้จริงอัลลอฮ์ทรงห้ามมิให้กินดอกเบี้ยก็เพราะต้องการให้ผู้คนมีจิตกุศล(ให้หยิบยืมกัน)เช่นเคย"[9]

อย่างไรก็ดี เหตุผลที่นำเสนอมาทั้งหมดล้วนกล่าวถึงอันตรายของดอกเบี้ยประเภทกู้ยืมทั้งสิ้น ทว่ามิได้กล่าวถึงเหตุผลที่ห้ามดอกเบี้ยประเภทค้าขายแลกเปลี่ยน หรืออาจจะกล่าวไว้แต่ฮะดีษไม่ตกทอดถึงเรา ประเด็นนี้ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่จะต้องปฎิบัติตามนบีและอิมาม(.)โดยดุษณี แต่ทั้งนี้ ผู้รู้อย่างเช่นชะฮีดมุเฏาะฮะรี[10] และอายะตุลลอฮ์มะการิม[11]ได้กรุณาชี้แจงไว้ว่า ปรัชญาของการห้ามดอกเบี้ยประเภทค้าขายแลกเปลี่ยนก็เพื่อป้องปรามมิให้กระทำการกินดอกเบี้ยประเภทกู้ยืม กล่าวคือ ดอกเบี้ยประเภทแลกเปลี่ยนสินค้าถือเป็นประตูไปสู่ดอกเบี้ยประเภทกู้ยืม และเพื่อป้องกันมิให้มีการอำพรางดอกเบี้ยกู้ยืมด้วยธุรกรรมดอกเบี้ยแลกเปลี่ยน จึงต้องระงับดอกเบี้ยประเภทค้าขายแลกเปลี่ยนด้วยการบัญญัติให้เป็นสิ่งต้องห้ามเช่นกัน



[1] ดู: ตำราประมวลปัญหาศาสนา บทว่าด้วยการค้าขาย

[2] ดู: ตำราประมวลปัญหาศาสนา บทว่าด้วยการค้าขายทองและเงิน (บัยอุศศ็อรฟ์)

[3] ยังมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับเงื่อนไขของเรื่องนี้ หากประสงค์จะศึกษาเพิ่มเติม กรุณาศึกษาจากตำราเฉพาะทาง

[4] อัลกาฟีย์, เล่ม 5,หน้า 246

[5] อย่างไรก็ดี ประเด็นนี้ไม่รวมถึงปูชณียบุคคลขั้นสูงของพระองค์

[6] ย่อความจากฮะดีษในวะซาอิลุชชีอะฮ์, เล่ม 12, บทว่าด้วยดอกเบี้ย, หมวดที่ 1, ฮะดีษที่ 11

[7] วะซาอิลุชชีอะฮ์, เล่ม 12, บทว่าด้วยดอกเบี้ย, หมวดที่ 1, ฮะดีษที่ 8

[8] บะเกาะเราะฮ์, 279

[9] วะซาอิลุชชีอะฮ์, เล่ม 12, บทว่าด้วยดอกเบี้ย, หมวดที่ 1, ฮะดีษที่ 4

[10] มุรตะฎอ มุเฏาะฮารี, ปัญหาดอกเบี้ยและการธนาคาร,หน้า 46

[11] . มะการิม ชีรอซี, อัรริบา วัลบันก์ อัลอิสลามีย์, หน้า 60

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ริวายะฮ์(คำรายงาน)ที่มีความขัดแย้งกัน ยกตัวอย่างเช่น ริวายะฮ์ที่กล่าวถึงการจดบาปของมนุษย์ กับริวายะฮ์ทีกล่าวว่า การจดบาปจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าครบ ๗ วัน เราสามารถจะแก้ไขริวายะฮ์ทั้งสองได้อย่างไร?
    4671 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2561/11/05
    สำหรับคำตอบของคำถามนี้ จะต้องตรวจสอบในหลายประเด็นดังต่อไปนี้ ๑.การจดบันทึกเนียต(เจตนา)ในการทำบาป กล่าวได้ว่า จากการตรวจสอบจากแหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับการจดบันทึกเนียตในการทำบาปปรากฏว่าไม่มีริวายะฮ์รายงานเรื่องนี้แต่อย่างใด และโองการอัลกุรอานก็ไม่สามารถวินิจฉัยถึงเรื่องนี้ได้ เพราะว่า โองการอัลกุรอานกล่าวถึงความรอบรู้ของพระเจ้าในเนียตของมนุษย์ พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงตรัสว่า เราได้สร้างมนุษย์ขึ้นมา และเรารู้ดียิ่งในสิ่งที่จิตใจของเขากระซิบกระซาบแก่เขา และเราอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก ดังนั้น การที่พระองค์ทรงมีความรู้ในเจตนาทั้งหลาย มิได้หมายถึง การจดบันทึกว่าเป็นการทำบาปหรือเป็นบทเบื้องต้นในการทำบาป ๒.การจดบันทึกความบาปโดยทันทีทันใด ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้ก็ไม่ปรากฏริวายะฮ์ที่กล่าวถึง แต่ทว่า บางโองการอัลกุรอาน กล่าวถึง การจดบันทึกโดยทันทีทันใดในบาป ดั่งเช่น โองการที่กล่าวว่า (ในวันแห่งการตัดสิน บัญชีอะมั้ลการกระทำของมนุษย์)บันทึกจะถูกวางไว้ ดังนั้นเจ้าจะเห็นผู้กระทำความผิดบาปทั้งหลายหวั่นกลัวสิ่งที่มีอยู่ในบันทึก และพวกเขาจะกล่าวว่า โอ้ความวิบัติของเรา บันทึกอะไรกันนี่ มันมิได้ละเว้นสิ่งเล็กน้อย และสิ่งใหญ่โตเลย เว้นแต่ได้บันทึกไว้ครบถ้วน และพวกเขาได้พบสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ปรากฏอยู่ต่อหน้า และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามิทรงอธรรมต่อผู้ใดเลย โองการนี้แสดงให้เห็นว่า ความผิดบาปทั้งหมดจะถูกจดบันทึกอย่างแน่นอนก ๓.การจดบันทึกความบาปจนกว่าจะครบ ๗ วัน มีรายงานต่างๆมากมายที่กล่าวถึง การไม่จดบาปในทันที แต่ทว่า มีรายงานหนึ่งกล่าวว่า ให้โอกาสจนกว่าจะครบ ๗ วัน ...
  • "การซิยารัตอิมามฮุเซนเสมือนการซิยารัตอัลลอฮ์ ณ อะรัช" หมายความว่าอย่างไร?
    9314 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/07
    ท่านฮุเซนบินอลี (อิมามที่สามของชีอะฮ์) ได้รับฐานะภาพอันสูงส่งจากอัลลอฮ์เนื่องจากมีเป้าหมายวัตรปฏิบัติการเสียสละ
  • จนถึงปัจจุบันมีผู้ใดบ้างได้ยืนหยัดต่อสู้กับชัยฎอน และแนวทางการต่อสู้ของเขาเป็นอย่างไร?
    8649 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/04/07
    ตามทัศนะของอัลกุรอาน ชัยฏอนไม่อาจมีอิทธิพลเหนือปวงบ่าวที่บริสุทธิ์ของพระเจ้าได้ ปวงบ่าวที่เป็น มุคลิซีน หมายถึง บุคคลที่ได้ไปถึงยังตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งชัยฏอนไม่อาจมีอำนาจเหนือพวกเขาได้ แน่นอน การต่อสู้กับชัยฏอนจำเป็นต้องมีสื่อและอุปกรณ์จำเป็นประกอบการต่อสู้ ซึ่งการมีอุปกรณ์เหล่านี้สามารถยืนหยัดต่อสู้กับชัยฏอนได้ และจะได้รับชัยชนะในการต่อสู้ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างอุปกรณ์บางอย่างเหล่านั้น ได้แก่ 1.อีมาน : อัลกุรอานกะรีมกล่าวว่า อีมาน คือ ตัวการหลักที่ขัดขวางการมีอิทธิพลของชัยฏอนเหนือผู้ศรัทธา 2. ตะวักกัล : อีกหนึ่งตัวการที่สามารถเอาชนะชัยฏอนและพลพรรคได้ คือการตะวักกัลป์ มอบหมายภารกิจแด่อัลลอฮฺ 3. อิสติอาซะฮฺ : หมายถึงการขอความช่วยเหลือ หรือสถานพักพิงต่ออัลลอฮฺ 4. การรำลึกถึงอัลลอฮฺ : การรำลึกถึงอัลลอฮฺ จะให้ความสว่างแก่มนุษย์ ...
  • มลาอิกะฮ์สร้างมาจากรัศมีของบรรดาอิมาม และมีหน้าที่ร่ำไห้แด่อิมามฮุเซน(อ.)กระนั้นหรือ?
    9115 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/19
    1. ความเชื่อที่ว่ามลาอิกะฮ์สร้างขึ้นจากรัศมีนั้นได้รับการยืนยันจากฮะดีษหลายบทที่รายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่ตำราชีอะฮ์บางเล่มระบุถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตต่างๆรวมถึงมลาอิกะฮ์จากรัศมีของปูชนียบุคคลอย่างท่านนบี(ซ.ล.) หรือบรรดาอิมามหรือบุคคลอื่นๆดังที่ตำราของซุนหนี่เองก็เล่าว่าเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกและคนอื่นๆถือกำเนิดจากรัศมีของท่านนบี(ซ.ล) การที่มีฮะดีษเหล่านี้ปรากฏอยู่ในตำรับตำราของแต่ละฝ่ายมิได้หมายความว่าทุกคนจะต้องคล้อยตามฮะดีษเหล่านี้เสมอไป อย่างไรก็ดีตำราฮะดีษชีอะฮ์ได้รายงานฮะดีษชุด "ฏีนัต" ไว้ซึ่งไม่อาจจะมองข้ามได้กล่าวโดยสรุปคือหากพบว่ามุสลิมแต่ละฝ่ายอาจมีทัศนะแตกต่างกันบ้างในเรื่องการสรรสร้างของพระองค์
  • เพราะเหตุใดนิกายชีอะฮฺจึงเป็นนิกายที่ดีที่สุด ?
    9742 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    การที่นิกายชีอะฮฺดีที่สุดนั้นเนื่องจาก “ความถูกต้อง” นั่นเองซึ่งศาสนาที่ถูกต้องนั้นจำกัดอยู่เพียงแค่ศาสนาเดียวส่วนศาสนาอื่นๆ
  • การสู่ขออดีตภรรยาของอับดุลลอฮ์ บิน สะลามที่ชื่ออุร็อยนับโดยอิมามฮุเซน(อ.)และยะซีดในเวลาเดียวกัน มีผลต่อเหตุการณ์กัรบะลาอย่างไร?
    7633 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    ตำราประวัติศาสตร์บางเล่มระบุว่าแม้ยะซีดจะมีสิ่งบำเรอกามารมณ์อย่างครบครันแต่ก็ยังอยากจะเชยชมหญิงที่มีสามีแล้วอย่างอุร็อยนับบินติอิสฮ้ากภรรยาของอับดุลลอฮ์บินสะลามมุอาวิยะฮ์ผู้เป็นพ่อของยะซีดจึงคิดอุบายที่จะพรากหญิงสาวคนนี้จากสามีเพื่อให้ลูกชายของตนสมหวังในกามราคะอิมามฮุเซน(อ.) ทราบเรื่องนี้เข้าจึงคิดขัดขวางแผนการดังกล่าวโดยใช้บทบัญญัติอิสลามทำลายอุบายของมุอาวิยะฮ์และปล่อยให้อุร็อยนับคืนสู่อับดุลลอฮ์บินสะลามผู้เป็นสามีอีกครั้งหนึ่งทำให้ยะซีดหมดโอกาสที่จะย่ำยีครอบครัวนี้ได้อีกต่อไปแม้รายงานทางประวัติศาสตร์ชิ้นนี้จะมีข้อกังขามากพอสมควรแต่สมมติว่าเป็นเรื่องจริงก็มิไช่เรื่องเสียหายสำหรับอิมามฮุเซนแต่อย่างใดกลับจะชี้ให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดและเมตตาธรรมของท่านในการรักษาเกียรติยศครอบครัวมุสลิมได้เป็นอย่างดีอนึ่งไม่มีตำราที่มีชื่อเสียงเล่มใดระบุว่าเรื่องราวดังกล่าวเป็นสาเหตุให้ยะซีดแค้นฝังใจและก่อเหตุนองเลือดที่กัรบะลา ...
  • จะมีวิธีการอะไรสามารถพิสูจน์ได้ว่าอัล-กุรอาน ถูกประทานลงมาจากพระเจ้า
    9674 วิทยาการกุรอาน 2553/10/11
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • การประทานอัลกุรอานลงมาคราวเดียวและการทยอยประทานลงมาผ่านพ้นไปตั้งแต่เมื่อใด?
    18576 วิทยาการกุรอาน 2554/04/21
    การประทานอัลกุรอานในคราวเดียวกันบนจิตใจของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ได้เกิดขึ้นเมื่อค่ำคืนแห่งอานุภาพ (ลัยละตุลก็อดฺร์) อันเป็นหนึ่งในค่ำคืนสำคัญยิ่งแห่งเดือนรอมฏอนและเมื่อได้ศึกษารายงานฮะดีซบางบทและอัลกุรอานบางโองการแล้วจะเห็นว่ารายงานและโองการเหล่านั้นได้สนับสนุนความเป็นไปได้ดังกล่าวว่าค่ำคืนแห่งอานุภาพนั้นก็คือค่ำคืนที่ 23 ของเดือนรอมฎอน
  • มีรายงานฮะดีซจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) เกี่ยวกับการถือศีลอดในวันอาชูรอหรือไม่? และศีลอดนี้ถือเป็นศีลอดมุสตะฮับด้วยหรือไม่?
    7109 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    ตาราฮะดีซที่เชื่อถือได้ของฝ่ายชีอะฮฺ, ไม่มีรายงานฮะดีซทำนองนี้ปรากฏให้เห็นทีว่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) กล่าวว่า, การถือศีลอดในวันอาชูรอเป็นมุสตะฮับ,
  • ในพิธีขว้างหินที่ญะมารอตหากต้องการเป็นตัวแทนให้ผู้ที่ไม่สามารถขว้างหินเองได้ อันดับแรกจะต้องขว้างหินของเราเองก่อนแล้วค่อยขว้างหินของผู้ที่เราเป็นตัวแทนให้เขาใช่หรือไม่?
    7640 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    ดังทัศนะของมัรญะอ์ตักลีดทุกท่านรวมไปถึงท่านอิมามโคมัยนี (ร.) อนุญาตให้ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์สามารถขว้างหินของตัวแทนของตนก่อนก่อนที่จะขว้างหินของตนเอง[i][i]มะฮ์มูดี, มูฮัมหมัดริฏอ, พิธีฮัจญ์ (ภาคผนวก),หน้าที่

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60329 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57869 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42429 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39692 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39089 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34178 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28211 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28154 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28082 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26032 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...