Please Wait
8778
ความหมายของสรรเสริญ ยกย่อง และขอบคุณ ในพจนานุกรมอรับและความหมายเฉพาะทางคือ:
1. คำว่า “ฮัมด์” (สรรเสริญ) หมายถึงการสดุดีและสรรเสริญ[1] ส่วนความหมายเฉพาะทางก็คือ การกระทำที่เหมาะสม หรือคุณลักษณะดีเด่นที่กระทำโดยสมัครใจ[2]
2. คำว่า “มัดฮ์” (ยกย่อง) หมายถึงการสรรเสริญ[3] ซึ่งกล่าวได้ว่าฮัมด์และมัดฮ์มีความหมายเดียวกันในแง่หนึ่ง[4] แต่ความหมายที่ต่างจากฮัมด์ก็คือ มัดฮ์เป็นการยกย่องการกระทำที่อยู่นอกเหนือความสามารถของมนุษย์[5] เมื่อทราบดังนี้จึงพอเข้าใจจุดร่วมและจุดต่างระหว่างฮัมด์และมัดฮ์ อนึ่ง ฮัมด์ที่กระทำต่ออัลลอฮ์นั้น หมายถึงการสดุดีความประเสริฐ[6]ของพระองค์
3. คำว่า “ชุกร์” (ขอบคุณ) หมายถึงการรำลึก กล่าวถึง และตีแผ่เนียะอ์มัตต่างๆ[7] ซึ่งตรงกับคำว่าเสะพ้อสในภาษาเปอร์เซีย[8] การชุกร์ต่อพระองค์หมายถึงการตอบแทนและการรู้คุณ[9] ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงเป็นทั้งชากิร และชะกู้ร[10]
ยังมีบางทัศนะที่น่าสนใจเกี่ยวกับข้อแตกต่างระหว่างชุกร์และฮัมด์ดังต่อไปนี้
ก. ชุกร์ ใช้สื่อถึงการขอบคุณเนียะอ์มัตใดเนียะอ์มัตหนึ่งด้วยวาจา ใจ หรือการกระทำ เมื่อเป็นเช่นนี้ ฮัมด์ที่กระทำด้วยวาจาจึงเป็นชุกร์ประเภทหนึ่ง[11]
ข. ฮัมด์ ใช้สื่อถึงการยกย่องอย่างไพเราะ เพื่อแสดงถึงการให้เกียรติเนียะอ์มัตและสิ่งอื่นๆที่ไม่ไช่เนียะอ์มัต แต่ชุกร์เป็นการแสดงความรู้คุณเพื่อการยกย่องเนียะอ์มัตเท่านั้น[12]
[1] ลิซานุลอรับ,เล่ม 3,หน้า 155 และ กิตาบอัลอัยน์,เล่ม 3,หน้า 188-189 คำว่า “อัลฮัมด์” และ พจนานุกรมลำดับอับญัดอรับ-เปอร์เซีย,หน้า 25
[2] เฏาะบาเฏาะบาอี,ซัยยิด มุฮัมมัด ฮเซน, อัลมีซาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 1,หน้า 19, สำนักพิมพ์อิสลามี,กุม,พิมพ์ครั้งที่ห้า,ฮ.ศ. 1417 และ ฮุซัยนี ฮะมะดอนี,ซัยยิด มุฮัมมัด ฮุเซน, รัศมีอันเจิดจรัส,ค้นคว้าเพิ่มเติมโดย เบะฮ์บูดี,มุฮัมมัด บากิร,เล่ม 1,หน้า 15, ร้านหนังสือลุฏฟี,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,ฮ.ศ.1404
[3] ลิซานุลอรับ,เล่ม 2,หน้า 589,คำว่า “อัลมัดฮ์”
[4] ซะมัคชะรี, มะฮ์มุ้ด, อัลกัชช้าฟ อัน ฮะกออิก เฆาะวามิฎิตตันซี้ล,เล่ม 1,หน้า 8, ดารุลกิตาบิลอะเราะบี,เบรุต,ฮ.ศ.1407
[5] อัลมีซาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม,หน้า และ รัศมีอันเจิดจรัส,เล่ม 1,หน้า 15
[6] อัลมุฟเราะด้าต ฟีเฆาะรีบิลกุรอาน,หน้า 256
[7] ลิซานุลอรับ,เล่ม 4,หน้า 423 และ อัลมุฟเราะด้าต ฟีเฆาะรีบิลกุรอาน,หน้า 461 และ อัตตะห์กี้ก ฟีกะลิมาติ้ลกุรอานิลอะซีม,เล่ม 6,หน้า 99-100 คำว่า “ชุกร์”
[8] อัตตะห์กี้ก ฟีกะลิมาติ้ลกุรอานิลอะซีม,เล่ม 2,หน้า 280 และ พจนานุกรมลำดับอับญัดอรับ-เปอร์เซีย,หน้า 81,512
[9] ลิซานุลอรับ,เล่ม 4,หน้า 423
[10] อัลบะเกาะเราะฮ์,158 และ อัลฟาฏิร, 30
[11] อัลกัชช้าฟ อัน ฮะกออิก เฆาะวามิฎิตตันซี้ล,เล่ม 1,หน้า 8,9
[12] มัจมะอุ้ลบะห์ร็อยน์,เล่ม 3,หน้า 39, คำว่า “อัลฮัมด์”